มงคลหมู่ที่ 1 ฝึกตนเองให้เป็นคนดี

วันที่ 21 พค. พ.ศ.2557

มงคลหมู่ที่ 1 ฝึกตนเองให้เป็นคนดี  2.1 มงคลหมู่ที่ 1 ฝึกตนเองให้เป็นคนดี มงคลที่ 1 ไม่คบคนพาล มงคลที่ 2 คบบัณฑิต มงคลที่ 3 บูชาบุคคลที่ควรบูชา

มงคลหมู่ที่ 1 ฝึกตนเองให้เป็นคนดี

 

มงคลหมู่ที่ 1 ฝึกตนเองให้เป็นคนดี

        มงคลที่ 1 ไม่คบคนพาล

        มงคลที่ 2 คบบัณฑิต

        มงคลที่ 3 บูชาบุคคลที่ควรบูชา


        สูตรสำเร็จในการพัฒนาตนเองหมู่แรก เปรียบประดุจบันไดขั้นแรกที่จะก้าวนำพาชีวิตไปสู่ความสำเร็จ ความเจริญก้าวหน้า ทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นเส้นทางหลีกเลี่ยงเหตุแห่งความเสื่อมทั้งหลายและเป็นเครื่องทำลายอุปสรรคของชีวิต ตลอดจนความชั่ว บาปกรรมต่างๆ เป็นก้าวที่สำคัญ เพราะถ้าไม่สามารถปฏิบัติตามแล้ว จะไม่สามารถปฏิบัติตามมงคลระดับสูงที่อยู่ภายหลังได้

การที่เราจะพันาตนเองให้มีความเจริญก้าวหน้าจำเป็นต้องฝึกตนเองให้เป็นคนดี เพราะการพันาตนเองมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นคนดีที่โลกต้องการ การเริ่มต้นพันาจิตใจด้วยการสร้างความคิดเห็นที่ถูกต้อง ด้วยการปลูกฝังวินิจฉัยที่ดีให้กับใจ ให้สามารถแยกแยะได้ว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิดอะไรควร อะไรไม่ควร แล้วเลือกที่จะคิด พูด และกระทำแต่สิ่งที่ดี เพราะจากวินิจฉัยของคนเรานี้จะแสดงออกให้เห็นทางวาจา และการกระทำ การย้ำคิดย้ำทำบ่อยๆ จะก่อให้เกิดนิสัยประจำตัว ซึ่งนิสัยของคนเรา
ที่เป็นต้นแหล่งของวินิจฉัยได้มาจากสิ่งแวดล้อม คนรอบตัว เราคบกับคนอย่างไร บูชายกย่องใคร เราก็จะค่อยๆ มีนิสัยไปตามเขา เพราะฉะนั้นผู้ที่ต้องการฝึกตนเองให้เป็นคนดีจึงต้องปฏิบัติตามมงคล ดังนี้

        1. ไม่คบคนพาล คือการไม่ยอมมีพฤติกรรมสัมพันธ์ใดๆ กับคนพาล เป็นการป้องกันไม่ให้นิสัยไม่ดีความเห็นผิดๆ ทั้งหลายจากคนพาลมาติดต่อเราเข้า ป้องกันไม่ให้ถูกคนพาลกลั่นแกล้งทำร้ายเอา และมีหลักปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันที่ห่างไกลจากคนพาล

        2. คบบัณฑิต คือการเข้าไปมีพฤติกรรมใดๆ ร่วมกับบัณฑิต เพื่อถ่ายทอดเอานิสัยดีๆ ความเห็นที่ถูกต้องดีงาม เพิ่มพูนคุณธรรมต่างๆ มาสู่ตัวเรา และทำให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยปัญญา

        ​3. บูชาบุคคลที่ควรบูชา คือการแสดงออกถึงความเคารพ และตระหนักในคุณธรรมผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่า เพื่อประคับประคองนิสัยที่ดีสร้างความคิดเห็นที่ถูกต้องในตัวให้เจริญงอกงามขึ้นบุคคลที่ควรบูชาจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้เราดู และปฏิบัติตาม เป็นหลักใจของเรา ทำให้เกิดสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ เป็นผู้ไม่ประมาทสามารถฝึกตนให้เป็นคนดีได้

มงคลที่ 1 ไม่คบคนพาล

 

มงคลที่ 1 ไม่คบคนพาล


คนพาลคือใคร ?

        คนพาล คือคนที่มีใจขุ่นมัวเป็นปกติ เป็นผลให้มีความเห็นผิด ยึดถือค่านิยมผิดๆ และมีวินิจฉัยเสียคือไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควร อะไรไม่ควร เช่น บัณฑิตเห็นว่า เหล้า เป็นของไม่ดี ทำให้ขาดสตินำความเสื่อมมาให้นานัปการ แต่คนพาลกลับเห็นว่า เหล้าเป็นของประเสริฐ เป็นเครื่องกระชับมิตร หรือบัณฑิตเห็นว่า การเล่นไพ่ เป็นอบายมุข เป็นปากทาง หรือเป็นสัญลักษณ์แห่งความฉิบหาย แต่คนพาลกลับเห็นว่า การเล่นไพ่เป็นสิ่งดี เป็นการฝึกสมองซ้อมวิชาคำนวณ ดังนี้เป็นต้น

        คนพาลเป็นคนเหมือนกับเรา คือมีร่างกายประกอบด้วยเลือดเนื้อ เช่นเดียวกับเรา และอาจมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเราก็ได้ เช่น เป็นญาติพี่น้องสามีภรรยา ครูอาจารย์ ฯลฯ อาจเป็นผู้มีการศึกษาสูงอาจมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง อาจมี มัครพรรคพวกมาก ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไร มีความสัมพันธ์กับเราหรือไม่ ขึ้นชื่อว่าพาลแล้ว ถึงแม้จะมีความรู้มีความสามารถ ก็ไม่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ถูกที่ควร เพราะเขาแสลงต่อความดี เหมือนคนไข้แสลงต่อน้ำเย็น

ลักษณะของคนพาล
        เนื่องจากคนพาลมีใจขุ่นมัวอยู่เสมอ ทำให้ไม่สามารถควบคุมใจให้คิดไปในทางที่ถูกต้องได้ คนพาลจึงมีลักษณะวิปริตผิดจากคนทั้งหลาย 3 ประการ คือ
        1. ชอบคิดชั่วเป็นปกติ ได้แก่ คิดละโมบอยากได้ในทางทุจริต คิดพยาบาทปองร้าย คิดเห็นผิดเป็นชอบ ฯลฯ
        2. ชอบพูดชั่วเป็นปกติ ได้แก่ พูดปด พูดคำหยาบ พูดส่อเสียดยุยง พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ
        3. ชอบทำชั่วเป็นปกติ ได้แก่ เกะกะเกเร ชอบล้างผลาญชีวิตคน และสัตว์ ลักทรัพย์ ฉุดคร่าอนาจาร ฯลฯ

โทษของความเป็นคนพาล
        1. มีความเห็นผิด ก่อทุกข์ให้ตนเอง
        2. เสียชื่อเสียง ถูกติฉินนินทา
        3. ไม่มีคนนับถือ ถูกเกลียดชัง
        4. หมดสิริมงคล หมดสง่าราศี
        5. ความชั่วเภทภัยทั้งหลาย จะไหลเข้ามาหาตัว
        6. ทำลายประโยชน์ของตนเอง ทั้งโลกนี้และโลกหน้า
        7. ทำลายวงศ์ตระกูลของตนเอง
        8. เมื่อละโลกไปแล้วมีอบายภูมิเป็นที่ไป
ฯลฯ

วิธีสังเกตคนพาล
        คนพาลมักกระทำในสิ่งต่อไปนี้ คือ

        1. คนพาลชอบชักนำในทางที่ผิด
         -ชัก คือชักชวน เชิญชวน ชี้ชวน หรือเสนอแนะ
        - นำ คือการทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง
        เช่น ชักชวนหนีโรงเรียน ชักชวนไปลักขโมย ชักชวนให้กินยาม้า เสพยาเสพย์ติด ชักนำไปเป็นอันธพาล ฯลฯ การชักนำนี้อาจทำด้วยความหวังดีก็ได้ แต่ว่ามันผิด เช่น ได้เงินมาก็ชักชวนเพื่อนไปเลี้ยงเหล้า เที่ยวกลางคืน อย่างนี้ก็จัดว่าเป็นพาล

        ผู้ที่ยังเยาว์วัย อ่อนความคิด อ่อนสติ มักถูกชักนำได้โดยง่าย ฉะนั้นผู้ใหญ่ในบ้านจึงควรระมัดระวังการกระทำและคำพูด ทั้งของตนเองและผู้ที่มาติดต่อคบหา เพราะเด็กมักจะจำและทำตามอย่างด้วยความไม่รู้ หรือเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งที่ดีควรกระทำ

        2. คนพาลชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ เกะกะเกเร หน้าที่การงานของตนไม่พยายามจัดการให้เรียบร้อย แต่ชอบไปก้าวก่ายหน้าที่การงานของผู้อื่น เช่น จับผิดผู้ร่วมงาน เขียนบัตร นเท่ห์ กลั่นแกล้งรังแก ทำความรบกวน ให้เดือนร้อน ฯลฯ

        3. คนพาลชอบแต่สิ่งผิดๆ ชอบถือเอาสิ่งที่ชั่วว่าเป็นสิ่งที่ดี เช่น ชอบเล่นไพ่ ชอบสูบบุหรี่ชอบหนีโรงเรียน ชอบเถียงพ่อแม่ ฯลฯ เห็นคนทำถูกเป็นคนโง่ เห็นคนกลัวผิดเป็นคนขี้ขลาด ฯลฯ

        4. คนพาลแม้พูดดีๆ ก็โกรธ เช่น เตือนให้ดูหนังสือตอนใกล้ อบก็โกรธ เตือนให้ตื่นเช้าก็โกรธแค่มองหน้าบางครั้งก็ยังโกรธ ฯลฯ

        5. คนพาลไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัย เช่น ไม่ชอบข้ามถนนตรงทางม้าลาย ทิ้งขยะบนพื้นถนนไปโรงเรียนสาย ไปทำงานสาย ฯลฯ

พฤติกรรมที่เรียกว่า คบ คืออย่างไร 
        คบ หมายถึง พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ
        - ร่วม เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน ร่วมก่อการ ร่วมหุ้น ร่วมลงทุน
        - รับ เช่น รับเป็นเพื่อน รับเป็นภรรยาหรือสามี รับไว้ทำงาน
        - ให้ เช่น ให้ความไว้วางใจ ให้คำชมเชย ให้ยศ ให้ตำแหน่ง ให้หยิบยืมสิ่งของ

        การไม่คบคนพาล คือการไม่ยอมมีพฤติกรรมสัมพันธ์ใดๆ ดังกล่าว ข้างต้นกับคนพาล ถ้าเรายังคบคนพาลอยู่ ไม่ว่าจะในระดับไหนก็ตาม รีบถอนตัวเสียโดยด่วน อย่าประมาท รีบตัดไฟเสียแต่ต้นลมมิฉะนั้นจะพลาด ติดเชื้อพาลโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นพาลตามไปด้วย
โบราณท่านให้คติเตือนไว้ว่า

 

"ห่างสุนัขให้ห่างศอก 
ห่างวอกให้ห่างวา 
ห่างพาลาให้ห่างหมื่นโยชน์แสนโยชน์"


โทษของการคบคนพาล
        1. ย่อมถูกชักนำไปในทางที่ผิด
        2. ย่อมเกิดความหายนะ การงานล้มเหลว
        3. ย่อมถูกมองในแง่ร้าย ไม่ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป
        4. ย่อมอึดอัดใจ เพราะคนพาลแม้เราพูดดี ๆ ด้วยก็โกรธ
        5. หมู่คณะย่อมแตกความสามัคคี เพราะการยุยง และไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัย
        6. ภัยอันตรายต่างๆ ย่อมไหลเข้ามาหาตัว
        7. เมื่อละโลกแล้ว ย่อมมีอบายภูมิเป็นที่ไปฯลฯ

ประเภทของคนพาล
        คนพาลมี 2 ประเภท ได้แก่
        1. พาลภายนอก คือคนพาลทั่วไป ซึ่งแม้จะร้ายกาจเพียงใด เราก็ยังมีทางหลีกเลี่ยงได้ แต่มีพาลอีกประเภทหนึ่งที่ร้ายยิ่งกว่า เพราะมักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวและไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ คือพาลภายใน
        2. พาลภายใน คือตัวเราเองขณะที่คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว เช่น หนีงาน บ้าง เที่ยวเกเร ไปยุ่งธุระคนอื่นโดยใช่เหตุบ้าง ชอบไปทำงานสายบ้าง คนอื่นเตือนดีๆ ก็โกรธบ้าง หลีกเลี่ยงวินัยบ้าง พูดไม่ไพเราะบ้าง ครั้งใดที่เราทำเช่นนี้ ครั้งนั้นเราเองนั่นแหละคือตัวพาล มีเชื้อสายพาลอยู่ภายใน ต้องรีบแก้ไข

หลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
        1. หมั่นห้ามใจตนเองจากความชั่วแม้เพียงเล็กน้อย ก่อนที่มันจะลุกลามต่อไป เช่น การนอนตื่นสายการละเลยต่อการสวดมนต์ทำสมาธิก่อนนอน
        2. อย่าตามนึกถึงความชั่ว ความผิดพลาดในอดีต ทั้งของตนเองและผู้อื่น ผ่านไปแล้วก็ให้แล้วกันไป ตั้งใจทำความดีใหม่ให้เต็มที่
        3. ตั้งใจให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนาอย่าง ม่ำเสมอ
        4. หลีกเลี่ยงการอ่าน การฟัง การพูด เรื่องเกี่ยวกับคนพาล จะได้ไม่สะสมความคิดเกี่ยวกับพาลไว้ในใจ พยายามสะสมแต่ความคิดที่ดีงามโดย การอ่าน การฟัง การพูด แต่สิ่งที่ดีงาม เช่น อ่านหนังสือธรรมะ ฟังเทศน์ นทนาธรรม พูดถึงคนที่ทำคุณความดี ฯลฯ
        5. ถ้าจำเป็นต้องอยู่ใกล้คนพาลอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ เช่น ทำงานในที่เดียวกัน เป็นญาติพี่น้องกัน ในกรณีเช่นนี้เราต้องระลึกอยู่เสมอว่า เรากำลังอยู่ใกล้สิ่งที่เป็นอันตราย เหมือนอยู่ใกล้คนเป็นโรคติดต่อต้องระวังตัว คือระวังความเป็นพาลของเขาจะมาติดเราเข้า ต้องหมั่นทำทาน รักษาศีล ทำสมาธิเพื่อให้ใจผ่องใสอยู่เสมอ

        เราต้องระลึกเสมอว่า หน้าที่อันยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดในชีวิต ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า การปราบพาลภายในตัวเราเอง

อานิสงส์การไม่คบคนพาล
        1. ทำให้ไม่ถูกชักจูงไปในทางที่ผิด
        2. ทำให้สามารถรักษาความดีเดิมไว้ได้
        3. ทำให้สามารถสร้างความดีใหม่เพิ่มขึ้นได้อีก
        4. ทำให้ไม่ถูกคนพาลทำร้าย
        5. ทำให้ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกใส่ความ
        6. ทำให้ไม่ถูกมองในแง่ร้าย ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป
        7. ทำให้มีความเจริญก้าวหน้าสามารถตั้งตัวได้เร็ว
        8. ทำให้มีความสุขทั้งตนเอง ครอบครัว และประเทศชาติ
        9. เป็นการตัดกำลังไม่ให้เชื้อพาลระบาดไป เพราะขาดคนสนับสนุน
                        ฯลฯ

"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ให้ผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ. ธ. 25/15/24

 

มงคลที่ 2 คบบัณฑิต

มงคลที่ 2 คบบัณฑิต


        คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล
        ผ้าที่ห่อหุ้มของหอม
        ย่อมต้องพลอยหอมตลบอบอวลตามไปด้วย ฉันใด
        ผู้ที่คบบัณฑิต
        ก็ย่อมพลอยได้รับความรู้ ความสามารถ
        และความดีตามบัณฑิตไปด้วย ฉันนั้น


บัณฑิตคือใคร
        บัณฑิต คือคนที่มีใจผ่องใสอยู่เป็นปกติ ทำให้มีความเห็นถูก ยึดถือค่านิยมที่ถูกต้องสามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยปัญญา
        - เป็นผู้รู้ดี คือรู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว
        - เป็นผู้รู้ถูก คือรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด
        - เป็นผู้รู้ชอบ คือรู้ว่าอะไรบุญอะไรบาป

        บัณฑิต อาจเป็นใครก็ได้ เช่น อาจเป็นผู้อ่านหนังสือไม่ออก เป็นชาวไร่ชาวนา เป็นผู้มีการศึกษาสูงเป็นญาติของเรา ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม จะต้องเป็นผู้มีจิตใจผ่องใสและดำเนินชีวิตอยู่ด้วยปัญญาคือเป็นคนดีนั่นเอง

        คนทั่วไปมักเข้าใจว่า ผู้ที่เรียนหนังสือจนได้รับปริญญานั้น คือบัณฑิต ความจริงแล้วนั่นเป็นเพียงบัณฑิตทางโลกเท่านั้น ยังไม่ใช่บัณฑิตที่แท้จริง เพราะผู้ที่ได้รับปริญญาแล้ว ถ้าความประพฤติไม่ดี อาจพลาดพลั้ง ไปทำผิดติดคุกติดตะรางได้ แต่บัณฑิตที่แท้จริงย่อมเป็นผู้ตั้งใจละชั่ว ประพฤติชอบ ประกอบแต่ความดี ความถูกต้อง ความสุจริตสามารถป้องกันตนให้พ้นจากคุกจากตะราง และแม้กระทั่งพ้นจากนรกได้บัณฑิตจึงมิใช่ผู้มีเพียงปริญญา แต่คือผู้อุดมด้วยศีลสมาธิ ปัญญา


ลักษณะของบัณฑิต
        เนื่องจากบัณฑิตเป็นผู้มีจิตใจผ่องใสมีความเห็นถูก ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ฉลาดในการคิดหาเหตุผล จึงมีลักษณะพิเศษสูงกว่าคนทั้งหลาย 3 ประการ คือ
        1. ชอบคิดดีเป็นปกติ ได้แก่ คิดให้ทาน คิดให้อภัยอยู่เสมอ ไม่ผูกพยาบาท คิดเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น เห็นว่าบุญบาปมีจริง พ่อแม่มีพระคุณต่อเราจริง เป็นต้น
        2. ชอบพูดดีเป็นปกติ ได้แก่ พูดคำจริง พูดคำสมานไมตรี พูดคำ มีประโยชน์ พูดด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตา และพูดถูกต้องตามกาลเทศะ
        3. ชอบทำดีเป็นปกติ ได้แก่ มีเมตตากรุณา ประกอบสัมมาอาชีวะ ทำบุญให้ทานเป็นปกติ รักษาศีลทำสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ

องค์คุณของบัณฑิต
        1. กตัญู รู้อุปการคุณที่ท่านทำแล้วแก่ตน
        2. อัตตสุทธิ ทำตนให้บริสุทธิ์จากบาป
        3. ปริสุทธิ ทำผู้อื่นให้บริสุทธิ์จากบาป
        4.สังคหะ งเคราะห์แก่ชุมชนทั้งหลาย

วิธีสังเกตบัณฑิต
        บัณฑิตมักกระทำในสิ่งต่อไปนี้คือ
        1. บัณฑิตชอบชักนำในทางที่ถูก เช่น ชักนำให้เลิกสูบบุหรี่ เลิกดื่มสุรา เลิกเล่นการพนัน ชักนำให้สวดมนต์ก่อนนอน ให้รักษาศีล ให้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ให้ทำมาหากินในทางสุจริต เป็นต้น
        2. บัณฑิตชอบทำแต่สิ่งที่เป็นธุระ ไม่เกะกะเกเรใครๆ เร่งรีบทำการงานในหน้าที่ของตน ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ไม่ปล่อยงานให้คั่งค้าง และไม่ก้าวก่ายงานในหน้าที่ของคนอื่น เว้นแต่เมื่อได้รับการขอร้องหรือเพื่ออนุเคราะห์
        3. บัณฑิตชอบทำแต่สิ่งที่ถูกที่ควร เช่น ชอบพูดและทำตรงไปตรงมา ชอบสนทนาธรรมรังเกียจการนินทาว่าร้าย ชอบบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เป็นต้น
        4. บัณฑิตเมื่อถูกว่ากล่าวตักเตือนโดยดีย่อมไม่โกรธ มีนิสัยถือเอาความถูกความดี และความมีประโยชน์เป็นที่ตั้ง ไม่ถือตัวอวดดีดื้อรั้น แต่เห็นว่าผู้ที่ตักเตือนตนคือผู้ที่ชี้ขุมทรัพย์ให้ แล้วพยายามแก้ไขปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ตามคำแนะนำนั้น โดยไม่นึกรังเกียจว่าผู้ที่ตักเตือนจะมีอายุ ยศศักดิ์ ฐานะสูง หรือต่ำกว่า และหากมีผู้อื่นเข้าใจผิด พูดก้าวร้าวไม่ มควร ก็อดทนไว้ไม่โกรธตอบ แล้วพยายามหาโอกาสชี้แจงให้เขาเข้าใจภายหลัง จึงทำความอบอุ่น และเย็นใจให้แก่ทุกคน
        5. บัณฑิตย่อมรับรู้ระเบียบวินัย รักที่จะปฏิบัติตามระเบียบวินัยของหมู่คณะอย่างเคร่งครัด เพราะตระหนักดีว่า วินัยเป็นเครื่องยกหมู่คณะให้เจริญขึ้นได้จริง ทำให้หมู่คณะ งบเรียบร้อยไม่วุ่นวายจริง ทำให้เกิดความผาสุกจริง ฯลฯ จึงรังเกียจความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ความไม่สะอาด รกรุงรัง


วิธีคบบัณฑิต
        1. หมั่นไปมาหาสู่
        2. หมั่นเข้าไปนั่งใกล้
        3. มีความจริงใจ ให้ความเกรงอกเกรงใจต่อท่าน
        4. ฟังคำแนะนำ ฟังคำพูดของท่าน (ฟังธรรม)
        5. จำธรรมที่ได้ฟังนั้นไว้
        6. พิจารณาใจความของธรรมที่จำได้นั้นให้ดี
        7. พยายามปฏิบัติตามธรรมที่ได้ฟัง


ประเภทของบัณฑิต
        บัณฑิตมี 2 ประเภท ได้แก่
        1. บัณฑิตภายนอก คือบุคคลทั่วไปไม่ว่าใครก็ตามที่เป็นผู้ประพฤติดี มีคุณธรรม ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา
        2. บัณฑิตภายใน คือตัวเราขณะที่คิดดี พูดดี และทำดีนั่นเอง ดังนั้น การคบบัณฑิตภายในก็คือ การพยายามฝึกตนให้เป็นผู้มีจิตใจผ่องใสมีสติรำลึกถึงแต่ความคิดที่ดีๆ เพื่อการสร้างสรรค์ คำพูดที่ดีๆเพื่อยกใจผู้พูดและผู้ฟังให้สูงขึ้น และการกระทำที่ดีๆ เพื่อประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ซึ่งทำได้โดยการหมั่นทำทาน รักษาศีล และทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอ

อานิสงส์การคบบัณฑิต
        1. ทำให้มีจิตใจผ่องใสามารถทำความดีตามไปด้วย
        2. ทำให้ได้ปัญญาเพิ่มขึ้น เป็นคนหนักแน่น มีเหตุผล
        3. ทำให้มีความเห็นถูก เป็นสัมมาทิฏฐิ
        4. ทำให้ไม่ต้องเศร้าโศกเดือดร้อนเพราะทำผิด
        5. ทำให้เป็นที่ยกย่อง รรเสริญของคนทั่วไป
        6. ทำให้มีความสุข ปลอดภัยจากอุป รรคภัยพาลต่าง ๆ
        7. ทำให้มีความเจริญก้าวหน้าสามารถตั้งตัวได้เร็ว
        8. ทำให้แม้ละโลกนี้ไปแล้ว ก็ไปสู่สุคติโลก วรรค์
        9. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย
                        ฯลฯ

        แท้จริง บุคคลผู้มีปกติเที่ยวสมคบคนพาล ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน เพราะการอยู่ร่วมกับคนพาล เป็นเหตุนำทุกข์มาให้ในกาลทุกเมื่อ เหมือนการอยู่ร่วมกับศัตรูส่วนบัณฑิตมีการอยู่ร่วมเป็นสุขเหมือน มาคมแห่งหมู่ญาติ

        เพราะเหตุนั้นแล นรชนพึงคบบัณฑิต ผู้มีปัญญา เป็นพหูสูตเอาการเอางาน มีศีล มีวัตร ไกลจากกิเล และเป็นสัตบุรุษ เปรียบดังพระจันทร์คบอากาศอันเป็นทางโคจรแห่งดวงดาว ฉะนั้น

ขุ. ธ. 25/25/42-43

 

มงคลที่ 3 บูชาบุคคลที่ควรบูชา

มงคลที่ 3 บูชาบุคคลที่ควรบูชา


ต้นไม้เมื่อยังเล็กเป็นต้นกล้าอยู่
จำเป็นต้องมีหลักค้ำประคองไว้
ป้องกันไม่ให้ล้มรากขาดตายเสียก่อนฉันใด
ผู้ที่หวังความเจริญก้าวหน้า ก็จำเป็นต้องบูชาบุคคลที่ควรบูชา
ไว้เป็นตัวอย่างการดำเนินชีวิตที่ถูก
เป็นหลักใจ ป้องกันความเห็นผิดและอกุศลกรรมต่างๆ
มิให้ย้อนกลับกำเริบขึ้นมาอีก ฉันนั้น

 

การบูชาคืออะไร
        การบูชา คือการยกย่อง เชิดชู เลื่อมใสด้วยความบริสุทธิ์ใจ จริงใจ ไม่เสแสร้งแกล้งทำ หมายถึง กิริยาอาการสุภาพที่เราแ ดงต่อผู้ที่ควรบูชาทั้งต่อหน้าและลับหลัง การแสดงต่อหน้าเป็นการแสดงให้ ท่านทราบว่าเรามีความเคารพและตระหนักในคุณธรรมความดีที่มีอยู่ในตัวของท่านอย่างจริงใจ การแสดงลับหลังเป็นการเตือนใจตัวเราเอง ให้ผูกใจไว้กับคุณธรรมอันสูงส่งของท่าน ก่อให้เกิดความรู้สึกอยากกระทำตามใจเราจะได้ยกสูงขึ้นเสมอๆ ไม่เลื่อนไหลไปในทางชั่วร้าย

        การบูชา เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งสำหรับฝึกใจที่ยังหยาบกระด้าง เพราะไม่อาจยอมรับคุณความดีของผู้อื่นให้ละเอียดอ่อนลง ผู้ที่ยังด้อยปัญญายังไม่เข้าใจในคุณธรรมความดีของผู้ที่ควรบูชานัก แต่หากได้เคยชินกับการบูชาแล้ว ในที่สุดย่อมสามารถเห็นถึงคุณธรรมความดีที่มีอยู่ในตัวของผู้ที่เราบูชาได้อย่างแจ่มชัด จนเกิดความเลื่อมใสกลายเป็นการบูชาอย่างแท้จริง อยากทำความดีตามท่านบ้าง ผู้ใหญ่จึงควรอนบุตรหลานให้รู้จักสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย เป็นการปลูกศรัทธาตั้งแต่เล็กๆ


บุคคลที่ควรบูชา
        คือบุคคลที่มีคุณความดีควรค่าแก่การระลึกนึกถึง และยึดถือเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตาม ได้แก่ผู้มีศีลสมาธิ ปัญญาสูงกว่าเรานั่นเอง ซึ่งประมวล รุปได้ดังนี้

     1. พระพุทธเจ้า เป็นบัณฑิตที่ประเสริฐสุดในโลก ทรงไว้ด้วยพระปัญญาธิคุณ พระกรุณาธิคุณพระบริสุทธิคุณ จัดเป็นบุคคลที่ควรบูชาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
  2. พระสงฆ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบก่อนแล้วจึงสอนให้ผู้อื่นประพฤติดี ปฏิบัติชอบตามอย่างบ้างจัดเป็นบุคคลที่ควรบูชาของพุทธศาสนิกชน
       3. พระมหากษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม เป็นธรรมราชา จัดเป็นบุคคลที่ควรแก่การบูชาของประชาชน
       4. บิดามารดาและญาติผู้ใหญ่ที่มีความประพฤติดี เป็นบัณฑิต อยู่ในฐานะสูงเกินกว่าจะคบจัดเป็นบุคคลที่ควรแก่การบูชา หรือปูชนียบุคคลของบุตรหลาน
      5. ครูอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ ความประพฤติดี เป็นบัณฑิต อยู่ในฐานะที่สูงเกินกว่าศิษย์จะคบหา จัดเป็นบุคคลที่ควรแก่การบูชาของศิษย์
       6. ผู้บังคับบัญชาที่มีความประพฤติดี ตั้งอยู่ในธรรม จัดเป็นบุคคลที่ควรแก่การบูชาของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา

                ฯลฯ
 

        บัณฑิตที่มีเพศภาวะสูงเกินกว่าที่จะคบในฐานะผู้เสมอกันได้ ล้วนจัดเป็นบุคคลที่ควรแก่การบูชาทั้งสิ้น

        สิ่งที่เนื่องด้วยท่านเหล่านี้ ก็จัดเป็นสิ่งที่ควรบูชาอีกเช่นกัน เพราะเมื่อเราบูชาสิ่งเหล่านี้ ก็ทำให้ระลึกนึกถึงคุณงามความดีของบุคคลที่สิ่งเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องด้วย ตัวอย่างคือ
        1.สิ่งที่เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น พระธรรมคำสั่ง อนของพระองค์ พระบรมสารีริกธาตุสังเวชนียสถาน
        2.สิ่งที่เนื่องด้วยพระสงฆ์ เช่น พระธาตุ รูปพระสงฆ์สาวก
        3. คำสั่งสอน รูปภาพของบิดามารดา ครูบาอาจารย์ ผู้บังคับบัญชา พระมหากษัตริย์ ซึ่งตั้งใจประพฤติธรรม เป็นบัณฑิต จัดเป็นสิ่งที่ควรบูชาทั้งสิ้น


การแสดงออกถึงความบูชา
        1. ทางกาย ไม่ว่าจะยืนเดินนั่งนอนหรือประกอบกิจใดๆ เมื่ออยู่ต่อหน้าท่าน หรือสัญลักษณ์ตัวแทนของท่าน เช่น รูปปัน ภาพถ่าย ก็อยู่ในอาการสำรวม
        2. ทางวาจาสรรเสริญยกย่องคุณความดีของท่าน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เช่น การสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย การนำความดีของท่านไปสรรเสริญ
        3. ทางใจ ตามระลึกนึกถึงคำ อนของท่าน ด้วยความเคารพ และซาบซึ้ง


ประเภทของการบูชา

        การบูชาในทางปฏิบัติมี 2 ประเภท คือ

        1. อามิสบูชา คือการบูชาด้วยสิ่งของ เช่น บุตรระลึกถึงคุณของบิดามารดา ศิษย์ระลึกถึงคุณของครูบาอาจารย์ จึงบูชาด้วยการนำทรัพย์สินเงินทอง ของใช้ ฯลฯ ไปมอบให้ เป็นต้น การบูชาพระรัตนตรัย ด้วยดอกไม้ธูปเทียน ก็จัดเป็นอามิ บูชาเช่นกัน
        2. ปฏิบัติบูชา คือการบูชาด้วยการตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามคำสอน ตามแบบอย่างที่ดีของท่านเช่น พยายามกำจัดความโลภ ความโกรธ ความหลง ด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาตามคำสอนของท่าน การปฏิบัติบูชานี้จัดเป็นการบูชาที่สูงสุด เพราะเป็นวิธีที่จะทำให้กาย วาจา ใจ ของเราใสะอาด เป็นบัณฑิตตามท่านได้โดยเร็ว

ข้อเตือนใจ

        สำหรับนักเรียนนักศึกษาหรือนักปฏิบัติธรรม พึงระลึกเสมอว่าสิ่งที่เราจะเรียนรู้นั้นถ้าเราเทิดทูนบูชาตั้งใจประคองรักษาอย่างดี ไม่นำไปล้อเลียน หรือพูดเล่น ผลของการศึกษาเล่าเรียนตลอดจนการปฏิบัติธรรมของเรา ย่อมจะมีความเจริญก้าวหน้าประ พผลสำเร็จได้อย่างน่าอัศจรรย์
        ตรงกันข้าม ถ้าเราไม่เคารพ แต่กลับลบหลู่ครูอาจารย์สิ่งที่จะเรียนรู้ ความเข้าใจ ความซาบซึ้งที่จะปฏิบัติตามคำ อนก็หมดไป เกิดความรู้สึกไม่อยากบูชา หรือไม่ศรัทธา ใจที่ควรจะตรึกนึกถึงธรรมะหรือบทเรียนต่างๆ ก็มืดมิด เป็นการปิดกั้นหนทางที่จะเข้าถึงปัญญา อันจะเป็นแสง ว่างส่องนำวิถีชีวิตให้ก้าวไปในทางที่ถูกที่ควรที่ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น

ข้อควรระวัง
        อย่าบูชาสิ่งที่ไม่ควรบูชา เพราะจะชักนำไปสู่ความงมงายหลงผิด จิตใจขุ่นมัวเป็นพาลไป ซึ่งทำได้ดังนี้
        1. ไม่บูชาคนพาล คือไม่ยกย่อง ไม่เชิดชู ไม่ส่งเสริม ไม่สนับสนุนคนพาล ไม่ว่าคนพาลนั้นจะมียศศักดิ์ สถานภาพสูงส่งเพียงไรก็ตาม
        2. ไม่บูชาสิ่งที่เนื่องด้วยคนพาล เช่น รูปภาพ รูปปัน ผลงานสิ่งของ เครื่องใช้ของคนพาล
        3. ไม่บูชาสิ่งที่บูชาแล้วไม่ทำให้เกิดสิริมงคล เช่น รูปภาพดารา นักร้อง นักกีฬาที่ไม่มีคุณธรรมเพียงพอ ภาพโฆษณาเกี่ยวกับอบายมุข ฯลฯ อย่านำมาประดับบ้านเรือน
        4. ไม่บูชาสิ่งที่บูชาแล้วทำให้งมงายไม่เกิดปัญญา เช่น ต้นไม้ใหญ่ ภูเขาสูง ศาลพระภูมิ คนทรงภูตผีปีศาจ ลูกกรอก ฯลฯ


กราบ 3 อย่าง
        วิธีการบูชาพระพุทธรูปที่ใช้กันมากคือการกราบ ซึ่งมีหลายประเภท ดังนี้

        1. ยิ่งกราบยิ่งเมื่อย คือพวกที่เห็นคนอื่นกราบพระก็กราบตามเขา โดยไม่รู้ความหมาย ทำลวกๆเหมือนลิงไหว้เจ้า อย่างนี้ไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร เมื่อยเปล่า
        2. ยิ่งกราบยิ่งโง่ คือพวกที่กราบพระแล้วขอในสิ่งที่ไม่ มควร เช่น กราบพระขอหวย หรือไม่ดูหนังสือ แล้วกราบพระขอให้สอบได้
        3. ยิ่งกราบยิ่งฉลาด คือพวกที่กราบพระแล้วยึดถือเอาพระธรรมคำสั่ง อนของพระองค์มา เป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตาม เช่น

        กราบครั้งที่ 1 ระลึกถึงพระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้า ที่ทรงมีปัญญามากสามารถพิจารณาเห็นทุกข์ และคิดค้นวิธีการดับทุกข์ได้ด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้เพราะพระองค์ศึกษาธรรม และฝึกสมาธิมามาก จึงมีใจใสว่างจนสามารถตรัสรู้ธรรมปราบกิเลส ในตัวได้หมด เราก็ต้องตั้งใจหมั่นฝึกสมาธิศึกษาธรรมตามอย่างพระองค์ด้วย

กราบครั้งที่ 2 ระลึกถึงพระบริสุทธิคุณของพระองค์ ที่ทรงมีความบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา ใจ เพราะพระองค์ทรงรักษาศีลมามาก ไม่เคยให้ร้ายแก่ใครเลย เป็นตัวอย่างในการรักษาศีลได้อย่างดี เราก็ต้องตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์อย่างพระองค์ด้วย

กราบครั้งที่ 3 ระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระองค์ ที่ทรงเทศนาสั่งสอนผู้คนทั้งหลายโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก เพราะพระองค์ทรงบำเพ็ญทาน ช่วยเหลือสัตว์โลกมานับภพนับชาติไม่ถ้วนจึงมีความเมตตากรุณาเป็นเลิศ เราก็ต้องตั้งใจหมั่นให้ทาน มีความกรุณา ช่วยเหลือผู้อื่นตามอย่างพระองค์ด้วย



อานิสงส์การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

        1. ยังความเห็นถูกที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
        2. ยังความเห็นถูกที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น
        3. ทำให้มีกิริยามารยาทสุภาพอ่อนโยน น่ารักน่านับถือ
        4. ทำให้จิตใจผ่องใสเพราะตรึกอยู่ในกุศลธรรมเสมอ
        5. ทำให้ ติสัมปชัญญะบริบูรณ์ขึ้นเพราะมีความสำรวมระวัง เป็นการป้องกันความประมาท
        6. ป้องกันความลืมตัวความหลงผิดได้ เพราะตระหนักอยู่เสมอว่า ผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่าตนยังมีอยู่
        7. ทำให้เกิดกำลังใจและอานุภาพอย่างมหาศาลสามารถคุ้มครองป้องกันตนให้พ้นจากอุปสรรคภัยพาลต่างๆ ได้
        8. เป็นการกำจัดคนพาลให้พินาศไปโดยทางอ้อม เพราะมีแต่คนบูชาบัณฑิตผู้มีคุณธรรม
        9. เป็นการเชิดชูบัณฑิตให้สูงเด่น ทำให้ท่านสามารถบำเพ็ญกรณียกิจได้สะดวกกว้างขวางยิ่งขึ้น

        ฯลฯ


        ผู้ใด พึงบูชาท่านผู้อบรมตนแล้วผู้หนึ่ง แม้เพียงครู่เดียว การบูชาของท่านนั้น ประเสริฐกว่าการบูชา (โลกิยมหาชน) ด้วยทรัพย์เดือนละพันตลอดร้อยปี

ขุ. ธ. 251829

 

 

จากหนังสือ DOU กองวิชาการ  มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย

วิชา GB 102 สูตรสำเร็จการพัฒนาตนเอง

DOU GB 102 สูตรสำเร็จการพัฒนาตนเอง

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.024914336204529 Mins