สาราณียธรรม 6 (วิธีสร้างความสามัคคี 6 ประการ)
สาราณียธรรม 6 หรือวิธีสร้างความสามัคคี 6 ประการ มีความหมาย และรายละเอียดดังต่อไปนี้
3.1 ความหมาย
สาราณียธรรม แปลว่า ธรรมอันเป็นไปเพื่อความระลึกถึงกันและกัน หมายถึง ธรรมอันเป็นไปเพื่อเสริมสร้างความรู้สึกที่ดีให้เกิดขึ้นต่อกันจนก่อเกิดเป็นความสามัคคีมีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ดังนั้นสาราณียธรรม ก็คือ วิธีสร้างความสามัคคีนั่นเอง
การที่หมู่คณะหรือสังคมใดเกิดความแตกแยก มีปัญหาวุ่นวาย ก็เป็นเพราะว่าคนในหมู่คณะหรือสังคมเหล่านั้นละเลยหลักธรรมเรื่องความสามัคคี จึงทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาคือขาดความรัก ขาดความเมตตา อิจฉาริษยา นินทาว่าร้ายกัน เบียดเบียนและรังแกกัน เห็นแก่ตัวถืออภิสิทธิ์ อ้างอำนาจบาตรใหญ่ และมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ต่างคนต่างก็ถือความคิดของตนเป็นใหญ่อยู่ตลอดเวลา
ถ้าหากทุกคนในสังคมเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน ยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน เคารพในกฎกติกาเดียวกัน รู้จักแบ่งปันช่วยเหลือกัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และรู้จักการให้อภัยกันอยู่ตลอดเวลาสังคมของเราก็จะมีความอบอุ่นและน่าอยู่เต็มเปียมไปด้วยความสุขสิ่งดังกล่าวมานี้สามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยการเสริมสร้างความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในสังคม
เรื่องของความสามัคคีนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงหลักธรรมที่เป็นแนวทางในการเสริมสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะในสังคม ไว้ 6 ประการ จัดอยู่ในหมวดธรรมที่เรียกว่าสาราณียธรรม 6
3.2 องค์ประกอบ
พระพุทธองค์ตรัสถึงองค์ประกอบของสาราณียธรรมไว้ 6 ประการ คือ
1. เมตตากายกรรม (ตั้งเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง) หมายถึงสนับสนุนช่วยเหลือกันทางด้านกำลังกาย ด้วยการช่วยเหลือกิจธุระต่าง ๆ ของหมู่คณะด้วยความเต็มใจ เช่นช่วยถือสิ่งของ ช่วยทำความสะอาดที่อยู่อาศัย หาอาหารให้รับประทาน ซักเสื้อผ้าให้ แสดงอาการกิริยาสุภาพต่อกัน มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน เคารพนับถือกัน รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ยกตนข่มท่าน มีสัมมาคารวะ ไม่ไปเบียดเบียนหรือใช้กำลังข่มเหงผู้อื่น ไม่ใช้กำลังในการแก้ไขปัญหา ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
