บัญญัติข้อที่ 5 ว่าด้วยการงดสูบบุหรี่ สุรา ยาเสพติด การพนันและการสำส่อนทางเพศ

วันที่ 28 ตค. พ.ศ.2548

 

สิ่งเสพย์ติด มีหลายประเภท ได้แก่

1. ประเภทกดประสาท เช่น ยานอนหลับ เหล้าแห้ง เฮโรอีน ฯลฯ เมื่อเสพแล้วจะทำให้ มึนงง สมองทำงานช้าลง
2. ประเภทกระตุ้นประสาท เช่น ชา กาแฟ บุหรี่ ยาม้าขยัน ฯลฯ เมื่อเสพแล้วจะทำให้มีการตื่นเต้นตลอดเวลา ตาแข็งไม่ง่วงนอน
3. ประเภทหลอดประสาท เช่น แอล.เอส.ดี. เมื่อเสพแล้วจะทำให้อารมณ์แปรปรวนเลอะเลือน เกิดอาการประสาทหลอน ควบคุมสติไม้ได้
4. ประเภทออกฤทธิ์หลายอย่าง เช่น กัญชา เมื่อเสพแล้ว ครั้งแรกจะรู้สึกตื่นเต้น สนุกสนาน ต่อมาจะมีอาการเซื่องซึม และเกิดประสาทหลอนควบคุมตัวเองไม้ได้ ในที่สุดสมองจะเสื่อมลง


 

สาเหตุของการติดสิ่งเสพย์ติด มีดังนี้

1. เกิดจากความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในการใช้ยาบ้างชนิด ยานอนหลับ ยาแก้ปวดต่างๆ ยาม้าขยัน ยาเหล่านี้เมื่อใช้เป็นปะจำ ทำให้ติดยา
2. เกิดจากการถูกชักชวนจากผู้เสพยาอยู่ก่อนแล้ว ผู้ชักชวนมักหว่านล้อม ให้เชื่อเสพแล้วจะทำให้กระปรี้กระเปร่า แรงมากลืมความทุกข์ได้ สมองปลอดโปร่ง ดูหนังสือได้น่าน เป็นต้น
3. เกิดจากการคึกคะนอง อยากลองเสพเพราะคิดว่าโก้เก๋
4. เกิดจากการถูกหลอกลวง โดยทำเป็นลูกกวาด ทอฟฟี่ ขนมหรือยา
5. เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่นกลุ้มใจในปัญหาชีวิต ครอบครัวแตกแยกขาดความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่ผู้ปกครอง


 

อาการของผู้ติดสิ่งเสพย์ติด ที่อาจสังเกตได้ ดังนี้

1. ความประพฤติความเปลี่ยนแปลง เช่น เกเรหนีเรียน การเรียนแย่ลง
2. อารมณ์เปลี่ยนไปหงุดหงิดโมโหมากง่าย
3. ชอบแยกอยู่คนเดียวในที่ลับตาคน เพื่อแอบเสพยา
4. ถ้าไม่ได้เสพ จะมีอาการน้ำมูกไหล เหงื่อออกมาก กระสับกระส่าย คลื่นไส ้ อาเจียน ฯลฯ
5. มีอาการเหมือนคนเมาเหล้า
6. ใช้เงินเปลืองนิสัยชอบลักขโมย
7. มักมียาแปลก ๆ และมีอุปกรณ์เสพยา เช่นหลอดฉีดยา กระดาษตะกั่ว หลอดกาแฟเก็บไว้เป็นส่วนตัว
8. ใส่เสื้อแขนยาวหรือกางเกงขายาว เพื่อปกปิดรอยเข็มฉีดยา
9. สวมแว่นตากันแดดตลอดเวลาเพื่อซ่อน แววตา


 

การป้องกันสิ่งเสพติด ทำได้ดังนี้

1. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งเสพย์ติดเพื่อจะได้รู้โทษ และอันตราย ที่มีต่อร่างกาย
2. อย่าเชื่อคำชักชวนให้เสพสิ่งเสพย์ติด
3. บำรุงรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอเลือกรับประทาน อาหาร หรือเครื่องดื่ม หรืออื่นๆ ที่ไม่มีสิ่งเสพย์ติดเจือป่นอยู่เพราะสิ่งเสพย์ติดอาจจะเจือป่นมา
4. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
5. เลือกคบเพื่อนที่มีนิสัยดีไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งผิดกฎหมาย หรือสิ่งเสพย์ติด


 

โทษของสารเสพติดต่อร่างกาย และจิตใจ

1. สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรมพิษภัยของสารเสพติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจที่ไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย

2. ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิม

3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ

4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่างๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักลด ผิวคล้ำซีด เลือดจากผอมลงทุกวัน

5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย และรักษาให้หายยาก

6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่องใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา

7. เกิดความคลุ้มคลั่ง อาละวาดผู้อื่น เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม


 

โทษของสารเสพติดต่อครอบครัว

1. ความรับผิดชอบต่อครอบครัวและญาติพี่น้องหมดไป ไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัว
2. ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ที่ต้องหามาซื้อสารเสพติด
3. ทำงานไม่ได้ขาดหลักประกันของครอบครัว และนายจ้างขาดความไว้วางใจ
4. สูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและญาติพี่น้อง

โทษของสารเสพติดต่อสังคมและเศรษฐกิจ

1. ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม และอุบัติเหตุอันตรายต่าง ต่อตนเองและผู้อื่น ได้ง่ายตลอดจนเป็นปัญหาของโรคบางอย่าง เช่น โรค เอคส์

2. ถ่วงความก้าวหน้าของชุมชน สังคม โดยเป็นภาระต่อส่วนรวม ที่ประชาชนต้องเสียภาษีส่วนหนึ่งมาใช้ในการปราบปรามบำบัดผู้ติดสารเสพติด

3. สูญเสียแรงงานโดยไร้ประโยชน์บั่นทอนประสิทธิภาพของผลผลิต ทำให้รายได้ของชาติในส่วนรวมกระทบกระเทือน และเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจของชาติ

4. เนื่องจากสภาพเป็นคนอมโรคมีความประพฤติและบุคลิกลักษณะเสื่อมจนเป็นที่รังเกียจของสังคม ทำให้เป็นคนไร้สติในวงสังคม โอกาสที่จะประกอบกิจที่ผิดศีลธรรมเพื่อแลกเปลี่ยนกับสิ่งเสพย์ติด เช่น พูดปด ขโมย หรือกลายเป็นอาชญากร เพื่อแสวงหาเงินซื้อสารเสพติด


 

โทษของสารเสพติดต่อประเทศชาติ

รัฐบาลต้องสูญเสียกำลังคน และงบประมาณแผ่นดินจำนวนมหาศาล เพื่อเป็นการปราบปรามและบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด ทำให้ต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลอันมีค่า เกิดความไม่สงบสุขของบ้านเมือง ความมั่นคงของประเทศชาติถูกกระทบกระเทือน ประชาชนเดือดร้อนเพราะเหตุอาชญากรรมประเทศชาติต้องสูญเสียกำลังของชาติอย่างน่าเสียดาย โดยเฉพาะผู้ติดสารเสพติดเป็นเยาวชน



 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.017990799744924 Mins