จะศึกษาประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการอย่างไร

วันที่ 10 กพ. พ.ศ.2560

จะศึกษาประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการอย่างไร

   เมื่อทราบความสำคัญของประวัติศาสตร์แล้ว เราจะศึกษาประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการอย่างไรจึงจะถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุด การศึกษาประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือศึกษาในฐานะเป็นนักประวัติศาสตร์ และศึกษาในฐานะบุคคลทั่วไป การศึกษาประวัติศาสตร์ในฐานะเป็นนักประวัติศาสตร์นั้นค่อนข้างจะมีความซับซ้อน เพราะจะต้องมีการตั้งสมมติฐานรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จากนั้นจึงเรียบเรียงเป็นตำราประวัติศาสตร์ขึ้นส่วนการศึกษาประวัติศาสตร์ในฐานะเป็นบุคคลทั่วไป จะเป็นการศึกษาผลงานที่
นักประวัติศาสตร์เรียบเรียงขึ้นจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วข้างต้น การศึกษาประวัติศาสตร์ในลักษณะนี้
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างน้อยจะต้องมีองค์ประกอบดังนี้

 ศึกษาด้วยความสนใจใคร่รู้ในประวัติศาสตร์

   นักศึกษาจำนวนมากมักจะเบื่อวิชาประวัติศาสตร์ เพราะไม่เล็งเห็นถึงคุณประโยชน์ของเรื่องราวในอดีต จึงมักศึกษาไปเพื่อให้พอสอบผ่าน ไม่ได้ศึกษาด้วยความสนใจใคร่รู้ในประวัติศาสตร์จริงๆ ด้วยเหตุนี้จึงไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร เมื่อเรียนจบแล้วจึงแทบจะไม่ได้บทเรียนอะไรจากประวัติศาสตร์เลย นักศึกษาควรจะมีความใฝ่รู้เหมือนดังเช่นสามเณรราหุลที่ปรารถนาจะศึกษาความรู้ในแต่ละวันให้มากที่สุด ให้เท่ากับปริมาณเม็ดทรายในมือที่กำขึ้นในแต่ละวัน

ศึกษาด้วยการใช้ความจำประกอบกับความเข้าใจ

   การศึกษาสิ่งใดก็ตาม ความจำ กับความเข้าใจ ต้องไปด้วยกันจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดหากเราจำได้แต่ไม่เข้าใจ ตัวเราก็ไม่ต่างอะไรกับ   เก็บข้อมูลตัวหนึ่งแค่นั้นเอง เมื่อจำได้แต่ไม่เข้าใจก็จะไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ กล่าวไว้ว่า "ปัญหาที่เป็นเกณฑ์ยึดเหนี่ยวทางประวัติศาสตร์จึงไม่ได้อยู่ที่ว่าเราจะจำอะไรได้ทั้งหมด แต่ขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะรู้ลึกซึ้งถึงความหมายของสิ่งที่เรารู้หรือจำนั้นได้อย่างไร"

นักประวัติศาสตร์มีหน้าที่สำคัญในการวิเคราะห์หาสาเหตุของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตจากหลักฐานต่างๆ แล้วเขียนสาเหตุที่ตนวิเคราะห์ได้ไว้ในตำรา นักศึกษาที่ศึกษาผลงานของนักประวัติศาสตร์เหล่านั้นจึงต้องตรองดูสาเหตุที่เขียนขึ้นเหล่านั้น แล้วใช้ประสบการณ์ตนเองวิเคราะห์พิจารณาว่า เห็นด้วยหรือไม่อย่างไร การหมั่นวิเคราะห์พิจารณาอย่างนี้จะทำให้เกิดความเข้าใจประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้ง ในขณะเดียวกันผู้เขียนเห็นว่า ความจำก็มีความสำคัญ จะอาศัยเพียงความเข้าใจอย่างเดียวโดยที่จำเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ได้เลย
เวลาจะนำไปใช้หรืออธิบายให้คนอื่นฟังก็ไม่องอาจ หรืออธิบายได้เพียงหลักการเท่านั้นขาดตัวอย่าง
ประกอบที่ชัดเจนจึงทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจเท่าที่ควร

ศึกษาโดยคำนึงถึงเจตจำนงของผู้เขียนประวัติศาสตร์

   จากที่กล่าวข้างต้นว่า ผลงานทางประวัติศาสตร์เกิดขึ้นจากการตีความหมายจากหลักฐานของนักประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ ประวัติศาสตร์ จึงไม่ใช่เป็นอดีตในตัวของมันเองเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวเนื่องมาถึงความคิดของนักประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอดีตนั้นๆ ด้วย ผู้ศึกษาตำราประวัติศาสตร์จึงต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับความคิดที่ขึ้นลงอยู่ในจิตใจของผู้เขียนประวัติศาสตร์ยุคนั้นสมัยนั้น จะต้องศึกษาความเป็นไปในชีวิตของนักประวัติศาสตร์ควบคู่ไปกับการศึกษาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ด้วย ทั้งนี้เพราะนักประวัติศาสตร์ในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งย่อมต้องถูกหล่อหลอมทางความคิดจิตใจให้เป็นไปตามสิ่งแวดล้อมตามภาวการณ์ต่างๆ ไม่
มากก็น้อย ผลงานทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการเขียนของเขาจึงอาจถูกวางรูปและถูกกำหนดขอบเขตขึ้นด้วยอิทธิพลของกาล มัยและ ถานที่ในชีวิตของเขา การที่เราจะพิจารณาหาคุณค่าของประวัติศาสตร์จึงต้องทำควบคู่ไปกับทัศนคติและบุคลิกของนักประวัติศาสตร์แต่ละคน

ศึกษาแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

   การจะศึกษาประวัติศาสตร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น เราจะต้องคำนึงเสมอว่า เหตุการณ์และหลักการต่างๆ ที่เราศึกษานั้น จะนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร และให้หมั่นนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย หากทำได้เช่นนี้การศึกษาประวัติศาสตร์ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด และเมื่อเกิดเหตุการณ์หรือปัญหาสำคัญในชีวิตของเรา อุปนิสัยที่เราได้ฝึกฝนไว้อย่างดีแล้วนี้ จะทำให้เรานึกย้อนถึงความรู้ต่างๆ ที่เราเคยได้ศึกษามา และสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาแก้ปัญหาชีวิตได้ทันท่วงที หากไม่ฝึกให้เป็นนิสัย
เช่นนี้ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น จะไม่สามารถนำความรู้ที่ศึกษามาใช้ในการแก้ปัญหาได้ จะเป็นเหมือนกับสุภาษิตโบราณว่า ความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด

จะศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาด้วยวิธีการอย่างไร

   วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนอกจากนี้นักศึกษาก็ควรจะศึกษาให้เกิดความซาบซึ้งในคุณของพุทธบริษัทในอดีต ที่ได้รักษาและเผยแผ่ สืบทอดพระพุทธศา นามาได้จนถึงปัจจุบัน ให้เราทั้งหลายได้มีพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งสำหรับเป็นแสง ว่างนำทางชีวิต และควรช่วยกัน สืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวออกไป โดยให้ยึดเอาปฏิปทาของพระสาวกสาวิกาในอดีต เป็นต้นแบบและเป็นกำลังใจในการทำงานพระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบัน


GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.001353398958842 Mins