2. เมตตาวจีกรรม (ตั้งเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง) หมายถึง การพูดแต่สิ่งที่ดีงาม พูดกันด้วยความรักความปรารถนาดี รู้จักการพูดให้กำลังใจซึ่งกันและกันในยามที่เพื่อนร่วมสังคมประสบกับความทุกข์ ความผิดหวัง หรือปัญหาต่าง ๆ ควรพูดแนะนำแต่สิ่งที่ดี แจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์สั่ง อน แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี พูดอย่างใดก็ทำอย่างนั้น ไม่โกหกมดเท็จ กล่าววาจาสุภาพ ใช้วาจาที่แสดงความเคารพนับถือต่อกัน เจรจากันด้วยเหตุผล ด้วย ติปัญญา ไม่ใช้โทสะเป็นตัวนำ พูดอย่างมีจิตสำนึกในผลประโยชน์สุขร่วมกันพูดจาสร้างสรรค์ หากไม่มีความสามารถที่จะพูดแนะนำอะไรใครได้ ก็ไม่ควรพูดซ้ำเติม หรือนำไปนินทาว่าร้าย หรือกล่าวร้ายเสียดสีประชดประชันกัน ไม่ว่าจะเป็นต่อหน้าหรือลับหลัง
3. เมตตามโนกรรม (ตั้งเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง) หมายถึง การคิดดี มองกันในแง่ดี มีความหวังดี ปรารถนาดี มีความรักความเมตตาต่อกัน คิดทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน คิดพิจารณาวินิจฉัย คิดวางแผนต่าง ๆ โดยมุ่งทำให้เกิดประโยชน์สุขร่วมกัน ไม่คิดทำร้ายซึ่งกันและกัน ไม่คิดอิจฉาริษยา ไม่คิดอคติ ไม่คิดพยาบาทไม่คิดผูกโกรธแค้นเคืองกัน รู้จักให้โอกาสและให้อภัยต่อกันอยู่เสมอ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
4.สาธารณโภคี (ไม่หวงสิ่งของ ได้ของสิ่งใดมาโดยชอบธรรมก็แบ่งปันกัน) หมายถึง ได้สิ่งใดมาก็รู้จักแบ่งกันกินแบ่งกันใช้ แม้เป็นของเล็กน้อยก็ยินดีแจกจ่ายให้กับทุกคนได้มีส่วนร่วมใช้ อยบริโภคทั่วกัน รู้จักแบ่งปันผลประโยชน์ต่อกันด้วยความชอบธรรม ช่วยเหลือเกื้อกูลกันตามอัตภาพ เอื้อเฟอเผื่อแผ่ต่อกันอยู่เสมอตามโอกาสอันควร รู้จักเฉลี่ยแจกจ่ายสงเคราะห์ เช่น บริจาคอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภคเครื่องไม้เครื่องมือ ตลอดจนวิทยาการความรู้ต่าง ๆ ให้แก่ เพื่อนมนุษย์ รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันโดยไม่ทำลายระบบ
นิเวศน์สิ่งแวดล้อมที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อมวลมนุษย์ มุ่งช่วยเหลือและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ ไม่ตระหนี่ ไม่ขี้เหนียว ไม่โลภ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนฝ่ายเดียว ไม่เอารัดเอาเปรียบใคร แม้จะมีช่องทางให้ทำได้ก็ตาม
5. สีลสามัญญตา (มีศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง) หมายถึง มีความประพฤติสุจริตดีงาม รักษาระเบียบวินัยของส่วนรวม ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของสังคมที่ตนเองอยู่ร่วม รู้จักเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน ไม่บ้าอำนาจ หรือถือตนว่าตัวเองยิ่งใหญ่กว่าผู้อื่น ไม่ถืออภิสิทธิ์ใดๆทั้งปวง ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจ หรือเสื่อมเสียแก่หมู่คณะ ไม่ฝ่าฝนมติหรือหลักการของหมู่คณะอันจะก่อให้เกิดความหวาดระแวง ไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่สังคม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
