ธุรกิจ "น้ำเมา" เข้าตลาดหุ้น ฟันเฟืองเศรษฐกิจหรือตราบาป สังคม ๑

วันที่ 12 ตค. พ.ศ.2548

 

ท่าทีแข็งกร้าว ของกลุ่มพลังมวลชนที่มี พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ประธานกองทัพธรรมมูลนิธิ เป็นแกนนำผู้คน และพระสงฆ์จำนวนมาก ออกมาคัดค้านไม่ให้บริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจส์ จำกัด (มหาชน) เข้าระดมทุน ในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ได้กลายเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทำให้ สังคมไทย โดยรวมกระอักกระอ่วน ใจที่จะตัดสิน ว่า... อะไรคือความถูกต้อง

ระหว่างการยินยอมให้ธุรกิจที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ ์เข้ากระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้ตามสิทธิ การเข้าหาแหล่งทุนของผู้ประกอบการ กับการไม่อนุญาตให้ไทยเบฟซึ่งถูกเรียกว่า ธุรกิจน้ำเมา แต่ก็เป็นธุรกิจหนึ่งในระบบเศรษฐกิจของประเทศเข้า ระดมทุนในตลาดตามข้อเรียกร้องของฝ่าย พล.ต.จำลอง

และที่สุดแล้วเราจะหาทางออกเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร ไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ภาคธุรกิจ ความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ภาพพจน์ประเทศไทย

ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ก็คือ ทำอย่างไรไม่ให้ปัญหานี้กลายเป็นชนวนความร้าวฉานขึ้นในสังคมไทย

ทีมเศรษฐกิจ ขอนำเสนอบทวิเคราะห์ที่รวบรวม เอาความเห็นของหลายฝ่ายมาประมวล ประกอบเหตุผลของกลุ่มผู้สนับสนุน และผู้คัดค้านเพื่อให้เป็นข้อมูลแก่ท่านผู้อ่าน ในการพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหานี้ร่วมกัน ด้วยยึดมั่นในการเป็นสื่อกลางที่จะ ทำความเข้าใจแก่ผู้คนในสังคมเป็นหลัก นั่นเอง

พร้อมกันยังขอถือโอกาสนี้ เสนอให้รัฐบาลในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบ ในการบริหาร ราชการแผ่นดิน ให้เกิดความผาสุกแก่คนในชาติ ได้ทบทวนนโยบาย และมาตรการดูแลสังคมไทยให้มองเห็นถึงโทษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างจริงจัง

หลักการ และเหตุผลในการนำบริษัท ไทยเบฟ เข้าตลาด

บริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจส์ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นหนังสืออย่างเป็นทางการขอ นำหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 7,000 ล้านหุ้นของบริษัท เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 ก.ค.2548 หลังจากที่ใช้เวลา ประมาณปีเศษในการว่าจ้าง บริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน ขนาดใหญ่ 4 แห่ง เข้าจัดทำแผนการระดมทุน และรวบรวมธุรกิจในเครือทั้ง 48 แห่งเข้าเป็นบริษัทเดียวกัน

การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปตามมติของคณะกรรมการตลาด หลักทรัพย์ เมื่อปี พ.ศ.2538 ที่เห็นชอบให้รับบริษัทที่ประกอบธุรกิจประเภทพิเศษ ซึ่งผลิตเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เช่น เบียร ์ และไวน์ เข้าจดทะเบียนเพื่อระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้

แม้จะมีนโยบายเปิดกว้างในการรับบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลากหลายเข้าตลาดเพิ่มขึ้น แต่คณะกรรมการตลาดในขณะนั้นก็กำหนดให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน จัดทำแผน และมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมไว้ด้วย แต่น่าเสียดายที่บรรดาผู้เกี่ยวข้องปล่อยให้ประเด็นนี้กลายเป็นปัญหา ย้อนกลับมาเป็นหอกทิ่มแทงในภายหลัง

 

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย กล่าวว่า คณะกรรมการตลาดได้หยิบยกเรื่องการรับธุรกิจผลิต เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขึ้นมาถกเถียงกันถึงความเหมาะสมไม่เหมาะสมตั้งแต่ปีที่แล้ว และการประชุมคณะกรรมการวันที่ 27 ต.ค.2547 ที่ประชุมก็มีมติให้ฝ่ายบริหารศึกษาประเภทธุรกิจที่ไม่สมควรรับเข้าระดมทุน

ในตลาด โดยวางกรอบการพิจารณาไว้ 2 ประเด็นหลักคือ 1. ธุรกิจที่ไม่สุจริตเอาเปรียบรายย่อย และ 2. ธุรกิจไม่เหมาะสม เช่น บุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

อย่างไรก็ตาม ตลาดยกผลดีของการรับ บมจ.ไทยเบฟเข้าตลาด ด้วยเห็นว่า จะทำให้มาร์เก็ต แคป หรือมูลค่าหลักทรัพย์ ตามราคาตลาดเพิ่มขึ้นถึง 250,000 ล้านบาท หรือประมาณ 5% ของมูลค่าหลักทรัพย์รวมในปัจจุบัน 4.7 ล้านล้านบาท

นอกจากนี้ ไทยเบฟ ยังช่วยเพิ่ม ขีดความสามารถให้กับ ผู้ประกอบการไทยภายใต้เงื่อนไข การเปิดเสรีการค้า ตามกรอบขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ 45 แห่งทั่วโลก ยอมรับหุ้นในธุรกิจการผลิตเครื่องดื่ม ผสมแอลกอฮอล์เข้าระดมทุนหมดแล้ว และอุตสาหกรรมการผลิต เครื่องดื่มประเภทนี้ ก็สามารถช่วยกระตุ้น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ดี

ส่วนที่ว่า ไทยเบฟ คือ ใคร และทำอะไร นั้น ตามรายงานของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน ระบุว่า ธุรกิจในอาณาจักรของ บมจ.ไทยเบฟ ประกอบไปด้วยบริษัทต่างๆน้อยใหญ ่รวมทั้งสิ้น 48 บริษัท ด้วยกัน โดยมีทุนจดทะเบียน 29,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้ แยกเป็น โรงงานแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ซึ่งสามารถ นำไปใช้ในการผลิตแก๊สโซฮอล์เพื่อประหยัดพลังงานได้

 

ทีมเศรษฐกิจ

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.03977906703949 Mins