พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศกัมพูชา

วันที่ 21 เมย. พ.ศ.2560

พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศกัมพูชา

พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทย, DOU, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ความรู้พระพุทธศาสนา, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, ประเทศกัมพูชา

      กัมพูชา (Cambodia) หรือเขมรมีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) ปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีเมืองหลวงชื่อพนมเปญ และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด เคยตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเกือบร้อยปี ได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2496 กัมพูชามีประชากรประมาณ 14,071,000 คน (พ.ศ.2548) ประชากร 93% นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทส่วนอีก 7% นับถือภูตผีและอื่นๆ

      กัมพูชาเป็นประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติมายาวนานกว่า 2,000 ปี หลักฐานหลายแหล่งยืนยันตรงกันว่า พระพุทธศาสนาตั้งอยู่ในดินแดนแห่งนี้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 3 เช่น หลักฐานจากศิลาจารึกที่ค้นพบ ณ เมืองโวกัญ อันเป็นศิลาจารึกที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในอดีตกัมพูชาคือดินแดนส่วนหนึ่งของสุวรรณภูมิ อันเป็นถิ่นที่พระโสณเถระและพระอุตตรเถระเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตั้งแต่บัดนั้นพระพุทธศาสนาในกัมพูชาจึงค่อยๆ เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งถึงยุคประวัติศาสตร์กัมพูชา 4 ยุค คือ ยุคฟูนัน เจนละ พระนคร และยุคปัจจุบัน ดังต่อไปนี้

         ยุคฟูนัน (พ.ศ.600-1100) คำว่า ฟูนัน Funan) เป็นคำที่เรียกตามหลักฐานที่ปรากฏในจดหมายเหตุของจีน ซึ่งเพี้ยนมาจากภาษาเขมรว่า พนม หรือ วฺนม ในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่า ภูเขา ในอดีตชาวฟูนันเคยนับถือลัทธิโลกธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ และผีสางนางไม้ แต่เมื่อพระพุทธศาสนาเข้าสู่สุวรรณภูมิแล้วชาวฟูนันจึงหันมานับถือพระพุทธศาสนา จนกระทั่ง พ.ศ.543 พราหมณ์ชาวอินเดียชื่อเกาณฑินยะรบชนะเผ่าฟูนันและได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระราชาปกครองพระนคร ในราชสำนักจะนับถือศาสนาพราหมณ์นิกายไศวะ ซึ่งเป็นศาสนาดั้งเดิมของพระราชาเกาณฑินยะ แต่ประชาชนทั่วไปบ้างก็นับถือศาสนาพุทธบ้างก็นับถือศาสนาพราหมณ์

        ในรัชสมัยของพระเจ้าศรีมาระ พระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนาและทรงประกาศยกย่องให้เป็นศาสนาประจำชาติ มีศิลาจารึกเก่าแก่อายุราวพุทธศตวรรษที่ 78 บันทึกไว้ว่าพระองค์ทรงสั่งให้พระราชาผู้เสวยราชย์ต่อไปในอนาคตนับถือและสนับสนุนพระพุทธศาสนาด้วยในยุคต่อมาพงศาวดารจีนบันทึกไว้ว่า พระราชายุคต่อมาก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาตามคำสั่งของพระเจ้าศรีมาระ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงพระนาคเสนภิกษุชาวอินเดียซึ่งเดินทางไปอาณาจักรฟูนันและเดินทางต่อไปเมืองจีนในปี พ.ศ.1027 ในครั้งนั้นพระนาคเสนกล่าวถวายพระพรต่อพระเจ้ากรุงจีนว่า "ในประเทศฟูนันบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาก ประชาชนนับถือศาสนาพราหมณ์ก็มี พระพุทธศาสนาก็มี พระพุทธศาสนานั้นรุ่งเรืองมาก มีพระภิกษุสงฆ์จำนวนมากและฝึกปฏิบัติตามวินัยอย่างเคร่งครัด"

        หลังจากนั้นไม่นานคือในปี พ.ศ.1046 กษัตริย์ฟูนันส่งราชทูตและพระภิกษุไปกรุงจีนอีก คือ พระสังฆปาละ และพระมันโตโล โดยพระพระสังฆปาละเป็นผู้รู้ภาษาศาสตร์หลายภาษาและทรงพระไตรปิฎก มีจริยวัตรงดงาม กิตติศัพท์เลื่องลือไปถึงพระเจ้ากรุงจีนคือ จักรพรรดิบู่ตี่แห่งราชวงศ์เหลียง จึงนิมนต์ท่านไป อนธรรมะและแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาจีน ท่านแปลพระไตรปิฎกอยู่นานถึง 16 ปี ชื่อทั้ง องท่านยังปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกจีนมาจนถึงปัจจุบัน

        ต่อมาปี พ.ศ.1057 พระเจ้าอนุรุทธวรมันเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ทรงประกาศถวายพระองค์เป็นอุบาสก ทรงมีพระเกศธาตุเส้นหนึ่งไว้เป็นที่สักการบูชา พระเจ้าอนุรุทธวรมันเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายที่ปรากฏนามในยุคฟูนัน ในปี พ.ศ.1170 อาณาจักรเจนละยกทัพมาตีและรวมฟูนันเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเจนละ

           ยุคเจนละ (พ.ศ.1100-1344) เจนละ เป็นคำจีนที่เรียกเมืองกัมพูชาที่อยู่ทางภาคเหนือของนครฟูนัน คำนี้เพี้ยนมาจากภาษาเขมรว่า เจือนเลอ หมายถึง ชั้นบน ที่สูง หรือทางเหนือ พระเจ้าวรมันเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์แรกประมาณปี พ.ศ.1093 กษัตริย์ในยุคต้นนี้ยังคงนับถือศาสนาฮินดูนิกายไศวะเป็นหลัก ต่อมาในรัชกาลของพระเจ้าอีศานวรมันที่ 1 (พ.ศ.1159-1169) พงศาวดารจีนยุคราชวงศ์สุย บันทึกไว้ว่า "ในรัชกาลของพระองค์นี้ (พระเจ้าอีศานวรมันที่ 1) มีภิกษุ ภิกษุณี หลายรูป..."

         ในรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 (พ.ศ.1200-1224) มีหลักฐานจากบันทึกของหลวงจีนอี้จิงที่เดินทางไปอินเดียและผ่านดินแดนแถบนี้ระบุว่า มัยนั้นพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก มีวัดทั่วไปทุกแห่ง ประชาชนทั่วไปนิยมบวชในพระพุทธศาสนา แม้พวกเจ้านายก็นิยมบวชเช่นเดียวกัน ในพุทธศตวรรษที่ 14 พระพุทธศาสนามหายานได้เข้ามาเผยแผ่ในเอเชียอาคเนย์แล้ว และกัมพูชาก็ได้รับเอาพระพุทธศาสนามหายานไว้เช่นกัน แต่ก็ไม่มีอิทธิพลมากเหมือนเถรวาท หลังรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันได้ไม่นานอาณาจักรเจนละก็สิ้นสุดลง

        ยุคพระนคร (พ.ศ.13451975) ยุคพระนครหมายถึง ยุคนครวัดและนครธม เป็นยุคที่อารยธรรมเขมรเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด เป็นมหาอาณาจักรใหญ่มีศิลปะและ ถาปัตยกรรมที่โดดเด่นกว่ายุคใดๆ โดยเฉพาะปราสาทนครวัด (Angkor Wat) และนครธม (Angkor Thom)ยุคนี้เริ่มนับตั้งแต่รัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ.1345-1420) จนถึงรัชกาลของพระเจ้าพญายาต (พ.ศ.1975) ซึ่งทรงสละพระนครไปสร้างเมืองหลวงใหม่ที่พนมเปญอันเป็นเมืองหลวงของกัมพูชาในปัจจุบัน

         หลังจากที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ครองราชย์ในปี พ.ศ.1345 แล้ว ทรงย้ายพระนครจากเจนละมาตั้งที่พนมเหนทรบรรพตหรือเขาพนมคูเลนในปัจจุบัน พระองค์ทรงนับถือศาสนาพราหมณ์ แต่พระพุทธศาสนาก็ยังเป็นที่เป็นที่เคารพนับถือกันอยู่ในหมู่ประชาชน หลังจากยุคของพระองค์แล้วกษัตริย์แต่ละพระองค์ก็นับถือพราหมณ์บ้างนับถือพระพุทธศาสนาบ้างสลับกันไปแต่ทั้งสองศาสนาก็อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

     ครั้นมาถึงรัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.1545-1593 พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์ที่ยกพระพุทธศาสนามหายานเป็นศาสนาของรัฐอย่างเป็นทางการพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ครองราชย์ในช่วงปี พ.ศ.16561693 ทรงนับถือศาสนาพราหมณ์และสร้างปราสาทนครวัดขึ้นเพื่อบูชาพระวิษณุ ต่อมาในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้เปลี่ยนให้เป็นวัดในศาสนาพุทธ

       นครวัด ตั้งอยู่ที่เมืองเสียมราฐ หรือเสียมเรียบ จัดเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกมีขนาดใหญ่มากถึง 200,000 ตารางเมตร มีกำแพงด้านนอกยาวด้านละ 1.5 กิโลเมตร ใช้หินทั้งหมด 600,000 ลูกบาศก์เมตร ใช้ช้างกว่า 40,000 เชือกและแรงงานคนนับ 100,000 คน ในการขนหินและชักลากหิน นครวัดมีเสา 1,800 ต้น หนักต้นละกว่า 10 ตัน เวลาในการสร้างร่วม 100 ปี ใช้ช่างแกะสลัก 5,000 คน และใช้เวลาถึง 40 ปีในการแกะสลัก

      พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครองราชย์ในปี พ.ศ.1724 พระองค์มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์กัมพูชา ทรงสร้างนครธมขึ้นเป็นราชธานี ทรงเจริญจริยวัตรตามพระเจ้าอโศกมหาราชและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ทรงสร้างปราสาทและพระพุทธรูป 798 องค์ เพื่อประดิษฐานทั่วราชอาณาจักร

     ทรงสถาปนาปราสาทตาพรหมหรือวัดบุรีราชมหาวิหารเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ มีพระมหาเถระเป็นศาตราจารย์ใหญ่อยู่ 18 องค์ และอาจารย์รองลงมาถึง 2,740 องค์ มีอุบาสกช่วยงาน 2,232 คน อุบาสิกา 615 คน ราษฎรผู้มาจำศีลหรือมาศึกษาธรรมระยะสั้นและระยะยาว 12,640 คน และกลุ่มอื่นๆ อีก 66,625 คน รวมทั้งหมดเป็น 79,265 คน ซึ่งนับรวมชาวพม่าและจำปาที่มาพักศึกษาในที่นี้ด้วย ภายในวัดมีบ้านพัก(กุฏิ)ที่สร้างด้วยหินจำนวน 566 แห่งสร้างด้วยอิฐ 288 แห่ง มีพระภิกษุจำนวน 439 รูป มารับภัตตาหารทุกวันในพระราชวัง

      นอกจากนี้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงให้พระราชกุมารคือพระตามลินทะไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลังกา และผนวชที่วัดมหาวิหารแห่งเกาะลังกา ซึ่งขณะนั้นพระพุทธศา นาเถรวาทในศรีลังกากำลังเจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางของการศึกษาสงฆ์ ต่อมาเมื่อพระกุมารกลับมากัมพูชาแล้ว ทรงทำให้นิกายเถรวาทเจริญรุ่งเรืองเป็นศาสนาประจำชาติของกัมพูชามากระทั่งปัจจุบันส่วนพระพุทธศาสนามหายานและศาสนาพราหมณ์ค่อยๆซบเซาลงไปตั้งแต่บัดนั้น

        ในพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรกัมพูชาอ่อนแอลงมาก ขณะเดียวกันช่วงนั้นอาณาจักรอยุธยาของไทยซึ่งสถาปนาในปี พ.ศ.1894 มีความเข้มแข็งขึ้น ได้เข้าโจมตีเมืองพระนครของกัมพูชาและยึดได้สำเร็จในปี พ.ศ.1895 ต่อมาปี พ.ศ.1974 ได้เข้ามาปล้นทำลายอีกครั้ง พระเจ้าพญายาตจึง ละพระนครในปี พ.ศ.1975 แล้วเสด็จไปประทับที่พนมเปญยุคพระนครที่เจริญรุ่งเรืองมากว่า 600 ปี (พ.ศ.13451975) จึงสิ้นสุดลง

พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทย, DOU, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ความรู้พระพุทธศาสนา, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, ประเทศกัมพูชา

        ยุคปัจจุบัน (พ.ศ.1975ปัจจุบัน) เมื่อยุคพระนครสิ้นลงแล้ว กัมพูชาได้เมืองหลวงใหม่อยู่ใกล้ทะเลสาบให้ชื่อว่า กรุงละแวก ยุคนี้พระพุทธศาสนายังคงรุ่งเรืองอยู่ ประชาชนมีความเคารพศรัทธาต่อพระสงฆ์ แม้จะมีมิชชันนารีต่างชาติมาเผยแผ่แต่ก็ไม่ได้ผล เช่น ในปี พ.ศ. 2109 ชาวโปรตุเกสชื่อ กา ปาร์ ดากรูซ เดินทางมากรุงละแวกแต่ต้องเดินทางกลับเพราะไม่อาจเปลี่ยนศาสนาชาวพื้นเมืองได้ เนื่องจากประชาชนมีความจงรักภักดีต่อพระสงฆ์อย่างสุดหัวใจ

        กา ปาร์ ดากรูซ บอกว่า พระสงฆ์ประกอบขึ้นด้วยคนที่มีความสามารถในกัมพูชากว่า 1 ใน 3 หรือตามที่เขาประมาณก็นับจำนวนแสนรูป พระภิกษุเหล่านี้ได้รับความเคารพอย่างสูงจากประชาชนราวกับเป็นเทพเจ้าเป็นๆ ผู้ที่อ่อนอาวุโสกว่าในหมู่ภิกษุด้วยกัน ก็บูชาผู้อาวุโสกว่า เสมือนเทพเจ้า ไม่มีใครคัดค้านพระในเรื่องใดๆ บางครั้งขณะที่ข้าพเจ้ากำลังนั่งเทศน์อยู่ ทันทีที่พระเหล่านั้นเดินผ่านมา (ชาวบ้าน) ก็พูดเปรยขึ้นว่า "นั่นก็ดีอยู่หรอก แต่ของเราดีกว่า" แล้วพวกเขาก็เดินหนีไปหมดทิ้งข้าพเจ้าไว้แต่ลำพัง

       ในปี พ.ศ.2410 กัมพูชาตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศ ได้รับเอกราชในปี พ.ศ.2496 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้านโรดมสีหนุ ต่อมาปี พ.ศ.2498 พระองค์ทรงสละราชสมบัติถวายแด่พระราชบิดาคือ พระเจ้าสุรามฤตส่วนพระองค์เองก้าวลงสู่วิถีชีวิตนักการเมือง ทรงตั้งพรรคสังคมราษฎร์นิยมขึ้น และมีชัยชนะในการเลือกตั้ง ได้เป็นนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา

  พระเจ้านโรดมสีหนุทรงนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้กับการเมืองโดยให้ชื่อว่า ทฤษฎีพุทธสังคมนิยม (Buddhist Socialism) เพื่อต่อสู้กับคอมมิวนิ ต์ที่เริ่มขยายเข้ามาในกัมพูชาแต่ด้วยแรงกดดันจาก หรัฐอเมริกาและความขัดแย้งจากภายใน จึงทำให้เกิดการรัฐประหารขึ้นโดยนายพลลอน นอล ในปี พ.ศ.2513 สงครามกลางเมืองจึงปะทุขึ้นตั้งแต่บัดนั้นชาวกัมพูชาต้องสูญเสียเลือดเนื้อและชีวิตไปนับล้านคน กว่าสงครามนี้จะยุติลงในปี พ.ศ.2534

      พระพุทธศาสนาในช่วงรัฐบาลของนายพลลอน นอล ยังได้รับการสนับสนุนอยู่เช่นเดิมรัฐบาลประกาศว่า พระพุทธศาสนายังเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ขอให้คณะสงฆ์ช่วยต่อต้านคอมมิวนิสต์คือกลุ่มเขมรแดง มีการโฆษณาว่า ถ้าคอมมิวนิสต์เข้ามาจะไม่มีศาสนา พระพุทธศาสนาและพระสงฆ์จะหมดไปจากประเทศกัมพูชา

        นายพลลอน นอลปกครองประเทศอยู่เพียง 5 ปี ก็ถูกปฏิวัติอีกครั้งในปี พ.ศ.2518 โดยกลุ่มเขมรแดง ซึ่งมีนายพล พต (Pol Pot) เป็นผู้นำ เขมรแดงนำระบอบคอมมิวนิสต์มาปกครองประเทศ ประกาศนโยบายบริหาร 8 ประการ เช่น ให้พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาลาสิกขาทั้งหมด แล้วไปทำนาแทน ประหารชีวิตผู้นำรัฐบาลเดิมทั้งหมด

    มหันตภัยคุกคามพระพุทธศาสนาสถานการณ์พระพุทธศาสนายุคนี้ตกต่ำที่สุดพระสังฆราชถูกนำไปสังหาร ประชาชนและภิกษุสามเณรถูกฆ่าประมาณ 2,000,000 คน พระที่เหลือถูกเขมรแดงสั่งให้ทำงาน ถ้าไม่ทำงานจะไม่มีข้าวฉัน บ้างก็ถูกบังคับให้ลาสิกขา วัดถูกปิดหรือรื้อทิ้ง บ้างก็ถูกทำเป็นฟาร์มไก่หรือเล้าหมู คอมมิวนิสต์ถือว่าศาสนาคือยาฝินของประชาชน ภิกษุไม่ทำอะไรจึงทำให้สังคมเป็นอัมพาต ห้ามตักบาตรทำบุญ ผู้อยู่ในเหตุการณ์สมัยนั้น กล่าวว่า "ยุคนั้น ไม่มีวัด ไม่มีพระสงฆ์ ไม่มีประชาชนไปสวดมนต์ ไม่มีการบูชาพระรัตนตรัย"

       เมื่อผ่านยุคสงครามกลางเมืองมาแล้ว องค์การสหประชาชาติได้เข้ามาช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น ให้เงินช่วยเหลือ 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อจัดการเลือกตั้งในปี พ.ศ.2536 และได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) สถานการณ์พระพุทธศาสนาจึงค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ แม้การเมืองจะไม่ค่อยนิ่งคือยังมีการปฏิวัติอยู่บ้างในปี พ.ศ.2540 แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อพระพุทธศาสนามากนักเหมือนช่วงสงครามกลางเมือง

 


*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.01132036447525 Mins