6. ทิฏฐิสามัญญตา (มีทิฏฐิดีงามเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง) หมายถึง มีความเห็นชอบร่วมกัน ในข้อที่เป็นหลักการสำคัญที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้นสิ้นทุกข์ หรือขจัดปัญหา ยึดถืออุดมคติ หลักแห่งความดีงาม หรือจุดหมายสูงสุดอันเดียวกันไม่ยึดถือความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ฝ่ายเดียว เมื่ออยู่ร่วมกันในสังคม ต้องรู้จักฟังความคิดเห็นของผู้อื่นบ้าง ของสังคมโดยรวมบ้าง เมื่อความคิดเห็นของตัวเองแตกต่างจากคนหมู่มาก ก็ต้องหันมาพิจารณาดูตัวเอง ปรับมุมมอง ทัศนคติของตัวให้เข้ากับคนหมู่มาก เรียกว่ารู้จักแสวงหาจุดร่วมและสงวนไว้ซึ่งจุดต่าง ไม่สร้างข้อขัดแย้งโดยไม่มีเหตุผล ต้องมีความเข้าใจในเรื่องสิทธิ หน้าที่ และเสรีภาพของแต่ละบุคคล ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
ตัวอย่างเกี่ยวกับสาราณียธรรมที่มีมาในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
ตัวอย่างการทะเลาะวิวาทเพราะขาดสาราณียธรรม
ครั้งหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดโฆษิตาราม เมืองโกสัมพี เป็นวัดที่มีพระมาก หลายคณะหลายอาจารย์ อยู่มาวันหนึ่งมีพระรูปหนึ่งเข้าไปถ่ายในวัจจกุฏี (ห้องส้วม)แล้วไม่ได้เทน้ำออกจากถังน้ำให้เกลี้ยงด้วยความเผอเรอ น้ำเหลือค้างอยู่หน่อยหนึ่ง ต่อมามีพระอีกรูปหนึ่งเข้าไปถ่าย ไปเห็นน้ำชำระที่ค้างอยู่นั้นเข้า ก็นึกตำหนิ ออกไปแล้วก็ไปเที่ยวโพนทนาว่าร้าย ว่าพระที่เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์โน้นอ่อนวินัย เรื่องนี้เลยกลายเป็นเรื่องใหญ่ โตต่างฝ่ายต่างว่าร้ายเสียดสีกัน ใครห้ามก็ไม่ฟัง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปห้ามเองก็ไม่ฟัง เพราะต่างฝ่ายก็มีทิฐิมานะแรงด้วยกัน พวกชาวบ้านที่เป็นญาติโยมของพระก็เลยพลอยแตกกันเป็นฝักเป็นฝ่าย หนักเข้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลยเสด็จหลีกไปจำพรรษาในป่ารักขิตวัน เขตตำบล บ้านปาริไลยกะโดยลำพังพระองค์เดียว โดยมีช้างและลิงคอยอุปัฏฐาก
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ตำบลบ้านปาริไลยกะตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว จึงเสด็จพระพุทธดำเนินไปยังเมืองสาวัตถี ไปประทับอยู่ที่วัดพระเชตวันซึ่งอนาถบิณฑิกคหบดีได้สร้างถวายไว้
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จหายไป ชาวบ้านเกิดเดือดร้อน เลยพากัน "คว่ำขัน" คือเลิกใส่บาตรพระ ไม่ทำบุญกับพระวัดโฆษิตาราม พวกพระเจ้าทิฏฐิมานะจึงรู้สึกตัว ออกพรรษาแล้วพากันไปตามหาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทูลขอขมา เรื่องจึงยุติ
จากเรื่องที่ยกมาข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า คนเราไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือพระภิกษุสงฆ์ ถ้าหากขาดสาราณียธรรมต่อกันแล้ว แม้มีเหตุไม่เข้าใจกันเพียงเล็กน้อย ก็สามารถก่อตัวกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตจนสร้างความเดือดร้อนให้กับหลายฝ่ายได้ แต่ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นหรือหมดไป ถ้าหากเราต่างประพฤติตามหลักสาราณียธรรมต่อกัน
ตัวอย่างการบำเพ็ญสาราณียธรรม
เรื่องของพระภิกษุผู้บำเพ็ญสาราณียธรรม
พระมหาเถระ 50 รูปเที่ยวบิณฑบาตไปในหมู่บ้านสิริคามแต่ก็ไม่ได้อะไร ๆ เลย พระติสสเถระซึ่งเป็นพระประจำท้องถิ่นมาพบเข้าจึงบอกให้ท่านเหล่านั้นรออยู่ก่อน ตนจะเป็นผู้ไปบิณฑบาตมาให้ ในขณะนั้นเองมีมหาอุบาสิกาท่านหนึ่งในบ้านใกล้ ๆ ได้จัดน้ำนมและอาหารรอคอยพระติสสเถระอยู่ เมื่อท่านมาถึงประตูบ้านก็ถวายจนเต็มบาตร แล้วท่านก็นำไปถวายแด่พระมหาเถระเหล่านั้น พระมหาเถระเหล่านั้นต่างก็คิดกันว่า นี่อะไรหนอ พวกเรามีกันตั้งมากยังไม่ได้อะไรเลย แต่พระเถระรูปนี้ไปเดี๋ยวเดียวก็ได้กลับมา พระติ เถระทราบจากอาการนั้นก็กล่าวขึ้นว่า ขอได้โปรดรับบิณฑบาตที่ได้มากันทุกรูปด้วยเถิด แล้วจึงถวายอาหารจนพอแก่ความต้องการของทุกรูป แม้ตนเองก็ฉันพอต้องการ
เมื่อฉันเสร็จ พระมหาเถระทั้งหลายก็ถามพระติสสเถระว่า ท่านได้บรรลุโลกุตตรธรรมเมื่อไร ท่านตอบว่ายังไม่ได้บรรลุ พระมหาเถระทั้งหลายถามต่ออีกว่า ท่านได้ฌานหรือ ท่านก็ตอบว่ายังไม่ได้ พระมหาเถระทั้งหลายจึงกล่าวว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ พระติ เถระจึงตอบว่าขอรับ เพราะผมบำเพ็ญสาราณียธรรม ตั้งแต่เวลาที่สาราณียธรรมของผมเต็มแล้ว (ใช้เวลาบำเพ็ญ 12 ปีเต็มบริบูรณ์) แม้ถ้ามีภิกษุแสนรูป ของที่อยู่ในบาตรก็ไม่หมดไป พระมหาเถระเหล่านั้นฟังแล้วก็พากันกล่าวว่าสาธุสาธุ ท่านสัตบุรุษ
อนึ่ง พระติสสเถระองค์นี้ ได้เคยไปยังสถานที่ให้ทาน ด้วยคิริภัณฑมหาบูชาที่เจติยบรรพตท่านถามอำมาตย์ว่า ในทานนี้อะไรเป็นของเลิศ อำมาตย์ตอบว่า ผ้าสาฎก 2 ผืนขอรับ พระเถระพูดว่า ผ้าสาฎก 2 ผืนเหล่านั้นจักต้องถึงเรา อำมาตย์ได้ฟังดังนั้นแล้วจึงกราบทูลแก่พระราชาว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งพูดอย่างนี้ พระราชาตรัสว่า ภิกษุหนุ่มมีจิตคิดอย่างนี้ แต่ผ้าสาฎกเนื้อละเอียดควรแก่พระมหาเถระทั้งหลายจึงตั้งไว้ด้วยหมายจะถวายพระมหาเถระทั้งหลาย
พระราชาเมื่อจะถวายขณะที่ภิกษุสงฆ์ยืนเรียงกัน ผ้าสาฎก 2 ผืนที่วางไว้ใกล้ ๆ ก็ไม่ขึ้นสู่พระหัตถ์ ขึ้นแต่ผ้าผืนอื่นๆ แต่ในเวลาที่ถวายภิกษุหนุ่ม ผ้าสาฎก 2 ผืนนั้นขึ้นสู่พระหัตถ์ของพระราชา ท้าวเธอทรงวางไว้ในมือของภิกษุหนุ่มนั้นมองหน้าอำมาตย์แล้วสั่งให้นิมนต์ภิกษุหนุ่มมานั่งเพื่อถวายทานอีก ทรงละหมู่สงฆ์แล้วประทับนั่งใกล้ภิกษุหนุ่ม ตรัสว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า ท่านบรรลุธรรมเมื่อไร ภิกษุหนุ่มนั้นไม่ทูลถึงคุณที่ไม่มีอยู่แม้ทางอ้อม ทูลว่า ถวายพระพรโลกุตตรธรรมของอาตมภาพยังไม่มี พระราชาตรัสว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า แต่ก่อนท่านได้พูดไว้มิใช่หรือว่าผ้าสาฎก 2 ผืนเหล่านั้นจักต้องถึงเรา ภิกษุหนุ่มทูลถวายพระพรว่าเป็นจริงอย่างนั้นแต่เพราะอาตมภาพบำเพ็ญสาราณียธรรม ตั้งแต่เวลาที่สาราณียธรรมของอาตมภาพเต็มแล้วสิ่งของอันเลิศก็จะมาถึงในสถานที่แจกจ่าย พระราชาตรัสว่าสาธุสาธุ ข้าแต่พระคุณเจ้า คุณข้อนี้ของพระคุณเจ้าเหมาะสมจริง แล้วเสด็จกลับ
จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า ผู้ที่จะบำเพ็ญสาราณียธรรมให้เต็มเปียมบริบูรณ์ได้นั้นต้องใช้เวลาถึง 12 ปีเต็มทีเดียว และเมื่อทำได้แล้ว แม้ว่าผู้ปฏิบัติจะยังไม่ได้บรรลุธรรมใด ๆ แต่ความตระหนี่ในทรัพย์สิ่งของก็ไม่หลงเหลืออยู่ในใจเลย และยังมีจิตใจที่เต็มไปด้วยความเอื้อเฟอเผื่อแผ่เกื้อกูลต่อส่วนรวม จึงทำให้สามารถดึงดูดสิ่งดี ๆ ที่ต้องการมาใช้สร้างบุญบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไปได้โดยง่าย ซึ่งคนทั่วไปทำได้โดยยาก และเราจะพบว่า ผู้ใดที่ตั้งใจบำเพ็ญสาราณียธรรมจนเต็มเปียมบริบูรณ์แล้ว ก็จะได้ทรัพย์สมบัติที่ตักไม่พร่องชนิดอยากได้อะไรเมื่อไร ก็จะได้ตามความปรารถนา โดยที่ไม่ต้องเป็นกังวลในเรื่องการจัดเก็บสมบัติเหล่านั้นอีกด้วย เพราะจะมาต่อเมื่อต้องการเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ที่บังเกิดขึ้นแล้วบนโลกใบนี้
ดังนั้น ใครก็ตามที่มีน้ำใจรักความสามัคคี ตั้งใจปฏิบัติสาราณียธรรมทั้ง 6 ประการ จนเต็มเปียมแบบชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้วล่ะก็ เขาผู้นั้นย่อมจะได้ทรัพย์สมบัติตักไม่พร่อง ไว้ใช้สร้างความดีสร้างบุญบารมีเพื่อหมู่คณะส่วนรวมต่อไปอย่างไม่รู้จักหมดจักสิ้นนำความสุขความเจริญมาสู่ตนและหมู่คณะได้ตลอดไป
เรื่องของพระภิกษุณีผู้บำเพ็ญสาราณียธรรมครั้งหนึ่ง ชาวภาตรคาม ในพราหมณติ ภัยนคร ไม่บอกกล่าวแก่พระนาคเถรีพากันหนีไป เวลาใกล้รุ่ง พระเถรีพูดกะเหล่าภิกษุณีสาวว่า หมู่บ้านช่างเงียบเหลือเกินช่วยกันดูสิภิกษุณีสาวเหล่านั้นไปตรวจดูก็รู้ว่า ชาวบ้านพากันอพยพไปหมดแล้ว จึงมาบอกแก่พระเถรี พระเถรีนั้นฟังแล้วก็กล่าวว่า พวกท่านอย่ากังวลเรื่องชาวบ้านเหล่านั้นอพยพไปกันเลย จงทำความเพียรในการเล่าเรียนธรรมะและโยนิโ มนสิการของตนเท่านั้น เมื่อถึงเวลาภิกษาจารก็ห่มผ้ารวมด้วยกัน 12 รูป แม้ยืนกันอยู่ที่โคนต้นไทรใกล้ประตูบ้าน เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้ ก็ถวายบิณฑบาตแก่ภิกษุณี 12 รูปนั้น แล้วกล่าวว่า พระแม่เจ้า อย่าไปที่อื่นเลยโปรดอยู่ที่นี้เป็นนิตย์เถิด
แต่พระเถรีมีน้องชายชื่อพระนาคเถระ พระเถระคิดว่า ขณะนี้มีภัยใหญ่เราไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้ จักไปฝังโน้น ท่านกับภิกษุรูปอื่นรวมด้วยกัน 12 รูป ออกจากสถานที่อยู่ของตนมายังภาตรคาม ด้วยหมายใจจะพบพระนาคเถรีแล้วจึงค่อยจากไป พระนาคเถรีทราบว่า เหล่าพระเถระมากันแล้ว จึงไปสำนักของพระเถระเหล่านั้น แล้วถามว่า เกิดอะไรขึ้นพระผู้เป็นเจ้า พระนาคเถระก็บอกเรื่องนั้นให้ทราบ พระนาคเถรีจึงเชื้อเชิญว่า วันนี้ขอพระเถระทุกรูปจงอยู่ในวัดนี้เสียวันหนึ่ง พรุ่งนี้ค่อยไป พระเถระทั้งหลายก็รับคำ
รุ่งขึ้นพระเถรีเที่ยวบิณฑบาตที่โคนไม้แล้วเข้าไปหาพระเถระพูดขึ้นว่า นิมนต์ท่านฉันบิณฑบาตนี้เถิด พระเถระกล่าวว่า จักควรหรือพระเถรีแล้วก็ยืนนิ่ง พระเถรีกล่าวว่า บิณฑบาตนี้ได้มาด้วยธรรมอย่ารังเกียจโปรดฉันเถิด พระเถระพูดว่า ควรหรือพระเถรี พระเถรีจึงโยนบาตรขึ้นไปในอากาศ บาตรนั้นก็ตั้งอยู่ในอากาศ พระเถระก็กล่าวกับพระเถรีว่า ภัตนั้นแม้ตั้งอยู่ในที่ 7 ชั่วลำตาล ก็ยังเป็นภัตสำหรับภิกษุณีนั่นเอง แล้วกล่าวอีกว่า ชื่อว่าภัยไม่ใช่มีทุกเวลาเมื่อภัยสงบทุกอย่างก็จะกลับมาเป็นปกติ ท่านภิกษุณีทั้งหลาย พวกท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิดแล้วก็ออกเดินทาง
แม้รุกขเทวดาก็คิดว่า ถ้าพระเถระฉันบิณฑบาตจากมือพระเถรี เราก็จักไม่นำพระเถระนั้นกลับ ถ้าพระเถระไม่ฉันก็จักนำกลับ ได้ลงจากต้นไม้พูดว่า โปรดให้บาตรแก่ข้าพเจ้าเถิดพระคุณเจ้า แล้วรับบาตรนำพระเถระมาที่โคนไม้นั้น ปูอาสนะ ถวายบิณฑบาต ให้พระเถระฉันจนเสร็จ แล้วปฏิญาณว่าจะขอบำรุงภิกษุณี 12 รูป กับภิกษุ 12 รูป ตลอด 7 ปี ซึ่งในเรื่องนี้พระนาคเถรีท่านได้เป็นผู้บำเพ็ญสาราณียธรรมแล้วนั่นเอง
จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า พระนาคเถรีเป็นทั้งผู้มีฤทธิ์และผู้ที่ได้บำเพ็ญสาราณียธรรมจนเต็มเปียมบริบูรณ์แล้ว จึงได้รับการถวายอาหารบิณฑบาตจากรุกขเทวาเป็นประจำทุกวัน และท่านยังเป็นที่พึ่งในยามยากให้กับภิกษุณีและภิกษุรูปอื่น ๆ ได้ในที่สุดและเราจะพบว่า ผู้ที่มีฤทธิ์หรือไม่มีฤทธิ์ ผู้ที่บรรลุธรรมแล้วหรือยังไม่ได้บรรลุธรรมก็ตามถ้าได้ตั้งใจบำเพ็ญสาราณียธรรมทั้ง 6 ประการจนเต็มเปียมบริบูรณ์แล้ว ก็ย่อมจะได้อานิสงส์คือ การมีทรัพย์สมบัติที่ตักไม่พร่อง ไว้ใช้สร้างความดีสร้างบุญบารมีสืบต่อไปอย่างไม่รู้จักหมดจักสิ้น เพื่อยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับตนเองและหมู่คณะตลอดไป
3.3 อานิสงส์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องสาราณียธรรม 6 ประการนี้ให้กับพระภิกษุสงฆ์ก่อนและคฤหัสถ์ตามมา ว่าให้อยู่ร่วมกันด้วยหลักของสาราณียธรรม 6 ประการนี้ แล้วจะทำให้แต่ละบุคคลที่เป็นสมาชิกของสังคมนั้น ๆ มีความระลึกถึงกัน มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลเมตตาต่อกันพร้อมที่จะให้ความร่วมมือต่อกัน มีความรักสามัคคีต่อกัน เพราะตั้งแต่ทางกายก็ปฏิบัติต่อกันด้วยความเมตตาช่วยเหลือการงานต่อกัน ทางวาจาก็พูดด้วยปิยวาจาถนอมน้ำใจไมตรีต่อกัน ในจิตใจก็มีแต่ความจริงใจคิดปรารถนาดีต่อกัน ในการอยู่ร่วมกันนั้นเมื่อมีของอะไร หรือได้รับสิ่งใดมา ก็นำมาแบ่งปันต่อกัน ในการอยู่ร่วมกันของสังคมเราก็รักษาระเบียบวินัย มีศีลเสมอกันไม่เบียดเบียนก่อความเดือดร้อนแก่กัน และปฏิบัติตามกฎกติกาของส่วนรวม ในเรื่องทิฏฐิความเชื่อก็ยึดถือและเข้าใจหลักการสำคัญของหมู่คณะร่วมกัน ตลอดจนยึดถือและเข้าใจร่วมกันในความจริงที่เป็นธรรมชาติของโลกและชีวิตที่จะรองรับความเป็นมนุษย์ของเราไว้ด้วยกันเพียงเท่านี้หมู่คณะหรือสังคมก็จะอยู่เย็นเป็นสุขและสามารถพันาให้ก้าวหน้าไปบนรากฐานแห่งความสัมพันธ์อันดีงามอย่างมั่นคง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงอานิสงส์ของการที่คนในหมู่คณะหรือสังคมได้ประพฤติตามหลักสาราณียธรรม ไว้ดังนี้
1. เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง
2. เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก
3. เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ
4. เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ (เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน)
5. เพื่อความไม่วิวาท (สามัคคีกัน)
6. เพื่อความพร้อมเพรียง
7. เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ
3.4 แนวการประยุกต์ใช้
การสร้างสัมพันธไมตรีตามหลักสาราณียธรรม
เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศได้ ดังนี้
1. เมตตากายกรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ในประเทศเพื่อนบ้านทั้งต่อหน้าและลับหลัง หมายถึง การแสดงออกซึ่งความเป็นมิตรที่ดีต่อกันกับประเทศเพื่อนบ้าน ให้การสนับสนุนช่วยเหลือกันและกันด้วยความเต็มใจ ทั้งในยามปกติสุข และในยามที่ประเทศเพื่อนบ้านกำลังประสบกับปัญหาความเดือดร้อน เช่น จากภัยธรรมชาติต่าง ๆ เป็นต้น เราสามารถมอบเครื่องอุปโภคบริโภคไปให้ ซึ่งประเทศผู้ได้รับย่อมเกิดความซาบซึ้งและสำนึกในบุญคุณต่อเรา จึงพยายามตอบแทน หรือดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เป็นมิตรต่อกัน เอื้อเฟอช่วยเหลือต่อกันฉันท์มิตร
2. เมตตาวจีกรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเตตา ในประเทศเพื่อนบ้านทั้งต่อหน้าและลับหลัง ด้วยวาจา หมายถึง ใช้วาจาที่แ ดงออกถึงความปรารถนาดีต่อกัน เคารพนับถือต่อกันไม่กล่าวให้ร้ายหรือพูดทำลายภาพพจน์ต่อกันหากมีข้อพิพาทระหว่างประเทศเกิดขึ้นก็ใช้ช่องทางการทูตเจรจากันด้วยเหตุผล ด้วยสติปัญญา พูดอย่างมีจิตสำนึกในผลประโยชน์สุขร่วมกัน ไม่ใช้โทสะเป็นตัวนำ ไม่นำกำลังทางทหารเข้าประทุษร้ายต่อกัน โดยประการนี้ย่อมจะส่งผลให้ประเทศเพื่อนบ้านเกิดความรักความสามัคคีปรองดอง ระลึกถึงกันในทางที่ดี และก่อให้เกิดประโยชน์สุขร่วมกัน
3. เมตตามโนกรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในประเทศเพื่อนบ้านทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือคิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กันและกัน หมายถึง มองกันในแง่ดี มีความหวังดี ปรารถนาดี คิดทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อกัน คิดพิจารณาวินิจฉัย คิดวางแผนต่าง ๆ โดยมุ่งทำให้เกิดประโยชน์สุขร่วมกัน มีความรักความเมตตาต่อมิตรประเทศ ให้ความรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการพันาแก่ประเทศเพื่อนบ้าน ไม่คิดหวาดระแวงกัน ไม่คิดทำร้ายกัน
4.สาธารณโภคี ได้แก่ แบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้มาด้วยความชอบธรรมแก่มิตรประเทศ เช่น การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันตามโอกาสอันควร ทั้งในด้านอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค ยารักษาโรค ตลอดจนวิทยาการความรู้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน ไม่ทำลายระบบนิเวศน์สิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่ออีกประเทศหนึ่ง มุ่งช่วยเหลือและบำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนฝ่ายเดียว ไม่เอารัดเอาเปรียบประเทศเพื่อนบ้าน แม้จะมีช่องทางให้ทำได้ก็ตาม
5. สีลสามัญญตา ได้แก่ การรักษาความประพฤติที่ดี (ศีล) ให้เสมอกันกับมิตรประเทศทั้งต่อหน้าและลับหลัง ไม่ทำประเทศของตนให้เป็นที่รังเกียจของประเทศอื่น หมายถึง มีความประพฤติสุจริตดีงาม รักษาระเบียบวินัยของส่วนรวม ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของสังคมโลก รู้จักเคารพในสิทธิเสรีภาพของประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน ไม่บ้าอำนาจ หรือถือว่าประเทศตัวเองยิ่งใหญ่กว่าประเทศผู้อื่น เช่น การดำเนินนโยบายต่างประเทศต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับมติสากลหรือหลักการขององค์การ หประชาชาติหรือองค์การระหว่างประเทศ ไม่ฝ่าฝนมติหรือหลักการนั้น อันจะก่อให้เกิดความหวาดระแวง ไม่ไว้เนื้อเนื้อเชื่อใจกันและเป็นที่รังเกียจของประเทศเพื่อนบ้านได้
6. ทิฏฐิสามัญญตา ได้แก่ มีความเห็นชอบที่ดีร่วมกันกับประเทศอื่น ๆ ในข้อที่เป็นหลักการสำคัญที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์หรือขจัดปัญหา ยึดถืออุดมคติหลักแห่งความดีงาม ไม่ก่อวิวาทเพราะมีความเห็นไม่ตรงกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เช่น การอยู่ร่วมกับประเทศอื่น ๆ นั้น เราต้องยอมรับในกฎกติการะหว่างประเทศที่กำหนดไว้ ไม่กระทำตนเสมือนว่าเป็นการฝ่าฝนมติของสังคมโลก ซึ่งในประชาคมโลกนั้น ไม่มีประเทศใดที่จะสามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้แต่ละประเทศต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การมีความคิดเห็นที่จะฝ่าฝนมติเอารัดเอาเปรียบหรือข่มเหงกีดกันประเทศอื่น มีแต่จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประเทศของตนและไม่มีประเทศใดจะคบค้า มาคมด้วย ต้องรู้จักแสวงหาจุดร่วมและ งวนไว้ซึ่งจุดต่าง ไม่สร้างข้อขัดแย้งโดยไม่มีเหตุผล ต้องมีความเข้าใจในเรื่องสิทธิ หน้าที่ และเสรีภาพของแต่ละประเทศ
สาราณียธรรมทั้ง 6 ประการนี้ ทำประเทศผู้ประพฤติปฏิบัติดังกล่าวให้เป็นที่ระลึกนึกถึงของมิตรนานาประเทศ เป็นที่รักและที่เคารพนับถือของนานาประเทศเพื่อนบ้าน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ซึ่งกัน (เอื้อเฟอเกื้อกูลต่อกัน) เป็นไปเพื่อความไม่ทะเลาะวิวาทหรือก่อให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศ (มีความสามัคคีต่อกัน) เป็นไปเพื่อความพร้อมเพรียงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาคมโลก
*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 008 พุทธธรรม 2
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree