พระรัตนตรัยภายนอก
พระรัตนตรัยภายนอก ได้แก่ พระพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมคือคำสั่งสอนของพระองค์ และพระสงฆ์คือสาวกของพระองค์ ในหัวข้อนี้จะได้ขยายความเพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น
1. พระพุทธ : พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คำว่า "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ประกอบด้วยคำว่า "พระ + สัมมา + สัม + พุทธะ + เจ้า"
คำว่า "พระ" ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง
คำว่า "สัมมา" แปลว่า โดยชอบ หรือโดยถูกต้อง
คำว่า "สัม" แปลว่า ด้วยพระองค์เอง คือ ไม่ต้องมีผู้สั่งสอน
คำว่า "พุทธะ" มีคำแปลไว้หลายนัยดังที่บันทึกไว้ในอรรถกถาว่า "ชื่อว่า พุทธะเพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ทรงปลุกหมู่สัตว์ให้ตื่น ชื่อว่า พุทธะเพราะทรงรู้ทุกอย่าง ชื่อว่า พุทธะเพราะทรงเห็นทุกอย่าง ชื่อว่า พุทธะ เพราะตรัสรู้เองไม่ใช่ผู้อื่นทำให้รู้ ชื่อว่า พุทธะ เพราะบานแล้ว ชื่อว่า พุทธะเพราะนับกันว่าเป็นผู้สิ้นกิเล แล้ว"
โดยสรุปคำว่า "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" หมายถึง ผู้ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง
สำหรับประวัติความเป็นมาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มีบันทึกไว้ว่า เมื่อ 2,500 กว่าปีที่ผ่านมามีมหาบุรุษท่านหนึ่งอุบัติขึ้นบนโลก ท่านเป็นพระราชโอร แห่งกรุงกบิลพัสดุ์พระบิดาพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาพระนามว่า พระนางสิริมหามายา ซึ่งเป็นเจ้าหญิงแห่งโกลิยวงศ์จากกรุงเทวทหะ เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงครรภ์ครบทศมา ทรงขอลาพระสวามีเพื่อกลับไปมีพระประสูติกาลที่กรุงเทวทหะเมืองของพระองค์ตามธรรมเนียมในครั้งนั้น ครั้นเดินทางมาได้ครึ่งทางถึง วนสาธารณะใหญ่ชื่อลุมพินี พระนางเกิดประชวร
พระครรภ์และประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นรังใหญ่ ในวันเพ็ญเดือนหกเวลาใกล้เที่ยงก่อนพุทธศักราช 80 ปี
หลังจากประสูติได้ 5 วัน พระเจ้าสุทโธทนะเชิญพราหมณาจารย์จำนวน 108 ท่านมาฉันโภชนาหาร และให้เลือกเหลือเพียง 8 ท่าน เฉพาะผู้เชี่ยวชาญในวิชาลักษณะพยากรณ์เพื่อทำหน้าที่พิจารณาทำนายลักษณ์ของพระโอรส และขนานพระนาม
พราหมณ์ 7 ท่านแรกเห็นลักษณะของพระโอรสแล้วได้ทำนายเป็น 2 นัย คือ ถ้าพระโอรสอยู่เรือนจะได้เป็นพระจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ หากออกผนวชจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศาสดาเอกของโลกส่วนโกณฑัญญพราหมณ์ซึ่งมีอายุน้อยที่สุดในพราหมณ์ 8 ท่านนั้น ได้ทำนายชี้ชัดลงไปว่า พระโอรสนี้จะออกผนวชและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน จากนั้นพราหมณ์ทั้งหมดก็มีความเห็นตรงกันที่จะขนานพระนามพระโอร ว่า "สิทธัตถะ" หรือ "สิทธารถ" ซึ่งแปลว่าสำเร็จดังปรารถนา หลังจากนั้น 2 วัน คือเมื่อพระโอรสมีพระชนมายุได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาก็สิ้นพระชนม์ เจ้าชายสิทธัตถะจึงอยู่ในการเลี้ยงดูของพระนางมหาปชาบดี ซึ่งเป็นพระน้านาง และเป็นมเห สีองค์ที่ 2 ของพระเจ้าสุทโธทนะ
เจ้าชายสิทธัตถะมีพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมพระชนกที่ประสูติจากพระนางมหาปชาบดี 2 พระองค์ คือ พระนันทะและพระนางรูปนันทา และยังมีลูกพี่ลูกน้องในศากยวงศ์รุ่นราวคราวเดียวกันอีกหลายพระองค์ คือ เจ้ามหานามะ เจ้าอนุรุทธะ ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าอาสุกโกทนะ เจ้าอานนท์ โอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ และเจ้าเทวทัตโอร ของอาหญิงอมิตาศากยะ กุมารที่มีอายุมากกว่าเจ้าชายสิทธัตถะมีเพียงองค์เดียวคือ เจ้ามหานามะ
