วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

วันที่ 28 มีค. พ.ศ.2560

วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี

 

การค้นพบวิชชาธรรมกาย
      วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย คือวันที่เหล่าศิษยานุศิษย์ ต่างรำลึกถึงวันที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) สละชีวิตเป็นเดิมพัน ในการปฏิบัติธรรมเพื่อค้นหาสัจธรรมของชีวิต หรือธรรมะที่แท้จริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบในวันตรัสรู้ นั่นก็คือ วิชชาธรรมกาย ซึ่งนับนานกว่า 2,000 ปีหลังพุทธปรินิพพาน ที่คำสอนที่แท้จริงในด้านการปฏิบัติเพื่อบรรลุซึ่งมรรคและผลได้เลือนหายไป คงเหลือไว้แต่คำว่า ”ธรรมกาย” ในพระไตรปิฎกเท่านั้นเอง จนในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 10 พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีได้สละชีวิตในการนั่งสมาธิจนบรรลุธรรมดังที่ได้ กล่าว แล้วในตอนต้น ดังนั้นในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 19 กันยายน 2556 ทางวัดพระธรรมกาย และศิษยานุศิษย์หลวงปู่ทั่วโลกต่างก็ได้จัดให้มีพิธิฉลองวันครูธรรมกายขึ้นเป็นประจำเหมือนอย่างทุกปีที่ผ่านมา 

ธรรมกาย คือ อะไร? 
      นับแต่ครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ประสูติ ในวันเพ็ญเดือน 6 ใน วันนั้นเรียกว่า วันบังเกิดแห่ง ”รูปกาย หรือ กายเนื้อ” ของ พระโพธิสัตว์ หลังจากนั้นที่โคนไม้พระศรีมหาโพธิ์ พระมาหาสมณะได้ทิ้งชีวิตปฏิบัติธรรมอย่างเด็ดเดี่ยว ใต้โพธิบัลลังก์เพื่อแสวงหาความจริงของชีวิต จนพระองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันเพ็ญเดือน 6 นั่นเอง วันนั้นเป็นวันที่เรียกว่า วันบังเกิดแห่ง “ธรรมกาย หรือ กายแห่งการตรัสรู้ธรรม” ดังนั้น ธรรมกาย คือ กายแห่งการตรัสรู้ธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เข้าถึง แล้วทำให้ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพระองค์บริบูรณ์ขึ้นมานั่นเอง หลังจากนั้น 45 พรรษาแห่งการเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ได้เทศนาสั่งสอนให้คนทั้งหลายได้รู้จักธรรมกาย และหนทางปฏิบัติให้เข้าถึงซึ่งธรรมกาย อันเป็นทางเอกสายเดียว และเป็นทางสายกลางที่จะให้มวลมนุษย์ได้เข้าถึงความสุขอันยิ่งใหญ่ หรือ พระนิพพานได้ แต่หลังจากนั้นประมาณ 500 ปีหลังพุทธปรินิพพาน วิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงธรรมกาย ได้หายสาบสูญไปเหลือเพียงแต่คำว่า ธรรมกาย ให้คนรุ่นหลังได้ตีความไปต่างๆ นานา แต่ไม่รู้ว่าแท้ที่จริงแล้วธรรมกายคืออะไร จนในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ที่พระอุโบสถ วัดโบสถ์(บน) บางคูเวียง พระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง (สด จนฺทสโร) ได้สละชีวิตเป็นเดิมพัน ขอนั่งสมาธิแม้ตายก็ไม่ลุกจากที่ หากไม่เข้าถึงธรรมที่พระบรมศาสดาได้เข้าถึง ในที่สุดแห่งความพยายามท่านได้เข้าถึงธรรม ณ ที่นั้น และได้เผยแผ่ธรรม ตลอดจนวิธีปฏิบัติ อันเป็นแม่แบบ และ ต้นแบบ ตามแนวทางของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ อย่างถูกต้องตามร่องลอยของพระพุทธศาสนาจนตลอดชีวิตของท่าน

 

วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย , พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) , ธรรมกาย , วิชชาธรรมกาย , วัดปากน้ำ , วัดบางปลา , วัดโบสถ์บน , วัดสองพี่น้อง , วัดพระธรรมกาย

     ย้อนไปเมื่อ พ.ศ. 2427 ตรงกับรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ ผืนดินรูปดอกบัว ที่แวดล้อมด้วยธารน้ำแห่งตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีเด็กชายคนหนึ่งถือกำเนิดขึ้นในครอบครัวของพ่อค้าข้าวเด็กชายคนนี้ได้ชื่อว่า “สด มีแก้วน้อย” ต่อมาเมื่อเติบใหญ่ได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และครองเพศสมณะเรื่อยมาจนกระทั่งกลายเป็นพระมหาเถระผู้มีคุณูปการอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนา นามว่า พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

    ในปีที่เด็กชายสด มีแก้วน้อย ถือกำเนิดขึ้น ระบบการศึกษาของประเทศสยามมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมือง เพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาทั่วถึงกัน

    อย่างไรก็ตาม ในระยะแรกของการปฏิรูป การเรียนการสอนส่วนใหญ่ยังคงเป็นรูปแบบเดิม คืออยู่ในวัด โดยมีพระภิกษุเป็นผู้สอน พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำในวัยเยาว์จึงเข้าเรียนหนังสือที่วัด เช่นเดียวกับเด็กชายไทยส่วนใหญ่ในยุคนั้น
 

วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย , พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) , ธรรมกาย , วิชชาธรรมกาย , วัดปากน้ำ , วัดบางปลา , วัดโบสถ์บน , วัดสองพี่น้อง , วัดพระธรรมกาย

    ณ วัดสองพี่น้อง พระเดชพระคุณหลวงปู่เรียนหนังสือไทยและขอมกับพระภิกษุน้าชายของท่าน ต่อมาพระน้าชายลาสิกขา ท่านจึงย้ายไปเรียนต่อที่วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม จนสามารถอ่านเขียนทั้งหนังสือไทยและขอมได้อย่างคล่องแคล่วการเล่าเรียนหนังสือไทยและขอมเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อกุลบุตรทั้งหลายในยุคนั้นซึ่งจะต้องบรรพชาอุปสมบทตามประเพณีของชายไทย เพราะจะทำให้สามารถอ่านจารึกในใบลานและศึกษาความรู้ในพระไตรปิฎกที่ส่วนใหญ่จารึกไว้ด้วยอักษรขอมได้

     เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว พระเดชพระคุณหลวงปู่ช่วยบิดาประกอบอาชีพค้าข้าว ต่อมา ขณะที่ท่านอายุได้ 14 ปี บิดาของท่านถึงแก่กรรม ท่านเป็นบุตรชายคนโตจึงต้องรับช่วงทำธุรกิจค้าข้าว และสามารถก่อร่างสร้างตัวจนกระทั่งมีฐานะดีพอสมควรทั้งที่ยังอยู่ในวัยเยาว์

     ในปี พ.ศ. 2446 เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่มีอายุได้ 19 ปี วันหนึ่งท่านเดินทางกลับจากการค้าข้าว ขณะที่นำเรือเปล่ากลับบ้าน ต้องผ่านคลองที่มีโจรชุกชุมและเปลี่ยวมาก เสี่ยงต่ออันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ นั่งเรือไปก็ระแวดระวังอันตรายไปตลอดทาง

     เมื่อผ่านพ้นอันตรายมาแล้ว ท่านก็มาคิดว่า การหาเงินหาทองเป็นเรื่องที่ลำบากจริง ๆ ต่างคนต่างหา ไม่มีเวลาหยุดด้วยกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่รีบเร่งหาให้มั่งมีก็ไม่มีใครนับถือและคบหา บรรพบุรุษของท่านก็ทำมาดังนี้เหมือนกัน แต่ขณะนี้บรรพบุรุษก็ตายไปหมดแล้ว และตัวท่านก็จะต้องตายเหมือนกัน บิดาที่ตายไปก็เอาอะไรไปไม่ได้เลย เสื้อผ้า ข้าวของ หรือแม้ตัวท่าน พี่น้องของท่าน และแม่ของท่าน ก็ไม่ได้ไปด้วยเลย คิดดังนี้แล้ว พระเดชพระคุณหลวงปู่ก็เกิดธรรมสังเวช อยากออกบวชเพื่อแสวงหาทางพ้นทุกข์ ท่านจึงจุดธูปบูชาพระ และตั้งจิตอธิษฐานอุทิศชีวิตแด่พระศาสนาว่า  “ขออย่าให้เราตายเสียก่อน ขอให้บวชเสียก่อนเถิด ถ้าบวชแล้วไม่สึกจนตลอดชีวิต”

     หลังจากตั้งจิตอธิษฐานว่าจะออกบวชตลอดชีวิตแล้ว พระเดชพระคุณหลวงปู่ยังคงตั้งใจทำมาหากินต่อไป รวมเวลาที่ทำอาชีพค้าข้าวได้ 8 ปี สามารถสะสมเงินได้มากพอสมควร และต่อมาท่านมอบเงินจำนวนนี้ให้มารดาเก็บไว้เป็นทุนเลี้ยงชีวิต จะได้ออกบวชอย่างไม่มีกังวล

     ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2449 ขณะที่อายุ 22 ปี พระเดชพระคุณหลวงปู่เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทที่วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ฉายาว่า “จนฺทสโร” การออกบวชของพระเดชพระคุณหลวงปู่มิใช่แค่บวชตามประเพณีเท่านั้น แต่เป็นการบวชที่มีเป้าหมายยิ่งใหญ่ คือ “จะทำพระนิพพานให้แจ้ง นำพาตนเองให้พ้นทุกข์” ในเมื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ยิ่งใหญ่สุดประมาณ แค่คิดอย่างเดียวไม่มีทางถึงจุดหมาย ดังนั้น เมื่อบวชแล้วพระเดชพระคุณหลวงปู่จึงใช้เวลาทุก ๆ วัน อย่างทรงคุณค่า เพื่อก้าวไปให้ถึงจุดหมายด้วยการ...

         - ฝึกธรรมปฏิบัติทุกวัน ไม่เคยขาดแม้แต่วันเดียวนับตั้งแต่วันแรกที่บวช
        - ขวนขวายไปศึกษาหาความรู้จากพระอาจารย์หลายรูป รวมทั้งศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งเป็นคัมภีร์แม่บทของการปฏิบัติธรรม
    - ศึกษาค้นคว้าความรู้ในพระไตรปิฎกเป็นเวลาหลายปีจนเชี่ยวชาญภาษาบาลี จากนั้นจึงมุ่งศึกษาธรรมปฏิบัติให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

     พระเดชพระคุณหลวงปู่ทุ่มเวลาให้กับการทำสมาธิภาวนาอย่างต่อเนื่องทุกวัน ค่อย ๆ สั่งสมความบริสุทธิ์ของใจไปทีละน้อย ๆ ทำให้ใจของท่านหยุดนิ่งมากขึ้นตามลำดับขณะที่ท่านกำลังปฏิบัติธรรมเพื่อแสวงหาความสงบสุขภายในอยู่นั้น ประเทศในอีกซีกโลกหนึ่งกลับทำสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์โดยสิ้นเชิงกับความสงบสุข คือ ก่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น (พ.ศ. 2457)
 

วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย , พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) , ธรรมกาย , วิชชาธรรมกาย , วัดปากน้ำ , วัดบางปลา , วัดโบสถ์บน , วัดสองพี่น้อง , วัดพระธรรมกาย

    ต่อมา ในปี พ.ศ. 2460 (ตรงกับรัชกาลที่ 6) ประเทศสยามส่งกองทหารอาสาไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในปีนั้นพระเดชพระคุณหลวงปู่จำพรรษาอยู่ที่วัดโบสถ์บน ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และได้เข้าสู่สมรภูมิเช่นกัน แต่เป็นสมรภูมิแห่งการต่อสู้กับกิเลสอาสวะ

      ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 พ.ศ. 2460 ระหว่างพรรษาที่ 12 ณ วัดโบสถ์บน พระเดชพระคุณหลวงปู่หวนระลึกถึงความตั้งใจเมื่อครั้งแรกบวชที่จะปฏิบัติให้บรรลุธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากฉันภัตตาหารเช้าแล้ว ท่านจึงเดินเข้าสู่อุโบสถเพื่อปฏิบัติธรรม โดยตั้งปณิธานว่า หากไม่ได้ยินกลองเพลจะไม่ลุกขึ้นจากที่ท่านหลับตาภาวนา “สัมมา อะระหัง” ไปเรื่อย ๆ โดยไม่สนใจความปวดเมื่อยใด ๆ ในที่สุดใจก็ค่อย ๆ สงบลงแล้วรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เห็นเป็นดวงใสบริสุทธิ์ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ติดอยู่ที่ศูนย์กลางกายการเข้าถึงดวงธรรมขั้นต้นนี้ทำให้ท่านมีความสุขตลอดทั้งวัน


วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย , พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) , ธรรมกาย , วิชชาธรรมกาย , วัดปากน้ำ , วัดบางปลา , วัดโบสถ์บน , วัดสองพี่น้อง , วัดพระธรรมกาย

