สวดพระปาฏิโมกข์ ปาฏิเทสนียา

วันที่ 14 มค. พ.ศ.2559

สวดพระปาฏิโมกข์
ปาฏิเทสนียา

 

สวดพระปาฏิโมกข์ ปาฏิเทสนียา
 

 

      อิเม โข ปนายสฺมนฺโต จตฺตาโร ปาฏิเทสนียา ธมฺมา อุทฺเทสํ อาคจฺฉนฺติ. /

      1. โย ปน ภิกฺขุ อญฺญาติกาย ภิกฺขุนิยา / อนฺตรฆรํ ปวิฏฺฐาย หตฺถโต ขาทนียํ วา โภชนียํ วา / สหตฺถา
ปฏิคฺคเหตฺวา ขาเทยฺย วา ภุญฺเชยฺย วา, / 
      ปฏิเทเสตพฺพํ เตน ภิกฺขุนา / “คารยฺหํ อาวุโส ธมฺมํ อาปชฺชึ / อสปฺปายํ ปาฏิเทสนียํ, ตํ ปฏิเทเสมีติ. /

      2. ภิกฺขู ปเนว กุเลสุ นิมนฺติตา ภุญฺชนฺติ, / ตตฺร เจ ภิกฺขุนี โวสาสมานรูปา ฐิตา โหติ / “อิธ สูปํ เทถ, อิธ
โอทนํ เทถาติ, / เตหิ ภิกฺขูหิ สา ภิกฺขุนี อปสาเทตพฺพา / “อปสกฺก ตาว ภคินิ ยาว ภิกฺขู ภุญฺชนฺตีติ: / เอกสฺสปิ เจ
ภิกฺขุโน นปฺปฏิภาเสยฺย / ตํ ภิกฺขุนึ อปสาเทตุํ / “อปสกฺก ตาว ภคินิ, ยาว ภิกฺขู ภุญฺชนฺตีติ, /
      ปฏิเทเสตพฺพํ เตหิ ภิกฺขูหิ “คารยฺหํ อาวุโส ธมฺมํ อาปชฺชิมฺหา / อสปฺปายํ ปาฏิเทสนียํ, ตํ ปฏิเทเสมาติ. /

      3. ยานิ โข ปน ตานิ เสกฺขสมฺมตานิ กุลานิ, / โย ปน ภิกฺขุ ตถารูเปสุ เสกฺขสมฺมเตสุ กุเลสุ / ปุพฺเพ
อนิมนฺติโต อคิลาโน / ขาทนียํ วา โภชนียํ วา สหตฺถา ปฏิคฺคเหตฺวา / ขาเทยฺย วา ภุญฺเชยฺย วา,
      ปฏิเทเสตพฺพํ เตน ภิกฺขุนา / “คารยฺหํ อาวุโส ธมฺมํ อาปชฺชึ / อสปฺปายํ ปาฏิเทสนียํ, ตํ ปฏิเทเสมีติ. /

      4. ยานิ โข ปน ตานิ อารญฺญกานิ เสนาสนานิ / สาสงฺกสมฺมตานิ สปฺปฏิภยานิ, / โย ปน ภิกฺขุ ตถารูเปสุ
เสนาสเนสุ วิหรนฺโต / ปุพฺเพ อปฺปฏิสํวิทิตํ ขาทนียํ วา โภชนียํ วา / อชฺฌาราเม สหตฺถา ปฏิคฺคเหตฺวา อคิลาโน / ขาเทยฺย วา ภุญฺเชยฺย วา,
      ปฏิเทเสตพฺพํ เตน ภิกฺขุนา / “คารยฺหํ อาวุโส ธมฺมํ อาปชฺชึ / อสปฺปายํ ปาฏิเทสนียํ, ตํ ปฏิเทเสมีติ. /
      อุทฺทิฏฺฐา โข อายสฺมนฺโต จตฺตาโร ปาฏิเทสนียา ธมฺมา. /
      ตตฺถายสฺมนฺเต ปุจฺฉามิ: กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา ? /
      ทุติยมฺปิ ปุจฺฉามิ: กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา ? /
      ตติยมฺปิ ปุจฺฉามิ: กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา ? /
      ปริสุทฺเธตฺถายสฺมนฺโต ตสฺมา ตุณฺหี, / เอวเมตํ ธารยามิ.
      ปาฏิเทสนียา นิฏฺฐิตา. /

 

5.jpg
 

คำแปล ความหมาย ปาฏิเทสนียา

      ท่านผู้มีอายุทั้งหลายธรรมชื่อปาฏิเทสนียะ ๔ เหล่านี้แลย่อมมาสู่อุทเทส. 

      ๑. อนึ่ง ภิกษุใดรับของเคี้ยวก็ดีของฉันก็ดีด้วยมือของตน จากมือของนางภิกษุณีผู้มีใช่ญาติผู้เข้าไปแล้ว สู่ละแวกบ้านแล้วเคี้ยวก็ดีฉันก็ดี อันภิกษุนั้น พึงแสดงคืนว่า "แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติไม่เป็นสบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น".

      ๒. อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ฉันอยู่ในสกุล ถ้าภิกษุณีมายืนสั่งเสียอยู่ในที่นั้นว่า "จงถวายแกงในองค์นี้จงถวายข้าวในองค์นี้, ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น พึงรุกรานภิกษุณีนั้นว่า "น้องหญิง เธอจงหลีกไปเสียตลอดเวลาที่ภิกษุฉันอยู่, ถ้าภิกษุแม้รูปหนึ่งไม่กล่าวออกไป เพื่อจะรุกรานภิกษุณีนั้นว่า "น้องหญิง เธอจงหลีกไปเสียตลอดเวลาที่ภิกษุฉันอยู่, อันภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงคืนว่า "แน่ะเธอ พวกฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสบายควรจะแสดงคืนพวกฉันแสดงคืนธรรมนั้น". 

      ๓. อนึ่ง ภิกษุใดไม่ได้รับนิมนต์ก่อนมิใช่ผู้อาพาธรับของเคี้ยวก็ดีของฉันก็ดีในสกุลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสขะด้วยมือของตนแล้วเคี้ยวก็ดีฉันก็ดี  อันภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า"แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติไม่เป็นสบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น." 

      ๔. อนึ่ง ภิกษุใดอยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้ กันว่าเป็นที่มีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้ารับของเคี้ยวก็ดีของฉันก็ดีอันเขาไม่ได้บอกให้รู้ไว้ก่อน ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่ ไม่ใช่ผู้อาพาธ เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี อันภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า
"แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสบาย ควรจะแสดงคืนฉันแสดงคืนธรรมนั้น." ท่านทั้งหลายธรรมทั้งหลายชื่อปาฏิเทสนียะ ๔ ข้าพเจ้าได้แสดงขึ้นแล้วแล
ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในข้อเหล่านั้น
ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ ?
ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๒
ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ ?
ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๓ 
ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ ?
ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วในข้อเหล่านี้
เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความไว้ด้วยอย่างนี้.
ปาฏิเทสนียะจบ. 

 


อ้างอิงบทสวดและคำแปลจาก 
http://www.dmc.tv/forum/uploads/post-323-1156305445.ipb

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.056976266702016 Mins