ฉบับที่ ๑๖๗ เดือนกันยายน ๒๕๕๙

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๖)

บทความพิเศษ
เรื่อง : พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม)
และคณะนักวิจัย DIRI

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ
(ตอนที่ ๑๖)

อยู่ในบุญ , วารสารอยู่ในบุญ , แม็กกาซีน , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , คำสอนวัดพระธรรมกาย , อานิสงส์แห่งบุญ , ทบทวนบุญ , พระพุทธศาสนา , หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ

   สืบเนื่องจากที่ผู้เขียนได้นำเสนอผลงานวิจัยการค้นพบ หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณที่ประเทศไทย ฉบับก่อนหน้านั้น ผู้เขียนมีความเชื่อมั่นว่า ท่านผู้อ่านที่ติดตามเรื่องราวมาตลอด และผู้ใคร่ต่อการศึกษา นักวิชาการเมื่อได้อ่านบทความและรับทราบถึงข้อมูลที่สมบูรณ์ด้วยเหตุผลพร้อมหลักฐานที่นำเสนอแล้วนั้น ทุกท่านจะได้รับความรู้ความเข้าใจยิ่งขึ้น เพราะหลักฐานปรากฏบ่งชี้อย่างชัดเจนของคำว่า “ธรรมกาย” นั้น มีอยู่จริงทั้งฝ่ายพุทธเถรวาทและมหายานในประเทศไทย มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล และได้รับการอุปถัมภ์จากชนชั้นสูงในสังคมไทยมานานไมต่่ำกว่า ๖๐๐ ปีแล้ว และยังมีผลงานวิจัยการค้นพบหลักฐานธรรมกายในต่างประเทศ ซึ่งสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) จะนำมาเสนอต่อไป

อยู่ในบุญ , วารสารอยู่ในบุญ , แม็กกาซีน , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , คำสอนวัดพระธรรมกาย , อานิสงส์แห่งบุญ , ทบทวนบุญ , พระพุทธศาสนา , หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ

    ส่วนฉบับนี้จะเสนอรายละเอียดที่สำคัญของ หลักฐานธรรมกายในยุคสมัยรัตนโกสินทร์เนื่องด้วยทางสถาบันฯ DIRI ได้รับคำถามและความคิดเห็นหลายประเด็นจากท่านที่สนใจติดตามผลงานมาอย่างต่อเนื่อง โดยขอให้ขยายความรู้เพิ่มเติม ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงเห็นว่าการนำเรื่อง หลักฐานธรรมกายที่พบในประเทศไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ มากล่าวไว้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจยิ่งขึ้น

     การได้พบหลักฐานธรรมกายตั้งแต่ยุคต้นรัตนโกสินทร์นั้นถือว่าเป็นการค้นพบที่สำคัญเนื่องจากข้อมูลในส่วนนี้เป็นข้อมูลชั้นปฐมภูมิ ที่เราสามารถชี้ชัดได้ว่าเป็นคัมภีร์พุทธโบราณ ที่เป็นใบลานฉบับหลวง ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากพระราชศรัทธาของพระมหากษัตริย์ถึง ๓ รัชกาลด้วยกัน โดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๑ (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) นั้น ต้องถือว่าทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก โดยนับตั้งแต่ที่ทรงครองราชสมบัติเป็นต้นมา พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงขึ้นเป็นครั้งแรก ชื่อว่า “ฉบับสังคายนา” หรือ “ฉบับครูเดิม” นับจากบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ มีการรวบรวมพระไตรปิฎกหรือคัมภีร์ที่จารึกเป็นภาษาบาลีอักษรลาวอักษรรามัญ อักษรสิงหล ตลอดจนอักษรอื่น ๆ หลายฉบับ โดยนำมาตรวจชำระเทียบเคียงกันแล้วปริวรรตแปลเป็นอักษรขอม แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วมีพระราชปุจฉาถึงสถานะความถูกต้องของพระไตรปิฎกฉบับนั้นกับพระสังฆราช พระราชาคณะ ฐานานุกรม มหาเปรียญ รวมทั้งสิ้น ๑๐๐ รูป ซึ่งคณะสงฆ์ได้ถวายพระพรว่า

อยู่ในบุญ , วารสารอยู่ในบุญ , แม็กกาซีน , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , คำสอนวัดพระธรรมกาย , อานิสงส์แห่งบุญ , ทบทวนบุญ , พระพุทธศาสนา , หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ

     “ยังมีข้อความที่คลาดเคลื่อนอยู่มากจากการคัดลอกต่อ ๆ กันมาเป็นเวลานาน และบางครั้งที่มีสงครามในบ้านเมืองก็เป็นเหตุให้มีคัมภีร์สูญหายไปบ้าง” พระองค์จึงมีพระราชวินิจฉัยว่า เมื่อมีข้อความคลาดเคลื่อน จึงควรมีการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นใหม่ ซึ่งการสังคายนามีขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๓๑

      เพื่อจะให้พระไตรปิฎกที่ชำระใหม่นั้นมีความสมบูรณ์ที่สุด พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพระไตรปิฎกฉบับหลวงที่ทรงสร้างขึ้นมาให้ คณะสงฆ์ ๒๑๘ รูป และราชบัณฑิตอุบาสก ๓๒ คน มาร่วมกันตรวจชำระ โดยใช้วัดพระศรีสรรเพชญ (เดิมชื่อวัดนิพพานารามปัจจุบันคือ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร) เป็นสถานที่ช่วยกันตรวจทานชำระแก้ไขคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับนี้ โดยใช้เวลาถึง ๕ เดือนจึงเสร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๑ และสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวงั บวรมหาสุรสีหนาท มีพระราชศรัทธารับเป็นองค์อุปถัมภ์ ซึ่งพระไตรปิฎกชุดนี้ถูกจารลงบนใบลานรวมทั้งสิ้น ๓,๕๖๘ ผูก (๒๙๘ คัมภีร์) แบ่งเป็นพระวินัย ๕๐ คัมภีร์ พระสูตร ๑๕๗ คัมภีร์ พระปรมัตถ์ ๕๖ คัมภีร์ สัททาวิเสส ๓๕ คัมภีร์ ตัวใบลานมีลักษณะธรรมดา ตัวอักษรบอกชื่อคัมภีร์และข้อความในเส้นจารตกแต่งด้วยทองทึบและล่องชาดที่มีแบบอย่างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และหลายยุคก่อนหน้านั้น ทั้งนี้หลังจากสังคายนาพระไตรปิฎกเสร็จสิ้นลงแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระไตรปิฎกขึ้นหลายชุดด้วยกัน ได้แก่

 

คัมภีร์ใบลานหลวงฉบับทองทึบ

อยู่ในบุญ , วารสารอยู่ในบุญ , แม็กกาซีน , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , คำสอนวัดพระธรรมกาย , อานิสงส์แห่งบุญ , ทบทวนบุญ , พระพุทธศาสนา , หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ

   เป็นฉบับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นหลังการสังคายนาพระไตรปิฎกเสร็จสิ้นแล้ว

อยู่ในบุญ , วารสารอยู่ในบุญ , แม็กกาซีน , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , คำสอนวัดพระธรรมกาย , อานิสงส์แห่งบุญ , ทบทวนบุญ , พระพุทธศาสนา , หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ

    โดยในการสร้างพระไตรปิฎกขึ้นนั้นโปรดเกล้าฯ ให้จ้างช่างจารลงไปในใบลานเป็นอักษรขอม โดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์มีการตกแต่งคัมภีร์ลงรักปิดทอง ตัวใบลานปกหน้าและปกหลังปิดทองทึบตลอดทั้งใบลานห่อด้วยผ้ายก เชือกรัดถักด้วยไหมแพรเบญจพรรณ มีฉลากงาแกะเขียนอักษรด้วยหมึกและฉลากทอเป็นอักษรบอกชื่อคัมภีร์ทุกคัมภีร์เก็บรักษาไว้ในตู้พระไตรปิฎกประดับมุกในหอพระมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

 

คัมภีร์ใบลานหลวงฉบับทองใหญ่

อยู่ในบุญ , วารสารอยู่ในบุญ , แม็กกาซีน , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , คำสอนวัดพระธรรมกาย , อานิสงส์แห่งบุญ , ทบทวนบุญ , พระพุทธศาสนา , หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ

    แต่เมื่อมีการสร้างพระไตรปิฎกฉบับทองทึบเพิ่มขึ้นอีกในรัชกาลต่อ ๆ มา จึงเรียกพระไตรปิฎกฉบับทองทึบนี้ใหม่ว่า “ฉบับทองใหญ่” ตัวใบลานปกหน้าและปกหลังปิดทองทึบตลอดทั้งใบลาน ใบลานที่สองมีอักษรจารบอกชื่อคัมภีร์ ตั้งแต่ใบลานที่ขึ้นต้นข้อความเรื่อยไปจนจบข้อความหรือจบผูก เป็นอักษรเส้นจารเหมือนกัน ตัวไม้ประกับปิดทองทึบ

    พระไตรปิฎกฉบับทองใหญ่มีทั้งหมด ๓๕๔ คัมภีร์ รวมมีหนังสือใบลานทั้งสิ้น ๓,๖๘๖ ผูก ประกอบด้วยพระวินัย ๘๐ คัมภีร์ พระสูตร ๑๖๐ คัมภีร์ พระอภิธรรม ๖๑ คัมภีร์ และสัททาวิเสส ๕๓ คัมภีร์

 

คัมภีร์ใบลานหลวงฉบับรองทรง หรือฉบับข้างลาย

อยู่ในบุญ , วารสารอยู่ในบุญ , แม็กกาซีน , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , คำสอนวัดพระธรรมกาย , อานิสงส์แห่งบุญ , ทบทวนบุญ , พระพุทธศาสนา , หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ

    เป็นคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพิ่มขึ้นอีก ๒ ชุด เพื่อใช้ในการสอบพระปริยัติธรรมในกรมราชบัณฑิต ซึ่งตามบัญชีปรากฏว่ามีจำนวนทั้งสิ้น ๓๐๕ คัมภีร์ คือ พระสูตร ๑๕๘ คัมภีร์ พระปรมัตถ์ ๖๕ คัมภีร์ พระวินัย ๕๒ คัมภีร์ และสัททาวิเสส ๔๐ คัมภีร์ รวมเป็นหนังสือใบลาน ๓,๖๔๙ ผูก

 

คัมภีร์ใบลานหลวงฉบับทองชุบ

อยู่ในบุญ , วารสารอยู่ในบุญ , แม็กกาซีน , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , คำสอนวัดพระธรรมกาย , อานิสงส์แห่งบุญ , ทบทวนบุญ , พระพุทธศาสนา , หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ

      เป็นคัมภีร์พระไตรปิฎกอีกฉบับหนึ่งที่สร้างขึ้นในรัชสมัยเดียวกัน แต่มีเพียง ๓๖ คัมภีร์ ได้แก่ พระวินัย ๓๕ คัมภีร์ และสัททาวิเสส ๑ คัมภีร์

   สิ่งที่น่าสนใจก็คือ พระไตรปิฎกที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นนี้ ถือเป็นพระไตรปิฎกที่เก่าแก่ และมีความสมบูรณ์ ซึ่งพระไตรปิฎกใบลานเหล่านี้บรรจุเรื่องธรรมกายเอาไว้หลายต่อหลายแห่งด้วยกัน แม้ในรัชกาลที่ ๒ และโดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๓ ซึ่งมีคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับที่สำคัญ คือ “ฉบับเทพชุมนุม” ที่เก็บรักษาไว้ในหอพระไตรปิฎกจตุรมุขของวัดพระเชตุพนฯ(วัดโพธิ์) ซึ่งอยู่ในเขตพุทธาวาสนั้น ก็เป็นพระไตรปิฎกใบลานที่เก่าแก่อันบรรจุเรื่องราวของคาถาธรรมกายไว้อย่างบริบูรณ์เช่นกัน ซึ่งรายละเอียดของคาถาธรรมกายที่สำคัญนั้น ผู้เขียนจะขอนำไปกล่าวไว้ในฉบับหน้า

อยู่ในบุญ , วารสารอยู่ในบุญ , แม็กกาซีน , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , คำสอนวัดพระธรรมกาย , อานิสงส์แห่งบุญ , ทบทวนบุญ , พระพุทธศาสนา , หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ

    หมายเหตุ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ผู้เขียนติดศาสนกิจ จึงไม่สามารถเดินทางไปประเทศอังกฤษเพื่อประชุมร่วมกับศาสตราจารย์ริชาร์ด กอมบริท ในการส่งเสริมกองทุนการเรียนการสอนบาลีศึกษา จึงมอบหมายให้ กัลฯวรรณี ปิยะธนศิริกุล รองเลขาธิการฝ่ายบริหารและการบัญชี พร้อมด้วยคณะ คือ ดร.พอล แทรปฟอร์ด กัลฯธนภรณ์ แซ่เช็ง และ กัลฯวรนันท์ ทอมสัน เดินทางไปร่วมประชุมแทน

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

* * อยู่ในบุญ แนะนำ/เกี่ยวข้อง * *

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล