เศรษฐศาสตร์จุลภาคในพระไตรปิฎก

วันที่ 12 พค. พ.ศ.2560

เศรษฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก
" เศรษฐศาสตร์จุลภาคในพระไตรปิฎก "

    เป้าหมายสูงสุดของเศรษฐศาสตร์ คือ การศึกษาเพื่อทำให้ประชาชนในประเทศอยู่ดีกินดี ไม่อดอยากยากจน ในหัวข้อนี้นักศึกษาจะได้ศึกษาหลักเศรษฐศาสตร์จุลภาคในพระไตรปิฎก ซึ่งกล่าวถึงสาเหตุแห่งการอยู่ดีกินดีหรือร่ำรวย และสาเหตุแห่งความอดอยากยากจนของมนุษย์แต่ละคน รวมทั้งอาชีพที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอนุญาตและอาชีพที่ทรงห้าม ในประเด็นสุดท้ายกล่าวถึงอบายมุขทางเสื่อมแห่งทรัพย์ของมนุษย์

8.3.1สาเหตุแห่งความร่ำรวยและยากจน
สาเหตุแห่งความร่ำรวยและยากจนนั้น นักศึกษาคงได้เรียนรู้กันมาพอสมควรแล้วในวิชาต่างๆ ที่ได้เรียนมาก่อนหน้านี้ ในที่นี้จะกล่าวทบทวนพอสังเขปอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตอกย้ำความจำและความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้นสาเหตุหลักที่ทำให้บางคนในโลกนี้มีฐานะร่ำรวย ในขณะที่บางคนมีฐานะยากจนนั้น มีอยู่อย่างน้อย 2 ประการ คือสาเหตุส่วนละเอียดคือ "บุญ" และสาเหตุส่วนหยาบ คือ "ความขวนขวายในการสร้างฐานะ" โดยบุญจะเป็นสาเหตุหลักส่วนความขวนขวายในการสร้างฐานะจะเป็นส่วนเสริม

สาเหตุส่วนละเอียด คือ บุญ
บุญเป็นเครื่องชำระล้างจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ เป็น "อริยทรัพย์" ซึ่งอยู่เบื้องหลังความสุข ความสำเร็จทั้งปวงของมนุษย์ บุญเป็นรากฐานของชีวิต เป็นสิ่งที่คอยสนับสนุน เกื้อกูล ให้ชีวิตเจริญรุ่งเรืองและมั่นคง บุญมีลักษณะเป็นดวงกลม ใสว่าง ถิตอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ฐานที่ 7 บริเวณกลางท้องของมนุษย์ทุกคน บุญนั้นเป็นสิ่งละเอียด มองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ จะเห็นได้ก็ต่อเมื่อได้ฝึกสมาธิจนใจละเอียดในระดับเดียวกับสภาวะของดวงบุญ จึงจะมองเห็นบุญได้

ชาวโลกโดยมากเข้าใจกันว่า ความเจริญก้าวหน้า หรือความสำเร็จทั้งปวงของชีวิต ขึ้นอยู่กับ 1 มอง กับ 2 มือเท่านั้น เพราะเขามองเห็นเพียงแค่นั้น เขายังมองไม่เห็นบุญที่มีอยู่ในตัว เปรียบเสมือนเวลาเรามองดู บ้านหรืออาคารต่างๆ เราจะเห็นเพียงแค่ หลังคากับตัวบ้านเท่านั้น จะมองไม่เห็นเสาเข็มที่อยู่ใต้ดินซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่รองรับบ้านทั้งหลังเอาไว้

แต่ไม่ว่าเราจะมองเห็นหรือไม่เห็นก็ตาม บ้านทุกหลัง ตึกทุกตึก ก็ยังคงมีฐานรากทำหน้าที่รองรับบ้านและตึกเหล่านั้นให้ตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคงแข็งแรง หากไม่มีฐานราก อาคารก็ตั้งอยู่ไม่ได้ฉันใด หากไม่มีบุญหรือหมดบุญ ชีวิตก็ตั้งอยู่ไม่ได้ฉันนั้น

บุญจึงเปรียบเสมือนเสาเข็ม แต่เป็นเสาเข็มของชีวิต ที่คอยสนับสนุนส่งเสริมให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรืองและมั่นคง ยิ่งมีบุญมากเท่าไร ชีวิตของบุคคลนั้นๆ ก็จะยิ่งเจริญก้าวหน้ามากเท่านั้น ไม่ว่าเจ้าตัวจะรู้หรือไม่รู้ ไม่ว่าเจ้าตัวจะเห็นหรือไม่เห็นดวงบุญในตัวเขาก็ตาม ในทางตรงกันข้ามหากใครก็ตามมีบุญน้อย ชีวิตเราก็จะตกต่ำ ลำบาก ยากจน ไม่ค่อยจะประสบความสำเร็จในชีวิต

บุญมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ บุญเก่า และ บุญใหม่ บุญเก่าคือบุญที่ทำไว้ในอดีตชาติส่วนบุญใหม่ คือบุญที่ได้ทำในปัจจุบันชาติ

วิธีการสร้างบุญมีอย่างน้อย 3 ประการ คือ การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญ
สมาธิภาวนา โดยบุญที่ทำให้มีฐานะร่ำรวยนั้นคือ บุญที่เกิดจากการให้ทานเป็นหลักส่วนบุญจากการรักษาศีลและเจริญภาวนาเป็นส่วนเสริม ใครที่ได้ให้ทานไว้มากก็จะเป็นเหตุให้มีฐานะร่ำรวยมากเป็นระดับมหาเศรษฐีของประเทศหรือของโลกทีเดียวส่วนใครให้ทานมาน้อยหรือไม่ได้ให้ทานเลย ก็จะลำบากยากจน

หลักการส่งผลของบุญมีดังนี้ คือ บุญเก่าหรือบุญในอดีตชาติจะส่งผลก่อนและส่งผลอย่างเต็มที่ เปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ซึ่งปลูกไว้นานแล้ว จึงมีความพร้อมในการผลิดอกออกผลส่วนต้นไม้ที่เพิ่งปลูกก็เปรียบเสมือนบุญใหม่ จึงต้องรอเวลาให้มันเจริญเติบโตสักระยะหนึ่งจึงจะให้ผล ดังนั้นวิถีชีวิตของมนุษย์แต่ละคนในชาตินี้หรือในทุกๆ ชาติที่เกิดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับบุญเก่าที่ได้ทำไว้ในอดีตชาติเป็นหลัก คือ ประมาณ 70-80 % ส่วนบุญใหม่เป็นส่วนเสริม คือส่งผลในชาตินี้เพียงประมาณ 20-30 %

มหาเศรษฐีของโลกในปัจจุบันนี้ก็เช่นกันร่ำรวยเพราะบุญเก่าในอดีตชาติส่งผลเป็นหลักดังจะเห็นได้ว่า หลายต่อหลายคนในชาตินี้ไม่ได้เป็นชาวพุทธ ไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องบุญและก็ไม่ได้สร้างบุญในพระพุทธศาสนา อย่างดีก็แค่ทำบุญสังคมสงเคราะห์กับชาวโลกทั่วไป แต่เขาก็ร่ำรวยได้ ทั้งนี้เพราะบุญเก่าที่ทำไว้ในอดีตชาติเป็นหลักมาส่งผล

สาเหตุส่วนหยาบ คือ ขวนขวายสร้างฐานะ
วิธีสร้างฐานะทางเศรษฐกิจนี้ มีศัพท์ทางศาสนา เรียกว่า "ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์" แปลว่า ประโยชน์ในปัจจุบัน ซึ่งชาวพุทธรู้จักกันในนาม "หลักหัวใจเศรษฐี" เป็นวิธีสร้างฐานะที่ถูกต้องชอบธรรม ไม่ก่อกรรมสร้างเวรให้กับใคร ซึ่งมี 4 ประการ ดังนี้
1.) อุฏฐานสัมปทา        หาทรัพย์เป็น
2.) อารักขสัมปทา        เก็บรักษาทรัพย์เป็น
3.) กัลยาณมิตตตา      สร้างเครือข่ายคนดีเป็น
4.) สมชีวิตา                ใช้ชีวิตเป็น

1.) อุฏฐานสัมปทา
อุฏฐานสัมปทา แปลว่า ความถึงพร้อมด้วยความหมั่นเพียร
อุฏฐานสัมปทา หมายถึง การหาทรัพย์เป็น ซึ่งต้องประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

(1) เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่ทำ

(2) จะทำการสิ่งใดต้องประกอบด้วยปัญญาพิจารณา เพื่อที่จะทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ปัญญาในที่นี้มีความหมาย 2 นัยด้วยกัน คือ ความฉลาดในการทำงาน และความฉลาดในเรื่องศีลธรรม กล่าวคือสั่งสมความรู้ทางศีลธรรมควบคู่ไปกับการศึกษาหลักการทำงานทางโลก

คนที่ขยันแต่โง่ยากที่จะสร้างฐานะได้สำเร็จ เพราะจะทำงานผิดพลาดมาก ส่วนคนที่ฉลาดแต่ทางโลก ไม่สนใจเรื่องศีลธรรมนั้นก็มีโอกาสไปประกอบอาชีพที่ผิดศีลธรรม เช่น มิจฉาวณิชชา ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมทั้งในชาตินี้และชาติหน้าได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องขยันทำงานด้วย ศึกษาความรู้ทางโลกและทางธรรมควบคู่ไปด้วย จึงจะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้

