ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: วรุณชาดก ชาดกว่าด้วยการทำไม่ถูกขั้นตอน

ชาดก 500 ชาติ

วรุณชาดก ชาดกว่าด้วยการทำไม่ถูกขั้นตอน

 

 
กุลบุตรชาวสาวัตถีประมาณ 30 คนเดินทางไปยังวิหารเชตวัน
 
                           ย้อนไปในสมัยพุทธกาล ณ พระเชตวันมหาวิหารอันเป็นที่ประทับของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังมีกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีซึ่งเป็นสหายกันประมาณ 30 คน  ถือของหอม ดอกไม้และผ้า คิดกันว่าจะเข้าเฝ้าฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา จึงได้พากันไปยังวิหารเชตวันและได้นั่งพักในโรงนา คมาฬกะ วิสาลมาฬกะ 
 
 
กุลบุตรชาวสาวัตถีนำดอกไม้ของหอมเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา
 
                          เพื่อรอเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ พอเวลาเย็นพระศาสดาก็เสด็จออกจากพระคันธกุฎีอันอบด้วยกลิ่นหอม เสด็จดำเนินไปสู่ธรรมสภาประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ อันตกแต่งแล้ว เหล่ากุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีจึงได้บูชาพระศาสดา ด้วยของหอมและดอกไม้ ถวายบังคมแถบบาทยุคลอันประดับด้วยจักรทรงพระสิริเสมอด้วยดอกบัวบาน  แล้วนั่งฟังพระธรรมอย่างสงบ และพร้อมใจกันออกบรรพชา เพื่อศึกษาพระธรรมให้บรรลุแจ้ง
 
 
กุลบุตรหนุ่มตั้งใจฟังธรรมจากพระบรมศาสดา
 
                         “เราทั้งหลายต้องบวช ถึงจะรู้ทั่วถึงธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้วได้กว้างขวาง” “เราก็เห็นควรกับท่านนะ เพราะถ้าหากเราไม่บวช ก็คงจะบรรลุธรรมได้อยาก” ในเวลาที่พระตถาคตเสด็จออกจากธรรมสภา พวกกุลบุตรเหล่านั้นก็พากันไปเข้าเฝ้า ถวายบังคมทูลขอบรรพชา พระศาสดาก็ทรงประทานบรรพชาแก่พวกเขาสมความตั้งใจ 
 
 
กุลบุตรหนุ่มได้ปรึกษากันถึงเรื่องการออกบวช
 
                        ด้วยความมุ่งมั่นศึกษาธรรม ทำให้เป็นที่โปรดปรานแก่อาจารย์และอุปัชฌาย์ สามารถท่องมาติกาทั้งสองคล่องแคล้ว รู้สิ่งที่เป็นกัปปิยะ และอกัปปิยะ เรียนทั้งโมทนา 3 เย็นย้อมจีวร ประพฤติปฏิบัติธรรมไม่ได้ว่างเว้นตลอดระยะเวลา 5 พรรษาที่ได้อุปสมบท จากนั้นก็กราบลาอาจารย์อุปปัชฌาย์เพื่อบำเพ็ญสมณะธรรม 
 
 
กุลบุตรหนุ่มซึ่งเป็นสหายกัน 30 กว่าคนได้ตัดสินใจออกบวช
 
                           “พวกกระผมจะขอลาท่านอาจารย์ เพื่อไปบำเพ็ญสมณะธรรมขอรับ” “ขอให้พวกเจ้าทั้งหลายโชคดี บำเพ็ญสมณะอย่างตั้งใจ จงสำเร็จทุกประการเทอญ” “สาธุ” เมื่อลาอุปัชฌาย์อาจารย์เสร็จ ก็พากันไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา เพื่อถวายบังคมลาตามพุทธทำเนียมปฏิบัติสืบมา 
 
