ฉบับที่ ๒๖ ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗

พุทธประวัติ การสร้างบารมีของพระพุทธเจ้า เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนา พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย)



เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนา พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย)

ในการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ ประเภท จะต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสั่งสมบ่มอินทรีย์ และเป็นบุคคลที่มีใจเพชร แข็งเเกร่ง มีความอดทนสูง ในการสร้างบารมี ซึ่งจะต้องประกอบด้วยธรรมที่เรียกว่า พุทธการกธรรม หรือบารมี ๑๐ ประการ

              ในการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ ประเภท จะต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสั่งสมบ่มอินทรีย์ และเป็นบุคคลที่มีใจเพชร แข็งเเกร่ง มีความอดทนสูง ในการสร้างบารมี ซึ่งจะต้องประกอบด้วยธรรมที่เรียกว่า พุทธการกธรรม หรือบารมี ๑๐ ประการ
พุทธการกธรรม หมายถึง ธรรมที่สามารถทำให้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คือ บารมี ๑๐ ประการ ได้แก่

              ๑. ทานบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมยินดีในการบำเพ็ญทานเนืองนิตย์ ไม่ว่าจะเสวยพระชาติ เป็นอะไรก็ตาม ย่อมมีนํ้าพระทัยที่ใคร่ในการบริจาคทาน อุปมาเหมือนกับบุคคลควํ่าโอ่งที่มีนํ้าอยู่เต็ม ให้นํ้าในโอ่งไม่เหลือแม้สักหยดหนึ่ง ฉันใด พระโพธิสัตว์ก็ยินดีในการบริจาคทาน ท่านให้ได้ทั้งหมดไม่มีเหลือ ฉันนั้น

              ๒. ศีลบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมสมาทานรักษาศีลอยู่เป็นวัตรให้บริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่เสมอ อุปมาเหมือนกับจามรียอมสละชีวิตเพื่อรักษา ขนหางของตน ฉันใด พระโพธิสัตว์ยอมสละชีวิตเพื่อรักษาศีล ฉันนั้น

พุทธการกธรรม หมายถึง ธรรมที่สามารถทำให้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คือ บารมี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทานบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมยินดีในการบำเพ็ญทานเนืองนิตย์ ไม่ว่าจะเสวยพระชาติ เป็นอะไรก็ตาม ย่อมมีนํ้าพระทัยที่ใคร่ในการบริจาคทาน
อุปมาเหมือนกับบุคคลควํ่าโอ่งที่มีนํ้าอยู่เต็ม ให้นํ้าในโอ่งไม่เหลือแม้สักหยดหนึ่ง ฉันใด พระโพธิสัตว์ก็ยินดีในการบริจาคทาน ท่านให้ได้ทั้งหมดไม่มีเหลือ ฉันนั้น
 
๒. ศีลบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมสมาทานรักษาศีลอยู่เป็นวัตร ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่เสมอ
อุปมาเหมือนกับจามรียอมสละชีวิตเพื่อรักษา ขนหางของตน ฉันใด พระโพธิสัตว์ยอมสละชีวิตเพื่อรักษาศีล ฉันนั้น
 

 

              ๓. เนกขัมมบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมพยายามแสวงหาทางออกจากกาม ออกจากชีวิตการครองเรือน เพื่อมุ่งบำเพ็ญเนกขัมมะ ประพฤติ พรหมจรรย์ตลอดมา อุปมาเหมือนนักโทษที่ติดอยู่ในเรือนจำ ปรารถนาจะออกจากที่คุมขัง ฉันใด พระโพธิสัตว์ก็ย่อมปรารถนาออกไปให้พ้นจากคุก คือ การเวียนว่ายตายเกิด ด้วยการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ฉันนั้น

              ๔. ปัญญาบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมฝึกฝนเพิ่มพูนปัญญาบารมีอยู่เสมอ โดยแสวงหาความรู้ จากคนทุกชนชั้น อุปมาเหมือนกับพระภิกษุ ผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่เลือกว่าจะเป็นตระกูล สูง ตํ่า หรือปานกลาง ฉันใด พระโพธิสัตว์ย่อมปรารถนาที่จะไต่ถามผู้รู้อยู่ตลอดกาลเนืองนิตย์ฉันนั้น

๓. เนกขัมมบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมพยายามแสวงหาทางออกจากกาม ออกจากชีวิตการครองเรือน เพื่อมุ่งบำเพ็ญเนกขัมมะ ประพฤติ พรหมจรรย์ตลอดมา
อุปมาเหมือนนักโทษที่ติดอยู่ในเรือนจำ ปรารถนาจะออกจากที่คุมขัง ฉันใด พระโพธิสัตว์ก็ย่อมปรารถนาออกไปให้พ้นจากคุก คือ การเวียนว่ายตายเกิด ด้วยการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ฉันนั้น
 
๔. ปัญญาบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมฝึกฝนเพิ่มพูนปัญญาบารมี อยู่เสมอ โดยแสวงหาความรู้ จากคนทุกชนชั้น
อุปมาเหมือนกับพระภิกษุ ผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่เลือกว่าจะเป็นตระกูล สูง ตํ่า หรือปานกลาง ฉันใด พระโพธิสัตว์ย่อมปรารถนาที่จะไต่ถามผู้รู้อยู่ตลอดกาล เนืองนิตย์ฉันนั้น
 

              ๕. วิริยบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมเพิ่มพูนความเพียรอย่างยิ่งยวด มีความกล้าหาญที่จะประกอบกุศลกรรม ทำความดีทุกอย่าง อย่างไม่ลดละ อุปมาเหมือนพญาราชสีห์ เป็นผู้มีความเพียรไม่ย่อหย่อนในอิริยาบถทั้งปวง ฉันใด พระโพธิสัตว์ย่อมเป็นผู้มีความเพียรมั่น ไม่ย่อหย่อน ในการทำความดีทั้งปวง ฉันนั้น

              ๖. ขันติบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมเพิ่มพูนความอดทนอย่างยิ่งยวด อดทนในการทำความดี ไม่กลัวต่อความลำบาก ตรากตรำจากดินฟ้าอากาศ อดทนต่อทุกขเวทนาคือความเจ็บป่วยไข้ อดทนต่อการกระทบกระทั่งสิ่งที่ไม่น่าพอใจ อดทนต่อสิ่งเย้ายวนใจ อุปมาเหมือนกับแผ่นดิน แม้บุคคลทั้งหลายจะทิ้งสิ่งของที่สกปรกลงแผ่นดิน แต่แผ่นดินไม่เคยขัดเคือง ฉันใด พระโพธิสัตว์ย่อม อดทนต่อการสรรเสริญ และนินทา ฉันนั้น

๕. วิริยบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมเพิ่มพูนความเพียรอย่างยิ่งยวด มีความกล้าหาญที่จะประกอบกุศลกรรม ทำความดีทุกอย่าง อย่างไม่ลดละ
อุปมาเหมือนพญาราชสีห์ เป็นผู้มีความเพียรไม่ย่อหย่อนในอิริยาบถทั้งปวง ฉันใด พระโพธิสัตว์ย่อมเป็นผู้มีความเพียรมั่น ไม่ย่อหย่อน ในการทำความดีทั้งปวง ฉันนั้น
 
๖. ขันติบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมเพิ่มพูนความอดทนอย่างยิ่งยวด อดทนในการทำความดี ไม่กลัวต่อความลำบาก ตรากตรำจากดินฟ้าอากาศ อดทนต่อทุกขเวทนาคือความเจ็บป่วยไข้ อดทนต่อการกระทบกระทั่งสิ่งที่ไม่น่าพอใจ อดทนต่อสิ่งเย้ายวนใจ
อุปมาเหมือนกับแผ่นดิน แม้บุคคลทั้งหลายจะทิ้งสิ่งของที่สกปรกลงแผ่นดิน แต่แผ่นดินไม่เคยขัดเคือง ฉันใด พระโพธิสัตว์ย่อม อดทนต่อการสรรเสริญ และนินทา ฉันนั้น
 

              ๗. สัจจบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมเพิ่มพูนรักษาความสัตย์จริง มีความซื่อตรง เที่ยงตรง ไม่แปรผันยักย้าย จนกว่าทุกอย่างที่ได้กล่าวมา สำเร็จสมความปรารถนา อุปมาเหมือนกับ ดาวประกายพรึก เมื่อเคยขึ้นประจำอยู่ทางทิศใด ก็ย่อมโคจรขึ้นประจำอยู่ในทิศนั้น ไม่ว่าฤดูกาลไหนๆ ก็ย่อมขึ้นเที่ยงตรงไม่เปลี่ยนแปลง ฉันใด พระโพธิสัตว์ก็จะไม่ออกไปนอกทางสัจจะที่ได้เคยตั้งไว้ ฉันนั้น

              ๘. อธิษฐานบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมมีจิตใจที่มั่นคงแน่วแน่ ไม่หวั่นไหวในการสร้างบารมี ย่อมตั้งจิตตอกยํ้าปรารถนาพุทธภูมิ ซํ้าแล้วซํ้าเล่า
อุปมาเหมือนภูเขาศิลาแท่งทึบไม่หวั่นไหวโยกคลอน ด้วยแรงลมที่พัดมาจากทิศทั้ง ๔ ฉันใด พระโพธิสัตว์ก็ย่อมตั้งจิตอธิษฐานตอกยํ้าซํ้าแล้วซํ้าเล่า จนกว่าจะถึงจุดมุ่งหมาย ฉันนั้น

 
 
๗. สัจจบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมเพิ่มพูนรักษาความสัตย์จริง มีความซื่อตรง เที่ยงตรง ไม่แปรผันยักย้าย จนกว่าทุกอย่างที่ได้กล่าวมา สำเร็จสมความปรารถนา
                 
 
อุปมาเหมือนกับ ดาวประกายพรึก เมื่อเคยขึ้นประจำอยู่ทางทิศใด ก็ย่อมโคจรขึ้นประจำอยู่ในทิศนั้น ไม่ว่าฤดูกาลไหนๆ ก็ย่อมขึ้นเที่ยงตรงไม่เปลี่ยนแปลง ฉันใด พระโพธิสัตว์ก็จะไม่ออกไปนอกทางสัจจะที่ได้เคยตั้งไว้ ฉันนั้น
 

 

 
 
๘. อธิษฐานบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมมีจิตใจที่มั่นคงแน่วแน่ ไม่หวั่นไหวในการสร้างบารมี ย่อมตั้งจิตตอกยํ้าปรารถนาพุทธภูมิ ซํ้าแล้วซํ้าเล่า
                 
 
อุปมาเหมือนภูเขาศิลาแท่งทึบไม่หวั่นไหวโยกคลอน ด้วยแรงลมที่พัดมาจากทิศทั้ง ๔ ฉันใด พระโพธิสัตว์ก็ย่อมตั้งจิตอธิษฐานตอกยํ้าซํ้าแล้วซํ้าเล่า จนกว่าจะถึงจุดมุ่งหมาย ฉันนั้น
 

 

              ๙. เมตตาบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมเพิ่มพูนสั่งสมเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย โดยไม่เลือกชนชั้น วรรณะ เพศ วัย หรือ เผ่าพันธุ์ใดๆ ด้วย คิดว่าสัตวโลกคือ หมู่ญาติ โดยปรารถนาที่จะพาข้ามวัฏสงสารไปให้หมด อุปมาเหมือนกับนํ้า ย่อมแผ่ความเย็นไปให้คนดีและคนเลวโดยเสมอกัน และสามารถชำระล้างมลทิน คือธุลีได้ ฉันใด พระโพธิสัตว์ก็ย่อมมีจิตเมตตาสมํ่าเสมอในชนที่เกื้อกูล และไม่เกื้อกูลแก่ตน ฉันนั้น

              ๑๐. อุเบกขาบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมมีใจวางเฉย ไม่ยินดียินร้ายในโลกธรรมทั้ง ๘ ประการ คือ ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา มีสุข มีทุกข์ อุปมาเหมือนแผ่นดิน ที่คนทิ้งสิ่งของที่สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง แผ่นดินย่อม ไม่แสดงอาการใดๆ มีเเต่นิ่งเฉยไม่หวั่นไหว ฉันใด พระโพธิสัตว์ก็วางใจเป็นกลาง ไม่หวั่นไหวใน โลกธรรมทั้งหลายได้ ฉันนั้น

 
 
๙. เมตตาบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมเพิ่มพูนสั่งสมเมตตาต่อสรรพสัตว์ ทั้งหลาย โดยไม่เลือกชนชั้น วรรณะ เพศ วัย หรือ เผ่าพันธุ์ใดๆ ด้วย คิดว่าสัตวโลกคือ หมู่ญาติ โดยปรารถนาที่จะพาข้ามวัฏสงสารไปให้หมด
                 
 
อุปมาเหมือนกับนํ้า ย่อมแผ่ความเย็นไปให้คนดีและคนเลวโดยเสมอกัน และสามารถชำระล้างมลทิน คือธุลีได้ ฉันใด พระโพธิสัตว์ก็ย่อมมีจิตเมตตาสมํ่าเสมอในชนที่เกื้อกูล และไม่เกื้อกูลแก่ตน ฉันนั้น
 

