เหล้า น้ำทิพย์หรือน้ำพิษกันแน่
เมื่อปี ค.ศ. 1992 นักโบราณคดีได้ขุดพบภาชนะเก่าแก่คล้ายหม้อมีอายุประมาณ 7 พันปี ณ โบราณสถานวิหารโกดิน
(Godin Tepe) ของชนเผ่าซูเมอเรียนส์ (Sumerians) ทางทิศตะวันตกของประเทศอิหร่านปัจจุบัน ภายในภาชนะ
มีคราบเศษผงติดอยู่ เมื่อนักโบราณคดีเอาไปวิจัย พบว่าผงที่ติดเป็นคราบนั้นเป็นผงเหล้าไวน์
เหล้าคืออะไร เหล้าเป็นสารเคมีกึ่งธรรมชาติกึ่งสังเคราะห์ทั่วไปเรียกว่า แอลกอฮอล์ (Alcohol) มีชื่อทางเคมีว่า เอธานอล
(Ethanol) วิธีทำนั้นก็นำวัตถุที่เป็นแหล่งน้ำตาล เช่น ข้าวข้าวโพด ฯลฯ มาผสมกับตัวยีสต์ (Yeasyt) หมักโดยการปิด
ผาไม่ให้อากาศเข้า เรียกขบวนการนี้ว่า (Fermentation) จะได้สารเอธานอล หรือ แอลกอฮอล์ และมีก๊าซผสมมาด้วย เมื่อ
หมักด้วยยีสต์ ปริมาณแอลกอฮอล์จะสูงเรื่อย ๆ จนถึงระดับ 14% ตัวยีสต์จะเมาแอลกอฮอล์ตายไป การบวนการหมักจึงหยุด
ลงตรงนี้14 % นั้นยังไม่ถูกปากคน เพราะมันไม่อร่อย ต้องทำให้เข้มข้นขึ้น โดยนำไปต้มกลั่น จึงจะถูกปากดีนักแลขั้นตอน
การเมาเหล้าได้มีการวิจัยถึงขั้นตอนของการเมาเหล้าไว้ดังนี้
1.โจโคส(Jocose) คือพูดจ้อ พูดมาก พูดขนาดลิงหลับ หรือลิงยื่นกล้วยให้ แต่ไม่ได้สาระประโยชน์อะไร
2.เบลลิโคส พอเมามากหน่อยก็จะเริ่มพูดยั่วยวนกาวนประสาทผู้อื่น ท้าตีท้าต่อย
3.ลาครีโมส ขั้นต่อไปของการเมาก็คือ จะซึมเศร้าไม่เข้าท่าน้ำตาไหล ร้องไห้ไม่อายคน
4.โคมาโตส ดื่มหนัก ๆ เข้า เมาหนัก ๆ เข้า หล้าจะกดศูนย์ประสาทของการควบคุมการหายใจ จะเกิดอาการโคม่าตายไป เพราะหล้าก็มี
เหล้ามีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจโดยตรง เช่น ทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ การควบคุมตัวเองทำได้น้อยลง ขึ้นอยู่
กับระดับการดื่มด้วย มีผลต่อตับ กระเพาะอาหาร หัวใจ เป็นต้น
ความผิดทางคดียาเสพติดของเยาวชนไทย
ศาลเยาวชนเปิดเผยว่า คดียาเสพติดเป็นคดีที่เยาวชนทำความผิดมากที่สุดรองลงมาจากคดีลักทรัพย์ จี้ รัฐบาลต้องแก้ปัญหาที่รากเหง้ามิใช้เพียงแต่มุ่งปราบปรามอย่างเดียว
ศ.วิชา มหาคุณ ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กและเยาวชนและครอบครัว “ตุลาการเฉลิมพระเกียรติ”สำนักงานศาลยุติธรรมเปิดเผยถึงยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดปี 2549 ว่า การแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลที่ผ่านมามุ่งปราบปรามจนหลงลืมการแก้ปัญหาที่รากเหง้า ปัญหาจึงถูกกดทับไว้เหมือนหญ้าไม่ได้รับการถอนราก จึงทำให้ปัญหายาเสพติดหวนกลับมาอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและเยาวชน ซึ่งสังเกตจากคดีที่ปรากฏในศาลเยาวชนพบว่า ความผิดที่มีการกระทำมากที่สุด ได้แก่ คดียาเสพติด
ทางด้านศาลจังหวัดยะลาแผนกคดีเยาวชนพบว่า คดีที่เกิดขึ้น 100% จาก 131 คดี เป็นคดีที่เกี่ยวกับยาเสพติด เช่นเดียวกันที่ศาลเยาวชนกลาง กรุงเทพฯ อันดับ1 คดียาเสพติดมี 1,048 คดี คิดเป็น 26.10% อันดับ2 คดีลักทรัพย์มี 14% และอันดับ3 คดีสารระเหยมี 485 คดี คิดเป็น 12.08%
ศาตราจารย์วิชา กล่าวอีกว่า ยุทธศาสตร์ปี 2549 ของสถาบันพัฒนากระบวนการยุติธรรมเยาวชนแลครอบครัว ในการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด จะมุ่งเน้นยุทธศาสตร์การสร้างครอบครัวและชุมชนที่เข้มแข็งเนื่องจากปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับเด็กทั้งเรื่องยาเสพติดและสื่อลามกอนาจารรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ในเด็กและเยาวชนเพิ่มจำนวนขึ้นในขณะที่อายุน้อยลง ล้วนมีสาเหตุมาจากความอ่อนแอของครอบครัวและชุมชน
ดังนั้นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นี้จะให้การอบรมและความรู้แก่ชุมชนเพื่อกระตุ้นให้แกนนำในชุมชนเป็นนักบำบัดคนในครอบครัวรวมทั้งในชุมชนด้วยกันเอง โดยไม่ต้องรอพึ่งนักจิตวิทยาและนักบำบัดที่ส่งมาจากภาครัฐซึ่งขณะนี้สามารถสร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งได้แล้วถึง 100 ชุมชน ครอบคลุมเกือบทุกภูมิภาค ขณะนี้กำลังดำเนินการขยายเครือข่ายไปยังจังหวัดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งร่วมกันแก้ปัญหายาเสพติด
“ครอบครัวเป็นต้นตอหลักของปัญหาที่เกิดขึ้นในเด็กและเยาวชน อย่างเช่น กรณียาเสพติด เมื่อเด็กหรือเยาวชนอยู่ในชุมชนหรือครอบครัวที่มีผู้ค้าผู้เสพยาเสพติดก็จะเห็นเรื่องการหาเงินด้วยการทำผิดกฎหมายเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดา จำนวนเด็กที่มีปัญหาเหล่านี้จึงเพิ่มมากขึ้นตามมาด้วย”
ปัญหาต่างๆที่เกิดจากยาเสพติดสามารถแก้ปัญหาที่ถูกทางได้นั้นจึงต้องเริ่มต้นที่การสร้างครอบครัวที่อบอุ่นและชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อนำพาสู่สังคมที่ปลอดยาเสพติด
โดย..เตชนา- อนุธิดา