ชาดก 500 ชาติ
ตัณฑุลนาฬิชาดก-ชาดกว่าด้วยการตีราคาสินค้า
ณ พุทธกาลหนึ่งในสาวัตถีมหานครพระเชตวันอันสงบร่มเย็นมีอันต้องวุ่นวาย พระสงฆ์สาวกต่างรุ่มร้อนใจไม่เป็นปกติ ด้วยมีเหตุไม่งามตามพระวินัยเกิดขึ้นในโรงทาน เนื่องจากตอนนั้น ภิกษุนามพระทัพพมัลลบุตรรับหน้าที่คอยจัดสรรปันส่วนอาหารให้แก่พระภิกษุสงฆ์จำนวนมาก
ในมหาวิหารแห่งนี้ ซึ่งนับเป็นภาระที่หนักมาก “ วันนี้เป็นแกงจืดนะท่าน ” “ ขอบใจมากท่าน ข้าทานอะไรไปมันก็เหมือนกันนั่นแหละ ” “ ข้าก็เหมือนกัน ทานอะไรก็ได้แต่เร็วๆ หน่อยก็ดีท่านอย่ามัวแต่คุยกันได้ไหม ” หน้าที่การจัดสรรปันส่วนอาหารนี้
หากมีพระที่อาพาธก็ต้องจัดดูแลเป็นพิเศษรวมทั้งพระราชาที่ต้องจัดให้เหมาะสมเป็นพิเศษกว่าพระภิกษุทั้งหลาย เหตุไม่งามทางพระวินัยเกิดจากพระภิกษุอุทายีผู้มีนิสัยเหลาะแหละ เจ้าอารมณ์เห็นแก่ได้และติดในรสอาหารอย่างหนักเป็นผู้ก่อกวน
“ หิว ๆ ๆ โอยมีอะไรกินมั่งวันนี้ อยากกินพิซซามีอะป่าว เมื่อวานก็กินแกงจืด วันนี้ก็แกงจืดอีกแล้ว แบ่งอาหารยังไงเนี่ย ” “ เฮ้อ ไม่รู้จะบ่นไปทำไมทุกวี่ทุกวันไม่รู้เมื่อไหร่แกจะปลงกิเลสได้สักทีนะ ” “ หรือว่าเขาจะลืมไปว่าออกบวชอยู่ ”
ภิกษุเจ้าอารมณ์จะก่อความวุ่นวายเช่นนี้ประจำเป็นที่เอือมระอาต่อภิกษุอื่นทุก ๆ ครั้ง “ ถ้าท่านไม่พึงใจก็ทำหน้าที่แบ่งอาหารแทนพระทัพพมัลลบุตรซะสิ ” “ อือ เปลี่ยน ๆ กันสะ ตัดความรำคาญไป ” “ อืม ถ้าเช่นนั้นข้าจะรับไว้ก็ได้ จริง ๆ แล้วไม่อยากทำเลยนะเนี่ย ....ดีจังคราวนี้จะได้เลือกของกินได้เอง ”
ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาพระอุทายีก็แบ่งสรรปันส่วนอาหารสงฆ์ในหอฉันโรงทานตามอำเภอใจ มิได้คำนึงถึงความเหมาะสมลำดับพรรษาแต่อย่างใด “ อ่ะ นี่ พวกท่านเอาแกงแกงจืดไปทานแล้วกัน ย่อยง่ายน่า ส่วนพวกไก่ทอดหมูทอดนี่ข้าจะเก็บไว้ทานเอง ” “ เฮ้ย ตั้งแต่ท่านมาทำหน้าที่นี้ ข้าไม่เคยทานอิ่มเลยสักมื้อ ”
“ โอ้ย พวกเราทนไม่ไหวแล้วท่านนิมนต์ออกไปสะเถอะ ” “ ใช่ ตักแต่ของดี ๆ ให้ตัวเอง พระที่อาพาธอยู่ก็ไม่สนใจ ” “ อ้าว ก็นึกว่าไม่ชอบ เห็นว่าป่วยอยู่ท้องมันย่อยยากเลยไม่อยากให้ทานอะไรมาก ๆ ข้าวต้มเปล่า ๆ ก็น่าจะพอแล้ว ” “ โอ้ยหิวจนหน้ามืดแล้ว ข้าก็ทนไม่ไหวแล้วเหมือนกัน ” “ บ่นอะไรกันนักหนานี่ ไม่พอใจอะไรข้าก็ทำอย่างสุดความสามารถแล้วนะเนี่ย พวกท่านไม่พอใจข้าจะลาออกก็ได้ ไม่เห็นอยากจะทำเลย ”
พระบรมศาสดาประทับอยู่ด้านในหอฉันโรงทานครั้นได้สดับเสียงนั้นจึงตรัสเรียกพระอานนท์มาซักถาม เมื่อทรงทราบโดยตลอดแล้วจึงทรงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้วพระบรมศาสดาก็ทรงโปรดให้รำลึกโทษความโลภโมโทสันพระชาติในอดีตขึ้น ณ บัดนั้น
“ ดูก่อนอานนท์มิใช่แต่เดี๋ยวนี้เท่านั้น เมื่อชาติก่อน ๆ อุทายีก็ทำความเดือดร้อนเสื่อมลาภให้แก่ผู้อื่นมาแล้วเหมือนกัน ”
ในอดีตกาลสมัยเมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ ณ นครพารานสี มหานครที่กล่าวกันว่ามิเคยหลับไหล เหตุเพราะมีการค้าแลกเปลี่ยนกันอยู่มิเคยว่างเว้นนั้นเอง
พระเจ้าพรหมทัตทรงมีบัณฑิตผู้หนึ่งเป็นพนักงานตีราคาสินค้าที่เข้ามาขายในพระนคร โดยมีกฎว่าตีราคาอย่างไรก็ต้องขายตามนั้นมิสามารถต่อรองได้ จนเวลาผ่านไปพระองค์ไม่ทรงพอพระทัย การทำงานของบัณฑิตที่เป็นเจ้าพนักงานตีราคาพัสดุที่จะซื้อเข้ามาเป็นของหลวง หลังจากมอบหน้าที่ให้ทำเป็นเวลานานพอสมควร
“ โอ้ ช้างเชือกนี้ช่างสง่างามดีแท้แรงกำลังก็มหาศาลข้าจะให้ราคาตอบแทนท่านอย่างดี ” “ จะยุติธรรมอะไรนักหนา กดราคาบ้างก็ได้ ทำงานไม่ได้เรื่องเลยเจ้านิ ไม่มีหัวธุรกิจเอาซะเลย ทหารเรียกตัวบัณฑิตคนนั้นมาพบเราหน่อยสิ เจ้าทำงานประสาอะไรนี่ ไม่ได้เรื่อง เฮ้อ ”
“ ข้าพระพุทธเจ้าทำงานอย่างดีที่สุดแล้ว ให้ราคาตามจริงตามที่สินค้านั้นพึงได้ พะยะค่ะ ” “ ตาย ตาย ตาย ถ้าเป็นเช่นนี้ไม่นานทรัพย์ในท้องพระคลังของเราจะหมดสิ้นไปเพราะเจ้าเป็นแน่ เฮ้อ ”
บัณฑิตหนุ่มผู้นี้เป็นผู้เที่ยงธรรมยิ่งนักแม้พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงมีดำริเช่นนั้น ก็มิได้ทำตามแต่อย่างใด เขายังคงตีราคาซื้อสินค้าอย่างยุติธรรมต่อไป
วันหนึ่งขณะที่พระเจ้าพรหมทัตทอดพระเนตรออกไปนอกวังก็เห็นชายคนหนึ่ง กำลังต่อรองสินค้ากับแม่ค้าอย่างเอาเป็นเอาตายจึงเรียกให้ทหารนำตัวเข้ามา “ ทหารนำตัวชายที่อยู่ตรงหน้าวังมาพบข้าหน่อยสิ แล้วก็เรียกบัณฑิตผู้ตีราคามาพบข้าด้วย ” “ ฮ่า ฮ่า เจ้านี่ช่างมีนิสัยตระหนี่ เห็นแก่ได้ถูกใจข้าจริง ๆ ฮ่ะ ฮ่า ฮ่า ดี ข้าจะแต่งตั้งให้เจ้าเป็นพนักงานราชสำนัก ตีราคาแทนคนเก่าที่มันดื้อด้านหัวแข็งนัก ฮ่ะ ฮ่า ฮ่า ”
“ ข้าจะให้ชายผู้นี้มาทำหน้าที่ตีราคาแทนเจ้าเอง เจ้ากลับไปอยู่บ้านซะเถอะ ” “ ขอบพระทัยพะย่ะค่ะ กระผมจะถวายงานอย่างสุดความสามารถเลยพะย่ะค่ะ ” “ ฮ่ะ ฮ่า ฮ่า ฮ่ะ ฮะ ” “ ทำไมเราต้องโดนไล่ออกด้วย ”
ยาจกที่ถูกยกให้เป็นคนสำคัญทำงานสนองพระเจ้าพรหมทัตได้เป็นที่ถูกอกถูกใจ สามารถเอาเปรียบพ่อค้าจากเมืองใกล้ไกลได้กำไรมากมาย “ ช้างสิบเชือกที่เจ้านำมาให้ข้านี่ราคาได้แค่สามสิบบาทเท่านั้นแหละ ” “ ช้างนะท่าน ทำไมถูกจัง ” “ อย่ามาเล่นลิ้นกับข้า ข้าจะให้เท่านี้แหละ เจ้าจะเอาหรือไม่เอาล่ะ ”
“ ฮ่ะฮ่า เจ้านี่ซื้อของได้เต็มเมืองแต่ไม่เปลืองเงินเลย เก่งมาก หึ หึ ฮ่ะฮ่า ” ต่อมามีพ่อค้าได้นำม้าพันธุ์ดี ๕๐๐ ตัวมาเสนอขาย เพื่อใช้ในราชการสงคราม พระเจ้าพรหมทัตจึงรับสั่งให้พนักงานตีราคาคนใหม่เป็นคนตีราคา
“ ม้าของเจ้าข้าจะรับไว้แล้วกัน ส่วนค่าตอบแทนนั้นข้าจะให้พนักงานของข้ามาตีราคาให้เจ้าอีกที ” “ เจ้าจงตีราคาม้าฝูงนี้ให้ดี ๆ อย่าให้ข้าผิดหวังล่ะ ”
“ ม้า ๕๐๐ ตัวของท่านมันดูซูบๆ ไปนะ ข้าให้ราคาเท่ากับข้าวสารทนานหนึ่งแล้วกัน ” “ โธ่ท่าน ข้าวสารทนานเดียวครอบครัวของข้ากินอาทิตย์ก็หมดแล้ว ” “ อ้าว เจ้าก็กินประหยัด ๆ หน่อยสิ ม้าแค่ห้าร้อยตัวจะเอาอะไรนักหนา ”
เจ้าของฝูงม้าแทบเป็นลมเมื่อได้ยินค่าตอบแทนที่พนักงานตีราคาบอกไว้แต่สุดจะขัดขืนได้ จำต้องรับเอาข้าวทนานเดียวกลับมา
พ่อค้าม้าไม่พอใจกับราคาที่ได้จึงนำความไปปรึกษากับบัณฑิตที่เป็นพนักงานตีราคาคนเดิม “ ท่านบัณฑิตข้าจะทำเช่นไรดี พนักงานตีราคาคนใหม่ช่างใจดำนักกดราคาม้าของข้าจนไม่เหลือแม้แต่ทุน ท่านบัณฑิตช่วยข้าด้วยเถิดขอความยุติธรรมให้ข้าด้วย ”
“ ท่านจงไปให้สินบนแก่พนักงานตีราคาคนนั้น ให้เขาเทียบราคาข้าวสารทนานหนึ่งเท่ากับนครพาราณสี แล้วให้เขาตอบคำถามนี้ต่อหน้าพระที่นั่ง แล้วข้าจะตามไปช่วยท่านอีกแรง ” “ ได้เลยท่านตามแผนนี้เลยนะ ” ด้วยความโลภและความเห็นแก่ได้ของยาจกที่ถูกยกย่องให้เป็นพนักงานตีราคาเริ่มทำให้พระเจ้ากรุงพาราณสีเสื่อมพระเกียรติแล้ว
“ ท่านโปรดรับเงินเหล่านี้ไว้เถอะ แต่ท่านช่วยตอบคำถามของข้าตามนี้ด้วยนะ ” “ โอ้ย เงิน เงิน เงิน ได้เลยท่านให้พูดอะไรก็ได้ข้าตอบตามใจท่านเลย ” เมื่อแผนขั้นต้นการติดสินบนเรียบร้อยแล้ว ต่อมาบัณฑิตและพ่อค้าม้าก็พากันขอเข้าเฝ้า
พระเจ้าแผ่นดินตามนัดหมายกับพนักงานตีราคา “ พ่อค้าม้า เจ้ามีอะไรก็ว่ามา เรียกคนมาตั้งเยอะตั้งแยะ ชาวบ้งชาวบ้านมากันหมดตามที่เจ้าต้องการแล้วนะเนี่ย ” “ ขอเดชะ ม้า ๕๐๐ ตัวที่ข้าพระองค์นำมา พนักงานตีราคาบอกว่ามีค่าเท่ากับข้าวสารหนึ่งทนาน ข้าพเจ้ายังไม่รู้ว่ามันจะมีค่าเทียบทรัพย์สินได้สักเท่าไหร่พะย่ะค่ะ ” “ ว่ายังไง เจ้าตอบเขาไปสิว่าข้าวสารหนึ่งทนานมันมีค่าเท่าไหร่กัน ของง่าย ๆ ตอบให้ข้าฟังหน่อยสิเจ้าพนักงานตีราคาคนใหม่ ”
( หึหึ....เดี๋ยวเจ้าก็จะเจอความหายนะเพราะความโลภของเจ้า ) คำถามนี้เป็นอุบายที่ซักซ้อมกันมาแล้วเป็นอย่างดี เมื่อพ่อค้าถามพนักงานตีราคาก็ตอบไปตามที่ตกลงรับสินบนกันไว้ “ เออ ข้าวสารหนึ่งทนานก็มีค่าเท่ากับนครพาราณสีทั้งภายในและภายนอกรวมกันพระเจ้าค่ะ ”
(…เอเป็นยังไง ข้าท่องมาให้เหมือนเด๊ะเลยนะเนี่ย เป็นไง ๆ สมราคาสินบนไหม หึ หึ ) “ เฮ้ย เจ้าตอบว่ากระไรนะ ” พระเจ้าพรหมทัตได้ฟังคำตอบแล้วถึงกับตกพระทัย “ ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าวสารหนึ่งทนานมีมูลเท่ากับม้า ๕๐๐ ตัว แล้วข้าวสารหนึ่งทนานนี้มีข้าเท่ากับกรุงพาราณสีทั้งภายในภายนอกเชียวหรือ ” “ อะไรนะ กล้าตีราคากรุงพาราณสีของข้าให้ตกต่ำเพียงนั้นเชียวหรือ ”
“ ฮ่ะ ฮ่า เมื่อก่อนพวกเราเข้าใจว่าแผ่นดินและราชสมบัติและเมืองพาราณสีนี้ประเมินค่ามิได้ แต่ที่ไหนได้กลับมีค่าแค่ข้าวสารทนานเดียวเท่านั้นนะหรือ โอ้ ท่านช่างเหมาะสมเป็นพระราชาของพวกเราเสียจริง ๆ ” “ ฮ่ะ ฮ่า ฮ่า พระเจ้าพรหมทัตของเราโปรดคนตีราคาอย่างนี้เองนะเหรอน่าขันจริง ๆ ” “ ตีราคาไม่ได้เรื่องเลย ตีราคามั่ว ๆ อย่างนี้ข้าก็ทำได้ ”
“ อะไรกัน น่าละอายจริง ๆ ข้าไล่เจ้าออกไปให้พ้น ข้าจะให้บัณฑิตคนเก่ามาทำงานเหมือนเดิม ไม่น่าเชื่อว่าข้าจ้างคนอย่างนี้มาทำงาน น่าโมโหจริง ๆ เฮ้ย ” ความละโมบโลภมากของพระเจ้าพรหมทัตและความฉลาดเที่ยงธรรมของบัณฑิตหนุ่มถูกร่ำลือไปทั่วพระนครเมื่อทุกอย่างกลับสู่สภาพ เดิมพาราณสีก็กลับมาเป็นมหานครศูนย์กลางการค้าพาณิชย์ต่อไปอีกนานเท่านาน
พนักงานตีราคาคนใหม่ผู้โลภมาก ได้เกิดเป็นพระอุทายี ผู้หลงไหลในรสอาหาร
บัณฑิตพนักงานตีราคาผู้เที่ยงธรรม ได้เสวยพระชาติเป็นพระพุทธเจ้า
ชาดกเรื่องนี้ ได้สอนให้รู้ว่าโลภมากมักลาภหาย