ดับเดือนดับดาว

วันที่ 23 มิย. พ.ศ.2560

ดับเดือนดับดาว

 

 

                   เรามักจะได้ยินคู่รักพูดกันว่า “เธอขออะไรฉันให้ได้หมด ยกเว้นแต่ดาวกับเดือนเท่านั้น” ซึ่งหมายความว่าดวงจันทร์และดวงดาวเป็นสิ่งที่ คนทั่วไปมักคิดว่าอยู่ไกลเกินเอื้อม แต่พระเดชพระคุณหลวงปู่ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะท่านสามารถเอาดาวและเดือนมาให้ ลูกศิษย์ของท่านได้เล่นกันในโรงงานทําวิชชาเพื่อ ความผ่อนคลาย ท่านจะบอกว่า “เออ เรามาดับดาวดวงนั้นกันดีกว่า” ท่านจะเลือกดับดาวเพียงบางดวงเท่านั้น โดยเลือกเฉพาะดวงที่เป็นเสมือนสถานีที่สถิตของกระแสบาปอกุศล คอยส่งผลร้ายต่อโลกและสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นดวงดาวที่มีผลเสียต่อชีวิต ของมนุษย์ ก่อนที่จะสั่งดับดาว ท่านจะออกไปยืนดูท้องฟ้าข้างนอก พร้อมกับชี้ว่าให้ดับดาวดวงนั้นตาม ตําแหน่งที่ชี้ไป “ไปดูสิวะ ดาวดวงนั้น...เอาดวงนี้นะ อย่าไปดับผิดดวง” แล้วก็กลับเข้ามาสั่งงาน ทุกคนก็จะช่วยกันดับดาวที่ท่านเลือก

 

                    พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านบอกกับคุณยายและหมู่คณะผู้ทําวิชชาว่า การจะดับดาวได้นั้น อุปมาว่าเราต้องรู้เสียก่อนว่าหม้อแปล งอยู่ตร งไหนหม้อแปลงในที่นี้ก็หมายถึงจุดเริ่มต้นของแสงสว่างหรือสิ่งที่จะก่อให้เกิดพิษภัยต่อมวลมนุษยชาติและสรรพสัตว์ทั้งหลาย คล้ายๆ กับเวลาที่เราจะดับไฟเราก็ต้องควานหาสวิตช์เปิดปิดให้เจอ ในทํานองเดียวกันถ้าเราต้องการจะดับดาวจํานวนมาก ก็ต้องหาหม้อแปลงที่ส่งกระแสมายังดวงดาวต่างๆ ถ้าต้องการดับมากกว่านั้นก็ต้องไปดูสถานีย่อย ถ้าจะดับหมดก็ต้องไปที่โรงงาน ซึ่งพอจะเทียบได้กับโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า ผู้ทําวิชชาก็ต้องสาวไปหาเหตุให้ได้อย่างนี้เวลาดับจะดับคนเดียวก็ได้หรือทําพร้อมๆ กันก็ได้

 

                     เวลาสั่งงาน พระเดชพระคุณหลวงปู่จะพูดเพียงย่อๆ เท่านั้น แต่ผู้ทําวิชชาก็จะเข้าใจได้ดีว่าต้องทําอย่างไร ใช้เวลาไม่นานนักก็สามารถดับดาวดวงนั้น ดวงนี้ได้เป็นว่าเล่น พอดับได้แล้ว ก็จะส่งตัวแทนให้ ออกไปดูท้องฟ้าว่าดับได้จริงหรือเปล่า ก็เห็นกันว่าดับได้ทั้งๆ ที่คนดับนั่งอยู่ในโรงงานทําวิชชา

 

                      มีอยู่วันหนึ่งเป็นวันขึ้น 15 ค่ํา หลังจากที่ได้ทํางานทางจิตเพื่อช่วยแก้ไขทุกข์มนุษย์เรียบร้อยแล้ว พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้รําพึงขึ้นมาว่า “คืนนี้พระจันทร์เต็มดวง ใครจะทําจันทรคราสได้บ้าง” คือท่านอยากรู้ว่าลูกศิษย์คนใดจะดับดวงจันทร์ได้บ้าง ซึ่งตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วจันทรคราสเกิดขึ้น เพราะโลกบดบังแสงอาทิตย์ที่จะตกทอดมาถึงดวงจันทร์ ทําให้เกิดเงา แต่หลวงปู่ท่านต้องการที่จะทําให้แสงจันทร์ดับไปทั้งดวง หรือทําให้คนมอง ไม่เห็นเท่านั้น พอท่านถามแล้วทุกคนก็เงียบกันหมดมีแต่คุณยายทองสุข ซึ่งเป็นปฐมาจารย์ของคุณยายจันทร์ เท่านั้นที่ตอบโพล่งออกมาอย่างห้าวหาญว่า“ลูกเองเจ้าค่ะ” พอโพล่งไปแล้วก็หนักใจเพราะยังไม่เคยมีใครทําได้ส่วนตัวท่านเองก็ยังไม่รู้วิธีการเช่นกัน

 

                       คุณยายทองสุขเริ่มค้นคว้าหาวิธีทําจันทรคราสตั้งแต่คืนขึ้น 15 ค่ํา โดยทดลองด้วยวิธีต่างๆ ตั้งแต่ขยายพระธรรมกายให้ใหญ่แล้วใช้พระหัตถ์มาบดบังไว้พอบังเสร็จท่านก็ลุกออกจากที่นั่งมาดูข้างนอก ก็เห็นว่าพระจันทร์ยังสว่างอยู่เหมือนเดิม ท่านก็เลยทดลองวิธีใหม่ด้วยการผลิตเมฆขึ้นมา เพื่อบดบังพระจันทร์ ท่านผลิตเมฆได้เพราะเมฆประกอบไปด้วยธาตุดิน น้ํา ลม ไฟ สิ่งนี้อาจดูเป็นเรื่องเหลือวิสัยสําหรับเรา แต่สําหรับท่านแล้วเป็นเรื่องธรรมดาเพราะเวลามีคนมากราบพระเดชพระคุณหลวงปู่เพื่อขอฝน ท่านก็ใช้วิธีนี้เหมือนกัน คุณยายทองสุขเกณฑ์ เมฆมารวมกันจนหนาแน่นเพื่อบังพระจันทร์เมื่อเห็นในที่ว่าบังมิดแล้วก็เดินออกมาดู เห็นว่าเมฆบดบัง พระจันทร์อยู่เต็มไปหมด แต่สักพักลมก็พัดเมฆกระจายออกไปแล้วพระจันทร์ก็แจ่มเหมือนเดิม

                       คุณยายทองสุขทดลองพลิกแพลงหลายวิธีก็ยังทําไม่สําเร็จ จนกระทั่งพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านเมตตาชี้แนะว่า “สุข ไปทําอย่างนั้น เมื่อไรจะเป็นสักทีวะ ไปดับเหตุในเหตุสิวะ ไปดูสิไอ้แหล่ง กําเนิดของแสงสว่างที่ส่องมาทําให้พระจันทร์สว่างมันมาจากไหน” สรุปคือต้องสาวไปหาเหตุโดยตรวจสอบดูว่าต้นกําเนิดของแสงจันทร์อยู่ที่ใด แล้วท่านก็แนะนําให้ไปดับที่แหล่งกําเนิดแสงของพระจันทร์ซึ่งแม้ทางวิทยาศาสตร์จะอธิบายเอาไว้อย่างหนึ่ง แต่ทางพุทธศาสตร์ก็มีเหตุผลอีกอย่าง

 

                       ปกติแล้วผู้รู้กับผู้รู้จะคุยกันสั้นๆ ก็เข้าใจได้เมื่อคุณยายอาจารย์ทองสุขได้ยินดังนั้น ท่านก็อาศัยวิชชาธรรมกายทําจันทรคราสได้จริงในวันแรม 2 ค่ํา การดับพระจันทร์ของท่านพลอยทําให้ดาวดวงอื่นดับไปด้วย เพราะทั้งหมดล้วนมีแหล่งกําเนิดแสงเดียวกัน เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่เดินออกมาจากโรงงาน ทําวิชชาเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถตอนกลางคืนก็เห็นว่าเดือนดับไปแล้ว ท่านจึงกลับเข้ามาในโรงงานแล้วพูดขึ้นว่า “เอ้อ...วันนี้ท้องฟ้ามืด”

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010084350903829 Mins