         เย็นนั้น ท่านเข้าไปในอุโบสถอีกครั้ง แล้วนั่งลงทำสมาธิภาวนาอย่างไม่อาลัยในชีวิต

     “ในเมื่อเราตั้งใจจริง ๆ ในการบวช จำเดิมอายุสิบเก้า เราได้ปฏิญาณตนบวชจนตาย ขออย่าให้ตายในระหว่างก่อนบวช บัดนี้ก็ได้บอกลามาถึง 15 พรรษา ย่างเข้าพรรษานี้แล้ว ก็พอแก่ความประสงค์ของเราแล้ว บัดนี้ของจริงที่พระพุทธเจ้าท่านรู้ ท่านเห็น เราก็ยังไม่ได้บรรลุ ยังไม่รู้ ไม่เห็น สมควรแล้วที่จะต้องกระทำอย่างจริงจัง เมื่อตกลงใจได้ดังนี้แล้ว วันนั้นเป็นวันกลางเดือน 10 ก็เริ่มเข้าโรงอุโบสถแต่เวลาเย็น ตั้งสัจจาธิษฐานแน่นอนลงไปว่า ถ้าเรานั่งลงไปครั้งนี้ไม่เห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าต้องการ เป็นอันไม่ลุกจากที่นี้จนหมดชีวิต”

        นอกจากความตั้งใจข้างต้นนี้แล้ว พระเดชพระคุณหลวงปู่ยังตั้งจิตอธิษฐานว่า หากรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว “จะขอเป็นทนายของพระศาสนาไปจนตลอดชีวิต”

     จากนั้น พระเดชพระคุณหลวงปู่ก็ทำความเพียรตามสัจจะที่ตั้งไว้ และเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว (พระธรรมกาย) กลางดึกคืนนั้น

     การแสวงหาธรรมะของท่านด้วยการ “ยอมตายแต่ไม่ยอมแพ้” กลายเป็นแบบอย่างในการสร้างบารมีชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันแก่ศิษยานุศิษย์ของท่านในยุคต่อ ๆ มา


วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย , พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) , ธรรมกาย , วิชชาธรรมกาย , วัดปากน้ำ , วัดบางปลา , วัดโบสถ์บน , วัดสองพี่น้อง , วัดพระธรรมกาย

     เมื่อเข้าถึงพระธรรมกายแล้ว พระเดชพระคุณหลวงปู่นำความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติไปตรวจสอบกับความรู้ในพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง ๆ ที่ท่านเคยศึกษามาเป็นเวลานับสิบปีว่าตรงกันหรือไม่ ก็ปรากฏว่าตรงกัน ทำให้ท่านปลาบปลื้มใจเป็นอย่างยิ่ง

     หลังจากเข้าถึงธรรมแล้ว พระเดชพระคุณหลวงปู่จึงตระหนักว่า ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ลึกซึ้งมาก จะเข้าถึงได้ต้องทำให้ “ใจ” หยุดนิ่งสนิทที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เหนือสะดือ 2 นิ้วมือ ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมในการรับรู้ทางใจ ถ้าใจไม่หยุดก็จะเข้าถึงพระธรรมกายไม่ได้

     “ใจ” ในที่นี้ มิได้หมายถึง “หัวใจ” ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใช้สูบฉีดโลหิตไปหล่อเลี้ยงร่างกาย แต่ หมายถึง “ใจ” ซึ่งเป็นธาตุละเอียด และมีลักษณะเป็นดวงกลมใส มีที่อาศัยอยู่บริเวณศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ในกลางตัวมนุษย์ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่หากฝึกสมาธิไประดับหนึ่งก็จะสามารถเห็นได้

     ในเวลาต่อมาพระเดชพระคุณหลวงปู่เมตตาเทศนาสอนธรรมปฏิบัติ และกล่าวสรุปไว้ว่า “หยุดเป็นตัวสำเร็จ”


วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย , พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) , ธรรมกาย , วิชชาธรรมกาย , วัดปากน้ำ , วัดบางปลา , วัดโบสถ์บน , วัดสองพี่น้อง , วัดพระธรรมกาย

     ก่อนที่พระเดชพระคุณหลวงปู่จะค้นพบวิชชาธรรมกายนั้น วิธีการดำเนินจิตเข้าไปในเส้นทางสายกลางที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายเคยดำเนินไปแล้วนี้ หายไปเกือบ 2,000 ปี ดังที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า

     “...พระพุทธเจ้าไม่เกิดขึ้นในโลกละก็ ธรรมอันนี้ไม่มีใครแสดง ไม่มีใครบอก ไม่มีใครเล่าให้ฟัง ถึงกระนั้นที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับเสียเกือบสองพันปี มาเกิดขึ้นที่วัดปากน้ำนี้แล้ว อุตส่าห์พยายามทำกันไปอย่าได้ดูหมิ่นดูแคลนหนา อย่าได้เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย แก่ยากแก่ลำบากแต่เล็ก ๆ น้อย ๆ เมื่อมาประสบพบพุทธศาสนา พบของจริงละ เข้าถึงของจริงให้ได้...”

     การเข้าถึงพระธรรมกายของพระเดชพระคุณหลวงปู่ นอกจากเป็นการค้นพบวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กลับคืนมาแล้ว ยังเป็นพยานในการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

     นอกจากนี้ การค้นพบของท่านยังช่วยให้ชาวโลกในยุคนี้รู้ว่า ทุกคนมีพระธรรมกายอยู่ในตัวหนทางนิพพานหรือทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) อยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน, ทุกคนมีศักยภาพที่จะบรรลุธรรม ก้าวไปสู่ความเป็นอริยะ จนกระทั่งหลุดพ้นจากความทุกข์ได้โดยเท่าเทียมกัน ด้วยวิธีหยุดใจ

     คำว่า “หยุด” (หยุดใจด้วยการทำสมาธิภาวนา) จึงเปรียบเสมือนกุญแจดอกเดียวที่ใช้ไขปริศนาแห่งชีวิตที่มนุษย์แสวงหามาเป็นเวลายาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสวงหาความสุขที่แท้จริง


วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย , พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) , ธรรมกาย , วิชชาธรรมกาย , วัดปากน้ำ , วัดบางปลา , วัดโบสถ์บน , วัดสองพี่น้อง , วัดพระธรรมกาย

     ต่อมา เมื่อออกพรรษาแล้ว พระเดชพระคุณหลวงปู่เริ่มภารกิจปันความสุข เพื่อปลดปล่อยมวลมนุษย์ให้พ้นจากห้วงทุกข์ ด้วยการมองเข้าไปในใจของท่านว่าจะมีใครสามารถรู้เห็นธรรมได้บ้าง ก็มีภาพวัดบางปลา ตำบลบางเลน จังหวัดนครปฐม ที่ท่านเคยไปเรียนหนังสือเมื่อครั้งยังเป็นเด็กปรากฏขึ้นในใจ ท่านจึงเดินทางไปสอนธรรมปฏิบัติที่วัดแห่งนี้ ปรากฏว่า มีพระภิกษุเข้าถึงพระธรรมกาย 3 รูป และฆราวาสอีก 4 คน บุคคลเหล่านี้ถือเป็นพยานในการบรรลุธรรมของท่านว่าหนทางที่ท่านปฏิบัตินั้นเป็นของจริง หากใครปฏิบัติถูกต้องก็จะเข้าถึงได้เช่นเดียวกัน

     ในราวกลางปี พ.ศ. 2461 (กลางรัชกาลที่ 6) ขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 1 ใกล้จะสิ้นสุดลงพระเดชพระคณุ หลวงปู่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ซึ่งเป็นสถานทีที่ท่านปักหลักค้นคว้าทำวิชชาและสอนธรรมปฏิบัติจนตลอดชีวิต


วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย , พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) , ธรรมกาย , วิชชาธรรมกาย , วัดปากน้ำ , วัดบางปลา , วัดโบสถ์บน , วัดสองพี่น้อง , วัดพระธรรมกาย

     พระเดชพระคุณหลวงปู่ทุ่มเวลาให้กับการบำเพ็ญภาวนาพร้อมกับพระภิกษุ-สามเณร และอุบาสิกา ในโรงงานทำวิชชา (สถานที่ศึกษาวิชชาธรรมกายชั้นสูง) ทั้งวันทั้งคืนเป็นเวลาเกือบ 30 ปี (พ.ศ. 2474 ถึง พ.ศ. 2502) ทั้งนี้เพื่อค้นคว้าความรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ คือ การปราบมาร (กิเลสมาร, เทวบุตรมาร, มัจจุมาร, ขันธมาร และอภิสังขารมาร) ซึ่งเป็นสาเหตุของความทุกข์ ความเบียดเบียน และการรบราฆ่าฟันกันในรูปแบบต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไปจากชีวิตของมนุษย์และสรรพสัตว์

     นอกจากนี้ ท่านยังหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความสุขลงในใจของผู้คนด้วยการสอนทำสมาธิที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ทุกวันพฤหัสบดี และส่งลูกศิษย์ออกไปสอนธรรมปฏิบัติเกือบทุกจังหวัดในประเทศไทย ทำให้กระแสการปฏิบัติธรรมแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางและคึกคัก มีผู้เข้าถึงพระธรรมกายและมีผลการปฏิบัติธรรมที่ดีเป็นจำนวนมาก

     จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2497 พระเดชพระคุณหลวงปู่เรียกประชุมศิษย์ทั้งหมด พร้อมทั้งปรารภว่า อีก 5 ปี ท่านจะมรณภาพ ขอให้ทุกคนช่วยกันเผยแผ่วิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปทั่วโลกให้ได้ เนื่องจากวิชชาธรรมกายสามารถช่วยมนุษย์ทั้งโลกให้หลุดพ้นจากความทุกข์ และเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้มีสันติสุขได้อย่างแท้จริง

     ต่อมา ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่มีอายุได้ 75 ปี รวมพรรษาได้ 53 พรรษา ท่านก็มรณภาพตรงตามเวลาที่ท่านเคยปรารภไว้


วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย , พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) , ธรรมกาย , วิชชาธรรมกาย , วัดปากน้ำ , วัดบางปลา , วัดโบสถ์บน , วัดสองพี่น้อง , วัดพระธรรมกาย

     พระเดชพระคุณหลวงปู่ใช้ทุกคืนวันของท่านบนโลกใบนี้อย่างสุดคุ้มค่าและจากโลกนี้ไปอย่างแสนสง่างาม

     เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ท่านสามารถบรรลุเป้าหมายอันสูงส่งที่ตั้งไว้ทุกประการ คือ

     ◊ สามารถดำรงเพศสมณะได้จนตลอดชีวิต ดังที่ตั้งมโนปณิธานไว้เมื่อครั้งอายุ 19 ปี
     ◊ สามารถทำพระนิพพานให้แจ้ง ได้รู้เห็นธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังที่ตั้งใจไว้เมื่อแรกบวช
   ◊ สามารถเป็นทนายให้พระศาสนาได้ตลอดชีวิต ดังที่เคยตั้งสัจจาธิษฐานไว้ก่อนเข้าถึงพระธรรมกายในคืนวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 พ.ศ. 2460
     แม้ละจากโลกนี้ไปแล้ว ความปรารถนาของท่านที่ต้องการให้วิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแผ่ขยายไปทั่วโลกก็บังเกิดเป็นจริง โดยมีคณะศิษยานุศิษย์ทุ่มเทชีวิตจิตใจสืบสาน


วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย , พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) , ธรรมกาย , วิชชาธรรมกาย , วัดปากน้ำ , วัดบางปลา , วัดโบสถ์บน , วัดสองพี่น้อง , วัดพระธรรมกาย

      เนื่องในวาระ “วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย” วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10  ลูกหลานของพระเดชพระคุณหลวงปู่ทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศต่างพร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย เพื่อแสดงความกตัญญูต่อท่าน

     หลังจากกระทำอามิสบูชาและตรึกระลึกถึงพระเดชพระคุณหลวงปู่ตลอดทั้งวันจนกระทั่งปีติเบิกบานใจดีแล้ว ค่ำคืนอันศักดิ์สิทธิ์นี้ จะเป็นคืนที่ลูกหลานของพระเดชพระคุณหลวงปู่ทั่วโลกพร้อมใจกันนั่งสมาธิภาวนา เพื่อปฏิบัติบูชาแด่พระเดชพระคุณหลวงปู่ พระผู้ปราบมาร และเพื่อเป็นการระลึกถึงวันแห่งชัยชนะของท่าน ที่สำคัญค่ำคืนนี้ยังเป็นโอกาสพิเศษสุดในรอบปีของลูกหลานพระเดชพระคุณหลวงปู่ทุกคนที่จะเก็บเกี่ยวบุญละเอียด อันจะมีผลต่อการเข้าถึงธรรมซึ่งเป็นสาระสำคัญที่สุดในการเกิดมาเป็นมนุษย์อีกด้วยปณิธานของท่านตลอดมา และจะยังคงเดินหน้าทำต่อไป

 

คาถาบูชาหลวงปู่สด

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

     โยธะ จันทะสะโร ธัมมะ กายัสสะ กุสะโล วะโร คุณาธิโก มะหาเถโร สิเรนะตัง
นะมามิหัง นะมะการานุภาเวนะ สะทาโสตถี ภะวันตุ เม

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.041124566396077 Mins