พุทธวิธีสอนธรรมแก่ชาวโลก

วันที่ 22 มิย. พ.ศ.2560

พุทธวิธีสอนธรรมแก่ชาวโลก


คู่มือพุทธมามกะ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธมามกะ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พุทธวิธีสอนธรรมแก่ชาวโลก

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบดีว่า อริยมรรคมีองค์ 8 ที่พระองค์ทรงตรัสรู้นั้น คือหนทางเพียงสายเดียวที่สามารถช่วยมนุษย์ทั้งโลกให้รอดพ้นจากทุกข์ได้เด็ดขาด แต่การที่จะทำให้มนุษย์ทั้งโลกนี้มีกำลังใจปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 ตามพระองค์ไปนั้น ไม่ใช่ของง่าย พระองค์จึงจำเป็นต้องเตรียมการ อนให้พอเหมาะพอดีกับระดับ ติปัญญาของคนแต่ละคน จึงจะทำให้เขาเกิดกำลังใจที่จะกำจัดทุกข์ตามพระองค์ไปนิพพานได้ วิธีการสอนอริยมรรคมีองค์ 8 ที่พระองค์ทรงสอนให้ชาวโลกเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ

1) ทรงจำแนกทุกข์ให้เห็นชัด
2) ทรงจำแนกคนให้เห็นชัด
3) ทรงจำแนกกฎประจำโลกให้เห็นชัด
4) ทรงสอนให้มีตนเองเป็นที่พึ่งในการกำจัดทุกข์
5) ทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็นแม่บทการศึกษาทางธรรม ให้ชาวโลกนำไปปฏิบัติตามอย่างเร่งด่วน

1) ทรงจำแนกทุกข์ให้เห็นชัด
      พระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า ทุกข์ประจำชีวิตมนุษย์นั้น แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

    ทุกข์จากการดำรงชีวิต เช่น ทุกข์จากสภาพดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวย ทุกข์จากสุขภาพร่างกายทรุดโทรม ทุกข์จากการแสวงหาปัจจัย 4 มาเลี้ยงชีวิตไม่เพียงพอ เป็นต้น

      ทุกข์จากการอยู่ร่วมกัน เช่น ทุกข์จากการกระทบกระทั่ง ทุกข์จากการถูกเอารัดเอาเปรียบ ทุกข์จากการแก่งแย่งชิงดี ทุกข์จากการถูกคดโกง เป็นต้น

    ทุกข์จากอำนาจกิเลส เช่น ทุกข์จากความเห็นแก่ได้ ทุกข์จากความเคียดแค้นอาฆาต ทุกข์จากความมัวเมาอบายมุข ทุกข์จากความน้อยเนื้อต่ำใจ ทุกข์จากความอิจฉาริษยา เป็นต้น

     ทุกข์ทั้ง 3 ประเภทนี้ได้ตามราวีชีวิตมนุษย์อย่างไม่เลิกราอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก หากพระพุทธองค์ไม่ทรงสอนคนทั้งโลกนี้ให้รู้ความจริงเรื่องทุกข์ และไม่เคี่ยวเข็ญให้ดับทุกข์ ชีวิตของคนทั้งโลกนี้ ก็จะมีแต่ความทุกข์ทับทวี คนทั้งโลกนี้ก็มีแต่จะจับอาวุธเข้าเข่นฆ่ากันให้ตาย โลกก็จะลุกเป็นไฟ และถูกเผาไหม้ให้เป็นจุลด้วยฝีมือมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น


2) ทรงจำแนกบุคคลให้เห็นชัด
       พระองค์ทรงชี้ให้เห็นชัดว่า บุคคลในโลกนี้มิได้มองเห็นชีวิตตามความเป็นจริงทุกคน

      พวกที่หนึ่ง คือ พวกที่มองเห็นแล้วว่าชีวิตเป็นทุกข์จึงตะเกียกตะกายหาทางกำจัดทุกข์เรื่อยมา จนกระทั่งใกล้จะพ้นทุกข์ได้แล้ว เปรียบเหมือนคนที่ว่ายข้ามกระแสน้ำเชี่ยวจนใกล้จะถึงฝังแล้ว ขอเพียงได้เห็นคนที่ขึ้นฝังได้แล้วเป็นกำลังใจ ก็จะว่ายตามไปถึงฝังอย่างแน่นอน เช่น พระโพธิสัตว์ เป็นต้น

    พวกที่สอง คือ พวกที่มองเห็นว่าชีวิตเป็นทุกข์เหมือนพวกแรก แต่ยังหาทางกำจัดทุกข์ไม่พบ เปรียบเหมือนคนที่กำลังพยายามว่ายทวนกระแสน้ำเชี่ยวเข้าหาฝัง แต่ยังกำหนดทิศทางสู่ฝังไม่ได้ เช่น ผู้มีบุญที่ใกล้จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นต้น

     พวกที่สาม คือ พวกที่ยังไม่รู้ว่าชีวิตเป็นทุกข์ จึงไม่ได้ตะเกียกตะกายหาทางกำจัดทุกข์เปรียบเหมือนคนที่ลอยคออยู่กลางกระแสน้ำเชี่ยว รอวันจมลงสู่ก้นแม่น้ำ

  พวกที่สี่ คือ พวกที่ยังไม่รู้ว่าชีวิตเป็นทุกข์ กำลังเมามันกับการประพฤติผิดศีลธรรม และจมปลักอยู่กับอบายมุขอย่างไม่ลืมหูลืมตา เปรียบเหมือนคนตาบอดที่กำลังจมดิ่งสู่ก้นแม่น้ำ ย่อมยากจะโผล่พ้นผิวน้ำขึ้นมาได้ มีแต่ตายกับตายเท่านั้น

     คนทั้งสี่กลุ่มนี้ มองเห็นความจริงของชีวิตได้ไม่เท่ากัน มีกำลังใจไม่เท่ากัน มีปัญญาในการฝึกตนไม่เท่ากัน จำเป็นต้องได้รับคำชี้แนะที่พอเหมาะพอดีกับแต่ละคน จึงจะลงมือกำจัดทุกข์ตามคำสอนของพระองค์ และบรรลุนิพพานตามพระองค์ไปได้ แม้อาจไม่ได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยการได้รู้ทางรอดไว้บ้าง ก็ดีกว่าไม่รู้


3) ทรงจำแนกกฎประจำโลกให้เห็นชัด
      พระองค์ทรงชี้ให้เห็นชัดว่า กฎในโลกนี้มีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่

    3.1) กฎหมาย คือ กฎระเบียบต่าง ๆ ที่มนุษย์ในแต่ละประเทศนั้น ๆ กำหนดขึ้นเพื่อเป็นหลักในการปกครองพลเมืองในประเทศของตนให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบ ซึ่งล้วนมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ

      3.2) กฎจารีตประเพณี คือ กฎระเบียบต่าง ๆ ที่มนุษย์กำหนดขึ้น เพื่อเป็นหลักในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในท้องถิ่น หรือประเทศของตน โดยไม่ขัดต่อกฎหมายของประเทศนั้น เช่น การกิน การอยู่ การใช้ปัจจัย 4 การรักษาพยาบาล เป็นต้น

      3.3) กฎแห่งกรรม คือ กฎความจริงที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ เป็นกฎกำหนดความแตกต่างของชีวิตมนุษย์ทุกคนในโลกนี้ ให้มีรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ และสิ่งแวดล้อมทั้งที่หยาบและประณีตแตกต่างกันไป อีกทั้งเป็นตัวกำหนดความถูกผิด ดีชั่ว บุญบาปคุณโทษ ที่เกิดขึ้นจากการกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจของแต่ละคน และส่งผลเป็นความทุกข์หรือความสุขของมนุษย์ทั้งในชาตินี้ ในชาติหน้า และในชาติต่อ ๆ ไป

      3.4) กฎไตรลักษณ์ คือ กฎความจริงที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ เป็นกฎที่ทำให้มนุษย์และสรรพสิ่งในโลกนี้ตกอยู่ในสภาพของความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ของตน ทำให้ทุกสรรพสิ่งในโลกนี้มีสภาพที่ผุพังไม่แน่นอน นั่นคือเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ตั้งอยู่ได้พักหนึ่ง จากนั้นก็จะเสื่อม ภาพไปตามวันเวลา ไม่มีใครต้านทานไว้ได้

     กฎหมายกับกฎจารีตประเพณีนั้น เป็นกฎที่มนุษย์กำหนดขึ้นเอง ยังอยู่ใน ภาพลองผิดลองถูก ไม่ตรงตามความเป็นจริงเสมอไป เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เทคโนโลยีสภาพดินฟ้าอากาศ กฎหมายกับกฎจารีตประเพณีก็จะต้องถูกแก้ไขกำหนดขึ้นใหม่ตามความเหมาะสมของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในยุคนั้น ๆ

     แต่กฎแห่งกรรมกับกฎไตรลักษณ์นั้น เป็นกฎที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ค้นพบสองกฎนี้ด้วยญาณทัสนะของพระองค์เอง และนำมาเปิดเผยให้ชาวโลกทราบว่า องกฎนี้เป็นกฎเหล็กที่ควบคุมชะตาชีวิตของมนุษย์เอาไว้ แต่ไม่ได้ทรงเปิดเผยว่าสองกฎนี้มีอยู่ในธรรมชาติได้อย่างไร และใครเป็นผู้ตราสองกฎนี้ขึ้นมา เพราะเมื่อบุคคลใดสามารถบรรลุนิพพานได้ดุจเดียวกับพระองค์แล้ว เขาก็จะรู้เบื้องหลังเรื่องนี้ด้วยตนเอง

     กฎแห่งกรรมและกฎไตรลักษณ์นี้เป็นกฎที่มีอันตรายอย่างยิ่งต่อมวลมนุษยชาติ เพราะหากใครทำผิดกฎแห่งกรรม แม้จะด้วยความไม่รู้หรือไม่เจตนาก็ตาม โทษที่เกิดขึ้นกับชีวิตก็จะยังคงมีอยู่ และโทษที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่แค่ส่งผลให้เกิดความทุกข์ในขณะปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังจะส่งผลเป็นความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งในชาตินี้ ชาติหน้า และชาติต่อๆ ไปอีกด้วย ทำให้ชีวิตต้องเผชิญกับความทุกข์ยากลำบากต่าง ๆ นานาอย่างไม่รู้จบรู้สิ้น เปรียบเหมือนคนทำผิดเพียงครั้งเดียว แต่ต้องถูกจองจำเป็นนักโทษ และโดนลงทัณฑ์ ทนทรมานอยู่ในคุกตลอดชีวิตซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมเท่าใดนัก

    แต่เพราะการตรัสรู้ทำให้พระองค์ทรงพบว่า หนทางเดียวที่มนุษย์ทั้งโลกจะรอดพ้นจากความทุกข์ประจำชีวิต จากอันตรายของกฎแห่งกรรม และจากการถูกทำลายล้างด้วยกฎไตรลักษณ์ ก็คือ ต้องสอนให้ชาวโลกทุ่มเทปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 จนกระทั่งบรรลุนิพพานเพราะนิพพานนั้น มี ภาวะแห่งความสิ้นจากทุกข์ ภาวะแห่งความสิ้นวิบากกรรม และสภาวะแห่งความสิ้นไตรลักษณ์ จึงมีแต่ความสุข ความบริสุทธิ์ และความเป็นอมตะล้วน ๆ กฎแห่งกรรมและกฎไตรลักษณ์จึงตามไปครอบงำไม่ได้


4) ทรงสอนให้มีตนเองเป็นที่พึ่งในการกำจัดทุกข์
       ในการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หลักการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจนว่า

อัตตา หิ อัตตะโน นาโถ
โก หิ นาโถ ปโร สิยา
ตนเท่านั้นเป็นที่พึ่งแห่งตน
บุคคลใดเล่าจะเป็นที่พึ่งให้แก่ตนได้
อัตตะนา หิ สุทันเตนะ
นาถัง ละภะติ ทุลละภัง
เพราะบุคคลที่ฝึกตนดีแล้ว
ย่อมได้ที่พึ่ง (คือ นิพพาน) ที่บุคคลอื่นได้โดยยาก

พุทธพจน์บทนี้ส่องทางให้ชาวโลกได้รู้ว่า

     4.1) การที่จะกำจัดทุกข์ได้หมดสิ้นนั้น ต้องกำจัดด้วยตนเอง ไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดาหรือใครอื่นก็ไม่อาจกำจัดทุกข์แทนเราได้ แม้ว่าบุคคลนั้นจะมีความยินดีช่วยเหลือเราด้วยความเต็มใจก็ตาม

       4.2) การที่จะกำจัดทุกข์ได้หมดสิ้นนั้น ต้องอาศัยที่พึ่งที่ได้โดยยาก คือ นิพพาน

       4.3) การที่จะได้นิพพานเป็นที่พึ่งนั้น ต้องอาศัยการพึ่งตนเอง 3 ระดับ ดังนี้

       ระดับที่หนึ่ง คือ พึ่งการฝึกอบรมตนเองให้มีกาย วาจา ใจที่บริสุทธิ์เท่ากับนิพพาน

      ระดับที่สอง คือ พึ่งความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจเท่ากับนิพพาน ไปเห็นนิพพาน เข้าถึงนิพพาน และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับนิพพาน

     ระดับที่สาม คือ พึ่งความบริสุทธิ์เป็นหนึ่งเดียวกับนิพพาน ไปกำจัดทุกข์และต้นเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไปโดยเด็ดขาด

     4.4) ผู้ที่จะสามารถพึ่งตนเองได้ทั้ง 3 ระดับนั้น จะต้องเป็นผู้ที่ฝึกอบรมตนเองดีแล้วนั่นคือ ต้องมีคุณสมบัติของผู้ปรารภความเพียร 5 ประการ อยู่ประจำตัว ได้แก่

    (1) ความเป็นผู้มีศรัทธา คือ เป็นผู้ที่รู้ถึงพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างชัดเจนและมีอุดมการณ์ชีวิตที่จะมุ่งฝึกอบรมตนเองเพื่อกำจัดทุกข์ให้หมดสิ้นตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไป

    (2) ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย คือ เป็นผู้ที่มีนิสัยเคร่งครัดดูแลรักษาสุขภาพของตนเป็นและรู้ประมาณในการบริโภคใช้สอยปัจจัย 4 ให้เหมาะสมกับสุขภาพของตน

   (3) ความเป็นผู้ไม่โอ้อวด-ไม่มีมารยา คือ เป็นผู้ที่มีนิสัยรักการฝึกอบรมตนเองให้มีความรู้ดี ความสามารถดี และความประพฤติดีอยู่ในระดับที่รับผิดชอบตนเองได้ ไม่เป็นภาระของใคร

    อีกทั้งยังเป็นผู้ที่ได้รับการปลูกฝังจิตใจของความเป็นมนุษย์มาอย่างสมบูรณ์ ได้แก่การรู้จักแบ่งปันให้เพื่อนมนุษย์เพื่อให้เขามีความสุข (เมตตา) การรู้จัก งเคราะห์เพื่อนมนุษย์ที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก (กรุณา) การรู้จักยกย่องยินดีเพื่อนมนุษย์ที่ทำความดี ไม่ว่าเขาคนนั้นจะอยู่ในฐานะที่สูงกว่าตน เสมอกับตน หรือต่ำกว่าตนก็ตาม (มุทิตา) การรู้จักยอมรับผลแห่งวิบากกรรมตามความเป็นจริงว่า ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว (อุเบกขา)

     คนที่รับผิดชอบตนเองได้ และมีน้ำใจเอื้อเฟอต่อเพื่อนมนุษย์เช่นนี้ จึงจะมีความพร้อมต่อการฝึกอบรมตนให้มีคุณธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยไม่มีข้อแม้ เงื่อนไขในการทำความดี จึงมีความมั่นใจและภาคภูมิใจในตนเอง ไม่กลัวว่าใครจะไม่รู้คุณธรรมของตน แต่กลัวว่าตนจะไม่มีคุณธรรมนั้น ๆ อยู่จริง ทำให้ไม่ต้องหลอกตนเองด้วยการโอ้อวดในสิ่งที่ตนไม่มี และไม่ต้องมีมารยาปกปิดความจริงที่ตนได้หลอกลวงผู้อื่นเอาไว้ จึงสามารถฝึกอบรมตนตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปได้อย่างชนิดยอมอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน

       (4) ความเป็นผู้ปรารภความเพียร คือ เป็นผู้ที่มีนิสัยรักการเจริญภาวนา ตามคำสอนของพระพุทธองค์อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่มีข้อแม้เงื่อนไข เพื่อกลั่นกาย วาจา ใจของตนเองให้บริสุทธิ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนกระทั่งมีความบริสุทธิ์เท่ากับนิพพาน

     (5) ความเป็นผู้มีปัญญา คือ เป็นผู้ที่รู้เห็นการเกิดดับของทุกข์ตามความเป็นจริงในระดับโลกุตรธรรม และสามารถกำจัดทุกข์ให้สิ้นไปได้ด้วยการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 ในระดับโลกุตรธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนกระทั่งเห็นนิพพาน เข้าถึงนิพพาน และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับนิพพาน ทำให้สามารถกำจัดทุกข์ให้สิ้นไปจากชีวิตได้อย่างถาวร

      ดังนั้น การที่ชาวโลกจะรอดพ้นจากทุกข์ประจำชีวิต จากอันตรายของกฎแห่งกรรม และจากสภาพทำลายล้างของกฎไตรลักษณ์ได้ ก็จำเป็นจะต้องปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 ให้อยู่ในระดับที่พึ่งตนเองได้ นั่นคือ อย่างน้อยที่สุด ก็จำเป็นต้องฝึกอบรมตนให้มีคุณสมบัติ 5 ประการอยู่ประจำตัว

     ในขณะที่เรากำลังฝึกอบรมตนเองอยู่ และยังไม่อาจเป็นที่พึ่งให้แก่ตนเองได้ ก็จำเป็นต้องได้กัลยาณมิตรเป็นที่พึ่ง

       กัลยาณมิตรที่ดีนั้นจะต้องเป็นที่พึ่งให้แก่ชาวโลกได้อย่างน้อยใน 3 ฐานะ ได้แก่

1) พึ่งในฐานะบุคคลต้นแบบการกำจัดทุกข์
2) พึ่งในฐานะครู อนอริยมรรคมีองค์ 8 ในภาคปฏิบัติ
3) พึ่งในฐานะเป็นแหล่งที่ให้กำลังใจในการกำจัดทุกข์ไปได้ตลอดรอดฝัง จนกว่าจะบรรลุนิพพานในตน

     ดังนั้น บุคคลที่เป็นที่พึ่งให้แก่ชาวโลกได้ดีที่สุด ก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า รองลงมาก็คือเหล่าพระอรหันตสาวก รองลงมาอีกก็คือพระภิกษุสงฆ์ที่ทุ่มชีวิตปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 เพื่อมุ่งกำจัดทุกข์ตามพระองค์ไปให้ได้

     ชาวโลกในยุคก่อนเข้าใจภาวะเดือดร้อนที่ต้องเคว้งคว้างเป็นทุกข์ ขณะไร้ที่พึ่งในการกำจัดทุกข์ของตนเองเป็นอย่างดี จึงได้จัดให้มี พิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะ เพื่อขอถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งในการกำจัดทุกข์นั่นเอง ซึ่งแม้วันนี้พระพุทธองค์ไดดับขันธปรินิพพานไปแล้ว แต่ก็ยังคงพิธีการประกาศตนเป็นพุทธมามกะนั้นไว้ ทางหนึ่งก็เพื่อระลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต และอีกทางหนึ่งก็เพื่อผูกใจของตนเองเอาไว้กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ในอนาคต


5) ทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์ซึ่งเป็นแม่บทการศึกษาทางธรรม ให้ชาวโลกนำไปปฏิบัติตามอย่างเร่งด่วน

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบดีว่า ในช่วงที่พระองค์ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่นั้นพระองค์ไม่สามารถขนชาวโลกทั้งโลกไปนิพพานได้หมดสิ้น แต่ทว่าก็ไม่อาจทอดทิ้งโดยไม่เหลียวแล จึงจำเป็นต้องหาวิธีการ อนอริยมรรคมีองค์ 8 ในระดับที่ช่วยให้ชาวโลกสามารถพึ่งตนเองได้เร็วที่สุด แม้ไม่ได้ตรัสอนด้วยพระองค์เอง แต่ก็สามารถศึกษาจากพระอรหันต์ และฝึกอบรมตนเองตามพระองค์ไปได้เช่นกัน รวมทั้งถึงแม้ว่าพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วชาวโลกที่เกิดมาในภายหลังก็ยังมีหนทางรอดไปนิพพานได้

      ด้วยเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงปรับระดับคำ อนเรื่องอริยมรรคมีองค์ 8 ให้อยู่ในลักษณะที่สามารถทำให้ชาวโลกเห็นความสำคัญได้ง่ายที่สุด เรียนรู้ได้ง่ายที่สุด ปฏิบัติตามได้ง่ายที่สุด และนำไปเผยแผ่ได้ง่ายที่สุด การปรับลักษณะคำสอนที่เหมาะแก่การเผยแผ่เช่นนี้ นอกจากจะช่วยให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนากระจายออกไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังสามารถช่วยเหลือชาวโลกทุกระดับการศึกษา ทุกระดับสติปัญญา ทุกชนชาติ ทุกศาสนา ทุกเพศ ทุกวัย ให้ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 ตามพระองค์ไปได้โดยง่าย ซึ่งส่งผลให้พระองค์สามารถเพิ่มกำลังชาวพุทธในการขนชาวโลกไปนิพพานได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดอีกด้วยทั้งยังเป็นมรดกตกทอดมาถึงชาวโลกในยุคหลัง ให้มีทางรอดพ้นจากทุกข์ประจำชีวิต รอดพ้นจากกฎแห่งกรรม รอดพ้นจากกฎไตรลักษณ์ ตามพระองค์ไปได้อีกด้วย

      ดังนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงประทาน "โอวาทปาฏิโมกข์" แปลว่า โอวาทเพื่อความรอดพ้นจากทุกข์ของคนทั้งโลก ซึ่งเป็นคำ อนที่ทำให้ชาวโลกเห็นความสำคัญของการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 ได้ง่ายที่สุด เรียนรู้ได้ง่ายที่สุด ปฏิบัติตามได้ง่ายที่สุด และนำไปเผยแผ่ได้ง่ายที่สุด เพราะเหมาะแก่ชาวโลกทุกยุคสมัย

     โอวาทปาฏิโมกข์ ประกอบด้วยคำสอน 3 ชุด

    โอวาทชุดแรก คือ คำสอนที่มุ่งปลูกฝัง "อุดมการณ์ชีวิตที่เป็นสัมมาทิฏฐิ" มี 3 ประเด็นใหญ่ ที่ต้องรีบบอกให้ชาวโลกรู้ความจริง ได้แก่

     1) พระองค์ทรงสั่งสอนให้ชาวโลกรู้ว่า การที่จะกำจัดทุกข์ได้สำเร็จต้องมี "ความอดทน" เป็นอันดับแรก คนเราทุกคนล้วนต้องอดทนตั้งแต่วินาทีแรกที่คลอดออกจากครรภ์มารดา ซึ่งเป็นวินาทีวิกฤตที่สุดในชีวิต เพราะขณะนั้นเป็นภาวะที่เราอ่อนแอที่สุด โง่เขลาที่สุด พร้อมที่จะตายได้ตลอดเวลา เพียงแค่เราไม่สามารถเรียนรู้เรื่องการหายใจด้วยตนเองให้เป็น ก็ตายได้เดี๋ยวนั้นทันที ครั้นเมื่อเราหายใจเป็นแล้ว เราจึงได้รู้ว่าเราไม่สามารถยืมจมูกของใครหายใจได้เลย เป็นการ อนให้รู้ว่า ตัวของเราเองจะต้องเป็นที่พึ่งให้ตนเองไปตลอดชีวิต ดังนั้น เราจึงต้องมีความอดทน เพราะความอดทนเป็นเครื่องเผาผลาญทุกข์อย่างยิ่ง

   2) พระองค์ทรงสั่งสอนให้ชาวโลกรู้จักว่า เป้าหมายที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์คือ "การบรรลุนิพพาน" เพราะนิพพานเป็นบรมสุขอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็น ภาวะที่ทำให้รอดพ้นจากทุกข์ประจำชีวิต รอดพ้นอันตรายจากกฎแห่งกรรม รอดพ้นจาก ภาพทำลายล้างของกฎไตรลักษณ์อย่าง มบูรณ์แบบ เพราะเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์จึงตรัสตรงกันว่า "นิพพานนั้นเป็นเยี่ยม"

      3) พระองค์ทรงสั่งสอนให้ชาวโลกรู้ว่า หนทางที่มุ่งไปสู่นิพพานนั้น มีเพียงสายเดียว และเป็น "หนทางที่ไม่ก่อบาปก่อเวรเพิ่ม เป็นหนทางของสมณะ ผู้สงบ สงัดจากการก่อบาปก่อเวรทั้งปวง" ผู้ที่จะไปนิพพานได้นั้น จำเป็นต้องฝึกอบรมกาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์เท่ากับนิพพานจึงจะเห็นนิพพาน เข้าถึงนิพพาน และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับนิพพานได้ จึงจะบรรลุนิพพานได้อย่างถาวร การก่อบาปก่อเวรจึงไม่ใช่หนทางของผู้มีความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ แต่เป็นหนทางของผู้ยังต้องตกอยู่ในอบาย ซึ่งมีแต่ทุกข์กับทุกข์ที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่รู้จบรู้สิ้นเท่านั้น

      โอวาทชุดที่สอง คือ คำสอนที่มุ่งปลูกฝัง "หลักการคิดที่เป็นสัมมาสังกัปปะ" ให้แก่ ชาวโลก ซึ่งมีหลักการอยู่ 3 ประการ ได้แก่

      1) พระองค์ทรงสั่งสอนให้ชาวโลกรู้ว่า ก่อนจะทำอะไรก็ตาม ต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบเสียก่อนว่าสิ่งนั้นดีหรือชั่ว โดยทรงให้ยึดหลักว่า "ความชั่วทุกชนิดต้องไม่ทำเป็นอันขาด" ถึงแม้ถูกขู่ฆ่าเอาชีวิตก็ต้องไม่ทำ เพราะการทำความชั่วแม้เพียงเล็กน้อย อาจมีผลถึงตกนรก เมื่อใดที่ทำความชั่ว นั่นคือการก่อบาปก่อเวรใหม่ให้แก่ตนเอง มีแต่เพิ่มบาปและเพิ่มทุกข์ให้กับตนเองอย่างไม่รู้จบไม่รู้สิ้น เพราะบาปก็คือพลังงานชนิดหนึ่ง ที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตามนุษย์ปุถุชน แต่มีอานุภาพทำลายล้างผลาญความดีได้ร้ายกาจนัก

     2) พระองค์ทรงสั่งสอนให้ชาวโลกรู้ว่า ก่อนจะทำอะไรก็ตาม ต้องรู้ก่อนว่าสิ่งที่ทำได้ก็เฉพาะ "ความดี" เท่านั้น โดยทรงให้ยึดหลักว่า "ความดีใดที่ได้โอกาสทำ ต้องทำให้ดีที่สุดทำอย่างสุดชีวิต คือ อุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน" ห้ามทำความดีอย่างเหยาะ ๆ แหยะ ๆ ห้ามท้อถอยในการทำความดี เพราะการทำความดีแม้เพียงนิด ย่อมมีผลต่อการกำจัดทุกข์และเพิ่มความสุขให้กับชีวิต ความดียิ่งทำมากเท่าไร ยิ่งส่งผลดีต่อชีวิตมากเท่านั้น เพราะผลของความดีก็คือ บุญ เพราะบุญ คือ พลังงานบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นในใจทุกครั้งที่ทำความดี บุญนี้มีอานุภาพในการกำจัดทุกข์และดึงดูดความสุข ความเจริญมาสู่ชีวิตอย่างไม่รู้จบไม่รู้สิ้นดั่งคำสุภาษิตที่ว่า "บุญมาปัญหาลด บุญหมดปัญหาเพิ่ม"

    3) พระองค์ทรงสั่งสอนให้ชาวโลกรู้ว่า ต้องรักษาใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ เพราะในขณะทำความดี ใจยิ่งผ่องใสมากเท่าใด บุญยิ่งเกิดขึ้นในใจมากเท่านั้น บุญยิ่งเกิดขึ้นมากเท่าใด ความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจยิ่งเพิ่มตามไปเท่านั้น ความบริสุทธิ์ยิ่งเพิ่มขึ้นมากเท่าใด ยิ่งเข้าใกล้นิพพานมากเท่านั้น เมื่อใดที่กาย วาจา ใจมีความบริสุทธิ์เท่ากับนิพพาน ย่อมสามารถเห็นนิพพานเข้าถึงนิพพาน และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับนิพพานเมื่อนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ตรัสรู้ธรรมได้ด้วยการเจริญภาวนาเพื่อกลั่นกาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสทั้งสิ้น

      โอวาทชุดที่สาม คือ คำสอนที่มุ่งปลูกฝัง "วิธีการดำเนินชีวิตเพื่อรักษาใจให้ผ่องใสและไม่ก่อบาปก่อเวรใหม่เพิ่ม" ให้แก่ชาวโลก ซึ่งมีทั้งหมด 6 ประการ ได้แก่

      1) พระองค์ทรงสั่งสอนให้ชาวโลกรู้ว่า ต้องระวังคำพูดของตนเองให้ดี อย่าก่อบาปก่อเวรด้วยปาก โดยเริ่มต้นฝึกจาก "การไม่ว่าร้ายผู้ใด" เพราะนั่นคือการฝึกพูดด้วยใจที่ผ่องใสเป็นสัมมาวาจา

     2) พระองค์ทรงสั่งสอนให้ชาวโลกรู้ว่า ต้องระมัดระวังมือเท้าของตนเองให้ดี อย่าก่อบาปก่อเวรด้วยมือด้วยเท้าของตน โดยต้องเริ่มฝึกฝนจาก "การไม่ทำร้ายผู้ใด" เพราะนั่นคือการฝึกการกระทำด้วยใจที่ผ่องใสเป็นสัมมากัมมันตะ

   3) พระองค์ทรงสั่งสอนให้ชาวโลกรู้ว่า ต้องระมัดระวังการประกอบอาชีพของตนเองให้ดีอย่าเลี้ยงชีวิตด้วยการก่อบาปก่อเวรเพิ่ม โดยเริ่มฝึกจาก "การรักษาศีลและมารยาทของตนให้ดี" เพราะนั่นคือการฝึกประกอบอาชีพด้วยใจที่ผ่องใสเป็นสัมมาอาชีวะ

     4) พระองค์ทรงสั่ง อนให้ชาวโลกรู้ว่า ต้องระมัดระวังการใช้สอยปัจจัย 4 ให้ดี เพราะหากใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ก็จะเป็น เหตุให้ก่อบาปก่อเวรที่เป็นความเสียหายต่าง ๆ ขึ้นมาทันที เช่น เสียทรัพย์เปล่า เสียแรงเปล่า เสียบุญเปล่า เสียเวลาเปล่า เสียมิตรแต่เพิ่มศัตรู ที่เสียอย่างยิ่งคือเสียนิสัย เพราะเพียงได้นิสัยเอาแต่ใจ นิสัยเห็นแก่ได้ นิสัยมักง่าย แค่นี้ก็พร้อมจะก่อบาปก่อเวรได้ไม่หยุดหย่อนแล้ว โดยพระองค์ทรงให้เริ่มฝึกจาก "การรู้ประมาณในการบริโภคอาหารให้พอเหมาะพอดีกับสุขภาพร่างกาย" เพราะนั่นคือการฝึกความเพียรละชั่วด้วยใจที่ผ่องใสเป็นสัมมาวายามะ

    5) พระองค์ทรงสั่งสอนให้รู้ว่า ความสงบของชีวิตเริ่มต้นที่การประคองใจให้อยู่ในตัวโดยต้องเริ่มฝึกจาก "การเลือกที่นั่งและที่นอนในที่สงบ" เพื่อที่จิตใจจะได้ไม่ฟุ้งซ่าน มีเวลาวางแผนแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง และมีโอกาสได้ฝึกสมาธิให้ใจมีกำลัง ติที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป จะได้ไม่หงุดหงิดง่าย หรือวอกแวกง่าย อันจะเป็นเหตุให้พลั้งเผลอไปก่อบาปก่อเวรเพิ่ม เพราะนั่นคือการฝึกประคองใจให้ผ่องใสอย่างต่อเนื่องเป็นสัมมาสติ

    6) พระองค์ทรงสั่งสอนให้รู้ว่า ความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจของคนเรานั้น เริ่มต้นที่การเพิ่มปริมาณความผ่องใสของใจให้มากยิ่งขึ้น ต่อเนื่องยิ่งขึ้น มั่นคงยิ่งขึ้น โดยต้องเริ่มฝึกจาก "การหมั่นเจริญภาวนาให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7" ในทุกโอกาสที่เอื้ออำนวยอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน เพราะนั่นคือการฝึกกลั่นกาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสอย่างต่อเนื่องเป็นสัมมาสมาธิ

      โอวาทปาฏิโมกข์อันประกอบด้วยคำสอนทั้งสามชุดนี้เอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทานเป็นนโยบายการเผยแผ่ให้แก่พระอรหันต์ 1,250 รูป ซึ่งเป็นชุดบุกเบิกการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยให้พระอรหันต์ทุกรูปรีบเดินทางกระจายกันไปยังแว่นแคว้นต่าง ๆ เพื่อบอกให้ชาวโลกได้ทราบถึงสภาวการณ์ตามความจริงในชีวิต แล้วรีบฝึกอบรมตนเองตามเส้นทางอริยมรรคมีองค์ 8 เพื่อฝ่าความทุกข์ประจำชีวิตที่รุมเร้าไม่หยุดหย่อน เพื่อฝ่ากฎแห่งกรรมที่ตามบีบคั้นไม่เลิกรา เพื่อฝ่ากฎไตรลักษณ์ที่ตามทำลายล้างไม่จบสิ้น เพื่อมุ่งไปสู่นิพพานตามพระพุทธองค์ เพราะอริยมรรคมีองค์ 8 คือหนทางรอดพ้นจากทุกข์เพียงสายเดียวของชาวโลกโดยมีโอวาทปาฏิโมกข์เป็นจุดเริ่มต้นของอริยมรรคมีองค์ 8 ภาคปฏิบัติ อันเป็นเสมือนการศึกษาธรรมขั้นพื้นฐานในพระพุทธศาสนา หรือปากประตูไปสู่นิพพานของชาวโลกนั่นเอง

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 004 คู่มือพุทธมามกะ
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.022062599658966 Mins