อภัย ไม่หมกเวร

วันที่ 13 สค. พ.ศ.2553

sp530813.jpg

อจฺจยํ เทสยนฺตีนํ        โย เจ น ปฏิคณฺหติ

โกปนฺตโร โทสครุ        ส เวรํ ปฏิมุจฺจติ ฯ

เมื่อเขาขอโทษ ถ้าผู้ใดมีความขุ่นเคือง

โกรธจัด ไม่ยอมรับ ผู้นั้นชื่อว่า หมกเวรไว้

(สํ.ส. ๑๕/๓๔)

 

ปล่อยเขาไปเถอะ

เขารับผิด เขาขอโทษ ก็พอเพียงแล้ว

เพราะอย่างน้อยที่สุด

ความสำนึกอันดีงามได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก

 

ความผิดเล็กน้อยผสมความโกรธลงไป

ก็กลายเป็นความผิดอันยิ่งใหญ่

ความผิดมากเจือความเมตตาลงไป

ก็กลายเป็น “พูดคุยกันได้”

 

ไฟโกรธมีอยู่กับผู้ใด ย่อมเผาผลาญใจผู้นั้นตลอดเวลา

เพลิงแค้นมีอยู่กับผู้ใด ย่อมหมกไหม้ใจผู้นั้นตลอดเวลา

 

อภัย...

อภัยได้ แม้เขาไม่รับผิด แม้เขาไม่ขอโทษ

อย่างไร กรรมก็ไม่ละเว้นเขาแน่

เพราะกรรม ไม่เคยไว้หน้าผู้ใดเลย

อภัย...

คือไม่เป็นเวร คือไม่มีภัย

อภัย...

คือไม่เป็นเวร คือไม่เป็นภัย

อภัย...

จงไม่มีเวร จงไม่มีภัยกับใครๆเลย

อภัย...

จงไม่เป็นเวร จงไม่เป็นภัยกับใครๆเลย

 

ขอขอบคุณ หนังสือ ส่องธรรม ล้ำภาษิต เล่ม ๒

สงวนลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

ห้ามนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้าหรือหากำไร ผู้ฝ่าฝืนมีความผิดและต้องรับโทษตามกฎหมาย

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.017089633146922 Mins