การทำหน้าที่กัลยาณมิตรด้วยวิธีการสัมมนา

วันที่ 10 กย. พ.ศ.2557

การทำหน้าที่กัลยาณมิตรด้วยวิธีการสัมมนา

การทำหน้าที่กัลยาณมิตรด้วยวิธีการสัมมนา

      กล่าวตามลักษณะของการสัมมนาแล้ว ส่วนใหญ่จะแบ่งลักษณะออกเป็น 2 ประการ คือ การสัมมาเพื่อการประชุม แสดงความคิดเห็นและการสัมมนา เพื่อมุ่งการสอนหรือการให้การอบรม ซึ่งการสัมมนาโดย ทั้ง 2 อย่าง จะมีลักษณะเป็นการประชุม โดยมีรูปแบบของการจัดกิจกรรมที่ต่างจากแบบในชั้นเรียน เพราะสามารถจัดให้มีบรรยากาศที่ยืดหยุ่น จัดสัมมนาในหัวข้อที่เหมาะสมกับสถานการณ์และวัตถุประสงค์ การสัมมนาเป็นกระบวนการสร้างกัลยาณมิตรแบบกลุ่ม ที่เราสามารถรวมผู้สนใจ ที่มีความรู้ความสนใจที่ใกล้เคียงกันมาแสดงความคิดเห็น อภิปราย พูดคุย สร้างสรรค์ทัศนะแนวทางใหม่ๆ ซึ่งสามารถนำแนวคิดนั้นๆ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

     1.การสัมมนาแบบประชุม เป็นหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนาบุคคลและงานในองค์กร ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะเป็นกลุ่มผู้รู้หรือผู้ที่ทำงานในหน่วยงาน ส่วนมากผู้ที่เข้าร่วมสัมมนา ควรจะเป็นผู้ที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน หรือมีประสบการณ์ใกล้เคียงกันมาร่วมสัมมนา มีพิธีในการประชุม

      2.การสัมมนาแบบสอน เพื่อการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้า โดยมีวิธีการต่างๆ การฝึกทักษะเรื่องของการคิด การวิเคราะห์ปัญหา การเสนอแนวทางแก้ไข การแสดงออกของความคิดเห็น ซึ่งอาจแสดงออกโดยการพูด สนทนา ฯลฯ ที่เกี่ยวกับเนื้อหาวิชานั้นๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่มีความเป็นไปได้ ซึ่งสามารถนำความรู้ไปใช้จริงได้ มีความรู้ทักษะ โดยกลุ่มผู้เรียนจะต้องมีพื้นฐานความรู้เดียวกัน


วัตถุประสงค์การสัมมนา

การจัดสัมมนาโดยทั่วไป มีวัตถุประสงค์ และมีความมุ่งหมายเพื่อก่อให้เกิดผลที่จะได้รับดังนี้

1. เพื่ออบรม ฝึกฝน ชี้แจง แนะนำ สั่งสอน ปลูกฝังทัศนคติและให้คำปรึกษา ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่เกี่ยวข้อง

2. เพื่อพิจารณา สำรวจ ตรวจสอบปัญหา หรือประเด็นต่างๆ ที่หยิบยกขึ้นมา เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องที่ต้อง การรู้

3. เพื่อนำเสนอสาระที่น่ารู้ น่าสนใจที่ทันสมัย และเหมาะสมกับสถานการณ์

4. เพื่อแสวงหาข้อตกลง ด้วยวิธีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเสรี ซักถาม ถกเถียง ปรึกษาหารือ ภายใต้หัวข้อที่กำหนด

5. เพื่อการตัดสินใจหรือกำหนดนโยบาย หรือแนวทางสำหรับนำไปปฏิบัติ

6. เพื่อให้ได้ข้อสรุปผลของการนำเสนอหัวข้อ หรือการวิจัย


การวางแผนการจัดสัมมนา

  ผู้จัดสัมมนาจะต้องวางแผนกำหนดและจัดทำ เพราะจะได้ทราบช่วงเวลาของการดำเนินการของการสัมมนา โดยมีรายละเอียดบางประการ ดังต่อไปนี้

- ชื่อเรื่องสัมมนา

- ชื่อหน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการจัดสัมมนา

- วัน เดือน ปี ที่จัดสัมมนา

- กำหนดการ หรือลำดับการดำเนินงาน

- วิทยากร

- สถานที่


   การทำกำหนดการสัมมนาอย่างชัดเจน จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา และผู้จัดการสัมมนาได้ วางแผนและเตรียมตัวการสัมมนา ทั้งเรื่องของความคิดที่ต้องการจะได้จากการสัมมนา การเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการเตรียมคำถาม คำตอบ จัดเวลาสำหรับการร่วมสัมมนาและในการจัดสัมมนานั้นผลที่ได้ที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับประโยชน์อะไรบ้างนั้น ย่อมเป็นเรื่องที่ผู้จัดสัมมนาต้องตั้งเป้าหมาย และคาดหวังถึงผลที่จะได้จากการสัมมนาด้วย และการสัมมนานั้นจะบรรลุเป้าหมาย ควรเลือกวิทยากรที่น่าสนใจ มีความสามารถในการพูด ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ แต่สำหรับผู้มีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถ แต่ศิลปะการพูดไม่ถนัดนัก ก็ให้ใช้วิธีการสัมภาษณ์แทน เช่น บันทึกเป็นภาพยนตร์วิดีโอเป็นตอนสั้นๆ นำมาฉายในที่สัมมนา เป็นต้น และนอกจากนี้ต้องคำนึงถึงการสร้างบรรยากาศให้ทุกคนอยากมีส่วนในงานสัมมนาด้วย

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.040858332316081 Mins