ครั้นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชันษาได้ 7 พรรษา ก็ได้รับการศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ จากพราหมณ์ในราชสำนัก จากนั้นพระชนกทรงเห็นว่ากุมารฉลาดปราดเปรื่องจึงส่งไปศึกษาต่อยังสำนักอาจารย์วิศวามิตร ผู้เป็นปราชญ์ที่ไม่มีใครทัดเทียมในสมัยนั้น เจ้าชายสิทธัตถะได้ศึกษาจนแตกฉานเชี่ยวชาญในวิชาต่าง ๆ อย่างรวดเร็วกระทั่งสิ้นความรู้ของอาจารย์ มีความรู้พรั่งพร้อมที่จะได้รับตำแหน่งเป็นราชาและเป็นจักรพรรดิปกครองชมพูทวีปในอนาคต
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชันษาได้ 16 พรรษา พระชนกเห็นว่าสมควรจะมีชายาได้แล้ว จึงไปสู่ขอเจ้าหญิงยโสธราหรือพิมพา พระธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ ที่ประสูติจากพระนางอมิตามาอภิเษกเป็นชายา และต่อมาได้มีพระโอรสด้วยกันพระองค์หนึ่งนามว่า "ราหุล" ชีวิตการครองเรือนของเจ้าชายสิทธัตถะได้รับการปรนเปรอจากพระชนกและพระประยูรญาติอย่างดีที่สุดสิ่งใดที่คิดว่าจะทำให้เจ้าชายสิทธัตถะพอใจ พระชนกจะต้องรีบจัดหามาให้โดยหวังว่าจะให้เจ้าชายอยู่ครองเรือนไปตลอดชีวิต และหมายมั่นจะให้ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคต
แต่ด้วยบุญบารมีที่ทรงสั่ง มมาอย่างดีแล้วบันดาลให้ทรงพบเทวทูตทั้ง 4 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต เป็นเหตุให้พระองค์ทรงเห็นว่า ชีวิตมีทุกข์และปรารถนาจะหาทางพ้นทุกข์ด้วยการออกบรรพชา ในที่สุดคืนหนึ่งเมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 29 พรรษา ก็ได้เสด็จออกผนวชโดยทรงม้ากัณฐกะและมีมหาดเล็กชื่อฉันนะตามเสด็จ เมื่อไปถึงฝังแม่น้ำอโนมาทรงตัดพระเกศา สละเพศฆราวาสผนวชเป็นบรรพชิต
เมื่อออกผนวชแล้ว พระองค์เสด็จไปยังสำนักอาฬารดาบสและอุทกดาบส ได้ศึกษาวิชาความรู้จนเจนจบทุกอย่างเท่าที่อาจารย์ทั้งสองสามารถสอนได้ แต่พระองค์ทรงเห็นว่าความรู้เท่านี้ไม่สามารถตรัสรู้ได้ จึงปลีกตัวไปบำเพ็ญเพียรตามลำพังด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เชื่อกันในยุคนั้นว่าจะเป็นทางแห่งการตรัสรู้ เช่น การทรมานพระวรกาย เป็นต้น แม้ปฏิบัติอยู่ถึง 6 ปี ด้วยความวิริยอุตสาหะอย่างยิ่งยวด เมื่อทำจนถึงที่สุดแล้วแต่ก็ไม่นำไปสู่การตรัสรู้ธรรมพระองค์จึงหันมาบำเพ็ญเพียรด้วยการทำสมาธิดำเนินจิตไปตามหนทางสายกลาง ในที่สุดก็ได้บรรลุพระธรรมกาย แล้วตรัสรู้อริยสัจ 4 ประการสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี
วันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธองค์นั้นตรงกันเป็นอัศจรรย์คือ วันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งชาวพุทธรู้จักกันในนาม "วันวิสาขบูชา" อันเป็นวันพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง
เมื่อตรัสรู้แล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ตลอดจนพวกนอกวรรณะให้ตรัสรู้ธรรมตามพระองค์แล้วได้อุปสมบทเป็นพุทธสาวกมากมาย และหมู่ชนจำนวนมากก็ได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะขอถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งพุทธวิธีการสอนของพระองค์มีหลากหลาย ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับความรู้และอุปนิสัยของแต่ละบุคคล จึงทำให้ผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจและตรัสรู้ตามได้โดยง่าย พระองค์ทรงใช้เวลา 45 ปี เผยแผ่พุทธธรรมปักหลักพระศา นาในชมพูทวีป และเสด็จขันธปรินิพพานในวันเพ็ญเดือน 6 เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา
พุทธประวัตินั้นมีความพิเศษหลายประการ เช่น มีความชัดเจนไม่คลุมเครือมีหลักฐานยืนยันการมีอยู่จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากมาย ทั้งเอกสารทางวิชาการรวมทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุ ก่อนออกผนวชพระองค์ก็ถึงพร้อมด้วยความสุขสูงสุดในทางโลกคือพร้อมทั้งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ และคุณสมบัติสามารถเป็นพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโลกและทวีปทีเหลืออีก 3 ทวีปได้ รูปสมบัติของพระองค์นั้นเลอเลิศกว่าใคร ๆ ในโลกและเทวโลก เพราะทรงได้ลักษณะมหาบุรุษซึ่งเป็นลักษณะร่างกายที่สมบูรณ์ที่สุด ผู้ที่จะได้
ลักษณะเช่นนี้ในกัปหนึ่ง ๆ อย่างมากมีเพียง 5 พระองค์เท่านั้น
ความพิเศษที่กล่าวมาโดยย่อนี้หาได้ยากในศาสดาของศาสนาอื่น โดยเฉพาะศาสดาผู้มีลักษณะมหาบุรุษนั้นไม่มีในศาสนาอื่นใดในโลก แต่เป็นเรื่องปกติของศาสดาในพระพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นสมัยใด หากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ก็จะทรงได้ลักษณะมหาบุรุษและสมบูรณ์พร้อมด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว
และที่สำคัญการตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นไม่ได้ตรัสรู้ด้วยการคิดแบบการค้นพบทฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไป แต่ตรัสรู้ด้วยภาวนามยปัญญาคือ การนั่งสมาธิทำใจหยุดนิ่ง ปลอดจากความคิด ดังพระดำริของพระพุทธองค์ว่า "ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึกเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลงสู่ความตรึก ละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง..." ประโยคที่ว่า "ไม่หยั่งลงสู่ความตรึก" มาจากบทว่า "อตกฺกาวจโร" ในภาษาบาลี อธิบายว่า จะพึงค้นพึงหยั่งลงโดยการตรึกไม่ได้ พึงค้นได้ด้วยญาณเท่านั้น คำว่า "ตรึก" แปลว่า นึก หรือ คิด คำว่า "พึงค้นได้ด้วยญาณเท่านั้น" คือ ญาณอันเกิดจากภาวนามยปัญญานั่นเอง
ตอนที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำได้เข้าถึงพระธรรมกายนั้น ท่านก็เคยคำนึงอย่างเดียวกันว่า "คัมภีโรจายัง ธรรมเป็นของลึกถึงเพียงนี้ ใครจะไปคิดคาดคะเนเอาได้ พ้นวิสัยของความตรึกนึกคิด ถ้ายังตรึกนึกคิดอยู่ก็เข้าไม่ถึง ที่จะเข้าถึงได้ ต้องทำให้รู้ตรึก รู้นึก รู้คิดนั้น หยุดเป็นจุดเดียวกัน แต่พอหยุดก็ดับ แต่พอดับแล้วก็เกิด ถ้าไม่ดับแล้วไม่เกิด นี่เป็นของจริงหัวต่อมีเป็นอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนดังนี้แล้ว ก็ไม่มีไม่เป็นเด็ดขาด"
2. พระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธองค์
ในหัวข้อ 3.2 นักศึกษาได้เรียนมาแล้วว่า หากกล่าวถึงพระรัตนตรัยภายใน พระธรรมจะหมายถึง ธรรมรัตนะ อันเป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายซึ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7ของมนุษย์ทุกคน แต่ถ้าเป็นพระรัตนตรัยภายนอก พระธรรมจะหมายถึงคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งหลั่งออกมาจากพระรัตนตรัยในตัว
ในสมัยพุทธกาลคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามี 2 ส่วนนี้คือ ธรรมกับวินัยดังพระดำรัสก่อนพุทธปรินิพพานว่า "ธรรมก็ดี วินัยก็ดี อันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา"
คำว่า "ธรรม" ในที่นี้จึงไม่ได้หมายถึงพุทธวจนะทั้งหมด แต่หมายเอาเฉพาะคำสอนที่ไม่เกี่ยวกับพระวินัย แต่ถ้ากล่าวถึงพระธรรมในความหมายที่เป็นหนึ่งในพระรัตนตรัยภายนอกแล้วจะหมายถึงพุทธวจนะทั้งหมด
คำว่า "วินัย" หมายถึง ศีลของพระภิกษุภิกษุณีรวมทั้งศีลของสามเณรและศีลของฆราวาส ได้แก่ ศีล 5 ศีล 8 หรือ อุโบสถศีล