 
บรรดาภิกษุหนุ่มแจ้งความประสงค์ต่อพระศาสดาที่จะออกเดินทางไปบำเพ็ญสมณะธรรม
 
                         “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์นี้ เอื้อมระอาในภพทั้งหลาย กลัวแต่ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตาย จึงมีความตั้งใจจะออกบำเพ็ญสมณะ ขอพระองค์จงตรัส บอกพระกรรมฐาน เพื่อปลดเปลื้องตนสังขารทุกข์แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเหล่านี้ด้วยเถิดพระเจ้าข้า” 
 
 
เหล่าภิกษุทั้งหลายพากันออกเดินทางไปบำเพ็ญสมณะธรรม
 
                           พระศาสดาทรงทราบสัปปายะ กรรมฐานข้อใดเป็นสิ่งที่เหมาะกับสิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิ(Meditation)ตั้งมั่นไม่เสื่อมถอย จึงตรัสบอก พระกรรมฐานข้อหนึ่ง ในกรรมฐาน 38 ประการแก่ภิกษุเหล่านั้น หลังจากที่ได้เรียนพระกรรมฐานในสำนักของพระศาสดาแล้ว เหล่าภิกษุทั้งหลายจึงได้ถวายบังคมพระศาสดา กระทำประทักษิณไปสู่บริเวณ
 
 
ภิกษุผู้เกียจคร้านรูปหนึ่งได้ละทิ้งความเพียรโดยการไม่ออกไปบำเพ็ญสมณะธรรม
  
                         อำลาอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ถือเอาบาตรและจีวรออกจากวิหาร ไปด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักบำเพ็ญสมณะธรรม ในบรรดาภิกษุเหล่านั้น มีภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่า กุฏุมพิกปุตตติสสเถระเป็นผู้เกียจคร้าน ความเพียรทราม ติดรสอาหาร เธอคิดอย่างนี้ว่า เราจักไม่สามารถอยู่ในป่า ไม่ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการเที่ยวภิกษาจาร การไปป่าไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เราจะกลับ 
 
 
บรรดาเพื่อนภิกษุทั้งหลายต่างพากันสงสัยในการเดินทางกลับของภิกษุผู้เกียจคร้าน
   
                         เธอทอดทิ้งความเพียรเสียแล้ว “โอ๊ย ให้ไปบำเพ็ญอยู่ในป่ามีแต่จะทำให้ลำบาก อาหารอร่อยๆ ก็ไม่มีให้กิน ใครจะไปอยู่ได้ล่ะ เฮ้อ..คิดแล้วก็ท้อเลยเรา ฮึ ไม่เอาดีกว่า กลับไปอยู่วัดตามเดิมดีกว่า สบายกว่ากันเยอะ หันหลังกลับดีกว่า” “อ้าว นั่นกุฏุมพิกปุตตติสสเถระเขาเดินกลับไปทำไมล่ะท่าน” “ช่างเขาเถอะ เรารีบเดินทางกันต่อดีกว่า อย่าไปใส่ใจเลยนะท่าน”
 
 
เหล่าภิกษุทั้งหลายต่างพากันทำความเพียรตลอดทั้งพรรษา
 
                         ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นพากันจาริกไปในแคว้นโกศล ถึงหมู่บ้านชายแดนตำบลหนึ่ง ก็เข้าอาศัยหมู่บ้านนั้นจำพรรษาอยู่ที่ชายป่าแห่งหนึ่ง เป็นผู้ไม่ประมาท ตลอดพรรษาบรรดาภิกษุทั้งหลาย ต่างก็เพียรพยายามวิปัสสนาจนบรรลุพระอรหันต์ ครั้นพอออกพรรษา ปวารณาแล้วปรึกษากันว่า “บัดนี้ก็ออกพรรษาแล้ว พวกเราต่างบรรลุหลักธรรมในพระศาสดา จนได้เป็นพระอรหันต์แล้ว
 
 
เหล่าภิกษุผู้บำเพ็ญสมณะธธรรมได้เดินทางกลับมายังเชตวันหลังจากที่ออกพรรษาแล้ว
  
                         เราทั้งหลายควรกราบทูลคุณที่เราได้บรรลุนี้ แด่พระศาสดา” จากนั้นจึงพากันออกจากปัจจันตคามถึงพระเชตวันมหาวิหารโดยลำดับ เมื่อเข้าพบอาจารย์และพระอุปัชฌาย์เสร็จแล้ว ต่างก็พากันไปเฝ้าพระศาสดา “บัดนี้พวกข้าพระองค์สำเร็จในธรรมแห่งพระพุทธองค์ บรรลุอรหันต์แล้วพระเจ้าข้า” “เราขอแสดงความยินดีในธรรมแก่พวกเธอทั้งหลาย ขอให้พวกเธอจงรักษาความดีนี้ไว้เพื่อความเป็นบึกแผ่นและดำรงไว้ซึ่งพระศาสนาเป็นที่พึ่งพิงของสรรพสัตว์ทั้งหลายต่อไปนะ” “สาธุ” 
 
 
ภิกษุผู้เกียจคร้านเกิดความอิจฉาเพื่อนภิกษุที่ได้รับคำชมจากพระบรมศาสดา
 
                          ฝ่ายพระกุฏุมพิกปุตตติสสเถระ เมื่อเห็นพระศาสดาตรัสสรรเสริญคุณของภิกษุเหล่านั้น แม้ตนเองก็ประสงค์จะบำเพ็ญสมณะธรรมบ้าง “ภิกษุพวกนี้กลับมา ต่างก็ได้รับคำชม จากพระศาสดายิ้มแก้มปริกันถ้วนหน้า ฮึ น่าอิจฉาจริงๆ เลย ไม่ได้แล้ว เราก็อยากให้พระองค์ยกย่องเราเหมือนกัน เราต้องบำเพ็ญสมณะบ้างแล้วล่ะ จะได้ไม่น้อยหน้าภิกษุรูปอื่น”
 
 
เหล่าภิกษุทั้งหลายได้เดินทางไปบำเพ็ญสมณะธรรมยังชายป่าอีกครั้ง
  
                          เมื่อเหล่าภิกษุทั้งหลาย กราบทูลลาพระศาสดา เพื่อไปบำเพ็ญสมณะธรรมที่ชายป่า พระกุฏุมพิกปุตตติสสเถระ จึงได้ออกเดินทางไปกับภิกษุทั้งหลายด้วย “พวกท่านจะออกไปเจริญสมณะที่ชายป่ากันอีกใช่มั๊ย คราวนี้เราขอตามพวกท่านไปบำเพ็ญสมณะด้วยนะ รับรองว่าคราวนี้เราจะตั้งใจให้ถึงที่สุดเลยล่ะท่าน”
“หากท่านประสงค์เช่นนั้น พวกเราก็มิขัดข้องหรอก 
 
 
พระกุฏุมพิกปุตตติสสเถระผู้เกียจคร้านเร่งทำความเพียรในการบำเพ็ญสมณะธรรม
 
                         พวกเราก็ขออนุโมทนาบุญกับท่านด้วยนะ สาธุ” “ฮิฮิ คราวนี้หล่ะ เราก็จะได้เป็นพระอรหันต์ เราก็จะได้รับคำชมจากพระศาสดาด้วย ฮิๆๆ” ในระหว่างที่เดินทางไปได้ราตรีเดียว พระกุฏุมพิกปุตตติสสเถระนั้น บำเพ็ญเพียรจัดในระหว่างเวลารัตติกาล บำเพ็ญสมณะธรรมโดยรีบเร่งเกินไป พอถึงเวลาระยะมัชฌิมยาม ทั้งๆ ที่ยืนพิงแท่งกระดานสำหรับพัก ก็เผลอหลับไป กลิ้งตกลงมา กระดูกขาของท่านแตกเกิดเวทนายิ่งนัก 
 
 
พระกุฏุมพิกปุตตติสสเถระผู้เกียจคร้านได้ตกจากไม้กระดานทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ
 
                        “โอ๊ย ขาเรา โอ๊ย เจ็บเหลือเกิน ช่วยด้วยๆ ใครก็ได้มาช่วยเราที โอ๊ย” เหล่าภิกษุทั้งหลายจึงพาพระกุฏุมพิกปุตตติสสเถระกลับมายังพระเชตะวัน พระศาสดาจึงตรัสถามภิกษุเหล่านั้น ผู้พากันมาในเวลาเป็นที่บำรุงว่า “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเพิ่งบอกลาเราเมื่อวานว่า จักพากันไปในวันพรุ่งนี้มิใช่หรือ”
 
 
พระกุฏุมพิกปุตตติสสเถระผู้เกียจคร้านไม่สามารถเดินทางต่อได้เพราะได้รับบาดเจ็บ
 
                       “พระเจ้าข้า แต่ว่าท่านติสเถระบุตรกุฏุมพีสหายของข้าพระองค์ทั้งหลาย กระทำสมณะธรรมอย่างรีบเร่งในเวลามิใช่กาล จึงถูกความง่วงครอบงำ กลิ้งตกลงมากระดูกขาแตก พวกข้าพระองค์จึงจำต้องงดการเดินทางพระเจ้าข้า” “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุนี้รีบเร่งกระทำความเพียรในเวลามิใช่กาล 
 
 
พระศาสดาทรงนำ วรุณชาดก มาตรัสเล่าให้กับบรรดาภิกษุทั้งหลายได้รับฟัง
 
                          เพราะความที่ตนเป็นผู้มีความเพียรย่อหย่อน จึงกระทำอันตรายต่อการเดินทางของพวกเธอ แม่ในครั้งก่อนภิกษุนี้ก็ได้ทำการอันไม่บังควรเช่นนี้มาแล้วเหมือนกัน” พระศาสดาจึงนำ วรุณชาดกมาตรัสเล่าให้เหล่าภิกษุทั้งหลายได้ฟัง ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอาจารย์ทิสาปาโมกข์ ให้มานพ 500 คน เล่าเรียนศิลปะอยู่ในเมืองตักศิลา แคว้นคันทาระ 
 
 
มานพหนุ่ม 500 คนได้เล่าเรียนกับอาจารย์ทิสาปาโมกข์ ณ เมืองตักศิลา
 
                       ครั้นวันหนึ่งมานพเหล่านั้นพากันเข้าไปในป่าเพื่อหาฝืนมาเก็บไว้ ในระหว่างมานพเหล่านั้นมีมานพผู้เกียจคร้านอยู่คนหนึ่ง เห็นต้นกุ่มใหญ่ สำคัญว่าต้นไม้นี้เป็นต้นไม้แห้ง คิดว่านอนเสียชั่วครู่หนึ่งก่อนก็ได้ ทีหลังค่อยขึ้นต้นแล้วหักฟืนทิ้งลงมาแล้วหอบเอาไป จึงปูลาดผ้าห่มลงนอนกรนหลับสนิท
 
 
เหล่ามานพหนุ่มได้เดินทางเข้าป่าเพื่อไปหาฟืน
 
                        “เอาเวลามานอนหลับสักงีบจะดีกว่า เดี๋ยวค่อยตัดต้นกุ่มเอาก็ได้ ไม่เห็นต้องไปหาฟืนให้เหนื่อยเลย ฉลาดไม่มีใครเทียบเลยเรา ฮ่าๆๆ เฮ้อ นอนดีกว่า” ส่วนมานพผู้อื่นต่างก็ตั้งหน้าตั้งตา เก็บฟืนและแบกกันมาเป็นมัดๆ เมื่อเห็นมานพผู้เกียจคร้านเอาแต่นอนไม่ช่วยเก็บฟืน จึงเอาเท้ากระทืบมานพนั้นที่หลัง ปลุกให้ตื่นแล้วพากันไป “หมั่นไส้จริงๆ เลย นอนกินแรงคนอื่นเค้านี้ เฮ้อ” “นั่นนะสิ ดูสินอนน้ำลายยืดเชียว อย่างนี้มันต้อง นี่แน่ะ” 
 