 

 
 
๑๐. อุเบกขาบารมี พระโพธิสัตว์ย่อมมีใจวางเฉย ไม่ยินดียินร้ายในโลกธรรมทั้ง ๘ ประการ คือ ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา มีสุข มีทุกข์
                 
 
อุปมาเหมือนแผ่นดิน ที่คนทิ้งสิ่งของที่สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง แผ่นดินย่อม ไม่แสดงอาการใดๆ มีเเต่นิ่งเฉยไม่หวั่นไหว ฉันใด พระโพธิสัตว์ก็วางใจเป็นกลาง ไม่หวั่นไหวใน โลกธรรมทั้งหลายได้ ฉันนั้น
 

 


              พระโพธิสัตว์สร้างบารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้อย่างยิ่งยวดเป็นเวลานานแสนนาน ไม่ใช่แค่ ร้อยชาติพันชาติ แต่สร้างบารมีมานับภพนับชาติไม่ถ้วน คำว่าบารมีนั้น สามารถแบ่งออกได้ ๓ ระดับ คือ

              ๑. บารมีที่ทรงบำเพ็ญเป็นปกติธรรมดา เช่น ในการบริจาคทรัพย์จะมากน้อยเพียงใด ก็ยังจัดเป็นบารมีในระดับที่ ๑ เป็นทานบารมี

              ๒. บารมีที่ทรงบำเพ็ญยิ่งขึ้นไปกว่านั้น เช่น บริจาคทรัพย์แล้ว ยังยอมบริจาคอวัยวะเลือดเนื้อ ในร่างกายจัดเป็นบารมีในระดับที่ ๒ เป็นอุปบารมี

              ๓. บารมีที่ทรงบำเพ็ญยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก เช่น บริจาคทรัพย์ บริจาคอวัยวะเลือดเนื้อในร่างกายแล้ว ยังยอมบริจาคชีวิต ซึ่งถือว่าเป็น การบริจาคอย่างใหญ่หลวงอุกฤษฏ์ จัดเป็นบารมีประเภทสูงสุดอย่างยิ่ง เรียกว่า ปรมัตถบารม

 
 
พระโพธิสัตว์สร้างบารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้ อย่างยิ่งยวดเป็นเวลานานแสนนาน ไม่ใช่แค่ ร้อยชาติพันชาติ แต่สร้างบารมีมานับภพนับชาติไม่ถ้วน
                 
 
คำว่าบารมีนั้น สามารถแบ่งออกได้ ๓ ระดับ คือ ๑. บารมีที่ทรงบำเพ็ญเป็นปกติธรรมดา เช่น ในการบริจาคทรัพย์จะมากน้อยเพียงใด ก็ยังจัดเป็นบารมีในระดับที่ ๑ เป็นทานบารมี
 

 

 
 
๒. บารมีที่ทรงบำเพ็ญยิ่งขึ้นไปกว่านั้น เช่น บริจาคทรัพย์แล้ว ยังยอมบริจาคอวัยวะเลือดเนื้อ ในร่างกายจัดเป็นบารมีในระดับที่ ๒ เป็นอุปบารมี
                 
 
๓. บารมีที่ทรงบำเพ็ญยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก เช่น บริจาคทรัพย์ บริจาคอวัยวะเลือดเนื้อในร่างกายแล้ว ยังยอมบริจาคชีวิต ซึ่งถือว่าเป็น การบริจาคอย่างใหญ่หลวงอุกฤษฏ์ จัดเป็นบารมีประเภทสูงสุดอย่างยิ่ง เรียกว่า ปรมัตถบารมี
 

 

              เราจะเห็นได้ว่า ชีวิตของพระองค์นั้น สำคัญต่อเราเป็นอย่างยิ่ง เรายิ่งได้เรียนรู้ เราจะยิ่งรักพระองค์ท่าน เพราะท่านให้แบบแผนตัวอย่างที่ดีแก่เราได้ดำเนินรอยตาม เพราะชีวิตในสังสารวัฏไม่ง่าย ถ้าไม่รู้วิธีการ แต่ถ้ารู้วิธีการแล้ว ก็ยากไม่มาก ยากพอที่สร้างบารมีกัน ดำเนินชีวิตกันไปได้ นี่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล