การดื่มเหล้าของวัยรุ่นสะท้อนนิสัยติดเหล้าของพ่อแม่

วันที่ 30 พย. พ.ศ.2548

 

sp481130_1.jpg

 

 

   

 

 

 

 

  ผู้เชี่ยวชาญโจ คอนนอลลี (Joe Connolly) ผู้ก่อตั้งบริษัทกู๊ดแพเร็นท์ (GoodParents, Inc.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกระตุ้นให้ผู้ปกครองเป็นแบบอย่างแก่เยาวชน เพราะนักดื่มส่วนมากจะเริ่มดื่มครั้งแรกที่บ้าน แล้วพ่อแม่เองที่เป็นผู้หยิบยื่นมันให้ ดังนั้น การขจัดปัญหาการดื่มเหล้าของเด็กที่อายุต่ำกว่าเกณฑ์ ผู้ใหญ่จะต้องเลิกกล่าวโทษวัยรุ่น และเริ่มสำรวจพฤติกรรมการดื่มของตนเองเสียก่อน เช่น การดื่มไวน์ช่วงอาหารค่ำ การดื่มเบียร์ในคืนวันศุกร์ แม้ว่าจะดูไม่ร้ายแรง แต่ก็เป็นการส่งสัญญาณเกี่ยวกับเหล้า และบทบาทของมันในชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองจึงต้องปรับนิสัยการดื่มเหล้าให้เคร่งครัด แทนการดื่มเหล้าอย่างสะเพร่า


           นอกจากนี้ การดื่มของเด็กเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ปกครอง โรงเรียน และองค์กรด้านกฎหมาย นำมาพิจารณา โดยหลายชุมชนได้พยายามยุติปัญหานี้ และบางแห่งก็ใช้วิธีที่เข้มงวด เช่น วิทยาลัยเบิร์คเลย์ (Berkeley) แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California) ให้นักศึกษาทุกคน รวมทั้งผู้อายุ 21 ปีขึ้นไป ตรวจการเสพย์สุราก่อนการเปิดเทอม

           ข้อมูลจากการสำรวจทางสังคมของเมืองพาโล แอลโต (Palo Alto) พบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ไม่ได้ดื่มเหล้าในรอบ 30 วัน มีร้อยละ 77 แต่ที่ดื่มมีร้อยละ 23 ส่วนในชั้นเรียนที่สูงกว่ามีนักเรียนที่ดื่มเหล้าในรอบ 30 วัน ร้อยละ 42 ซึ่งเป็นการดื่มก่อนเข้าเยนวิชาเต้นรำ ร้อยละ 80 ผู้ที่โดยสารในรถที่คนขับเป็นวัยรุ่นแล้วดื่มเหล้า มีร้อยละ 24 และผู้ที่ดื่มเหล้าแล้วขับมีร้อยละ 13 โดยจุดประสงค์ของการสำรวจนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่เด็กทุกคนจะดื่มเหล้า แต่ยังเด็กที่ดื่มเหล้าอยู่ ฉะนั้น เหล้าจึงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญ ซึ่งผู้ปกครองที่ร่วมในการประชุมต่างรู้สึกตกใจ และคล้อยตามสถิติดังกล่าว

           ช่วงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของที่ประชุม คอลเนลลี ได้ยกตัวอย่าง เมื่อครั้งงานเลี้ยงจบการศึกษาชั้น ม. 4 ซึ่งผู้ร่วมงานประมาณ 250 คน พร้อมด้วยเบียร์และไวน์เป็นจำนวนมาก เขานับจำนวนเด็กมัธยมต้นและมัธยมปลายที่ดื่มเหล้าได้ประมาณ 15 คน ฉะนั้น ความจำเป็นที่ต้องเหล้าในงานเลี้ยงเพื่อความสนุกสนาน อาจเป็นสัญญาณที่ส่งไปยังเด็กให้ดื่มมัน และเมื่อก่อนเขาก็ดื่มเหล้าเป็นนิสัย คือ ดื่มไวน์ 1 แก้ว ช่วงอาหารเย็นอาทิตย์ละครั้ง เบียร์ 2-3 กระป๋องในคืนวันศุกร์และงานเลี้ยงสุดสัปดาห์ ซึ่งเขาและภรรยาคิดว่ามันไม่เป็นปัญหาอะไร แต่ลูกชายที่ขณะอยู่ ม. 4 บอกว่า พ่อดื่มเหล้าจัดมาก เขาจึงตัดสินใจเลิกดื่มไปเลย ส่วนแม่บ้านอีกคนเสริมว่า เธอและสามีตัดสินใจไม่ดื่มที่บ้าน เพราะว่าครอบครัวเธอมีประวัติเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง

          แต่เหนือสิ่งอื่นใด วัยรุ่นเป็นวัยที่มีความคิดต่อต้านความเข้มงวดของผู้หลักผู้ใหญ่ ทว่าเด็กในช่วง ม.4 จะคิดตามเพื่อนมากกว่าคิดถึงผลที่จะตามมา ฉะนั้น โครงการอย่างเช่น Just say no จึงไม่มีผลกับเด็กในช่วงก่อนวัยรุ่น แล้วเด็กมัธยมต้นมีโอกาสจะดื่มเหล้าสูงถึง 5 เท่า ถ้าเพื่อนเขาดื่ม ทั้งนี้ คนจะไม่ตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลจนกว่าจะอย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 18 หรือ 19 ปี

          อย่างไรก็ตาม นอกจากการเป็นแบบอย่างที่บ้านแล้ว ควรจะหาโอกาสสอนและพูดคุยกับเด็กเป็นประจำ เช่น ขณะดูรายการโทรทัศน์ นิตยสาร ภาพยนต์ และสื่ออื่นๆ เพราะมักจะมีเรื่องราวเกี่ยวกับเหล้าเสนออยู่มากมาย อาทิ โฆษณาเหล้าจะมีประมาณร้อยละ 40 ของรายการโทรทัศน์

          นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีกรมพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน กล่าวว่า จากการศึกษาวิจัยพฤติกรรมการบริโภคสุรา เบียร์ และสารเสพติดของ
เยาวชน ที่กระทำผิดกฎหมายและถูกควบคุมตัวให้มาฝึกอบรมในสถานพินิจฯ จำนวน 121 ราย อายุระหว่าง 9-23 ปี เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน ส.ค. 2547 จนถึง พ.ค. 2548 ทั้งนี้ข้อมูลที่พบทำให้น่าตกใจว่า เด็กและเยาวชนที่กระทำ
ผิด มีพฤติกรรมสูบบุหรี่มากถึงร้อยละ 95.9 ดื่มเหล้าสูงถึง 85.1 และเสพยา
บ้า ร้อยละ 69.4 เหตุผลหลักที่เยาวชนดื่มเหล้า สูบบุหรี่ สารเสพติด คือ อยาก
ลอง และเพื่อนชักชวน ตั้งแต่ร้อยละ 75.0-92.6 ที่สำคัญพบว่าการดื่มสุรา
ของเยาวชนมีผลกระตุ้นให้พวกเขากระทำผิด ทั้งการข่มขืน โทรมหญิงทำ
ร้ายร่างกาย และก่อคดีฆาตกรรม

          "เมื่อสอบถามเด็กจะพบว่า กิจกรรมที่พวกเขากระทำร่วมกับ
เพื่อน คือ การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ซึ่งสิ่งที่เด็กทำเป็นผลโดยตรงมา
จากคนในครอบครัว เพราะจากการสำรวจพบว่า เด็กร้อยละ 80 มาจากครอบครัวที่มีคนสูบบุหรี่ ดื่มเหล้าละคนในครอบครัวร้อยละ 47.5 จะหาความบันเทิงจากการดื่มเหล้า เด็กบางคนเห็นพ่อแม่
ดื่มเหล้าทุกเย็น" นายวันชัยกล่าว

          ทางด้าน ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม รองประธานคนที่ 2 คณะกรรมการ
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เมื่อเด็กและเยาวชน
ที่ยังมีวุฒิภาวะจำกัด ถูกสุราลดทอนสติสัมปชัญญะลง ก็จะยิ่งก่อพฤติกรรม
อันน่าสลดใจได้อย่างง่ายดาย ซึ่งอยากเตือนสติเด็ก ผู้ปกครอง และสังคมไทย
โดยรวม ให้เร่งขจัดภัยสุราที่กำลังคุกคามอนาคตเยาวชนไทยอย่างรุนแรงยิ่ง
ในปัจจุบัน "น้องโบว์" จากศูนย์ฝึกและอบรมเยาวชนบ้านกรุณา เล่าให้ฟังว่า “โดนต้องโทษคดีลักทรัพย์ โดยก่อนที่จะก่อคดีได้ดื่มเหล้ากับเพื่อน ๆ เมื่อเมา
ก็ชักชวนกันไปขโมยรถมอเตอร์ไซค์เพื่อที่จะเอาไปขายและนำเงินไปเที่ยวและ
กินเหล้า แต่ก็มาโดนตำรวจจับเสียก่อน พอสร่างเมาก็รู้สึก เสียใจในสิ่งที่ทำ
ลงไปมาก วันนี้ตนเห็นโทษของมันแล้วว่ามันทำให้เราไม่มีสติ ไม่สามารถ
ควบคุมตัวเองได้ และสามารถทำในสิ่งที่ไม่ควรจะทำ ตนต้องหมดอนาคต
เพราะเหล้า จึงไม่คิดจะกลับไปดื่มเหล้าอีกเลย”


 

ที่มา: http://www.paloaltoonline.com/weekly/morgue/2005/2005_08_17.drinking17.shtml

ที่มา : หนังสือพิม์พ์ ไทยโพสต์ 10 สิงหาคม 2548 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.047743348280589 Mins