มโหสถชาดก มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี

วันที่ 22 สค. พ.ศ.2559

พระชาติที่ ๕
มโหสถชาดก
มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี

 

มโหสถชาดก , มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี , ทศชาติชาดก , พุทธประวัติ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , บารมี 10 ทัศ , ศาสนาพุทธ , ศาสดา

       มโหสถชาดกเป็นเรื่องราวในอดีตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี ด้วยการใช้ปัญญาอันเฉียบแหลม ที่ทรงสั่งสมมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่งการใช้ปัญญาอยู่เสมอ ๆ นี้ เป็นการช่วยให้สติปัญญาปราดเปรื่องยิ่ง ๆ ขึ้น ถือเป็นการช่วยเพิ่มพูนปัญญาบารมีได้วิธีหนึ่ง ในพระชาตินี้ มโหสถบัณฑิตได้ใช้ปัญญาเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสโดยยึดหลักศีลธรรม จนในที่สุดก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรคของชีวิตนำพาตนเองให้ประสบความเจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไปและสร้างสันติภาพแก่เพื่อนมนุษย์ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขปราศจากการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน

 

มโหสถชาดก , มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี , ทศชาติชาดก , พุทธประวัติ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , บารมี 10 ทัศ , ศาสนาพุทธ , ศาสดา

บัณฑิตน้อย ผู้ครองหทัยพระราชา

     เมื่อครั้งอดีตกาล ภรรยาเศรษฐีแห่งบ้านปาจีนยวมัชฌคามให้กำเนิดทารกน้อยผู้กำแท่งโอสถ (ยา) ออกมาด้วย แท่งโอสถนั้นเมื่อนำไปฝนกับหินบดแล้วสามารถนำมารักษาโรคต่าง ๆ ได้ บิดาจึงตั้งชื่อให้ว่ามโหสถกุมาร (ผู้มีแท่งโอสถอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่มหาชน) เมื่ออายุ ๗ ขวบ มโหสถก็มีชื่อเสียงร่ำลือไปไกลว่ามีสติปัญญาและไหวพริบเป็นเลิศจนพระเจ้าวิเทหราชแห่งมิถิลานคร ทรงปรารถนาจะรับไปอยู่ในราชสำนักแต่ปุโรหิตชื่อเสนกะพยายามทูลยับยั้งด้วยอุบายต่าง ๆ เพราะความอิจฉาและทูลให้ทดสอบสติปัญญาของมโหสถด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่มโหสถก็แก้ไขปัญหาได้ทุกครั้ง จนในที่สุดพระราชาทรงรับมโหสถเข้าไปอยู่ในราชสำนักได้สำเร็จ

 

มโหสถชาดก , มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี , ทศชาติชาดก , พุทธประวัติ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , บารมี 10 ทัศ , ศาสนาพุทธ , ศาสดา

ปัญญา เป็นเครื่องนำพาตนให้พ้นภัย

      มโหสถเติบโตเป็นบัณฑิตหนุ่มผู้ฉลาดหลักแหลมเป็นที่โปรดปรานของพระราชาและพระมเหสี แต่ความรุ่งโรจน์ของมโหสถนับวันจะยิ่งข่มรัศมีของบัณฑิตทั้งสี่ ที่อยู่มาก่อนให้อับแสงลงเรื่อย ๆ เมื่อได้โอกาสปุโรหิตเสนกะจึงทูลยุยงพระราชาให้ทรงระแวงจนคิดจะฆ่ามโหสถ ทำให้มโหสถต้องหนีไปอยู่ในชนบทแต่ในที่สุดก็มีโอกาสกลับมาแก้ข้อกล่าวหาและใช้ปัญญาปราบอาจารย์ทั้งสี่ ให้เลิกคิดร้ายกับตนเองได้สำเร็จ นอกจากนี้ มโหสถยังใช้สติปัญญาอันล้ำเลิศช่วยให้แคว้นวิเทหรัฐรอดพ้นจากการรุกรานของพระเจ้าจุลนีแห่งปัญจาลนคร
โดยที่ประชาชนของทั้ง ๒ นคร มิต้องบาดเจ็บล้มตายแต่อย่างใด จนทำให้เกียรติภูมิของมโหสถเลื่องลือไปทั่วทั้งชมพูทวีป

 

มโหสถชาดก , มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี , ทศชาติชาดก , พุทธประวัติ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , บารมี 10 ทัศ , ศาสนาพุทธ , ศาสดา

เสนาบดี แห่งปัญจาลนคร

     เมื่อพระเจ้าวิเทหราชสวรรคต มโหสถได้ทูลลาพระราชาพระองค์ใหม่เพื่อเดินทางไปรับราชการที่ปัญจาลนครเนื่องจากพระเจ้าจุลนีทรงเคยขอสัญญาจากมโหสถว่า “เมื่อพระราชาของเธอสวรรคตแล้ว ขอให้เธอมาอยู่กับฉัน” ทั้งนี้เพราะทรงเลื่อมใสในปัญญาและคุณธรรมของมโหสถเป็นอย่างยิ่งแต่พระมเหสีของพระเจ้าจุลนีไม่พอพระทัยมโหสถเพราะพระนางทรงเคยถูกคนของมโหสถจับไปเป็นตัวประกันพระนางจึงทรงคิดกำจัดมโหสถ แต่ก็ไม่สำเร็จเพราะปริพาชิกาเถรี นักบวชประจำราชสำนักได้ออกกุศโลบายให้พระเจ้าจุลนีประกาศคุณความดีของมโหสถให้ขจรขจายไปทั่วพระนครท้ายที่สุด ทรงแต่งตั้งมโหสถเป็นเสนาบดีมีอำนาจในการปกครองบ้านเมืองเสมือนพระราชา และดำรงตำแหน่งเสนาบดีไปจนตลอดชีวิต

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.020698134104411 Mins