ทำไมต้องศึกษาประวัติศาสตร์

วันที่ 09 กพ. พ.ศ.2560

 

ทำไมต้องศึกษาประวัติศาสตร์

        นักศึกษาหลายท่านอาจสงสัยว่า ทำไมจึงต้องศึกษาประวัติศาสตร์ เพราะประวัติศาสตร์เป็นอดีตที่จบไปแล้ว จะไปศึกษาให้เสียเวลาทำไม ชีวิตเราจะต้องก้าวต่อไปข้างหน้า จะถอยหลังไปศึกษาเรื่องราวเก่าๆ ทำไม คำถามนี้ นักประวัติศาสตร์หลายท่านให้คำตอบค่อนข้างจะใกล้เคียงกันคือศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับปัจจุบันบ้าง ศึกษาเพื่อนำความรู้ในอดีตมาสร้างความเจริญก้าวหน้าในปัจจุบันบ้าง และศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการคาดคะเนความเป็นไปในอนาคตบ้าง

 

ศึกษาเพื่อเป็นบทเรียนสำหรับปัจจุบัน
      เหตุการณ์ทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมหมุนเวียนกลับไปหาทางเก่าเสมอ จนฝรั่งตั้งเป็นสุภาษิตขึ้นว่า "History repeats itself " ซึ่งหมายถึง ประวัติศาสตร์มักเกิดขึ้นซ้ำเดิมหรือกล่าวสั้นๆ ว่า ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยนั่นเอง เหตุการณ์ต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตก็มักจะเกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคตด้วย แต่อาจจะเปลี่ยนสถานที่ บุคคล และรูปแบบเท่านั้นเอง เช่น ในอดีตมีสงคราม ปัจจุบันก็มี สงคราม และมีแนวโน้มว่าจะมีต่อไปในอนาคตด้วย การเกิดขึ้นและเสื่อมสลายของมหาอาณาจักรต่างๆ ภัยธรรมชาติต่างๆ ที่เราประสบในปัจจุบัน เช่น ภัยสึนามิ เป็นต้น ก็ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก แต่เคยเกิดขึ้นมาแล้วเช่นกันในอดีต

    ดังนั้น เมื่อเหตุการณ์ในโลกมักเกิดขึ้นซ้ำๆ กันอย่างนี้ หากเราศึกษาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า มีสาเหตุมาจากอะไร จะป้องกันและแก้ไขอย่างไร ก็จะได้นำความรู้นั้นมาเป็นบทเรียนในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ช่วยในการตัดสินใจ เมื่อจำเป็นต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ โดยอาศัยแนวประสบการณ์ของมนุษย์ในอดีต บทเรียนเหล่านั้นจะเปรียบประดุจแผนที่สำหรับการเดินทางของมวลมนุษยชาติ ดังที่ศาสตราจารย์อาร์โนลด์ ทอยน์บีนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษกล่าวว่า "บทเรียนจากประวัติศาสตร์นั้น ผิดกับการทำนายโชคชะตาทางวิชาโหราศาสตร์ แต่เปรียบได้กับแผนที่ของนักสำรวจและนักเดินเรือทางทะเล ซึ่งให้ความหวังเป็นอย่างมากแก่นักเดินเรือผู้มีสติปัญญาสามารถใช้แผนที่นั้นเป็นแนวทางหลีกเลี่ยงการอับปาง ดีกว่าจะแล่นเรือไปอย่างคนตาบอด แผนที่นั้นจะช่วยบอกทิศทางให้ชาวเรือผู้นั้นนำเรือของเขาผ่านหินโสโครกและเกาะแก่งต่างๆ ที่บอกตำแหน่งไว้ให้แล้วได้อย่างปลอดภัย"

- ศึกษาความรู้ในอดีตเพื่อนำมาต่อยอดสร้างความเจริญก้าวหน้าในปัจจุบันปัจจุบันโลกของเราเจริญก้าวหน้าไปมากโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษย์สามารถเดินทางไปดวงจันทร์อันห่างไกลได้สามารถเดินทางไปบนอากาศเหมือนนกได้ด้วยเครื่องบินสามารถติดต่อ สื่อสารกันข้ามประเทศข้ามทวีปได้ด้วยโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตความเจริญก้าวหน้าเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากอัจฉริยภาพของนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันเพียงอย่างเดียว หากแต่เกิดจากการที่นักวิทยาศาสตร์แต่ละยุคศึกษาสิ่งที่บรรพบุรุษได้ค้นพบไว้ในอดีต
และนำมาพันาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสืบต่อไปกันมาเรื่อยๆ จนกระทั่งปัจจุบัน แม้แต่อัลเบิร์ต ไอน์ ไตน์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกที่กล่าวขานกันว่ามีความเป็นอัจฉริยะมาก ยังต้องเริ่มต้นศึกษาความรู้และทฤษฎีต่างๆ ในอดีตที่นักวิทยาศาสตร์ยุคก่อนๆ ได้ค้นพบไว้

   อัลเบิร์ต ไอน์ ไตน์ไม่ได้คิดเองทั้งหมด แต่เป็นลักษณะของการศึกษาแล้วต่อยอดความรู้เขามีนิสัยรักการเรียนรู้มาตั้งแต่เด็ก ชอบศึกษาตำราคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เป็นต้นโดยมักจะอ่านจากหนังสือด้วยตนเองและ อบถามจากผู้รู้ท่านต่างๆ เมื่อครั้งที่อัลเบิร์ต ไอน์ ไตน์เรียนอยู่ที่มหาวิยาลัยโปลิเทคนิคแห่งสหพันธรัฐสวิส เขามีความตั้งใจว่า "จะอ่านหนังสือในห้องสมุดให้หมดทุกเล่มก่อนเรียนจบ" หนังสือทุกเล่มไม่ว่าจะเป็นวิชาใดก็ตามก็คือบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่มนุษย์ในแต่ละยุคเขียนขึ้นเพื่อให้คนยุคหลังได้ศึกษา เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาเริ่มต้นค้นคว้าใหม่ ในสิ่งที่บรรพบุรุษได้ค้นพบแล้ว

ศึกษาเพื่อคาดคะเนความเป็นไปในอนาคต
   นักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า ก่อนที่เราจะก้าวสู่อนาคต เราต้องไขกุญแจย้อนสู่อดีต ทั้งนี้เพราะทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคตมีความ สืบเนื่องกัน กล่าวคือ อดีตเป็นเหตุ ปัจจุบันเป็นผล และปัจจุบันเป็นเหตุ อนาคตเป็นผล หรือกล่าวง่ายๆ ว่า ปัจจุบันเป็นผลิตผลของอดีต ส่วนอนาคตเป็นผลิตผลของปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้การที่เราจะเข้าใจปัจจุบันก็ต้องศึกษาความเป็นมาในอดีตในฐานะเป็นต้นเหตุ และเมื่อเข้าใจปัจจุบันแล้วก็จะสามารถมองอนาคตได้ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้เพราะอนาคตเป็นผลิตผลของปัจจุบัน บุคคลที่ศึกษาเรื่องราวอดีตได้มากและลึกเท่าไร ก็จะเข้าใจปัจจุบันและมองอนาคตได้ไกลและชัดเจนขึ้นเท่านั้น เปรียบเสมือนการยิงธนู บุคคลที่ดึงสายธนูมาด้านหลังได้มากเท่าไร ก็จะสามารถยิงลูกธนูส่งไปข้างหน้าได้ไกลมากเท่านั้น บุคคลที่มองอนาคตได้กว้างไกลและชัดเจนจะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่าคนทั่วไป ทั้งนี้เพราะเมื่อทราบทิศทางความเป็นไปของโลกได้ล่วงหน้า ก็สามารถเตรียมการรองรับได้ ทันท่วงที เมื่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นได้เกิดขึ้นจริง ก็จะมีความพร้อมที่จะจัดการกับเหตุการณ์เหล่านั้นได้เป็นอย่างดี