 
มานพหนุ่มผู้เกียจคร้านแอบนอนหลับในขณะที่เพื่อนๆ พากันไปหาฟืน
 
                         “โอ๊ย ใครมาปลุกเราว่ะ แล้วนี่ นี่คนอื่น เค้าแบกฟืนกลับมากันแล้วหรือนี่” มานพผู้เกียจคร้านตกใจตื่น ลุกขึ้นขยี้ตาจนหายง่วงแล้ว ก็รีบปีนขึ้นต้นกุ่ม จับกิ่งเหนี่ยวมาตรงหน้าตน พอหักแล้วปลายไม้ที่ลัดขึ้นก็ดีดเอาในตาของตนแตกไป “โอ๊ยเจ้ากิ่งไม้บ้า ดีดใส่ตาข้า โอ๊ย คอยดูนะข้าจะหักกิ่งแก่ให้หมด หนอย นี่แน่ะๆ” 
 
 
มานพหนุ่มได้ปีนขึ้นต้นกุ่มเพื่อหักกิ่งนำมาทำฟืน
 
                           มานพผู้เกียจคร้านเอามือข้างหนึ่งปิดตาไว้ ส่วนมืออีกข้างหนึ่ง ก็หักฟืนสดๆ ลงจากต้น มัดแล้วก็เอาไปแบกทับบนฟืนแห้งที่พวกมานพคนอื่นๆ กองกันเอาไว้อีกด้วย “กองเอาไว้บนนี้แหละ ขี้เกียจจะแยกแล้ว กลับไปเอายาทาตาดีกว่า อู๊ย เจ็บๆๆๆ” และในวันเดียวกันนั้นเองตระกูลหนึ่งจากบ้านในชนบท นิมนต์อาจารย์ไว้ว่า
 
 
ไม้กุ่มได้ดีดลูกนัยน์ตาของมานพหนุ่มจนได้รับบาดเจ็บ
 
                           “ท่านอาจารย์ขอรับ พรุ่งนี้พวกผมจะกระทำการสวดมนต์ จึงเรียนเชิญท่านอาจารย์และเหล่ามานพทั้งหลายด้วยนะครับ” เมื่อทราบดังนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวกับมานพทั้งหลายว่า  “พรุ่งนี้ พวกเจ้าต้องไปยังหมู่บ้านตำบลหนึ่ง หากพวกเจ้าไม่ได้กินอาหารก่อน ก็จะไม่อาจเดินทางไหว เพราะฉะนั้นขอให้พวกเจ้าทั้งหลาย รีบตื่นขึ้นมาต้มข้าวแต่เช้าตรู่ 
 
 
มานพหนุ่มได้นำกิ่งไม้สดมาวางรวมกับฟืนแห้ง
 
     พวกเราจะได้มีเรี่ยวแรงออกเดินทางกันถึงที่ตำบลนั้นทันเวลา” “ขอรับ ท่านอาจารย์” พวกมานพรีบตื่นแต่เช้าตรู่ แล้วปลุกทาสีให้ลุกขึ้นต้มข้าวในทันที ทาสีกุลีกุจอหอบฟืนเพื่อไปต้มข้าว แต่หารู้ไม่ว่าได้หอบเอาฟืนไม้กุ่มสดๆ ที่มานพผู้เกียจคร้านได้หอบไปเก็บไว้กับฟืนแห้ง แม้จะใช้ปากเป่าลมบ่อยๆ ก็ไม่อาจทำให้ไฟลุกได้ จนดวงอาทิตย์ขึ้น 
 
 
ชาวบ้านจากชนบทได้เรียนเชิญอาจารย์ทิศาปาโมกข์และบรรดาศิษย์ไปยังบ้านของตน
 
                         “เวรกรรมแท้ๆ เอาฟืนสดมาก่อไฟ แล้วมันจะก่อติดได้ยังไงกันล่ะเนี่ย มันต้องเป็นฟืนของเจ้ามานพผู้เกียจคร้านแน่ๆ เลย” “ใช่แล้ว นี่มันไม้กุ่มสดๆ ของเจ้ามานพขี้เกียจจริงๆ ด้วย ข้าจำได้” “เฮ้ย สายป่านนี้แล้ว ยังต้มข้าวไม่เสร็จ สงสัยจะไปไม่ทันแล้วเนี่ยพวกเรา” “แล้วจะทำยังไงกันดีละท่าน” “จะทำยังไงได้ล่ะ ก็คงต้องไปบอกท่านอาจารย์ตรงๆ นะสิ”
 
 
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้บอกศิษย์ให้เตรียมความพร้อมสำหรับการเดินทางในวันรุ่งขึ้น
 
                        เหล่ามานพจึงพากันไปยังสำนักท่านอาจารย์ ท่านอาจารย์จึงเอ่ยถามว่า “พ่อเอ๋ย พวกเจ้าไม่ได้ไปกันดอกรึ” “ขอรับท่านอาจารย์” “แล้วเพราะเหตุใดกันพวกเจ้าถึงไปไม่ได้” “เพราะมานพเกียจคร้านเข้าป่าไปหาฟืนกับพวกกระผม แต่แอบไปนอนหลับเสียที่โคนกุ่ม แล้วหักไม้กุ่มสดๆ มาสุมกองปนกับไม้ฟืนแห้งที่พวกกระผมหามาขอรับท่านอาจารย์
 
 
นางทาสีเร่งรีบหยิบฟืนเพื่อนำไปก่อไฟสำหรับเตรียมอาหารเช้า
 
                         คนต้มข้าวขนเอาฟืนสดๆ นั้นไปด้วย สำคัญว่าเป็นฟืนแห้ง จนดวงอาทิตย์ขึ้นสูง ก็ไม่อาจก่อไฟให้ลุกได้ จึงทำให้พวกกระผมไม่สามารถออกเดินทางได้ขอรับ” เมื่อท่านอาจารย์ฟังสิ่งที่มานพ ผู้เกียจคร้านกระทำผิดพลาดแล้ว จึงกล่าวว่า “อืม ความเสื่อมเสียเห็นปานนี้ย่อมมีได้ เพราะอาศัยกรรมของพวกอันธพาลแท้ๆ เมื่อบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ว่า 
 
 
ไฟไม่สามารถติดได้เพราะฟืนที่นำมาก่อไฟเป็นไม้สด
 
                        กิจนี้ต้องทำก่อน กิจนี้ต้องทำภายหลัง เอากิจที่ต้องทำก่อน คือกรรมที่ต้องกระทำทีแรกนั้นมากระทำในภายหลัง บุคคลนั้นเป็นพาล บุคคลย่อมเดือดร้อน คือโศกเศร้าร่ำไห้ ในภายหลัง เหมือนมานพของพวกเรา ผู้หักไม้กุ่มผู้นี้” พระโพธิสัตว์กล่าวเหตุนี้แก่เหล่าอันเตวาสิก ด้วยประการฉะนี้  แล้วกระทำบุญ มีทานเป็นต้น
 
 
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้ชี้ให้เห็นโทษของการกระทำที่ไม่ถูกขั้นตอนแก่ศิษย์
 
                           ในสุดท้ายแห่งชีวิตก็จากไปตามครรลองของกรรม เมื่อกล่าววรุณชาดกจบแล้ว พระบรมศาสดาก็ตรัสแก่เหล่าภิกษุทั้งหลายว่า “พวกท่านเห็นถึงโทษของการทำไม่ถูกขั้นตอน แล้วใช่ไหม” “สาธุ” “เมื่อเป็นเช่นนี้ ต่อไปพวกเธอทั้งหลาย จงนำธรรมข้อนี้ไปพึงระลึกกันนะ” “สาธุ” แล้วพระพุทธองค์ทรงประชุมชาดกว่า 
 
มานพผู้ถึงแก้นัยน์ตาแตกในครั้งนั้น ได้กำเนิดเป็น ภิกษุผู้กระดูกขาแตกในบัดนี้ 
มานพคนอื่นๆ กำเนิดเป็น พุทธบริษัท ส่วนพราหมณ์อาจารย์ เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
 
 
บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล