วันพระ

วันที่ 22 ตค. พ.ศ.2561

วันพระ

วันพระ , มหัศจรรย์วันพระ , ทำบุญ , เข้าวัดทำบุญ , ปฏิบัติธรรมวันพระ , วันธรรมสวนะ  ลอุโบสถศีล , ศีลแปด

ความหมายของวันพระ
    วันพระคือวันที่มีการทำบุญ ตักบาตร ถวายสังฆทาน นั่งสมาธิ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ละเว้นความชั่ว ละเว้นอบายมุขต่างๆ ทำตัวให้มีประโยชน์ต่อสังคม ปล่อยนกปล่อยปลา ฟังธรรมเทศนา สนทนาธรรมกับพระสงฆ์ รักษาศีล มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ๆ มีพระสงฆ์คอยรับถวายสังฆทาน


วันพระ , มหัศจรรย์วันพระ , ทำบุญ , เข้าวัดทำบุญ , ปฏิบัติธรรมวันพระ , วันธรรมสวนะ  ลอุโบสถศีล , ศีลแปด

ความเป็นมาของวันพระ
      ครั้งหนึ่งเมื่อสมัยพุทธกาลที่ผ่านมาได้มีเหล่านักบวชนอกศาสนาประชุมแสดงคำสอนตามความเชื่อของตนทุกวัน 8 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำเป็นปกติ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารพระราชาแห่งแคว้นมคธ ทราบจึงเกิดความคิดว่าคณะสงฆ์ในพระพุทธศาสนาน่าจะได้กระทำเช่นนั้นบ้าง เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาของเหล่าพุทธศาสนิกชน เฉกเช่นที่นักบวชนอกศาสนานั้นได้รับ จึงกราบทูลขอพุทธานุญาตจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระเจ้าพิมพิสารกราบทูลแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตตามนั้น การประชุมกันของเหล่าสงฆ์ตามพุทธานุญาตได้มีวิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่การมาประชุมแล้วนั่งนิ่ง เริ่มแสดงธรรม ต่อมาทรงอนุญาตให้สวดปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็นการทบทวนข้อปฏิบัติที่เป็นวินัยของสงฆ์ในพระพุทธศาสนาพร้อมกับการแสดงอาบัติ

    คำว่า "สวนะ" แปลว่า การฟัง และคำว่า "ธรรมสวนะ" แปลว่า การฟังธรรม นั่นคือวันธรรมสวนะก็แปลว่า กำหนดประชุมฟังธรรม หรือพูดตามภาษาชาวบ้านทั่วไปว่า วันไปฟังเทศน์หรือวันพระ ในทางศาสนาก็ยังได้เรียกว่า วันอุโบสถ ซึ่งแปลว่า วันจำศีลของอุบาสกอุบาสิกาผู้ต้องการบุญกุศลเป็นกรณีพิเศษ

     พิธีของชาวบ้าน โดยพุทธศาสนิกชนก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายอาหารหวานคาวแด่พระสงฆ์ สมาทานศีล(รับศีล) และฟังพระธรรมเทศนาที่วัด

     ในวันธรรมสวนะนี้ ชาวบ้านก็จะละเว้นการประพฤติกิจที่เป็นบาปต่างๆ การสมาทานศีลในวันนี้ เช่น รับศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ซึ่งเรียกว่า อุโบสถศีล พระสงฆ์จะได้แสดงพระธรรมเทศนา หรือ ธรรมสากัจฉา หรือ สนทนาธรรมกัน ซึ่งนับว่าเกิดเป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง

 

วันพระหรือวันอุโบสถ
      กำหนดโดยถือการเปลี่ยนแปลงของพระจันทร์ จากเดือนเต็มดวงจนถึงเดือนมืดและกลับเป็นเดือนเต็มดวงอีกครั้ง โดยคืนพระจันทร์เต็มดวงเรียก ขึ้น 15 ค่ำ พระจันทร์ค่อยๆ ดับ นับ แรม 1 ค่ำ 2 ค่ำ ตามลำดับ ถึง 15 ค่ำ เป็นวันพระจันทร์ดับพอดี จากนั้นเริ่มนับขึ้นจากวันขึ้น 1 ค่ำ 2 ค่ำ จนถึงขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันพระจันทร์เต็มดวงอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันครบรอบ 1 เดือน

 

ความสำคัญของวันพระ 
      จากพุทธานุญาตให้มีตัวแทนสงฆ์รูปหนึ่งสวดทบทวนสิกขาบท ที่ทรงบัญญัติไว้เป็นระเบียบปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกและเพื่อความบริสุทธิ์ในเพศสมณะที่ต้องบริบูรณ์ด้วย ศีล สมาธิและปัญญา อันเป็นทางหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงตามเส้นทางของพระพุทธศาสนา โดยมีภิกษุผู้สวดทบทวน เมื่อสวดถึงข้อใดแล้วมีภิกษุรูปใดรูปใดรูปหนึ่งประพฤติผิดข้อบังคับนั้น จะเปิดเผยท่ามกลางที่ประชุม หรือที่เรียกว่าแสดงอาบัติ ซึ่งถือปฏิบัติเช่นนี้สืบต่อๆ กันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ก่อให้เกิดผลดังนี้ คือ
 
     1. เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคณะสงฆ์ ด้วยระเบียบปฏิบัติที่หมั่นทบทวนและเตือนตนด้วยการแสดงการยอมรับในสิ่งที่ตนละเมิด เพื่อแก้ไขต่อไป ในข้อนี้มีปรากฏการณ์เด่นชัดเมื่อครั้งพุทธกาล คือเมื่อครั้งพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะเบาะแว้งแตกความสามัคคีกันภายหลังเมื่อกลับมีความสามัคคีใหม่ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ประชุมทำอุโบสถสวดพระปาฏิโมกข์เป็นกรณีพิเศษ ที่เรียกว่า วันสามัคคีอุโบสถ
 
   2.  การหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้พระธรรมคำสอนไม่คลาดเคลื่อน เลือนหายและทำให้หมู่คณะจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้  วันอุโบสถนั้น นอกเหนือจากเป็นวันสำคัญของทางคณะสงฆ์ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นวันประชุมฟังธรรมของเหล่าพุทธศาสนิกชนตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้

     ในส่วนของพุทธศาสนิกชนนั้น การละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใส เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาผ่านการแสดงออกเป็นรูปธรรมด้วยการทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ก็จริง แต่ในชีวิตประจำวันแล้วโลกภายนอกสำหรับคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนเต็มไปด้วยข้อจำกัดในการกระทำความดีเหล่านั้นให้สมบูรณ์ ดังนั้น วันอุโบสถ จึงเป็นเป็นการปรารภเหตุที่จะให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้มีโอกาสหันกลับมาทบทวนการทำดีดังกล่าว โดยการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนามากขึ้นเป็นพิเศษ  


วันพระ , มหัศจรรย์วันพระ , ทำบุญ , เข้าวัดทำบุญ , ปฏิบัติธรรมวันพระ , วันธรรมสวนะ  ลอุโบสถศีล , ศีลแปด

พิธีรักษาอุโบสถ 
     อุโบสถ แปลอย่างตรงตัวว่า “การเข้าจำ” ถือเป็นอุบายหรือกลวิธีสำหรับขัดเกลากิเลสอย่างหยาบให้เบาบางลง ไม่ให้ทับถมพอกพูนมากขึ้นและเป็นทางนำไปสู่ความสงบระงับอันเป็นความสุขสูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้นพุทธศาสนิกชนจึงนิยมประพฤติปฏิบัติกัน อุโบสถเป็นชื่อของกุศลกรรมอันสำคัญอย่างหนึ่งในพุทธศาสนามี 2 อย่างคือ

      1. ปกติอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันตามปกติธรรมดาในเฉพาะวันและคืนหนึ่งในวันพระ คือ วันขึ้น – แรม 8 ค่ำ 14 หรือ 15 ค่ำ

       2. ปฏิชาครอุโบสถ คืออุโบสถที่รับรักษาเป็นพิเศษกว่าปกติ คือ รักษาคราวละ 3 วัน จัดเป็นวันรับวันหนึ่ง วันส่งวันหนึ่ง เช่น รักษาอุโบสถในวัน 8 ค่ำ ก็รับตั้งแต่วัน 7 ค่ำ 8 ค่ำ รักษา และ 9 ค่ำ เป็นวันส่ง เป็นต้น


