หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๗) อิจฉากับนินทา

วันที่ 13 กย. พ.ศ.2559

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๗)
อิจฉากับนินทา

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๗) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

     เมื่อตอนที่อยู่วัดพระธรรมกายที่ประเทศไทย มีความรู้สึกว่าเราก็เหมือนเด็กเล็กๆ ที่ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรมาก เวลามีปัญหาเกิดขึ้นก็ไม่ได้กระทบมาที่เราโดยตรง หลวงพ่อจะคอยปกป้อง คอยแก้ปัญหาให้

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๗) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

     แต่เมื่อต้องไปรับผิดชอบงานที่ต่างประเทศ ต้องห่างไกลครูบาอาจารย์ แม้วัดที่ดูแลจะเป็นวัดเล็ก ๆ แต่ทำให้เข้าใจหัวอกของหลวงพ่อทั้งสองว่า การดูแลสมาชิกในวัดให้มีความสุข ให้เขากินอิ่มนอนหลับโดยไม่ต้องกังวลไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะต้องทำแบบหลวงพ่อคือ แบกรับปัญหาไว้เอง ไม่ต้องให้กระทบถึงสมาชิกในวัด

     แค่ต้องดูแลสมาชิกไม่ถึง ๒๐ ชีวิต อาตมาต้องคอยดูรายรับ รายจ่าย ต้องคอยบริหารจัดการ จัดสรรให้ดี เพราะนอกจากจะมีค่าใช้จ่ายประจำวันแล้ว ยังต้องกันปัจจัยไว้ เป็นค่าเล่าเรียน ค่าพัฒนาปรับปรุงเสนาสนะ

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๗) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

     เรื่องค่าใช้จ่ายว่าเป็นเรื่องสำคัญแล้ว ยังไม่น่าเป็นห่วงเท่ากับเรื่องการฝึกคน ทั้งเจ้าหน้าที่และสาธุชนที่มาวัด หลวงพ่อท่านตอกย้ำอยู่เสมอว่า

      “ ท่านต้องทำความเข้าใจให้ดีว่า ในเรื่องของคนนั้นมันมี ๓ ขั้นตอน คือ จัดหา รักษาและพัฒนา

     การจะหาคนมาวัดว่าเป็นเรื่องยากแล้ว เมื่อเขามาถึงทำอย่างไรจะรักษาเขาไว้ได้ ยากยิ่งกว่านั้น พอรักษาเขาไว้ได้ เขาไม่ไปไหนแล้ว อยู่กับเราเป็นสิบ ๆ ปี เขาไม่มีอะไรดีขึ้น ไม่ได้พัฒนาอะไรเขาเลยก็ใช้ไม่ได้ ดังนั้นการพัฒนาคนจึงเป็นเรื่องที่ยากที่สุด ”

     อาตมาคิดว่าพวกเรามีบุญมากที่ได้มาพบครูบาอาจารย์ชั้นเลิศ ทำให้เราไม่ต้องไป ลองผิดลองถูก เวลาที่ติดขัดปัญหาอะไร หลวงพ่อท่านก็พร้อมจะให้ความกระจ่างกับเราได้ สำหรับอาตมาเอง ทุกครั้งที่มีปัญหาจะต้องโทรมากราบเรียนปรึกษาหลวงพ่อ เพราะไม่แน่ใจว่า สิ่งที่เราคิดจะทำจะถูกต้องหรือไม่ แต่วิสัยของครู หลวงพ่อจะไม่บอกคำตอบทันที ท่านจะถามก่อนว่า แล้วเราคิดอย่างไร จะทำอย่างไร เมื่อเราตอบเสร็จ ท่านก็จะช่วยเพิ่มเติม หรือให้แนวทางต่อไป

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๗) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

     บางครั้งนอกจากปัญหาในการทำงานแล้ว หลวงพ่อก็จะช่วยวิเคราะห์ให้เห็นว่า เรื่องบางเรื่องที่เกิดขึ้นต้องไปดูที่ต้นตอของปัญหา เช่น ครั้งหนึ่งมีโยมมาเล่าให้อาตมาฟังว่า เขาไม่ได้เข้าวัดมานานแล้ว เนื่องจากไปพบว่าที่วัดบางแห่งมีการนินทากัน มีการอิจฉากัน อาตมาเกรงว่าเรื่องนี้จะมาเกิดขึ้นที่วัดของเรา จึงรีบเล่าเรื่องนี้ให้หลวงพ่อฟัง

     “ ท่านต้องเข้าใจก่อนนะว่า คนที่ขี้อิจฉากับคนที่ชอบนินทานี่ เอาเข้าจริง ๆ มีพื้นฐานที่ต่างกัน หากไม่เข้าใจตรงนี้จะไปแก้ปัญหาไม่ถูกจุด ”

    “ ผมแยกไม่ออกหรอกครับหลวงพ่อ รู้แต่ว่าทั้งสองประเภทก็ไม่ดีทั้งคู่ แล้วจะทำให้หมู่คณะมีปัญหาด้วยครับ ” อาตมากราบเรียนท่าน

       “ พวกชอบนินทานี่ เป็นพวกมีปมด้อย แล้วแทนที่จะคิดแก้ไขปมด้อยก็ไม่ทำ กลับไปหาทางทำให้คนอื่นเสียหายโดยการนินทาเขา พวกนี้แหละที่ชอบเขียนบัตรสนเท่ห์ทั้งหลาย ส่วนพวกขี้อิจฉานี่ จะเป็นพวกที่ไม่เคยเป็นที่หนึ่ง ทำอะไรก็เป็นรองเขาอยู่เรื่อย ทำอะไรไม่ได้ แทนที่จะคิดพัฒนาตนเองก็ไม่ทำ ก็เลยอิจฉาเขา ”

        “ แล้วเราจะมีวิธีแก้อย่างไรครับหลวงพ่อ ” อาตมากราบเรียนถามท่านต่อ

     “ ในเบื้องต้นเลยไปจัดการฝึกเรื่องความดีสากลให้ดี ฝึกคนของเราทั้งเรื่อง ความสะอาด ความเป็นระเบียบ ความสุภาพ ความตรงต่อเวลา และการฝึกสมาธิ ทั้งหมดนี้ จะเป็นการปรับหยาบ ละเอียด คนของเราให้ใกล้เคียงกัน เมื่อความหยาบ ละเอียดใกล้เคียงกัน จึงจะรองรับธรรมะได้ ไม่อย่างนั้น ท่านเทศน์ให้ปากหัก ก็แก้ไขคนของเราไม่ได้ ”

       และท้ายสุดของโอวาทหลวงพ่อก็ฝากข้อคิดไว้ว่า   “ อย่างไรก็ตาม คนแรกที่จะต้องฝึกความดีสากลให้มากที่สุดคือ เจ้าหน้าที่ในวัดนั่นแหละ เพราะหากฝึกคนในวัดไม่ได้ อย่าคิดฝันว่าจะไปฝึกใครได้ ”

 


ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก
อาสภกันโต ภิกขุ
๑๕ ส.ค. ๕๙
anacaricamuni.blogspot.ae

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.061462167898814 Mins