มหาบุรุษเอกที่แท้จริงของโลก

วันที่ 22 มิย. พ.ศ.2560

มหาบุรุษเอกที่แท้จริงของโลก


คู่มือพุทธมามกะ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธมามกะ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , มหาบุรุษเอกที่แท้จริงของโลก

       ในประวัติศาสตร์โลกอันยาวนาน แม้ต่างยุคต่างสมัย ผู้นำของโลกและประชาชนในแต่ละยุค ต่างตระหนักถึงปัญหาประจำชีวิตนี้เช่นกัน จึงพยายามเสาะแสวงหาผู้รู้มาสอนวิธีกำจัดทุกข์ให้แก่ตนเองและพลเมือง อันเป็นการดิ้นรนตะเกียกตะกายหาหนทางเอาชีวิตรอดจากความตายอย่างสุดชีวิต

      บางยุคสมัย  กษัตริย์บางพระองค์ถึงกับยอมสละราชบัลลังก์ เพื่อออกแสวงหาท่านผู้รู้ให้พบ มหาเศรษฐีบางท่านก็ส่งคนเดินทางออกไปทั่วโลก เพื่อเสาะแสวงหาท่านผู้รู้ยังประเทศต่าง ๆ โดยไม่เกี่ยงว่าจะต้องทุ่มเททรัพย์สินเงินทองเป็นค่าใช้จ่ายมากมายมหาศาลเพียงใดขอเพียงให้ได้พบกับบุคคลที่สามารถสอนตนเองและประชาชนกำจัดทุกข์ประจำชีวิตได้จริงเท่านั้นก็พอ

      จิตใจของผู้คนในยุคก่อนสะท้อนให้เห็นถึงว่า คนรุ่นก่อนมีความกระหายความรู้ในการกำจัดทุกข์ยิ่งนัก ต่างดิ้นรนแสวงหาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน เพื่อให้ได้พบความรู้ในการกำจัดทุกข์ให้สิ้นไปอย่างแท้จริง

    เนื่องจากเราเองมิได้เกิดมาเป็นคนแรกของโลกนี้ชาวโลกยุคก่อนได้ทำการศึกษาวิธีกำจัดทุกข์มานานแล้ว อีกทั้งระบบการศึกษาในโลก ก็มีการเก็บสะ มข้อมูลจากอดีตอย่างต่อเนื่องมาหลายล้านปีแล้ว จึงทำให้โลกของเราในยุคปัจจุบันมีความรู้เก็บสะสมเกี่ยวกับการกำจัดทุกข์ไว้มากมายหลายแนวทาง เราจึงสามารถศึกษาหาความรู้ของบุคคลต่าง ๆ ที่ทุ่มเทกำจัดทุกข์จากระบบการศึกษาในปัจจุบันได้ทันที

   เพราะการศึกษานั้น จะทำให้เราเข้าใจภาพรวมของการกำจัดทุกข์จากอดีตถึงปัจจุบันทำให้เรามีโอกาสเปรียบเทียบว่า บุคคลที่กำจัดทุกข์ได้จริงนั้นเป็นใคร อยู่ที่ไหนสอนอย่างไรยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ผู้ที่ปฏิบัติตามคำ อนของท่านได้ผลเป็นอย่างไรสามารถกำจัดทุกข์ได้จริงหรือไม่ นี่คือวิธีการที่ประหยัดเวลา และทำให้ทราบถึงความคืบหน้าในการแก้ปัญหาเรื่องทุกข์โดยไม่ต้องเสี่ยงลองผิดลองถูกมากเกินจำเป็น

       จากการศึกษาประวัติศาสตร์โลกที่ผ่านมาพบว่า บุคคลที่กำจัดทุกข์ได้จริงนั้น แบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่

       กลุ่มแรก คือ ผู้ที่ลองผิดลองถูกด้วยตนเองจนกระทั่งพบวิธีการที่ถูกต้องและกำจัดทุกข์ได้สำเร็จ

     กลุ่มที่สอง คือ ผู้ที่แสวงหาบุคคลที่กำจัดทุกข์ได้จริง เมื่อพบแล้ว ตนก็พากเพียรศึกษาและปฏิบัติตามคำlอนของท่านจนกระทั่งกำจัดทุกข์ได้สำเร็จ

    ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ ก็คือ บุคคลที่สามารถกำจัดทุกข์ของตนเองและสั่งสอนผู้อื่นให้กำจัดทุกข์ได้สำเร็จนั้นเป็นใคร ท่านค้นพบอะไรและปฏิบัติอย่างไร จึงกำจัดทุกข์ได้สำเร็จ

  ผลการศึกษาของผู้นำและประชาชนในแต่ละยุคที่ผ่านมาพบว่า แม้โลกในแต่ละยุคจะมีผู้อาศัยอยู่เป็นจำนวนนับร้อยล้านพันล้านก็ตาม แต่บุคคลที่สามารถกำจัดทุกข์ได้จริงและสั่งสอนผู้อื่นให้กำจัดทุกข์ตามได้จริงนั้น มีเพียงท่านเดียวในโลก บุคคลท่านนั้น คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาเอกของโลก


สิ่งสำคัญที่พระองค์ทรงค้นพบ ก็คือ

      1) พระองค์ทรงค้นพบว่า นอกจากมนุษย์จะมีองค์ประกอบพื้นฐาน 2 ส่วนคือ กาย และใจ แล้ว ยังมีสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่อยู่ในตัวมนุษย์คือ ธรรม นั่นเอง โดยธรรมนั้นมี 2 ระดับ คือระดับที่ยังไม่สามารถกำจัดทุกข์ได้เด็ดขาด เรียกว่า โลกียธรรม และระดับที่สามารถกำจัดทุกข์ได้เด็ดขาด เรียกว่า โลกุตรธรรม เราสามารถเข้าถึงธรรมทั้ง 2 ระดับนี้ได้ด้วยการปล่อยวางใจให้หยุดนิ่งเป็นสมาธิอยู่ ณ ศูนย์กลางกายภายในตัวอย่างต่อเนื่อง ไม่ถอนถอยอยู่ตลอดเวลา

       2) พระองค์ทรงค้นพบว่า โลกุตรธรรมที่สามารถใช้เป็นที่พึ่งในการกำจัดทุกข์ได้อย่างเด็ดขาดนั้น เรียกว่า นิพพาน คือ ภาวธรรมที่เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ที่สุด มีความสว่างที่สุด มีความสงบที่สุด เมื่อใดที่เอาใจเข้าไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับนิพพานได้ตลอดกาล ทุกข์ย่อมถูกกำจัดสิ้นไปอย่างถอนรากถอนโคน

     3) พระองค์ทรงค้นพบวิธีการสำหรับฝึกอบรมตนเพื่อการกำจัดทุกข์ให้สิ้นไป เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ 8 และได้ทรงสั่งlอนให้ประชาชนได้ศึกษาและปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 โดยไม่ปิดบังความรู้ ไม่จำกัดเชื้อชาติศาสนา อีกทั้งยังสั่งกำชับให้ช่วยกันเผยแผ่และปกป้องคำสอนเพื่อการกำจัดทุกข์นี้ไว้ด้วยชีวิต อย่าให้สูญหายไปจากโลกเป็นอันขาดอีกด้วย เพราะนี่คือทางรอดจากทุกข์เพียงทางเดียวของมนุษย์ทั้งโลก

      การค้นพบความจริงทั้ง 3 ประการนี้เอง ทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐต่อชาวโลก เพราะไม่ว่าชาวโลกในยุคใด ๆ ก็ล้วนต้องการความรู้แห่งการกำจัดทุกข์ที่พระองค์ทรงค้นพบนี้ด้วยกันทั้งสิ้น

      การค้นพบความจริงทั้ง 3 ประการนี้ พระองค์ทรงได้อาศัยอานุภาพของการเจริญภาวนาจนทำให้เกิดญาณ หรือความรู้แจ้งที่เรียกว่า วิชชา 3 ได้แก่

     วิชชาที่ 1 ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความรู้แจ้งที่ทำให้ทรงระลึกชาติย้อนดูความเป็นมาแต่หนหลังของพระองค์เองได้