ข้อพึงปฏิบัติในเวลารักษาอุโบสถ 
      ในวันพระสาธุชนจะไปวัดทำบุญที่วัดใกล้บ้าน มีการถวายภัตตาหารพระ รักษาศีลและเจริญภาวนา ทำความสะอาดวัด นิมนต์พระเทศน์ให้ฟัง เพราะถ้าไม่มีการสอนธรรมะแล้ว ความรู้ที่แท้จริงก็จะเลือนหายไป เนื่องจากสังคมทุกวันนี้ คนเชื่อ คิด ทำ ต่างๆ นาๆ จนมักไปทำความชั่วหรือดำเนินชีวิตที่ไม่ถูกต้อง และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้กิจกรรมในวันอุโบสถเอื้อต่อการรักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ด้วยดี พุทธศาสนิกชนจึงควรถือปฏิบัติคือ เมื่อถึงวันพระ ต้องละนิวรณ์ นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกั้นใช้หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้น หรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิตใจ  


นิวรณ์ มี 5 อย่างคือ

1. กามฉันท์ ความพอใจติดใจอยู่ในสิ่งที่ชอบใจ คือติดความสุขในกาม 
2. พยาบาท ความคิดร้ายผู้อื่น คือมีความโกรธอาฆาตอยู่ 
3. ถีนมิทธะ ความหดหู่ ท้อแท้ และเคลิบเคลิ้ม เศร้าซึม 
4. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน อึดอัด กลัดกลุ้ม วิตกกังวล และรำคาญใจ 
5. วิจิกิจฉา ความลังเลใจ ตัดสินใจไม่ได้ ความสงสัยกังวล

      ดังนั้นในวันพระ พุทธศาสนิกชนผู้ใคร่ในธรรม ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ทำทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา และควรที่จะสมาทานรักษาอุโบสถศีลด้วย นอกจากนี้ในวันพระ เราก็ไม่ควรกระทำบาปใดๆ ทั้งสิ้น เพราะการทำผิดศีล 5 ในวันพระถือว่าเป็นบาปอย่างยิ่ง 


วันพระ , มหัศจรรย์วันพระ , ทำบุญ , เข้าวัดทำบุญ , ปฏิบัติธรรมวันพระ , วันธรรมสวนะ  ลอุโบสถศีล , ศีลแปด

การเตรียมตัวไปวัดเพื่อทำบุญ
        การเตรียมตัวไปวัดเพื่อทำบุญต้องเตรียมความพร้อม องค์ประกอบ 3 ประการคือ

1. การเตรียมกาย
       ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวเรียบ หรือสีที่ ไม่ฉูดฉาด ไม่หลวมไม่คับเกินไป เนื่องจากจะไม่คล่องตัว ไม่ประดับร่างกายด้วยเครื่องประดับ ไม่ใช้เครื่องประทินผิว เช่น น้ำหอม เป็นต้น รับประทานอาหารแต่พอดี ไม่อิ่มจน อึดอัด เพื่อประทังความหิว เนื่องจากหากมีอาการหิว กระหายจะทำให้จิตใจไม่สบายไปด้วย ควรงดเว้นอาหาร ที่อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย เป็นต้น

2. การเตรียมใจ
        ให้ตัดความวิตกกังวลที่จะเกิดขึ้น เช่น เรื่อง ครอบครัวเรื่องการงานเป็นต้น

3. การเตรียมสิ่งของ
       ให้จัดเตรียมดอกไม้ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ อาหาร หวานคาว รวมถึงสิ่งของอื่น ๆ (ปัจจัยไทยธรรม) เพื่อไป ถวายพระสงฆ์ตามกำลังและความศรัทธา

 

ขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม
     การปฏิบัติกิจกรรมในการทำบุญของแต่ละวัด อาจจะแตกต่างกันในรายละเอียด แต่หลักปฏิบัติโดยส่วนใหญ่แล้วทุกวัดจะปฏิบัติเหมือนกันคือ

     1.การทำวัตรสวดมนต์ (พระสงฆ์จะทำวัตร สวดมนต์ก่อน เมื่อพระสงฆ์ทำวัตรสวดมนต์จบแล้ว อุบาสกอุบาสิกาจึงทำวัตรสวดมนต์ต่อจากพระสงฆ์ บางวัดอาจจะสวดมนต์แปล แต่บางวัดอาจจะสวดมนต์เป็นล้วน ๆไม่สวดแปลให้ทำตามธรรมเนียมของวัดนั้นๆ)

       2.การรับศีล ในวันธรรมดาโดยทั่วไปจะสมาทานศีล 5 ในวันธรรมสวนะ (วันพระ) จะสมาทานอุโบสถศีลหรือศีลอุโบสถมี 8 ข้อ 

          3. การฟังธรรม

          4. การบำเพ็ญจิตภาวนา

          5. การถวายสังฆทาน

 

วันพระ , มหัศจรรย์วันพระ , ทำบุญ , เข้าวัดทำบุญ , ปฏิบัติธรรมวันพระ , วันธรรมสวนะ  ลอุโบสถศีล , ศีลแปด

มหัศจรรย์วันพระ วันพระเกิดเหตุการณ์ใดในนรกและสวรรค์
        ในวันพระตลอดเวลา 1 เดือน ตั้งแต่ข้างแรมจนถึงข้างขึ้น 15 ค่ำ 1 เดือน นี้มีอะไรเกิดขึ้น ในวันนี้ถ้ามนุษย์ทำความดีก็จะถูกเจ้าหน้าที่เขตบันทึกไว้ในแผ่นลานทอง แล้วเจ้าหน้าที่ในแต่ละเขตก็จะรวบรวมแผ่นทอง ไปให้อากาศเทวาเพื่อรวมบัญชีไปให้หัวหน้าอากาศเทวา แล้วรวบรวมไปให้ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 แล้วนำไปถวายท้าวสักกเทวราช หรือพระอินทร์เพื่อรายงาน ท้าวสักกเทวราชก็ทำการประชุมคณะกรรมการเพื่อรายงานในวันโกนหรือก่อนวันพระ 1 วัน  วาระการประชุมมี 2 วาระ คือ 

1. เรื่องราวของดาวดึงส์  
2. เรื่องราวของท้าวจตุโลกบาลที่เอาบัญชีมารายงาน

วันพระ , มหัศจรรย์วันพระ , ทำบุญ , เข้าวัดทำบุญ , ปฏิบัติธรรมวันพระ , วันธรรมสวนะ  ลอุโบสถศีล , ศีลแปด

      เทวดาบางเหล่าดำรงชีวิตด้วยความประมาท เมื่อสิ้นบุญผลแห่งความประมาท วิบากกรรมเก่าจึงส่งผลให้ไปเกิดเป็นเปรตและอสูรกายก็มี ตามกำลังบาป บ้างก็ไม่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็มี เพราะฉะนั้นท้าวสักกเทวราชท่านจึงสอนเอาไว้ว่าอย่าดำเนินชีวิตด้วยความประมาทให้ฉลาดในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง แล้วก็สั่งสมบุญด้วยการเจริญพุทธานุสติ แล้วก็ไปที่จุฬามณี เทวดาบางเหล่าด้วยดำรงชีวิตด้วยความประมาท เมื่อเธอสิ้นบุญ ด้วยผลอันเหลือจากกุศลกรรมในอดีตทำให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ เทวดาบางเหล่าไม่ประมาท มีทิพยสมบัติมาก มีกามอันเป็นทิพย์ที่ประณีต แต่ไม่มัวเมา หมั่นเพิ่มเติมกุศลกรรมด้วยการไปนมัสการพระจุฬามณีหลังจากที่ฟังธรรมในสุธรรมสภาเสร็จแล้ว เมื่อเธอหมดบุญ หมดสิ้นอายุขัยในภพนั้นแล้ว จะกลับมาจุติในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อีก หรือไปเกิดในสวรรค์ชั้นที่สูงขึ้นไปตามกำลังบุญ

วันพระ , มหัศจรรย์วันพระ , ทำบุญ , เข้าวัดทำบุญ , ปฏิบัติธรรมวันพระ , วันธรรมสวนะ  ลอุโบสถศีล , ศีลแปด

บัลลังค์ของท้าวสักกเทวราช

      สรุปว่าเป็นการย้ำให้เทวดาไม่ประมาทให้เจริญพุทธานุสติอยู่เสมอ หลังจากท้าวสักกะให้โอวาทเสร็จ เวลาค่ำของโลกมนุษย์ ท้าวสักกะจะประกาศให้แก่เทวดาที่มาประชุมที่สุธรรมเทวสภาว่า ในช่วงเวลาในวันที่ผ่านมานี่คือวันพระ หมู่มนุษย์ทำบุญ บางพวกก็ดูแลบิดามารดา บางพวกก็ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา มีจำนวนมากน้อยเพียงใด หรือทำกุศลกรรมอะไรต่างๆ เป็นต้น คือจะประกาศในช่วงพระจันทร์ขึ้นในเมืองมนุษย์ จะประกาศถึงมนุษย์และหมู่มนุษย์ว่าพวกไหนที่ทำบุญใหญ่ให้เทวดาทั้งหลายได้อนุโมทนากัน ถ้าช่วงใดที่มนุษย์สร้างบุญน้อยเทวดาที่ดาวดึงส์ก็จะคุยกันในหมู่เทวดาว่าสวรรค์คงจะว่าง นรกคงจะแน่น หากมนุษย์ประมาทในการดำเนินชีวิต หากช่วงใดที่มนุษย์ที่ทำบุญมีจำนวนมากเทวดาที่ดาวดึงส์ก็จะดีใจ รัศมีกายก็จะแพรวพราวทีเดียว จะปรารถว่าในอนาคตสวรรค์คงจะเนื่องแน่น นรกคงจะว่างแน่นอนเลย

