วิธุรชาดก วิธุรบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยสัจบารมี

วันที่ 22 สค. พ.ศ.2559

พระชาติที่ ๙
วิธุรชาดก
วิธุรบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยสัจบารมี

วิธุรชาดก , วิธุรบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยสัจบารมี , ทศชาติชาดก , พุทธประวัติ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , บารมี 10 ทัศ , ศาสนาพุทธ , ศาสดา

     วิธุรชาดกเป็นเรื่องในอดีตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการบำเพ็ญสัจบารมี ในพระชาตินี้ พระโพธิสัตว์ทรงเกิดเป็นวิธุรบัณฑิตผู้บำเพ็ญสัจบารมี จนปรากฏเด่นชัดยิ่งกว่าพระชาติใด ๆ คำว่า “สัจจะ” คือ ความจริง ความซื่อตรง คนที่มีสัจจะ คือ คนที่พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น เป็นคนที่ไว้วางใจได้ทั้งต่อหน้าและลับหลัง วิธุรบัณฑิตเป็นผู้ที่ยึดมั่นในสัจจะชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพัน โดยไม่หวั่นไหวว่าจะต้องเผชิญกับสิ่งใดบ้าง การสร้างสัจบารมีของพระโพธิสัตว์ในพระชาตินี้ จึงเข้าทำนองว่า “ยอมตาย ไม่ยอมคด” นั่นเอง

 

วิธุรชาดก , วิธุรบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยสัจบารมี , ทศชาติชาดก , พุทธประวัติ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , บารมี 10 ทัศ , ศาสนาพุทธ , ศาสดา

หัวใจของมหาบัณฑิต ผู้เรืองปัญญา

    วิธุรบัณฑิตเป็นราชบัณฑิตของพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยราช แห่งอินทปัตถ์นคร ชื่อเสียงของท่านโด่งดังไปไกลในหมู่ของมนุษย์และเทวดา ทำให้พระนางวิมาลา มเหสีของท้าววรุณนาคราชปรารถนาจะฟังธรรมจากท่าน พระนางทรงแกล้งป่วย และบอกพระสวามีว่าอยากเสวยหัวใจวิธุรบัณฑิต ท้าววรุณนาคราชจึงทรงรับสั่งให้ปุณณกยักษ์ไปนำหัวใจวิธุรบัณฑิตมาด้วยวิธีที่ชอบธรรม ปุณณกยักษ์แปลงร่างเป็นชายหนุ่มไปท้าพนันสกากับพระเจ้าธนัญชัยโดยใช้แก้วมณีวิเศษและม้าอาชาไนยเป็นเดิมพันส่วนพระเจ้าธนัญชัยใช้พระราชทรัพย์ทั้งหมดเป็นเดิมพันยกเว้นตัวพระองค์เอง พระมเหสี และราชบัลลังก์สุดท้ายพระราชาทรงพ่ายแพ้ ชายหนุ่ม (ปุณณก-ยักษ์) ขอตัววิธุรบัณฑิตเป็นสินพนัน แต่พระราชาไม่ทรงยอมให้

 

วิธุรชาดก , วิธุรบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยสัจบารมี , ทศชาติชาดก , พุทธประวัติ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , บารมี 10 ทัศ , ศาสนาพุทธ , ศาสดา

บัณฑิตแม้ยามมีภัย ไม่ยอมทิ้งสัจจะ

    พระเจ้าธนัญชัยทรงกล่าวว่า “วิธุรบัณฑิตไม่ใช่ทรัพย์แต่เป็นดั่งชีวิตจิตใจของเรา เปรียบเสมือนตัวเราเอง ให้ไม่ได้” แต่ด้วยความซื่อสัตย์ ยึดมั่นในสัจจะชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพัน วิธุรบัณฑิตจึงพูดความจริงว่า “ตัวเราเป็นทาสของพระราชาเมื่อจะพระราชทานเราให้เป็นสินพนันก็พระราชทานได้โดยชอบธรรม”พระราชาทรงเสียดายวิธุรบัณฑิตมาก รับสั่งว่าจะให้คนไปลอบฆ่าชายหนุ่มเสียแต่วิธุรบัณฑิตทูลคัดค้าน และขอให้ทรงยึดมั่นในสัจจะ อีก ๓ วันต่อมา ชายหนุ่มผู้นั้นสั่งให้วิธุรบัณฑิตจับหางม้าแล้วพาเหาะทะยานขึ้นบนท้องฟ้าหายไป เมื่อถึงกาฬาคิรีบรรพต ปุณณกยักษ์จึงเริ่มลงมือฆ่าวิธุรบัณฑิตเพื่อควักเอาหัวใจแต่วิธุรบัณฑิตมีบุญมาก ยักษ์จะใช้วิธีการใดก็ไม่อาจฆ่าได้

 

วิธุรชาดก , วิธุรบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยสัจบารมี , ทศชาติชาดก , พุทธประวัติ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , บารมี 10 ทัศ , ศาสนาพุทธ , ศาสดา

ยึดมั่นสัจวาจา มนุษย์เทวาต่างชื่นชม

     หลังจากที่วิธุรบัณฑิตสอบถามเรื่องราวต่าง ๆ แล้วจึงทราบว่า หัวใจที่พระนางวิมาลาทรงปรารถนา ที่จริงก็คือ ปัญญาของตนนั่นเอง จากนั้นได้แสดงธรรมจนยักษ์รู้ผิดชอบชั่วดีและจะปล่อยให้ท่านเป็นอิสระ แต่วิธุรบัณฑิตยังยืนยันที่จะไปเฝ้าพระนางวิมาลาเพื่อแสดงธรรม เมื่อถึงนาคพิภพ ท้าววรุณนาคราชตรัสถามว่า “ปุณณกยักษ์ได้ตัวท่านมาด้วยวิธีใด” วิธุรบัณฑิตทูลตอบว่า “ปุณณกยักษ์เล่นสกาชนะพระราชา จึงได้ตัวข้าพระองค์มา” ท้าววรุณนาคราชทรงชื่นชมอย่างยิ่ง ทรงดำริว่า “ท่านผู้นี้เป็นผู้รักษาสัจจะ หากท่านกล่าวว่าถูกยักษ์จับตัวมาโดยไม่ชอบธรรม เพื่อให้เราลงโทษยักษ์ แก้แค้นที่ถูกจับตัวมาก็ย่อมได้” หลังจากฟังธรรมแล้ว ทั้ง ๒ พระองค์ ทรงปลื้มปีติเป็นอย่างยิ่ง จากนั้นทรงให้ยักษ์นำวิธุรบัณฑิตกลับไปยังอินทปัตถ์นคร ก่อนจากกันยักษ์ได้มอบแก้วมณีอันล้ำค่าให้ท่านด้วยความเลื่อมใส พระราชาและชาวเมืองที่ทุกข์ใจในการจากไปของวิธุรบัณฑิตต่างก็ดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ท่านกลับมา

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0033439834912618 Mins