2.) อารักขสัมปทา
อารักขสัมปทา แปลว่า ถึงพร้อมด้วยการรักษา

อารักขสัมปทา หมายถึง การเก็บรักษาทรัพย์เป็น

จุดเริ่มต้นของการเก็บรักษาทรัพย์เป็น คือ การรู้จักการสะสม การออม รู้จักคุณค่าของเงิน ขั้นต่อมาคือต้องรู้จักหาทางป้องกันทรัพย์จากภัยต่างๆ ซึ่งภัยของทรัพย์ มาจาก 2 ทางหลัก คือ

(1) ภัยจากคน ทั้งจากคนใกล้ตัว และคนไกลตัว
(2) ภัยจากธรรมชาติ

นอกจากนี้การเก็บทรัพย์เป็นยังรวมไปถึงการใช้ของอย่างถนอม รู้จักรักษาให้ข้าวของมีอายุการใช้งานที่ยาวนานอีกด้วย อีกทั้งของหายก็ต้องหา ของเสียก็ต้องซ่อมด้วย แม้การหาทรัพย์เป็นจะมีความสำคัญ แต่การเก็บทรัพย์เป็นสำคัญยิ่งกว่า เพราะว่าแม้จะหาทรัพย์มาได้มาก แต่หากเก็บทรัพย์ไม่เป็น เงินแสนเงินล้านที่หามานั้นก็หมดไปได้เหมือนกัน

3.) กัลยาณมิตตตา
กัลยาณมิตตตา แปลว่า ถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้มีมิตรดี
กัลยาณมิตตตา หมายถึง การสร้างเครือข่ายคนดีเป็น

หากรักจะยืนหยัดอยู่ในโลกกว้างอย่างมั่นคงแล้ว ก่อนอื่นต้องสร้างธาตุแห่งความเป็นคนดีขึ้นมาในตัวก่อน แล้วจึงสร้างเครือข่ายคนดีขึ้นมา เป็นวงจรตามลำดับ
การสร้างเครือข่ายคนดีมี 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

ขั้นที่ 1 รู้จักวางตัวให้เหมาะสม เช่น พิจารณาให้ดีว่า ขณะนั้นตัวเราอยู่ในสังคมใด อยู่ในฐานะใด มีตำแหน่งหรือบทบาทหน้าที่อะไร เช่น ถ้าเป็นพ่อก็ต้องวางตัวให้สมกับที่เป็นพ่อเป็นเพื่อนก็วางตัวให้ มกับที่เป็นเพื่อน

ขั้นที่ 2 ซึมซับเอาศีลธรรมมาจากคนดีที่อยู่รอบตัวเราในสังคมนั้นๆ โดยการหมั่น
เข้าไปสนทนา ซักถาม หมั่นคอยสังเกตผู้ที่ถึงพร้อมด้วยคุณความดีเหล่านี้ เพื่อจะได้ซึมซับและถ่ายทอดเอาความรู้ ความดีจากบุคคลเหล่านั้นมาสู่ตัวเรา

ขั้นที่ 3 ถ่ายทอดความรู้และความดีของเราไปสู่ผู้อื่นที่อยู่แวดล้อมรอบด้าน

เมื่อเรากำลังสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ ต้องรู้จักเลือกทำงานกับคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริตเท่านั้น เพราะมิตรดีเท่านั้น จึงจะช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่กันและกันได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญต้องขยายเครือข่ายความเป็นกัลยาณมิตรออกไปให้กว้างขวางมากที่สุด เพราะมิตรยิ่งมากเท่าใด โอกาสที่จะสร้างตัวให้ร่ำรวยก็มากขึ้นเท่านั้น

แต่ถ้าหากไม่เลือกมิตรหรือหุ้นส่วนที่จะทำงานร่วมกันเพื่อสร้างฐานะแล้ว โอกาสที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกโกง ถูกทำให้เสียหายก็เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ทรัพย์สินเงินทองที่หามาได้ก็ต้องหมดไปเพราะความไม่ระมัดระวัง มีความประมาท พลาดเพียงครั้งเดียวก็อาจทำให้สิ้นเนื้อประดาตัว เพียงเพราะคบมิตรเลวก็มีตัวอย่างให้เห็นอยู่บ่อยๆ

4.) สมชีวิตา
สมชีวิตา แปลว่า ถึงพร้อมด้วยความเป็นอยู่ที่เหมาะสม

สมชีวิตา หมายถึง การใช้ทรัพย์เป็น

คนที่ใช้ทรัพย์เป็นจะต้องรู้จักเลี้ยงชีพอย่างพอเหมาะพอสม ไม่ให้ฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่ายและไม่ให้ขัดสนฝืดเคือง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า กุลบุตรในโลกนี้เลี้ยงชีพแต่พอเหมาะไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ให้ฝดเคืองนักด้วยคิดว่า "การใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับจักเกินรายจ่ายและรายจ่ายจักไม่เกินรายรับ" เปรียบเหมือนคนชั่งของ ยกตราชั่งขึ้นดูก็รู้ได้ว่า "ต้องลดลงเท่านี้ หรือเพิ่มขึ้นเท่านี้"


บุญเป็นหลักการขวนขวายสร้างฐานะเป็นส่วนเสริม
การที่ใครจะมีฐานะร่ำรวยหรือยากจนขึ้นอยู่กับบุญเป็นหลักส่วนการขวนขวายสร้างฐานะจะเป็นเพียงส่วนเสริม เพราะแม้จะปฏิบัติตามหลักการขวนขวายสร้างฐานะข้างต้นอย่างเคร่งครัด ไม่ขาดตกบกพร่อง แต่ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จเหมือนกันทุกคน บางคนสำเร็จมากร่ำรวยมาก บางคนสำเร็จน้อย ร่ำรวยน้อยส่วนบางคนแค่พอมีพอกิน ในขณะที่บางคนไม่ค่อยจะประสบความสำเร็จเอาเสียเลยก็มี

จะสังเกตเห็นได้จากชาวโลกในปัจจุบัน หลายๆ คนตื่นแต่เช้าลุกขึ้นมาทำมาหากิน
อาบเหงื่อต่างน้ำ หนักเอาเบาสู้ ทำงานหนักตลอดทั้งวัน กว่าจะเสร็จงานได้กลับบ้านกินข้าวพักผ่อนก็มืดค่ำ แม้จะทำอย่างนี้อยู่หลายปี แต่ดูเหมือนว่าความขวนขวายที่ทุ่มลงไปนั้น จะไม่ค่อยได้สัดส่วนกับผลตอบแทนที่ได้รับ กล่าวคือ ทำมากแต่ได้น้อย เหตุที่เป็นอย่างนี้เพราะบุญที่สั่งสมมามีน้อย

ในขณะที่บางคนดูเหมือนว่าหยิบจับอะไรก็เป็นเงินเป็นทองไปหมด ยิ่งขยันมากยิ่งรวยมาก ขยันน้อยก็รวยน้อยลงมาหน่อย บางคนมีสมบัติให้กินใช้ไม่หมดไปตลอดชีวิตแม้ไม่ต้องทำงาน ในสมัยพุทธกาลมีตัวอย่างมหาเศรษฐีหลายท่านที่ร่ำรวยโดยไม่ต้องทำมาหากิน เพราะได้สั่งสมบุญไว้มาก เช่น โชติกเศรษฐี เมณฑกเศรษฐี ชฎิลเศรษฐี เป็นต้น มหาเศรษฐีเหล่านี้มีสมบัติตักไม่พร่องบังเกิดขึ้น แม้แจกจ่ายแก่ผู้คนทั่วโลกก็ไม่หมดสิ้น

บางคนเกิดมาก็รวยทันทีเลย เพราะพ่อแม่เตรียมสมบัติมหาศาลไว้คอยท่าอยู่แล้ว เขายังไม่ได้ทำงานอะไรเลย ก็รวยแล้ว ในขณะที่บางคนเกิดมาอยู่ในครอบครัวที่พ่อแม่ที่ฐานะยากจนเป็นขอทาน ซึ่งเราจะพบเห็นได้บ่อยๆ บริเวณสะพานลอยบ้าง ข้างถนนบ้าง เด็กๆ เหล่านี้จนตั้งแต่เกิด ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีสาเหตุมาตั้งแต่ก่อนเกิดแล้วว่า เหตุใดเขาจึงเกิดมาจน ในขณะที่บางคนเกิดมารวยสาเหตุนั้นก็คือปริมาณบุญในตัวของแต่ละคนนั่นเอง แต่เมื่อเกิดมาแล้วใครจะตั้งใจขวนขวายทำมาหากินเพื่อสร้างฐานะมากน้อยแค่ไหน อันนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

แต่หลักทั้ง 4 ประการในการขวนขวายสร้างฐานะนั้นก็มีความสำคัญอยู่ไม่น้อย ใครที่สั่งสมบุญมามากอยู่แล้ว เกิดมาในตระกูลที่ร่ำรวยอยู่แล้ว หากได้นำหลักทั้ง 4 ข้อนี้มาปฏิบัติก็จะทำให้มีฐานะร่ำรวยมากยิ่งขึ้น แม้ปฏิบัติไม่ครบทุกข้อ กล่าวคือ แม้ไม่ค่อยขยันทำงานเพื่อหาทรัพย์เพิ่มเติม แต่รู้จักเก็บรักษาสมบัติ คบมิตรดี และใช้จ่ายอย่างเหมาะสม ก็จะสามารถรักษาสมบัตินั้นไว้ใช้จ่ายได้ยาวนาน

แต่ถ้าใครประมาทหลงตนเองว่ามีบุญมาก ได้เกิดในตระกูลเศรษฐี พ่อแม่ทิ้งมรดกไว้ให้มากมาย จึงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟอย คบมิตรชั่ว ไม่รู้จักเก็บรักษาสมบัติให้ดี และยังไม่ทำมาหากินอีก คอยแต่จะผลาญสมบัติไปวันๆ เท่านั้น หากเป็นเช่นนี้บั้นปลายของชีวิตก็จะย่ำแย่เหมือนกันดังเรื่องราวของบุตรเศรษฐีคนหนึ่งในสมัยพุทธกาล

บุตรเศรษฐีคนนี้เกิดในตระกูลที่มีสมบัติ 80 โกฏิ ในกรุงพาราณสี มารดาบิดาของเขาคิดว่า เราจักมอบสมบัติที่มีอยู่ทั้งหมดให้แก่บุตร บุตรของเราจะได้ใช้ อยอย่าง บายโดยไม่ต้องทำงาน ในพระนครนั้น มีธิดาอีกคนหนึ่งเกิดในตระกูลอื่นซึ่งมีสมบัติ 80 โกฏิเช่นกัน บิดามารดาของนางก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน

เมื่อทั้ง องโตขึ้นก็ได้แต่งงานกัน ต่อมามารดาบิดาของคนทั้ง องก็ถึงแก่กรรม ทรัพย์ 160 โกฏิก็ได้รวมอยู่ในเรือนเดียวกัน ปกติบุตรเศรษฐีนั้นมักไปเข้าเฝ้าพระราชาวันละ 3 ครั้งพวกนักเลงในพระนครนั้น คิดกันว่า ถ้าบุตรเศรษฐีนี้เป็นนักเลงสุรา ความผาสุกก็จักมีแก่พวกเรา วันหนึ่งพวกนักเลงนั้นถือสุรา นั่งดูทางของบุตรเศรษฐีนั้นผู้มาจากราชสกุล เมื่อเห็นเขากำลังเดินมาจึงดื่มสุราแล้วกล่าวว่า จงเป็นอยู่ 100 ปีเถิดนายเศรษฐีบุตร

บุตรเศรษฐีฟังคำของพวกนักเลงแล้ว จึงถามคนใช้ที่ตามมาว่า "พวกนั้น ดื่มอะไร"
คนใช้กล่าวว่า              "ดื่มน้ำดื่มชนิดหนึ่ง นาย"
บุตรเศรษฐีถามว่า        "น้ำนั้นมีรสชาติอร่อยหรือ"
คนใช้กล่าวว่า              "นาย ธรรมดาน้ำที่ควรดื่มเช่นกับน้ำดื่มนี้ไม่มีในโลกนี้"
บุตรเศรษฐีนั้นพูดว่า     "แม้เราก็ควรดื่ม จึงให้นำสุรามานิดหน่อยแล้วก็ดื่ม"

ต่อมาไม่นานบุตรเศรษฐีก็ติดสุรา โดยมีนักเลงเหล่านั้นเป็นบริวาร ตั้งแต่บุตรเศรษฐีติดสุราก็ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ในเวลาไม่นานทรัพย์ของตนและของภรรยา 160 โกฏิก็หมดไปต่อมาจึงขายสมบัติของตน คือ นา สวนดอกไม้ สวนผลไม้ ยานพาหนะ ภาชนะเครื่องใช้ ผ้าห่ม ผ้าปูนั่งรวมทั้งเรือนที่อยู่อาศัยด้วย

เมื่อขายเรือนไปแล้วบุตรเศรษฐีก็พาภรรยาเที่ยวไปขอทาน วันหนึ่ง พระสัมมาสัม
พุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นเขาซึ่งยืนอยู่ที่ประตูโรงฉันคอยรับโภชนะที่เป็นเดนจากภิกษุหนุ่มและสามเณร จึงทรงแย้มพระโอษฐ์ พระอานนทเถระจึงทูลถามถึงเหตุที่ทรงแย้ม พระพุทธองค์จึงตรัสว่า อานนท์ เธอจงดูบุตรเศรษฐีผู้นี้ ผลาญทรัพย์เสีย 160 โกฏิ พาภรรยาเที่ยวขอทานอยู่

ถ้าบุตรเศรษฐีไม่ผลาญทรัพย์ให้หมดสิ้น และประกอบการงานในปฐมวัย ก็จักได้เป็นเศรษฐีชั้นเลิศในนครนี้ แต่ถ้าออกบวชก็จักบรรลุอรหัตผล แม้ภรรยาของเขาก็จักดำรงอยู่ในอนาคามิผล ถ้าไม่ผลาญทรัพย์ให้หมดไป ประกอบการงานในมัชฌิมวัย ก็จักได้เป็นเศรษฐีชั้นที่ 2 ถ้าออกบวชก็จักได้เป็นอนาคามี ภรรยาของเขาก็จักดำรงอยู่ในสกทาคามิผล ถ้าไม่ผลาญทรัพย์ให้สิ้นไป ประกอบการงานในปัจฉิมวัย จักได้เป็นเศรษฐีชั้นที่ 3 ถ้าออกบวชก็จักได้เป็นสกทาคามี ภรรยาของเขาก็จักดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แต่บุตรเศรษฐีนั่นทั้งเสื่อมแล้วจากโภคะของคฤหัสถ์ทั้งเสื่อมแล้วจากสามัญผล จึงเป็นเหมือนนกกะเรียนในเปือกตมแห้งฉะนั้น


8.3.2 มิจฉาวณิชชาการค้าต้องห้าม
อาชีพต่างๆ ในโลกนี้มีอยู่หลากหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หลักในการเลือก
ประกอบอาชีพไว้ว่า "ให้เลือกประกอบอาชีพที่ไม่ขัดต่อศีลธรรม"ส่วนอาชีพใดที่ขัดต่อหลักศีลธรรม เช่น มิจฉาวณิชชา เป็นต้น พึงละเว้น เพราะจะทำให้เกิดโทษแก่ตนเองและคนในสังคมทั้งในชาตินี้และชาติหน้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส "มิจฉาวณิชชา" ซึ่งเป็นการค้าขายที่ไม่พึงกระทำไว้ 5 ประการได้แก่สัตถวณิชชา คือ การค้าขายอาวุธ,สัตตวณิชชา คือ การค้าขายสัตว์, มังสวณิชชา คือ การค้าขายเนื้อ, มัชชวณิชชา คือ การค้าขายของมึนเมา และวิสวณิชชา คือ การค้าขายยาพิษ

1) การค้าขายอาวุธ หมายถึง การให้สร้างอาวุธและขายอาวุธนั้น ที่ห้ามค้าขาย ก็เพราะการค้าขายอาวุธ เป็นเหตุให้เกิดการรบราฆ่าฟันกันตายได้

2) การค้าขายสัตว์ ในที่นี้ หมายถึง การค้าขายมนุษย์ ที่ห้ามค้าขายก็เพราะทำให้มนุษย์หมดอิสรภาพ เช่น การค้าขาย ตรีเพื่อให้เป็นหญิงโสเภณี เป็นต้น

3) การค้าขายเนื้อ หมายถึง การเลี้ยงสัตว์ เช่นสุกร เป็นต้น ไว้ขาย หรือการซื้อสัตว์มาแล่เนื้อแล้วขาย ที่ห้ามค้าขายเพราะจะเป็นเหตุให้ต้องผิดศีลข้อปาณาติบาต

4) การค้าขายของมึนเมา หมายถึง การให้ปรุงของมึนเมาชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วขาย ที่ห้ามค้าขายเพราะเป็นเหตุให้ผู้ดื่มเกิดความประมาท เมื่อละโลกไปแล้วก็จะไปสู่ทุคติ

5) การค้าขายยาพิษ หมายถึง การให้ทำยาพิษและค้าขายยาพิษนั้น ยาพิษในปัจจุบันหมายรวมถึงยาเสพติดด้วย เช่น ยาบ้า ยาอี เฮโรอีน เป็นต้น ที่ห้ามขายเพราะจะก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้เสพและผู้ขายทั้งในชาตินี้และชาติหน้า