วันพระ , มหัศจรรย์วันพระ , ทำบุญ , เข้าวัดทำบุญ , ปฏิบัติธรรมวันพระ , วันธรรมสวนะ  ลอุโบสถศีล , ศีลแปด

เจ้าหน้าที่ในยมโลกจะหยุดพักในวันพระ

      ในช่วงเวลาที่ตรงกับวันพระขึ้น 15 ค่ำ คือวันพักในยมโลก แต่ในมหานรกไม่ได้พัก อุสสทนรกก็ไม่ได้พัก ในช่วงคืนเดือนเพ็ญเจ้าหน้าที่ยมโลกก็จะหยุดทัณฑ์ทรมานสัตว์นรก จะยืนดูเฉยๆ เจ้าหน้าที่บางพวกที่คบกะก็จะกลับไปพักที่จาตุมหาราชิกา แล้วก็จะมีพลัดใหม่เข้ามา พวกที่ยังไม่หมดกะ ก็จะยืนดู ยืนเฝ้าสัตว์นรกไม่ให้หนีไปไหน สัตว์นรกก็จะหมดแรงนอนอยู่กับพื้น บางพวกที่อยู่ในหม้อทองแดงไฟก็จะไม่ลุกไหม้ แต่น้ำในหม้อยังร้อนอยู่ แต่ลดลงมาหน่อย เหมือนไฟในเตาโลกมนุษย์ที่พอดับไฟน้ำก็ยังร้อนอยู่แต่ไม่เดือดพล่าน บางพวกก็ขึ้นมาอยู่บนปากหมอได้ พวกที่กำลังปีนต้นงิ้ว ต้นงิ้วนี้ไม่มีในมหานรก จะมีแต่ในยมโลก ต้นงิ้วในวันพระ หนามงิ้วจะหดกลับเข้าไป สัตว์นรกก็จะมีโอกาสลงมานอนพักอยู่กับพื้น บางพวกก็ร้องควรครางร้องขอความเห็นใจ

     ส่วนเจ้าหน้าที่ที่แปลงร่างเป็นสุนัขปากเหล็ก อีกาปากเหล็ก ก็จะกลับคืนสู่ร่างเดิมที่เป็นกุมภัณฑ์ แต่เจ้าหน้าที่ที่ใกล้จะหมดกรรมจากที่เป็นเจ้าหน้าที่ ก็จะไม่ค่อยมีอารมณ์อยากทำโทษสัตว์นรกซักเท่าใด ก็จะปลอบสัตว์นรกเช่น อดทนหน่อยนะ แต่พอเลยวันพระไปก็จะเริ่มทัณฑ์ทรมานกันต่อไปตามปกติ ถ้าโชคดีญาติที่อยู่บนเมืองมนุษย์อุทิศบุญมาให้ก็จะพ้นกรรมเร็วขึ้น  

      ที่นี้เรามาดูในส่วนของผู้พิพากษาคือพญายมราช พอถึงวันพระใหญ่หรือวันเพ็ญก็จะพักการพิพากษา บางท่านหมดกะก็จะไปพักที่จาตุมหาราชิกา แล้วก็จะมีพญายมราชชุดใหม่มาเปลี่ยนรับหน้าที่แทน พวกที่ยังไม่หมดกะก็มีโอกาสพัก แล้วก็อาจจะไปทานอาหารทิพย์ตามกำลังบุญของตน โดยส่วนใหญ่อาหารจะเป็นเนื้อสดๆ เป็นของสด ของคาว ถ้าหากญาติทำบุญให้ โดยอุทิศแบบเจาะจง สัตว์นรกในยมโลกก็จะได้รับบุญนั้น พอพ้นวันพระแรม 1 ค่ำ ถ้าหากสัตว์นรกหมดกรรมก็จะพามาที่โรงพิพากษาอีกครั้งหนึ่งเพื่อรับรู้ในบุญที่ญาติอุทิศมาให้ แล้วจะส่งไปเกิดตามกำลังบุญ

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.001118548711141 Mins