ธรรมะเพื่อประชาชน พร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ท่านทั้งหลายอย่ากลัวต่อบุญเลย เพราะคำว่าบุญนี้เป็นชื่อของความสุข ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร เราย่อมรู้ชัดผลแห่งบุญอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ที่เราเสวยแล้วตลอดกาลนาน

ชาดก : ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for peopleรวมนิทานอีสปพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ธรรมะเพื่อประชาชน : ตอน โทษของมุสาวาท 1


ธรรมะเพื่อประชาชน : ตอน โทษของมุสาวาท 1

Dhammaforpeople
ธรรมะเพื่อประชาชน

ตอน โทษของมุสาวาท1 คำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for people

ตอน โทษของมุสาวาท 1

 

          พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในอปายสูตร ความว่า

           อภูตวาที นิรยํ อุเปติ

           โย วาปิ กตฺวา น กโรมิจฺจาห

           อุโภปิ เต เปจฺจ สมา ภวนฺติ

           นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถ

 

ตอน โทษของมุสาวาท1 คำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for people

          ชนผู้กล่าวคำไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรกชนใดทำบาปกรรมแล้วกล่าวว่า ไม่ได้ทำ แม้คนทั้งสองนั้นย่อมเข้าถึงนรกเหมือนกัน ชนทั้งสองพวกนั้นเป็นมนุษย์ผู้มีกรรมอันเลวทราม ละไปแล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันในโลกหน้า

 

ตอน โทษของมุสาวาท1 คำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for people

          คนพูดมุสา พุทธองค์ตรัสเอาไว้ชัดเจนว่า ผู้กล่าวเท็จจนเป็นปกติ ละโลกแล้ว บาปนั้นจะทำให้ตกลงไปในนรก ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ในเปตวิสัย

 

ตอน โทษของมุสาวาท1 คำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for people

          วิบากของมุสาอย่างเบาที่สุดลงมาเกิดเป็นมนุษย์และจะถูกกล่าวว่าด้วยคำไม่จริง ชีวิตจะต้องเจอมรสุมในเรื่องโอตภัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมา หลวงพ่อได้อธิบายรายละเอียดขอบข่ายของการผิดศีลข้อ4 คือมุสาวาตอย่างละเอียดให้ฟังแล้ว มีทั้งมุสา อนุโลมมุสา และปฏิสสวะ

 

ตอน โทษของมุสาวาท1 คำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for people

          มีทั้งโทษหนัก โทษเบาแตกต่างกันออกไป ถ้อยคำบางอย่างเป็นเพียงกล่าวพลั้งเผลอ ไม่ได้มีเจตนา แต่ก็มีวิบาก ตัวอย่างของผู้สร้างวจีกรรม นำโอตภัยมาสู่ตนเอง เป็นเหตุให้เข้าถึงนรกยาวนานถึงหนึ่งพุทธันดร แม้พ้นจากมหานรกแล้ว วิบากกรรมยังส่งผลให้มาเกิดเป็นเปตร มีลักษณะตัวเป็นคนหัวเป็นหมู

 

ตอน โทษของมุสาวาท1 คำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for people

          ในสมัยพุทธกาล วันหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานเถระลงจากภูเขาคิชกูฎพร้อมกับพระลักขณเถระ ท่านได้ทำการยิ้มแย้มในสถานที่แห่งหนึ่ง เมื่อพระลักขณเถระถามว่า ท่านผู้เจริญอะไรเป็นเหตุที่ทำให้ท่านยิ้มแย้ม

          พระมหาโมคคัลลานกล่าวตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เวลานี้ยังไม่เหมาะที่จะตอบปัญหานี้ ท่านจงถามคำถามอีกครั้งเมื่อเราทั้งสองได้อยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระบรมศาสดาเถิด”

 

ตอน โทษของมุสาวาท1 คำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for people

          จากนั้นท่านก็ไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ตามปกติเหมือนที่เคยปฏิบัติ เมื่อกลับจากบิณฑบาตแล้วก็ได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ พระลักขณเถระจึงขอโอกาสถามเรื่องเดิมกับพระโมคคัลลานเถระเมื่อมานั่งอยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระบรมศาสดา ก็ได้คำตอบว่า

          “ผู้มีอายุ กระผมได้เห็นเปตรตนหนึ่ง ร่างกายของมันประมาณสามอาวุธ มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ แต่มีศีรษะเหมือนสุกร มีหางเกิดที่ปากและหมู่หนอนจำนวนมากมายได้ไหลออกจากปากของเปตรสุกร เนื่องจากผมไม่เคยเห็นสัตว์ที่มีรูปอย่างนี้มาก่อน จึงได้ทำการยิ้มแย้มให้ท่านได้เห็น”

ตอน โทษของมุสาวาท1 คำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for people

          พระบรมศาสดาตรัสชมเชยพระมหาโมคคัลลานท่ามกล่างคณะสงฆ์ที่ประชุมกันในขณะนั้นว่า “ภิกษุทั้งหลายสาวกของเรามีจักษุ แม้เราตถาคตก็ได้เห็นสัตว์นั้น ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์เหมือนกัน แต่ไมได้พูดให้ใครฟัง เพราะต้องอนุเคราะห์ชนเหล่าอื่นที่ไม่เชื่อ เพราะบุคคลใดฟังแล้วไม่เชื่อในสิ่งที่ตถาคตได้กล่าวไว้ ความไม่เชื่อนั้นจะเป็นภัยแก่บุคคลนั้นเอง บัดนี้เราได้มหาโมคคัลลานเป็นพยาน จึงกล่าวต่อหน้าพวกเธอว่าที่โมคคัลลานพูดนั้นเป็นเรื่องจริง”

 

ตอน โทษของมุสาวาท1 คำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for people

          ภิกษุสาวกฟังเรื่องนี้แล้วจึงอยากรู้เรื่องราวความเป็นมาของสุกรเปตร จึงได้ทูลถามถึงบุพกรรมของเปรตนั้นว่ามีที่มาอย่างไร เขาทำกรรมอะไรไว้ถึงได้เกิดมาเป็นเปตรสุกร พระบรมศาสดาตรัสเล่าถึงบุพกรรมของเปตรนั้นให้ฟังว่า

 

ตอน โทษของมุสาวาท1 คำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for people

          นับย้อนถอยหลังจากนี้ไปหนึ่งพุทธันดร เป็นยุคของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มนุษย์ในยุคสมัยนั้นมีอายุยืนถึงสองหมื่นปี ครั้งนั้นมีพระเถระสองรูป มีความรักใคร่ปรองดองกันฉันพี่น้อง คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความเป็นสมณะธรรมอย่างมีความสุขตามอัตภาพ ในอาวาสใกล้หมู่บ้านตำบลหนึ่ง พระเถระสองรูปนั้น รูปหนึ่งมีพรรษา60 อีกรูปหนึ่งมีพรรษา59

 

ตอน โทษของมุสาวาท1 คำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for people

          พระเถระที่มีพรรษาน้อยกว่าจะคอยถือบาตรและจีวรของพระเถระและได้ทำวัตรปฏิบัติทุกอย่างเหมือนกับท่านเป็นสามเณร ซึ่งคอยช่วยปัดกวาดเสนาสนะ ซักจีวรตักน้ำฉันท์น้ำใช้ถวายพระมหาเถระ เมื่อพระเถระทั้งสองรูปอยู่กันอย่างสมัครสมานสามัคคีดุจพี่น้องท้องเดียวกันนั้น

 

ตอน โทษของมุสาวาท1 คำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for people

          ก็มีพระธรรมกถึกรูปหนึ่งเดินทางมาขอพักในที่พักของทั้งสอง บังเอิญว่าในวันนั้น เป็นวันธรรมสวนะ พระเถระทั้งสองจึงนิมนต์พระธรรมกถึกแสดงธรรมให้ฟัง พระธรรมกถึกก็กล่าวธรรมกถา ด้วยสำนวนโวหารที่ไพเราะเสนาะโสต พระเถระทั้งสอง ครั้งได้ฟังแล้วก็มีจิตยินดี อิ่มเอิบเบิกบานใจที่ได้ฟังธรรม จึงนิมนต์ให้พระธรรมกถึกอยู่นานๆ เพื่อจะได้ฟังธรรมที่มีความสุขุมลุ่มลึก โดยที่พระเถระทั้งสองไม่ได้คาดคิดมาก่อนว่า เรื่องร้าวฉานในเพศสมณะของพวกท่านกำลังจะบังเกิดในไม่ช้า

 

ตอน โทษของมุสาวาท1 คำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for people

          พอวันรุ่งขึ้น พระเถระทั้งสองพาพระธรรมกถึกเข้าไปบิณฑบาตารในหมู่บ้าน หลังจากเสร็จก็ได้กล่าวเชื้อเชิญพระธรรมกถึกให้แสดงธรรมโปรดญาติโยม ครั้นชาวบ้านได้ฟังธรรมแล้วก็เกิดความศรัทธาเลื่อมใส ได้กล่าวนิมนต์ให้ท่านมาฉันภัตราหารในวันรุ่งขึ้น เพราะฉะนั้นในวันถัดไปพระเถระทั้งสองก็ได้พาพระธรรมกถึกออกเที่ยวบิณฑบาตรและมาแวะพักฉันภัตราหารที่บ้านของชาวบ้านที่ได้นิมนต์เอาไว้

 

ตอน โทษของมุสาวาท1 คำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for people

          ครั้นเหตุการณ์ดำเนินไปอย่างนี้ พระภิกษุผู้เป็นอาคันตุกะก็มีจิตคิดเป็นอกุศลว่า วัดนี้บรรยากาศสงบ ร่มรื่น น่าอยู่ ข้าวปลาอาหารก็ไม่ขาดตกบกพร่อง เราสมควรจะอยู่ที่แห่งนี้ แต่ถ้าหากพระสองรูปนี้อยู่ด้วย ก็จะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการแสวงหาลาภสักการะของเรา

 

ตอน โทษของมุสาวาท1 คำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for people

          เพราะพระเถระทั้งสองรูปนี้มีความมักน้อยสันโดษเกินไป และมีความเคารพยำเกรงต่อกันดุจพี่น้อง เราควรจะหาทางกำจัดพวกท่านออกไปจากวัดแห่งนี้ให้ได้ เพื่อความอยู่เป็นสุขของตัวเราเอง เมื่อคิดกลอุบายได้แล้ว พอตกเย็น พระธรรมกถึกได้ไปเทศให้พระเถระทั้งสองรูปฟังตามปกติ

 

ตอน โทษของมุสาวาท1 คำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for people

          ครั้นพระอนุเถระขออนุญาตกลับไปพักที่กุฏิก่อน พระธรรมกถึกจึงได้โอกาสสนทนากับพระมหาเถระสองต่อสองว่า ท่านผู้เจริญ เรามีเรื่องบางอย่างอยากจะเล่าให้ท่านฟังแต่เกรงว่าหากพูดไป ท่านอาจจะรับไม่ได้ก็จะกลายเป็นบาปของเราเสียเปล่า

          เมื่อพระมหาเถระคะยั้นคะยอถามว่ามีเรื่องอะไรจะให้ช่วยก็บอกมาเถิด พระธรรมกถึกทำเป็นนั่งตรึกตรองก่อนจะบอกว่าเรื่องที่จะพูดนั้นสำคัญมาก ถ้าพูดไปแล้วท่านอาจไม่สบายใจ ว่าแล้วก็ขอตัวกลับที่พัก โดยทิ้งประเด็นเรื่องสำคัญที่ไม่กล้าพูดเอาไว้ ทำให้พระมหาเถระแม้อยากจะปล่อยวาง แต่ก็อดไม่ได้ที่จะนำกลับไปคิดที่กุฏิ

 

ตอน โทษของมุสาวาท1 คำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for people

          วันต่อมา พระธรรมกถึกได้เข้าไปหาพระอนุเถระ ได้พูดจาเหมือนที่พูดค้างไว้กับพระมหาเถระ ทำอย่างนี้สามวันติดต่อกัน จนพระเถระทั้งสองรูปเริ่มระแวงและอยากจะรู้เรื่องที่พระธรรมกถึกปกปิดเอาไว้

 

อ่านตอนต่อไป โทษของมุสาวาท 2

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล