ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: อรรถกถา วัจฉนขชาดก ว่าด้วยเรื่องดาบสเล็บงาม

             

อรรถกถา วัจฉนขชาดก

ว่าด้วยเรื่องดาบสเล็บงาม

 

               ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสีพระโพธิสัตว์ได้ถือกำเนิดขึ้นในตระกูลพราหมณ์ เมื่อเติบใหญ่ได้ตัดสินใจออกบวชเป็นฤาษีอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์เป็นเวลาช้านาน ต่อมาได้ออกเดินทางไปยังกรุงพาราณสี ระหว่างที่ตนจะออกบิณฑบาตได้อาศัยยังพระราชอุทยานก่อน รุ่งเช้าจึงเข้าไปในกรุงพาราณสี

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%8702.png

 

                ขณะนั้นนักบวชกำลังออกบิณฑบาตอยู่นั้น พอดีกับมีเศรษฐีท่านหนึ่งได้พบเข้า ได้เกิดความเลื่อมใสในมารยาทของนักบวชผู้นี้ จึงเข้าไปเอ่ยทัก "พระคุณเจ้าท่านมาจากไหน" "เรานั้นเดินทางมาจากป่าหิมพานต์ฝั่งนู้น" "ถ้าอย่างนั้นกระผมนิมนต์ฉันอาหารที่บ้านนะครับ" เมื่อท่านเศรษฐีกล่าวจบได้เดินนำท่านฤๅษีตรงไปยังเรือนของตน แล้วถวายภัตตาหาร รสเริสแด่ท่านฤๅษี  จากนั้นได้ขอให้นักบวชอยู่ที่นี่ต่อ "ได้สิ" จากนั้นท่านเศรษฐีคอยปรนนิบัตินักบวชเป็นอย่างดี จนทั้งสองเกิดความรักใคร่ต่อกัน

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%874.png

 

                 อยู่มาวันหนึ่งเศรษฐีกรุงพาราณสีได้ เอ่ยกับท่านฤๅษีว่า "การบวชนั้นเป็นทุกข์เราอยากให้ท่านสึก กระหม่อมจะแบ่งสมบัติให้ท่านครึ่งหนึ่ง" แต่นักบวชปฎิเสธ ความพยายามก็หาลดลงไม่ ยังคงชวนฤๅษีให้สึกไปอยู่กับตน พร้อมกับยื่นขอเสนอมากมาย 

 

                กระผมนั้นมีเรือนหลังใหญ่ มีเงินมากมาย จะกินอะไรก็กินได้ อาหารบริบูรณ์ ท่านไม่ต้องขวนขวาย จะนอนก็ได้นอนในที่ดีๆ ไม่ลำบากอย่างที่ท่านเป็นอยู่ ชีวิตแบบผมนั้นสบายกว่าเป็นไหนๆ  

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%8705.png

           

                 ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ฟังเศรษฐีแล้วกล่าวว่า "มหาเศรษฐีท่านเป็นผู้ติดอยู่ในกามคุณของฆราวาสและโทษของบรรพชาเพราะความไม่รู้ เราจะกล่าวโทษของฆราวาสแก่ท่าน"

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%8706.png

 

                 "ฆราวาสไม่มีมานะทำการงานก็ดี ไม่กล่าวมุสาก็ดี ไม่ใช้อำนาจลงโทษผู้อื่น การครองเรือนก็ตั้งอยู่ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ใครเล่าจะครอบครองเรือนไม่ให้บกพร่อง ช่างแสนยากนัก" ท่านเศรษฐีฟังก็เข้าใจลึกซึ้ง ถึงการบวชกับการเป็นฆราวาส "กระผมขอโทษพระฤาษี ที่ทำไปเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์" พระฤๅษีฟังแล้วกลับไปป่าหิมพานต์ตามเดิม

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล