ทบทวนบุญ
เรื่อง : มาตา
โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่
๑๐๐,๐๐๐ รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย
ครั้งที่ ๑๒ (รุ่นเข้าพรรษา)
จากการวิจัยเรื่อง “แนวโน้มเกี่ยวกับจำนวนและคุณภาพของพระสงฆ์ไทย” ซึ่งจัดทำโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร พบว่าเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๐๐ ประเทศไทยมีพระสงฆ์ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ รูป ต่อจำนวนประชากร ๒๘,๐๐๐,๐๐๐ คน อีก ๕๐ ปีต่อมา ในขณะที่ประชากรเพิ่มขึ้นเป็น ๖๒,๐๐๐,๐๐๐ คน พระสงฆ์ก็ยังคงมีแค่ ๒๐๐,๐๐๐ กว่ารูปเท่านั้น แสดงให้เห็นว่า จำนวนคนที่มาบวชพระมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับสัดส่วนประชากร นอกจากนี้ข้อมูลจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติยังบ่งบอกไว้ว่า จำนวนสามเณรก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ เหลือประมาณ ๖๐,๐๐๐ รูป ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕
ผลพวงจากการที่พระภิกษุ-สามเณรลดลง ทำให้วัดร้างเพิ่มขึ้นจนกระทั่งปัจจุบันมีวัดร้างอยู่ประมาณ ๖,๐๐๐ วัด และวัดที่ใกล้จะร้างมีพระอยู่แค่รูปสองรูปอีกนับหมื่น ๆ วัด
๑
สถานการณ์เช่นนี้ไม่เป็นผลดีต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งและจำเป็นต้องมีการแก้ไขอย่างจริงจัง ด้วยเหตุนี้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓พระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย จึงดำริให้มี โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ ๑๐๐,๐๐๐ รูปทุกหมู่บ้านทั่วไทย เพื่อสร้างพระภิกษุสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา แก้ปัญหาวัดร้าง และฟื้นฟูศีลธรรมโลก โดยจัดโครงการขึ้นปีละ ๒ ครั้งคือ ในภาคฤดูร้อน ๒ เดือน และภาคเข้าพรรษา๔ เดือน โดยผู้สมัครบวชไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีศรัทธาสามารถบวชได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจมาเป็นอุปสรรค
ด้วยความร่วมมืออย่างดียิ่งจากคณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งพุทธศาสนิกชนผู้เปี่ยมด้วยความรักในพระพุทธศาสนา โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย จึงสามารถดำเนินงานมาได้ด้วยดีจนกระทั่งบัดนี้เป็นครั้งที่ ๑๒ แล้ว และสามารถพลิกฟื้นสถานการณ์พระพุทธศาสนาให้ค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ
๒
โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๖ กรกฎาคม - ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ รวมเวลา ๑๒๐ วัน โดยมีพิธีบรรพชาในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ณ วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี
ในวันบรรพชา นาคธรรมทายาทเวียนประทักษิณรอบมหาธรรมกายเจดีย์และทำพิธีวันทาเจดีย์ตั้งแต่เช้าตรู่ ช่วงสายเข้าพิธีบรรพชาและพิธีคล้องอังสะ ณ สภาธรรมกายสากลโดยได้รับความเมตตาจากพระอุปัชฌาย์ คือพระเดชพระคุณพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดีสุรเตโช) ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร พร้อมด้วยคณะพระสังฆาธิการและพระมหาเถระร่วมคล้องอังสะให้นาคธรรมทายาท
ช่วงบ่ายมีพิธีขอสรณคมน์และศีล พิธีขอนิสสัย และรับฟังโอวาทจากพระอุปัชฌาย์เมื่อเสร็จพิธีแล้วถือว่าธรรมทายาทได้เป็นสามเณรอย่างถูกต้องตามพระธรรมวินัย
หลังจากบรรพชาแล้ว สามเณรจะเข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดที่เป็นศูนย์อบรมและวัดใกล้เคียงซึ่งมีจำนวนกว่า ๓๐๐ วัดทั่วประเทศ ทั้งในกรุงเทพ ปริมณฑล และต่างจังหวัด ในวันที่ ๒๔ - ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
๓
ภาพพิธีกรรมงานบวชทุกขั้นตอนสร้างความปลื้มปีติแก่พ่อแม่ ญาติพี่น้อง และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง แต่กว่าจะมีภาพนี้เกิดขึ้นในแต่ละครั้งไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะผู้บวชจะต้องประกอบด้วยสมบัติอย่างน้อย ๕ ประการเสียก่อนจึงจะบวชได้
สมบัติทั้ง ๕ ประการ ได้แก่ ๑. กาลสมบัติคือ มีชีวิตอยู่ในช่วงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบังเกิดขึ้นในโลก หรือช่วงเวลาที่คำสอนของพระองค์ยังมีผู้ปฏิบัติสืบทอดอยู่ ๒. คติสมบัติ คือ ได้เกิดในภพภูมิที่ดี (เป็นมนุษย์) ไม่พลัดหลงไปเกิดเป็นเปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน ๓. อุปธิสมบัติ คือ ได้เกิดเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่บกพร่อง ๔. ประเทศสมบัติ คือ ได้เกิดในประเทศหรือในดินแดนที่มีพระพุทธศาสนาเผยแผ่มาถึง ๕. ทิฐิสมบัติ คือ ไม่เป็นคนมิจฉาทิฐิ แต่มีใจฝักใฝ่ในธรรมมุ่งมั่นที่จะเป็นคนดี
ผู้ที่ได้ครอบครองสมบัติทั้ง ๕ ประการนี้อย่างครบถ้วน จะต้องสั่งสมบุญบารมีมาหลายภพหลายชาติ ดังนั้นธรรมทายาทเหล่านี้จึงถือว่าเป็นผู้มีบุญเก่ามาดียิ่ง และหากบวชแล้วตั้งใจปฏิบัติตนเป็นพระแท้ ก็จะได้บุญใหม่ติดตัวไปอีกมากมายมหาศาล
๔
สำหรับเหตุผลสำคัญที่ทำให้ธรรมทายาทเหล่านี้เข้ามาอุปสมบทนั้น จากการวิจัยพบว่าเหตุผลหลักข้อแรกก็คือ อยากทดแทนบุญคุณพ่อแม่ ข้อที่ ๒ อยากฝึกฝนขัดเกลาตนเอง และข้อที่ ๓ ต้องการทดแทนบุญคุณแผ่นดิน
ข้อแรก การบวชชนิดที่จะสามารถทดแทนบุญคุณพ่อแม่ได้มากที่สุดนั้น ผู้บวชจะต้องเป็นพระแท้ ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด และตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรม คือเจริญศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งในโครงการนี้ผู้บวชก็จะได้ฝึกฝนตนเองให้เป็นพระแท้อย่างต่อเนื่องตลอดพรรษา นอกจากนี้ยังได้ศึกษาพระธรรมวินัยตามหลักสูตรนักธรรมชั้นตรีอีกด้วย
เมื่อผู้บวชเป็นพระภิกษุตั้งใจประพฤติดีปฏิบัติชอบแล้ว บุญก็จะบังเกิดขึ้นอย่างมหาศาลและจะตามติดตัวไปเป็นเวลายาวนานถึง ๖๔ กัปส่วนพ่อแม่ในฐานะผู้ให้กำเนิดกายเนื้อก็จะได้บุญอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยที่ลูกของตนเป็นพระแท้ คือ ได้บุญถึง ๓๒ กัป แม้ปู่ย่า ตายายบรรพบุรุษก็มีส่วนในบุญด้วย
เวลา ๑ กัป เป็นเวลาที่ยาวนานมาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงอุปมาไว้ว่า บุรุษเอาผ้าแคว้นกาสีปัดภูเขาหิน กว้าง ยาว สูง
อย่างละหนึ่งโยชน์ (๑ โยชน์ เท่ากับ ๑๖ กิโลเมตร) ๑๐๐ ปีครั้งหนึ่ง
และทำเช่นนี้ทุก ๑๐๐ ปี จนขุนเขานั้นสึกลงราบ
เสมอพื้นดิน ถือว่าเป็นเวลา ๑ กัป
(สํ.นิ. ๑๖/๔๒๘/๒๐๒)
๕
เหตุผลข้อที่ ๒ คือ เรื่องของการฝึกฝนขัดเกลาตนเอง ในโครงการนี้พระภิกษุธรรมทายาทจะได้ฝึกฝนตนเองผ่านกิจกรรมหลากหลายประการ เช่น
- สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น และทำสมาธิวันละหลายรอบ ทำให้สุขภาพกายและสุขภาพใจดีขึ้น และจะได้เรียนรู้ว่าความสุขอันประณีตที่เกิดจากความสงบของใจเป็นอย่างไร
- ได้เรียนรู้คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งจะช่วยปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องและเพิ่มเติมคุณธรรมแก่ตนเอง
- ได้ฝึกความมีวินัย เคารพ อดทนซึ่งจะช่วยบ่มเพาะระดับจิตใจให้สูงขึ้นและแข็งแกร่งขึ้น
- ได้ฝึกความดีสากล ๕ ประการ คือสะอาด ระเบียบ สุภาพ ตรงเวลา สมาธิ ซึ่งจะทำให้สามารถพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ และนำไปพัฒนาครอบครัว สังคม ประเทศชาติให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป
- ได้เดินธุดงค์ฟื้นฟูพัฒนาวัดให้รุ่งเรือง
- ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต ได้รู้ว่าเราเกิดมาทำไม อะไรคือเป้าหมายของชีวิต ทำให้ได้สั่งสมบุญบารมีเพิ่มขึ้น และใช้วันเวลาในชาตินี้อย่างคุ้มค่า ไม่สูญเปล่า
-ฯลฯ-
การฝึกฝนอบรมตนเองตามหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาด้วยความตั้งใจและเต็มใจ ทำให้ทุกคืนทุกวันของธรรมทายาทผ่านไปอย่างมีคุณค่าและเปี่ยมด้วยบุญกุศล แม้การก้าวเดินบนเส้นทางนี้ต้องฝืนความเคยชินและฝืนกระแสกิเลสบ้าง แต่ผลที่ได้รับนั้นคุ้มเกินคุ้ม
ที่สำคัญ บุญกุศลจากการบวชเป็นพระแท้จะหนุนนำให้ชีวิตมีความสุขความเจริญยิ่ง ๆขึ้นไป สุดท้ายแล้วเมื่อถึงคราวละโลก ก็จะไปสู่สุคติ เพราะได้สร้างบุญกุศล สร้างความดีอย่างต่อเนื่อง
๖
สำหรับเหตุผลข้อที่ ๓ คือ ต้องการทดแทนบุญคุณแผ่นดินนั้น เมื่อธรรมทายาทลาสิกขาออกไป ก็จะไปเป็นคนดีของครอบครัว โดยนำความรู้ที่ได้จากการบวชไปเป็นหลักในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ซึ่งเท่ากับว่าได้ตอบแทนบุญคุณประเทศชาติไปโดยปริยาย เพราะไม่ว่าสังคมใด ประเทศใดต่างต้องการพลเมืองที่เป็นคนดีและมีคุณภาพทั้งนั้น
สิ่งหนึ่งที่จะต้องมีอยู่ในจิตสำนึก คือ ต้องนึกอยู่ตลอดเวลาว่าเราเป็นพระต้องตั้งใจว่าจะไม่ประพฤติล่วงละเมิดความเป็นพระ เมื่อมีจิตสำนึกอย่างนี้ ใจก็จะตั้งมั่นในการทำคุณงามความดี ทำวัตร สวดมนต์ บิณฑบาต ทำความสะอาดวัด ปรนนิบัติอุปัชฌาย์อาจารย์ ปรนนิบัติเจ้าอาวาส ศึกษาเล่าเรียน ท่องบ่นมนต์ทั้งหลายทั้งปวงให้ได้... ให้ขยันศึกษาเล่าเรียน สอบนักธรรม จะสอบได้หรือไม่ได้ไม่มีปัญหา สอบได้ก็ดี สอบไม่ได้ก็ได้ความรู้ไป ถือว่าเธอทั้งหลายได้ทำดีที่สุดแล้ว แล้วอยู่ที่วัดใดก็ให้กตัญญูต่อวัดนั้น สิกขาลาเพศไปแล้วก็คิดถึงวัดที่ตัวเองอาศัยบวชอยู่ ถือว่าเป็นวัดหลักประจำชีวิตของเรา นี้เป็นเรื่องที่จะต้องประพฤติปฏิบัติ เมื่อเธอทำได้ก็จะเป็นพระแท้สมบูรณ์เป็นเนื้อนาบุญ ชาวบ้านมากราบมาไหว้บูชาก็ได้บุญ โยมพ่อโยมแม่ ปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้องเห็นแล้วก็ชื่นใจในการประพฤติปฏิบัติของเรา
พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)
พระอุปัชฌาย์
นอกจากนี้ หากผู้ใดมีศรัทธาบวชต่อไปก็จะได้ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนามากมาย เช่น ทำหน้าที่เป็นพระพี่เลี้ยงของพระภิกษุและสามเณรรุ่นใหม่ และพัฒนาไปเป็นครูพระสอนศีลธรรมแก่เยาวชน เป็นพระอาจารย์อบรมพระภิกษุใหม่และเทศน์สอนญาติโยมต่อไปในอนาคต บางรูปก็อาจจะไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยสงฆ์ เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของพระศาสนาต่อไปซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นคงแก่พระพุทธ-ศาสนา และช่วยให้ศีลธรรมกลับมาเฟื่องฟูบนแผ่นดินไทยของเราอย่างยั่งยืนอีกด้วย
๗
หลังจาก โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ดำเนินการผ่านมา ๑๑ ครั้ง พบว่าได้ผลที่น่าพึงพอใจหลายประการ คือ สามารถสร้างพระภิกษุให้แก่สังฆมณฑลได้กว่า ๕,๐๐๐ รูป ซึ่งพระภิกษุเหล่านี้ปัจจุบันจำพรรษาอยู่ทั้งในวัดพระ-ธรรมกายและวัดอื่น ๆ และมีจำนวนหนึ่งไปจำพรรษาอยู่ที่วัดร้างหรือวัดใกล้จะร้าง ทำให้วัดเหล่านั้นกลับมาเป็นศูนย์รวมใจของคนในชุมชนและกลายเป็นวัดรุ่งในที่สุด
นอกจากนี้ ทางโครงการยังสร้างคนดีมีศีลธรรมได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งบุคคลเหล่านี้
การมาบวชของพวกเรานี้ เป็นโอกาสดีที่จะได้สำรวจตรวจสอบตัวเองว่า เรามีข้อบกพร่องและข้อดีอะไรบ้าง ถ้าพบส่วนที่ไม่ดีก็จะได้แก้ไข ถ้าพบส่วนดีเราก็จะได้ปลื้มว่า ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ชาตินี้ไม่เสียหลาย การที่จะรู้ว่าอะไรเป็นข้อบกพร่องและอะไรเป็นข้อดี ก็ต้องอาศัยพระธรรมวินัยหรือพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นแม่บทให้เราได้แก้ไขตัวเอง ซึ่งหลังจากที่เราบวชแล้ว พระอาจารย์ก็จะสอนพวกเรา เราแก้ไขได้ดีเท่าไร คุณงามความดีที่เราได้ฝึกตนก็จะเป็นหลักประกันให้เราได้ว่า ชาตินี้ถ้าเราจะบวชต่อ ก็จะเป็นพระดีให้มนุษย์และเทวดาได้กราบได้ไหว้ หรือถ้าจะสึกหลังจากออกพรรษาก็จะเป็นฆราวาสที่ดี เป็นคนดีของครอบครัว เป็นคนดีของประเทศชาติบ้านเมือง ยิ่งกว่านั้นจะเป็นหลักประกันอีกว่า ตราบใดที่เรายังต้องเวียนว่ายในวัฏสงสารต้องเกิดอีกกี่ชาติในเบื้องหน้า ด้วยกุศลผลบุญที่ตั้งใจบวชในครั้งนี้ เราจะได้เกิดท่ามกลางคนดี จะได้เกิดเป็นมนุษย์ ได้พบพระพุทธศาสนา นี้เป็นหลักประกันขั้นต้นในการที่เราบวชครั้งนี้
พระราชภาวนาจารย์ (หลวงพ่อทัตตชีโว)
เราจะอยู่ร่วมกันฉันพี่น้อง
จะประคองกันไปให้ถึงฝัน
เปิดใจกว้างว่าอย่างไรว่าตามกัน
สำนึกมั่นมุ่งเน้นความเป็นทีม
นอกจากจะเป็นกำลังสำคัญในการอุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนาแล้ว ยังไปเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาครอบครัว สังคม และประเทศชาติให้สงบร่มเย็นต่อไป โดยอาศัยหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เคยศึกษาเรียนรู้มาเป็นประทีปนำทาง
ผลที่น่าพึงพอใจอีกประการหนึ่งก็คือหลังจากดำเนินโครงการมาได้ระยะหนึ่งแล้วปรากฏว่าเวลาไปชวนบวช สามารถชวนได้ง่ายกว่าช่วงเริ่มทำโครงการใหม่ ๆ ทั้งนี้เพราะประชาชนเริ่มเชื่อมั่นและคุ้นเคยกับโครงการมากขึ้น ทั้งจากการประชาสัมพันธ์ จากคณะกัลยาณมิตรที่ออกชวนบวช และจากปากต่อปากของผู้ที่เคยบวช ดังนั้นถ้าใครมีความพร้อมเขาจะตกลงบวชทันที สำหรับคนที่อยากบวชแต่ยังไม่พร้อม เขาจะวางแผนเอาไว้ พร้อมเมื่อไรเขาจะมาบวชกับโครงการในรุ่นต่อไป
การที่ประชาชนเริ่มมีความคุ้นเคยกับการบวช ทำให้กระแสการบวชในสังคมไทยเริ่มแรงขึ้น ซึ่งจะมีผลให้ประเพณีบวชพระระยะยาวหวนกลับคืนมาดังเช่นในอดีต จากนั้นปัญหาเรื่องจำนวนพระภิกษุลดลง เรื่องวัดร้างและเรื่องศีลธรรมเสื่อมโทรมจะค่อย ๆ จางหายไป แล้วต่อจากนี้ สังคม ประเทศชาติ และพระพุทธศาสนา ก็จะเจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้น
ขอกราบอนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ผนึกกำลังช่วยกันซ่อมแซมฐานรากพระพุทธศาสนาให้พระศาสนาของเรามีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งแก่มหาชนในยุคปัจจุบันและสืบทอดไปเป็นมรดกอันล้ำค่าแก่อนุชนรุ่นหลัง และที่สำคัญยังเป็นการสร้าง “ประเทศสมบัติ” ไว้รองรับผู้มีบุญบารมี ที่จะเกิดมาบวชสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไปในภายภาคหน้าอีกด้วย