การค้าทั้ง 5 ประการนี้ก่อให้เกิดโทษทั้งแก่ผู้ขายและผู้ซื้อรวมทั้งสังคมโดยรวมมาก
โทษที่เกิดกับผู้ขายเองแม้ในปัจจุบันชาติจะเห็นผลไม่ค่อยชัด อย่างมากก็อาจจะรู้สึกไม่สบายใจที่เห็นลูกค้าของตนและคนที่เกี่ยวข้องมีอันเป็นไปต่างๆ แต่เมื่อผู้ขายละโลกไปแล้วจะเห็นผลชัดเจนคือ ต้องไปรับวิบากกรรมอันแสนสาหัสอยู่ในมหานรกสำหรับผู้ซื้อและสังคมโดยรวมนั้นจะเห็นโทษที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน เช่น ผู้ซื้ออาวุธไปก็มีโอกาสนำไปเข่นฆ่ากัน ผลก็คือมีการล้มตายเกิดขึ้น หากการเข่นฆ่านั้นเป็นสงครามระหว่างประเทศก็จะเกิดความเสียหายใหญ่โต เป็นผล
ให้ประชาชนในประเทศเดือดร้อนกันทั่วหน้า เป็นต้น

8.3.3 อบายมุขทางเสื่อมแห่งทรัพย์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์และอริยทรัพย์ในสิงคาลกสูตรไว้ 6 ประการ ได้แก่ การเสพน้ำเมา คือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท การเที่ยวไปในตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืน การเที่ยวดูมหรสพ การเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทการคบคนชั่วเป็นมิตร และความเกียจคร้าน

1) การเสพน้ำเมา น้ำเมาในที่นี้ คือสุราและเมรัย รวมทั้งของมึนเมาอื่นๆ เช่น บุหรี่
ยาสูบต่างๆ เป็นต้นสุรา หมายถึง น้ำเมาที่กลั่นแล้ว เมรัย หมายถึง น้ำเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่ หรือ น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงโทษในการเสพน้ำเมาไว้ 6 ประการ คือ เสื่อมจากทรัพย์ ก่อการทะเลาะวิวาท เป็นบ่อเกิดแห่งโรค เป็นเหตุเสียชื่อเสียง เป็นเหตุไม่รู้จักอาย และทอนกำลังปัญญาอันเป็นอริยทรัพย์

ปัจจุบันคนไทยและคนทั่วโลกสูญเสียทรัพย์ไปเพราะน้ำเมาจำนวนมาก ในไตรมา ที่ 1 ของปี พ.ศ. 2550 ครัวเรือนไทยสูญเสียค่าใช้จ่ายเครื่องดื่มน้ำเมาไปถึง 38,747 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี พ.ศ. 2549 ถึง 6 และสูญเสียค่าใช้จ่ายการบริโภคบุหรี่ไป 5,266 ล้านบาท2ความเสียหายจากการดื่มสุรามีมูลค่าถึงหลายแสนล้านบาทต่อปี โดยคำนวณจากการเจ็บป่วย ค่าใช้จ่ายในการบำบัดรักษา ต้นทุนเวลาในการบำบัดและขาดงาน การตายและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

เงินจำนวนมากที่ต้องสูญเสียไปแต่ละปีกับสุรายาเมานั้น หากนำมาใช้พัฒนาสังคมในด้านต่างๆ ก็จะช่วยให้สังคมโดยรวมเจริญก้าวหน้าไปได้มากกว่านี้แบบหน้ามือเป็นหลังมือ อีกทั้งหากประชาชนพลเมืองไม่ดื่มสุรายาเมาก็จะมีสติปัญญามาก เป็นกำลังที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาชาติอีกด้วย

2) การเที่ยวกลางคืน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงโทษในการเที่ยวกลางคืนไว้ 6
ประการ คือ ชื่อว่าไม่คุ้มครองไม่รักษาตัว ชื่อว่าไม่คุ้มครองไม่รักษาบุตรภรรยา ชื่อว่าไม่คุ้มครองไม่รักษาทรัพย์สมบัติ เป็นที่ระแวงของคนอื่น ได้ยินได้ฟังเรื่องเท็จจากสถานที่เหล่านั้น และทำให้เกิดความลำบาก

3) การเที่ยวดูมหรสพ มหรสพ หมายถึง การเล่นรื่นเริงมีโขนละคร เป็นต้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงโทษในการเที่ยวดูมหร พ 6 ประการคือ มีการรำที่ไหนไปที่นั้น มีการขับร้องที่ไหนไปที่นั้น มีการประโคมที่ไหนไปที่นั้น มีขับเสภาที่ไหนไปที่นั้น มีเพลงที่ไหนไปที่นั้น มีเถิดเทิง ที่ไหนไปที่นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้เสียงาน เสียเวลา โภคทรัพย์ที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดและเมื่อเรือนไม่มีคนเฝ้าทำให้โจรเข้ามาลักทรัพย์ได้

4) การเล่นการพนัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงโทษในการเล่นการพนันไว้ 6
ประการ คือ ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ เสื่อมทรัพย์ในปัจจุบัน ถ้อยคำของคนเล่นการพนันไม่น่าเชื่อถือ ถูกมิตรดูหมิ่น และไม่มีใครต้องการแต่งงานด้วย เพราะเห็นว่าคนเล่นการพนันไม่สามารถจะเลี้ยงภรรยาได้ หากเป็นผู้หญิงก็หาสามียากเพราะชายทั้งหลายจะกลัวถูกเธอผลาญสมบัติให้หมดไป

การพนันที่เป็นที่นิยมของคนไทยโดยทั่วไป คือ หวย โดยเฉพาะ "หวยใต้ดิน" จากผลการวิจัยของสังศิต พิริยะรัง รรค์ และคณะ เมื่อปี พ.ศ. 2544 พบว่า มีผู้เล่นหวยใต้ดินทั่วประเทศ 23.7 ล้านคน คิดเป็น 51% ของประชากรที่มีอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป และมีวงเงินที่เล่นหวยใต้ดินไม่ต่ำกว่า 542,000 ล้านบาท โดยวงเงินที่เล่นนี้ ประมาณ 30% หรือ 162,000 ล้านบาท เป็นกำไรของเจ้ามือ... นักเสี่ยงดวงด้วยหวยเกือบทั้งหมดหรือกว่า 90% มีความเชื่อว่าจะถูกหวยทั้งๆ ที่ความจริง โอกาสทาง ถิติที่จะถูกหวยมีต่ำมาก

การพนันที่แพร่หลายอย่างมากในยุคนี้คือ "ฟุตบอลโลก" มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยสำรวจการพนันฟุตบอลโลกปี พ.ศ. 2549 ที่ผ่านมา พบว่ามีเม็ดเงินหมุนเวียนรวม 35,500 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่พนันบอลประมาณ 19,500 ล้านบาท และพบว่ากลุ่มคนที่มีรายได้น้อยกว่า 5,000 บาท จะใช้เงินในการพนันบอลมากกว่ารายได้ที่ได้รับ

5) การคบคนชั่วเป็นมิตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงโทษในการคบคนชั่วเป็นมิตรไว้ 6 ประการ คือ นำให้เป็นนักเลงการพนัน นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้ นำให้เป็นนักเลงเหล้า นำให้เป็นคนลวงผู้อื่นด้วยของปลอม นำให้เป็นคนโกงเขาซึ่งหน้า และนำให้เป็นนักเลงหัวไม้

การคบมิตรในยุคปัจจุบันยังขยายวงกว้างมาถึง "การเสพสื่อด้วย" ทั้งสื่อโทรทัศน์ วิทยุ อินเตอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ และอื่นๆ เพราะสื่อเหล่านี้ได้นำคนและสิ่งแทนของคนออกเผยแพร่สู่สายตาของสาธารณชนจำนวนมาก ปัจจุบันคนแต่ละคนไม่จำเป็นต้องพบกันโดยตรงก็สามารถสื่อสารกันได้ทั่วทุกมุมโลกผ่านสื่อที่ทันสมัย คนได้ลงไปอยู่ในสื่อต่างๆ เพื่อเผยแพร่ทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีไปสู่ชาวโลกอย่างกว้างขวางและยากต่อการควบคุม

ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้จัดทำโฟกัสกรุ๊ป ในหัวข้อ "พนันบอลปัญหาที่ซ้ำซาก แก้ไขได้ยากจริงหรือ" โดยการเชิญกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องในวงการพนันบอลร่วม 40 ชีวิต มาร่วมเสวนาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น จากการเสวนาพบว่า จุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดของผู้ที่เข้าสู่วงจรอุบาทว์อยู่ที่ "กลุ่มเพื่อนและคนใกล้ชิด" ด้วยการเล่นตามกันเพื่อความสนุก และสิ่งเร้าสำคัญที่ก่อให้เกิดการพนันบอลอย่างมากนั้น เป็นเรื่องของ "สื่อ" ทั้งหนังสือพิมพ์กีฬา นิตยสาร อินเทอร์เน็ต ทีวี และ วิทยุ เป็นต้น

6) การเกียจคร้าน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงโทษในการเกียจคร้าน 6 ประการ คือมักให้อ้างว่าหนาวนักแล้วไม่ทำการงาน มักให้อ้างว่าร้อนนักแล้วไม่ทำการงาน มักให้อ้างว่าเย็นแล้วแล้วไม่ทำการงาน มักให้อ้างว่ายังเช้าอยู่นักแล้วไม่ทำการงาน มักให้อ้างว่าหิวนักแล้วไม่ทำการงาน เมื่อมากไปด้วยการอ้างเลศผลัดเพี้ยนการงานอยู่อย่างนี้ โภคทรัพย์ที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้นที่เกิดแล้วเสื่อมสิ้นไป

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.012650084495544 Mins