บันไดขั้นที่ ๓๖ จิตไม่โศก
โลกธรรม ทุกคนต้องเจอ หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ผู้บรรลุนิพพานแล้ว ถึงเจอโลกธรรมฝ่ายที่ทำให้ใจหวั่น (อนิฏฐารมณ์) ก็ไม่หวั่นกับความเสื่อมเหล่านั้น ถึงเจอโลกธรรมฝ่ายให้ทําให้(อิฏฐารมณ์) ก็ไม่ไหวกับความสุขจอมปลอม เพราะรู้อยู่แก่ใจว่า
๑. อนิจจัง คือ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ไม่เที่ยง ไม่ยอมคงที่
๒. ทุกขัง คือ ต้องแตกทำลายไปแน่ๆ ไม่วันใดก็วันหนึ่งไม่คงทนคํ้าฟ้าอยู่
๓. อนัตตา คือ เอาจริงๆ เข้าแล้ว ไม่มีตัวตนที่แน่นอน และบังคับบัญชาให้ได้ตามใจก็ไม่ได้ ตรงข้ามกับ นิพพาน ซึ่งนิจจัง ลุขัง อัตตา
แต่มีอีกเรื่องหนึ่ง ซึงไม่จำเป็นต้องเจอ แต่คนก็ยังดิ้นรน ไปคว้า ไปติดเหยื่อ ติดยางเหนียว ทีแรกคว้าได้มาก็ชื่นใจ แต่มันอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะฉะนัน ถึงเวลามันก็ไม่ยอมอยู่ด้วย เลยต้องแห้งเทียวใจ ลิงนัน คือ ความรัก แต่ผู้บรรลุนิพพานแล้ว ท่านไม่สนใจ ท่านจึงไม่แห้ง ไม่เหี่ยวกับใคร ท่านไม่รักอะไรๆแต่รักนิพพาน
จิตโศก แปลว่า จิตที่แห้งผาก เหมือนดินแห้ง ใบไม้แห้งหมดความชุ่มชื่น
หมายความว่า จิตที่ถูกกระทบด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งอันไม่น่าปรารถนา แล้วทำให้เศร้า แห้งผากภายใน เกิดอาการทางจิตขึ้นทำ ให้จิตเหี่ยวแห้ง มีความหม่นไหม้ภายใน มีความเกรืยม มีการละห้อยหา
'จิตเมื่อโศกแล้ว จึงไม่ควรแก่การงาน มักทำอะไรไม่ได้ ถึงได้ก็ไม่ดี เหมือนคนป่วยปางตาย ย่อมไม่ควรแก่การงานใดๆเลย