ลักษณะของอายตนะภายใน

วันที่ 15 สค. พ.ศ.2558

 

ลักษณะของอายตนะภายใน

            1.ประสาทตา มีดวงตาเป็นโครงสร้างใหญ่ ที่เปลือกตามีขนเล็กสีดำ (ขนตา) ส่วนดวงตาประกอบด้วยตาดำตาขาวลักษณะคล้ายกลีบอุบลเขียว ประสาทตาอยู่ตรงกลางตาดำ ซึ่งแวดล้อมด้วยตาขาว ซึมซาบเยื่อตา 7 ชั้น เหมือนน้ำมันซึมซาบสำลี 7 ชั้น ธาตุ 4 เกื้อหนุน โดย ปฐวีคอยทรงไว้ อาโปคอยเชื่อมประสาน เตโชคอยอบให้อบอุ่น และวาโยคอยทำให้เคลื่อนไหว อุตุ จิต อาหารคอยค้ำจุน ชีวิตคอยตามเลี้ยง แวดล้อมด้วยสี กลิ่น รส โอชา มีขนาดโตเท่าหัวเล็น เป็นที่ตั้งและเป็นทางเดินของการรับรู้ทางตา (จักขุวิญญาณ)

 

            2.ประสาทหู มีใบหูเป็นโครงสร้างใหญ่ ในใบหูตรงที่ประสาทหูตั้งอยู่ คือ แก้วหู มีลักษณะคล้ายวงแหวน มีขนอ่อนสีแดงเข้ม มีอาการอย่างเดียวกับประสาทตา คือ ธาตุ 4 เกื้อหนุนโดยปฐวีคอยทรงไว้ อาโปคอยเชื่อมประสาน เตโชคอยอบให้อบอุ่น และวาโยคอยพัดให้เคลื่อนไหว อุตุ จิต อาหารคอยค้ำจุน ชีวิตคอยตามเลี้ยง แวดล้อมด้วย สี กลิ่น รส โอชา เป็นที่ตั้งและเป็นทางเดินของการรับรู้ทางหู (โสตวิญญาณ)

 

            3.ประสาทจมูก มีจมูกเป็นโครงสร้างใหญ่ ในโพรงจมูก ตรงที่ประสาทจมูกตั้งอยู่คือเยื่อจมูก มีลักษณะคล้ายกีบเท้าแพะ มีอาการอย่างเดียวกับประสาทตา และประสาทหู คือธาตุ 4 เกื้อหนุน โดยปฐวีคอยทรงไว้ อาโปคอยเชื่อมประสาน เตโชคอยอบให้อบอุ่น และวาโยคอยพัดให้เคลื่อนไหว อุตุ จิต อาหารคอยค้ำจุน ชีวิตคอยตามเลี้ยง แวดล้อมด้วย สี กลิ่น รส โอชา เป็นที่ตั้งและเป็นทางเดินของการรับรู้ทางจมูก (ฆานวิญญาณธาตุ)

 

            4.ประสาทลิ้น มีลิ้นเป็นโครงสร้างใหญ่ บริเวณลิ้นตรงที่ประสาทลิ้นตั้งอยู่มีลักษณะคล้ายกลีบอุบล (บัวสาย) อยู่ตรงกลางลิ้น มีอาการอย่างเดียวกับประสาทตา ประสาทหู ประสาทจมูก คือ ธาตุ 4 เกื้อหนุน โดยปฐวีคอยทรงไว้ อาโปคอยเชื่อมประสาน เตโชคอยอบให้อบอุ่น และวาโยคอยพัดให้เคลื่อนไหว อุตุ จิต อาหารคอยค้ำจุน ชีวิตคอยตามเลี้ยง แวดล้อมด้วย สี กลิ่น รส โอชา เป็นที่ตั้งและทางเดินของการรับรู้ทางลิ้น (ชิวหาวิญญาณ)

 

            5.ประสาทกาย มีร่างกายเป็นโครงสร้างใหญ่ มีอยู่ทั่วร่างกาย เหมือนน้ำมันซึมซับเนื้อสำลี มีอาการอย่างเดียวกับประสาทตา ประสาทหู ประสาทจมูก ประสาทลิ้น คือ ธาตุ 4 เกื้อหนุน โดยปฐวีคอยทรงไว้ อาโปคอยเชื่อมประสาน เตโชคอยอบให้อบอุ่น และวาโยคอยพัดให้เคลื่อนไหว อุตุ จิต อาหารคอยค้ำจุน ชีวิตคอยตามเลี้ยง แวดล้อมด้วย สี กลิ่น รส โอชา เป็นที่ตั้งและเป็นทางเดินของการรับรู้ทางกาย (กายวิญญาณ)

 

            6.รูปเป็นปัจจัย ให้เกิดการติดต่อทางใจ คือนึกคิด รูปในที่นี้หมายเอา ปสาทรูป 5 คือ ประสาทตา ประสาทหู ประสาทจมูก ประสาทลิ้น ประสาทกาย ซึ่งได้สัมผัสกับสิ่งเร้า คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย แล้วเป็นปัจจัยให้เกิดการนึกคิดไปตามที่ได้สัมผัสมานั้น

------------------------------------------------------------

MD 408 สมาธิ 8: วิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0017592350641886 Mins