ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในตะวันตก

วันที่ 21 เมย. พ.ศ.2560

ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในตะวันตก

ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในตะวันตก, DOU, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ความรู้พระพุทธศาสนา, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

   ชาวตะวันตกมีโอกาสัมผัสถิ่นพระพุทธศาสนาครั้งสำคัญ ในสมัยที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรีกกรีฑาทัพบุกอินเดียในระหว่างปี 326323 ก่อนคริสต์ศตวรรษ ซึ่งตรงกับ พ.ศ.217-220 หรือหลังพุทธปรินิพพานได้ 217-220 ปี ซึ่งในขณะนั้นพระพุทธศาสนาดั้งเดิมคือเถรวาทกำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ในอินเดีย ระยะเวลาประมาณ 3 ปีแห่งการมาของกองทัพกรีกครั้งนั้น เป็นไปได้ว่ามีการศึกษาและแลกเปลี่ยนวันธรรมระหว่างกันพอสมควร ทหารกรีกคงได้สัมผั พระพุทธศาสนาผ่านวิถีชีวิตของชาวพุทธในอินเดีย มัยนั้นไม่มากก็น้อย และคงเล่าขานต่อๆ กันไปในยุโรปหลังจากที่ทหารเหล่านั้นกลับไปยังอาณาจักรมาซิโดเนียของตนแล้ว

    เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ยกทัพกลับแล้ว จันทรคุปต์ก็สามารถยึดเมืองปาฏลีบุตรจาก "พระเจ้านันท์" แห่งกรีกได้สำเร็จ และปราบดาภิเษกตนเองเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โมริยะในเมืองปาฏลีบุตร เมื่อปี พ.ศ.222 และได้ปกครองอยู่นาน 26 ปี ในรัชสมัยของพระองค์ เมกาสเธเนส (Magasthenes) เอกอัครราชทูตจากเมืองอเล็กซานเดรียแห่งกรีก ได้เดินทางมายังเมืองปาฏลีบุตร และได้บันทึกเรื่องพราหมณ์และ มณะทั้งหลายในอินเดียไว้นักเขียนกรีกและละตินหลายท่านใช้บันทึกนี้อ้างอิงเรื่องราวในอินเดีย

     เมื่อถึงยุคของพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ.276-312) ได้มีการจัดส่งสมณทูตออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนต่างๆ เสถียร โพธินันทะ ปราชญ์ด้านพระพุทธศาสนากล่าวว่า ในครั้งนั้นพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ไปสู่ประเทศกรีกในทวีปยุโรปด้วย

     คำว่า พระพุทธเจ้า ปรากฏครั้งแรกในเอกสารของกรีก เมื่อกาลผ่านไป 500 ปีหลังจากเมกา เธเน คลีเมนท์ (clement) เสียชีวิต ซึ่งเขียนพรรณนาไว้เมื่อ พ.ศ.743 ว่า "ชาวอินเดียทั้งหลายได้ปฏิบัติเคร่งครัดซึ่งศีลของพระพุทธเจ้าและเคารพนับถือพระพุทธเจ้าดุจเทพเจ้า..." หลังจากนั้นชาวตะวันตกไม่ค่อยได้รับรู้พระพุทธศาสนาอีกจนกระทั่ง พ.ศ.1797 นักบวชวิลเลม แวน ลุยส์โบรก และนักบวชนิกายฟรานซิสแกน ผู้เดินทางไปอยู่ในเมืองคะราโกรัมนาน 6 เดือน ได้เขียนหนังสือชื่อ Itinerarium บรรยายเรื่องภิกษุลามะในประเทศทิเบตได้อย่างถูกต้องพร้อมกล่าวถึงบทสวดมนต์ ...โอม มณี ปัทเม หุม...ด้วย

 อย่างไรก็ตาม ชาวตะวันตกได้รับทราบเรื่องราวพระพุทธศาสนาโดยละเอียดถูกต้องสมบูรณ์จากหนังสือ Description of the World ของมาร์โค โปโล (Marco Polo) ซึ่งเดินทางไปอยู่ในประเทศจีนนานถึง 16 ปี ระหว่าง พ.ศ.1818 - พ.ศ.1834 ได้พบพุทธศาสนิกชาวจีนมากมาย เขาเขียนไว้ว่า "ตำบลซาจู อยู่ในเมืองตังกุก ประชาชนทั้งหลายนับถือพุทธปฏิมายกเว้นชาวเตอร์ก และพวกซะราเซนบางคนที่เป็นคริสเตียน ประชาชนที่นับถือพุทธปฏิมาเหล่านี้มีภาษาพูดของตัวเอง ไม่ประกอบการค้าขาย เลี้ยงชีพด้วยการเพาะปลูกธัญพืช มีภิกษุและวัดมากหลาย วัดทั้งหลายมีพุทธปฏิมาแบบต่างๆ ประชาชนเคารพนับถือพุทธปฏิมาเหล่านั้นอย่างท่วมท้นหัวใจ..."

     เมื่อ มาร์โค โปโล เดินทางกลับจากประเทศจีนมาถึงประเทศอิตาลี เขาได้เล่าเรื่องดังกล่าวแก่ชาวอิตาลีแม้ไม่ค่อยมีคนเชื่อ แต่ภายหลังพระสันตะปาปา นิโคลา ที่ 4 (Nicholas) ก็ได้จัดส่งพวกนักบวชไปสืบพระพุทธศาสนาในประเทศจีน โดยท่านแรกคือ นักบวชจอห์น แห่งมอนเตคอร์วิโน เขาพำนักอยู่ที่จีนหลายปี และได้ส่งจดหมายทูลรายงานพระสันตะปาปาถึงความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในประเทศจีน หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการจัดส่งพวกนักบวชคริสต์ไปเป็นระยะๆ เรื่องราวการเดินทางของนักบวชเหล่านี้ก่อให้เกิดความสนใจแก่ชาวยุโรปมาก ในปี พ.ศ.2085 บาทหลวงฟรานซิสคัสซาเวริอุ (Franciscus Xaverius) แห่งประเทศ เปนเดินทางมาอินเดียและอีก 1 ปีหลังจากนั้นได้เดินทางไปถึงกัว (Gua) ครั้งนั้นบาทหลวงได้พบพ่อค้าชาวญี่ปุ่นชื่อ ยาจิโร (Yagiro) พ่อค้าผู้นี้เล่าให้ฟังถึงเรื่องพุทธประวัติและหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา คณะนักบวชคริสต์จึงบันทึกเรื่องราวเหล่านี้รายงานกลับไปยังทวีปยุโรปทั้งหมด แต่มิได้มีการจัดพิมพ์เผยแพร่ส่วนมากจะเก็บรักษาไว้ในห้องสมุด

     ต่อมาเมื่อถึงยุคล่าอาณานิคมตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 หรือตั้งแต่ พ.ศ.2144 เป็นต้นไปประเทศในแถบตะวันตกหลายประเทศทยอยกันออกล่าเมืองขึ้น เช่น เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี โปรตุเกส เบลเยี่ยม อิตาลี รั เซีย และ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ได้เข้ายึดครองประเทศด้อยพัฒนาในทวีปเอเชีย แอฟริกา และโอเชียเนียไว้ได้มากมาย ในช่วงนี้จึงมีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนวันธรรมไปสู่กันและกัน ชาวตะวันตกจำนวนไม่น้อยได้สัมผัสพระพุทธศาสนาในยุคนี้ นอกจากนักล่าเมืองขึ้นแล้วคณะมิชชันนารีจากยุโรปหลายคณะก็ได้เดินทางมาเผยแพร่คริสต์ศาสนาด้วย โดยเข้ามาในประเทศจีน ญี่ปุ่น ไทย ศรีลังกา และประเทศอินโดนีเซียคริสต์ศาสนจักรหลายประเทศอาศัยฝ่ายการเมืองเป็นเครื่องมือบังคับให้ชาวเอเชียในประเทศที่ตกเป็นเมืองขึ้นเปลี่ยนศาสนา แต่ถึงกระนั้นก็มีชาวตะวันตกอยู่ไม่น้อยที่เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ เรื่องราวพระพุทธศาสนาในเอเชียก็ถูกส่งกลับไปให้ชาวตะวันตกได้ศึกษากันอย่างต่อเนื่อง

  รายงานที่คณะมิชชันนารีส่งไปกลับไปประเทศในตะวันตกนั้น ได้จากการสังเกตและสนทนากับพุทธศาสนิกชนเป็นหลัก มิได้เป็นความรู้ที่ได้จากการค้นคว้าคัมภีร์พระพุทธศาสนา จนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ค.ศ.1801-1900 หรือ พ.ศ.2344-2443) หนังสือไวยากรณ์ภาษาบาลีเล่มแรก ที่จัดพิมพ์เผยแพร่ในทวีปยุโรป เป็นผลงานของเบอร์นูฟ และ แล เซน เบอร์นูฟเป็นคนแรกที่บอกว่า ชาวยุโรปคนแรกที่ศึกษาภาษาบาลีคือ บาทหลวงซิมมอน เดอ ลา ลู แบร์ (Simon de la Loubere) ซึ่งเป็นผู้ร่วมคณะเอกอัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เดินทางมาประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อพ.ศ.22302231 บาทหลวงซิมมอน เดอ ลา ลู แบร์ ได้พิมพ์หนังสือ Description du Royaume de Siam  เผยแพร่ใน พ.ศ.2234 โดยแทรกเรื่องประวัติพระเทวทัตและพระปาติโมกข์ย่อเอาไว้ด้วย ต่อมาในศตวรรษที่ 20 เป็นยุคทองของนิกายมหายาน ชาวพุทธนิกายมหายานหลายนิกายเข้าไปเผยแผ่ในตะวันตกและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี พุทธศาสนิกชนในแต่ละประเทศจึงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตราบกระทั่งปัจจุบัน

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0016677697499593 Mins