ฉบับที่ 95 กันยายน ปี2553

ยิ่งให้ ยิ่งได้

ปกิณกธรรม

เรื่อง : พระมหาเสถียร สุวณฺณฐิโต ป.ธ. ๙ / พระมหาวิริยะ ะมฺมสารี ป.ธ. ๙

 



 

ยิ่งให้ ยิ่งได้

          "ขุมทรัพย์คือบุญนั้น อำนวยผลที่น่าปรารถนาทุกอย่างแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เทวดา และมนุษย์ปรารถนานักซึ่งผลที่น่าพอใจใดๆ อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้"

          ทุกชีวิตต้องการความสุข ไม่ว่าจะเป็นความสุข ระดับใดก็ตาม ตลอดจนถึงความสุขที่แท้จริงอันสูงสุด ปราศจากกิเล เข้าสู่พระนิพพานสิ่งที่สามารถบันดาล ความสุขทั้งหลายมาได้สิ่งนั้นคือบุญ บุญเป็นเหมือน ขุมทรัพย์ใหญ่ที่คอยติดตามและบันดาลให้เกิดสิ่งที่ ดีงามแก่ผู้เป็นเจ้าของประดุจเงาตามตัว ผู้มีบุญมาก ชีวิตย่อมมีอุปสรรคน้อย ตรงข้ามกับผู้ที่มีบุญน้อย ชีวิตย่อมมีอุป รรคมาก และยิ่งเรามีบุญมากเท่าไร หนทางที่จะบรรลุเป้าหมายอันสูงสุดของชีวิต คือ พระนิพพาน ก็จะยิ่งสะดวก บายง่ายดายยิ่งขึ้นไป เท่านั้น การสั่ง มบุญให้ได้มาก ๆ จึงเป็นความ จำเป็นพื้นฐานของทุก ๆ ชีวิต

          แต่น่าเสียดาย ที่คนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโลกและชีวิตที่ถูกต้อง คนเหล่านั้น จึงประมาทมัวเมา หวงแหนทรัพย์ไว้ ไม่ขวนขวาย ในการทำทานกุศล ไม่เห็นผลดีที่เกิดจากการให้ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในทานสูตร ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่ง การจำแนกทานเหมือนอย่างเรารู้ไซร้สัตว์ทั้งหลาย ยังไม่ให้แล้วก็จะไม่พึงบริโภค"

การทำทานเป็นเส้นทางแห่งความสุข

          เราทราบกันดีแล้วว่า "ทาน" เป็นทางมาของ บุญที่จะเกิดขึ้นในใจของผู้ให้ และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว นอกจากจะช่วยพันาคุณภาพของจิตใจให้สูงขึ้น ยังจะนำสิ่งที่ดีงาม คือ ความสุขและความสำเร็จในทุก ๆ ด้านมาสู่ชีวิตด้วยบุญนี้เองที่คอยสนับสนุน อยู่เบื้องหลัง ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า "ความมีวรรณะงาม ความมีเสียงไพเราะ ความมีทรวดทรงดี ความมีรูปสวย ความเป็นใหญ่ ความมีบริวาร อิฐผล ทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้"

          สำหรับผู้มีปัญญาที่แม้จะเข้าใจถึงคุณค่าของ การทำทาน ไม่ประมาท ไม่หวงแหนทรัพย์ไว้ คือ มีปกติเป็นผู้ให้อยู่แล้ว ก็ยังควรศึกษาถึงวิธีทำทาน ที่ถูกต้องตรงตามพุทธวิธีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะยิ่งเราทำได้ถูกต้องมากเท่าไร บุญที่เกิดขึ้นก็จะมากขึ้นไปด้วย

ผลของทานแต่ละประเภท

          ผลของการทำทานโดยทั่วไปแล้ว ย่อมทำให้ ผู้ให้เกิดความอิ่มใจ มีความสุข บายใจ แม้จะทำเพียงเล็กน้อยก็ตาม ก็ให้อานิสงส์แก่ผู้ทำทานนั้นได้ ที่จะไม่ให้ผลนั้นเป็นไม่มี ดังนั้น เมื่อเราทำทานจึง มักตั้งจิตอธิษฐานขอให้ผลบุญนั้นส่งผลให้เราได้ ในสิ่งที่ปรารถนา ซึ่งนอกจากการอธิษฐานจิตกำกับแล้ว ทานบางอย่างก็ให้อานิสงส์โดยตัวของทานเอง

          ครั้งหนึ่งเทวดาทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า"บุคคลให้อะไรชื่อว่าให้กำลัง ให้อะไรชื่อว่า ให้วรรณะ ให้อะไรชื่อว่าให้ความสุขให้อะไรชื่อว่า ให้จักษุ และบุคคลเช่นไรชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ข้าพระองค์ทูลถาม ขอพระองค์ตรัสบอกด้วยเถิด" พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า "ผู้ให้อาหาร ชื่อว่า ให้กำลังผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้วรรณะผู้ให้ยานพาหนะ
ชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ ผู้ให้ที่พักอาศัย ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่างส่วนผู้ให้ ธรรมทาน ชื่อว่าให้อมตธรรม"

 



 

ผู้ให้อาหาร ชื่อว่าให้กำลัง

          อัตภาพของคนเรานั้น จะดำรงอยู่ได้ก็ต้อง อาศัยอาหาร ขาดอาหารแล้วชีวิตไม่อาจดำรงอยู่ได้ แม้บุคคลจะมีรูปร่างใหญ่โตแข็งแรง มีกำลังมาก ปานใด หากไม่ได้รับประทานอาหาร ร่างกายก็ขาด กำลังส่วนบุคคลผู้มีกำลังน้อย ถ้าได้รับประทาน อาหารบริบูรณ์แล้ว ย่อมมีกำลังขึ้นมาได้ ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ผู้ให้อาหาร ชื่อว่าให้กำลัง"

ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้วรรณะ

          บุคคลแม้จะมีผิวพรรณดี มีรูปงามเพียงไร หากแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สกปรก ขาดรุ่งริ่ง ย่อมไม่น่าดู ทั้งยังน่าเกลียดและถูกเหยียดหยามได้ส่วนผู้ ที่นุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด เรียบร้อย ย่อมดูงาม เป็นที่ชื่นชมแก่ผู้พบเห็น ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้วรรณะ"

ผู้ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสุข

          บุคคลที่เดินทางไกล บางครั้งอาจพบกับความ ยากลำบากจากถนนหนทางที่ขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อบ้างต้องเผชิญกับแ สงแดดหรือนลมแรงบ้าง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ย่อมทำให้เกิดความทุกข์ หากมี ผู้ให้ยานพาหนะไว้ใช้ อย ให้อุปกรณ์ในการเดินทาง เช่น ร่ม รองเท้า หรือคอยถากถางหนทางให้เดินได้สะดวกยิ่งขึ้น ร้างบันไดหรือสะพานไว้ให้ ผู้นั้นย่อม ได้ชื่อว่าให้สิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวก บาย คือ ให้ความสุข พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ผู้ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสุข"

ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ

          บุคคลทั้งหลาย แม้มีดวงตาก็ไม่สามารถมองเห็นในที่มืดได้ ต่อเมื่อมีประทีปโคมไฟให้แสงสว่าง จึงสามารถมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้ตามความ ปรารถนาได้ ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ"

ผู้ให้ที่พักอาศัย ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง

          คนเดินทางไกลย่อมเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเสียกำลังไป และย่อมปรารถนาที่จะเข้าสู่ที่พักอาศัย เมื่อพักผ่อนสักครู่ก็จะได้กำลังคืนมา หรือผู้ที่ออกสู่กลางแจ้ง ต้องตากแดด ตากลม ทำให้ผิวพรรณหมองคล้ำ เมื่อได้เข้ามาพัก ผิวพรรณจึงกลับงดงามดังเดิม ผู้ที่เดินทางผ่านแดดร้อน ผ่านอันตรายต่าง ๆ ในระหว่างทาง เมื่อได้พักอาศัยก็จะมีความ ปลอดภัยสุข บายขึ้น หรือเดินอยู่ท่ามกลางแสงแดดร้อนจ้า นัยน์ตาย่อมพร่ามัวไม่แจ่มใสเมื่อได้พักสักครู่ ดวงตาก็ใช้การได้ดีดุจเดิม ดังนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ผู้ให้ที่อยู่อาศัย ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง"

 




 