     วิชชาที่ 2 จุตูปปาตญาณ คือ ความรู้แจ้งที่ทรงทำให้สามารถระลึกชาติย้อนดูความเป็นมาแต่หนหลังของเพื่อนร่วมโลกได้

       วิชชาที่ 3 อา วักขยญาณ คือ ความรู้แจ้งที่ทำให้ อาสวกิเลสซึ่งเป็นสาเหตุแห่งทุกข์หมดสิ้นไปอย่างถาวรได้

      วิชชา 3 นี้เอง ที่ทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้ความจริงทั้งหมดของโลกและชีวิตสามารถกำจัดทุกข์ได้หมดสิ้น และตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐต่อชาวโลก ทำให้ชาวโลกทุกยุคทุก มัยได้พึ่งความรู้ของพระองค์เป็นเครื่องมือในการกำจัดทุกข์ให้แก่ตนเอง

      ในอดีตที่ผ่านมา ได้มีผู้ที่เห็นทุกข์ภัยในชีวิตเป็นจำนวนมาก แต่ก็หาหนทางแก้ไขกันไม่พบ จนกระทั่งโลกได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น พระองค์ทรงมีน้ำพระทัยกรุณาสั่งสอนหนทางพ้นทุกข์ให้แก่ชาวโลกโดยตลอด จึงทำให้มีผู้คนจำนวนมากจากทุกชั้นวรรณะต่างพากันสละเรือน ลัดทิ้งความยินดีในทางโลก หันมายินดีในทางธรรมโดยออกบวชเป็นบรรพชิตทุ่มเทศึกษาและปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 ตามคำสอนของพระพุทธองค์อย่างชนิดอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน โดยพยายามรักษาใจให้ผ่องใสเป็นสมาธิ อยู่ในทุกอิริยาบถ ตลอดวันตลอดคืน จนกระทั่งสามารถทำใจหยุดนิ่งเป็นสมาธิอย่างต่อเนื่องไม่ถอนถอย ได้บรรลุโลกุตตรธรรม ที่เรียกว่านิพพาน หลุดพ้นจากทุกข์ตามพระองค์ไปได้เป็นจำนวนมหาศาล

     สำหรับอริยมรรคมีองค์ 8 ที่พระพุทธองค์ทรงนำมาสั่งสอนชาวโลกนั้น บางครั้งพระองค์ก็ทรงเรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น หนทางอันประเสริฐ หนทางแห่งความไม่ประมาท ฯลฯ เพื่อให้เหมาะสมกับระดับพื้นฐานความรู้ของผู้ฟังธรรม แต่บางครั้งก็ทรงเรียกว่า "กุศล" เพราะแปลว่า ความถูกต้อง ความดีงาม ซึ่งหมายถึง หนทางกำจัดทุกข์ให้หมดสิ้นไป

    นอกจากนี้ บางครั้งพระองค์ก็ทรงเรียกว่า "สมาธิประกอบด้วยองค์ 7" เพราะต้องการจะแบ่งการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 เป็น 2 ระดับ คือ

      1) ระดับเบื้องต้น ได้แก่ การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 ในระดับกัลยาณปุถุชน คือ บุคคลที่ยังกำจัดทุกข์ไม่หมดสิ้น

       2) ระดับเบื้องสูง ได้แก่ การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 ในระดับพระอริยบุคคล คือ บุคคลที่กำจัดทุกข์ใกล้จะหมดสิ้นแล้ว ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และผู้ที่กำจัดทุกข์ได้หมดสิ้นแล้ว คือ พระอรหันต์

   อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เองคือหนทางกำจัดทุกข์ที่พระพุทธองค์ทรงแสวงหามาตั้งแต่ขณะยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์โดยมีแรงบันดาลใจจากการที่ได้ทรงพบเห็นเทวทูต 4 ซึ่งได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ ระหว่างทางเสด็จประพา นอกวัง ในครั้งยังทรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ มกุฎราชกุมารแห่งแคว้นสักกะ การเห็นเทวทูตทั้ง 4 นั้น เป็นสิ่งที่เตือนให้พระองค์ทรงทราบความจริงว่า ชีวิตเป็นทุกข์ คนทั้งโลกนี้ล้วนแต่กำลังนับถอยหลังสู่ความตายทั้งสิ้น ไม่มีใครหนีรอดได้แม้แต่คนเดียว

      จากการประสบเหตุการณ์ในวันนั้น ทำให้พระองค์ทรงต้องกลับมาครุ่นคิดอย่างหนักว่าจะหาทางกำจัดทุกข์ประจำชีวิตนี้อย่างไร

       พระองค์ทรงได้ข้อสรุปว่า

1) นิพพาน คือ ภาวะสิ้นทุกข์นั้นจะต้องมีอยู่จริง

2) วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน จะต้องเป็นหนทางกุศล ไม่ใช่หนทางอกุศล

      แต่สิ่งที่พระองค์ยังไม่ทรงทราบก็คือวิธีปฏิบัติที่เป็นกุศลนั้นเป็นอย่างไร หนทางเดียวที่พระองค์จะทราบได้ ก็คือการออกบวช เพราะจะทำให้มีเวลาในการศึกษาค้นคว้าหาวิธีปฏิบัติที่เป็นกุศลอย่างจริงจัง เมื่อพระองค์ทรงตกลงพระทัยเช่นนั้นแล้ว ก็ยังไม่ได้เสด็จออกบวชทันที จนกระทั่งถึงวันที่พระราชโอร องค์เดียวของพระองค์ประสูติจึงเสมือนมีเทวทูตที่ 5 คือ การเกิด ก็ได้มาเตือนพระองค์ทันทีว่า การเกิดคือจุดเริ่มต้นของความทุกข์ ยิ่งเกิดมากครั้งเท่าใด ยิ่งทุกข์มากเท่านั้น ชะตาชีวิตของลูกน้อยที่อยู่ตรงหน้า กำลังจะซ้ำรอยชะตาชีวิตเดียวกับพระองค์ และกำลังจะซ้ำรอยเดียวกับชะตาชีวิตของคนทั้งโลกสิ่งที่ต้องรีบทำให้สำเร็จ ก็คือการหาหนทางพ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายให้พบ ก่อนที่ความตายจะมาถึงตัว จึงทรงตัดสินพระทัยออกบวชเดี๋ยวนั้นทันทีเพราะหากพระองค์ยังหาทางแก้ไขไม่ได้ ก็จะไม่มีใครในโลกนี้รอดพ้นจากความตายไปได้เลยสักคนเดียว

     จากนั้นพระองค์ก็ทรงมองดูพระราชโอรสองค์น้อยเป็นเชิงอำลา เพราะความจริงของชีวิตไม่อาจทำให้ทรงรั้งรอเวลาไว้ เพื่อให้พระราชโอรสมีโอกาสเห็นหน้าได้เลยสิ่งเดียวที่พระองค์ประทานไว้ให้ได้ ก็คือพระนามของพระโอรสว่า ราหุล ซึ่งแปลว่า บ่วง หมายถึง บ่วงแห่งความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย อันเป็นความหมายในเชิงเตือนสติพระองค์เองว่า ชีวิตของพระองค์ ของพระโอรสน้อย ของพระญาติพี่น้อง และของคนทั้งโลก ล้วนยังติดบ่วงแห่งความเกิดความแก่ ความเจ็บ และความตายอย่างดิ้นไม่หลุด การที่จะช่วยให้ทุกคนรอดพ้นจากปัญหาประจำชีวิตเหล่านี้ไปได้ พระองค์จะต้องหาทางกำจัดทุกข์ให้พบ เพราะนั่นคือความอยู่รอดที่แท้จริงของคนทั้งโลก

     หลังจากพระองค์ทรงตัดสินพระทัยเด็ดเดี่ยวแล้ว ก็เสด็จออกบวชในราตรีนั้นทันที ทรงทอดทิ้งความเป็นมกุฎราชกุมาร ทอดทิ้งว่าที่พระเจ้าจักรพรรดิ ทอดทิ้งพระราชวังอันเป็นเสมือนบ้านของพระองค์เสด็จออกบวชเป็น มณะผู้แ วงหาทางกำจัดทุกข์ดำเนินชีวิตด้วยการบิณฑบาต นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ประทับนั่งอยู่ใต้โคนไม้ มียาดองน้ำมูตรเน่าเป็นยารักษาโรค เพื่อให้มีสัมภาระติดตัวน้อยที่สุด ดุจดั่งนกที่มีภาระเพียงปีกสองข้างเท่านั้น การที่พระองค์ทรงสละสมบัติพั ถานและความสะดวก บายทั้งหลายนั้นก็เพราะทรงต้องการเวลาซึ่งเป็นของมีค่าที่สุดในชีวิต เพราะเวลาเป็นสิ่งเดียวที่ผ่านไปแล้ว มิเพียงเอาคืนมาไม่ได้ แต่ยังพาเอาความแข็งแรง
ของชีวิตให้หมดไปด้วย ยิ่งกว่านั้นยังทรงตระหนักดีว่า ถ้ายังกำจัดทุกข์ประจำชีวิตที่ติดตัวมาไม่ได้สมบัติพัสถานทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรกับบุรุษกำลังอยู่ในฐานะว่าที่คนตาย

      ดังนั้น อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า เป้าหมายของการเสด็จออกบวชของพระองค์ก็คือ การบรรลุนิพพาน ภารกิจที่จะต้องทรงทำให้สำเร็จ ก็คือ การแสวงหาวิธีการบรรลุนิพพานด้วยวิธีปฏิบัติที่เป็นกุศลให้พบ และนั่นคือที่มาของการที่พระองค์ต้องทรงดั้นด้นไปศึกษาจากสำนักต่าง ๆ ทั่วชมพูทวีป แต่ก็ไม่พบคำตอบที่ใช่ จึงต้องทรงหันมาลองผิดลองถูกด้วยพระองค์เอง

      หลังจากที่ทรงปฏิบัติแบบลองผิดลองถูกด้วยการเอาชีวิตเข้าแลกครั้งแล้วครั้งเล่าอยู่นานถึง 6 ปี พระองค์ก็ทรงระลึกได้ว่า มีวิธีการหนึ่งที่พระองค์ทรงเคยค้นพบเมื่อพระชนมายุเพียง 7 พรรษา นั่นคือ การปล่อยวางใจให้หยุดนิ่งเป็นสมาธิอยู่ในตัว จนกระทั่งบรรลุปฐมฌานวิธีการนี้ยังไม่มีผู้ใดในสำนักไหนได้ค้นพบ ทำให้พระองค์ทรงแน่พระทัยว่า วิธีการที่ทรงค้นพบในครั้งนั้น ต้องเป็นต้นทางแห่งการบรรลุนิพพานอย่างแน่นอน

     เมื่อถึงวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติของพระองค์ พระชนมายุที่เพิ่มขึ้นเป็น 35 พรรษา ก็ทรงมาย้ำเตือนเป้าหมายการบวชของพระองค์อีกครั้ง และทรงตระหนักดีว่า ความตายกำลังใกล้เข้ามาแล้ว ทำให้พระองค์ทรงตัดสินพระทัยแน่วแน่ว่า จะเจริญภาวนาด้วยวิธีการที่ทรงค้นพบเมื่อวัย 7 พรรษา แต่การเจริญภาวนาครั้งนี้ จะเป็นการเจริญภาวนาครั้งสุดท้ายด้วยการสละชีวิตเลือดเนื้อเป็นเดิมพัน ถ้าหากไม่สามารถบรรลุนิพพานในการเจริญภาวนาครั้งนี้ ก็ทรงยินดีสละพระชนม์ชีพไว้ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่กำลังประทับนั่ง ณ ริมฝังแม่น้ำเนรัญชรา และในเย็นวันนั้นเอง พระองค์ทรงตั้งสัจจาธิษฐานว่า

      "แม้เนื้อและเลือดจะแห้งเหือดหายไป เหลือแต่เอ็น หนัง กระดูกก็ตามที ตราบใดที่ยังไม่บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตราบนั้นจะไม่ขอลุกขึ้นจากที่นี้"

      จากนั้นพระองค์ก็ทรงบำเพ็ญภาวนาอย่างอุกฤษฎ์ โดยไม่อาลัยในชีวิตอีกเลย เวลาผ่านไปตั้งแต่พลบค่ำจนย่ำรุ่ง ใจของพระองค์ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับนิพพานตลอดเวลา ทุกข์ทั้งหมดในตัวของพระองค์จึงถูกกำจัดสิ้นไปได้อย่างเด็ดขาด พระองค์ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่าง มบูรณ์โดยไม่ได้พึ่งพาอาศัยผู้ใดเลยนอกจากกำลังความเพียรของพระองค์เอง

    หลังจากตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็ทรงตรวจดูหนทางฝึกอบรมตนที่ผ่านมาทรงพบว่า กุศลที่พระองค์ทรงแสวงหาตั้งแต่วันเสด็จออกบวช ก็คือ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เองทั้งยังได้ทรงพบอีกด้วยว่า อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นเส้นทางเดิมและเส้นทางเดียวกับที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ในอดีตใช้ฝึกอบรมตน จนกระทั่งได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนหน้าพระองค์ แต่โลกได้ลืมหนทางรอดตายสายนี้ไปแล้ว

      เมื่อทรงบรรลุเป้าหมายของการออกบวชอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว พระองค์ก็ทรงตระหนักดีว่า การที่จะช่วยให้ชาวโลกกำจัดทุกข์ตามพระองค์ไปได้ มีอยู่หนทางเดียว คือต้องชักชวนให้ชาวโลกปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 ด้วยตนเอง โดยมีพระองค์ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้ทาง นี่เป็นวิธีเดียวเท่านั้นที่จะช่วยเหลือชาวโลกได้

     นับแต่พระองค์ทรงเริ่มประกาศการสอนเรื่องอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น ก็ไม่ทรงเคยหวงแหนหรือปิดบังความรู้เลยแม้แต่น้อย ขอเพียงให้คนผู้นั้นตั้งใจจริงเท่านั้น เพราะแม้แต่ในช่วงเวลาสุดท้ายก่อนจะเสด็จดับขันธปรินิพพานในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า พระองค์ก็ยังทรงถามย้ำแล้วย้ำอีกว่า มีผู้ใดสงสัยในคำสอนที่พระองค์ทรงสั่งสอนมาตลอด 45 ปีหรือไม่ ถามย้ำเช่นนี้อยู่หลายครั้ง เมื่อไม่มีผู้ใดสงสัย เท่ากับว่าได้ทรงทำหน้าที่พระบรมครูสมบูรณ์แบบแล้ว พระองค์จึงเสด็จดับขันธปรินิพพานในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งตรงกับวันประสูติ และตรัสรู้ของพระองค์เอง หลงเหลือไว้แต่มรดกธรรม คือ พระพุทธศาสนา ให้ชาวโลกรุ่นหลังได้ศึกษาหนทางกำจัดทุกข์ตามรอยบาทของพระองค์ต่อไป

    ด้วยเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงเป็นผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐต่อชาวโลกอย่างสุดที่จะประมาณ ไม่มีผู้ใดในยุคไหน ๆ ที่สมควรจะยึดถือเป็นต้นแบบแห่งการกำจัดทุกข์และสงเคราะห์มนุษย์ทั้งโลกได้ประเสริฐยิ่งกว่าพระองค์อีกแล้ว ชาวโลกในยุคที่ผ่านมาต่างทราบความจริงนี้ดี จึงพากันถวายพระนามเพื่อยกย่องเทิดทูนพระองค์ท่านว่า "พระบรมศาสดาเอกของโลก"

      สิ่งที่น่าเสียดายอย่างมากสำหรับชาวโลกในยุคปัจจุบันนี้ ก็คือการเกิดมาไม่ทันพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงพลาดโอกาสที่จะได้ฟังคำสอนจากพระองค์โดยตรงไปอย่างน่าเสียดายแต่ก็นับว่ายังมีโชคอยู่บ้างที่พระพุทธศาสนายังมิได้สูญสิ้นไปจากโลก โดยยังมีพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นพุทธสาวกของพระพุทธองค์ที่บวชต่อ ๆ กันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้ ยังคงทำหน้าที่ทรงรักษาคำสอนที่เรียกว่า "พระธรรม" ของพระพุทธองค์เอาไว้ ด้วยการปฏิบัติตนเป็นต้นแบบแห่งการกำจัดทุกข์ให้แก่ชาวโลก พร้อมทั้งปลูกฝังให้ชาวโลกช่วยกันรักษาและสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน ด้วยการสนับสนุนให้มีการศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม เผยแผ่ธรรม และปกป้องธรรมอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน โดยในแต่ละยุคจะมีพระภิกษุที่ให้ความสำคัญต่อการรักษาธรรมยิ่งกว่าชีวิตของตนเอง กระทำการตั้งสัจจาธิษฐานด้วยการเจริญภาวนาอย่าง ละชีวิตเป็นพุทธบูชา เพื่อการบรรลุธรรมของพระพุทธองค์ ทำให้โลกยังคงมีพระพุทธศาสนาตราบถึงทุกวันนี้

      ดังมีตัวอย่างในอดีตที่ผ่านมาไม่นานนี้ ประเทศไทยก็ได้มีพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หรือหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ที่ได้อุทิศชีวิตเพื่อการบรรลุธรรมตามรอยบาทของพระบรมศาสดา ท่านได้ตั้งสัจจะอธิษฐานก่อนเริ่มทำสมาธิภาวนาอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพันว่า

        "ถ้าเรานั่งลงไปครั้งนี้ไม่เห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าต้องการ เป็นอันไม่ลุกจากที่นี้จนหมดชีวิต"

     เมื่อท่านตั้งจิตมั่นลงไปอย่างนั้นแล้ว ท่านก็เริ่มปรารภความเพียร จนกระทั่งบรรลุธรรมได้สำเร็จในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 และได้แนะนำสั่งสอนหลักการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 ด้วยคำสรุปที่สั้นกะทัดรัดเหมาะสมแก่การศึกษาของชาวโลกยุคนี้ไว้ว่า "หยุดเป็นตัวสำเร็จ" ซึ่งหมายถึงว่า การบรรลุธรรมตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราสามารถปล่อยวางใจในขณะเจริญภาวนาให้เกิดความหยุดนิ่งอยู่ในศูนย์กลางกายอย่างต่อเนื่องไม่ถอนถอย อันจะเป็นเหตุให้เกิดการกลั่นกาย วาจา ใจให้บังเกิดความบริสุทธิ์ขึ้นไปตามลำดับ ๆ จนกระทั่งใจบริสุทธิ์เท่ากับนิพพาน ทำให้ได้เห็นนิพพานเข้าถึงนิพพาน และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับนิพพานนั่นเอง

      การที่โลกในแต่ละยุคหลังพุทธกาล ยังมีพระมหาเถระ ผู้ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 อย่างถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ดั่งเช่นพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มาบังเกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ นั้น ต้องถือว่าเป็นความโชคดีของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง เพราะทำให้ชาวโลกในแต่ละยุคยังคงได้พระมหาเถระเป็นที่พึ่งในฐานะครูผู้สั่งสอนอบรมเคี่ยวเข็ญให้ชาวโลกปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 อย่างถวายชีวิตตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบต่อกันไป โอกาสแห่งการรอดพ้นจากทุกข์ประจำชีวิตของชาวโลก จึงยังไม่ถูกปิดตายลง แม้พระพุทธองค์จะมิได้ทรงอยู่ด้วยแล้วก็ตาม

     สิ่งที่น่าสนใจศึกษาต่อไป ก็คือ พระพุทธองค์ทรงมีวิธีการปูพื้นฐานการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 ให้ชาวโลกเข้าใจตามทันได้อย่างไร จึงทำให้พระองค์เองและพระสงฆ์สาวกในแต่ละยุคสามารถขนชาวโลกไปนิพพานได้เป็นจำนวนมาก

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 004 คู่มือพุทธมามกะ
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.007452932993571 Mins