อานาปานสติสูตร

วันที่ 28 มิย. พ.ศ.2560

อานาปานสติสูตร

สวดมนต์ , บทสวดมนต์ , บทสวดมนต์พระ , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , วัดหนองป่าพง , อานาปานสติสูตร

(หันทะ มะยัง อานาปานะสะติปาฐัง ภะณามะ เส)

อานาปานะสะติ ภิกขะเว ภาวิตา พะหุลีกะตา
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว

มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา
        ย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่

อานาปานะสะติ ภิกขะเว ภาวิตา พะหุลีกะตา
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว

จัตตาโร สะติปัฐฐาเน ปะริปูเรนติ
        ย่อมทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์

จัตตาโร สะติปัฏฐานา ภาวิตา พะหุลีกะตา
        สติปัฏฐานทั้งสี่อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว

สัตตะ โพชฌังเค ปะริปูเรนติ
        ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์

สัตตะ โพชฌังคา ภาวิตา พะหุลีกะตา
        โพชฌงค์ทั้งเจ็ดอันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว

วิชชา วิมุตติง ปะริปูเรนติ
        ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์

กะถัง ภาวิตา จะภิกขะเว อานาปานะสะติ, กะถัง พะหุลีกะตา
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า

มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา
        จึงมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้

อะรัญญะคะโต วา
        ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม

รุกขะมูละคะโต วา
        ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม

สุญญาคาระคะโต วา
        ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม

นิสีทะติ ปัลลังกัง อาภุชิตวา
        นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว

อุชุง กายัง ปะณิธายะ, ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะเปตวา
        ตั้งกายตรงดำรงสติมั่น

โส สะโต วะ อัสสะสะติ, สะโต ปัสสะสะติ
        ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติอยู่นั้นเทียว, หายใจเข้า, มีสติอยู่, หายใจออก

(๑) ทีฆัง วา อัสสะสันโต, ทีฆัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
        ภิกษุนั้นเมื่อหายใจเข้ายาว, ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจเข้ายาว, ดังนี้

ทีฆัง วา ปัสสะสันโต, ทีฆัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
        เมื่อเราหายใจออกยาว, ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจออกยาว, ดังนี้

(๒) รัสสัง วา อัสสะสันโต, รัสสัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
        ภิกษุนั้นเมื่อหายใจเข้าสั้น, ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจเข้าสั้น, ดังนี้

รัสสัง วา ปัสสะสันโต, รัสสัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
        เมื่อเราหายใจออกสั้น, ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจออกสั้น, ดังนี้

(๓) สัพพะกายะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง, จักหายใจเข้า, ดังนี้

สัพพะกายะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง, จักหายใจออก, ดังนี้

(๔) ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้

ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้

(จบ จะตุกกะที่หนึ่ง)

 

(๕) ปีติปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ, จักหายใจเข้า, ดังนี้

ปีติปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ, จักหายใจออก, ดังนี้

(๖) สุขะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข, จักหายใจเข้า, ดังนี้

สุขะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสามีติ สิกขะติ
        ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข, จักหายใจออก, ดังนี้

(๗) จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร, จักหายใจเข้า, ดังนี้

จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร, จักหายใจออก, ดังนี้

(๘) ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้

ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้

(จบ จะตุกกะที่สอง)

 

(๙) จิตตะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต, จักหายใจเข้า, ดังนี้

จิตตะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต, จักหายใจออก, ดังนี้

(๑๐) อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้

อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้

(๑๑) สะมาทะหัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้

สะมาทะหัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้

(๑๒) วิโมจะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้

วิโมจะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้

(จบ จะตุกกะที่สาม)

 

(๑๓) อะนิจจานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ, จักหายใจเข้า, ดังนี้

อะนิจจานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ, จักหายใจออก, ดังนี้

(๑๔) วิราคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ, จักหายใจเข้า, ดังนี้

วิราคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ, จักหายใจออก, ดังนี้

(๑๕) นิโรธานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ, จักหายใจเข้า, ดังนี้

นิโรธานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ, จักหายใจออก, ดังนี้

(๑๖) ปะฏินิสสัคคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ, จักหายใจเข้า, ดังนี้

ปะฏินิสสัคคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
        ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ, จักหายใจออก, ดังนี้

(จบ จะตุกกะที่สี่)

 

เอวัง ภาวิตา โข ภิกขะเว อานาปานะสะติ, เอวัง พะหุลีกะตา
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว, ทำให้มากแล้ว, อย่างนี้แล

มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา
        ย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่

อิติ
        ด้วยประการฉะนี้แล

 

 

 


* อ้างอิงจากหนังสือคู่มือทำวัตร-สวดมนต์แปล พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี
* ขออนุโมทนาบุญกับเสียงสวดมนต์จาก YOUTUBE ช่อง บทสวดมนต์

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.051426164309184 Mins