ผู้ให้ธรรมทาน ชื่อว่าให้อมตธรรม

          ผู้ให้ธรรมะเป็นทาน ได้ชื่อว่าชนะการให้ทั้งปวง เหตุเพราะว่า เมื่อบุคคลได้ฟังธรรม ย่อมเกิด ความศรัทธาเลื่อมใสรู้จักว่าสิ่งใดเป็นบาปสิ่งใดเป็นบุญ บุคคลจะละบาปได้ก็เพราะได้ฟังธรรม จะทำบุญถวายทานได้ก็เพราะได้ฟังธรรม ถ้าไม่ได้ฟังธรรม ก็จะไม่มีศรัทธา เมื่อไม่มีศรัทธา ก็กลายเป็นมิจฉาทิฐิ แม้สิ่งของสักเล็กน้อยเพียงข้าวทัพพีหนึ่ง ก็มิอาจจะให้ได้ จะรักษาศีลหรือจะเจริญภาวนา ไหว้พระสวดมนต์ ล้วนทำไม่ได้ทั้งสิ้น แต่จะทำได้ก็ เพราะว่าได้ฟังธรรม ฟังแล้วรู้จักบุญ บาป ว่าทำอย่างนี้จะได้บุญมาก ทำอย่างนี้จะได้มนุษย์สมบัติ ได้ทิพย์สมบัติ ได้นิพพานสมบัติฉะนั้น การให้ ธรรมทาน จึงชื่อว่าชนะการให้ทั้งปวง

          ส่วนผู้ใดมีสติปัญญา นำธรรมะไปสั่งสอนให้แก่ชนทั้งหลาย ผู้นั้นชื่อว่าให้น้ำอมตธรรม เพราะว่าชนทั้งหลายจะสำเร็จมรรคผลนิพพานได้ ก็เพราะอาศัยการฟังพระสัทธรรม ผู้ที่ได้ฟังธรรม ย่อมมีจิตที่ผ่องใสยกใจของตนเองให้สูงขึ้นจาก บาปกรรมทั้งหลายมีกำลังใจทำความดีต่อไป ส่วนผู้แสดงธรรมก็ได้ชื่อว่าให้สิ่งที่ประเสริฐ ให้เส้นทาง ของการ ร้างความดี พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ผู้ให้ธรรมทาน ชื่อว่าให้อมตธรรม"

 



 

          ท่านสาธุชนทั้งหลาย เมื่อเราได้ให้ทานแล้วแม้ไม่หวังสิ่งของต่าง ๆ เป็นเครื่องตอบแทนก็ตาม แต่ทุกครั้งที่ให้ไป ย่อมจะบังเกิดเป็นบุญสะสมอยู่ในใจ ซึ่งบุญนี้จะมีอานุภาพไปดึงดูดสิ่งดี ๆ มาให้แก่ชีวิตเรา เปรียบเหมือนดอกไม้ที่มี สีสวย เกสรมี น้ำหวานหอม ย่อมดึงดูดหมู่ภมรผีเสื้อให้มาดูดกินน้ำหวานนั้นเราให้สิ่งใดไปสิ่งดี ๆ เหล่านั้นก็จะ หวนกลับมาสู่ตัวเราไม่ช้าก็เร็ว เพราะการทำบุญย่อม มีผลเป็นความสุขเสมอ..

          ทุกครั้งที่เราทำความดี ผลของความดีจะเกิด ขึ้นที่ใจเราก่อน ทำให้ใจเรา บาย ถ้าเราหมั่นทำความดีอย่างต่อเนื่อง ความดีจะแผ่ขยาย มีพลังที่จะดึงดูดสิ่งที่ดีเข้ามาสู่ชีวิตของเราต่อไป ทุกครั้งที่ให้ใจเราย่อม บายเป็นสุข เพราะชนะความตระหนี่ เกิดความเอื้อเฟอเผื่อแผ่ส่งกระแ ความปรารถนาดีไป ยังผู้อื่น เมื่อผู้ให้สั่ง มการให้ ก็จะมีจิตใจดีงาม เกิดความผ่องใสภายในใจ ผู้ที่มีจิตใจผ่องใสไม่ขุ่นมัว เศร้าหมอง เมื่อละโลกย่อมมีสุคติเป็นที่หวังได้ ดังพระพุทธพจน์ว่า

"จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงขา เมื่อจิตไม่เศร้าหมองสุคติเป็นที่หวังได้"

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

* * อยู่ในบุญ แนะนำ/เกี่ยวข้อง * *

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล