การนับครั้งสังคายนาของฝ่ายมหายาน

วันที่ 27 มิย. พ.ศ.2560

การนับครั้งสังคายนาของฝ่ายมหายาน

พระไตรปิฎกเบื้องต้น , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , การทำสังคายนา , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , การนับครั้งสังคายนาของฝ่ายมหายาน , สังคายนามหายาน

    จะกล่าวถึงสังคายนาฝ่ายมหายานไว้ในที่นี้ด้วย เพื่อเป็นแนวศึกษาและประดับความรู้ เพราะไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาท โดยเฉพาะสุตตันตปิฎก ได้มีคำแปลในภาษาจีนซึ่งแสดงว่าฝ่ายมหายานได้มีเอกสารของฝ่ายเถรวาทอยู่ด้วย จึงควรจะได้สอบสวนดูว่า ความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎกนั้น ทางฝ่ายมหายานได้กล่าวถึงไว้อย่างไร

     เมื่อกล่าวตามหนังสือพุทธประวัติและประวัติสังฆมณฑลสมัยแรกตามฉบับของทิเบต ซึ่งชาวต่างประเทศได้แปลไว้เป็นภาษาอังกฤษ ได้กล่าวถึงการสังคายนา 2 ครั้ง คือ คร้ังที่ 1 และคร้ังที่ 2 ในอินเดีย ดังที่รู้กันอยู่ทั่วไป แต่จะเล่าไว้ในที่นี้ เฉพาะข้อที่น่าสังเกตคือ

      การสังคายนาครั้งที่ 1 หลักฐานฝ่ายเถรวาทว่าสังคายนาพระธรรมกับพระวินัยพระอานนท์เป็นผู้ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม หมายถึงว่า พระอานนท์วิสัชนาทั้งสุตตันตปิฎกและอภิธรรมปิฎก แต่ในฉบับของทิเบตกล่าวว่า พระมหากั ปะเป็นผู้วิสัชนาอภิธรรมปิฎกส่วนพระอานนท์วิสัชนาสุตตันตปิฎกและพระอุบาลีวิสัชนาวินัยปิฎกกับได้กล่าวพิสดารออกไปอีกว่าสังคายนาสุตตันตปิฎกก่อน พอพระอานนท์เล่าว่าปฐมเทศนาจบ พระอัญญาโกณฑัญญะได้ยืนยันว่าถูกต้องแล้ว เป็นพระสูตรที่ท่านได้ ดับมาเอง แม้เมื่อกล่าวสูตรที่ 2 (อนัตตลักขณสูตร) จบ พระอัญญาโกณฑัญญะก็ให้คำรับรองเช่นกัน รายละเอียดอย่างอื่นที่เห็นว่าฟันเฝอ ได้งดไม่นำมากล่าวในที่นี้ มีข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ ในหนังสือที่อ้างถึงนี้ใช้คำว่า "มาติกา" (มาตริกา) แทนคำว่า อภิธรรมปิฎก

    การสังคายนาครั้งที่ 2 ฉบับมหายานของทิเบตได้กล่าวคล้ายคลึงกับหลักฐานของฝ่ายเถรวาทมากทั้งได้ลงท้ายว่า ที่ประชุมได้ลงมติ ตำหนิข้อถือผิด 10 ประการของภิกษุชาววัชชีอันแสดงว่าหลักฐานของฝ่ายมหายานกลับรับรองเรื่องนี้ผู้แปล (คือ Rockhill) อ้างว่าได้สอบสวนฉบับของจีน ซึ่งมีผู้แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว ก็ไม่ปรากฏว่ากล่าวถึงอะไร นอกจากจบด้วยการตำหนิข้อถือผิด 10 ประการนั้น

  ดร.นลินักษะ แห่งมหาวิทยาลัยกัลกัตตา อินเดีย ได้พยายามรวบรวมหลักฐานฝ่ายมหายานเกี่ยวด้วยสังคายนาครั้งที่ 2 ไว้อย่างละเอียดเป็น 3 รุ่น คือ รุ่นแรก รุ่นกลาง และรุ่นหลัง แม้รายละเอียดปลีกย่อยในหลักฐานนั้นจะมีต่างกันออกไปก็ตาม แต่ก็เป็นอันตกลงว่าฝ่ายมหายานได้รับรองการสังคายนาครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ร่วมกัน

    โดยเหตุที่คัมภีร์พระศาสนาฝ่ายมหายานมักมีอะไรหลายอย่างต่างออกไปจากของเถรวาท เมื่อเกิดปัญหาว่า คัมภีร์เหล่านั้นมีมาอย่างไร มักจะมีคำตอบว่า มีการสังคายนาของฝ่ายมหายาน คัมภีร์เหล่านั้นเกิดขึ้นจากผู้ที่สังคายนา ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุิได้รู้ได้ฟังมาคนละสายกับฝ่ายเถรวาท

    เมื่อตรวจสอบจากหนังสือของฝ่ายมหายาน แม้จะพบว่าสังคายนาผ มกับฝ่ายมหายานนั้น เกิดเมื่อสมัยพระเจ้ากนิษกะ ประมาณพ.ศ. 643 ก็จริง แต่ข้ออ้างต่าง ๆ มักจะพาดพิงไปถึงสังคายนาครั้งที่ 1 และ 2 คือมีคณะสงฆ์อีกฝ่ายหนึ่งทำสังคายนาแข่งขันกับอีกส่วนหนึ่ง คือ

  1.สังคายนาครั้งแรกที่พระมหากัสสปะเป็นประธาน กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหาข้างเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ มีคำกล่าวของฝ่ายมหายานว่า ภิกษุทั้งหลายผู้มิได้รับเลือกเป็นการกสงฆ์ (คือสงฆ์ผู้กระทำหน้าที่) ในปฐมสังคายนาซึ่งมีพระมหากั ปะเป็นประธานได้ประชุมกันทำสังคายนาขึ้นอีกส่วนหนึ่งเรียกว่าสังคายนานอกถ้ำ และเหตุที่ภิกษุผู้ทำสังคายนานอกถ้ำมีจำนวนมาก จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสังคายนามหาสังฆิกะ คือของสงฆ์ หมู่ใหญ่ เรื่องนี้ปรากฏในประวัติของหลวงจีนเฮี่ยนจัง ผู้เดินทางไปดูพระพุทธศาสนาในอินเดียที่นายเคงเหลียนสีบุญเรือง แปลเป็นภาษาไทย หน้า 169 และกล่าวด้วยว่า ในการสังคายนาครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 5 ปิฎก คือ พระสูตร, วินัย, อภิธรรม, ปกิณกะ และธารณี

    แต่หลักฐานของการสังคายนานอกถ้ำครั้งที่ 1 น่าจะเป็นการกล่าวสับสนกับเหตุที่เกิดขนานกับการสังคายนาครั้งที่ 2 หรือนัยหนึ่งเอาเหตุการณ์ในสังคายนาครั้งที่ 2 ไปเป็นครั้งที่ 1 คือ

   2. การสังคายนาของมหาสังฆิกะ มีเรื่องเล่าว่า เมื่อภิกษุวัชชีบุตรถือวินัยย่อหย่อน 10 ประการและพระยสะกากัณฑกบุตรได้ชักชวนคณะสงฆ์ในภาคต่าง ๆ มาร่วมกันทำสังคายนาชำระมลทินโทษแห่งพระศาสนาวินิจฉัยชี้ว่า ข้อถือผิด 10 ประการนั้น มีห้ามไว้ในพระวินัยอย่างไรแล้วได้ทำสังคายนา ในขณะเดียวกันพวกภิกษุวัชชีบุตรซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ก็ได้เรียกประชุมสงฆ์ถึง 10,000 รูป ทำสังคายนาของตนเองที่เมืองกุสุมปุระ (ปาตลีบุตร) ให้ชื่อว่ามหาสังคิติ คือมหาสังคายนาเป็นเหตุให้เกิดนิกายมหาสังฆิกะ ซึ่งแม้จะยังไม่นับว่าเป็นมหายานโดยตรง แต่ก็นับว่าเป็นเบื้องต้นแห่งการแตกแยกจากฝ่ายเถรวาทมาเป็นมหายานในการต่อมา การสังคายนาครั้งนี้ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงของเดิมไม่น้อย หลักฐานของฝ่ายมหายานบางเล่มได้กล่าวถึงกำเนิดของนิกายมหาสังฆิกะ โดยไม่กล่าวถึงวัตถุ 10 ประการก็มี แต่กล่าวว่า ข้อเสนอ 5 ประการของมหาเทวะเกี่ยวกับพระอรหันต์ว่า ยังมิได้ดับกิเลสโดยบริบูรณ์ เป็นต้น เป็นเหตุให้เกิดการสังคายนาครั้งที่ 2 แล้วพวกมหาสังฆิกะก็แยกออกทำสังคายนาของตน

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 005 พระไตรปิฎกเบื้องต้น
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0017133990923564 Mins