ฉบับที่ ๒๑ ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗

พุทธประวัติ " อัธยาศัยของพระโพธิสัตว์"

 

 

พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิใช่มีเพียงแค่พระองค์เดียว แต่มีมาแล้วมากมายนับพระองค์ไม่ถ้วน

เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนา พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย)
วันพุธที่ ๗ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๔๗

               พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิใช่มีเพียงพระองค์เดียว แต่มีจำนวนมากมายนับพระองค์ไม่ถ้วน มีมากกว่าเม็ดทรายในท้องพระมหาสมุทรทั้ง ๔ คือ อุปมาว่า มากกว่ามาก ยากที่ใครๆ จะมานับเม็ดทรายได้ทั้งหมด แม้มีผู้ทรงอภิญญาที่มีดวงปัญญาไปนับได้ ก็ยังไม่อาจนับได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีมากเท่าไร คือมันมากกว่ามาก เกินไปกว่านั้น แสดงว่าสังสารวัฏตั้งมา ยาวนานมาก เบื้องต้น ไม่รู้อยู่ตรงไหน ท่ามกลาง เบื้องปลาย ไม่ปรากฏ เอาเป็นว่าเราอย่าไปรู้ถึงขนาดนั้น แต่ให้รู้ว่าชีวิตที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนี้เป็นทุกข์ เราต้องออกจากคุกคือภพสามนี้ไปให้ได้

               และให้รู้ว่า ผู้รู้ ผู้พ้นแล้วมีจำนวนมาก ทั้งที่ผ่านมาแล้วในอดีต ในปัจจุบัน และในอนาคต ก็จะมีสืบสายเส้นทางพุทธภูมินี้อีกเป็นจำนวน มากทีเดียว มีทั้งนิยตโพธิสัตว์และอนิยตโพธิสัตว์ และจะมีการถ่ายทอดเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่น่าศึกษา เพราะฉะนั้นเรื่องราวของชีวิตจึงไม่ใช่เรื่องตื้นๆ เป็นเรื่องลึกซึ้ง แต่ว่าเข้าใจได้ง่าย ถ้าเราได้ศึกษาเรียนรู้

มีปรากฏอยู่ด้วยพระธรรมกายในอายตนนิพพาน
ซึ่งมีมากกว่าเม็ดทรายในท้องพระมหาสมุทรทั้ง ๔
 

               การที่บุคคลใดบุคคลใดหนึ่งจะตั้งความปรารถนาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิ์คิดได้ แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีความคิดที่จะทำลายวัฏสงสารนี้ออกไปให้ได้ แล้วก็จะต้องไม่ไปคนเดียว แต่จะนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ร่วมทุกข์ในวัฏสงสารนี้ออกไปด้วย นี่เป็นอัธยาศัย ของท่าน บุคคลผู้มีความคิดเช่นนี้อย่างแรงกล้า อย่างเด็ดเดี่ยว อย่างมั่นคง อย่างจริงจัง ด้วยความสมัครใจ จะได้เนมิตกนาม ซึ่งเป็นนามที่เกิดจากคุณธรรมของท่านว่า "พระโพธิสัตว์"

               พระ แปลว่า ผู้ประเสริฐ
               โพธิ แปลว่า ตรัสรู้
               สัตว์ หมายถึง สัตวโลกทั้งหลาย

               พระโพธิสัตว์ หมายถึง บุคคลผู้มุ่งการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เพื่อที่จะรื้อสัตว์ขนสัตว์ ให้พ้นจากทุกข์ภัยในวัฏสงสารตามไปด้วย

               บุคคลผู้มีความคิดเช่นนี้ เมื่อบารมียัง ไม่มากจะเรียกว่า พระโพธิสัตว์ แต่เมื่อมีบารมี แก่กล้าจะเรียกว่า พระบรมโพธิสัตว์

               พระโพธิสัตว์ เป็นบุคคลผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่มหาศาลเกินเปรียบ ซึ่งผู้ไม่รู้ปัจจุบันมักจะพูดว่า too good to be true คือ ดีเกินกว่าที่จะเป็นจริง บ้างก็ว่าท่านคงเป็นนักคิด ที่เขาคิดเช่นนี้เพราะเอาความคิดของตัวเองไปเทียบ ซึ่งลืมไปว่า ตัวเองยังกิเลสหนาปัญญาหยาบอยู่

และจะเสด็จมาบังเกิดขึ้นอีกในอนาคต
อันจะนับจะประมาณไม่ได้

การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะตั้งความปรารถนา เป็นพระพุทธเจ้านั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิ์คิดได้ แต่จะต้องเป้นผู้ที่มีความคิดที่จะ ทำลายวัฏสงสารนี้ออกไปให้ได้

จะไม่ไปเพียงคนเดียว แต่จะพาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ร่วมทุกข์ใน
วัฏสงสารนี้ออกไปด้วย

 

               อย่าลืมว่า ก่อนที่จะตรัสรู้ พระองค์ยังไม่รู้เลยว่าหนทางที่จะออกจากภพนั้นทำอย่างไร แต่ ตั้งความปรารถนาเอาไว้ เหมือนในกาลก่อน คนเห็นเหล็กจมน้ำ แต่ก็กล้าคิดว่า สักวันหนึ่งเหล็กจะดำน้ำได้เหมือนปลา จะลอยบนผิวน้ำได้ จะอยู่บนบกแล้วแล่นไปบนถนนได้ จะออกจากโลกนี้ไปในอากาศได้ แล้วจะโคจรไปดวงดาวต่างๆ ได้ ไปบอกความคิดอย่างนี้ ในสมัยนั้นเขาว่าบ้า แต่เดี๋ยวนี้ก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะตั้งโจทย์ยากๆ จึงทำให้เกิดพระโพธิสัตว์จำนวนมาก

บุคคลที่มีความคิดเช่นนี้จะได้ เนมิตกนาม
ซึ่งเป็นนามที่เกิดจากคุณธรรมของท่านว่า
พระโพธิสัตว์

พระโพธิสัตว์ หมายถึง สัตว์ผู้มุ่งการตรัสรู้การเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อที่จะรื้อสัตว์ขนสัตว์ ให้พ้นจากทุกข์ภัยในวัฏสงสารตามไปด้วย

พระโพธิสัตว์ จึงเป็นบุคคลผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่
มหาศาลเกินเปรียบ

 

               โดยมีความคิดว่า หากแม้ว่าจักรวาลอันกว้างใหญ่สุดประมาณนี้ เป็นป่าไผ่อันแน่นหนาเต็มไปด้วยเรียวหนามอันแหลมคม วัดได้ไกลถึง หนึ่งล้านสองแสนสามหมื่นสี่ร้อยห้าสิบโยชน์ ท่านก็จะเดินลุยไปด้วยเท้าเปล่า จะเหยียบย่ำบุกฝ่าขวากหนามไปจนสุดปลายทาง

               หากแม้ว่าจักรวาลอันกว้างใหญ่สุดประมาณนี้ มีถ่านเพลิงร้อนระอุเต็มไปหมด ท่านก็จะเดินลุยไปด้วยเท้าเปล่า ไปจนสุดหมื่นจักรวาล

               หรือหากแม้ว่าจักรวาลอันกว้างใหญ่สุดประมาณนี้ เต็มไปด้วยภูเขาเหล็กลุกเป็นไฟ โพลงอยู่ตลอดเวลา และพื้นดินระหว่างซอกภูเขานั้น เต็มไปด้วยน้ำทองแดงที่หลอมเดือดพุ่งละลายอยู่เต็มไปทั่ว เราก็จะแหวกว่ายไปผ่านน้ำทองแดงอันร้อนแรง อันเต็มไปด้วยกำลังแขนของตน จนสุดหมื่นจักรวาล

               พระโพธิสัตว์ย่อมบำเพ็ญบารมีด้วยน้ำใจที่เด็ดเดี่ยวมั่นคง ไม่ว่าจะเสวยพระชาติถือกำเนิด เป็นอะไรก็ตาม ย่อมสร้างบารมีอย่างเต็มที่ ไม่ย่อหย่อน ไม่เบื่อหน่าย ไม่ส่ายพระพักตร์

               แม้จะมีใครคิดทดลองกลั่นแกล้งด้วยอุบายต่างๆ เพื่อให้ท่านเลิกสร้างบารมี ท่านก็ไม่สน แต่ยังคงสร้างบารมีต่อไปอย่างไม่หวั่นไหวในหัวใจของท่าน

เพราะว่าในขณะนั้น ตัวเองก็ยังไม่รู้หนทางที่จะออกจากทุกข์ว่า เป็นเช่นใด รู้เพียงแต่ว่า วันใดวันหนึ่ง จะต้องออกไปให้ได้

โดยมีความคิดว่า หากแม้ว่า จักรวาลอันกว้างใหญ่สุดประมาณนี้ เป็นป่าไผ่อันแน่นหนา เต็มไปด้วยเรียวหนามอันแหลมคม วัดได้ไกลถึง หนึ่งล้านสองแสนสามหมื่น สี่ร้อยห้าสิบโยชน์

ท่านก็จะเดินลุยไปด้วยเท้าเปล่า จะเหยียบย่ำบุกฝ่าขวากหนามไป
จนสุดปลายทาง

 

หากแม้ว่าจักรวาลอันกว้างใหญ่สุดประมาณนี้
มีถ่านเพลิงร้อนระอุเต็มไปหมด

ท่านก็จะเดินลุยไปด้วยเท้าเปล่า ไปจนสุดหมื่นจักรวาล

หากแม้ว่าจักรวาลอันกว้างใหญ่สุดประมาณนี้
เต็มไปด้วยภูเขาเหล็กลุกเป็นไฟโพลงอยู่
ตลอดเวลา และพื้นดินระหว่างซอกภูเขาเหล่านั้น เต็มไปด้วยน้ำทองแดงอันเดือดพลุ่งร้อน
ละลายอยู่เต็มไปทั่ว

 

ท่านก็จะกหวกว่ายน้ำทองแดง อันร้อนแรงนั้นไปด้วยกำลังแขนของตน
จนสุดหมื่นจักรวาล

พระโพธิสัตว์ย่อมบำเพ็ญบารมี ด้วยน้ำใจที่เด็ดเดี่ยว มั่นคง ไม่ว่าจักเสวยพระชาติ ถือกำเนิดเป็นอะไรก็ตาม ย่อมสร้างบารมีอย่างเต็มที่ ไม่ย่อหย่อน ไม่เบื่อหน่าย ไม่ส่ายพระพักตร์เลย

แม้จะมีใครจะมาคิดทดลองกลั่นแกล้ง ด้วยอุบายต่างๆ เพื่อให้ท่านเลิกสร้างบารมี ท่านก็ไม่สนใจยังคงสร้างบารมีต่อไป อย่างไม่หวั่นไหว

 

 

บุคคลที่จะเป็นพระโพธิสัตว์นั้น จะต้องมีอัธยาศัย ๖ ประการ คือ

 

               บุคคลที่จะเป็นพระโพธิสัตว์นั้นจะต้องมี อัธยาศัย ๖ ประการดังต่อไปนี้ คือ

๑.เนกขัมมัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจที่จะออกบวชตลอดทุกชาติ รักในเพศบรรพชิตเป็นอย่างยิ่ง

๒.วิเวกัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจอยู่ในที่เงียบสงัด วิเวกผู้เดียว ที่ใดสงบสงัดปราศจากความอึกทึกครึกโครม ย่อมพอใจในสถานที่นั้นยิ่งนัก

๓.อโลภัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจในการบริจาคทาน หากมีช่องทางใดที่จะบริจาคทานได้แล้ว จะไม่ละเว้นเลย จะทำอย่างเต็มที่เต็มกำลัง และยินดีพอใจที่จะคบหากับบุคคล ผู้ปราศจากความโลภ ไม่มีตระหนี่เป็นยิ่งนัก

 

               ๑.เนกขัมมัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจที่จะออกบวชตลอดทุกชาติ รักในเพศบรรพชิตเป็นอย่างยิ่ง

               ๒.วิเวกัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจอยู่ในที่เงียบสงัด วิเวกผู้เดียว ที่ใดสงบสงัดปราศจากความอึกทึกครึกโครม ย่อมพอใจในสถานที่นั้นยิ่งนัก

               ๓.อโลภัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจในการบริจาคทาน หากมีช่องทางใดที่จะบริจาคทานได้แล้ว จะไม่ละเว้นเลย จะทำอย่างเต็มที่เต็มกำลัง และยินดีพอใจที่จะคบหากับบุคคล ผู้ปราศจากความโลภ ไม่มีตระหนี่เป็นยิ่งนัก

๔.อโทสัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจในความไม่โกรธ พยายามหักห้ามความโกรธอยู่ตลอดมา เจริญเมตตาแก่สัตว์ทั้งปวง ด้วยความปรารถนาให้เขาพ้นจากทุกข์ภัย ในวัฏสงสารเป็นยิ่งนัก

๕.อโมหัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจในการทำลายโมหะ พยายามบำเพ็ญภาวนา เพื่อให้เกิดดวงปัญญา พิจารณาเห็นบาปบุญ คุณและโทษตามความเป็นจริง และพอใจในการคบหาคนดี มีสติปัญญายิ่งนัก

๖.นิสสรณัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจที่จะยกตนออกจากภพ ไม่ยินดีในการท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในวัฏสงสาร โดยมีจิตที่ มุ่งตรงต่อพระนิพพาน เพียงอย่างเดียว

 

               ๔.อโทสัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจในความไม่โกรธ พยายามหักห้ามความโกรธอยู่ตลอดมา เจริญเมตตาแก่สัตว์ทั้งปวงด้วยความปรารถนาให้เขาพ้นจากทุกข์ภัยในวัฏสงสารเป็นยิ่งนัก

               ๕.อโมหัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจในการทำลายโมหะ พยายามบำเพ็ญภาวนา เพื่อให้เกิดดวงปัญญา พิจารณาเห็นบาปบุญคุณและโทษตามความเป็นจริง และพอใจในการคบหาคนดี มีสติปัญญายิ่งนัก

               ๖.นิสสรณัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจที่จะยกตนออกจากภพ ไม่ยินดีในการท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร โดยมีจิตที่ มุ่งตรงต่อพระนิพพานเพียงอย่างเดียว

               อัธยาศัย ๖ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลใด บุคคลคนนั้นได้ชื่อว่าเป็น พระโพธิสัตว์ 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล