ฉบับที่ ๑๗๓ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐

วัดพระธรรมกาย คอร์ซัวร์ สุสท์สโกว ดวงแก้วแห่งความสมปรารถนาของชาวเดนมาร์ก

รอบโลกสีน้ำเงิน
เรื่อง : มาตา

วัดพระธรรมกาย คอร์ซัวร์ สุสท์สโกว
ดวงแก้วแห่งความสมปรารถนาของชาวเดนมาร์ก

วัดพระธรรมกาย คอร์ซัวร์ สุสท์สโกว,เนื้อนาใน,อยู่ในบุญ

      ไม่ว่ามรสุมจะกระหน่ำเข้ามากี่ลูกก็ตาม วัดพระธรรมกายยังคงคอนเซปต์เดิม คือ มุ่งเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย ไปทั่วโลก ตามมโนปณิธานของมหาปูชนียาจารย์ เพื่อให้ชาวโลกเข้าถึงความสุขภายในและรอดพ้นจากอบายภูมิ

     “เดนมาร์ก” เป็นอีกประเทศหนึ่งที่พระภิกษุจากวัดพระธรรมกายไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา และมีผลงานอยู่ในระดับ A+ ซึ่งหลายคนคงเคยได้ยินหลวงพ่อธัมมชโยกล่าวชมใน DMC จนทำให้ “วารสารอยู่ในบุญ” เกิดความสนใจต้องตามไปสัมภาษณ์...
 

       “หลวงพี่ไปสร้างวัดที่เดนมาร์กเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๘ ไปรูปเดียว ทุกอย่างไปหาเอาข้างหน้าอย่างที่หลวงพ่อทัตตชีโวบอกว่า ‘บาตร ๑ ใบกับตั๋วไปเผยแผ่’” พระครูปลัดภาวนาวัฒน์ (ประคองศักดิ์ สัตติปัญโญ) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายคอร์ซัวร์ ลุสท์สโกว ประเทศเดนมาร์กหรือ หลวงพี่พระครู ของชาวเดนมาร์ก

เกริ่นนำ...

      ไปถึงเดนมาร์กแล้ว ศักยภาพมีอยู่เท่าไรท่านเค้นออกมาใช้เต็มที่ เพื่อปักหลักพระพุทธศาสนา นำธรรมะของพระสมั มาสัมพทุธเจ้าไปเผยแผ่แก่ชาวท้องถิ่นโดยเร็วไว

        จากที่แทบไม่มีอะไรติดตัวไปเลย ในที่สุดท่านก็หาที่ หาทีม หาทุนมาสร้างวัดสำเร็จภายในเวลาแค่ ๑ ปี

       “ก่อนไปเดนมาร์ก หลวงพ่อบอกว่าชาวเดนมาร์กจิตใจดีงาม การเผยแผ่จะไม่ยากและบอกว่าจะมีผู้มีบุญรออยู่ที่นั่น ซึ่งหลวงพี่ก็ไปเจอกับผู้มีบุญจริง ๆ ชุดแรกคือชาวไทยที่มีสามีเป็นชาวเดนมาร์ก ๓ ครอบครัว ที่เขารู้จักวัดเราผ่าน DMC แล้วเขาก็ไปชวนคนมาทำบุญที่วัด ต่อมามีนักศึกษาชาวไทยมาช่วยงานเรา ๒ คน เป็นทีมงานคุณภาพที่ร่วมงานกันจนถึงปัจจุบัน ๑๒ ปีแล้ว

 

       เมื่อเจอหมู่คณะแล้ว การเผยแผ่อย่างจริงจังก็เริ่มขึ้น “เรามุ่งเผยแผ่แก่ชาวท้องถิ่น เพราะว่า  จุดประสงค์หลักของการเผยแผ่ในต่างประเทศก็คือ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย ไปสู่ชาวท้องถิ่น

    “ที่นี่เราเริ่มจากสามีของชาวไทยซึ่งเป็นคนใกล้ตัวก่อน ซึ่งในปัจจุบันกลุ่มนี้ผูกพันกับเรามาก ขนาดที่บางคนภรรยาเขานั่งเครื่องบินตกหลุมอากาศแล้วร้องวี้ดว้าย สามียังบอกว่า‘เธอมีหลวงปู่อยู่ จะไปกลัวอะไร นึกถึงหลวงปู่สิ’

    “อีกคนหนึ่งรักวัดมาก ภรรยาเขาถามว่า ‘ตายแล้วเธอจะไปอยู่กับฉันที่ดุสิตบุรีไหม ?’เขาบอกว่า ‘คงไม่ไปหรอก ฉันต้องรีบมาเกิดหลวงพ่อสั่งให้ดูแลวัด’ คนนี้เขาเคยมากราบหลวงพ่อที่เมืองไทย เราได้ยินเขาพูดก็รู้เลยว่าหลวงพ่อกับวัดเข้าไปอยู่ในใจเขาแล้วจริง ๆ”
 

     ไม่ง่ายที่ชาวต่างชาติที่นับถือศาสนาอื่นตกทอดกันมาเป็นพัน ๆ ปี จะรู้สึกได้ลึกซึ้งขนาดนี้“หลวงพี่พระครู” ท่านใช้คาถาบทใด ?

     “เขาได้ประโยชน์จากการนั่งสมาธิน่ะเขาพบความสุขที่แท้จริงภายใน ซึ่งสุขกว่าที่เขาเป็นอยู่ นี้คือสิ่งที่เรามอบให้เขา และเป็นปัจจัยหลัทที่ทำให้เขารักวัด รักหลวงปู่ รักหลวงพ่อนอกจากนี้ เขายังชอบการต้อนรับที่อบอุ่น ที่ทำให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของวัดไม่รู้สึกว่าแปลกแยก ถ้ามาถึงวัดแล้วเจอแต่อะไรที่เป็นไทยโดยไม่มีวัฒนธรรมของเขาเลย แบบนี้เขาจะรู้สึกว่า นี้คือวัดไทย ไม่ใช่วัดของเขา หลวงพี่ว่าเราต้องเข้าใจเขาและทำตรงนี้ให้ได้”

 

         ที่ผ่านมา “หลวงพี่พระครู” อาศัยหลักปฏิรูปเทส๔ (ที่อยู่, อาหาร, บุคคล และธรรมะ) ดูแลพวกเขา โดยใส่รายละเอียดลงไปให้เหมาะกับสถานการณ์และบุคคล

      “ในเรื่อง สถานที่ ชาวยุโรปเขามีความสะอาดและเป็นระเบียบเหนือกว่าเรามากถ้าจะเอาชนะใจเขา เราต้องทำให้เหนือกว่าเขาฉะนั้นวัดต้องสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยที่สุด

       “ส่วนเรื่อง อาหาร เราจะดูว่า อาหารไทยและเดนมาร์กที่เขาชอบที่สุดอันดับแรก ๆคืออะไร วันงานบุญใหญ่ก็ทำให้เขารับประทานตามสมควร และจัดอาหารของชาวเดนมาร์กแยกกับของคนไทยด้วย เพราะฝรั่งส่วนใหญ่จะตักอาหารทีหลัง เนื่องจากเขาเกรงใจ บางครั้งอาหารก็หมดหรือเหลือแต่ของเผ็ด ๆ แบบนี้ไม่ประทับใจหรอก

       “เรื่อง บุคคล เราก็อบรมธรรมะแก่สาธุชนชาวไทย และถามเขาว่าอยากจะช่วยหลวงพ่อไหม ถ้าอยากช่วยต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน ต้องเลิกสิ่งไม่ดีทุกอย่าง ที่พูดจาไม่ให้เกียรติสามีต้องหยุด ต่อมาเมื่อภรรยาเขาดีขึ้นอย่างไม่น่าเป็นไปได้ สามีจึงคิดว่าวัดนี้ไม่ธรรมดา เลยเริ่มยอมรับมากขึ้น นอกจากนี้เรายังต้องฝึกคนของเราให้รู้จักให้เกียรติและคอยดูแลชาวท้องถิ่นให้ดี เช่น อย่าจัดให้เขาไปนั่งข้างหลังปนกับเด็กและคนแก่ เพราะเขาจะรู้สึกว่าเขาไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม ที่วัดหลวงพี่ให้คนไทยนั่งอาสนะฝั่งหนึ่ง ชาวท้องถิ่นนั่งเก้าอี้อีกฝั่งหนึ่ง
 

     “ส่วนเรื่อง ธรรมะ นอกจากสอนวิธีทำสมาธิซึ่งเป็นหัวใจหลักแล้ว หลวงพี่ยังนิมนต์พระที่เก่ง ๆ มาพูดคุยให้เขาถามข้อสงสัย (หลวงพี่ยังไม่เก่งทั้งภาษาเดนิชและภาษาอังกฤษ) เช่นทำไมถึงต้องทำอาหารดี ๆ ไปถวายพระด้วยทำไมพระต้องใส่ชุดนี้ ทำไมต้องบริจาค ฯลฯเพื่อเคลียร์ปัญหาของเขา แล้วเติมความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาเข้าไป จนกระทั่งได้คนมาช่วยกันสร้างและดูแลวัด”

      การสอนสมาธิบวกกับการนำ หลักปฏิรูปเทส ๔มาใช้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความใส่ใจและให้เกียรติซึ่งกันและกันสร้างความประทับใจแก่ชาวเดนมาร์กมาก จนทำ ให้เขาร่ำลือต่อๆกันไป และมีคนโทรศัพท์มาจองนั่งสมาธิข้ามปีเลยทีเดียว

     “สังคมของชาวเดนมาร์กค่อนข้างเล็กทั้งประเทศมีคนแค่ ๕ ล้านกว่าคน การสื่อสารค่อนข้างถึงกัน คนที่เคยมาวัดเขาเอาไปพูดต่อ ๆ กันไป จึงมีคนโทรศัพท์มาจองนั่งสมาธิตลอด เพราะกลัวเราไม่ว่าง

    “นอกจากการสอนสมาธิชาวท้องถิ่นเป็นกลุ่มใหญ่จากโรงเรียน มหาวิทยาลัย บริษัทห้างร้าน และองค์กรต่าง ๆ ตามวาระแล้ว เรายังเปิดสอนสมาธิทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา๑๔.๐๐-๑๕.๐๐ น. และด้วยความที่เราสม่ำเสมอทำให้พวกเขามั่นใจว่าถ้ามาเวลานี้ได้นั่งสมาธิแน่นอน ในช่วงนี้เราไม่ใช้ภาษาไทยเลย จัดให้เป็นเวลาของชาวเดนมาร์กล้วน ๆ ทำให้เขารู้สึกว่านี้คือบ้านเมืองของเขา เขาไม่ใช่แขกที่มานั่ง ๆ เสร็จแล้วก็กลับ”
 

    นั่งสมาธิเสร็จแล้ว “หลวงพี่พระครู” เล่าว่าเขายังนั่งดื่มน้ำชา กาแฟ นั่งคุยกันเรื่องวัดเรื่องสมาธิ บางที ๔-๕ โมงเย็นถึงจะกลับบ้านทั้ง ๆ ที่ปกติพวกฝรั่งมีนิสัยตรงต่อเวลามากการละเมิดความเคยชินแบบนี้เท่ากับเป็นการประกาศชัดเลยว่า เขามีความสุขเวลาอยู่ที่วัดวัดนี้เป็นวัดของเขา

      “ตอนนี้ พวกที่มาวัดประจำไม่ได้มาเพราะภรรยาแล้ว เขาถือเป็นหน้าที่ที่ต้องมาช่วยพระอาจารย์ เขาจะประชุมกันแล้วมาบอกว่าควรทำอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งหลวงพ่อท่านบอกว่าแบบนี้คือการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย ไปสู่ชาวท้องถิ่นจริง ๆ คือ ทำให้เขารักพระพุทธศาสนา รักการปฏิบัติธรรม รักบุญรักวัด เมื่อทำได้อย่างนี้แล้ว ต่อไปเขาจะดูแลวัด ดูแลพระพุทธศาสนา และช่วยเราเผยแผ่วิชชาธรรมกายต่อไป

      “นอกจากนี้ เวลามีโครงการอบรมสมาธิอาสาสมัครชาวเดนมาร์กจะมาดูแลเรื่องการปฐมนิเทศนำชมวัด เล่าประวัติวัด และตอบข้อสงสัยต่าง ๆ ส่วนเรื่องความสะอาด เรื่องอาหาร การจัดสถานที่ เรามีอาสาสมัครคนไทยดูแล

    “และในเวลาปกติ ถ้าช่วยอะไรได้เขาจะมาช่วย เช่น ขนขยะไปทิ้ง เปลี่ยนหลังคาโบสถ์ถมสระ ดูเรื่องกฎหมาย เรื่องเอกสาร เรื่องการก่อสร้าง ฯลฯ

     “แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ เราต้องเข้าไปนั่งในใจเขาให้ได้ก่อน เหมือนที่หลวงพ่อเข้ามานั่งในใจลูก ๆ พวกลูก ๆ ถึงได้ยอมทุ่มทุกอย่างแม้แต่ชีวิต ถ้าหากเราไม่จริงใจกับเขาและเขาไม่เห็นประโยชน์อะไร ไม่มีทางหรอก เพราะในทางโลกเราไม่มีอะไรเหนือกว่าเขาเลย เขาเป็นเจ้าของประเทศที่ได้รับการจัดอันดับจากองค์การสหประชาชาติว่า ‘ประชากรมีความสุขที่สุดในโลก’ หลายปีซ้อน คือ สุดยอดทั้งเรื่องเสรีภาพ สวัสดิการ การศึกษา อาหาร อากาศและอีกหลายอย่าง เขาไม่จำเป็นต้องมาดูแลหรือมาอะไรกับเราเขาก็มีความสุขอยู่แล้ว แต่ที่เขายอมทุ่มกับเรายอมให้เราไปนั่งอยู่ในใจเขาแสดงว่าเขาต้องเห็นความปรารถนาดีของเราและเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรานำมามอบให้ว่าเติมเต็มความสุขทางใจให้เขาได้จริง”
 

       ในระยะหลัง ๆ แม้ว่าวัดพระธรรมกายคอร์ซัวร์ลุสท์สโกว ได้ชื่อว่าประสบความสำ เร็จในระดับหนึ่งแล้ว แต่ถ้ามีช่องทางที่จะทำให้คนรู้จักวัดมากขึ้น หลวงพี่พระครู” ก็จะคว้าเอาไว้ จะได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาออกไปให้ทั่วประเทศเดนมาร์กได้เร็วขึ้น

      “เคยมีเจ้าหน้าที่จากสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศเดนมาร์ก (DR P3) ที่คนนิยมฟังทั้งประเทศนิมนต์หลวงพี่ไปเทศน์ออกอากาศพอเทศน์ให้ฟังเสร็จแล้ว เขาขอให้หลวงพี่ให้พรหลวงพี่ก็เลยสวดชยันโตให้ ซึ่งปัจจุบันนี้เขายังเปิดอยู่ในตอนเช้า ทำให้คนรู้จักวัดเราเยอะมาก

     “อีกครั้งหนึ่งมีนักหนังสือพิมพ์มาสัมภาษณ์ที่วัด เขาถามว่า อะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดของการเป็นพระ?ตอนนั้นถ้าเราตอบเรื่องสามัญญผลสูตรเขาจะไม่เข้าใจ หลวงพี่จึงตอบว่า สิ่งที่คิดว่าดีที่สุดในชีวิตของความเป็น

พระก็คือ การเป็นผู้ให้ ให้สิ่งที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิต ชี้ว่าอะไรควรทำ-ไม่ควรทำ อะไรบุญ-บาปอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์ทั้งในปัจจุบันอนาคต จนกระทั่งตายไปแล้วจะเอาสิ่งดี ๆ ติดตัวไปได้อย่างไร ซึ่งปกติเขาจะมองแต่มุมที่พระเป็นผู้รับ รับประเคนโน้น นี้ นั้น แต่เราทำให้เขาเห็นอีกมุมหนึ่ง

     “อีกคำถามหนึ่ง อะไรคือสิ่งที่ไม่ดีที่สุดในชีวิตของความเป็นพระ ? คำถามนี้ไม่ง่ายที่จะตอบ หลวงพี่ตอบเขาไปว่า สิ่งที่คิดว่าแย่ที่สุดก็คือ เรามีของดี ๆ อยู่ในตัว เรารู้ว่าอะไรดีที่สุดที่จะทำให้ทุกคนมีความสุขหรือประสบความสำเร็จในชีวิต แต่เราไม่สามารถถ่ายทอดได้เต็มที่ โดยเฉพาะกับชาวเดนมาร์ก เพราะติดขัดเรื่องภาษา แต่เราพยายามอยู่

    “เขาเซอร์ไพรส์กับคำตอบนี้มาก สิ่งไม่ดีที่เขารอฟังอยู่กลายเป็นความห่วงกังวลต่อคนของเขา เขาไม่คิดเลยว่า หลวงพีจะตอบอย่างนี้หลังจากตีพิมพ์บทสัมภาษณ์นี้แล้ว งานเผยแผ่ยิ่งระเบิดเถิดเทิงโดยที่เราไม่ต้องไปนำเสนอกับใครว่า ยูสนใจจะมานั่งสมาธิไหม”
 

    แม้ว่างานเผยแผ่ให้แก่ชาวท้องถิ่นเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ แต่ทีมงานก็ไม่ละเลยชาวไทย พยายามหาวิธียกระดับชาวไทยและเด็กลูกครึ่งอยู่เสมอจะได้มาเป็นกำ ลังที่เข้มแข็งในการเผยแผ่ต่อไป“เราสอนให้เขารักการทำทาน รักษาศีลเจริญภาวนา สอนธรรมศึกษาด้วย และเปิดสอบที่วัดพระธรรมกายเดนมาร์ก ๔-๕ ปีมาแล้ว(ปัจจุบันยังเป็นศูนย์สอบของสแกนดิเนเวีย) จะได้ยกระดับคนไทยซึ่งบางคนอาจจะมีความรู้ทางโลกน้อย แต่พอมีความรู้ทางธรรมมากขึ้นเขาจะไปแนะนำพูดคุยกับลูกและสามีได้
 

      “นอกจากนี้ เรายังนิมนต์พระอาจารย์โครงการดอกไม้บานจากประเทศไทยมาจัดปฏิบัติธรรมหลักสูตร ๗ วันเช่นเดียวกับที่พนาวัฒน์ ที่ภูเรือ ทำให้ชาวไทยได้ประโยชน์เต็มที่ ชาวไทยที่เดนมาร์กเขาหิวธรรมะ ใฝ่รู้พอได้ความรู้แล้ว เขาช่วยเราเผยแผ่ได้มากขึ้น
 

      “ส่วนเด็กลูกครึ่งเราจัดบวชทุกปี ให้บวชเณร ๒ อาทิตย์ แล้วเราก็ได้ชุดนี้มาทุกปีจนมีชาวเดนมาร์กแท้ ๆ คือพ่อของพวกเขามาบวชด้วย

     “เมื่อเขามาเรียนรู้วัฒนธรรมชาวพุทธมารู้จักวัดแล้ว เขาช่วยถ่ายทอดแทนเราได้สบายเลย เพราะเขาไม่ติดเรื่องภาษา ตอนนี้ความต้องการนั่งสมาธิของชาวเดนมาร์กมากขึ้นทุกวัน บุคลากรเราไม่พอ สถานที่ก็อาจจะไม่พอด้วยในอนาคต...”
 

        ปัจจุบันในเดนมาร์กมีวัดไทย ๔ วัด เป็นสาขาวัดพระธรรมกาย ๒ วัด คือ วัดพระธรรมกายเดนมาร์กและวัดพระธรรมกายคอร์ซัวร์ ลุสท์สโกววัดพระธรรมกายคอร์ซัวร์ ลุสท์สโกว ตั้งอยู่ในอุทยานใกล้ทะเล เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมมาก ตัววัดเป็นตึกสำหรับพักผ่อนในฤดูร้อนของเศรษฐีเมื่อ ๑๐๐ กว่าปีที่แล้ว ข้างนอกวัดเหมือนคฤหาสน์ ข้างในเหมือนโบสถ์ ที่วัดมีพระภิกษุอยู่ประจำ ๓ รูป และมีดวงแก้วชื่อ “ดวงแก้วแห่งความสมปรารถนา” ซึ่งได้รับมาจากหลวงพ่อธัมมชโยประดิษฐานอยู่ ชื่อของดวงแก้วนี้หลวงพ่อเป็นผู้ตั้งให้ ซึ่งบังเอิญไปตรงกับชื่ออุทยานพอดี และท่านยังให้พรว่า“ดวงแก้วนี้จะทำ ให้ความปรารถนาของชาวเดนมาร์กสำ เร็จทั้งทางโลกและทางธรรม”

    ในยุคสมัยที่ข่าวร้ายมากกว่าข่าวดีเรื่องราวที่พระพุทธศาสนากำลังเติบโตอย่างมั่นคง และปลอดภัยอยู่ในดินแดนที่ผู้คนมีจิตใจงดงามแห่งนี้ นอกจากเป็นเสมือนกระแสธารอันชุ่มเย็นที่หลั่งรินรดใจหมู่คณะวัดพระธรรมกายทั่วโลกแล้ว ยังเป็นแบบอย่างที่ดีในการสืบสานมโนปณิธานของมหาปูชนียาจารย์ไปสู่ชาวท้องถิ่นอีกด้วย และยังแสดงให้เห็นชัดว่า สุดยอดแห่งความสุขที่ชาวโลกปรารถนา คือ ความสุขจากการทำสมาธิภาวนา ทีเรียกกันว่า “สันติสุขภายใน”

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

* * อยู่ในบุญ แนะนำ/เกี่ยวข้อง * *

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล