หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๖) การชี้ขุมทรัพย์

วันที่ 13 กย. พ.ศ.2559

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๖)
การชี้ขุมทรัพย์

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๖) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยตรัสกับพระอานนท์ไว้ว่า

อานนท์ ! เราไม่พยายามทำกะพวกเธอ อย่างทะนุถนอม
เหมือนพวกช่างหม้อ ทำแก่หม้อ ที่ยังเปียก ยังดิบอยู่
อานนท์ ! เราจักขนาบแล้ว ขนาบอีก ไม่มีหยุด
อานนท์ ! เราจักชี้โทษแล้ว ชี้โทษอีก ไม่มีหยุด
ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้.

อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๕/๓๕๖.

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๖) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

      ในการอยู่ร่วมกันของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป สิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากคือ การกระทบกระทั่งกัน เนื่องจากความดีสากลหรือความละเอียดความหยาบ ของแต่ละคนไม่เท่ากัน ในการกระทบกระทั่งก็หนีไม่พ้นใน ๓ ทาง คือ 

     ๑. ทางกาย
     ๒. ทางวาจา
     ๓. ทางใจ

     ในเบื้องต้นมักจะเริ่มที่ใจก่อน จะหงุดหงิดไม่พอใจกันก่อน จากนั้นก็เลื่อนชั้นมาเป็นคำพูด จนในที่สุดก็มีการลงมือลงไม้กัน

      ดังนั้นในองค์กรใดก็ตามหากจะมุ่งหวังให้เกิดความก้าวหน้า ก็ต้องให้ความสำคัญ กับการพัฒนาบุคลากรให้มีความละเอียดที่ใกล้เคียงกันที่สุด

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๖) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

    หลวงพ่อทั้งสองจะให้ความสำคัญในเรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างมาก ท่านจะตอกย้ำ ในเรื่องการเป็นกัลยาณมิตรให้แก่กันและกัน โดยยกตัวอย่างของพระภิกษุว่า เมื่ออยู่ร่วมกันเป็นเวลา ๓ เดือนในช่วงเข้าพรรษาแล้ว เมื่อถึงวันออกพรรษาก็จะมีการปวารณากัน โดยให้ผู้ที่อยู่ร่วมกับตนนั้น ได้ชี้ข้อบกพร่อง เพื่อจะได้นำไปแก้ไข ไปปรับปรุงตัวต่อไป

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๖) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

     หลวงพ่อทัตตชีโว เคยให้โอวาทลูก ๆ ในองค์กรว่า    “ ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาอยู่ที่การเตือนกันได้ บอกกันได้ หากอยู่ร่วมกันและไม่เตือนกัน ปล่อยผ่านสิ่งที่ควรต้องบอก นั่นคือความฉิบหายขององค์กรนั้น ๆ ได้เกิดขึ้นแล้ว ”

     หลังจากวันที่คุณยายละสังขาร หลวงพ่อทัตตชีโวได้เรียกประชุมลูก ๆ ในองค์กรและได้ให้โอวาทไว้ว่า   “ เมื่อก่อนนั้นหลวงพ่อโชคดี ที่มีผู้คอยชี้ขุมทรัพย์ถึงสองท่านคือ หลวงพ่อธัมมะและคุณยาย ต่อมาเมื่อหลวงพ่อธัมมะงานเยอะขึ้นก็เหลือแต่คุณยาย แต่ ณ วันนี้ คุณยายก็ละสังขารแล้ว หลวงพ่ออยู่ในภาวะอันตราย เพราะหาคนเตือนไม่ได้แล้ว ยิ่งอยู่ในสถานะที่ถูกเรียกว่า หลวงพ่อ ใครจะกล้ามาเตือน ”

      ครั้งหนึ่ง ท่านได้ถามอาตมาว่า  “ เป็นไงบ้าง เพื่อน ๆ ที่อยู่ด้วยกัน มีการพูดคุยตักเตือนกันไหม ”

     “ มีครับหลวงพ่อ ทั้งในรุ่นเดียวกัน และรุ่นพี่ที่เดิมตอนอบรมธรรมทายาทท่านก็เป็น พระพี่เลี้ยง มีอะไรท่านก็คอยบอก คอยแนะอยู่ครับ ” อาตมาตอบท่านไป

      หลวงพ่อได้ให้คำแนะนำต่อไปว่า    “ ดีมาก การที่ยังเตือนกันได้ แสดงว่าหมู่คณะยังก้าวไปข้างหน้าได้อีก มันฟ้องว่าแต่ละคนก็รักการฝึกตัว เรื่องบางเรื่องเรามองไม่เห็นหรอก ต้องให้คนรอบตัวเป็นผู้ชี้ เขาจึงเรียกว่า ชี้ขุมทรัพย์ ไงหล่ะ ”

      อาตมาได้กราบเรียนถามท่านว่า “ หลวงพ่อครับ ส่วนมากแล้วคนอายุเท่าไรที่จะชี้ขุมทรัพย์ยาก ”

     หลวงพ่อได้ให้หลักไว้ว่า  “ โดยมากคนอายุเกิน ๔๐ ขึ้นไป หากไม่ใช่นักฝึกตัวจริง ๆ แล้วก็จะยากแล้วที่จะเตือน เพราะพวกนี้ผ่านโลกมาพอสมควร ประสบความสำเร็จมาบ้าง ดังนั้นหากถูกเตือนก็มักจะไม่พอใจ ”

     “ หลวงพ่อครับ แล้วเราจะมีหลักอย่างไรในการชี้ขุมทรัพย์ครับ ” อาตมาเรียนถามท่านต่อ

    “ จำไว้นะว่า แม้การชี้ขุมทรัพย์ จะเป็นเรื่องของความปรารถนาดีก็ตาม แต่ก็ต้องมีศิลปะ      หากเราเป็นผู้เตือนเขา ก็ต้องดูเวลา โอกาส สถานที่ และตัวบุคคลด้วย ในทำนองเดียวกันหากเราเป็นผู้ถูกเตือน ก็ให้ดีใจเถอะที่ยังมีคนกล้าเตือน กล้าบอกเรา เพราะมันฟ้องว่าเราไม่ใช่ตัวอันตราย อย่าลืมว่า คนที่จะเตือนใครสักคน เขาต้องคิดแล้ว คิดอีก ประมวลข้อมูลสารพัด ประกอบด้วยจิตเมตตา ด้วยความปรารถนาดีจริง ๆ จึงกล้าเตือนเราได้ ”

      ย้อนกลับมาดูตัวเรา ณ วันนี้ ยังมีใครกล้าเตือนเราอยู่หรือไม่ ?

 


ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก
อาสภกันโต ภิกขุ
๑๔ ส.ค. ๕๙
anacaricamuni.blogspot.ae

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.057455547650655 Mins