วงการธุรกิจปัจจุบันเรียกสิ่งนี้ว่า "วิสัยทัศน์" ใครที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลชัดเจนและ
ถูกต้อง ก็จะประสบความสำเร็จได้มากกว่าบุคคลอื่น
บิลล์ เกตส์ เป็นบุคคลหนึ่งที่ประสบความ
สำเร็จในธุรกิจมาก เป็นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกันหลายปี ในสมัยที่เขาทำธุรกิจ
คอมพิวเตอร์ใหม่ๆ เขามองว่า "น้ำมันใต้ดินสำหรับยุคข้อมูลข่าวสารไม่ใช่ "ฮาร์ดแวร์" แต่เป็น
"ซอฟต์แวร์" และเมื่อถึงเวลาที่บริษัทอย่าง  พูดว่าฮาร์ดแวร์จะเป็นผู้นำ
บิลล์ เกตส์ บอกว่า
"ปล่อยให้พวกเขาคิดไป" เขาเห็นภาพในอนาคตว่า "จะมีคอมพิวเตอร์อยู่บนโต๊ะเขียนหนังสือ
ทุกตัว มีคอมพิวเตอร์ในทุกบ้าน และไมโครซอฟต์จะเป็นซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์
ทั้งหมดนั้น"
ด้วยวิสัยทัศน์เช่นนี้ บิลล์ เกตส์ และไมโครซอฟต์จึงมุ่งพันาซอฟต์แวร์อย่าง
จริงจังเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนั้น ในที่สุดวิสัยทัศน์ของเขาก็ถูกต้อง กล่าวคือ
ในปี พ.ศ.2538 บริษัทไมโครซอฟต์เข้าครอบครองซอฟต์แวร์ตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
อย่าง มบูรณ์ ระบบปฏิบัติการ "วินโดวส์" ของไมโครซอฟต์มีอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ถึง 90
ในขณะที่ระบบปฏิบัติการของ IBM คือ "OS/2" ครองตลาดได้เพียง 5-6% เท่านั้น กว่าที่
บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง  จะรู้ตัวและปรับทิศทางได้ทันก็สายไปเสียแล้ว บริษัทขาดทุนมหาศาล
ถึง 16,000 ล้านเหรียญ และเกือบจะต้องปิดกิจการ

   ทำไม บิลล์ เกตส์ จึงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลและถูกต้องแม่นยำเช่นนี้สาเหตุสำคัญประการหนึ่งนอกเหนือจากทานบารมีและปัญญาบารมีที่สั่งสมมาในอดีตคือ การศึกษาหาความรู้อันเป็นพื้นฐานทางปัญญาในปัจจุบัน เจมส์ วัลเลซ กล่าวไว้ว่า "การอ่านหนังสือของเกตส์ก็เหมือนกับความคลั่งไคล้ในคอมพิวเตอร์ โดยที่เขาจะลุยอ่านอัตชีวประวัติบุคคลมากมายอาทิ แฟรงคลิน รู เวล, นโปเลียน และคนอื่นๆ เป็นต้น และเขาจะอ่านเพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เพื่อจะดูว่าประวัติศาสตร์สอนอะไรบ้าง..."

ทำไมต้องศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา

   เหตุผลในการศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศา นาก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้นบทเรียนแห่งความสำเร็จและความล้มเหลวขององค์การพระพุทธศาสนาในอดีต จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขความสำเร็จให้เกิดขึ้นกับงานพระพุทธศาสนาในปัจจุบันและอนาคต การเทศน์สอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถือว่าเป็นแบบแผนที่ดีในการใช้บทเรียนจากอดีตมาแก้ไขข้อบกพร่องในปัจจุบัน กล่าวคือ พระองค์มักจะระลึกชาติถึงบุพกรรมของพระภิกษุแต่ละรูปในอดีต เพื่อให้ท่านตระหนักและแก้ไขจะได้ทำปัจจุบันให้สมบูรณ์ ด้วยพุทธวิธีนี้เองจึงทำให้พระภิกษุที่ได้ฟังพระดำรัสของพระองค์เกิดความซาบซึ้ง ประพฤติปฏิบัติตามจนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มากมาย หลักธรรมต่างๆ ที่พระองค์นำมาตรัสอนจึงไม่ได้เป็นสิ่งใหม่ หากแต่เป็นประวัติศาสตร์ในรูปแบบต่างๆ คือ เป็นประวัติชีวิตของพระภิกษุแต่ละรูปบ้าง เป็นประวัติการสร้างบารมีของพระองค์ซึ่งปรากฏอยู่ในชาดกต่างๆ บ้าง

แม้แต่หลักธรรมอันลึกซึ้งอย่าง ปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา ก็ไม่ได้เป็นสิ่งใหม แต่เป็นของเก่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตเคยตรัสอนไว้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ศึกษาค้นคว้าหลักธรรมนั้นด้วยการเจริญสมาธิภาวนาจนตรัสรู้ แล้วได้นำมาตรัสอนพุทธบริษัทต่อไป พระองค์จะมาตรัสรู้หรือไม่ก็ตามแต่หลักธรรมดั้งเดิมนั้นก็ยังคงอยู่ เหมือนดังที่พระองค์ตรัสไว้ในปัจจัยสูตรว่า "พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้นคือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยาม อิทัปปัจจัย ก็ยังดำรงอยู่ พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ทั่วถึงซึ่ง
ธาตุอันนั้น ครั้นแล้ว ย่อมตรัสบอก ทรงแ ดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้นและตรัสว่าท่านทั้งหลายจงดู..."


GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.062716734409332 Mins