กว่าจะมาเป็น“ทางก้าวหน้า”

วันที่ 07 มีค. พ.ศ.2550

     การตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งแรกเกิดขึ้นพร้อมนิทรรศการ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 1 โดย ชมรมพุทธศาสตร์ 6 สถาบัน ได้ร่วมกันจัดขึ้น ณ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2525 ด้วยเล็งเห็นคุณค่า ของธรรมะ “มงคลชีวิต 38 ประการ” ว่าเป็นธรรมะที่เข้าใจง่าย และมีคุณค่ายิ่งหากนำไปปฏิบัติ และธรรมะดังกล่าวมิใช่มีประโยชน์เฉพาะนิสิต นักศึกษาเท่านั้น แต่ยังมีคุณค่าต่อนักเรียนในโรงเรียนสามัญอีกด้วย จึงเป็นแรงบันดาลใจให้จัดการตอบปัญหาธรรมะขึ้นเป็นครั้งแรก โดยรับสมัครเฉพาะโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 80โรงเรียน ทีมละ 2 คน ในครั้งนั้นมีผู้เข้าสอบถึง 191 ทีม รวม 382 คน เป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ชี้ให้เห็นถึงความสนใจในพระพุทธศาสนาของเยาวชนไทยในระยะหลัง

ในการจัดนิทรรศการครั้งที่ 2 คณะกรรมการฯ ได้ขยายขอบเขตการสอบไปในระดับมัธยมทั่วประเทศเป็นครั้งแรก ทีมละ 2 คน ซึ่งมีนักเรียนได้ให้ความสนใจเข้าร่วมสอบถึง 608 ทีม (จำนวน 1,216 คน) จาก 250 โรงเรียนทั่วประเทศ

การตอบปัญหาธรรมะ“ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2529 ได้ยกเลิกการสอบ ประเภททีม เป็นการสอบรอบเดียวเพื่อความสะดวกในการจัดห้องสอบ ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มรางวัลโล่พระราชทานรวมทั้งสิ้น 10 ประเภท โดยแยกเป็นกรุงเทพฯและส่วนภูมิภาคเพื่อให้ นักเรียนมีโอกาสได้รับโล่พระราชทานมากขึ้น และจัดให้มีการสอบทุกประเภทในวันเดียวกัน แทนการสอบวันละประเภท ปรากฎว่ามีผู้เข้าสอบทั้งสิ้น 6,470 คน อนึ่งได้มีการสอบระดับนักเรียน ทหาร-ตำรวจ ขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย

การตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 1 - 5 จัดโดยคณะกรรมการชมรมพุทธ ศาสตร์สถาบันต่างๆ โดยใช้สถานที่สอบเพียงแห่งเดียว คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้เรียนรู้ปัญหาหลายประการ เช่น ด้านอาคารสถานที่ การเดินทางของอาจารย์และนักเรียน การต้อนรับและการคุมสอบ เป็นต้น ดังนั้นในการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 6 เป็นต้นมา คณะกรรมการฯ จึงได้เปลี่ยนแปลงระบบทั้งหมด โดยจัดให้มีการสอบรอบคัดเลือก ณ ศูนย์ สอบฯ ทั้งในกรุงเทพฯ 4 ศูนย์สอบ และศูนย์สอบฯ ต่างจังหวัด 6 ศูนย์สอบรวม 10 ศูนย์สอบ ผู้ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจึงจะสามารถสอบรอบชิงชนะเลิศโดยมอบรางวัล ในระหว่างการจัดนิทรรศการ “ทางก้าวหน้า” ที่ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การตอบปัญหาธรรมะได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยมาจนถึงครั้งที่ 10 ให้แต่ละโรงเรียนสมัครประเภทละไม่เกิน 40 คน มีนักเรียนสมัครถึง 19,047 คน จาก 523 โรงเรียนทั่วประเทศรวมโล่พระราชทาน 10 ประเภท และได้เพิ่มรางวัลจากเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ สำหรับประเภทพิเศษพระภิกษุ - สามเณร และในปีพ.ศ. 2535 ได้มีการจัดตั้งชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ขึ้น เพื่อดำเนินการจัดสอบตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ร่วมกับชมรมพุทธศาสตร์สถาบันการ ศึกษาต่างๆ

และเนื่องจากความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้เพิ่มมากขึ้น คณะกรรมการฯ จึงได้พัฒนารูปแบบการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 11 เป็นการสอบเพียงรอบเดียว เพื่อสะดวกต่ออาจารย์และะนักเรียนจำนวนมาก ผู้ซึ่งไม่มีงบประมาณเพียงพอในการเดินทางหลาย ๆ ครั้งในแต่ละปี

ตั้งแต่การตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 8 เป็นต้นมา มีนิสิตจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ลงทะเบียน และทำคะแนนสอบ ทำให้ทุกอย่างเป็นระบบและถูกต้องรวดเร็วขึ้น และในครั้งที่ 16 ได้มีการนำกระดาษคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสอบทุกประเภท พร้อมกับได้ทำการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบใหม่ เพื่อรองรับการขยายตัวของกิจกรรมดังกล่าวที่ทวีเพิ่มมากขึ้น

และในการตอบปัญหาธรรมะ ครั้งที่ 13 เป็นต้นมา ได้แบ่งประเภทการสอบออกเป็น 10 ประเภทการสอบ โดยมีการสอบทั้งกรุงเทพ ปริมณฑล และส่วนภูมิภาค , ประเภททีม และประเภทบุคคล ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาตอนต้น ถึงอุดมศึกษา ชิงโล่พระราชทานรวมทั้งสิ้น 18 โล่พระราชทาน

การตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 16 พ.ศ. 2540 มีผู้สนใจสมัครสอบถึง 92,554 คน จาก 655 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยจำนวนนี้เป็นผู้สมัครจาก 5 จังหวัดภาคใต้ถึง 27,000 คน

การตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 17 พ.ศ. 2541 นับว่าเป็นประวัติ ศาสตร์ของทางก้าวหน้า ด้วยเพราะมีผู้เข้าร่วมสอบจำนวนถึง 1,350,000 คน จากกว่า 5,000 โรงเรียนทั่วประเทศ มากกว่าครั้งที่ 16 ถึง 13 เท่า สร้างความตื่นตัวให้กับแวดวงการศึกษาเป็นอย่างมากด้วย ไม่เคยมีการสอบครั้งใดในประเทศที่ผู้เข้าร่วมโครงการมากขนาดนี้ ทั้งยังเป็นกาสอบตอบปัญหาธรรมะอีกด้วย จึงเป็นการปลุกกระแส ให้เยาวชนยุคใหม่หันมาสนใจธรรมะกันอย่างกว้างขวาง

การตอบปัญหาธรรมะ“ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 18 พ.ศ. 2542 จำนวนผู้สนใจในการสอบเพิ่มขึ้นอย่างมาก มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ 2 ล้านกว่าคน

การตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 19 พ.ศ. 2543 มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ 3 ล้านกว่าคน มีการจัดสอบ 2 รอบ คือ รอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งในปีนี้ได้ขยายโอกาสให้กับครูอาจารย์ได้เข้าร่วมสอบ ด้วยและในการจัดสอบรอบชิงชนะเลิศระดับประถมศึกษาตอนต้นถึงระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย (ป3.-ม.6) และรอบคัดเลือกระดับครู อาจารย์ ได้มีการจัดตั้งศูนย์สอบประจำ อำเภอเป็นศูนย์สอบที่อยู่ในแต่ละอำเภอๆ ละ 1 ศูนย์สอบและมีศูนย์กระจายข้อสอบประจำ จังหวัดซึ่งใช้เป็นสถานที่กระจายข้อสอบให้ Supervisor นำไปจัดสอบที่ศูนย์สอบประจำอำเภอ

การตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 20 พ.ศ. 2544 มีผู้สนใจเข้าร่วม โครงการประมาณ 4 ล้านคน และโครงการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ในครั้งนี้ยังได้รับการบรรจุให้เป็นหนึ่งในโครงการในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการจัดตั้งชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ขึ้น เพื่อดำเนินการจัดสอบตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ร่วมกับชมรมพุทธศาสตร์สถาบันการ ศึกษาต่างๆ

และเนื่องจากความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้เพิ่มมากขึ้น คณะกรรมการฯ จึงได้พัฒนารูปแบบการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 11 เป็นการสอบเพียงรอบเดียว เพื่อสะดวกต่ออาจารย์และนักเรียนจำนวนมาก ผู้ซึ่งไม่มีงบประมาณเพียงพอในการเดินทางหลาย ๆ ครั้งในแต่ละปี

ตั้งแต่การตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 8 เป็นต้นมามีนิสิตจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา นำโปรแกรม คอมพิวเตอร์มาใช้ลงทะเบียน และทำคะแนนสอบ ทำให้ทุกอย่างเป็นระบบและถูกต้องรวดเร็วขึ้น และในครั้งที่ 16 ได้มีการนำกระดาษคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสอบทุกประเภทพร้อมกับได้ทำการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบใหม่เพื่อรองรับการ ขยายตัวของกิจกรรมดังกล่าวที่ทวีเพิ่มมากขึ้น

และในการตอบปัญหาธรรมะ ครั้งที่ 13 เป็นต้นมาได้แบ่งประเภทการสอบ ออกเป็น 10 ประเภทการสอบ โดยมีการสอบทั้งกรุงเทพ ปริมณฑล และส่วนภูมิภาค , ประเภททีม และประเภทบุคคล ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาตอนต้น ถึงอุดมศึกษา ชิงโล่พระราชทานรวมทั้งสิ้น 18 โล่พระราชทาน

การตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 16 พ.ศ. 2540 มีผู้สนใจสมัคร สอบถึง 92,554 คน จาก 655 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยจำนวนนี้เป็นผู้สมัคร จาก 5 จังหวัดภาคใต้ถึง 27,000 คน

การตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 17 พ.ศ. 2541 นับว่าเป็นประวัติ ศาสตร์ของทางก้าวหน้า ด้วยเพราะมีผู้เข้าร่วมสอบจำนวนถึง 1,350,000 คน จากกว่า 5,000 โรงเรียนทั่วประเทศ มาก กว่าครั้งที่ 16 ถึง 13 เท่า สร้างความตื่นตัวให้กับ แวดวงการศึกษาเป็นอย่างมากด้วย ไม่เคยมีการสอบครั้งใดในประเทศที่ผู้เข้าร่วมโครงการมากขนาดนี้ ทั้งยังเป็นกาสอบตอบปัญหาธรรมะอีกด้วย จึงเป็นการปลุกกระแสให้เยาวชนยุคใหม่หันมาสนใจธรรมะกันอย่างกว้างขวาง

การตอบปัญหาธรรมะ“ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 18 พ.ศ. 2542 จำนวนผู้สนใจในการสอบเพิ่มขึ้นอย่างมากมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ 2 ล้านกว่าคน

การตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 19 พ.ศ. 2543 มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ 3 ล้านกว่าคน มีการจัดสอบ 2 รอบ คือ รอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งในปีนี้ได้ขยายโอกาสให้กับครูอาจารย์ได้เข้าร่วมสอบ ด้วยและในการจัดสอบรอบชิงชนะเลิศระดับ ประถมศึกษาตอนต้นถึงระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย (ป3.-ม.6) และรอบคัดเลือกระดับครู อาจารย์ ได้มีการจัดตั้งศูนย์สอบประจำ อำเภอเป็นศูนย์สอบที่อยู่ในแต่ละอำเภอๆ ละ 1 ศูนย์สอบและมีศูนย์กระจายข้อสอบประจำ จังหวัดซึ่งใช้เป็นสถานที่กระจายข้อสอบให้ Supervisor นำไปจัดสอบที่ศูนย์สอบ ประจำอำเภอ

การตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 20 พ.ศ. 2544 มีผู้สนใจเข้าร่วม โครงการประมาณ 4 ล้านคน และโครงการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ในครั้งนี้ ยังได้รับการบรรจุให้เป็นหนึ่งในโครงการวัฒนธรรมสันติภาพขององค์การยูเนสโก ซึ่งเป็นองค์กรย่อยขององค์การสหประชาชาติที่ดูแลเกี่ยวกับการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม

ในปี พ.ศ. 2545 คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและ วัฒนธรรมวุฒิสภา ได้ร่วมจัดโครงการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 21 กับ ชมรมพุทธ ศาสตร์สากลฯ และในครั้งนี้โครงการยังได้รับการสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการจากกระทรวงต่างๆ คือ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงกลาโหม กระทรวง มหาดไทย และทบวงมหาวิทยาลัย

โครงการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 22 พ.ศ. 2546 ได้รับความเมตตาสนับสนุนโครงการจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี มอบโล่เกียรติยศให้กับผู้ที่สอบได้รางวัลชนะเลิศระดับครูอาจารย์ อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจาก ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยท่านได้เป็นประธานกิตติมศักดิ์ของโครงการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ระดับครูอาจารย์ และได้มอบประกาศนียบัตรที่ลงนามของท่าน ให้กับผู้ที่สอบผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศในระดับครูอาจารย์

สำหรับหนังสืออ้างอิงที่ใช้ในการสอบนั้น ได้มีการพัฒนาเรื่อยมา โดยใช้เนื้อหาที่หลากหลาย และได้มีการปรับเหลือเพียงเนื้อหาที่เกี่ยวกับมงคลชีวิต โดยในช่วงต้นหนังสือดังกล่าวได้มีการแจกแก่นักเรียนทุกคนที่สมัครสอบ แต่เมื่อมีผู้สมัครสอบมากขึ้นจึงมีการแจกหนังสือเป็นธรรมบรรณาการส่วนหนึ่งตามอัตราของยอดสมัครของโรงเรียน โดยค่าใช้จ่ายในการพิมพ์หนังสือนั้นได้รับบริจาคจากท่านผู้มีจิตศรัทธา

และการตอบปัญหาธรรมะทั้งหมดที่ผ่านมานี้ จะไม่สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้หากไม่ได้รับความเมตตาจากท่านผู้อำนวยการ ท่านผู้บริหาร หน่วยงาน ที่กรุณาให้ใช้สถานที่ของโรงเรียน และสถานที่ของราชการ เป็นศูนย์สอบฯ และเป็นศูนย์ข้อสอบ รวมทั้งความเมตตาของอาจารย์ประสานงานโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ, ท่านอาจารย์ผู้คุมสอบ, นิสิตนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ที่สละเวลามาช่วยจัดสอบและผู้มีส่วนสนับสนุนทุกท่าน ซึ่งต่างเต็มใจและภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่ร่วมกิจกรรมจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เยาวชนของชาติ จะได้เป็นผู้ที่มี “ ความรู้ คู่คุณธรรม ” เป็น พลเมืองที่ดีของชาติสืบไป

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.057308832804362 Mins