เมื่อจะกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นอาจจะเรียกว่า ธรรม เป็น "คำสอน"ส่วน วินัย เป็น "คำสั่ง" ก็ได้ ดังนั้น ธรรมวินัยก็คือ คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เดิมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงแต่ "คำสอน" คือ "ธรรม" ได้แก่ อริยสัจ 4 ฯลฯ ยังไม่ได้บัญญัติ "คำสั่ง" คือ "วินัย" ต่อมาเมื่อมีภิกษุมากขึ้น ผู้บวชมาจากตระกูลต่างกัน มีอัธยาศัยและความมุ่งหมายต่างกัน และเมื่อมีลาภสักการะเกิดมากขึ้น ทำให้พระภิกษุบางรูปมีความประพฤติไม่เรียบร้อยสร้างความเสียหายจนเกิดคำติฉินจากชาวบ้าน เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบจึงบัญญัติวินัยขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อห้ามภิกษุประพฤติเช่นนั้นอีก
หลังพุทธปรินิพพานชาวพุทธได้ถือเอาพระธรรมวินัยเป็นหลักในการดำเนินชีวิตสืบต่อกันเรื่อยมา แต่เนื่องจากพระธรรมวินัยดังกล่าวยังไม่ได้รับการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรถ้าไม่มีมาตรการเก็บรักษาที่ดี จึงเป็นไปได้ที่จะมีคำสั่ง อนบางส่วนสูญหายไป ด้วยเหตุนี้การสังคายนาจึงเกิดขึ้น
คำว่า "สังคายนา" แปลว่า การซักซ้อม, การสวดพร้อมกัน, การร้อยกรอง หมายถึง การที่พระสงฆ์ประชุมกันแล้ว อบทานชำระสะสางและซักซ้อมทำความเข้าใจพระธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธองค์เพื่อรักษาความถูกต้องไว้แล้วจัดเป็นหมวดหมู่พร้อมทั้งจดจำสาธยายกันไว้
การสังคายนาพระธรรมวินัยมีขึ้นหลายครั้ง แต่ที่ทุกฝ่ายทุกประเทศยอมรับ คือ การสังคายนา 3 ครั้งแรกในประเทศอินเดีย
การสังคายนาครั้งที่ 1 จัดขึ้นใกล้กรุงราชคฤห์ภายหลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือน มีพระอรหันต์ประชุมกัน 500 องค์ พระมหากั ปะเป็นประธานและเป็นผู้สอบถาม พระอุบาลีตอบข้อซักถามเกี่ยวกับพระวินัย พระอานนท์ตอบข้อซักถามเกี่ยวกับพระธรรม คำตอบของพระอานนท์เริ่มต้นด้วยประโยคว่า "เอวัมเมสุตัง ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้" หมายถึง ได้สดับมาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ ได้สดับมาจากพระสาวก เช่น พระสารีบุตร เป็นต้น
การสังคายนาครั้งที่ 2 จัดขึ้นใน พ.ศ.100 การสังคายนาครั้งที่ 3 จัดขึ้นใน พ.ศ. 236 ณ กรุงปาฏลีบุตรแห่งอินเดีย ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช การสังคายนาครั้งนี้ได้มีการจัดพระธรรมวินัยเป็น 3 ส่วนเรียกว่าพระไตรปิฎก
ไตรปิฎก มาจากคำบาลีว่า ติปิฎก ประกอบด้วย วินัยปิฎกสุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก
คำว่า "ปิฎก" แปลว่า "ตะกร้า" หมายถึง ภาชนะสำหรับใส่สิ่งของ คำว่าปิฎกนี้ได้นำมาใช้เป็นชื่อหมวดหมู่พระธรรมวินัยคือ แยกออกเป็นสามตะกร้า หรือ 3 หมวดใหญ่ ๆ นั่นเองโดยวินัยคือคำสั่งนั้นแยกไว้หมวดหนึ่งเรียกว่า "พระวินัยปิฎก"ส่วนธรรมคือคำสอนแยกออกเป็น 2 หมวด ได้แก่ "พระสุตตันตปิฎก" หรือหมวดพระสูตร คือคำสอนที่ทรงแสดงแก่บุคคลต่าง ๆ ในแต่ละโอกาส่วนคำสอนที่แสดงแต่ข้อธรรม ไม่กล่าวว่าแสดงแก่ใคร ที่ไหน ได้แก่ เรื่องจิตเจตสิก รูป นิพพาน อันนี้เรียกว่า "พระอภิธรรมปิฎก"
ทั้งนี้พระสูตรและพระอภิธรรมก็ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่ที่เพิ่มมาภายหลัง แต่เป็นพุทธพจน์ดั้งเดิมดังที่บันทึกไว้ในเรื่องการจัดเสนาสนะของพระทัพพมัลลบุตรว่า "ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ทรงพระสูตร ท่านก็จัดเสนา นะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง เพื่อให้ซักซ้อมพระสูตรกัน ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ทรงพระวินัย ท่านก็จัดเสนา นะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง เพื่อให้วินิจฉัยพระวินัยกัน ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ทรงพระอภิธรรม ท่านก็จัดเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง เพื่อให้สนทนาพระอภิธรรมกัน"
ในสมัยนั้นยังไม่มีการจารึกพระไตรปิฎกเป็นลายลักษณ์อักษร อาศัยความจำเป็นหลักโดยอาจารย์จะท่องจำแล้วบอกปากเปล่าแก่ศิษย์ผู้จะต้องรับภาระท่องจำกันต่อ ๆ ไป และเมื่อท่องจำได้ก็มาสวดซักซ้อมพร้อมกัน เพื่อตรวจเช็คความถูกต้องระหว่างกันและเพื่อตอกย้ำให้เกิดความแม่นยำมากขึ้น ทำให้เกิดประเพณีสวดมนต์ การท่องจำ และการบอกเล่าต่อ ๆ กันเรื่อยมา เรียกว่าการศึกษาระบบนี้ว่า "มุขปาฐะ" คือ การเรียนจากคำบอกเล่าจากปากของอาจารย์
พระไตรปิฎกถูกเก็บรักษาและถ่ายทอดมาด้วยมุขปาฐะนี้จนกระทั่งมีจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรลงในใบลานครั้งแรกในการสังคายนาครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศศรีลังกาใน พ.ศ. 433 ในรัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย โดยจารึกด้วยภาษามคธดังหลักฐานว่า "ในพุทธศตวรรษที่ 5 พระสงฆ์ในศรีลังกาได้ปรารภกันว่า ความทรงจำของบุคคลได้เสื่อมลงการที่จะทำให้จำพระธรรมวินัยได้หมดเป็นเรื่องยาก จึงได้มีการประชุมสังคายนาครั้งที่ 5 ขึ้นแล้วจารึกพระไตรปิฎกเป็นตัวอักษรโดยใช้ภาษามคธ ซึ่งเป็นภาษาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์สอน"
ภาษามคธนั้นมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บาลี" แปลว่า "เป็นต้นแบบ" หรือ เป็นแบบอย่าง คำนี้ใช้เรียกเป็นชื่อคันนา ซึ่งเป็นแนวบอกเขตของนา เป็นเครื่องกั้นน้ำหรือขังน้ำสำหรับใช้ในนา จึงนำคำนี้มาใช้เรียกพระไตรปิฎกที่จารึกไว้เป็นต้นแบบนั้นว่า "บาลี" คือ เป็นแนวเขตสำหรับที่จะแสดงว่า นี้เป็นพุทธวจนะ และในขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้สัทธรรมปฏิรูป คือ คำสอนที่เป็นของแปลกปลอมเข้ามา คือว่า ถ้านอกจากนี้แล้วไม่ใช่ ถ้าเป็นในนี้แล้วจึงใช่ แต่ก็พึงทราบว่า ภาษาบาลี นั้นไม่ได้เป็นชื่อของภาษาโดยตรง ชื่อของภาษาโดยตรงคือภาษามคธ หรือ มาคธี คือ ภาษาของชาวมคธ
แต่ทั้งนี้คำว่า "ภาษาบาลี" เป็นคำที่บุคคลทั่วไปคุ้นเคยมากกว่า คำว่า "ภาษามคธ" ดังนั้นเมื่อจะกล่าวถึงภาษาที่บันทึกพระไตรปิฎกก็จะใช้คำว่า "ภาษาบาลี" เป็นหลัก
ธรรมเนียมของสงฆ์นั้นถือกันว่าสังฆกรรมทั้งปวงให้ใช้ภาษาบาลี เช่น การอุปสมบท หรือบทสวดมนต์ทั้งหลาย ภาษาไทยของเราก็นำเอาภาษาบาลีมาใช้จำนวนมาก เช่น คำว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็เป็นภาษาบาลีทั้งนั้น เอามาใช้เป็นคำไทย เพราะว่าการจะเอาคำไทยแท้ ๆ มาใช้นั้นเป็นเรื่องยากมากหรือว่าหาไม่ได้ ที่จะให้มีความหมายครอบคลุมคำเดิมได้ เช่น คำว่า "พระพุทธ" จะใช้คำไทยว่าอะไรจึงจะให้ความหมายครอบคลุมทั้งหมด เป็นเรื่องยาก เพราะฉะนั้นจึงต้องนำภาษาบาลีมาใช้
ในการจารึกพระไตรปิฎกลงในใบลานครั้งแรกนั้น ท่านใช้อักษรสิงหลเขียนภาษาบาลี เพราะบาลีที่เก็บพุทธวจนะไว้นั้นเป็นเพียงเสียงสวดมนต์ที่ท่อง สืบต่อกันมา ต่อมาประเทศอื่น ๆ ก็ได้จารึกภาษาบาลีลงใบลานโดยใช้อักษรของประเทศนั้น ๆ ในปัจจุบันเมื่อมีการพิมพ์หนังสือเจริญขึ้น ทำให้มีพระไตรปิฎกฉบับอักษรต่าง ๆ เช่น ฉบับอักษรสิงหลของลังกา ฉบับอักษรเทวนาครีของอินเดีย ฉบับอักษรขอม ฉบับอักษรพม่า ฉบับอักษรไทย และฉบับอักษรโรมันของ มาคมบาลีปกรณ์แห่งอังกฤษ
พระไตรปิฎกฉบับอักษรไทยมีขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ 5 คือในระหว่าง พ.ศ. 2431 - 2436 พระบาท มเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้คัดลอกพระไตรปิฎกอักษรขอมในใบลานออกมาเป็นอักษรไทย แล้วชำระแก้ไขและจัดพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มหนังสือได้ 39 เล่ม นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นรูปเล่มหนังสือด้วยอักษรไทย
ในระหว่าง พ.ศ. 24682473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงให้ชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มหนังสือได้ 45 เล่ม เรียกว่า "พระไตรปิฎกฉบับ ยามรัฐ" พิมพ์ที่มหามกุฏราชวิทยาลัย ต่อมามหามกุฏราชวิทยาลัยได้แปลอรรถากถาผนวกรวมเข้าไปในพระไตรปิฎกจึงรวมกันเป็น 91 เล่มอย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ต่อมายังมีพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอีกด้วย ฉบับล่าสุดจัดพิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2539
อรรถกถานั้นเป็นคัมภีร์อธิบายพระไตรปิฎก ซึ่งแต่งขึ้นประมาณ พ.ศ. 956 และยังมีคัมภีร์อื่น ๆ อีก เช่น ฎีกา และ อนุฎีกา ฎีกาเป็นคัมภีร์อธิบายอรรถกถา แต่งขึ้นประมาณ พ.ศ.1587ส่วนอนุฎีกาเป็นคัมภีร์อธิบายฎีกา ทั้ง 4 คัมภีร์ที่กล่าวมาข้างต้น คือ พระไตรปิฎกอรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา เป็นคัมภีร์สำคัญในพระพุทธศาสนา โดยพระไตรปิฎกมีความสำคัญสูงสุด เพราะเป็นพุทธพจน์โดยตรงส่วนอรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกาก็มีความสำคัญลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์อื่น ๆ อีกมากแต่จะไม่กล่าวถึงในที่นี้
3. พระสงฆ์ สาวกของพระพุทธองค์
คำว่า พระสงฆ์ มาจาก "บทว่า สงฺฆ หรือ สงฺฆํ ในภาษาบาลี ได้แก่ ภิกษุสงฆ์"
เมื่อกล่าวถึงพระสงฆ์ ในแง่ของจำนวนแล้วอาจหมายถึง "พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเพียงรูปเดียว" หรือหมายถึง "หมู่พระภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป" ก็ได้ เพราะคำว่า "สงฆ์" แปลว่า "หมู่"ก็ได้ดังในอรรถกถาที่ว่า "บทว่า สงฺฆา วา คณา วา ได้แก่ หมู่ หรือ คณะ คือ ชุมนุมชน"
คำที่มักใช้แทนพระสงฆ์มีดังนี้ "พระ ภิกษุ พระภิกษุ พระภิกษุสงฆ์ บรรพชิตสมณะ"
คำว่า "พระ" มาจากคำว่า "วร" ในภาษาบาลี แปลว่า ประเสริฐ เลิศ วิเศษ ดังนั้นคำว่า "พระ" จึงแปลว่า บุคคลผู้ประเสริฐ ผู้เลิศ ผู้วิเศษ
คำว่า "ภิกษุ" มาจากบทว่า "ภิกฺขุ ในภาษาบาลี แปลว่า เห็นภัยในสังสารวัฏ"
ภิกฺขุ มีรากศัพท์มาจากคำว่า "ภยะ + อิกขะ + รู ปัจจัย" ภยะ แปลว่า ภัยอันตราย หมายถึง ภัยในสังสารวัฏ อิกขะ แปลว่า มองเห็น ดังนั้น ภิกฺขุ จึงแปลว่า เห็นภัยในสังสารวัฏหรือผู้เห็นภัยในสังสารวัฏนั่นเอง
คำว่า "พระภิกษุ" นั้นเติมคำว่า "พระ" เข้ามาข้างหน้าคำว่า "ภิกษุ" เพื่อแสดงความยกย่องว่า ภิกษุเป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้วิเศษ หากฝ่ายหญิงก็จะเรียกว่าภิกษุณี
คำว่า บรรพชิต มาจากบทว่า "ปพฺพชิโต ในภาษาบาลี แปลว่า เข้าถึงบรรพชาอธิบายว่า เป็นผู้บวชแล้ว" ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า บรรพชิต หมายถึง นักบวชในพระพุทธศาสนาส่วนนักบวชนอกพระพุทธศาสนาเรียกว่า "เดียรถีย์"
คำว่า "สมณะ" มาจากบทว่า "สมโณ ในภาษาบาลี แปลว่า เป็นผู้สงบบาป"
พระสงฆ์นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พระสมมติสงฆ์ และพระอริยสงฆ์
สมมติสงฆ์ หมายถึง พระสงฆ์โดยสมมติ คือเป็นพระสงฆ์โดยการยอมรับกันในหมู่สงฆ์หลังจากการได้ผ่านการคัดเลือกเฟ้นคุณสมบัติถูกต้อง และผ่านพิธีกรรมที่เรียกว่าอุปสมบทกรรมครบถ้วนตามพระวินัยแล้ว ใช้เรียกพระสงฆ์ที่ยังไม่ได้บรรลุมรรคผล เช่น พระสงฆ์ทั่วไปในปัจจุบัน ถ้าได้บรรลุมรรคแล้ว เช่น เป็นพระโสดาบัน เรียกว่า อริยสงฆ์
แม้ฆราวาสที่ได้บรรลุธรรมแล้ว เช่น เป็นพระโสดาบัน เป็นต้น ก็ถือเป็นพระอริยสงฆ์ตามความหมายนี้ แต่เป็นด้วยคุณภายในหรือเป็นการบวชภายในนั่นเอง
พระอริยสงฆ์นั้นมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น พระอริยบุคคล พระอริยเจ้า เป็นต้น
พระอริยสงฆ์นั้นมีอยู่ 4 คู่ 8 บุคคล หรือ 8 จำพวก ได้แก่
บุคคลผู้เป็นพระโสดาบัน
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
บุคคลผู้เป็นพระอนาคามี
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นพระอรหันต์
บุคคลผู้เป็นพระโสดาบัน หมายถึง พระโสดาปัตติผล บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล หมายถึง พระโสดาปัตติมรรค... บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ หมายถึง พระอรหัตผลและบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นพระอรหันต์ หมายถึง พระอรหัตมรรค
โดยสรุปอริยสงฆ์ 4 คู่ คือ 8 บุคคล ได้แก่
คู่ที่ 1 พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล
คู่ที่ 2 พระ กทาคามิมรรค พระ กทาคามิผล
คู่ที่ 3 พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล
คู่ที่ 4 พระอรหัตมรรค พระอรหัตผล
หรือดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับสุภัททปริพาชกว่า
"ดูก่อนสุภัททะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 หาไม่ได้ในธรรมวินัยใด แม้สมณะที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้นสุภัททะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 หาได้ในธรรมวินัยใด แม้ มณะที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 หาได้ในธรรมวินัยนั้นสุภัททะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 หาได้ในธรรมวินัยนี้สมณะที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ลัทธิอื่น ๆ สว่างจากสมณะผู้รู้สุภัททะ ก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย"
อรรถกถาอธิบายไว้ว่า "สมณะที่ 1 คือพระโสดาบันสมณะที่ 2 คือพระ กทาคามีสมณะที่ 3 คือพระอนาคามีสมณะที่ 4 คือพระอรหันต์" ดังนั้นคำว่าสมณะจึงหมายเอาพระอริยสงฆ์เท่านั้น และ มณะดังกล่าวมีเฉพาะในธรรมวินัยนี้ คือมีเฉพาะในพระพุทธศาสนานั่นเอง
ในปัจจุบันยังมีพระอริยฆ์อยู่หรือไม่นั้นไม่อาจทราบได้แน่ชัด แต่ที่เราทราบคือพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็น มมติสงฆ์ ถึงกระนั้นก็มีความสำคัญมากในการ สืบอายุพระพุทธศาสนา จนกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาในปัจจุบันตั้งอยู่ได้ด้วยสมมติสงฆ์นี้แหละ และผู้ที่มีโอกาสก้าวขึ้นสู่ความเป็นพระอริยเจ้าได้มากที่สุดก็คือพระสมมติสงฆ์ส่วนฆราวาสแม้จะมีโอกาสแต่ก็มีภาระทางโลกเหนี่ยวรั้งจึงทำให้ยากกว่าพระสงฆ์ พระภิกษุจำนวนมากในสมัยพุทธกาลก็เป็นสมมติสงฆ์ก่อน เมื่อได้ฟังธรรมและปฏิบัติธรรมแล้วจึงก้าวขึ้นสู่ความเป็นพระอริยสงฆ์ได้
พุทธศาสนิกชนจึงควรอุปัฏฐากดูแลพระสงฆ์ทั้งหลายให้ดี ไม่ต้องไปคำนึงว่าท่านจะเป็นพระอริยสงฆ์หรือสมมติสงฆ์ ขอให้รู้ว่าหากพระภิกษุทั้งหลายหมั่นบำเพ็ญเพียรไปเรื่อย ๆ ก็จะได้เป็นพระอริยสงฆ์ในที่สุด หากไม่ได้เป็นในชาตินี้ก็จะเป็นบารมีที่เกื้อกูลต่อการตรัสรู้ธรรมในภพชาติต่อ ๆ ไป และที่สำคัญบุญที่ได้จากการทำสังฆทานแม้แก่สมมติสงฆ์ก็มีปริมาณมากดังพุทธดำรั ที่ว่า "ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู... ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้นเราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้..." ภิกษุโคตรภูคือ มมติสงฆ์นั่นเอง
นักศึกษาบางท่านอาจจะคลางแคลงใจว่า ก็ปัจจุบันมีข่าวลบ ๆ เรื่องพระภิกษุอยู่บ่อย ๆ จึงทำให้ชาวพุทธเสื่อมศรัทธาไม่อยากทำบุญ ตรงนี้ต้องบอกว่า วันธรรมการเสนอข่าวทุกวันนี้คือ เน้นข่าวลบ หรือ ข่าวร้าย บางข่าวก็ไม่เป็นความจริง มีคำกล่าวหนึ่งที่สะท้อนภาพของสื่อได้ชัดเจนคือ "ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียตังค์" จากการสำรวจข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับวันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2552 พบว่า มีทั้งหมด 11 ข่าว เป็นข่าวการเมือง 2 ข่าว ข่าวทั่ว ๆ ไป 2 ข่าว ที่เหลืออีก 7 ข่าวนั้น เป็นข่าวร้ายทั้งสิ้น ได้แก่ การฆาตกรรม การฆ่าตัวตาย ข่าวผู้ทำผิดกฎหมาย ฯลฯ ข่าวเหล่านี้จะพิมพ์ด้วยอักษรตัวใหญ่ และมักโชว์ภาพ
อันน่าสยดสยองให้เห็นอย่างเด่นชัด
จริง ๆ แล้วข่าวการเมืองทุกวันนี้ก็มีแต่เรื่องร้อน ๆ แฉกันไป แฉกันมา จริงบ้างไม่จริงบ้าง ก็ว่ากันไปได้ทุกวัน ข่าวทั่ว ๆ ไปที่มักถูกนำเสนอคือ เรื่องส่วนตัวด้านลบของดาราซึ่งจะมีมาให้ได้ยินได้ฟังกันเป็นช่วง ๆ ผู้ที่ตกเป็นข่าวหลายคนถึงกับหมดอนาคตไปเลย และยังส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบของเยาวชนอีกจำนวนมาก โดยสังเกตได้ว่าเมื่อมีข่าวหนึ่งเกิดขึ้น ต่อมาไม่นานก็จะมีผู้ตกเป็นข่าวประเภทนั้นตามมาเป็นช่วง ๆ
หนังสือพิมพ์ฉบับอื่น ๆ ก็คล้าย ๆ กัน หากกล่าวเฉพาะข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ แล้ว ประมาณ 6080 เป็นข่าวร้าย เป็นข่าวด้านลบ เมื่อครั้งที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึงกับเอ่ยปากแก่สื่อมวลชนว่า "...สื่อก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ถ้าเรามองเฉพาะในส่วนที่เป็นด้านลบอย่างเดียว ไม่เสนอในสิ่งที่ดีงามให้กับสังคมบ้างสังคมก็คงจะลำบาก และกล่าวว่า นายแพทย์ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโ ได้พูดว่า 'ถ้าเรื่องเลวเขาก็ลงในสื่อ ถ้าเรื่องดีต้องจ้างถึงลงได้' ก็เป็นเรื่องที่ท่านทั้งหลายควรจะมองเอง ต้องคิดดูว่าอะไรบ้างต้องช่วยกันเพื่อช่วยสังคมของเรา..."
พระภิกษุและสามเณรในประเทศไทยในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 300,000 รูป จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีผู้ที่ประพฤติผิดพระธรรมวินัยบ้าง เพราะคนในโลกก็มีทั้งคนดี คนไม่ดี จึงเป็นไปได้ที่จะมีคนไม่ดีหลุดเข้ามาบวช แม้แต่ในสมัยพุทธกาลก็มีอยู่ไม่น้อยที่ภิกษุผิดศีลถึงขั้นปาราชิกคือขาดจากความเป็นพระ แต่ขณะเดียวกันพระภิกษุที่ตั้งใจฝึกตนจนบรรลุธรรมเป็นพระอริยสงฆ์ก็มีจำนวนมาก แม้ในปัจจุบันพระที่ตั้งใจปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของพระธรรมวินัยก็ยังมีอยู่มากเช่นกัน บ่อยครั้งที่มีพระภิกษุนับ 100,000 รูป มาสวดมนต์และปฏิบัติธรรมร่วมกัน ณ วัดพระธรรมกาย แต่แปลกที่ความดีของพระภิกษุเหล่านี้ไม่ค่อยได้รับการเสนอเป็นข่าวแก่สาธารณชน คนในสังคมจึงเข้าใจไปว่าพระดี ๆ หาไม่ค่อยได้แล้ว
สิ่งที่พุทธศาสนิกชนต้องทำคือ ช่วยกันดูแลรักษาพระพุทธศาสนา อุปัฏฐากพระภิกษุสามเณรให้ดี ให้ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเต็มที่ พระภิกษุสามเณรรูปใดที่ปฏิบัติชอบก็ช่วยกันส่งเสริมยกย่องให้เป็นบุคคลต้นแบบของสังคม ผู้ที่มาบวชภายหลังจะได้เจริญรอยตามแต่ถ้าพบพระภิกษุสามเณรรูปใดปฏิบัติตนไม่เหมาะสม ก็ต้องช่วยกันจัดการแก้ไข ไม่นิ่งดูดายแต่ไม่ควรนำมาประจานให้หมู่สงฆ์เสียหาย อาจจะแก้ไขด้วยการแจ้งผู้ปกครองสงฆ์บ้าง หรือถวายความรู้ท่านบ้าง หากท่านไม่ได้ทำความผิดร้ายแรงและสามารถกลับตัวกลับใจได้ ก็จะเป็นกำลังสำคัญของพระศาสนาต่อไป หากชาวพุทธทั้งหลายช่วยกันอย่างนี้พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองไปได้อีกยาวนาน และจะนำความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ตัวท่านและลูกหลานของท่านตลอดจนสังคมไทยและสังคมโลกด้วย
*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 004 คู่มือพุทธมามกะ
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree