บันไดขั้นที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม

วันที่ 09 มิย. พ.ศ.2560

     บันไดขั้นที่ ๓๕  จิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม,วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

    บันไดขั้นที่ ๓๕  จิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม

     จิต คือ ธรรมชาติคิดอยู่ในตัวคนเป็นๆ และสามารถสั่งสมอารมณ์ไว้ได้
     หวั่น คือ วิตก กังวล กลัว เพราะความไม่ชอบ
     ไหว คือ ปรารถนา อยากได้ เพราะความชอบ
     โลกธรรม คือ เรื่องที่มีอยู่ประจำโลก ใครๆ ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้
     

   จิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม หมายถึง จิตใจเป็นอุเบกขา วางเฉยได้ มีความมั่นคง หนักแน่น เมื่อเรื่องไม่ชอบใจมากระทบสามารถเฉย ไม่หวั่น หรือเมื่อเรื่องชอบใจมากระทบ ก็เฉย ไม่ไหวมีความไม่ยินดียินร้ายอยู่เป็นธรรมดา ด้วยความรู้เท่าทันว่า มันก็แค่นั้นเอง

       โลกธรรม หรือเรื่องที่มีอยู่ประจำโลกนี้ มื ๒ ฝ่าย คือ

        ๑. ฝ่ายที่ทำให้ใจไหว ได้แก่ ลาภ. ยศ, สุข, สรรเสริญ
       โลกธรรม ๔ ประการนี้ เป็นเรื่องที่คนทั่วไปชอบ เพราะรู้ไม่ทันสภาวะของมันว่าไม่จีรัง คนทั้งหลายจึงแสวงหา หาได้ก็หวง หวงมากก็ห่วง
       ๒. ฝ่ายที่ทำให้ใจหวั่น ได้แก่ เสื่อมลาภ, เสื่อมยศ, ได้ทุกข์, นินทา
          โลกธรรม ๔ ประการนี้ ไม่มีใครชอบ ทั่งเกลียด ทั้งกลัว เมื่อมันยังไม่มากระทบก็หวั่นวิตกว่าจะถูกกระทบ ถูกกระทบแล้วก็หวั่นว่าจะเสียหาย แม้ผ่านไปแล้วก็หวั่นว่าจะกลับมาอีก
        แต่ทั่ง ๘ สิ่งนี้ก็ดี รวมทั่งสรรพสิ่งทั่งหลายในโลกนี้ก็ดี มีลักษณะประจำอยู่ ๓ ประการ เรียกว่า ไตรลักษณ์ คือ
       ๑. อนิจจตา คือ ความไม่เที่ยง ไม่ว่าจะมีวิญญาณครอง หรือไม่มีวิญญาณครอง ล้วนไม่หยุดอยู่กับที่ เปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อยๆ ย่อมครํ่าคร่า ทรุดโทรมผุพังไปเป็นธรรมดา ขึ้นๆ ลงๆ
          ๒. ทุกขตา คือ ความเป็นทุกข์ ด้องแตกดับไปเป็นธรรมดา ไม่มีอะไรอยู่คํ้าฟ้า
         ๓. อนัตตา คือ ความไม่ใช่ตัวตน คือ หาตัวตนแท้จริงไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ว่าจงเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่เป็นไปตามความพอใจ

       คนทั้งหลายมองไม่เห็นไตรลักษณ์ จึงลุ่มหลงยินดียินร้ายหวั่นไหวในโลกธรรม ต้องตกอยู่ในห้วงทุกข์ตลอดมา พระอริยเจ้าเห็นธรรมภายใน ซึ่งมีลักษณะ นิจจัง คือ เที่ยง สุขัง คือ เป็นสุขอนัตตา คือ เป็นตัวตนที่แท้จริง เป็นธรรมชาติทีอยู่เหนือกฎไตรลักษณ์เห็นพระนิพพานว่าเป็น นิจจัง สุขัง อนัตตา จึงไม่ใยดีในโลกธรรม ไม่ขุ่นมัว หลงไหล ในโลกธรรม แต่จดจ่ออยู่ในนิพพานเป็นในตัวของท่าน

       เพราะฉะนั้น เรื่องประจำโลก ๘ ประการนี้ ทุกคนในโลกต้องเจอทุกคน หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นคนธรรมดา หรือเป็นพระอริยเจ้า ต่างกันแต่ว่าคนธรรมดาเจอแล้วใจย่อมหวั่นไหว เพราะรู้ไม่เท่าทัน ส่วนพระอริยเจ้าเจอแล้วกลับรู้สึกเฉยๆไม่หวั่นไหวตาม

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.061928419272105 Mins