ปัญหาเรื่องการนับครั้งในการทำสังคายนา

วันที่ 27 มิย. พ.ศ.2560

ปัญหาเรื่องการนับครั้งในการทำสังคายนา

พระไตรปิฎกเบื้องต้น , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , การทำสังคายนา , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ปัญหาเรื่องการนับครั้งในการทำสังคายนา , สังคายนา

    ในปัจจุบันประเทศพม่าถือว่า ตั้งแต่เริ่มแรกมามีการทำสังคายนารวม 6 ครั้ง โดยเฉพาะครั้งที่ 6 พม่าจัดทำเป็นการใหญ่ ในโอกาสใกล้เคียงกับงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษแล้วฉลองพร้อมกันทีเดียวทั้งการสังคายนาครั้งที่ 6 และงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ แต่ตามหลักฐานของพระเถระฝ่ายไทยผู้รจนาหนังสือเรื่องสังคีติยวงศ์หรือประวัติศาสตร์การสังคายนากล่าวว่าสังคายนามี 9 ครั้ง รวมทั้งครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงกระทำในรัชสมัยของพระองค์ คือการสอบทานแก้ไขพระไตรปิฎก แล้วจารึกลงในใบลานเป็นหลักฐาน

    โดยเหตุที่ความรู้เรื่องการสังคายนา ย่อมเป็นเรื่องสำคัญในความรู้เรื่องความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎก เพราะฉะนั้นจะได้รวบรวมมติของประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำสังคายนาและปัญหาเรื่องการนับครั้งมารวมเป็นหลักฐานไว้ในที่นี้ รวมเป็น 6 หัวข้อ คือ

1. การนับครั้งสังคายนาที่รู้กันทั่วไป
2. การนับครั้งสังคายนาของลังกา
3. การนับครั้งสังคายนาของพม่า
4. การนับครั้งสังคายนาของไทย
5. การสังคายนาของฝ่ายมหายาน
6. การสังคายนาของนิกายสัพพัตถิกวาท

  ในการรวบรวมเรื่องนี้ ผู้เขียนได้อาศัยหลักฐานจากวินัยปิฎกเล่มที่ 7 พร้อมทั้งอรรถกถา จากหนังสือมหาวงศ์,สังคีติยวงศ์ และบทความของท่าน B. Jinananda ในหนังสือ 2500 Years of Buddhism ซึ่งพิมพ์ในโอกาสฉลอง 25 พุทธศตวรรษในอินเดียและหนังสืออื่น ๆ


1. การนับครั้งสังคายนาที่รู้กันทั่วไป
    การนับครั้งสังคายนาที่รู้กันทั่วไปคือสังคายนาครั้งที่ 13 ซึ่งทำในอินเดีย เป็นของฝ่ายเถรวาท กับอีกครั้งหนึ่งในอินเดียภาคเหนือ ซึ่งพระเจ้ากนิษกะทรงอุปถัมภ์ เป็นสังคายนาผสมรวมเป็น 4 ครั้ง แต่ฝ่ายเถรวาทมิได้รับรู้ในการสังคายนาครั้งที่ 4 นั้น เพราะการสืบสายศาสนาแยกกันคนละทาง ตลอดจนภาษาที่รองรับคัมภีร์ทางศาสนาก็ใช้ต่างกัน คือของเถรวาทหรือศาสนาพุทธแบบที่ไทย พม่า ลังกา เขมร ลาวนับถือ ใช้ภาษาบาลีส่วนของฝ่ายมหายานหรือศาสนาพุทธแบบที่ญี่ปุ่น จีน ทิเบต ญวน และเกาหลีนับถือ ใช้ภาษาสันสกฤต ในสมัยที่ตำราภาษาสันสกฤตสาบสูญก็มีเฉพาะคัมภีร์ที่แปลเป็นภาษาจีนและภาษาทิเบตเป็นหลัก แล้วมีผู้แปลสู่ภาษาอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่นอีกต่อหนึ่ง

1) สังคายนาครั้งที่ 1
    เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานผ่านไปได้ 7 วัน พระมหากัสสปเถระพร้อมด้วยบริวารประมาณ 500 รูป ได้ทราบจากปริพาชกท่านหนึ่งว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 7 วันแล้ว ขณะที่ท่านและบริวารพักอยู่ ณ เมืองปาวา ภิกษุทั้งหลายเมื่อได้ทราบข่าวต่างก็แสดงตัวออกมาแตกต่างกัน คือ

    ท่านที่เป็นพระอริยบุคคล มีสติอดกลั้นด้วยคิดว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง คนจะได้สิ่งที่เที่ยงจากสังขารทั้งหลายแต่ที่ไหน ฝ่ายท่านที่ยังมีราคะ โทสะ โมหะ อยู่ได้แสดงความเศร้าโศก วิปโยคอย่างหนักว่า

     "พระผู้มีพระภาคปรินิพพานเร็วนัก พระสุคตเสด็จปรินิพพานเร็วนัก จักษุแห่งโลกหายไปจากโลกเร็วนัก"

    ขณะที่พระอริยบุคคลทั้งหลายได้แสดงความจริงแห่งสังขาร เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นยอมรับตามพระพุทธดำรัสความว่า

   "ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศกร่ำไรไปเลย พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้มิใช่หรือว่าความเป็นต่าง ๆ ความเว้น ความเป็นอย่างอื่น จากสัตว์และสังขารทั้งหลายที่รักที่ชอบใจทั้งปวง ย่อมไม่อาจจะหาสิ่งที่เที่ยงจากสังขารทั้งหลายสิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วต้องมีความแตก ลายไปเป็นธรรมดา การที่เราจะปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าสลายเลยไม่เป็นฐานะที่จะมีได้"

   ท่านสุภัททวุฑบรรพชิตกลับกล่าวปลอบโยนด้วยเหตุผลที่ต่างกันว่า "พวกเราพ้นจากมหาสมณะนั้นด้วยดีแล้ว เพราะเมื่อก่อนได้เบียดเบียนเรา ด้วยการตักเตือนว่า นี่ควรนี่ไม่ควรสำหรับพวกเราทั้งหลาย บัดนี้ พวกเราสบายแล้ว พวกเราต้องการทำสิ่งใดก็ทำสิ่งนั้น ไม่ต้องการทำสิ่งใดก็ไม่ทำสิ่งนั้น"

  คำพูดของท่านสุภัททวุฑบรรพชิต ถือว่าเป็นการกล่าวจ้วงจาบขาดความเคารพต่อพระธรรมวินัยทั้ง ๆ ที่ตนเองเป็นพุทธสาวก เสมือนผู้แสดงตนเป็นขบถต่อพระศาสนา แต่เนื่องจากเป็นเวลาที่ใกล้การถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ พระมหากัสสปะจึงไม่ได้กล่าวอะไรในขณะนั้น

   หลังจากถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว พระมหากั ปะจึงนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมสงฆ์ พร้อมเสนอให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัยโดยให้เหตุผลว่า ถ้าปล่อยให้นานไป

   "สิ่งที่ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัยจักเจริญสิ่งที่เป็นธรรม เป็นวินัยจะเสื่อมถอยพวกอธรรมวาที อวินัยวาทีได้พวกแล้วจักเจริญ ฝ่ายธรรมวาที วินัยวาทีจะเสื่อมถอย"

   นอกจากนี้ พระมหากัสสปเถระยังมีเหตุผลส่วนตัวของท่านที่จะต้องพิทักษ์ศาสนธรรม อันเป็นตัวแทนของพระศาสดาไว้ คือท่านได้รับยกย่องจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่ามีธรรมเครื่องอยู่เสมอด้วยพระองค์ และทรงเปลี่ยนผ้าสังฆาฎิของพระองค์กับท่านอันเปรียบเสมือนพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงเปลื้องเกราะมอบให้เชษฐโอรส เพื่อเป็นเครื่องหมายว่าพระราชโอรสจะเป็นผู้รับผิดชอบราชการแผ่นดินต่อไป หลังจากพระองค์สวรรคตไปแล้ว ฐานะที่ทรงยกย่องพระมหากัสสปเถระทั้ง 2 นี้ ไม่เคยยกย่องพระสาวกรูปอื่นเลย

   ในที่สุดมติที่ประชุมของเถระทั้งหลายในคราวนั้น กำหนดให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัย โดยใช้การกสงฆ์ 500 รูป เป็นพระอรหันต์ล้วน ๆ เพื่อประกอบกันเป็นพระสังคีติกาจารย์และกำหนดให้ทำสังคายนาที่สัตตบรรณคูหา ข้างเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์เมื่อพระมหากัสสปเถระเลือกพระอรหันต์ทั้งหลายอยู่นั้น เลือกไปได้ครบ 499 รูป ก็เกิดปัญหาคือสังคายนาครั้งนี้จะขาดพระอานนท์ไม่ได้ เพราะท่านทรงจำพระธรรมวินัยไว้ได้มากแต่ถ้าจะเลือกท่านเข้าร่วมด้วย ก็ผิดมติที่ประชุม เพราะท่านยังเป็นพระโสดาบันอยู่ ในที่สุดที่ประชุมจึงเสนอให้พระมหากัสสปเถระเลือกพระอานนท์เข้าไปด้วย โดยให้เหตุผลว่า

     1) แม้พระอานนท์จะเป็นพระเสขบุคคลอยู่ แต่ท่านก็ไม่ลำเอียงด้วยอคติ 4

    2) พระอานนท์เป็นเหมือนคลังพระสัทธรรม เพราะได้สดับจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเถระทั้งหลายเป็นอันมาก

    พระมหากัสสปเถระจึงเลือกพระอานนท์เถระเข้าร่วมในการสังคายนา และประกาศด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาให้พระสงฆ์ทั้งปวงยอมรับญัตติ 3 ประการ คือ

     1. ยอมรับให้พระเถระจำนวน 500 รูป คัดเลือกตามมติสงฆ์ เป็นพระสังคีติกาจารย์ มีหน้าที่ในการสังคายนาพระธรรมวินัย

     2. ใช้สัตตบรรณคูหา ข้างเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ เป็นที่ทำสังคายนา

  3. ห้ามพระอื่นนอกจากพระสังคีติกาจารย์ เข้าจำพรรษาในกรุงราชคฤห์เพื่อสะดวกแก่การบิณฑบาต และป้องกันผู้ไม่หวังดีทำอันตรายแก่การสังคายนา

    เมื่อพระสงฆ์ทั้งปวงลงมติยอมรับเป็นเอกฉันท์แล้ว พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายก็เดินทางเข้ากรุงราชคฤห์ ขอพระบรมราชูปถัมภ์จากพระเจ้าอชาตศัตรู เรื่องการซ่อมวิหาร 18 ตำบลสร้างสถานที่ทำสังคายนา ทรงรับภาระเกี่ยวกับด้านราชอาณาจักรทุกประการพระอานนท์ได้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุอรหันต์ก่อนการทำสังคายนา จึงเป็นอันว่าการทำสังคายนาในคราวนั้นทำโดยพระอรหันต์ล้วนทั้ง 500 องค์ โดยเริ่มลงมือทำหลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วได้ 3 เดือน พระมหากัสสปเถระทำหน้าที่วิสัชนาพระวินัยและพระธรรมตามลำดับ โดยที่ประชุมกำหนดให้สังคายนาพระวินัยก่อน เพราะถือว่าพระวินัยเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา เมื่อพระวินัยดำรงอยู่ พระพุทธศาสนาย่อมเชื่อว่าดำรงอยู่


ทำสังคายนากันอย่างไร ?
    ชั้นแรกพระมหากัสสปะ พระอุบาลี และพระอานนท์ ได้สวดประกาศสมมติตนเพื่อทำหน้าที่ปุจฉาวิสัชนาพระวินัยและพระธรรม ตามหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากสงฆ์ต่อแต่นั้นพระมหากัสสปเถระจะสอบถามพระวินัยแต่ละข้อในส่วนที่เกี่ยวกับ วัตถุ นิทาน บุคคล บัญญัติ อนุบัญญติ อาบัติ อนาบัติ เป็นต้น แห่งสิกขาบทแต่ละบท เมื่อพระอุบาลีตอบไปตามลำดับแล้ว พระสงฆ์ที่ประชุมกันจะสอดพระวินัยข้อนั้น ๆ พร้อมกัน เมื่อตรงกันไม่ผิดพลาดแล้วสงฆ์รับว่าถูกต้อง จึงถามข้ออื่นต่อไป ทำกันโดยนัยนี้จนจบ พระวินัยปิฎกแบ่งเป็นหมวดใหญ่ได้ 5 หมวด คือ อาทิกรรม ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค และบริวาร ปัจจุบันพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือขนาดใหญ่ถึง 8 เล่ม เรียกเป็นหัวใจพระวินัยว่า อา. ปา. ม. จุ. ป.

   ในด้านพระสูตร ท่านเริ่มสังคายนาพระสูตรขนาดยาวก่อน คือ พรหมชาลสูตรสามัญญผลสูตร เป็นต้นสิ่งที่พระมหากัสสปะถาม คือ นิทาน บุคคล เนื้อหาแห่งพระสูตรนั้น ๆ เมื่อพระอานนท์ตอบแล้ว พระสงฆ์ทั้งปวงก็สาธยายพระสูตรนั้น ๆ พร้อมกัน จนจบพระสูตรทั้งหมด โดยแบ่งเป็น 5 นิกาย การสังคายนาในคราวนั้นใช้เวลาถึง 7 เดือนจึงสำเร็จ

    หลังจากเสร็จการสังคายนาแล้ว พระอานนท์ได้แจ้งให้สงฆ์ทราบว่า ก่อนจะปรินิพพาน พระพุทธองค์รับสั่งไว้ว่า

     "เมื่อเราล่วงไปสงฆ์หวังอยู่ จะพึงถอนสิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ เสียบ้างก็ได้"

    แต่พระอานนท์ไม่ได้กราบทูลถามว่าสิกขาบทเล็กน้อยนั้นคือสิกขาบทอะไรบ้างกับสงฆ์ไม่อาจหาข้อยุติได้ว่าสิกขาบทเช่นไรเรียกว่าสิกขาบทเล็กน้อย พระมหากัสสปเถระจึงเสนอเป็นญัตติในที่ประชุมว่าด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาความว่า

- สิกขาบทบางอย่างที่เกี่ยวกับชาวบ้าน ชาวบ้านย่อมทราบว่าอะไรควรหรือไม่ควรสำหรับสมณศากยบุตรทั้งหลาย

- หากจะถอนสิกขาบทบางข้อ ชาวบ้านจะตำหนิว่า พวกเราศึกษาและปฏิบัติตามสิกขาบททั้งหลายในขณะที่พระศาสดายังดำรงพระชนม์อยู่เท่านั้นพอพระศาสดานิพพานก็ไม่ใส่ใจที่จะปฏิบัติ

- ขอให้สงฆ์ทั้งปวงอย่าเพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ มาทานศึกษาตามสิกขาบท ที่ทรงบัญญัติไว้เท่านั้น


สงฆ์ตำหนิพระอานนทเถระ
    นอกจากนั้น ที่ประชุมสงฆ์ยังได้มีมติตำหนิการกระทำของพระอานนท์ 5 อย่างว่าเป็นการกระทำที่ไม่ดี ซึ่งใช้คำบาลีว่า "ทุกฺกฏ" แปลว่า อาบัติทุกกฎ แต่การกำหนดอาบัติเป็นพุทธอาณา คนอื่นไม่อาจที่จะบัญญัติอาบัติได้ ความหมายของคำนี้ จึงควรเป็นเพียงตำหนิว่า ทำไม่ดีเท่านั้น ข้อที่สงฆ์ตำหนิพระอานนท์ 5 ประการนั้น คือ

   1. ไม่กราบทูลถามว่าสิกขาบทเล็กน้อยที่รับสั่งนั้นคือสิกขาบทอะไร  พระเถระแก้ว่า ที่ไม่กราบทูลถาม เพราะกำลังเศร้าโศกเนื่องจากพระพุทธองค์กำลังจะปรินิพพานจึงระลึกไม่ได้

     2. เวลาพระเถระเย็บผ้าของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ใช้เท้าหนีบผ้าอีกด้านหนึ่งอันเป็นการขาดความเคารพต่อพระพุทธองค์ ข้อนี้พระเถระแก้ว่า ที่ต้องทำเช่นนั้น เพราะไม่มีใครช่วยจับเวลาเย็บผ้า หาได้ทำด้วยขาดความคารวะไม่

   3. พระอานนท์ปล่อยให้สตรีถวายบังคมพระพุทธสรีระ พวกเธอร้องไห้จนน้ำตาถูกพระพุทธสรีระ ข้อนี้พระเถระแก้ว่า ท่านเห็นว่าสตรีไม่ควรอยู่ข้างนอกในเวลากลางคืน จึงจัดให้พวกเธอได้เข้าไปถวายบังคมพระพุทธสรีระก่อน จะได้กลับสู่ที่อยู่ของตนในเวลาที่ยังไม่ค่ำมืด

   4. พระอานนท์ไม่กราบทูลอาราธนาให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนม์อยู่ตลอดกัป ทั้ง ๆ ที่พระองค์ทรงทำนิมิตโอภา ถึง 16 ครั้ง พระเถระแก้ว่าที่ไม่กราบทูลอาราธนาเพราะไม่ทราบ เนื่องจากถูกมารดลใจ

   5. พระอานนท์ขวนขวายให้สตรีเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา พระเถระแก้ว่าพระนางมหาปชาบดีโคตมีพระมาตุจฉาได้ประคับประคอง เลี้ยงดูพระผู้มีพระภาคเจ้ามาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์

   การกระทำทั้งหมดนี้ท่านไม่เห็นด้วยว่าเป็นความผิดอะไร แต่เมื่อสงฆ์เห็นว่าเป็นการกระทำไม่ดี ท่านยินดียอมรับและถ่ายโทษผิดนั้น การกระทำของพระสังคีติกาจารย์นอกจากเป็นการเน้นให้เห็นว่า การทำบางอย่างถึงแม้ว่าจะทำไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่เมื่อความรู้สึกส่วนใหญ่ท่านตำหนิ การจะดื้อรั้นถือดีไปนั้นเป็นการไร้ประโยชน์ การยอมรับนับถือมติส่วนใหญ่ในบางกรณี เพื่อยุติปัญหาและสร้างแบบแผนที่ดีงาม เป็นสิ่งที่ควรกระทำ


ความเห็นแย้งจากพระปุราณะ
   หลังจากการสังคายนาผ่านไปได้ไม่นาน พระเถระรูปหนึ่งชื่อว่า ปุราณะ พร้อมด้วยบริวารประมาณ 500 พำนักจำพรรษาอยู่ที่ทักขิณาคิรีชนบท ในคราวทำสังคายนา เมื่อทราบว่าสังคายนาทำเสร็จแล้ว ท่านและบริวารจึงได้เข้าสู่กรุงราชคฤห์ พระสังคีติกาจารย์ได้เข้าไปแจ้งให้ท่านทราบว่าพระสงฆ์ได้ทำการสังคายนากันแล้ว ขอให้ท่านยอมรับด้วย พระปุราณะกลับกล่าวว่า

  "ท่านทั้งหลาย พระเถระทั้งหลายได้ทำสังคายนาพระธรรมวินัยกันเรียบร้อยก็ดีแล้วแต่ผมได้ฟังได้รับมาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธองค์ว่าอย่างไร จักถือปฏิบัติตามนั้น"

    เมื่อได้ชี้แจงกันพอสมควรแล้ว ปรากฏว่าพระปุราณะมีความเห็นตรงกับพระสังคีติกาจารย์ส่วนมาก แต่มีความเห็นขัดแย้งกันเรื่องวัตถุ 8 ประการ ซึ่งเป็นพุทธานุญาตพิเศษที่ทรงอนุญาตให้พระทำได้ในคราวเกิดทุพภิกขภัย แต่เมื่อภัยเหล่านั้นระงับ ก็ทรงบัญญัติห้ามมิให้กระทำอีก เรื่องทั้ง 8 นั้น คือ

1. อันโตวุฏฐะ เก็บของที่เป็นยาวกาลิกคืออาหารไว้ในที่อยู่ของตน
2. อันโตปักกะ ให้มีการหุงต้มอาหารในที่อยู่ของตน
3. สามปักกะ พระลงมือหุงต้มด้วยตนเอง
4. อุคคหิตะ คือการหยิบของเคี้ยวของฉันที่ยังไม่ได้ประเคน
5. ตโตนีเหตะ ของที่นำมาจากที่นิมนต์ ซึ่งเป็นพวกอาหาร
6. ปุเรภัตตะ การฉันของก่อนเวลาภัตตาหาร กรณีที่รับนิมนต์ไว้ในที่อื่น
แต่ฉันอาหารอื่นก่อนอาหารที่ตนจะต้องฉันในที่นิมนต์
7. วนัฏฐะ ของที่เกิดและตกอยู่ในป่า ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ
8. โปกขรัฏฐะ ของที่เกิดอยู่ในสระ เช่น ดอกบัว เหง้าบัว

    วัตถุทั้ง 8 นี้เป็นพุทธานุญาตพิเศษในคราวทุพภิกขภัย 2 คราว คือ ที่เมืองเวสาลีและเมืองราชคฤห์ แต่เมื่อทุพภิกขภัยหายไปแล้ว ทรงห้ามมิให้พระภิกษุกระทำ พระปุราณะและพวกของท่านคงจะได้ทราบเฉพาะเวลาที่ทรงอนุญาต จึงทรงจำไว้อย่างนั้น เนื่องจากการอยู่กระจัดกระจายกัน การติดต่อบอกกล่าวกันบางเรื่องทำไม่ได้ จะถือว่าท่านดื้อรั้นเกินไปก็ไม่ถนัดนัก เพราะท่านถือตามที่ได้สดับมาจากพุทธสำนักเหมือนกัน เมื่อฝ่ายพระสังคีติกาจารย์ชี้แจงให้ท่านฟัง ท่านกลับมีความเห็นว่า

  "พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระสัพพัญุตญาณ ไม่ มควรที่จะบัญญัติห้ามแล้วอนุญาต อนุญาตแล้วกลับบัญญัติห้ามมิใช่หรือ"

    "เพราะพระองค์ทรงมีพระสัพพัญุตญาณนั่นเอง จึงทรงรู้ว่ากาลใดควรห้ามกาลใดควรอนุญาต"

    พระมหากัสสปเถระกล่าว และได้กล่าวเน้นให้พระปุราณะทราบว่าสมติของที่ประชุมได้ตกลงกันว่า

  "จักไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่ทรงบัญญัติไว้แล้วจัก สมาทานศึกษาสำเหนียกในสิกขาบททั้งหลาย ตามที่ทรงบัญญัติไว้"

    พระปุราณะยืนยันว่าท่านจักปฏิบัติตามมติของท่านที่ได้สดับฟังมา หลักฐานฝ่ายมหายานบอกว่า พระปุราณะไม่ยอมรับเรื่องวัตถุ 8 ประการนี้ แล้วนำพวกของตนไปจัดการสังคายนาขึ้นอีกต่างหากซึ่งแน่นอนว่า วัตถุ 8 ประการนี้ ซึ่งตามพระวินัยห้ามมิให้ทำและปรับอาบัติปาจิตตีย์บ้าง ทุกกฏบ้างนั้น ฝ่ายพระปุราณะถือว่ากระทำได้

    เป็นอันว่าความแตกแยกในปฏิบัติ คือ ความเสียแห่ง สีลสามัญญตา ได้เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนาหลังจากพุทธปรินิพพานผ่านไปเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น ความไม่เสมอกันในด้านการปฏิบัติอย่างน้อยได้แตกแยกออกเป็น 2 ฝ่าย

- ฝ่ายที่ยอมรับนับถือมติของพระสังคีติกาจารย์ ในคราวปฐมสังคายนา

- ฝ่ายที่สนับสนุนคล้อยตามมติของพระปุราณะกับพวก อย่างน้อยฝ่ายนี้ต้องมีไม่ต่ำกว่า 500 รูป ซึ่งในที่สุดฝ่ายพระปุราณะต้องได้พวกเพิ่มขึ้น


งานเด่น ๆ หลังจากปฐมสังคายนาที่ท่านนำมาลงไว้ในพระไตรปิฎก คือ

   1. การลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนเถระ ซึ่งพระอานนท์ได้กระทำไปตามพระพุทธดำรัสหลังจากทราบพรหมทัณฑ์แล้ว พระฉันนเถระถึงกับเป็นลมและได้กลับความประพฤติ บำเพ็ญเพียร บรรลุอรหัตในระยะเวลาไม่นานนัก พรหมทัณฑ์สำหรับท่านจึงไม่ทันได้ลง

    2. พระอานนท์ได้แสดงให้พระเจ้าอุเทนทรงทราบว่า จีวรที่ถวายแก่พระผืนหนึ่งสามารถอำนวยประโยชน์ไปตามลำดับ คือ ท่านผู้ได้จีวรใหม่ให้แก่ท่านที่มีจีวรเก่า ผู้ที่มีจีวรเก่าให้แก่ท่านที่มีจีวรเก่ากว่า จากนั้นใช้เป็นผ้าปูนอน เพดาน ผ้าเช็ดเท้า ผ้าเช็ดพื้น ขยำปนกับดินฉาบฝาในที่สุดพระเจ้าอุเทนทรง ดับแล้วเห็นว่า ผ้าที่ถวายแก่พระนั้นมีประโยชน์มากจึงได้ถวายผ้าแก่พระอานนท์ถึง 1,000 ผืน พระเถระได้นำผ้านั้นไปแจกแก่ภิกษุในวิหารต่าง ๆ จนหมด

   ความแตกแยกในด้านสีลสามัญญตา คงมีต่อมาและเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะฝ่ายที่ถือตามพระปุราณะ เมื่อไม่ยอมรับมติของพระสังคีติกาจารย์ที่ไม่ได้ถอนสิกขาบทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว การเพิกถอนสิกขาบทที่เห็นว่าเล็กน้อย ตามความเข้าใจของพวกท่านก็ติดตามมา แต่ไม่มีอะไรรุนแรงจนถึงต้องทำสังคายนา


การลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะ
   ในการทำสังคายนาครั้งที่ 1 นอกจากร้อยกรองพระธรรมวินัยเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วยังได้กระทำสิ่งอันเป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาอีกเรื่องหนึ่งคือ การลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะ ซึ่งเคยเป็นสารถีของพระพุทธองค์ในวันเสด็จออกผนวช ซึ่งขณะนั้นท่านยังมิได้บรรลุพระอรหันต์มีความเย่อหยิ่งจองหองลำพองใจ แม้พระพุทธองค์จะตักเตือนอย่างไรก็ไม่ยอมฟัง ยิ่งกว่านั้นยังได้กล่าวติเตียนเหยียดหยามดูถูกภิกษุรูปอื่นอีก เพราะถือว่าตนเองอยู่ใกล้ชิดกับพระพุทธองค์พระอานนท์ได้แจ้งข้อที่ควรปฏิบัติแก่พระฉันนะต่อคณะสงฆ์ ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งไว้ คือให้ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ (ฉนฺนสฺส อานนฺท ภิกฺขุโน มมจฺจเยน พฺรหฺมทณฺโฑ ทาตพฺโพ) คือประกาศห้ามมิให้ภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือนพระฉันนะ ห้ามมิให้คบค้าสมาคมด้วย เมื่อพระฉันนะทราบว่าคณะสงฆ์จะลงพรหมทัณฑ์แก่ตนเช่นนั้น ก็เกิดความเสียใจ เกิดความสำนึกตัวเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย กลับประพฤติเป็นคนดี จนได้บรรลุพระอรหันต์


สรุปการทำสังคายนาครั้งที่ 1
ปฐมสังคายนา  :
 หลังจากพุทธปรินิพพาน 3 เดือน
ประธานสงฆ์     :  พระมหากัสสปเถระ มีพระอุบาลีเป็นผู้เรียบเรียงสวดพระวินัยพระอานนท์เป็นผู้เรียบเรียงสวดพระสูตร
ผู้เข้าร่วมประชุมสังคายนา  :  พระอรหันตขีณาสพจำนวน 500 องค์
องค์อุปถัมถ์  :  พระเจ้าอชาตศัตรู
เหตุปรารภในการทำสังคายนา  :  พระสุภัททะกล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย
สถานที่ประชุมทำสังคายนา  :  ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาเวภารบรรพตเมืองราชคฤห์
ระยะเวลาในการประชุม  :  กระทำอยู่ 7 เดือนจึงสำเร็จ

ผลที่เกิดจากการทำสังคายนาครั้งที่ 1

1. ได้ร้อยกรองพระธรรมวินัยเข้าเป็นหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

2.การปฏิบัติของพระอานนท์และการลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะเป็นตัวอย่างที่ดีชี้ถึงหลักประชาธิปไตยและธรรมาธิปไตยอย่างแจ้งชัด

3. ทำให้คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ดำรงมั่นและได้ตกทอดมาถึงพวกเราทุกวันนี้

4. แสดงถึงความสามัคคีของพระภิกษุสงฆ์ที่ได้พรั่งพร้อมกันทำสังคายนา เป็นแบบอย่างที่ดีจนได้ถือเป็นตัวอย่างในการทำสังคายนาในกาลต่อมา

5. เป็นการยอมรับมติของพระมหากัสสปเถระให้คงเถรวาทไว้

2) สังคายนาครั้งที่ 2 ความวิบัติแห่งสีลสามัญญตา
    หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 100 ปี พระภิกษุที่อยู่จำพรรษาในเมืองเวสาลี ได้ประพฤติผิดวินัย 10 ประการ เรียกว่า วัตถุ 10 ประการ คือ

1. ภิกษุจะเก็บเกลือไว้ในเขนงแล้วนำไปฉันปนกับอาหารได้ (สิงฺคิโลกปฺป)

2. ภิกษุจะฉันอาหารหลังจากตะวันบ่ายผ่านไปเพียง 2 องคุลีได้ (ทฺวงฺคุลกปฺป)

3. ภิกษุฉันภัตตาหารในวัดเสร็จแล้ว ห้ามภัตแล้วเข้าไปสู่บ้าน จะฉันอาหารที่ไม่เป็นเดน และไม่ได้ทำวินัยกรรมตามพระวินัยได้ (คามนฺตรกปฺป)

4. ในอาวา เดียวมีสีมาใหญ่ ภิกษุจะแยกกันทำอุโบสถได้ (อาวาสกปฺป)

5. ในเวลาทำอุโบสถ แม้ว่าพระจะเข้าประชุมยังไม่พร้อมกัน จะทำอุโบสถไปก่อนได้ โดยให้ผู้มาทีหลังขออนุมัติเอาเองได้ (อนุมติกปฺป)

6. การประพฤติการปฏิบัติตามพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ไม่ว่าจะผิดหรือถูกพระวินัยก็ตาม ย่อมเป็นการกระทำที่สมควรเสมอ (อาจิณฺณกปฺป)

7. นมสบ้มที่แปรมาจากนมสดแต่ยังไม่กลายเป็นทธิ ภิกษุฉันภัตตาหารเสร็จแล้วห้ามภัตรแล้ว จะฉันนมนั้นทั้งที่ยังไม่ได้ทำวินัยกรรมหรือทำให้เป็นเดนตาม
พระวินัยก็ได้ (อมตฺถิตกปฺป)

8.สุราที่ทำใหม่ ๆ ยังมีสีแดง เหมือนสีเท้านกพิราบ ยังไม่เป็นสุราเต็มที่ ภิกษุจะฉันก็ได้ (ชโลคึปาตํ)

9. ผ้าปูนั่งคือนิสีทนะอันไม่มีชาย ภิกษุจะบริโภคใช้สอยก็ได้ (อทสกํ นิสีหนํ)

10. ภิกษุรับและยินดีในทองเงินที่เขาถวายหาเป็นอาบัติไม่ (ชาตรูปรชต)

     วัตถุ 10 ประการนี้ ภิกษุวัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลี คงประพฤติมานานแล้ว เพราะเป็นที่ยอมรับนับถือของชาวบ้าน ชาวบ้านเองไม่มีความรู้สึกว่าท่านเหล่านั้นทำผิดแต่ประการใดจึงมีการถวายทองเงินแก่พระภิกษุ โดยการประเคนให้ท่านรับอย่างวัตถุที่เป็นกัปปิยะทั้งหลาย

     ต่อมาพระเถระอรหันต์รูปหนึ่งชื่อพระยสะกากัณฑกบุตร ชาวเมืองโกสัมพีได้ไปที่เมืองเวสาลี ได้พบเห็นพระภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีนำถาดทองสำริดเต็มด้วยน้ำ นำมาวางไว้ที่โรงอุโบสถ แล้วประกาศเชิญชวนชาวบ้านบริจาคเงินใส่ลงไปในถาดนั้น โดยบอกว่าพระมีความต้องการด้วยเงินทอง แม้พระย เถระจะห้ามปรามไม่ให้มีการถวายเงินทองในทำนองนั้น พระภิกษุวัชชีบุตรก็ไม่เชื่อฟัง ชาวบ้านเองก็คงถวายตามที่เคยปฏิบัติมา พระเถระจึงตำหนิทั้งพระวัชชีบุตรและชาวบ้านที่ถวายเงินทองและรับเงินทองในลักษณะนั้นเมื่อพระภิกษุวัชชีบุตรได้รับเงินทองแล้วนำมาแจกกันตามลำดับพรรษา นำส่วนของพระยสะกากัณฑบุตรมาถวาย ท่านพระเถระไม่ยอมรับและตำหนิอีก

    ภิกษุวัชชีบุตรไม่พอใจที่พระเถระไม่ยอมรับและตำหนิ จึงประชุมกันฉวยโอกาลงปฏิสารณียกรรม คือการลงโทษให้ไปขอขมาคฤหัสถ์ โดยกล่าวว่าพระเถระรุกรานชาวบ้านซึ่งพระเถระก็ยินยอมไปขอขมา โดยนำภิกษุอนุทูตไปเป็นพยานด้วย เมื่อไปถึงสำนักของอุบาสกพระเถระได้ชี้แจงพระวินัยให้ฟัง และบอกให้ชาวบ้านเหล่านั้นทราบว่า การกระทำของภิกษุวัชชีบุตรเป็นความผิด โดยยกเอาพระพุทธภาษิตที่พระพุทธองค์ทรงบัญญติไว้ความว่า

    "พระจันทร์และพระอาทิตย์ไม่ได้ร้อนแรงและรุ่งเรืองด้วยรัศมีเพราะโทษมลทิน 4 ประการ คือ หมอก ควัน ธุลี และอสุรินทราหูกำบังฉันใด ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้จะไม่มีตบะรุ่งเรืองด้วยศีล เพราะโทษมลทิน 4 ประการปิดบังไว้ คือ ดื่มสุราเมรัย เสพเมถุนธรรม ยินดีรับเงินและทอง อันเป็นเหมือนภิกษุนั้นยินดีบริโภคซึ่งกามคุณ และยินดีเลี้ยงชีพในทางที่ไม่ชอบธรรม ด้วยเวชกรรม กุลทูสกะ อเนสนา และวิญญัติ พร้อมด้วยกล่าวอวดอุตริมนุสธรรม อันไม่มีจริง"

  เมื่อพระยสะกากัณฑกบุตรชี้แจงให้อุบาสก อุบาสิกาเข้าใจแล้ว คนเหล่านั้นเกิดความเสื่อมใสพระเถระ อาราธนาให้ท่านอยู่จำพรรษา ณ วาลุการาม โดยพวกเขาจะอุปัฏฐากบำรุงและได้อาศัยท่านบำเพ็ญกุศลต่อไป ฝ่ายภิกษุที่เป็นอนุทูตไปกับพระเถระได้กลับมาแจ้งเรื่องทั้งปวงให้ภิกษุวัชชีบุตรทราบ ภิกษุวัชชีบุตรหวังจะใช้พวกมากบีบบังคับพระเถระด้วยการลงอุกเขปนียกรรมแก่ท่าน ได้พากันยกพวกไปล้อมกุฏิของพระเถระ แต่พระเถระทราบล่วงหน้าเสียก่อนจึงได้หลบออกไปจากที่นั้น

    พระยสะกากัณฑกบุตรพิจารณาเห็นว่า เรื่องนี้หากปล่อยไว้เนิ่นนานไป พระธรรมวินัยจะเสื่อมถอยลง พวกอธรรมวาที อวินัยวาทีได้พวกแล้วจักเจริญขึ้น จึงได้ไปที่เมืองปาฐา เมืองอวันตี และทักษิณาบถ แจ้งให้พระที่อยู่ในเมืองนั้น ๆ ทราบ เพื่อจะได้ร่วมกันแก้ไข และได้เรียนให้พระสาณสัมภูตวาสี ซึ่งพำนักอยู่ ณ อโหคังคบรรพตทราบ และขอการวินิจฉัยจากพระเถระ พระสาณสัมภูตวาสีมีความเห็นเช่นเดียวกับพระยสะกากัณฑกบุตรทุกประการ

    ในที่สุดพระเถระอรหันต์จากเมืองปาฐา 60 รูป จากแคว้นอวันตี และทักษิณาบถ 80 รูป ได้ไปประชุมร่วมกับพระสาณสัมภูตวาสีและยสะกากัณฑกบุตร ณ อโหคังคบรรพต มติของที่ประชุมเห็นร่วมกันว่า เรื่องนี้ต้องมีการชำระให้เรียบร้อย โดยตกลงให้ไปอาราธนาพระเรวตเถระซึ่งเป็นพระอรหันต์ที่เป็นพหูสูต ชำนาญในพระธรรมวินัย ทรงธรรมวินัยมาติกา ฉลาดเฉียบแหลม มีความละอายบาป รังเกียจบาป ใคร่ต่อสิกขา และเป็นนักปราชญ์ให้เป็นประธานในการวินิจฉัยตัดสินเรื่องวัตถุทั้ง 10 ประการนี้

    พระเรวตเถระหยั่งรู้ด้วยญาณว่า อธิกรณ์นี้หยาบช้า กล้าแข็ง เราไม่ควรท้อถอยที่จะชำระเรื่องนี้ แต่เพราะไม่ต้องการที่จะคลุกคลีด้วยหมู่คณะ จึงหลีกไปพักอยู่ที่โ เรยยนครพระเถระทั้งหลายต้องติดตามพระเรวตเถระจากเมืองสู่เมืองตามลำดับดังนี้ คือ โสเรยยะ สังกัสสะ กุณณกุชชะ อุทุมพร อัคคฬปุระ ไปพบกับพระเถระที่ หชาตินคร

   พระสาณสัมภูตวาสีได้นำเรื่องวัตถุ 10 ประการ เรียนถวายให้พระเรวตเถระทราบและขอให้ท่านวินิจฉัยทีละข้อ ปรากฏว่าทุกข้อที่ภิกษุวัชชีบุตรกระทำนั้น เป็นความผิดทางพระวินัยทั้งหมด จึงตกลงร่วมกันที่จะชำระเรื่องนี้ และจัดการสังคายนาพระธรรมวินัย ตามที่พระสังคีติกาจารย์ได้กระทำแล้วในคราวปฐมสังคายนา

  ฝ่ายภิกษุวัชชีบุตร เมื่อพระยสะกากัณฑกบุตรหายไปก็ร้อนใจ ต่อมาได้ทราบการตระเตรียมงานเพื่อชำระอธิกรณ์ของพระอรหันต์ทั้งหลาย จึงพยายามหาพวกเพื่อป้องกันตนเองโดยตกลงให้พระเรวตเถระช่วยเหลือเช่นเดียวกัน แต่พระเถระได้ปฎิเสธด้วยความนุ่มนวลว่า

     "อย่าเลยท่านทั้งหลาย ไตรจีวรของผมมีบริบูรณ์แล้ว" และไม่รับเครื่องบรรณาการเหล่านั้น

   ภิกษุวัชชีบุตรเมื่อเข้าทางพระเรวตเถระไม่สำเร็จ จึงไปหาพระอุตตระศิษย์ของท่านพร้อมด้วยบรรณาการเช่นเดียวกัน ในขั้นแรกพระอุตตระปฏิเสธ แต่ทนการรบเร้าของภิกษุวัชชีบุตรไม่ไหวจึงรับจีวรไว้ผืนหนึ่ง เมื่อรับจีวรเข้าแล้วจึงทำงานให้เขา พระอุตตระจึงเข้าไปหาพระเรวตเถระ พร้อมกับขอให้พระเถระช่วยสนับสนุนฝ่ายวัชชีบุตรโดยให้เหตุผลว่า

    "พระฝ่ายปราจีนคือวัชชีบุตรเป็นธรรมวาที ฝ่ายเมืองปาฐา คือพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นอธรรมวาที ขอให้พระเถระช่วยสนับสนุนฝ่ายวัชชีบุตรด้วย"

    พระเรวตเถระตำหนิพระอุตตระว่า ชักชวนให้ท่านสนับสนุนฝ่ายอธรรมวาทีจึงต้องกลับมาบอกฝ่ายวัชชีบุตรว่า งานที่รับไปนี้ทำไม่สำเร็จ

    เป็นอันว่าสังคมสงฆ์ในพุทธศตวรรษที่ 1 ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง คือการให้สินบนและรับสินบนกัน ทั้ง ๆ ที่พระอรหันต์ยังมีอยู่เป็นจำนวนมากก็ตาม จึงเป็นเรื่องที่คนจะต้องยอมรับความจริงว่า การเสียสละเพื่อประโยชน์ของตน และการลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้นนั้นมีได้แก่คนทุกประเภททุกยุคทุกสมัย ถ้าเขาตกอยู่ภายใต้ของตัณหา ไม่ต้องกล่าวถึงสังคมในปัจจุบัน ที่มีคนมากไปด้วยกิเล แม้แต่ในที่พระอรหันต์ปรากฏอยู่ คนจำพวกนี้ก็คงมีอยู่นั่นเอง

  ในที่สุดที่ประชุมของพระอรหันต์ทั้งหลายได้ตกลงกันว่าอธิกรณ์เกิดขึ้นในที่ใดควรไปจัดการระงับในที่นั้น โดยพระเรวตเถระประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาขอให้สงฆ์ระงับอธิกรณ์ด้วยอุพพาหิกา คือ การยกอธิกรณ์ไปชำระในที่เกิดอธิกรณ์สงฆ์ได้คัดเลือกพระเถระ 8 รูป คือ

- พระสัพพกามีเถระ พระสาฬเถระ พระขุชชโสภิตเถระ พระวาสภคามีเถระทำหน้าที่แทนฝ่ายเมืองปราจีนคือพวกวัชชีบุตร ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยอธิกรณ์

- พระเรวตเถระ พระสาณสัมภูตวาสีเถระ พระยสะกากัณฑกบุตรเถระพระสุมนเถระ เป็นตัวแทนฝ่ายเมืองปาฐา ทำหน้าที่เป็นตัวแทนฝ่ายธรรมวาทีมีหน้าที่ในการเสนออธิกรณ์ต่อสงฆ์

    สงฆ์ได้รับมอบหมายการสวดปาติโมกข์ การจัดแจงเสนา นะให้เป็นหน้าที่ของพระอชิตะ ซึ่งมีพรรษาได้ 10 พรรษา และตกลงเลือกเอาวาลิการามหรือวาลุการาม เมืองเวสาลี อันเป็นที่เกิดเรื่องวัตถุ 10 ประการ เป็น ถานที่วินิจฉัยเรื่องวัตถุ 10 และทำสังคายนา พระเถระที่ทำหน้าที่สำคัญทั้ง 8 ท่านนี้ พระวาสภคามีเถระกับพระสุมนเถระเป็นศิษย์ของพระอนุรุทธเถระ อีก 6 รูปเป็นศิษย์ของพระอานนทเถระ ซึ่งเป็นพระสังคีติกาจารย์สำคัญในการปฐมสังคายนา

    ฝ่ายภิกษุวัชชีบุตร เมื่อไม่อาจหาเสียงสนับสนุนจากพระเรวตเถระได้ จึงได้เข้าเฝ้าพระเจ้ากาฬาโศกราช ขอความอุปถัมภ์โดยแจ้งให้ทราบว่า พวกตนรักษาวัดวาลุการาม แต่มีภิกษุฝ่ายปราจีนกำลังจะแย่งวัด พระเจ้ากาฬสาโศกราชหลงเชื่อ ตกกลางคืนทรงสุบินนิมิตว่าพระองค์ถูกนายนิรยบาลจับลงไปทอดในหม้อทองแดง ทรงตกพระทัยมาก พระนันทาเถรีซึ่งเป็นพระกนิษฐภคินีของพระองค์และเป็นพระอรหันต์ ได้ทราบเรื่องทั้งปวงจึงได้มาถวายพระพรให้ทรงทราบว่า ใครเป็นใคร และขอให้พระองค์สนับสนุนฝ่ายพระธรรมวาที

    พระเจ้ากาฬาโศกราชจึงรับสั่งให้พระสงฆ์ทั้ง 2 ฝ่ายประชุมรวมกัน และขอให้แต่ละฝ่ายแถลงเหตุผลให้ทรงทราบ ทรงโปรดในเหตุผลฝ่ายอรหันต์ทั้งหลาย จึงปวารณาพระองค์ที่จะให้การอุปถัมภ์ฝ่ายอาณาจักรทุกประการ และโปรดให้ชำระมลทินพระศาสนาพร้อมด้วยการทำทุติยสังคายนาที่วาลุการาม เมืองเวสาลี พระสงฆ์เข้าร่วมในคราวนั้น 700 รูป โดยมีการทำตามลำดับ ดังนี้

   พระเถระที่ได้กำหนดหน้าที่กันไว้ฝ่ายละ 4 รูปนั้น พระเรวตเถระยกเอาวัตถุ 10 ประการขึ้นมาถามทีละข้อ พระสัพพกามีเถระได้ตอบไปตามลำดับว่า

     1. ภิกษุชาววัชชี  ภิกษุเก็บเกลือไว้ในเขนงแล้วนำไปฉันปนกับอาหารได้ ไม่เป็นอาบัติ
   (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า  การเก็บเกลือไว้ในเขนง โดยตั้งใจว่าจะใส่ลงในอาหารฉัน เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะเป็นการสะสมอาหารตามโภชนสิกขาบท)

    2. ภิกษุชาววัชชี  ภิกษุจะฉันอาหารหลังจากตะวันบ่ายผ่านไปเพียง 2 องคุลีก็ได้ไม่เป็นอาบัติ
   (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า  ภิกษุฉันโภชนะในเวลาวิกาล เมื่อตะวันบ่ายคล้อยไปแล้ว 2 องคุลี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะในเวลาวิกาล)

    3. ภิกษุชาววัชชี  ภิกษุฉันภัตตาหารในวัดเสร็จแล้ว ฉันเสร็จแล้วเข้าไปสู่บ้าน จะฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนและไม่ได้ทำวินัยกรรมได้ ไม่เป็นอาบัติ
    (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า  ภิกษุฉันอาหารเสร็จแล้วคิดว่าจักฉันอาหาร เข้าไปในบ้านแล้ว ฉันโภชนะที่เป็นอนติริตตะ (ไม่เป็นเดน) ผิดเป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนภิกษุไข้)

    4. ภิกษุชาววัชชี  ในอาวาสเดียวกันมีสีมาใหญ่ ภิกษุจะแยกทำอุโบสถได้ ไม่เป็นอาบัติ
   (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า  ภิกษุจะแยกกันทำอุโบสถสังฆกรรมไม่ได้ ผิดหลักที่ทรงบัญญัติไว้ในอุโบสถขันธกะ ใครขืนทำต้องอาบัติทุกกฏ)

    5. ภิกษุชาววัชชี  ในเวลาทำอุโบสถ แม้ว่าพระจะเข้าประชุมยังไม่พร้อมกัน จะทำอุโบสถไปก่อนก็ได้ โดยให้ผู้มาทีหลังขออนุมัติเอาเองได้ ไม่เป็นอาบัติ
   (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า สงฆ์ทำสังฆกรรมด้วยคิดว่า ให้พวกมาทีหลังอนุมัติทั้งที่สงฆ์ยังประชุมไม่พร้อมหน้ากัน ผิดหลักที่ทรงบัญญัติไว้ในจัมเปยยขันธกะ ต้องอาบัติทุกกฏ)

   6. ภิกษุชาววัชชี  การประพฤติปฏิบัติตามพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ไม่ว่าจะผิดหรือถูกพระวินัยก็ตาม ย่อมเป็นการกระทำที่สมควรเสมอ
    (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า  การประพฤติปฏิบัติ ด้วยเข้าใจว่าอุปัชฌาย์อาจารย์ของเราเคยประพฤติมาอย่างนี้ ไม่เป็นสิ่งที่ถูกต้องเพราะท่านเหล่านั้นอาจประพฤติผิดหรือถูกก็ได้ต้องยึดหลักพระวินัยจึงจะเป็นสิ่งสมควร)

    7. ภิกษุชาววัชชี  นมส้มที่แปรมาจากนมสดแต่ยังไม่กลายเป็นทธิ (เนยใส) ภิกษุฉันอาหารเสร็จแล้ว จะฉันนมนั้นทั้งที่ยังไม่ได้ทำวินัยกรรมหรือทำให้เป็นเดนตามพระวินัยก็ได้ ไม่เป็นอาบัติ
    (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า  นมส้มที่ละความเป็นนมสดไปแล้ว แต่ยังไม่กลายเป็นทธิ ภิกษุฉันภัตตาหารแล้ว ห้ามภัตรแล้ว จะดื่มนมนั้น อันไม่เป็นเดนภิกษุไข้ หรือยังไม่ได้ทำวินัยกรรม ไม่ควร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารที่เป็นอนติริตตะ)

    8. ภิกษุชาววัชชี สุราที่ทำใหม่ ๆ ยังมีสีแดงเหมือนสีเท้านกพิราบยังไม่เป็นสุราเต็มที่ภิกษุจะฉันก็ได้ ไม่เป็นอาบัติ
    (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า  การดื่มสุราอย่างอ่อนที่มีสีเหมือนเท้านกพิราบ ซึ่งยังไม่ถึงความเป็นน้ำเมา ไม่ควร เป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะดื่มสุราและเมรัย)

     9. ภิกษุชาววัชชี  ผ้าปูนั่งนิสีทนะอันไม่มีชาย ภิกษุจะบริโภคใช้ อยก็ได้ ไม่เป็นอาบัติ
     (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า  ผ้านิสีทนะที่ไม่มีชาย ภิกษุจะใช้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ซึ่งจะต้องตัดเสียจึงจะแสดงอาบัติตก)

    10. ภิกษุชาววัชชี  ภิกษุรับและยินดีในเงินทองที่เขาถวาย ไม่เป็นอาบัติ
    (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า  การรับเงินหรือยินดี ซึ่งเงินและทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตนเอง ไม่สมควรเป็นอาบัตินิสัคคียปาจิตตีย์)

  ทุกข้อที่พระสัพพกามีวิสัชนา ฝ่ายพระเรวตเถระได้เสนอให้สงฆ์ทราบทุกข้อ และขอมติจากสงฆ์เพื่อให้ยอมรับว่า

    "วัตถุเหล่านี้ผิดธรรม ผิดวินัย เป็นการหลีกเลี่ยงต่อคำ อนของพระพุทธองค์" และได้ขอให้สงฆ์ลงมติทุกครั้งที่พระสัพพกามีเถระตอบ มติของสงฆ์เห็นว่าวัตถุ 10 ประการนี้ ผิดธรรม ผิดวินัย โดยเสียงเอกฉันท์

    จากนั้นพระเถระทั้งหลายจึงได้เริ่มสังคายนาพระธรรมวินัยตามแบบที่พระมหากัสสปะเถระ เป็นต้น ได้กระทำในคราวปฐมสังคายนา การกระทำสังคายนาคราวนี้ใช้เวลา 8 เดือนจึงเสร็จ


ความวิบัติแห่งทิฏฐิสามัญญตา
     จากคัมภีร์ชื่อ ธรรมเภทจักรศาสตร์ของพระวสุมิตร และอรรถกถาแห่งคัมภีร์นั้นซึ่งแต่งโดยพระคันถรจนาจารย์ กุยกี ในราชวงศ์ถังของจีน บอกว่า การแตกแยกคราวนั้นเกิดขึ้นจากความวิบัติแห่งทิฏฐิ ซึ่งแสดงโดยพระมหาเทวะ 5 ประการ คือ

1. พระอรหันต์อาจถูกมารยั่วยวนจนอสุจิเคลื่อนในเวลาหลับได้
2. พระอรหันต์อาจมีอัญญาณคือความไม่รู้ในบางสิ่งได้
3. พระอรหันต์อาจมีกังขา คือความลังเลสงสัยในบางสิ่งได้
4. ผู้จะรู้ว่าตนได้บรรลุมรรคผลขั้นใด จำต้องอาศัยการพยากรณ์จากคนอื่น
5. อริยมรรค อริยผลจะปรากฏเมื่อบุคคลเปล่งวาจาว่า "อโห ทุกฺขํ อโห ทุกฺขํ"

    ท่านได้เล่าประวัติความเป็นมาของพระเทวะและทิฏฐิของท่านไว้ว่า พระมหาเทวะเป็นบุตรพ่อค้าของหอมเมืองมถุรา เป็นชายหนุ่มรูปงามเป็นที่ต้องการของ ตรีเป็นอันมาก เมื่อพ่อของเขาไปค้าของหอมต่างเมือง เขาได้ลักลอบได้เสียกับมารดาของตน เมื่อบิดากลับมากลัวความลับจะแตก จึงวางแผนร่วมกับมารดาฆ่าบิดาของตนเสีย กลัวความผิดจะปรากฏจึงนำมารดาไปอยู่ที่เมืองปาฏลีบุตร ได้พบพระอรหันต์รูปหนึ่งซึ่งตนเคยบำรุงเมื่ออยู่เมืองมถุรา ที่เมืองปาฏลีบุตร กลัวท่านจะเปิดเผยความเป็นมาของตนจึงลอบฆ่าพระอรหันต์รูปนั้นเสีย หลังจากนั้นมารดาที่เป็นภรรยานั้น ได้ลักลอบเป็นชู้กับชายอื่น เขาโกรธมากจึงฆ่าเสียอีก หลังจากได้ทำบาปกรรมมามากแล้วเกิดความ ลดใจ จึงไปขอบวชที่วัดกุกกุฏาราม เล่าเรียนพระปริยัติธรรมจนมีความรู้แตกฉานเป็นนักเทศน์มีชื่อเสียง มีคนเคารพนับถือและบริวารมาก ต้องการจะได้ลาภสักการะเพิ่มขึ้น จึงได้กล่าวอวดอุตริมนุสธรรมว่าตนเป็นพระอรหันต์ทำให้คนเคารพนับถือและได้ลาภสักการะเพิ่มขึ้น เพื่อจะเอาใจพวกศิษย์ของตนจึงได้พยากรณ์ว่าคนนั้นเป็นโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เป็นต้น

      ต่อมาท่านนอนหลับฝันอสุจิเคลื่อน เมื่อลูกศิษย์นำผ้าไปซักเห็นเข้าถึงถามว่า

     "อาจารย์บอกว่าเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่ทำไมพระอรหันต์จึงยังนอนฝันจนอสุจิเคลื่อนเล่า"

    "พระอรหันต์ทั้งหลายอาจถูกมารยั่วยวน จนอสุจิเคลื่อนได้ในเวลาหลับ"พระมหาเทวะตอบ ศิษย์ที่ท่านบอกว่า เป็นพระอริยบุคคลนั้น มีความรู้สึกว่า ท่านเองไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรเอามาก ๆ แต่ทำไมอาจารย์จึงบอกว่า ตนเป็นพระอริยบุคคล จึงเข้าไปเรียนถามว่า

    "ท่านอาจารย์บอกว่ากระผมเป็นพระอรหันต์ แต่ทำไมกระผมไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรทั้ง ๆ ที่ผู้เป็นพระอรหันต์น่าจะรู้ทุกสิ่งตามความเป็นจริง มิใช่หรือ "

     "พระอรหันต์อาจมีอัญญาณ คือความไม่รู้ในบางสิ่งได้" พระมหาเทวะชี้แจง

     "ในเมื่ออาจารย์บอกว่าเป็นพระอรหันต์ แต่ทำไมกระผมจึงยังมีความสงสัยอยู่เล่า "

     "พระอรหันต์อาจมีกังขา คือความสงสัยในบางสิ่งได้" พระมหาเทวะกล่าว

    "ตามธรรมดาท่านที่จะเป็นพระอรหันต์ จะต้องเกิดญาณรู้ด้วยตนเองมิใช่หรือว่าตนบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่ทำไมผมจึงไม่มีความรู้เช่นนั้น ยังต้องอาศัยการพยากรณ์จากอาจารย์อยู่เล่า" ศิษย์ถาม

     "ผู้ที่จะรู้ว่าตนเป็นพระอรหันต์ ต้องอาศัยการแนะนำพยากรณ์จากคนอื่น"พระมหาเทวะตอบ

    หลังจากทำเรื่องนอกรีตนอกรอยหลายอย่างเข้า พระมหาเทวะเกิดความไม่สบายใจรู้สึกว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็มีแต่ความเร่าร้อน คืนหนึ่งรู้สึกว่าเร่าร้อนมากจนนอนไม่หลับจึงอุทานว่า "อโห ทุกฺขํ อโห ทุกฺขํ" แปลว่า ทุกข์หนอ ๆ เม่อื ศิษย์ของท่านได้ยินเข้าจึงถามว่า

    "อาจารย์บอกว่าเป็นพระอรหันต์แล้ว ทำไมจึงยังบ่นว่า อโห ทุกฺขํ อโห ทุกฺขํ อยู่เล่าพระอรหันต์ยังมีทุกข์อยู่อีกหรือ "

    "อริยมรรค อริยผลจะปรากฏ เมื่อบุคคลเปล่งวาจาว่า อโห ทุกฺขํ อโห ทุกฺขํ"พระมหาเทวะตอบ

    พระมหาเทวะตั้งทิฏฐิ 5 ประการของตนขึ้นแล้ว ได้พยายามหาพวกให้ความสนับสนุนความเห็นตน เมื่อเห็นว่าได้มากพอควรแล้ว จึงเสนอความเห็นทั้ง 5 นี้ในท่ามกลางสงฆ์ที่กุกกุฏาราม เพื่อให้สงฆ์ทั้งปวงยอมรับว่า ทิฏฐิของท่านเป็นธรรม แต่พระเถระอรหันต์และท่านที่ยึดมั่นในธรรมทั้งปวงปฏิเสธ พระมหาเทวะจึงขอให้ลงมติด้วยเยภุยยสิกา คือถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ เนื่องจากท่านได้เตรียมบุคคลไว้มากพอก่อนแล้วจึงชนะในการลงมติ พระเถระที่ยึดมั่นในธรรมวินัยเห็นว่า ขืนอยู่ต่อไปก็ขาดความสุข ทั้งไม่อาจแก้ไขเรื่องนี้ได้ จึงหนีออกจากปาฏลีบุตรเพื่อไปจำพรรษาที่เมืองอื่น

    พระเจ้ากาฬาโศกราชทรงทราบ จึงขอร้องไม่ให้พระเหล่านั้นไป แต่พระเถระทั้งหลายไม่ยินยอม ทำให้พระเจ้ากาฬาโศกราชกริ้วมาก เพราะเข้าพระทัยผิด จึงรับสั่งให้ปล่อยพระเหล่านั้นลงในเรือและทำให้เรือแตกกลางแม่น้ำคงคา พระเถระทั้งหลายใช้อิทธาภิสังขารลอยขึ้นไปบนอากาศลงสู่แคว้นกาศมีระ พระเจ้ากาฬาโศกราชทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้น ทรงทราบว่าพระองค์หลงผิดจนถึงกับทำอันตรายต่อพระอริยเจ้า จึงส่งคนไปขอขมาและอาราธนาให้ท่านเหล่านั้นกลับ เมื่อพวกท่านไม่ยอมกลับ จึงโปรดให้สร้างอารามถวายที่แคว้นกาศมีระ
จำเดิมแต่นั้นมาสังฆมณฑลได้แตกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

    เถรวาท หรือ ถวีระ อันเป็นนิกายเดิมกับ มหาสังฆิกวาท คือพวกที่แตกออกไป ในกาลต่อมา นิกายทั้ง องนั้นได้แตกแยกออกไปเรื่อย ๆ จนถึง 18 นิกายคือ

     1.สายเถรวาทหรือ สถวีรวาท แยกออกคราวแรกเป็นเหมวันตวาทกับสรวาสติวาท

1.1 นิกายสรวาสติวาทแยกเป็น 4 นิกาย คือ มหิศา กวาท, กาศฺยปิยวาท,เสาตฺรนฺติกวาท, วาตฺสิปุตฺริวาทหรือวัชชีบุตรวาท
1.2 นิกายมหิศา กวาทแยกออกเป็นนิกายธรรมคุปตวาท
1.3 นิกายวัชชีบุตรวาทแยกเป็นนิกายย่อยอีก 4 นิกาย คือ ศนฺนาคาริกวาท, สามฺมมีติยวาท, ภทฺรยานิยวาท และธรรมโมตฺริยวาท

    2. นิกายมหาสังฆิกวาท แยกออกเป็นกิ่งนิกายย่อยถึง 8 นิกาย คือ เอกวยหาริกวาท, โลโกตฺตรวาท, โคกุลิกวาท, พหุศฺรุติยวาท, บัญญัติวาท, ไจติกวาท, อประเสลิกวาท และอุตตรเสลิวาท

  หลักฐานเกี่ยวกับนิกายเหล่านั้นใช้ภาษาสันสกฤตเพราะมาจากปกรณ์ทางสันสกฤตเมื่อนับเรียงลำดับจากยุคต่าง ๆ มีถึง 20 นิกาย ความแตกแยกเป็นนิกายในตอนต้นนั้นมีข้อที่ควรสังเกตบางประการคือ

    1. วัตถุ 10 ประการที่ภิกษุวัชชีบุตรละเมิดนั้น เมื่อว่ากันในแง่ของพระวินัย ก็เป็นความผิดตามที่พระสัพพกามีเถระได้วิสัชนาไว้ แต่เมื่อคำนึงประวัติศาสตร์ ท่านเหล่านั้นอาจจะสืบเชื้อสายมาจากสายของพระปุราณะที่ไม่เห็นด้วยต่อมติของพระสังคีติกาจารย์ในคราวปฐมสังคายนาบางประการ มติที่ไม่ให้ถอนสิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่พระสังคีติกาจารย์ คราวปฐมสังคายนาท่านลงไว้ อาจจะมีพระกลุ่มหนึ่งไม่เห็นด้วย เพราะถือว่าเป็นพุทธานุญาตให้ถอนได้ท่านเหล่านั้นก็ถอนกับเฉพาะข้อที่พวกท่านเห็นว่าเล็กน้อย ท่านพระวัชชีบุตรและรุ่นหลังได้ถือ
ปฏิบัติสืบต่อกันมาโดยเชื่อว่า เป็นความถูกต้อง เพราะคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่ใช้เป็นหลักฐานในคราวนั้นยังไม่มี

    2. พระเถระในคราวทุติยสังคายนา ท่านเป็นศิษย์ร่วม มัยกับพระสังคีติกาจารย์ผู้ทำปฐมสังคายนา ท่านต้องเคารพรักษามติของพระเถระอรหันต์ ซึ่งเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ของท่าน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ท่านมีเดชานุภาพจะจัดการแก้ไขได้ จึงได้จัดการแก้ไขไปตามหน้าที่อันเป็นกรณียะที่ควรแก่การอนุโมทนา แต่การจะให้อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมีความฝังใจมาแต่เดิมว่า ตนทำถูกต้องแล้ว กลับความประพฤติ ความเชื่อถือทั้งหมด ย่อมไม่อาจเป็นไปได้ความแตกแยกจึงเกิดขึ้นทั้งในด้านศีลและทิฏฐิ

    3. ความแตกแยกในด้านศีลและทิฏฐินี้ เมื่อเวลาผ่านไปปรากฏชัดมากยิ่งขึ้นจนเกาะกลุ่มกันเป็นพวกที่เชื่อว่า การปฏิบัติและความเห็นเช่นนั้นถูกต้อง นิกายย่อย ๆ จึงเพิ่มขึ้นตามลำดับกาล แต่ในขั้นแรกจริง ๆ ท่านเหล่านั้นคงอยู่อาศัยในที่เดียวกัน คือ วัดหนึ่ง ๆ อาจจะมีพระอยู่ด้วยกันหลายนิกายก็ได้ กาลต่อมาจึงแยกออกไปตั้งสำนักของพวกตนขึ้นจนไม่อาจประสานสามัคคีกันได้ในที่สุด

  4. ความเจริญมั่นคงของนิกายต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับศรัทธาจากใจของประชาชนเป็นผู้กำหนด หากนิกายใดประชาชนยอมรับนับถือเชื่อฟังและปฏิบัติตามมาก นิกายนั้นก็เจริญแพร่หลายออกไปมาก ฝ่ายตรงข้ามแพร่หลายไปน้อย จนค่อย ๆ หายไปในที่สุด

   5. ความแตกต่างทางด้านศีลและทิฏฐินั้น น่าสังเกตว่าไม่ใช่เรื่องรุนแรงอะไรนัก คือ ไม่ถึงกับแตกต่างในหลักสำคัญ เช่น อริยสัจ 4 เป็นต้นส่วนที่เป็นหลักสำคัญจริง ๆ ทั้งศีลและทิฏฐิ ทุกนิกายยังคงรักษาไว้ด้วย ซึ่งตามหลักความเป็นจริงแล้วควรจะหาทางประนีประนอมกันได้ในหลายเรื่อง แต่ยังหาคนจัดการไม่ได้ อาจจะเป็นเพราะเข้าสูตรที่ว่า "ทิฏฐิพระ มานะเจ้า" ก็ได้ ความแตกแยกเหล่านี้จึงยืดเยื้อมาจนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 3 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช


สรุปการทำสังคายนาครั้งที่ 2
ทุติยสังคายนา     :
  ประมาณ พ.ศ. 100
ประธานสงฆ์     :    มีพระยสกากัณฑกบุตรเถระเป็นประธานพระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้ตอบ
ผู้เข้าร่วมประชุมสังคายนา  :  พระอรหันตขีณาสพจำนวน 700 องค์
องค์อุปถัมถ์  :   พระเจ้ากาฬาโศกราช
เหตุปรารภในการทำสังคายนา  :   วัตถุ 10 ประการ
สถานที่ประชุมทำสังคายนา  :   วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
ระยะเวลาในการประชุม  :   กระทำอยู่ 8 เดือนจึงสำเร็จ


พระพุทธศาสนาในศตวรรษที่ 3
    ขณะที่ทางศาสนจักรมีการแตกแยกเป็นนิกายต่าง ๆ เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นทางอาณาจักรเช่นเดียวกัน คือ ราชวงศ์สุสูนาคซึ่งครอบครองอาณาจักรมคธมายาวนานนั้นถูกทำลายลงโดยราชวงศ์นันทะ เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระเจ้ากาฬาโศกราช ราชวงศ์นันทะได้ย้ายราชธานีกลับมาที่ปาฏลีบุตร ปกครองสืบต่อกันมาจนถึงพระเจ้าธนนันทะ อันเป็นกษัตริย์องค์ที่ 9 ในราชวงศ์นันทะ อารยันได้ถูกข้าศึกจากต่างแดนรุกราน คือ

   พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย ชนชาติกรีก ได้ยกมาตีดินแดนต่าง ๆ ทางทวีปเอเชียในปีพ.ศ. 209 ตีได้เฟนิเซียน อิหร่านส่วนแอฟริกา ประเทศอียิปต์ยอมสวามิภักดิ์หลังจากตีอิหร่านได้แล้ว ก็ยกเข้าตีอินเดีย ยึดได้แคว้นปัญจาปหลังจากได้พิชิตพระเจ้าเปาระวะหรือสิงห์แห่งปัญจาปได้ แต่ยังไม่ทันบุกเข้ามคธ ทหารเกิดเบื่อหน่ายการรบเพราะจากบ้านเมืองมานาน ทำให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชตัดสินพระทัยยกกองทัพกลับ โดยมอบหมายให้ทหารผู้ใหญ่ปกครองเมืองที่ยึดได้ พร้อมด้วยกำลังทหารจำนวนหนึ่ง พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยกกองทัพตีเมืองต่าง ๆ อยู่ในอินเดีย 1 ปี กับ 8 เดือน โดยตีเมืองแถบลุ่มแม่น้ำสินธุตอนบนและตอนล่างได้หมด เมื่อเสด็จออกจากชมพูทวีปแล้ว พระองค์ไป วรรคตที่กรุงบาลิโลนในปีพ.ศ. 220 ขณะพระชนมายุเพียง 33 พรรษาเท่านั้น

   หลังจากกองทัพกรีกยกกลับออกไปแล้ว ราชวงศ์นันทะก็ถูกทำลายโดยกองทัพของมหาโจรจันทรคุปต์ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์บอกว่า เป็นเชื้อสายศากยวงศ์ที่อพยพออกจากแคว้นสักกะ เมื่อพระเจ้าวิฑูฑภะยกกองทัพไปตีกรุงกบิลพัสดุ์ ในปีที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน คนเหล่านั้นได้มาสร้างเมืองอยู่แถบภูเขาที่มีนกยูงอาศัยอยู่มาก จึงตั้งวงศ์ของตนว่าโมริยะหรือเมารยะ ตามชื่อของนกยูง แต่หลักฐานบางอย่างบอกว่า จันทรคุปต์เป็นเชื้อสายราชวงศ์นันทะ แต่มารดาเกิดในตระกูลต่ำ คือเป็นธิดาของคนเลี้ยงนกยูง จึงได้ชื่อตามตระกูลมารดาว่าเมารยวงศ์ จันทรคุปต์ได้อาจารย์ที่ปรึกษาคนสำคัญคือ จาณักยะ ซึ่งในมหาวังสะเรียกว่า "ปาณกพราหมณ์" ได้เพียรพยายามยึดครองบ้านเมืองในราชอาณาจักรมคธหลายครั้ง จนประสบความสำเร็จ ล้างราชวงศ์นันทะทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ครองปาฏลีบุตร ตั้งราชวงศ์เมารยะขึ้นเมื่อ พ.ศ. 222 ในรัช มัยของพระองค์มีข้าศึกมาก จึงต้องมีการปราบปรามกันอยู่เสมอ

    ในสมัยที่พระองค์ทำตนเป็นมหาโจรอยู่นั้น ได้ศึกษาชีวิตและผลงานของศาสดาทั้งหลายไปด้วย เกิดประทับใจในชีวประวัติของท่านวรรธมาณหรือมหาวีระ จนยอมรับนับถือเป็นศาสดาของตน หลังจากเสวยราชย์อยู่ 26 ปีก็ ละราชสมบัติออกผนวชเป็นนิครนถ์ในศาสนาเชน โดยตั้งพระทัยจะให้เชษฐโอรสคือสิงหเสนเสวยราชย์แทน แต่มุขมนตรีซึ่งเป็นพราหมณ์ส่วนมากสนับสนุนพินทุสารราชกุมาร ซึ่งเป็นราชโอร อีกพระองค์หนึ่งขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เพราะเจ้าชายพินทุสารนับถือศาสนาพราหมณ์ ตามหลักฐานจากมหาวังสะบอกว่า ทรงเลี้ยงพราหมณ์ภายในพระราชวังวันละ 60,000 คนทุกวัน ซึ่งออกจะเป็นจำนวนที่มากไป

    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพระเจ้าจันทรคุปต์จะนับถือศาสนาเชน พระเจ้าพินทุสารจะนับถือศาสนาพราหมณ์ ตลอดเวลา 28 ปีที่เสวยราชย์อยู่ก็ตาม พระพุทธศาสนาก็ไม่ได้ถูกเบียดเบียนแต่อย่างใดไม่ ศูนย์กลางของพระพุทธศาสนายังคงอยู่ที่แคว้นมคธ นิกายสำคัญ ๆ ยังได้ออกไปตั้งหลักมั่นคงในส่วนต่าง ๆ ของชมพูทวีปอีกมาก เช่น

นิกายเถรวาท ได้เลื่อนไปตั้งหลักแหล่งเพิ่มเติมขึ้นที่แคว้นอวันตี
นิกายมหาสังฆิกวาท ไปรุ่งเรืองอยู่ที่แคว้นคันธาระ ตอนเหนือของชมพูทวีป
นิกายสรวาสติวาท ไปเจริญรุ่งเรืองอยู่ที่แคว้นมถุรา
นิกายมหิศาสกวาท ไปรุ่งเรืองอยู่ที่มหิสกมณฑล


พระเจ้าอโศกมหาราช
    ก่อนที่พระเจ้าพินทุสารจะสวรรคต ทรงตั้งพระทัยจะให้สุสิมราชกุมารหรือสุมนราชกุมารซึ่งเป็นเชษฐโอร เป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อจากพระองค์ แต่จะเป็นเรื่องกงเกวียนกงกรรมหรืออะไรก็ตาม ปรากฏว่ามุขมนตรีทั้งหลายพร้อมใจกันยกราชสมบัติถวายอโศกราชกุมาร ซึ่งเป็นอุปราชอยู่ที่เมืองอุชเชนี แคว้นอวันตี พระเจ้าพินทุสารมีพระราชโอรสพระราชธิดาถึง 100 พระองค์ พระเจ้าอโศกเป็นโอรสของพระนางศิริธรรมา หลังจากได้รับราชสมบัติแล้วต้องปราบปรามพระเชษฐา พระอนุชาที่แข็งข้อพร้อมด้วยพรรคพวกบริวารอยู่นานตามประวัติบอกว่า ได้จับพระเชษฐา พระอนุชาปลงพระชนม์เกือบหมด คงเหลือแต่ติสราชกุมาร ซึ่งร่วมพระชนนีเดียวกันเพียงพระองค์เดียว ตอนต้นรัชสมัยคงนับถือศาสนาพราหมณ์ตามพระราชบิดา ได้ทรงทำอะไรรุนแรงหลายอย่างด้วยกัน โดยเฉพาะทางด้านฆ่าคนสิ่งที่ทำให้ลดพระทัยมาก คือสงครามกลิงคราษฎร์ที่ต้องเสียชีวิตคนทั้งสองฝ่าย ฝ่ายละหลายหมื่นต่อมาได้สดับธรรมจากนิโครธสามเณร เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทรง นพระทัยศึกษาสดับรับฟังธรรมโดยพิสดาร จนสามารถนำเอาหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาเข้ามาใช้ในการบริหารประเทศ ซึ่งถือได้ว่าเป็นยุคเดียวที่พระพุทธศาสนามีอิทธิพลในการบริหารบ้านเมือง ทรงยุติการขยายราชอาณาเขตด้วยกองทัพ แต่ทรงใช้หลักธรรมวินัย คือชัยชนะโดยธรรม ทรงปฏิบัติการปกครองบ้านเมือง โดยใช้หลักธรรมในการบริหาร เช่น

1. ปกครองบ้านเมืองโดยระบบธรรมาธิปไตย คือใช้หลักพระธรรมวินัยบริหารบ้านเมือง

2. อุทิศพระองค์เป็นธรรมทา ทรงหวังผลทั้งในภพนี้และภพหน้า นำประชาชนให้เว้นจากมิจฉาชีพ ดำรงชีวิตโดยหลักสัมมาอาชีวะ

3. เสด็จประพา เพื่อธรรม คือ เที่ยวนมัสการปูชนียสถานในพระพุทธศาสนาและทรงแนะนำสั่งสอนประชาชนให้รู้และปฏิบัติ

4. ปฏิวัติสังคมโดยธรรม ยกเลิกพิธีกรรมที่มีการเบียดเบียนทำลายล้าง ห้ามฆ่าสัตว์บูชายัญ ด้วยกฎ "มา ฆาต" คือห้ามฆ่า แม้ภายในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ

5. ใช้ระบบรัฐสวัสดิการด้วยการสร้างโรงพยาบาลรักษาคนและโรงพยาบาลรักษาสัตว์ ปลูก มุนไพรไว้ในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ ขุดบ่อน้ำ ระน้ำสร้างถนน คูคลอง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน

6. ให้เลิกพิธีกรรมทุกชนิดที่ไม่เป็นธรรม และได้นำเอาหลักของมงคลสูตรสิงคาลกสูตร ให้คนปฏิบัติต่อกันตาม มควรแก่ฐานะหน้าที่ เน้นให้ประชาชนรู้จักคุณค่าของธรรมทาน เห็นคุณค่าของการแนะนำ การรับการแนะนำสั่งสอนกันด้วยเมตตา กรุณา

7. ตั้งข้าหลวงแทนพระองค์เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรม โดยให้ข้าหลวงเหล่านั้นสร้างความรู้สึกต่อประชาชนว่า เป็นเหมือนลูกหลานของตน พยายามสอดส่องดูแลสุขทุกข์ของเขาดุจบิดาเอาใจใส่ดูแลบุตรธิดา การกระทำทุกอย่างเน้นหนักไปที่ผลประโยชน์อันผู้กระทำพึงได้ในภพนี้และภพหน้า

     การปกครองโดยระบบธรรมาธิปไตย ทำให้เพื่อนบ้านใกล้เคียงมีสัมพันธไมตรีกับพระองค์ มีเมืองเป็นอันมากที่ยอมเป็นข้าขอบขันธเสมา เพราะความเคารพศรัทธาต่อพระเจ้าอโศกมหาราช ความสงบสุขได้บังเกิดขึ้น ดังข้อความในศิลาจารึกตอนหนึ่งว่า

     "มา ณ ยุคปัจจุบัน โดยเหตุที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ได้ทรงปฏิบัติธรรมแล้ว ประชาราษฎรแทนที่จะได้ยินเสียงยุทธเภรี แต่กลับได้ยินเสียงธรรมเภรีแทนในกาลก่อน นิกรชนแห่งชมพูทวีปไม่ได้อยู่ร่วมกับทวยเทพ ครั้นมาบัดนี้ได้อยู่ร่วมกับทวยเทพแล้ว อย่างนี้คือผลแห่งการปฏิบัติธรรมโดยเคร่งครัดกวดขันของข้าโดยไม่ต้องสงสัย"


การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 3
  จากหลักฐานในมหาวังสะกล่าวว่า ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชได้มีเดียรถีย์ปลอมเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เพราะเห็นว่าพระพุทธศาสนามีลาภสักการะมากจนพระสงฆ์เกิดรังเกียจกันเพราะไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ในที่สุดไม่ทำอุโบสถสังฆกรรมร่วมกันถึง 7 ปี ต่อมาความทราบถึงพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์รับสั่งให้อำมาตย์คนหนึ่งไปอาราธนาให้พระร่วมสังฆกรรมกัน เมื่อพระเหล่านั้นไม่ยินยอม อำมาตย์ถือว่าขัดพระราชโองการจึงตัดคอพระมรณภาพไปหลายรูป พระติสสเถระซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าอโศกมหาราชเห็นเช่นนั้นจึงไปนั่งขวางไว้ อำมาตย์ไม่กล้าฆ่าพระอนุชาจึงกลับไปกราบทูลให้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงทราบทุกประการ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงตกพระทัยมากกลัวว่า บาปกรรมจะมาถึงพระองค์ด้วย แม้ว่าอำมาตย์จะทำไปโดยพลการก็ตาม จึงไปเรียนถามพระเถระทั้งหลายปรากฏว่าท่านทั้งหลายตอบไม่ตรงกัน ในที่สุดได้รับคำแนะนำจากพระเถระให้ไปอาราธนาพระโมคคลีบุตรติสเถระให้มาวินิจฉัยให้ และจะได้ช่วยกันชำระเรื่องเสื่อมเสียที่เกิดขึ้น

   พระโมคคลีบุตรติสสเถระนี้ ท่านเล่าว่าเป็นผู้ที่พระอรหันต์ในคราวทุติยสังคายนาขอให้จุติจากพรหมโลกมาชำระพระศาสนาในคราวนี้โดยตรง โดยมอบหมายให้พระเถระ 2 รูปคือ พระสิคควเถระและพระจันทวัชชีเถระ รับหน้าที่ในการนำติสสมหาพรหม ซึ่งมาปฏิสนธิในครรภ์ของโมคคลีพราหมณี ให้ออกบวช อบรม ให้การศึกษาจนแตกฉานพระธรรมวินัยโดยถือเป็นทัณฑกรรมของท่านทั้ง 2 ฐานขาดการประชุม ในคราวที่พระสงฆ์ทำทุติยสังคายนาพระเถระทั้ง องได้ทำหน้าที่ของท่านตามมติสงฆ์ โดยพระสิคควเถระนำติ กุมารออกบวชเป็นสามเณร ให้ศึกษาธรรมเบื้องต้น พระจันทวัชชีเถระให้อุปสมบทเป็นภิกษุ ให้ศึกษาธรรมเบื้องสูงขึ้นไป เดียรถีย์ปลอมเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาเมื่อพระโมคคลีบุตรติสสเถระเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่เป็นเรื่องใหญ่มาก ไม่อาจจัดการได้โดยลำพังอำนาจสงฆ์ ต้องอาศัยพระราชอำนาจจึงทำได้ พระเถระเมื่อเห็นเหตุการณ์เช่นนั้นจึงคิดว่า

    "บัดนี้ อธิกรณ์เกิดขึ้นแล้ว ไม่นานนักอธิกรณ์นี้จะหยาบช้ากล้าแข็งขึ้น ถ้าเราอยู่ในท่ามกลางเดียรถีย์เหล่านี้ จักไม่อาจระงับอธิกรณ์ได้ จึงมอบหมายการบริหารสงฆ์ให้พระมหินทเถระ ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของท่าน และเป็นราชโอร ของพระเจ้าอโศกมหาราชท่านเองได้หลีกไปพักอยู่ที่อโธคังคบรรพต ตอนเหนือแม่น้ำคงคา

    พระเจ้าอโศกมหาราชส่งอำมาตย์ พระธรรมกถึก 48 ท่าน พร้อมด้วยบริวารไปเรียนให้พระโมคคลีบุตรติ เถระมา ตามพระบรมราชโองการ 2 คราว แต่พระเถระไม่ยอมรับอาราธนา เพราะท่านเหล่านั้นพูดไม่ถูกเรื่อง จึงต้องเพิ่มจำนวนพระธรรมกถึก อำมาตย์ 16 คน พร้อมด้วยบริวารให้ไปอาราธนาว่า

    "ข้าแต่พระคุณเจ้า ศาสนากำลังเสื่อมโทรม ขอพระคุณเจ้าเป็น หายของข้าพเจ้าเพื่อเชิดชูพระพุทธศาสนาเถิด"

     เมื่อพระเถระได้สดับพระราชสาสน์นั้นคิดว่า

     "เราบวชมาด้วยความตั้งใจว่าจะเชิดชูพระศาสนามาตั้งแต่ต้นแล้ว เวลาของเรามาถึงแล้ว"

    พระเถระได้มาด้วยแพล่องมาตามลำน้ำคงคา พระเจ้าอโศกมหาราชต้อนรับด้วยความเลื่อมใสแต่ยังข้องใจในคุณสมบัติของพระเถระ หลังจากได้ทด อบแล้วจึงเกิดความมั่นพระทัยในคุณสมบัติของพระเถระ จึงได้เรียนถามข้อที่ทรงข้องพระทัยเรื่องอำมาตย์ฆ่าพระเถระมรณภาพไปหลายรูป พระเถระได้ถวายวิสัชนาให้ทรงหายข้องพระทัย ความว่า เมื่อพระองค์ไม่มีพระประสงค์ให้อำมาตย์ฆ่าภิกษุ บาปจะไม่มีแก่พระองค์ และให้พระราชามั่นพระทัยด้วยพระพุทธภาษิตว่า

     "ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย วาจา และใจ"

     นอกจากนั้นพระเถระยังได้ยกภาษิตของดาบสในติตติรชาดก ความว่า

    "ถ้าท่านไม่มีความคิดไซร้ บาปก็ไม่มี แท้จริง กรรมย่อมถูกต้องบุคคลผู้คิดอยู่เท่านั้นหาถูกต้องบุคคลผู้ไม่คิดไม่"

    หลังจากพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสบายพระทัย เพราะได้ฟังคำวินิจฉัยของพระเถระแล้ว พระเถระได้ถวายพระพรให้ทราบเรื่องสถานการณ์ของพระพุทธศาสนาในกรุงปาฏลีบุตรพร้อมกับให้พระราชาเรียนสัจธรรมทางพระพุทธศาสนา จนสามารถแยกได้ว่า อะไรเป็นคำสอนของพระพุทธศาสนา อะไรไม่ใช่ พระเจ้าอโศกมหาราชได้เรียกภิกษุทั้งหลายมาสอบถามด้วยพระองค์เองว่า

     "กึวาที สมฺมาสมฺพุทฺโธ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีปกติตรัสว่าอย่างไร "

    ท่านรูปใดตอบว่า "วิภชฺชวาที มีปกติตรัสจำแนก" ถือว่าเป็นพระที่แท้จริง ท่านที่ตอบเป็นอย่างอื่น ถือว่าเป็นเดียรถีย์ปลอมบวช รับสั่งให้แจกผ้าขาวแก่คนเหล่านั้น ให้สึกออกมาเป็นจำนวนมาก ตามหลักฐานในมหาวังสะและ มันตปาสาทิกาบอกว่า พระที่ถูกจับสึกไปคราวนั้นถึง 60,000 รูป

 เมื่อได้มีการชำระสังฆมณฑลให้บริสุทธิ์แล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้อาราธนาให้พระสงฆ์ทำอุโบ ถสังฆกรรมกันตามปกติ โดยพระองค์ประทานการอารักขา พระสงฆ์ทั้งปวงก็พร้อมเพรียงกันทำอุโบ ถตั้งแต่นั้นมา พระโมคคลีบุตรติ เถระได้เลือกพระจำนวน 1,000 รูป เฉพาะท่านที่ทรงปริยัติ แตกฉานในปฏิสัมภิทา ชำนาญในวิชชา 3 ประชุมกันทำสังคายนา ครั้งที่ 3 ขึ้นที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช ประเด็นสำคัญในตติยสังคายนา คือ

1. พระโมคคลีบุตรติ เถระเป็นประธาน มีพระสังคีติกาจารย์เข้าร่วม 1,000 รูป ทำที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นองค์อุปถัมภ์เริ่มทำเมื่อปี พ.ศ. 218

2. พระโมคคลีบุตรติ เถระได้ยกเอาวาทะในนิกายต่าง ๆ ที่เผยแพร่กันในสมัยนั้นขึ้นวิพากษ์ 300 ข้อ ถือว่าเป็นความเห็นผิดจากพระพุทธศาสนาเป็นเหตุให้เกิดคัมภีร์กถาวัตถุ ในพระอภิธรรมปิฎกขึ้น คัมภีร์ในอภิธรรมปิฎกสมบูรณ์ในคราวนี้เอง

3. รูปแบบของการสังคายนาอย่างอื่น ทำตามแบบที่พระสังคีติกาจารย์ในคราวปฐมสังคายนาท่านกระทำ โดยใช้เวลานานถึง 9 เดือนจึงสำเร็จ

4. พระโมคคลีบุตรติสสเถระพิจารณาเห็นว่า กาลต่อไปพระพุทธศา นาจะตั้งมั่นนอกชมพูทวีป จึงจัดส่งพระเถระพร้อมด้วยบริวารให้ไปเผยแผ่ศาสนาในส่วนต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย 9สาย คือ

4.1 พระมหินทเถระ พระอิฏฏิยะเถระ พระอุตติยเถระ พระสัมพลเถระพระภัททสาลเถระ และสุมนสามเณร ไปเผยแผ่พระศาสนาที่เกาะลังกา ในรัชสมัยพระเจ้าเทวานัมปิยติสะ

4.2 พระมัชฌันติกเถระไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่แคว้นคันธาระและกัษมีระ ทรมานพวกนาคให้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา

4.3 พระมหาเทวะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมหิ กมณฑล ได้แก่ แถบตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำโคธาวารี อันเป็นแคว้นไมเซอร์ในปัจจุบัน

4.4 พระรักขิตเถระไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วนวา สีประเทศ ได้แก่ แว่นแคว้นกนราเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย มหาวังสะบอกว่ามีวัดเกิดขึ้น 500 วัด ในดินแดนส่วนนี้

4.5 พระโยนกธรรมรักขิต ซึ่งเป็นพระอรหันต์ชนชาติกรีกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ อปรันตกชนบท เชื่อกันว่าได้แก่ ดินแดนชายทะเล อันเป็นเมืองบอมเบย์ในปัจจุบัน

4.6 พระมหารักขิตเถระไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ โยนกประเทศ คือ ดินแดนที่อยู่ในการยึดครองของฝรั่งชาติกรีก ในทวีปเอเชียตอนกลาง เหนืออิหร่านขึ้นไปจนถึงเตอรกีสถาน

4.7 พระมัชฌิมเถระพร้อมพระเถระอีก 4 รูป คือ พระกัสสปโคตตะพระอฬกเทวะ พระทุนทุภิสสระ พระสหัสเทวะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย

4.8 พระโสณะกับพระอุตตรเถระไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนที่เรียกว่า "สุวรรณภูมิ" เชื่อกันว่าได้แก่ ดินแดนที่เป็นจังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน

4.9 พระมหาธรรมรักขิตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่แคว้นมหาราษฎร์ คือ ดินแดนแถบตะวันออกเฉียงเหนือห่างจากเมืองบอมเบย์ในปัจจุบัน

    การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตทุกสายเป็นการไปอย่างเป็นคณะสงฆ์สามารถให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธาได้ ซึ่งท่านบอกไว้เฉพาะหัวหน้าสายเสียส่วนมากนอกจากสายพระมหินเทเถระสายของพระมัชฌิมเถระ และสายของพระโสณเถระกับพระอุตตรเถระ เพราะศาสนาในดินแดนส่วนนี้มีหลักฐานอาจ สืบค้นได้ในปัจจุบัน เพราะมีการสืบต่อกันมาไม่ขาดสาย โดยเฉพาะจากหลักฐานที่ค้นพบที่นครปฐม บอกว่า พระโสณเถระกับพระอุตตรเถระมาประดิษฐานพระพุทธศาสนาในดินแดนส่วนนี้ เมื่อพ.ศ. 274-304 ซึ่งเป็นปี
ที่ใกล้เคียงกันกับหลักฐานในที่อื่น ๆ


ข้อควรศึกษาในเรื่องตติยสังคายนาและธรรมทูต
   เรื่องตติยสังคายนาเป็นปัญหาที่น่าพิจารณาหลายประการ นักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์บางพวกไม่ยอมรับสังคายนาคราวนี้ เพราะถือว่าเป็นการสังคายนาของพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทพวกเดียว ทั้ง ๆ ที่ขณะนั้นมีนิกายในพระพุทธศาสนาอยู่ถึง 18 นิกายเป็นอย่างน้อย และยังมีเรื่องที่น่าข้องใจหลายประการ เช่น

     1. ในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช แม้พระองค์จะทรงนับถือพระพุทธศาสนาและเป็นพุทธมามกะ แต่ทรงให้การยกย่องและสนับสนุนลัทธิศาสนาต่าง ๆ ทุกศาสนาในยุคนั้น แสดงว่าไม่มีใครขาดแคลนลาภสักการะในเรื่องนี้

      2. เดียรถีย์ที่ว่าปลอมบวช ตามหลักฐานคัมภีร์ที่เขียนในลังกา น่าจะเป็นพระในนิกายต่าง ๆ ซึ่งปะปนกันจนแยกไม่ออกว่าใครเป็นใคร ทำให้มีความรังเกียจกันในด้านศีลและทิฏฐิ ถ้าเป็นพวกเดียรถีย์ปลอมบวชจริง ไม่รู้ว่าจะปลอมบวชเข้ามาทำไม เพราะเป็นนักบวชในลัทธิใดก็ได้รับการบำรุงเช่นเดียวกัน หากปลอมเข้ามาบวชจริง แสดงว่าการปกครองในยุคนี้หละหลวมมาก จนไม่อาจเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะยังมีพระอรหันต์อยู่มาก

    3. เรื่องที่พระโมคคลีบุตรติ เถระนำมาวิพากษ์และแก้ทิฏฐิต่าง ๆส่วนมากแล้วเป็นความเชื่อถือของนิกายต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนานั้นเอง แต่ไม่ตรงกับหลักการของฝ่ายเถรวาทเท่านั้น

     4. การเรียกขานพระพวกอื่นที่ตนไม่ชอบด้วยคำว่า "อลัชชี เดียรถีย์" ท่านผู้รจนาหนังสือของลังกาถนัดมาก ดังนั้นมหาวังสะจึงเรียกท่านวัชชีบุตรว่า "อลัชชี" และเรียกพระที่ถูกจับสึกไปว่า "เดียรถีย์" จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ยิ่งตัวเลขพระที่จับสึกไปมีถึง 60,000 รูป นึกอย่างไรก็นึกไม่ออกว่าทำไมจำนวนจึงมากอย่างนั้นประเทศไทยใหญ่กว่าเมืองปาฏลีบุตรเป็นอันมาก พระยังมีประมาณ 300,000 รูปเท่านั้น

     5. เรื่องการส่งพระธรรมทูต 9 สายออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ถึงแม้จะไม่ปรากฏในศิลาจารึก แต่จากหลักฐานในที่ต่าง ๆ ที่ขุดค้นพบตอนหลังบ้าง หลักฐานที่สืบต่อกันมาบ้าง แสดงว่ามีการส่งพระออกไปเผยแผ่ศาสนาในส่วนต่าง ๆ ของทวีปเอเชียจริง ๆ ที่น่าเสียดายคือด้านยุโรป แทนที่จะส่งพระภิกษุไป กลับส่งธรรมมหาอำมาตย์ซึ่งเป็นฆราวาสไป เมื่อท่านเหล่านั้นสิ้นชีวิตลง จึงไม่มีใครสืบต่อ หลักธรรมในพุทธศาสนาจึงหายไปจากกรีก แต่ไปปรากฏในปรัชญาสโตอิสม์ของปรัชญาเมธีชื่อ เซโน ซึ่งได้นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนาไปสั่งสอนในลัทธิสโตอิสม์ ความว่า

    "สุขทุกข์ของมนุษย์เราอยู่ที่การปรับปรุงจิตใจให้เข้มแข็ง ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมสามารถปลงให้ตกในความเป็นอนิจจังของสังขารธรรม โดยให้เห็นว่าเป็นของธรรมดา แล้วจะมีความสุข"

    หากในครั้งนั้นได้ส่งพระสงฆ์ไปโดยเฉพาะคือ พระโยนกธรรมรักขิต ให้ไปเผยแผ่ในดินแดนอันเป็นมาตุภูมิของท่านสถาบันสงฆ์ก็จะสามารถตั้งมั่นที่กรีกและจักรวรรดิโรมัน ซึ่งแน่นอนเหลือเกินว่า พระพุทธศาสนาก็จะเผยแผ่อยู่ในทวีปแอฟริกาและยุโรป ก่อนศาสนาคริสต์ถึง 200 ปี จึงไม่เป็นการแปลกอะไรที่นักนิรุกติศาสตร์อย่างศาสตราจารย์เดวิดกล่าวว่า "ก็อด (GOD) เลือนมาจาก อัลเลาะห์ เลือนมาจากคำว่า อรหันต์"


สรุปการทำสังคายนาครั้งที่ 3
ตติยสังคายนา  :  
ประมาณ พ.ศ. 236
ประธานสงฆ์  :  พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธานและผู้ถาม พระมัชฌันติกกับพระมหาเทวะเป็นผู้ตอบผู้เข้าร่วมประชุมสังคายนา  :  พระอรหันตขีณาสพจำนวน 1,000 องค์
องค์อุปถัมถ์  :  พระเจ้าอโศกมหาราช
เหตุปรารภในการทำสังคายนา  :  เดียรถีย์ปลอมมาบวชในพระพุทธศาสนา
สถานที่ประชุมทำสังคายนา  :  อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร
ระยะเวลาในการประชุม  :  กระทำอยู่ 9 เดือนจึงสำเร็จ


ผลของการสังคายนาครั้งนี้

1.สามารถขจัดอลัชชีในพระพุทธศาสนาได้ และรวบรวมพระธรรมวินัยให้บริสุทธิ์ผุดผ่องได้

2. มีการรวบรวมแยกพระไตรปิฎกเป็น 3 อย่างสมบูรณ์ คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก โดยเฉพาะได้บรรจุคัมภีร์กถาวัตถุเข้าในอธิธรรมปิฏกด้วย

3. มีการส่งพระมหาเถระออกไปเป็นพระธรรมทูตในเมืองต่าง ๆ ถึง 9สายสืบต่อพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบันในนานาประเทศ


การสังคายนาครั้งที่ 4
    การสังคายนาครั้งนี้ผสมกับฝ่ายมหายาน กระทำกันในอินเดียภาคเหนือ ด้วยความอุปถัมภ์ของพระเจ้ากนิษกะ ได้กล่าวแล้วว่าสังคายนาครั้งนี้ ทางฝ่ายเถรวาท คือฝ่ายที่ถือพระพุทธศาสนาแบบที่ไทย ลาว เขมร พม่า ลังกานับถือ มิได้รับรองเข้าอันดับเป็นครั้งที่ 4 เพราะเป็นการสังคายนาของนิกายสัพพัตถิกวาท ซึ่งแยกออกไปจากเถรวาททำผสมกับฝ่ายมหายาน และเพราะมีสายแห่งการสืบต่อสั่งสอนอบรมไม่ติดต่อเกี่ยวข้องกัน จึงไม่มีบันทึกหลักฐานเรื่องทางเถรวาท ทั้งภาษาที่ใช้สำหรับพระไตรปิฎกก็ไม่เหมือนกัน คือ ฝ่ายมหายานใช้ภาษาสันสกฤต (บางครั้งก็ปนปรากฤต) ฝ่ายเถรวาทใช้ภาษาบาลี

     การสังคายนาครั้งที่ 3 ในอินเดีย ทางฝ่ายจีนและทิเบตก็ไม่บันทึกรับรองไว้ เพราะเป็นคนละสาย

 แต่การสังคายนาครั้งนี้ เป็นที่รู้กันทั่วไปในวงการของผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาจึงนับว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ควรนำมากล่าวไว้ด้วย และเมื่อคิดตามลำดับเวลาแล้วก็นับเป็นสังคายนาครั้งที่ 4 ที่ทำในอินเดีย เมื่อประมาณ ค.ศ. 100 หรือ พ.ศ. 643 เรื่องปีที่ทำสังคายนานี้ หนังสือบางเล่มก็กล่าวต่างออกไปสังคายนาครั้งนี้กระทำ ณ เมืองชาลันธร แต่บางหลักฐานก็ว่า ทำที่กัษมีระหรือแคชเมียร์ รายละเอียดบางประการจะได้กล่าวถึงตอนที่ว่าด้วยการสังคายนาของนิกายสัพพัตถิกวาท

   มีข้อสังเกต คือหนังสือประวัติศาสตร์ของอินเดียบางเล่ม กล่าวว่า ในค.ศ.634 (พ.ศ.1177) พระเจ้าศีลาทิพย์ได้จัดให้มีมหาสังคายนาขึ้นในอินเดียภาคเหนือ มีกษัตริย์ประเทศราชมาร่วมด้วยถึง 21 พระองค์ พิธีมีพระสงฆ์ผู้คงแก่เรียนและพราหมณ์ผู้ทรงความรู้มาประชุมกัน วันแรกตั้งพระพุทธรูปบูชาในพิธี วันที่ 2 ตั้งรูปสุริยเทพ วันที่ 3 ตั้งรูปพระศิวะการสังคายนาครั้งนี้จึงมีลักษณะผ ม คือ ทั้งพุทธและพราหมณ์ ภิกษุที่เข้าประชุมก็มีทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน แต่เมื่อสอบดูหนังสือประวัติของภิกษุเฮี่ยนจัง ซึ่งบันทึกเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ด้วย กลายเป็นการประชุมเพื่อให้มาโต้แย้งภิกษุเฮี่ยนจังผู้แต่งตำรายกย่องพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน หาใช่การสังคายนาไม่ ที่บันทึกไว้ในที่นี้เพื่อให้หมดปัญหาประวัติการสังคายนาในประเทศอินเดีย


สรุปการทำสังคายนาครั้งที่ 4

1. ประสงค์จะบันทึกคัมภีร์ฝ่ายสัพพัตถิกวาทเป็นภาษาสันสกฤต และทำให้พระพุทธศาสนาแบบมหายานมั่นคง
2. ประมาณ พ.ศ. 643 โดยมีพระเข้าร่วมกว่า 500 รูป
3. ทำที่เมืองชาลันธร แคว้นกัษมีระ ตอนเหนือของประเทศอินเดีย
4. พระเจ้ากนิษกะได้ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งนี้


ผลของการทำสังคายนาครั้งนี้
      การสังคายนาครั้งนี้ เนื่องจากเป็นครั้งแรกของฝ่ายมหายาน จึงมีผลดังนี้

1. มีการเขียนคำอธิบายพระไตรปิฎกหรืออรรถกถาเป็นภาษาสันสกฤต ปิฎกละ 1,000,000 โศลก โดยความอุปถัมภ์ของพระเจ้ากนิษกะและการแนะนำของพระปารศวเถระ

2. มีการประสานความคิดระหว่างนิกายทั้ง 18 นิกาย แล้วจารึกคัมภีร์ทางศาสนาเป็นสัน กฤตครั้งแรก
ปรากฏว่า หลวงจีนยวนฉ่างกล่าวถึงการสังคายนาครั้งนี้ มีการจารึกพระธรรมลงบนแผ่นทองเหลืองและเก็บไว้ในหีบทำด้วยศิลา เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นอันดีในพระเจดีย์ แม้ว่าทางฝ่ายเถรวาทจะไม่บันทึกการสังคายนาครั้งนี้ แต่ประวัติศาสตร์โดยทั่วไปก็จารึกไว้จึงเป็นสังคายนาที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่พุทธศาสนิกฝ่ายอุตตรนิกาย

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 005 พระไตรปิฎกเบื้องต้น
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0012465635935465 Mins