ธรรมะเพื่อประชาชน พร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ท่านทั้งหลายอย่ากลัวต่อบุญเลย เพราะคำว่าบุญนี้เป็นชื่อของความสุข ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร เราย่อมรู้ชัดผลแห่งบุญอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ที่เราเสวยแล้วตลอดกาลนาน

ชาดก : ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for peopleรวมนิทานอีสปพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ธรรมะเพื่อประชาชน : คุณวุฒิไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัย


ธรรมะเพื่อประชาชน : คุณวุฒิไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัย

Dhammaforpeople
ธรรมะเพื่อประชาชน

 

DhammPP_01.jpg
คุณวุฒิไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัย

                วัยของมนุษย์เป็นสัญลักษณ์ที่ให้เข้าใจถึงความไม่เที่ยงของสังขาร ซึ่งมีความแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา แต่เรื่องคุณธรรมหรือความสามารถไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัย เราอาจจะเคยเห็นเด็กหลาย ๆ คนที่มีลักษณะของผู้ใหญ่ แต่ผู้ใหญ่บางคนก็ทำตัวเหมือนเด็ก การวัดความเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในทางพุทธศาสนานั้น

 

 

DhammPP_02.jpg

                นอกจากดูที่รูปร่างหน้าตาและวัยวุฒิแล้ว ยังต้องดูคุณวุฒิคือการได้บรรลุมรรคผลขั้นต่าง ๆ อีกด้วย ถ้าบรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าแม้อายุยังน้อย ก็ควรต่อการเคารพนับถือ เพราะถือว่าท่านเอาตัวรอดได้แล้ว คือรอดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ ดังนั้นการฝึกใจให้หยุดให้นิ่งน้อมนำใจกลับเข้าสู่สภาวะ ที่สะอาดสงบสว่างและบริสุทธิ์ภายใน ด้วยการเจริญสมาธิภาวนา จึงเป็นเส้นทางสู่ความเป็นผู้ใหญ่ที่แท้จริง 

 

 

 

DhammPP_03.jpg


                มีธรรมะภาษิตที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ซึ่งปรากฏในธรรมบทว่า ใจของขีณาสพผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ผู้เข้าไปสงบวิเศษแล้ว ผู้คงที่เป็นใจที่สงบ วาจาของท่านก็เป็นวาจาที่สงบ หรือการกระทำทางกายของท่าน ก็เป็นกายที่สงบเหมือนกัน เป้าหมายสูงสุดของการเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนานั้นก็คือ การได้ปฏิบัติธรรมจนสิ้นอาสวะกิเลส ได้เป็นพระอรหันต์

 

 

DhammPP_04.jpg

                เมื่อได้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพแล้ว ความคิดคำพูดและการกระทำ จะสงบเสงี่ยมสง่างามตลอดเวลา อานุภาพของความสงบเสงี่ยมสง่างาม ของพระอรหันต์ จะส่งผลให้ผู้ได้พบเห็น ก็พลอยสงบใจตามไปด้วย การเป็นผู้สงบอย่างนี้ ถือว่าสงบอย่างแท้จริง เพราะสงบจากกิเลส ได้พบพระรัตนตรัยภายใน และยังเป็นต้นแบบทำให้ผู้อื่นได้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต อยู่ในวัฏสงสารอีกด้วย

 

 

DhammPP_05.jpg

                ในพุทธกาลมีพระเถระรูปหนึ่งชื่อว่าพระติสสะ จำพรรษาอยู่ที่เมืองโกสัมพี พระเถระท่านนี้เป็นพระที่รักสงบรักในการปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะช่วงเข้าพรรษาของแต่ละปี ท่านจะตั้งใจปฏิบัติธรรมน่ะเป็นพิเศษ ทำให้เป็นที่เคารพเลื่อมใสของผู้ได้พบเห็น นอกจากท่านจะรักในการทำความเพียรอย่างสม่ำเสมอแล้ว ท่านยังเป็นพระที่ไม่สะสมอัฐบริขาร มีความมักน้อยสันโดษ ใครได้สนทนาธรรมด้วย ก็ยิ่งก่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก ด้วยความรักในการปฏิบัติธรรมของท่าน ทำให้มีญาติโยมมาถวายภัตตาหารและเครื่องใช้มากมาย แต่ท่านก็ไม่ได้ใส่ใจในลาภสักการะเหล่านั้น 

 

 

DhammPP_06.jpg


                อุบาสกอยากได้บุญใหญ่จากท่าน สังเกตเห็นว่าพระเถระขาดสามเณรคอยอุปัฏฐาก จึงปรารภว่าจะให้ลุกชายบวชเป็นลูกศิษย์ พระเถระเองก็เห็นดีเห็นงาม เพราะเห็นแววลูกชายอุบาสก เป็นเด็กที่รักในความสงบวิเวก และรักในการฝึกฝนอบรมตนเอง อุบาสกปรารภเรื่องนี้ให้ลูกชายฟัง โดยเล่าความเป็นผู้มีบุญของผู้บวช และอยากให้ลูกบวชแทนพ่อด้วย เพราะพ่อบวชไม่ได้ยังมีภาระหลายอย่าง และเมื่อลูกบวชแล้ว จะได้อุปัฏฐากพระอาจารย์ เมื่อลูกชายได้ฟังแล้วก็ดีอกดีใจ เพราะใจจริงก็อยากบวชอยู่แล้ว พอเตรียมผ้าไตรจีวรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อุบาสกก็ชักชวนญาติพี่น้องมารวมกันที่วัด เพื่ออนุโมทนาบุญกับการบวชของลูกชาย 

 

 

 

DhammPP_07.jpg


                พระเถระได้สอนวิธีการนำสมาธิภาวนาแก่ลูกชายอุบาสก เมื่อให้โอวาทเสร็จก็ปลงผมให้ ขณะปลงผมใกล้จะเสร็จ นาคน้อยอายุเพียง ๗ ขวบก็ได้บรรลุธรรม ธรรมกายอรหัตเป็นพระอรหันต์ ในขณะปลงผมปอยสุดท้ายนั่นเอง เมื่อบวชแล้วสามเณรก็ทำหน้าที่อุปัฏฐากพระเถระ โดยที่พระเถระเองก็ไม่รู้ว่าผู้ที่อุปัฏฐากนั้นเป็นถึงสามเณรอรหันต์

 

 

DhammPP_08.jpg

                ครั้นผ่านไปประมาณ ๑๕ วันหลังจากสามเณรบวช พระเถระอยากจะเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา จึงพาสามเณรออกเดินทางไปวัดพระเชตวัน ระหว่างทางได้แวะพักที่วัดแห่งหนึ่ง การเข้าพักครั้งนี้สามเณรเตรียมที่พักให้ตัวเองไม่ทัน เพราะวันนั้นน่ะมาถึงยามภพค่ำ เพียงแค่ปัดกวาดเตรียมที่พักให้พระเถระก็แทบจะไม่ทันอยู่แล้ว พระเถระก็เลยให้สามเณรจำวัดในห้องเดียวกันกับท่าน สามเณรรู้ว่าระหว่างที่เดินทางมา ได้จำวัดอยู่ในห้องเดียวกันกับพระเถระครบ ๓ คืนแล้ว ถ้ายังจำวัดอยู่ในห้องเดียวกันอีกพระเถระจะต้องอาบัติอย่างแน่นอน คืนนั้นสามเณรก็เลยนั่งสมาธิคู้บัลลังก์ทั้งคืน 

 

 

DhammPP_09.jpg


                ครั้นจวนสว่างพระเถระเองก็ระลึกได้ว่า ได้จำวัดอยู่ในห้องเดียวกันกับสามเณรครบ ๓ คืนแล้วนี่เป็นคืนที่ ๔ ท่านจึงเอาพัดที่วางอยู่ข้างตัว เคาะเสื่อของสามเณรเพื่อให้สามเณรออกไปนอกห้อง แต่เนื่องจากไม่ได้พิจารณาให้ดี จึงทำให้ปลายพัดแทงโดนตาข้างหนึ่งของสามเณรแตก แม้สามเณรจะโดนพัดแทง จนตาแตกเลือดไหลก็ไม่ได้ร้องโวยวาย รู้ว่าพระเถระให้ออกไปนอกห้อง จึงเอามือปิดตาเดินออกนอกห้องไป ท่านทำเหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น 

 

 

 

DhammPP_10.jpg


                พอฟ้าสางสามเณรได้ทำกิจวัตรที่ได้ทำเป็นปกติทุกวัน คือได้ปัดกวาดเสนาสนะ ตักน้ำดื่มน้ำใช้เตรียมไว้ให้พระเถระ อย่างไม่ขาดตกบกพร่องเลย ขณะที่ทำไปมือข้างหนึ่งก็ปิดตาไปด้วย พอถึงเวลาถวายไม้ชำระฟัน ก็ถวายด้วยมือข้างเดียว พระเถระเห็นเช่นนั้นแล้วจึงถามว่า สามเณรเป็นอะไรหรือ 

 

 

 

DhammPP_11.jpg


                เมื่อสามเณรเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง พระเถระก็ตกใจรีบพนมมือนั่งกระโหย่ง พร้อมกับพูดว่าท่านสัตบุรุษขอท่านยังยกโทษให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด ขอท่านเป็นที่พึ่งให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด

 

 

 

DhammPP_12.jpg

                แทนที่สามเณรจะตำหนิ กลับพูดปลอบขวัญพระเถระว่าท่านผู้เจริญนี่ไม่ใช่โทษของท่าน ไม่ใช่โทษของผม แต่นี่เป็นโทษของวัฏฏะ ท่านอย่าได้ใส่ใจเลย เมื่อพระเถระได้ฟังเช่นนั้นยิ่งลำบากใจหนักเข้าไปอีก จึงช่วยสามเณรถืออัฐบริขาร เร่งเดินทางไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา 

 

 

 

DhammPP_13.jpg


                เมื่อไปถึงก็ได้กราบทูลให้พระพุทธองค์ทราบเรื่องราวทั้งหมด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุปกติของพระขีณาสพจะไม่โกรธเคืองหรือขัดเคืองต่อใคร ๆ เพราะท่านเหล่านั้นมีอินทรีย์ธรรมและมีใจสงบแล้ว พระเถระเดิมทีที่กระวนกระวายเพราะกลัวจะได้บาป ก็กลับได้ความสบายใจกลับคืนมา ขณะฟังธรรมท่านก็ค่อย ๆ ทำใจหยุดใจนิ่ง ตรองตามพุทธวจน ที่พระพุทธองค์กำลังแสดง ครั้นจบพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ 

 

 

 

DhammPP_14.jpg


                วิบากกรรมที่ทำให้ท่านเผลอทำให้สามเณรตาบอดก็เป็นอโหสิกรรมไป เพราะกรรมที่ไม่มีเจตนาตามไม่ทัน เนื่องจากบุญที่เกิดจากการบรรลุพระอรหัตผล ได้ตัดกระแสวิบากกรรมเสียก่อน เห็นไหมจ๊ะ ว่าความสงบเสงี่ยมของสามเณรอรหันต์ได้เป็นกำลังใจ ทำให้พระเถระซึ่งเป็นพระอาจารย์ได้เข้าถึงธรรมตามไปด้วย สามเณรแม้จะมีอายุเพียง ๗ ขวบแต่ด้วยวุฒิภาวะที่สูงที่สุดในวัฏสงสาร ทำให้สามเณรเตือนตัวเองได้ แม้ในยามที่ลูกในตาถูกพัดแทงเอาจนตาบอดไปข้างหนึ่ง ก็ไม่แสดงอาการกระสับกระส่ายแต่อย่างใด วัยของชีวิตอาจเป็นเครื่องวัดคุณธรรมและความสามารถได้ แต่ก็ไม่ใช่สำหรับทุกคน สำหรับพุทธบุตรผู้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ เป็นพระอรหันต์ขีณาสพแล้ว วัยไม่สำคัญเท่าสภาวธรรมภายใน เพราะคุณธรรมและคุณวิเศษภายใน จะเป็นเครื่องวัดความเป็นสมณะที่สมบูรณ์ 

 

 

 

DhammPP_15.jpg


                ชีวิตของเราก็เหมือนกัน จะให้วัยมาเป็นอุปสรรคให้เราต้องประมาทในการทำความดี สร้างบุญบารมีอย่าไปคิดว่าเรากำลังอยู่ในวัยเรียนวัยเล่น แล้วก็ไม่ยอมสร้างบารมี หรือคิดว่ายังไม่ถึงวัยชรายังไม่ต้องเข้าวัดก็ได้ ให้รีบสร้างฐานะก่อน แต่ว่าพยามัจจุราชที่จะพิฆาตชีวิตเราให้หมดโอกาส ในการสร้างความดีนั้นน่ะ หาได้เลือกวัยไม่ ผู้ฉลาดเห็นภัยในวัฏสงสาร จึงไม่ควรประมาท แม้ในวัยใดวัยหนึ่ง จะต้องหมั่นทำความดี เพื่อแข่งกับวันเวลาที่มันผ่านไปอย่างรวดเร็ว 

 

 

 

DhammPP_16.jpg


                ดังเช่นชีวิตของสามเณรที่ได้บรรลุธรรมตั้งแต่เยาว์วัย ก็เพราะท่านไม่ประมาทในชีวิต แล้วก็ได้สร้างบารมีมันนับภพนับชาติไม่ถ้วน จึงมองเห็นว่าเพศภาวะที่ดีที่สุดคือเพศนักบวช ท่านจึงบวชเพื่อชีวิตที่สมบูรณ์แบบ ฉะนั้นน่ะเมื่อบุญส่งผลอินทรียธรรมของท่านแก่รอบ วัยในการบรรลุธรรมก็หาได้เป็นเงื่อนไขของชีวิตไม่ เพราะการบรรลุธรรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัย แต่อยู่ที่ใจหยุดเส้นทางสู่สวรรค์และปรินิพพาน ไม่จำกัดด้วยวัยสำหรับผู้เดินทาง ดังนั้นน่ะไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ให้หมั่นทำทาน รักษาศีลและเจริญสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอจะได้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในกันนะจ๊ะ

 

 

 
 
 
 
 
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล