แอลกอฮอล์

วันที่ 07 พย. พ.ศ.2548

                                                       

   สุราเป็นเครื่องดื่มประเภทมึนเมาที่มีแอลกอฮอล์ชนิดเอธิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol)เป็นสารประกอบสำคัญ การดื่มสุราเมื่อท้องว่าง แอลกอฮอล์จะ ถูกดูดซึมได้รวดเร็วจากทางเดินอาหาร ระดับแอลกอฮอล์เพิ่มสูงสุดในเลือดในเวลา 30-60 หลังดื่มสุรา เมื่อแอลกอฮอล์ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะกระจายเข้าสู่อวัยวะต่างๆในร่างกาย และสามารถ ผ่านเข้าสู่ระบบประสาทได้เร็วมาก การดื่มสุราในปริมาณที่พอเหมาะ จะทำให้ผู้ดื่มมีอาการครึกครื้น สนุกสนานรื่นเริง แต่ถ้าดื่มสุราปริมาณมากและมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงจะมีฤทธิ์กดระบบสมองและประสาท ทำให้เกิดความมึนเมา ถ้าดื่มสุรามากเกินขนาดอาจจะมีฤทธิ์ไปกดศูนย์การหายใจ อาจทำให้ผู้ดื่มเสียชีวิตได้

ผลกระทบแอลกอฮอล์ที่มีต่อตับ

 

คำอธิบายภาพ
การเสพติดสุราแบบเรื้อรังพบว่าจะมี ผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆในร่างกาย โดยเฉพาะที่ตับ คือ แอลกอฮอล์ที่ถูก ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและกระจายไปเข้า สู่อวัยวะต่างๆ เมื่อแอลกอฮอล์ผ่านเข้า สู่ตับทำให้เกิดอนุมูลอิสระ และแอลกอฮอล์ จะถูกเปลี่ยนไปเป็นอะเซตัลดีไฮด์ ซึ่งจะ เป็นพิษต่อตับ ส่งผลให้มีการสะสมไขมันในเซลล์ตับและทำให้เซลล์ตับอักเสบหรือเซลล์ตาย ผู้เสพติดสุราเป็นเวลานานจะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคตับแข็งหรือโรคมะเร็งตับ นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังทำให้เกิด การอักเสบของอวัยวะอื่นๆ เช่น กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

 

ตารางแสดงความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือดกับอาการของผู้ดื่มสุรา

ความเข้มข้นของแอลกอฮอลในเลือด (มก/ดล)

อาการ

อาการแสดงของผู้ดื่มสุรา

50 - 150

เมาน้อย

กดส่วนยั้งคิด การมองเห็นเสียเล็กน้อย การทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อเสียเล็กน้อย ระยะตัดสินใจเริ่มช้าลง

50 - 300

เมาปานกลาง

การมองเห็นเสียชัดเจน ประสาทรับความ รับรู้สึกเสีย กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน ระยะตัดสินใจช้าลง พูดอ้อแอ้

300 - 500

เมามาก

กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กันมากขึ้น ตาพร่าหรืออาจเห็นเป็น 2 ภาพ ซึม น้ำตาลในเลือดต่ำ อุณหภูมิร่างกายต่ำ ตาเหล่เข้ากัน แขนขาเกร็ง ในเด็กอาจพบอาการชักเกร็งมากกว่าผู้ใหญ่ แอลกอฮอร์ระดับนี้อาจตายได้

มากกว่า500

โคม่า

ไม่รู้สึกตัว หายใจช้า การตอบสนองลดลง ประสาทความรู้สึกเสียหมด และตาย

สุรา เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการตายจากอุบัติเหตุที่สำคัญจากสถิติพบว่า

สุราทำให้เกิดการตายจากอุบัติเหตุจราจร ร้อยละ 50
ตกจากที่สูง ร้อยละ 17-53
จมน้ำ ร้อยละ 38
ไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก ร้อยละ 53-64
อุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม ร้อยละ 40
นอกจากนี้ สุรา ยังเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ในบ้านสถานที่ทำงาน และสถานที่สาธารณะ

 

ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดกับปฏิกิริยาที่แสดงออกทางร่างกาย

ถ้ามีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 30 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะเกิดอาการครึกครื้นสนุกสนานร่าเริง
ถ้ามีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะไม่สามารถควบคุม
การเคลื่อนไหวได้ดีเท่าภาวะปกติ
ถ้ามีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 100 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะมีอาการเมา
เดินไม่ตรงทาง
ถ้ามีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 200 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะเกิดอาการสับสน
ถ้ามีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 300 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะมีอาการง่วงงงซึม
ถ้ามีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 400 เปอร์เซ็นต์สลบและถึงตายได้

การตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลือด ตรวจได้หลายวิธี คือ
1. ตรวจระดับแอลกอฮอล์ทางลมหายใจด้วยเครื่องตรวจแอลกอฮอล์ในลมหายใจแบบพกพา
2. ตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยตรง
3. ตรวจระดับแอลกอฮอล์ในปัสสาวะ

ในประเทศต่าง ๆ มีกฎหมายกำหนดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดคนขับรถ
เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหากมีการตรวจพบระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเกินที่กฎหมายกำหนด
จะถูกควบคุมตัวและพักการขับรถจนกระทั่งระดับแอลกอฮอล์ในเลือดลดลง

กำหนดระดับแอลกอฮอล์ในเลือด

ประเทศ

50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

เกาหลี ญี่ปุ่น ฟินแลนด์
ออสเตรเลีย แคนาดา

70 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

โคลัมเบีย

80 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมัน
ลักเซมเบอร์ก อังกฤษ สิงคโปร์

100 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

บางรัฐในสหรัฐอเมริกา

ในประเทศไทยได้กำหนดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดในคนขับรถไว้ที่ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ขับขี่ ในเรื่องการดื่มสุรา
ไม่ควรดื่มสุราหากต้องขับขี่รถ
หากดื่มสุราไม่ควรขับรถเอง
ควรให้เพื่อนที่ไม่ดื่มสุราช่วยขับรถไปส่ง
หรือนอนค้างบ้านเพื่อน
หรือใช้บริการรถแท๊กซี่

ข้อมูลจากสถาบันการแพทย์ ด้านอุบัติเหตุและสาธารณภัย (สอส.)
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โทร. 245-0848,246-6926

ที่มา: http://highway.police.go.th/drunk.htm

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.028194948037465 Mins