1. หลักการและเหตุผล
เพื่อให้เป็นไปตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2547 ซึ่งพระองค์ท่านได้แสดงความห่วงใยเยาวชนไทยเกี่ยวกับ เรื่องการสูบบุหรี่ และสอดคล้องตามนัยประราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 26 (10) และมาตรา 45 ในการห้ามจำหน่ายสุรา บุหรี่ให้แก่เด็ก และห้ามเด็กซื้อหรือเสพสุรา หรือบุหรี่ ตลอดจนการส่งเสริมความประพฤตินักเรียน นักศึกษา จึงได้จัดกิจกรรมในการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึก สร้างความตระหนักให้เกิดความร่วมมือไม่จำหน่าย ไม่ซื้อ ไม่เสพสุรา บุหรี่ และสิ่งมอมเมาอื่น ๆ เช่น เกมส์ออนไลน์ ทางอินเตอร์เน็ต
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ทุกภาคส่วนของสังคมไทยร่วมรณรงค์และต่อต้าน การซื้อ การขาย บุหรี่ สุรา อบายมุขต่าง ๆ รวมทั้งการให้บริการของร้านอินเตอร์เน็ต (เกมส์ออนไลน์) แก่เด็กและเยาวชน
2. เพื่อเป็นการรวมพลังเด็กไทนต่อต้านการซื้อการขาย บุหรี่ สุรา อบายมุขต่าง ๆ รวมทั้งการให้บริการของร้านอินเตอร์เน็ต (เกมส์ออนไลน์) แก่เด็กและเยาวชน
3. เพื่อให้เด็กนักเรียนได้ตระหนักถึงโทษของการขาย การซื้อ การเสพ บุหรี่ และดื่มสุรา อบายมุขต่าง ๆ รวมทั้งการใช้อินเตอร์เน็ตในทางที่ไม่สร้างสรรค์ เช่น การเล่นเกมส์ออนไลน์
4. เพื่อเป็นรูปแบบ (Model) ที่ดีแก่เยาวชนไทย
5. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพที่ดีของเด็กและเยาวชนไทยสู่สังคมที่มีคุณภาพ
3. ระยะเวลา / พื้นที่ดำเนินการ / กลุ่มเป้าหมาย
ระยะเวลาดำเนินการ ระหว่าง เดือน ธันวาคม 2547 - เดือน เมษายน 2548
พื้นที่ดำเนินการ กรุงเทพมหานคร และ 75 จังหวัด
กลุ่มเป้าหมาย เด็กและเยาวชนไทย อายุไม่เกิน 18 ปี
4. กิจกรรมในการรณรงค์
ในกุรงเทพมหานคร
· จัดแถลงข่าวแผนงานรณรงค์ตามโครงการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรสงการพัฒราสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเชิญศิลปิน นักร้อง นักแสดง ผู้มีชื่อเสียง ร่วมการรณรงค์
· เปิดศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น เพื่อให้คำแนะนำปรึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน โดยเปิดให้บริการในพื้นที่ ๆ มีเด็กและเยาวชนมาเที่ยว หรือเป็นแหล่งพื้นที่ ๆ เด็กและเยาวชนนิยมมาทำกิจกรรม โดยให้บริการในรูปแบบของศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ( One Stop Service )
· จัดกิจกรรมการรณรงค์ ใน 3 กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มที่ 1 สาธารณชน ประชาชรทั่วไป โดยการประชาสัมพันธ์
o รายการวิทยุ และสปอทวิทยุ รวมทั้งออกสปอทในสถานีวิทยุเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ทั่วไป
o รายการสดทางโทรทัศน์
o รายการสารคดี 2 นาที ทางโทรทัศน์
o ประชาสัมพันธ์ทางหนังสือพิมพ์
o ข่าวแจกสื่อมวลชนทั่วประเทศ
กลุ่มที่ 2 เด็ก เยาวชน ครอบครัว
o สปอทโฆษณา สำหรับกิจกรรมทั่วไป
o เสื้อยืด สติกเกอร์ โปสเตอร์ แผ่นผ้า ป้าน มือถือ เข็มกลัด ฯลฯ
o จัดรถยนต์ติดป้ายและกระจายเสียง
o จัดกิจกรรมดนตรี กีฬา ศิลปะ
กลุ่มที่ 3 ขอความร่วมมือสถานประกอบการหรือร้านค้าต่าง ๆ ให้ช่วยรณรงค์ ไม่ซื้อ ไม่ขาย สุรา บุหรี่ และดำเนินกิจการประเภทร้านอินเตอร์เน็ตให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
การดำเนินการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ และเอกชน
1. ประสานงานขอใช้สถานที่ในการจัดกิจกรรมรณรงค์
2. ขอการสนันสนุนการจัดทำสื่อประกอบแผนงาน
3. ขอการสนับสนุนของรางวัลเพื่อใช้และจำหน่าย
4. ขอการสนันสนุนส่งตัวแทน และ/หรือ ศิลปิน นักร้อง นักแสดง ผู้มีชื่อเสียง ฯลฯ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
· ทุกภาคส่วนของสังคมไทยได้ร่วมรณรงค์และต่อต้านการซื้อ การขาย บุหรี่ สุรา อบายมุขต่าง ๆ รวมทั้งการให้บริการของร้านอินเตอร์เน็ต (เกมส์ออนไลน์) แก่เด็กและเยาวชน
· เด็กไทยได้ร่วมพลังต่อต้านการซื้อการขาย บุหรี่ สุรา อบายมุขต่าง ๆ รวมทั้งการให้บริการของร้านอินเตอร์เน็ต (เกมส์ออนไลน์) แก่เด็กและเยาวชน
· เด็กนักเรียนได้ตระหนักถึงโทษของการขาย การซื้อ การเสพ บุหรี่ และดื่มสุรา อบายมุข ต่าง ๆ รวมทั้งการใช้อินเตอร์เน็ตในทางที่ไม่สร้างสรรค์ เช่น การเล่นเกมส์ออนไลน์
· มีรูปแบบ (Model) ที่ดีแก่เยาวชนไทย
· เด็กและเยาวชนไทยได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพที่ดี ทำให้สังคมมีคุณภาพ
หมายเหตุ : จึงได้ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซร้ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดอุตรดิตถ์