อปริหานิยธรรม 7

วันที่ 28 กค. พ.ศ.2560

อปริหานิยธรรม 7
(หลักการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ 7 ประการ)

พุทธธรรม 2 , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , อปริหานิยธรรม 7 , อปริหานิยธรรม 7 (หลักการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ 7 ประการ)

     อปริหานิยธรรม 7 หรือหลักการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ 7 ประการ มีความหมาย และรายละเอียดดังต่อไปนี้


4.1 ความหมาย
       อปริหานิยธรรม (อ่านว่า อะปะริหานิยะธรรม) แปลว่า ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว หมายถึง ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อม เกิดความเจริญทั้งส่วนตนและส่วนรวม นำความสุขความเจริญมาสู่หมู่คณะฝ่ายเดียว เพราะเป็นหลักธรรมที่เน้นความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ก่อเกิดเป็นความสามัคคีของหมู่คณะ และการเคารพนับถือซึ่งกันและกันสรุปก็คือ เป็นหลักธรรมที่สอนให้เรารู้จัก หลักการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างชุมชน องค์กร หรือสถาบัน ให้เข้มแข็งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งหมู่ชนกับผู้บริหารบ้านเมือง และคณะพระภิกษุสงฆ์

      ทุกคนย่อมจะเข้าใจอยู่แล้วว่า ความสุขความเจริญของบุคคลย่อมอิงอาศัยสถาบันคำว่าสถาบัน นั้นหมายถึงองค์กรหนึ่ง ๆ เช่น วัด คณะสงฆ์ ศาสนา ประเทศ กระทรวง กรมกอง หรือที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นก็ตาม หน่วยงานที่บริการความสุขความเจริญให้แก่สมาชิกหน่วยหนึ่ง ๆ ก็เรียกว่า ถาบันหนึ่ง

        สถาบันหนึ่ง ๆ ก็ย่อมประกอบด้วยบุคคลหลายคน เป็นสมาชิก คนหลายคนก็หลายใจหลายนิสัยใจคอ

      การดำรงรักษาสถาบันให้มั่นคงและให้เจริญรุ่งเรือง มิให้เสื่อมถอยลงไปนั้น จึงเป็นเทคนิค (วิธีการเฉพาะ) อย่างหนึ่ง

     จะเห็นได้ว่า มีชนชาติหลายเผ่าในโลกนี้ได้สาบสูญไป มีประเทศบางประเทศหมดความเป็นอิสระ มีลัทธิศาสนามากต่อมากที่สลายตัวสถาบันอีกมากมายที่แม้จะไม่ถึงกับล้มละลายแต่ก็เสื่อมโทรมอย่างน่าเสียดาย ทั้งหมดนั้นเกิดจากการบริหารงานของสถาบันนั้น ๆไม่ถูกต้องเหมาะสม

      แม้พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสถาบันใหญ่ยิ่งสถาบันหนึ่งในโลก ก็ตกอยู่ในวิถีแห่งความเสื่อมและความเจริญเหมือนกัน ทั้ง ๆ ที่พระบรมศาสดาก็ทรงชี้ช่องทางเพื่อการดำรงรักษาพระพุทธศาสนาให้มั่นคงไว้แล้ว แต่ถ้าหากพุทธบริษัท 4 ต่างไม่นำพาที่จะนำไปปฏิบัติให้ครบถ้วน ก็จะทำให้พระพุทธศาสนาถึงความเสื่อมสลายได้

      เราทุกคนเป็นผู้มีหน้าที่ดำรงรักษาสถาบันทั้งสิ้น ไม่ฐานะของผู้บริหารก็ในฐานะของสมาชิก จึงควรศึกษาหลักธรรมเรื่อง อปริหานิยธรรม นี้ไว้ให้ดี เพราะหลักธรรมเรื่อง อปริหานิยธรรม เป็นเทคนิคในการดำรงรักษาสถาบัน ให้เจริญรุ่งเรือง ไม่ไปสู่ความเสื่อมถอย ซึ่งอนุโลมใช้ได้ทั้งทางโลกและทางธรรม และในทุกระดับ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ทันสมัยอยู่เสมอ

 

4.2 องค์ประกอบ
      พระพุทธองค์ตรัสถึงองค์ประกอบของอปริหานิยธรรม ไว้ 7 ประการ ทั้งสำหรับคฤหัสถ์และสำหรับพระภิกษุสงฆ์ ดังต่อไปนี้

อปริหานิยธรรมสำหรับคฤหัสถ์

       1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ หมายถึง การประชุมพบปะปรึกษาหารือกันในกิจการงานต่าง ๆ อย่าง ม่ำเสมอ เพื่อแก้ปัญหาในการสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

       ยอมรับในเหตุผลที่ถูกต้อง ที่เป็นประโยชน์สร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน และหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน

      การประชุมกันบ่อย ๆ คุยกันบ่อย ๆ นั้น เป็นการระดมมัน มอง รวมความสามารถที่ทุกคนมี แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องส่งเสริมพันาหมู่คณะให้มีความเจริญในด้านต่าง ๆ เช่น ในสถานที่ทำงาน หัวหน้ามีการประชุมปรึกษากับผู้ร่วมงานทุกครั้ง งานก็จะราบรื่น หากมีข้อผิดพลาด ทุกคนก็จะยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น, ในครอบครัว พ่อ แม่ ลูก มีอะไรพูดกันปรึกษากัน ลูกก็จะอบอุ่น จะไม่ติดเกมส์หรือไม่ติดยาเสพติด

     หมายเหตุ คำว่าประชุมนั้นหมายรวมไปถึง การพบปะ นทนา การรับประทานอาหารการเล่นกีฬา การทำกิจกรรมกลุ่มย่อยด้วยกัน เป็นต้น และการประชุมนั้น มาชิกทุกคนจะต้องมีสติกำกับเพื่อควบคุมอารมณ์ให้ได้อยู่ตลอดเวลามิเช่นนั้นแล้วการประชุมก็จะไม่สัมฤทธิผล

    2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่ควรทำ หมายถึง เข้าประชุม เลิกประชุม และทำกิจที่ได้รับมอบหมายตามมติที่ประชุม อย่างพร้อมเพรียงกัน เพื่อสร้างความรับผิดชอบร่วมกัน ป้องกันไม่ให้เกิดการกินแหนงแคลงใจกัน ต้องให้ความสำคัญกับการประชุม ต้องทำงานของส่วนรวมให้ดี และพร้อมเพรียงกันลุกขึ้นป้องกันหมู่คณะเมื่อมีภัย

      หมายเหตุ การเริ่มและเลิกประชุมโดยพร้อมเพรียงกันนั้นไม่ใช่ทำได้ง่าย ๆ เป็นตัววัดว่าคนในทีมมีความพร้อมหรือไม่แค่ไหน การตรงต่อเวลาเป็นการเสียสละ เป็นการแสดงน้ำใจเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ให้ความสำคัญของคำว่าทีม หัวหน้าที่ดีจึงต้องรักษาเวลาทั้งการเริ่มและเลิกประชุม

     การทำกิจต่าง ๆ ตามมติที่ประชุม เป็นการเสียสละ การยอมรับ อดทนอดกลั้น และที่สำคัญคือเรื่องของความไว้เนื้อเชื่อใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด หากไม่เชื่อใจกัน จะทำให้ไม่แบ่งงานกัน เกิดการหลงตนเอง การใจไม่ถึง ใจไม่กว้างพอที่จะเปิดโอกาสให้คนอื่น ๆ ทำผิดพลาดเพื่อการเรียนรู้

     การจัดทำเอกสาร และกำหนดมาตราฐานต่าง ๆ ในการทำงาน ก็เป็นการวางระบบให้ทำงานอย่างพร้อมเพรียงกันได้อย่างหนึ่ง

     3. ไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่บัญญัติ จักไม่ถอนสิ่งที่ท่านบัญญัติไว้แล้ว ประพฤติมั่นอยู่ในธรรมของชุมชนครั้งโบราณ หมายถึง ไม่บัญญัติสิ่งใหม่ ๆ หรือล้มเลิกบัญญัติเดิม ตามอำเภอใจ โดยผิดหลักการเดิมที่หมู่คณะได้วางไว้ จะต้องถือปฏิบัติมั่นตามหลักการเดิมของหมู่คณะทำตามกฎระเบียบ ตามกติกาข้อบังคับ ตามหลักเกณฑ์ของหมู่คณะ เพื่อความเสมอภาคกัน อันเป็นเหตุส่งเสริมให้การปกครองการบริหารเกิดผลดี มีประสิทธิภาพ ไม่เล่นนอกกฎนอกกติกาเพราะจะกลายเป็นกติกาส่วนตัวที่ไม่ตรงกับกติกาของคนอื่น ซึ่งจะสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นตามมาภายหลัง ตัวอย่าง เช่น นักเรียนจะต้องแต่งเครื่องแบบของโรงเรียนเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย จะแต่งกายตามใจตนเองไม่ได้

      หมายเหตุ การกำหนด วิสัยทัศน์ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ แผนรองรับ ฯลฯ คือการบัญญัติดังนั้น ทุกคนในทีมจะต้องทำตามอย่างเคร่งครัด ไม่ล้มเลิก เพิ่มถอน ตามอำเภอใจ

      4.สักการะเคารพนับถือบูชาท่านผู้ใหญ่ทั้งหลาย มองเห็นความสำคัญแห่งถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันพึงรับฟัง หมายถึง ให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็นคำแนะนำของผู้ใหญ่

     ผู้ใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์ยาวนาน ดังนั้นเราต้องให้เกียรติ ให้ความเคารพนับถือ และรับฟังความคิดเห็นของท่านในฐานะที่เป็นผู้รู้และมีประสบการณ์มามาก การอยู่ร่วมกันในหมู่คณะจำเป็นต้องมีผู้นำและผู้ตาม เราต้องเคารพนับถือผู้เป็นใหญ่เป็นประธาน เคารพผู้บริหารหมู่คณะ ถ้าเราให้การเคารพและเชื่อฟังผู้นำ หมู่คณะสังคมก็จะไม่วุ่นวาย เช่น ถ้าลูกเชื่อฟังพ่อแม่ก็จะเป็นคนดีได้ ไม่เกะกะเกเรก่อความเดือดร้อนให้กับครอบครัวและสังคม

      หมายเหตุ จุดตั้งต้นของการนำทีม อยู่ที่ผู้ใหญ่ในองค์กร ว่ามีคุณธรรม คู่ควรแก่การเคารพนับถือกราบไหว้ได้หรือไม่ น่าฟังและทำตามแค่ไหน

      บางองค์กร ผู้ใหญ่ทำตัวไม่น่าเคารพนับถือ ไม่น่ากราบไหว้ มีนิสัยเจ้าชู้ ชอบเล่นการพนัน คดโกง เห็นแก่ตัว ขาดศีลธรรม ไร้จริยธรรม ก็ยากที่จะสร้างบรรยากาศการทำงานเป็นทีมที่ดีได้

      5. ไม่ข่มขืนบังคับปกครองหญิงในสกุล หมายถึง ให้เกียรติและคุ้มครองสตรีและกุมารีทั้งหลาย ให้อยู่ดี มิให้ถูกล่วงเกินข่มเหงรังแกหรือถูกฉุดคร่าขืนใจ

       สตรีถือว่าเป็นเพศแม่ เป็นเพศที่อ่อนแอ บุรุษควรให้เกียรติ ให้การยกย่อง ปกป้องไม่ให้ใครละเมิดสิทธิหรือข่มเหงรังแก ถ้าสังคมใด ๆ ผู้หญิงถูกฉุดคร่าข่มขืนมาก ๆ ความเสื่อมย่อมจะเกิดกับสังคมนั้น

       หมายเหตุ การทำร้าย การทำผิดในลูกเมียผู้อื่น การกดขี่ทางเพศ การทำลามกอนาจารย่อมนำมาซึ่งความเสื่อมในองค์กร เพราะทำให้เกิดความหวาดระแวง และขาดความปลอดภัยในคู่ครอง และในที่นี้ยังรวมไปถึง การไม่รับฟังความเห็นของเพศหญิงด้วย

       6. สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจติยสถานของคนในชุมชนทั้งภายในและภายนอกและไม่ลบล้างพลีกรรมอันชอบธรรม ซึ่งเคยให้เคยทำแก่เจติยสถานเหล่านั้น หมายถึง ให้การสักการะ เคารพ นับถือ บูชาและปกป้องรักษาปูชนีย ถานที่สำคัญของชุมชนนั้น ๆ โดยทั่วถึงทั้งหมด เพื่อให้เป็นเครื่องเตือนความทรงจำ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นศูนย์รวมใจของหมู่ชน เร้าให้ทำดี และไม่บั่นทอนผลประโยชน์ที่เคยอุปถัมภ์บำรุงเจดีย์หรือปูชนียสถานเหล่านั้นไม่ละเลยพิธีเคารพบูชาอันพึงทำต่ออนุสรณ์ ถานเหล่านั้นตามประเพณีที่ดีงาม

     เป็นการแสดงถึงความเป็นผู้มีนิสัยดี รักสันติภาพ ขัดเกลาจิตใจอยู่เสมอ พร้อมที่จะปฏิบัติดีโดยไม่ประมาท การที่สมาชิกของสังคมเป็นคนดี ย่อมเป็นเกียรติ เป็นศักดิ์ศรี และเป็นเครื่องยืนยันความบริสุทธิ์ใจในการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

      หมายเหตุ ศูนย์รวมจิตใจขององค์กรนั้น บางองค์กรเคารพบูชาอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญหรือบรรพบุรุษ หรือผู้มีพระคุณ ขอให้หาศูนย์รวมจิตใจในองค์กรนั้น ๆ ให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นเจดีย์อนุสาวรีย์ ปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ หรือรูปเคารพต่าง ๆ ก็จะทำให้สามารถยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนหรือองค์กรนั้น ๆ เพื่อสร้างความสามัคคีที่ดีต่อกันได้ไม่ยาก

    7. ถวายความอารักขา ความคุ้มครอง ป้องกันโดยชอบธรรมในพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นอย่างดี ด้วยหวังว่า ไฉนพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้น และที่มาแล้ว พึงอยู่เป็นสุข หมายถึง จัดการให้ความอารักขา บำรุง คุ้มครอง อันชอบธรรมแก่บรรพชิต ผู้ทรงศีลทรงธรรมบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นหลักใจและเป็นตัวอย่างทางศีลธรรมของประชาชนเต็มใจต้อนรับและหวังให้ท่านอยู่โดยผาสุก

     รวมถึงตั้งใจสนับสนุนคนดี ปกป้องคนดีส่งเสริมคนดี เลือกคนดีมีความสามารถมีคุณธรรมเข้ามาเป็นกำลังพันาหมู่คณะของตน ไม่มีการขัดแข้งขัดขา เลื่อยขาเก้าอี้ เป็นต้น

    การทะนุบำรุงคุ้มครองบรรพชิต ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตลอดไปนั้นสามารถทำได้โดย การทำบุญด้วยปัจจัย 4 แด่ท่านเป็นประจำ เป็นต้น

      หมายเหตุ พระอรหันต์นั้น ท่านเป็นบัณฑิต เป็นผู้ชี้ทางนิพพาน การดูแลต้อนรับ การฟังคำสั่งสอนของท่าน ย่อมได้ประโยชน์มากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม พ่อแม่และผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณธรรมก็เช่นเดียวกัน

"จงอย่าได้เพลินคบแต่ผู้รู้ทางโลก จงคบผู้รู้ทางธรรมด้วย"


บทสรุป
     สรุปตามแนวอปริหานิยธรรมนี้ได้ความว่า เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้าของชุมชนหรือสถาบันนั้น ขึ้นอยู่กับปัญหาสำคัญ ๆ คือ

ก. การบริหารที่ดี ได้แก่อปริหานิยธรรมข้อที่ 1-2-3-4
ข. การวางตัวของสมาชิก ได้แก่อปริหานิยธรรมข้อที่ 5-6
ค. การปกป้องคุ้มครองท่านผู้เป็นตัวอย่างทางศีลธรรม ได้แก่อปริหานิยธรรมข้อที่ 7


อปริหานิยธรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์
      1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
หมายถึง ในกิจของสงฆ์ที่ต้องทำร่วมกันไม่ว่าเรื่องเล็กหรือใหญ่ ต้องมีการประชุม ปรึกษาหารืออย่างสม่ำเสมอ คือ2 กำหนดให้มีการประชุมกันเป็นประจำ เช่นมีการประชุมประจำวัน ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน หรือประจำปี และการประชุมพิเศษเมื่อมีเหตุอันควรประชุมเกิดขึ้น

     ตัวอย่างการประชุมประจำ (ประชุมสามัญ) เช่น ประชุมทำอุโบสถกรรม ประชุมทำวัตรเช้าเย็น ประชุมฟังเทศน์วันธรรมสวนะ ตัวอย่างการประชุมพิเศษ (ประชุมวิสามัญ) เช่น ประชุมทำอุปสมบทกรรม ประชุมวินิจฉัยอธิกรณ์ และประชุมปรึกษากิจกรรม

      การบริหารงานที่มีการประชุมดังนี้มีลักษณะเป็นการบริหารโดยหมู่คณะ เข้าแบบประชาธิปไตย คือ ผู้ใหญ่ผู้น้อยต่างรับฟังความคิดความเห็นของกันและกัน ผลของการประชุมคือ ทำให้สมาชิกของ ถาบันนั้นต่างรู้สึกว่าตนเป็นเจ้าของสถาบันด้วย (ตรงกับลักษณนิยมของนักบริหารที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า เซ็น บีลองจิ่ง ฯ) หรือทางบาลีว่า มามกะและทำให้ทุกคนที่เป็นสมาชิกรู้สึกว่าตนก็มีโอกาสร้างสรรค์สถาบัน (ดังที่นักบริหารเรียกว่าอ็อพโพจูนนิตี้ฯ) หรือบาลีว่า โอกาสะ ครั้นแล้วก็ทำให้เกิดความรู้สึกแก่ทุกคนว่า ตนเป็นผู้รับผิดชอบในการดำรงรักษาสถาบัน (ดังที่นักบริหารเรียกว่า ออธอริตี้ฯ) เมื่อสมาชิกของสถาบันเกิดความรู้สึกสามอย่างนี้แล้ว ทุกคนย่อมจะพิทักษ์รักษาสถาบันเต็มความสามารถ

    2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ หมายถึง การประชุมถือว่าเป็นกิจที่สงฆ์ต้องทำร่วมกัน แต่การที่จะให้สงฆ์ทุกรูปยอมรับซึ่งกันและกันเพื่อความสามัคคี ก็จะต้องอาศัยความพร้อมเพรียงกันทุก ๆ ครั้ง และต้องพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ช่วยทำกิจกรรมของสงฆ์จนสำเร็จด้วย เช่นทำพิธีกรรมในงานมงคลนิยมใช้พระสงฆ์ 9 รูป ก็ต้องมาพร้อมกันจึงจะทำพิธีกรรมได้

    ข้อนี้เป็นกฎทั่วไปของการประชุมที่ดี คือต้องการความพร้อมเพรียง ซึ่งการพร้อมเพรียงนั้นมีความหมาย 2 สถาน คือ

   ก. การประชุมใดกำหนดตัวบุคคลใดไว้ในรูปกรรมการ ก็พร้อมหน้ากันตามที่กำหนดไว้ถ้าตนจำเป็นเข้าประชุมไม่ได้ก็ต้องบอกลาเป็นกิจลักษณะ

       ข. การประชุมใดเป็นการประชุมสมาชิกทั้งหมด ก็พร้อมหน้ากันหมด แม้ผู้ที่ไปประชุมไม่ได้ เช่นอาพาธ ก็ต้องบอกลา หรือมอบฉันทะให้คนอื่นแทน

      รวมความว่าทุกคนถือว่าการประชุมเป็นกิจสำคัญ เพราะเป็นงานของหมู่คณะ ถ้าหากจำเป็นพร้อมทางกายไม่ได้ ต้องแสดงออกซึ่งความพร้อมทางใจ

     โดยเฉพาะพระพุทธโอวาทข้อนี้ ย่อมส่องความในทางผู้บริหารด้วยว่า การประชุมนั้นควรพยายามกระทำเมื่อสมาชิกพร้อมหน้า ไม่ใช่คอยฉวยโอกาสเรียกประชุมเมื่อ มาชิกไม่พร้อมแบบซุบซิบกัน ซึ่งจะทำให้ผลการประชุมบกพร่อง แม้จะสมบูรณ์ทางนิตินัย แต่ก็ไม่สมบูรณ์ในทางสามัคคีธรรม

      ผลของการปฏิบัติตามอปริหานิยธรรมข้อนี้ คือรักษาเอกภาพ (ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว) ของสถาบันไว้ได้ และโทษของการปฏิบัติทางตรงกันข้ามก็คือ ทำให้หมู่คณะแตกแยกเป็นก๊กเป็นเหล่า เกิดจุดอ่อนขึ้นในสถาบันนั้น

      3. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้วมาทานศึกษาและประพฤติอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ หมายถึง ไม่บัญญัติในสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่ล้มเลิกสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้ ถือว่าสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญที่พระสงฆ์จะต้องปฏิบัติตาม ไม่เพิกถอนไม่เพิ่มเติม ไม่ละเมิดพุทธบัญญัติ เอาใจใส่ประพฤติตนตามพุทธบัญญัติอย่างเคร่งครัด

     ข้อนี้เป็นหลักการใหญ่ ต้นไม้ที่จะแข็งแรงทนทานต้องมีแก่น รัฐที่จะมั่นคงก็ต้องมีบัญญัติสูงสุดที่เรียกว่าธรรมนูญ ซึ่งทุกคนต้องยึดถือเป็นหลัก ไม่ใช่ใครมีอำนาจอยากทำอะไรก็ทำตามอำเภอใจ ศาสนาก็เหมือนกันมีพระพุทธบัญญัติเป็นเหมือนรัฐธรรมนูญสงฆ์ที่ดีย่อมไม่ยกเลิกเพิกถอน

       ผลของการปฏิบัติในข้อนี้คือ ทำให้ศาสนาคงรูปคงร่างอยู่ได้นาน

      โทษของการไม่ปฏิบัติตามก็คือ การทำลายโครงสร้างของพระศาสนา ทำให้ศาสนาเสียความมั่นคง และถูกศาสนาอื่นกลืนได้โดยง่าย

     4.สักการะและเคารพนับถือ บูชา พระภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระผู้รู้กาลนานผู้บวชมาแล้วนาน ผู้เป็นบิดาของสงฆ์ เป็นปริณายกของสงฆ์ และยังจักเชื่อถือโอวาทที่พึงฟังของท่านด้วย หมายถึง เคารพนับถือให้เกียรติและรับฟังถ้อยคำของภิกษุผู้ใหญ่ ผู้เป็นประธานในสงฆ์ ผู้เป็นอธิบดี ผู้ปกครองสงฆ์

      ในการปกครองของพระสงฆ์จะให้อำนาจแก่ผู้ที่มีความสามารถตามบรรดาศักดิ์ เช่น ภิกษุผู้ใหญ่สังฆบิดรสังฆปรินายก ภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตามลำดับขั้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย

      ข้อนี้มุ่งในทางการปกครองบังคับบัญชา โดยหลักการนั้นก็คือว่า ถาบันจักต้องมีการปกครองบังคับบัญชา ในการปกครองบังคับบัญชานั้น ท่านย่อมให้อำนาจไว้กับผู้ที่มี มรรถภาพสูงสามารถบริหารกิจการได้ แต่ผู้ที่ได้อำนาจนั้นบางกรณีอายุพรรษาน้อยกว่าผู้ที่ไม่มีอำนาจอปริหานิยธรรมข้อนี้จึงโปรดให้ถือหลัก "เคารพนับถึอ" ซึ่งกันและกัน ท่านแบ่งพระสงฆ์ในหมู่หนึ่ง ๆ ไว้ดังนี้

ก. เถโร มีอายุมาก
ข. จิรปัพพชิโต มีพรรษามาก
ค. สังฆปิตา เป็นผู้ให้บรรพชาอุปสมบท (เหมือนพ่อ)
ง. สังฆปริณายโก เป็นหัวหน้าหมู่ (คือผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจ)

     บุคคลประเภทนี้ทุกคนควรเคารพนับถือและเชื่อฟัง ตามฐานะของท่านผู้นั้น เช่นในด้านการปกครอง ผู้มีอายุพรรษามากก็เชื่อฟังท่านที่เป็นสังฆปริณายก ในด้านประพฤติธรรมผู้มีอำนาจก็เชื่อฟังท่านที่อายุพรรษามาก ดังนี้เป็นต้น

   เฉพาะคณะสงฆ์ไทยสมเด็จพระสังฆราชทรงได้รับสถาปนาเป็น กลมหาสังฆปริณายกแล้วสมเด็จพระสังฆราชก็ทรงแต่งตั้งเจ้าคณะปกครองบังคับบัญชาลดหลั่นกันลงไปจนถึงเจ้าอาวาส

      ผลการปฏิบัติตามอปริหานิยธรรมข้อนี้ ทำให้การปกครองหมู่คณะเป็นไปด้วยดี และมีความเป็นปึกแผ่นแน่นหนาส่วนโทษของการไม่ปฏิบัติก็ตรงกันข้าม

      5. ไม่ลุอำนาจของตัณหา อันมีปกติให้เกิดในภพใหม่ ที่เกิดขึ้น หมายถึง ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น ไม่นำความอยากของตนเองเข้ามา ไม่ปล่อยให้ความต้องการส่วนตัวเข้ามาครอบงำ ให้คิดถึงแต่ส่วนรวม รู้จักอดกลั้น หักห้ามใจ มิให้ตกเป็นทาสภายใต้อำนาจกิเลสตัณหา เพราะพระสงฆ์ตัดแล้วซึ่งกิเลสตัณหา ความอยากมีอยากได้จะต้องไม่เกิดขึ้นจึงจะเป็นที่ยกย่องของคนทั่วไป

     ถ้าใครปฏิบัติได้ดังนี้ย่อมทำให้สังคมของพระภิกษุสงฆ์มีระเบียบวินัยดีขึ้นสามารถดำรงรักษาสิ่งที่มีคุณค่าไว้ได้ยั่งยืน จะไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียด้านการปกครอง และย่อมเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา

      ข้อนี้มุ่งหมายถึงการปกครองตนเองของแต่ละคน เป็นการสนับสนุนข้อที่ 4 คือ คน เรามักมีความอยากดองอยู่ในสันดาน ที่ท่านเรียกว่าตัณหาบ้าง โลภะบ้าง มหิจฉาบ้าง เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ความอยากของคนเราก็ไม่พ้นไปจาก 3 อย่างคือ

ก. ความอยากได้ เช่น อยากได้ลาภ อยากได้ยศ อยากได้ชื่อเสียง ฯลฯ
ข. อยากเป็น เช่น อยากเป็นเจ้าอาวา อยากเป็นฐาน ฯลฯ
ค. อยากไม่เป็น อยากจะสลัดทิ้งหน้าที่การงานหรือตำแหน่งที่สงฆ์มอบให้

    เมื่อความอยากท่วมใจแล้วมันก็จะแสดงออกมาในรูปความอิจฉาริษยา ใส่ร้ายกันแย่งชิงกัน ฟ้องร้องกัน ตีเสมอผู้ใหญ่ ยกตนข่มท่าน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่า ไม่ให้ลุอำนาจแก่ความอยาก คือ อย่าทำอะไรที่ไม่ชอบไม่ควรเพราะอำนาจความอยากผลักดันจิตใจ

        ผลของการปฏิบัติ ทำให้หมู่คณะสงบเรียบร้อย น่าเลื่อมใส

      โทษของการไม่ปฏิบัติ คือหมู่คณะนั้นจะเต็มไปด้วยเรื่องวุ่นวาย ฟ้องร้องกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง อย่างเช่นบางรายสมภารกับลูกวัดฟ้องกันถึงในศาลบ้านเมือง ชื่อเสียงอันน่าเกลียดของสถาบันนั้นย่อมแผ่ไปในสังคมอย่างไม่ต้องสงสัย

      6. เป็นผู้มีความยินดีในเสนาสนะตามราวป่า หมายถึง ยินดีในเสนาสนะอันควร ณ สถานที่อันสงัด คือพระสงฆ์ต้องมีชีวิตสงบเรียบง่าย มุ่งแสวงหาธรรมเพื่อเผยแพร่ให้กับผู้อื่น ต้องรู้จักสงบจิตใจ ซึ่งจะช่วยให้สามารถใช้สติปัญญาแก้ไขปัญหาได้อย่างเต็มที่

      เสนาสนะป่าตามข้อนี้ หมายถึงวัดป่า คือวัดที่ห่างจากย่านชุมชน ตามสังฆประเพณีนั้นวัดป่ามักห่างจากหมู่บ้านประมาณ 500 ชั่วขาธนู ประมาณ 500 เมตร หรือครึ่งกิโลเมตรตามมาตราวัดสากล

      แม้ประเทศไทยเราสมัยเริ่มแรกก็คงถืออย่างนี้ คือสร้างวัดนอกหมู่บ้าน แต่ครั้นนานเข้าหมู่บ้านขยายตัวออกไปล้อมวัด ทุกวันนี้เราจึงเห็นแต่วัดที่อยู่กลางบ้าน กลางเมือง เป็นส่วนมาก

      ความมุ่งหมายของอปริหานิยธรรมข้อนี้อยู่ตรงที่ว่า เป็นพระเป็นสงฆ์จะต้องฝึกอบรมจิตด้วยการนั่งสมาธิ เดินจงกรม ถ้าพระไม่นำพาให้การอบรมจิตเมื่อไร ศาสนาก็เสื่อม ทีนี้การอบรมจิตนั้นต้องการใช้สถานที่วิเวกสงบสงัด เป็นสิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่การอบรม ที่อย่างนี้ก็คือป่านั่นเอง ในข้อนี้ท่านจึงสอนให้นิยมอยู่เสนา นะป่า แม้จะอยู่ตลอดไปไม่สะดวก ก็หาโอกาสไปพักอบรมจิตใจเป็นครั้งคราว

      ผลของการปฏิบัติ คือ ทำให้พระสงฆ์มีการอบรมจิตใจ จะได้เป็นสมณะผู้สงบเสงี่ยมน่าเลื่อมใส่วนโทษของการไม่ปฏิบัติ ก็คือสถาบันจะขาดแคลนพระผู้ได้รับการอบรมจิต หมู่คณะก็จะเต็มไปด้วยคนฟุ้งซ่าน

       7. เข้าไปตั้งสติไว้เฉพาะตนว่า ทำอย่างไร เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักที่ยังไม่มาขอให้มา และเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่มาแล้วขอให้อยู่สบาย หมายถึง ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรที่เป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาสก็ขอให้มา ที่มาแล้วก็ขอให้อยู่เป็นสุข ใฝ่ใจที่จะพบเห็นและสมาคมกับท่านผู้มีศีลและอาจารบริสุทธิ์ น่าเสื่อมใส

     พระสงฆ์ต้องใจกว้างยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่และมีความปรารถนาดีต่อ มาชิกเก่า เพื่อสังคมสงฆ์จะได้ไม่เกิดความเสื่อมถอย รวมถึงตั้งใจสนับสนุน ปกป้องส่งเสริมพระภิกษุสามเณรที่ดี เลือกพระภิกษุสามเณรที่ดีมีความสามารถมีคุณธรรมเข้ามาเป็นกำลังพัฒนาหมู่คณะของตนไม่มีการขัดแข้งขัดขา เลื่อยขาเก้าอี้ เป็นต้น การทะนุบำรุงคุ้มครองพระภิกษุสามเณรที่ดี ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตลอดไปนั้นสามารถทำได้โดย การทำบุญด้วยปัจจัย 4 แด่ท่านเป็นประจำ เป็นต้น

      ข้อนี้มีความมุ่งหมายให้แต่ละสถาบันมีการประสานงานกัน สนับสนุนซึ่งกันและกันเพราะในศาสนาเดียวกันกับเราก็แยกย้ายกันหลายวัด อยู่ต่างบ้านต่างเมืองถึงต่างประเทศก็มีการประสานงานกันด้วยไมตรีอันงาม ย่อมทำให้เกิดความสามัคคี เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นก็ช่วยเหลือกันได้ ดังเช่นประเทศไทยกับประเทศลังกา เคยช่วยเหลือกันมาในอดีต

     เฉพาะในส่วนย่อย คือวัดหนึ่ง ๆ พระพุทธองค์ไม่ประสงค์ให้ผู้ใดผูกขาด แต่ละวัดย่อมเอื้อเฟื้อรับรองพระที่มาจากอาวาสอื่นเท่าที่จะทำได้ เพราะผู้ที่มานั้นอาจเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ช่วยทำความเจริญ หรืออาจเป็นผู้มาเพื่อศึกษาอบรมนำเอาความเจริญไปเผยแพร่ต่อไปทำให้ศาสนาเจริญ ก็เป็นได้

     แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ขอให้ผู้ที่มานั้นเป็นพระเณรที่ดี เคร่งครัดในสิกขาวินัย มิใช่จะให้คนเก่าต้องถูกขับไล่ไส่งหรือได้รับความลำบากเพราะเหตุแห่งคนที่มาใหม่


บทสรุป
      สรุปตามแนวอปริหานิยธรรมนี้ได้ความว่า เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้าของสถาบันศาสนา ขึ้นอยู่กับปัญหาสำคัญ ๆ คือ

ก. การบริหารที่ดี ได้แก่อปริหานิยธรรมข้อที่ 1-2-3-4
ข. การวางตัวของสมาชิก ได้แก่อปริหานิยธรรมข้อที่ 5-6
ค. การ มานไมตรีกับหมู่อื่น ได้แก่อปริหานิยธรรมข้อที่ 7


ตัวอย่างเกี่ยวกับอปริหานิยธรรมที่มีมาในพระไตรปิฎก
ตัวอย่างอปริหานิยธรรมสำหรับคฤหัสถ์

     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สารันททเจดีย์ใกล้กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแลเจ้าลิจฉวีหลายพระองค์ด้วยกันพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า ดูก่อนลิจฉวีทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม 7 ประการ แก่ท่านทั้งหลายท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

      ดูก่อนลิจฉวีทั้งหลาย อปริหานิยธรรม 7 ประการเป็นไฉน คือ ชาววัชชีจักหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้นชาววัชชีเมื่อประชุมก็จักพร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิกประชุมและจักพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่ควรทำเพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลยเพียงนั้น ชาววัชชีจักไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่บัญญัติ จักไม่ถอนสิ่งที่ท่านบัญญัติไว้แล้ว ประพฤติมั่นอยู่ในธรรมของชาววัชชีครั้งโบราณ ตามที่ท่านบัญญัติไว้เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลยเพียงนั้น, ชาววัชชีจักสักการะ เคารพ นับถือบูชาท่านวัชชีผู้ใหญ่ทั้งหลาย และจักสำคัญถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้น ว่าเป็นถ้อยคำอันตนพึงเชื่อฟังเพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลยเพียงนั้น ชาววัชชีจักไม่ข่มขืนบังคับปกครองหญิงใน กุลเพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลยเพียงนั้น ชาววัชชียังคงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจติยสถานของชาววัชชีทั้งภายในและภายนอก และไม่ลบล้างพลีกรรมอันชอบธรรม ซึ่งเคยให้เคยทำแก่เจติยสถานเหล่านั้นเพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลยเพียงนั้น ชาววัชชีจักถวายความอารักขา ความคุ้มครอง ป้องกันโดยชอบธรรมในพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นอย่างดี ด้วยหวังว่า ไฉนพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้น และที่มาแล้ว พึงอยู่เป็นสุขเพียงใดชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลยเพียงนั้น ดูก่อนลิจฉวีทั้งหลาย อปริหานิยธรรม 7 ประการนี้ จักตั้งอยู่ในชาววัชชี และชาววัชชียังปรากฏอยู่ในอปริหานิยธรรม 7 ประการนี้เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลยเพียงนั้น

     จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารถนาให้กษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายในแคว้นวัชชีมีความสามัคคีปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน จึงทรงประทานหลักธรรมเรื่องอปริหานิยธรรมทั้ง 7 ประการ หรือก็คือหลักการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ 7 ประการไว้ให้นำไปปฏิบัติเพื่อความผาสุกของชาววัชชี จะได้มีแต่ความเจริญ ไม่พบกับความเสื่อมเลย แม้ศัตรูจะมารุกรานก็ยากจะเอาชนะได้


ตัวอย่างอปริหานิยธรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์ 
       ครั้งนั้นแล เมื่อวัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธกลับไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงไป ภิกษุทั้งหลายมีจำนวนเท่าใดอยู่อาศัยกรุงราชคฤห์ เธอจงให้ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา ท่านพระอานนท์กราบทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า แล้วให้พระภิกษุตามจำนวนที่อาศัยกรุงราชคฤห์อยู่ทั้งหมดประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ยืนอยู่ ณ ด้านหนึ่ง

      ท่านพระอานนท์ผู้ยืนอยู่แล้ว ณ ด้านหนึ่งแล ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว บัดนี้ เป็นเวลาซึ่งทรงเห็นเป็นกาลสมควร พระเจ้าข้า ครั้นนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงลุกจากอาสนะเสด็จดำเนินเข้าอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว ครั้นประทับนั่งแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจักแสดงอปริหานิยธรรม 7 ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังจงทำไว้ในใจให้ดี ตถาคตจักกล่าวดังนี้ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พร้อมแล้ว พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพระดำรัสต่อไปนี้

     1. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายยังจักประชุมกันเนือง ๆ จักประชุมกันอยู่มากตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้

       2. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักพร้อมเพรียงกันประชุม จักพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม จักพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์พึงทำตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้

      3. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักไม่บัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้จักไม่เพิกถอนสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ยังจัก มาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้

      4. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักสักการะและเคารพ นับถือ บูชา พระภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระผู้รู้กาลนาน ผู้บวชมาแล้วนาน ผู้เป็นบิดาของสงฆ์ เป็นปริณายกของสงฆ์ และยังจักเชื่อถือโอวาทที่พึงฟังของท่านด้วย ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้

     5. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักไม่ลุอำนาจของตัณหา อันมีปกติให้เกิดในภพใหม่ ที่เกิดขึ้น ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้

     6. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังเป็นผู้มีความห่วงใยในเสนาสนะตามราวป่าตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้

      7. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเข้าไปตั้งสติไว้เฉพาะตนว่า ทำอย่างไรเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่ยังไม่มาขอให้มาและเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่มาแล้ว ขอให้อยู่สบาย ดังนี้ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียวหาความเสื่อมมิได้

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม 7 ประการเหล่านี้ ยังจักตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลายและภิกษุทั้งหลายยังจักเห็นดีร่วมกันในอปริหานิยธรรม 7 ประการเหล่านี้ ตลอดกาลเพียงไรภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียวหาความเสื่อมมิได้

     จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารถนาให้คณะสงฆ์มีความเป็นปึกแผ่นแน่นแฟ้น เข้มแข็งสามัคคีปรองดองกัน จึงทรงประทานหลักธรรมเรื่องอปริหานิยธรรม 7 ประการหรือหลักการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ 7 ประการนี้ไว้ให้พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดนำไปประพฤติปฏิบัติกัน เพื่อสร้างความผาสุกให้เกิดขึ้นกับหมู่สงฆ์ และทำให้พระพุทธศาสนาพบแต่ความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป จะไม่พบความเสื่อมถอยเลย แม้หากจะมีผู้ไม่หวังดีต่อพระพุทธศาสนาก็จะไม่สามารถมาทำร้ายหรือทำลายได้ง่ายเลย

 

4.3 ข้อควรรู้
      สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันกับหลักอปริหานิยธรรม

    สถานการณ์บ้านเมืองของเราในวันนี้ ที่ต้องประสบกับความวุ่นวายไม่สงบ ความยุ่งยากลำบาก แตกความสามัคคี แบ่งฝักแบ่งฝ่าย มีการทำผิดกฎหมายเพิ่มมากขึ้น อำนาจรัฐอ่อนแอเพราะมีการแทรกแซงอำนาจทางการเมืองอยู่เป็นประจำ

    บ้านเมืองใดที่อยู่ในสภาพนี้ ย่อมก้าวไปสู่ความเสื่อมอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องสงสัย อาจถึงกับล่มจมเอาได้หากคนในบ้านเมืองนั้นยังเพิกเฉย อยู่แบบตัวใครตัวมัน

  ฉกฉวยเอาผลประโยชน์ใส่ตน เมื่อผลประโยชน์ขัดกันกับคนอื่นก็ใช้กำลังแย่งชิงกัน ถ้าหากมีศัตรูจากภายนอกเข้ามาเบียดเบียนเพิ่มอีก ก็มีโอกาสพ่ายแพ้ได้อย่างง่ายดาย

     บ้านเมืองเราเคยมีความเจริญมั่นคงเป็นที่นับถือและเกรงอกเกรงใจจากเพื่อนบ้านมาก่อน ไม่น่าเชื่อว่าเราใช้เวลาทะเลาะเบาะแว้งแย่งชิงประโยชน์กันไม่ถึง 10 ปี บัดนี้กลายเป็นว่าเพื่อนบ้านที่เคยเดินตามหลังบ้าง เดินนำหน้าบ้าง กำลังจะแซงเราไปแล้ว

      สาเหตุที่ทำให้บ้านเมืองเราเป็นเช่นนี้ เป็นเพราะปัจจัยภายในของเราเอง นั่นคือ เราต่างไม่ยึดถือธรรมแห่งความสามัคคี ไม่ปฏิบัติตามหลักการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสอนไว้ นั่นคือ อปริหานิยธรรม 7 ซึ่งเป็น "ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียวสำหรับหมู่ชนหรือผู้บริหารบ้านเมือง"

    จึงขอให้พวกเราได้อ่านทบทวนกันอีกครั้งหนึ่ง อ่านแล้วลองพิจารณาดูเถิดว่า ณ วันนี้บ้านเมืองของเราสังคมไทยของเรา ขาดข้อใดไปบ้าง

     1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์

    2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ (และพร้อมเพรียงกันลุกขึ้นป้องกันหมู่คณะเมื่อมีภัย)

   3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ (อันขัดต่อหลักการเดิม) ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ (ตามหลักการเดิม) ถือปฏิบัติมั่นตามธรรม (หลักการ) ตามที่วางไว้เดิม

   4. สักการะเคารพนับถือบูชาท่านผู้ใหญ่ทั้งหลาย มองเห็นความสำคัญแห่งถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันพึงรับฟัง

     5. บรรดากุลสตรีกุมารีทั้งหลาย ให้อยู่ดีโดยมิถูกข่มเหง หรือฉุดคร่าขืนใจ

   6. เคารพสักการบูชาเจดีย์ (ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ ตลอดถึงอนุสาวรีย์ต่าง ๆ) ของคนในชุมชน (ประจำชาติ) ทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ไม่ปล่อยให้พลีกรรมอันชอบธรรมที่เคยให้เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไป

   7. จัดให้ความอารักขา คุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรม แก่พระอรหันต์ทั้งหลาย (ในที่นี้กินความกว้าง หมายถึงบรรพชิตผู้ดำรงธรรม เป็นหลักใจของประชาชนทั่วไป) ตั้งใจว่าขอพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังมิได้มา พึงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วพึงอยู่ในแว่นแคว้นโดยผาสุก

     จากหลักอปริหานิยธรรมหรือหลักการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้ง 7 ประการ ที่กล่าวมาข้างต้น เราจะเห็นได้ชัดว่า

    อปริหานิยธรรมข้อที่ 1 และข้อ 2 ก็ไม่เป็นไปตามนั้น ดูแต่ ภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นตัวแทนอำนาจของประชาชน บรรดาผู้แทนทั้งหลายเข้าประชุมก็ไม่พร้อมเพรียง ไม่สม่ำเสมอ เวลาประชุมก็ทะเลาะเบาะแว้งกันส่งผลมาสู่ประชาชนที่ถือข้างผู้แทนตนก็ทะเลาะเบาะแว้งกันไปด้วย

     อปริหานิยธรรมข้อที่ 3 ก็เสื่อมด้วยเช่นกัน การบัญญัติและแก้ไขกฎหมาย โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญก็ไร้หลักการ มีแต่จะทำตามความต้องการเพื่อสนองประโยชน์ของฝ่ายตน การบังคับใช้กฎหมายก็ไม่เป็นธรรม เรียกกันว่า 2 มาตรฐานซึ่งเป็นเช่นนี้มาเนิ่นนานแล้วสะสมจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ ยุ่งเหยิงจนเกินจะเยียวยา

       อปริหานิยธรรมข้อที่ 4 ก็เสื่อมเช่นกัน ผู้เป็นใหญ่ ผู้ใหญ่ของบ้านเมืองทุกระดับ ถูกดูหมิ่น เหยียดหยาม ย่ำยี อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน โดยที่ท่านทั้งหลายเหล่านั้นไม่สามารถจะตอบโต้ได้ ดูเหมือนว่าคุณธรรมเรื่องการอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพผู้ใหญ่ ให้เกียรติผู้อาวุโสได้ถูกคนบางกลุ่มละทิ้งไปแล้ว

      อปริหานิยธรรมข้อที่ 5 ก็เสื่อมด้วยเช่นกัน มีการกดขี่ทางเพศ ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของฝ่ายหญิงเท่าที่ควร บางอาชีพ บางตำแหน่ง ก็ผูกขาดไว้สำหรับเพียงเพศชายเท่านั้น ปัญหาโสเภณี หญิงสาวหรือเด็กรุ่นสาวถูกบังคับให้ขายบริการทางเพศตามสถานที่อโคจรต่าง ๆ หรือไม่มีการเปิดโอกาสในเส้นทางการประกอบอาชีพให้กับหญิงเหล่านั้นเท่าที่ควร จนต้องไปขายบริการทางเพศด้วยความสมัครใจก็ตาม

     อปริหานิยธรรมข้อที่ 6 ก็เสื่อมด้วยเช่นกัน มีพระสถูป พระเจดีย์ ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ ตลอดถึงอนุสาวรีย์ และรูปเคารพต่าง ๆ ที่เป็นศูนย์รวมใจของหมู่ชน เร้าให้ทำดีนั้นถูกทอดทิ้งละเลยการดูแลเอาใจใส่ และถูกบั่นทอนผลประโยชน์ที่เคยอุปถัมภ์บำรุงพระเจดีย์ หรือปูชนียสถานเหล่านั้นให้ลดน้อยถอยลงจนไม่พอต่อการบูรณะปฏิสังขรณ์ และต่างละเลยพิธีเคารพบูชาอันพึงทำต่ออนุสรณ์ ถานเหล่านั้นตามประเพณีที่ดีงาม

    อปริหานิยธรรมข้อที่ 7 ก็เสื่อมด้วยเช่นกัน พระภิกษุสามเณรที่ดี ดำรงธรรมเป็นหลักใจของประชาชนทั่วไป และเป็นผู้สืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตลอดไปนั้น ต้องถูกข่มเหงรังแกฆ่าฟันอย่างไม่เป็นธรรมในทางภาคใต้ของประเทศเรา มีสื่อหลายสื่อที่ถูกชักใยอยู่เบื้องหลังให้ทำการแพร่ข่าวอันเสื่อมเสียของพระภิกษุสงฆ์เพื่อมุ่งโจมตีให้เกิดความด่างพร้อยต่อสถาบันสงฆ์อยู่เป็นระยะ ๆ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนหลงเชื่อ หมดความเลื่อมใสหมดศรัทธาในการทำความดี

     เพียงเท่านี้ก็เป็นปัจจัยเพียงพอที่จะทำให้บ้านเมืองของเราอยู่ใน ภาพแทบย่ำแย่ดังที่เห็นในปัจจุบัน หากไม่ช่วยกันแก้ไขก็คงยากที่จะรักษาความเป็นปึกแผ่นไว้ได้

  จึงขอฝากให้พวกเราทุกคนช่วยกันพิจารณา ทั้งในฐานะผู้นำหรือประชาชนของประเทศฐานะผู้นำหรือพนักงานขององค์กร ทุกชน ทุกชั้น ทุกระดับ ช่วยกันใช้ปัญญาพิจารณาและหาหนทางแก้ไขปัญหาให้แก่องค์กรประเทศชาติและพระศาสนาของเราได้โดยสวัสดิภาพตลอดไป

 

4.4 อานิสงส์
      เมื่อเราได้ศึกษาทำความเข้าใจและนำไปปฏิบัติในหลักการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพของหลักอปริหานิยธรรมทั้ง 7 ประการอย่างดีแล้ว ย่อมจะส่งผลให้เกิดเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อหมู่คณะ องค์กร สถาบัน ชุมชนสังคม ประเทศชาติ พระศาสนา ของเราดังต่อไปนี้

     1. ทำให้หมู่คณะ ฯ รู้จักรับผิดชอบร่วมกัน มีความเคารพซึ่งกันและกัน ทำงานกันไปเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดสร้างความเป็นปึกแผ่น แข็งแรงให้เกิดขึ้นกับหมู่คณะ ฯ

      2. ทำให้หมู่คณะ ฯ พบกับความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป คือ มีความสามัคคีน้ำหนึ่งใจเดียวกันสามารถช่วยกันพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ที่ดีงามให้เกิดขึ้น และคงอยู่ตลอดไปตราบนานเท่านาน

       3. ทำให้หมู่คณะ ฯ ไม่พบกับความเสื่อมถอยเลย เพราะจะไม่แตกสามัคคีกัน ใคร ๆ ก็ทำร้ายทำลายไม่ได้ง่าย

       4. ทำให้หมู่คณะ ฯ สามารถทำความดีเพื่อปวงชนได้มากยิ่งขึ้นส่งผลให้ทุกคนมีแต่ความสงบสุข มีความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน และคู่ครอง เป็นต้น

       5. ทำให้คนดีพระดีได้รับการสนับสนุนส่งเสริม ปกป้องคุ้มครอง และเป็นตัวอย่างอันดีงามทางศีลธรรมให้กับหมู่คณะ ฯ สืบไป

        6. ทำให้หมู่คณะ ฯ มีสวรรค์และนิพพานเป็นที่ไป

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 008 พุทธธรรม 2
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.012926133473714 Mins