ข้อแนะนำเพื่อการพันาตนเองเพื่อทำหน้าที่กัลยาณมิตรเชิงปฏิบัติการ

วันที่ 12 มิย. พ.ศ.2557

 

 

ข้อแนะนำเพื่อการพันาตนเองเพื่อทำหน้าที่กัลยาณมิตรเชิงปฏิบัติการ

 

              การทำหน้าที่กัลยาณมิตรต้องเริ่มต้นจากตัวเองก่อน โดยศึกษาตนเองมีจุดเด่นหรือจุดด้อย
ข้อบกพร่องอย่างไรบ้าง เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพันาตัวเองให้ มบูรณ์ขึ้น มีข้อแนะนำเพื่อการพัฒนา
ตนเองเพิ่มเติม โดยย่อ ดังนี้


             1. การปรับปรุงความคิด


             กล่าวคือ ต้องมีความมั่นใจในการทำหน้าที่ ไม่คิดดูถูกตนเอง คิดอย่างไรในสิ่งที่ดี ก็พยายาม
ทำให้ได้อย่างนั้น ถ้าคิดในเชิงลบบ่อยๆ กำลังใจก็จะลดถอยลง เช่น ไม่คิดท้อแท้ในการทำหน้าที่กัลยาณมิตร ปรับเปลี่ยนความคิด โดยคิดแต่เรื่องดีๆ ให้บ่อยๆ อดทนรอคอยความสำเร็จในการทำหน้าที่อย่างใจเย็น ฝึกตั้งเป้าหมายเพื่อศักยภาพในตัวจะได้เพิ่มขีดความสามารถขึ้น


             2. การฝึกฝนการควบคุมอารมณ์

            รักษาอารมณ์ให้ บายๆ ไม่หงุดหงิด ไม่ขุ่นมัว หน้าตาให้ยิ้มแย้มแจ่มใส ระมัดระวังสิ่งที่ไม่ดีที่จะทำให้เข้าไปภายในจิตใจของเรา

 

             3. การฝึกฝนทักษะและประสบการณ์

            เช่น อย่ากลัวการปฏิเสธในความหวังดีของเรา ไม่มีความล้มเหลว แต่เพราะเราล้มเลิกไปเองต่างหากสังเกตการทำหน้าที่ของตน ทำความเข้าใจในผู้ที่เราไปพบ


            4. ให้เกียรติ และให้ความความสนใจในบุคคลที่เราไปทำหน้าที่กัลยาณมิตร


            5. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นทั้งคนเก่งและดี มีความกระตือรือร้น มีความรับผิดชอบและมีมนุษย์สัมพันธ์


           6. ฝึกฝนการนำเอาความรู้และความสามารถจากหลายวิธีที่ดี มาใช้ในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรโดยไม่คิดว่าสิ่งที่ตนทำนั้นสมบูรณ์หรือดีอยู่แล้ว

 
           7. การหมั่นศึกษาหาความรู้ เพื่อการพัฒนาตนเองให้ทำหน้าที่กัลยาณมิตรสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

            ดังนั้น หากบุคคลต้องการจะอุทิศตนทำหน้าที่กัลยาณมิตร และฝึกฝนตนเองบนเส้นทางเยี่ยง พระโพธิสัตว์ ย่อมจะเป็นบุคคลที่ได้เพิ่มพูนคุณธรรมในตน ดังพุทธสุภาษิตตอนหนึ่งว่า


          "ผู้ใดในโลกนี้ เป็นผู้สำรวมด้วยกาย วาจาและใจ ไม่ทำบาปกรรมอะไรๆ
 ไม่พูดพร่อยๆ เพราะเหตุแห่งตน บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามีศีล ผู้ใดคิดปัญหา
 อันลึกซึ้งได้ด้วยใจ ไม่ทำกรรมอันหยาบช้าอันหาประโยชน์มิได้ ไม่ละทิ้งทางแห่ง
 ประโยชน์อันมาถึงตามกาล บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามีปัญญา ผู้ใดแล เป็นคน
 กตัญูกตเวที มีปัญญา มีกัลยาณมิตร และมีความภักดีมั่นคง ช่วยทำกิจของ
 มิตรผู้ตกยากโดยเต็มใจ บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่าสัตบุรุษ"1

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชา DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

กลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

 
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0017724514007568 Mins