จบ
ที่มา : หนังสือนิทานชาดก โดย พระภาวนาวิริยคุณ
มหิฬามุขชาดก
:: สาเหตุที่ตรัสชาดก ::
.....ในสมัยพุทธกาลมีชาวเมืองราชคฤห์สองคนเป็นเพื่อนกัน ได้พากันมาบวชในบวรพุทธศาสนา คนหนึ่งบวชในสำนักพระบรมศาสดา ส่วนอีกคนหนึ่งบวชในสำนักพระเทวทัตที่ตำบลคยาสีสะ ซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูสร้างถวาย อย่างไรก็ตาม ภิกษุทั้งสองสหายยังคงไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ
.....วันหนึ่ง ภิกษุที่เป็นศิษย์ของพระเทวทัตกล่าวกับเพื่อนว่า ....."นี่แนะท่าน! อย่าได้ออกบิณฑบาตให้ลำบากลำบนเลย ดูซิ เดินเสียเหงื่อไหลไคลย้อยเชียว ซ้ำบางวันยังได้ไม่พอฉันเสียอีก มาฉันด้วยกันที่สำนักของพระเทวทัตดีกว่า พระเจ้าอาชาตศัตรูทรงให้จัดภัตตาหารในวังมาถวายถึง ๕๐๐ สำรับทุกวัน ล้วนแต่มีรสเลิศอย่างจะหาที่ไหนเทียมไม่ได้เชียวแหละ"
.....แรกๆ ที่ได้รับคำเชิญชวนจากเพื่อน ภิกษุนั้นก็บ่ายเบี่ยง แต่เมื่อได้ไปเห็นและถูกคะยั้นคะยอบ่อยเข้าๆ จึงร่วมฉันอาหารด้วย ต่อมาก็ไปฉันเป็นประจำ เมื่อฉันแล้ว จึงกลับมายังเวฬุวันมหาวิหารเป็นปกติ เพื่อนพระภิกษุทั้งหลายต่างพากันซักถาม ภิกษุรูปนี้จึงกล่าวว่า ....."เราไปฉันอาหารที่สำนักของพระเทวทัตก็จริงอยู่ แต่พระเทวทัตไม่ได้เป็นคนให้เรานี่ เราฉันอาหารของผู้ที่มีจิตศรัทธานำมาถวาย ไม่เห็นจะผิดอะไร" .....เพื่อนพระภิกษุจึงพากันว่ากล่าว แล้วนำตัวไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงสอบถามได้ความเป็นจริงแล้ว จึงทรงตำหนิว่า
....."ดูก่อนภิกษุ เธอมาบวชอยู่ในสำนักของเราซึ่งสอนให้ละกิเลส นำตนให้พ้นจากกองทุกข์ แล้วทำไมจึงไปฉันอาหารในสำนักของพระเทวทัตซึ่งเป็นคนทุศีลด้วยเล่า ถึงแม้เธอจะอ้างว่าได้รับอาหารจากเพื่อนหรือจากคนที่เขามีศรัทธาถวายให้ ไม่ได้รับจากพระเทวทัตก็ฟังไม่ขึ้นหรอก เพราะอาหารนั้นได้มาเพราะการกระทำอันมิชอบของพระเทวทัต คนเราเมื่อคบกันไปนานเข้าๆ ความคิดอ่านก็จะไปในทางเดียวกัน คบคนดีก็จะเป็นคนดี คบคนชั่วก็จะพลอยชั่วไปด้วย เหมือนเมื่อครั้งที่เธอเกิดเป็นช้างชื่อ มหิฬามุข เมื่อชาติก่อนโน้น"
..... แล้วพระพุทธองค์ทรงนำ มหิฬามุขชาดก มาตรัสเล่า ดังนี้
:: ข้อคิดจากชาดก ::
.....๑. การคลุกคลีใกล้ชิดกับคนพาลเป็นโทษอย่างยิ่ง ฉะนั้นไม่ว่ากาลไหนๆ ควรหลีกให้ห่างไกลจากคนพาล และไม่คบคนพาลโดยเด็ดขาด
..... สำหรับคำว่า คบ นั้น ได้แก่ การมีพฤติกรรมต่อไปนี้
๑. มีการไปมาหาสู่กัน ๕. เป็นเพื่อนร่วมคิดเห็น
๒. หมั่นเข้าไปนั่งใกล้ (ตีสนิท) ๖. เป็นเพื่อนร่วมกินร่วมอยู่
๓. มีความจริงใจรักใคร่กันจริง ๗. ร่วมถ่ายทอดความประพฤติ
๔. เลื่อมใสนับถือ
.....๒. ลักษณะของคนพาล ได้แก่
๑. ชอบคิดเรื่องชั่วต่ำเป็นปกติ
๒. ชอบพูดชั่วต่ำเป็นปกติ
๓. ชอบทำชั่วต่ำเป็นปกติ
.....๓. โทษของการคบคนพาล มีโดยย่อดังนี้
๑. ทำให้พลอยแปดเปื้อนเป็นมลทิน ทั้งจะติดความเป็นพาลและมีวินิจฉัยเสียตามไปด้วย
๒. ทำให้ถูกติเตียน ถูกมองในแง่ร้าย และไม่ได้รบความไว้วางใจจากคนทั่วไป
๓. ทำลายประโยชน์ของเรา ก่อให้เกิดความหายนะ การงานล้มเหลวเพราะคนพาลชอบก้าวก่ายงานของผู้อื่น
๔. ภัยทั้งหลายจะไหลเข้ามาหาเรา เพราะคนพาลเป็นอัปมงคล อยู่ที่ไหนก็มีแต่เรื่องเดือดร้อน เราจึงพลอยได้รับความเดือนร้อนไปด้วย
๕. ทำให้เราเอาตัวไม่รอด คุ้มตัวเองไม่ได้
๖. มีอบายภูมิเป็นที่ไป
..... โบราณท่านว่า ....ผ่านสุนัขให้ห่างศอก ผ่านวอก(ลิง) ให้ห่างวา ...ผ่านพาลา(คนพาล) ให้ห่างร้อยโยชน์ พันโยชน์ หมื่นโยชน์
.....แม้อำมาตย์บัณฑิตในอดีตกาลเมื่อพิจารณาเห็นโทษของการคบคนพาลว่ามีมากมายยิ่งนัก จึงอธิษฐานจิตว่า "ขอข้าพเจ้า อย่าพึงได้เห็น อย่าพึงได้ยินคนพาล แม้แต่คำว่า คนพาลอยู่ที่โน้น อย่าพึงอยู่ร่วมกับคนพาล อย่าพึงทำ และอย่าพึงพอใจการสนทนาปราศัยกับคนพาลเป็นอันขาด"