จริต 6 (อุปนิสัย 6 ประการ)

วันที่ 28 กค. พ.ศ.2560

จริต 6 (อุปนิสัย 6 ประการ)

พุทธธรรม 2 , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , คารวะ 6 (ความเคารพ 6 ประการ) , คารวะ 6 , ความเคารพ

       จริต 6 เรียนรู้ได้จาก อุปนิสัย 6 ประการ มีความหมาย ที่มา และรายละเอียดดังต่อไปนี้

2.1 ความหมายและที่มา
    ใจของเราเมื่อได้รับการอบรมจากสิ่งแวดล้อมชนิดใดบ่อย ๆ หรือเข้าไปเสพคุ้นกับสิ่งใดบ่อย ๆ ก็จะเกิดความคุ้นเคยและพึงพอใจในสิ่งนั้น แล้วก็เลยเกาะเกี่ยวพัวพันอยู่กับสิ่งนั้น การที่จิตท่องเที่ยววนเวียนไปตามอารมณ์ประเภทที่จิตชอบนั่นเอง เรียกว่า "จริต" คำว่า จริตก็แปลว่าจิตที่เที่ยวไป เช่นจิตที่เที่ยวไปในทางดี เราเรียกว่าสุจริต ถ้าจิตเที่ยวไปในทางชั่ว เรียกว่าทุจริต

       จริต ยังแปลได้ว่า ความประพฤติ , กิริยาอาการ

     การอบรมหรือการเสพคุ้นกับสิ่งใดบ่อย ๆ จนเกิดเป็นความเคยชิน ย่อมมีอิทธิพลส่งผลให้เกิดเป็นอุปนิสัยได้ อุปนิสัย3 แปลว่า ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นฐานมาในสันดานดังนั้น ถ้าจิตของเราชอบเที่ยวไปในทางไหนบ่อย ๆ จนเกิดเป็นความเคยชินขึ้นแล้ว ก็จะกลายมาเป็นจริต หรืออุปนิสัย ของคนคนนั้นนั่นเอง

      เพราะฉะนั้น จริต คือ ลักษณะนิสัยหรือความประพฤติพื้นฐานที่ประพฤติปฏิบัติ ตามความเคยชินของจิตใจเดิมของบุคคลนั้น

  ในทางพุทธศาสนากล่าวถึงเหตุที่คนเรามีจริตแตกต่างกันนั้นเกิดจาก "กรรมในอดีต" และสัดส่วนองค์ประกอบของ "ธาตุทั้ง 4" ภายในร่างกายของแต่ละคน

     การที่จะรู้ว่าใครมีจริตแบบไหนเราสามารถดูจากอุปนิสัยของคนคนนั้น และเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ เราจึงจะมาศึกษาถึงรายละเอียดของอุปนิสัยของคนที่มีจริตต่าง ๆ เพื่อทำให้เราสามารถทราบได้ว่าตัวเราและบุคคลอื่น ๆ มีจริตเป็นเช่นไร

     ซึ่งจริตนั้นมีอยู่ 6 แบบใหญ่ ๆ แต่ละจริตก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป เมื่อเราได้ศึกษาจนทราบแล้วว่าตนเองมีจริตแบบใดผ มอยู่บ้าง ก็จะสามารถนำไปประยุกต์ปรับปรุงแก้ไขในด้านที่ไม่ดีให้ลดน้อยจนหมดไป และพันาในด้านดีให้เพิ่มยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกับบุคคลต่าง ๆ ในสังคมที่เราต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง

    อีกทั้งการศึกษาทำความเข้าใจในจริตของแต่ละบุคคลนั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบันซึ่งมีความหลากหลายทางอารมณ์ เพื่อที่เราจะได้หยั่งลึกรู้ถึงอุปนิสัยใจคอของคนที่เราจะต้องเข้าไปปฏิสัมพันธ์ด้วย ทำให้การวางตัวและการปฏิบัติต่อบุคคลที่เราเข้าหา เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพตามจริตอัธยาศัยของแต่ละคน

      ต่อจากนี้ไป เราจะได้มาศึกษากันว่า จริตทั้ง 6 แบบนั้น มีลักษณะอย่างไรกันบ้าง


2.2 ประเภท
     ในพระไตรปิฎกมีกล่าวถึงเรื่องจริตไว้สมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพาพระภิกษุบวชใหม่ 500 รูป ไปยังป่าหิมวันต์ ทรงใช้กุศโลบายตรัสอนจนพระภิกษุทั้ง 500 รูป ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ จากนั้นเทวดาทั้งหมื่นจักรวาลต่างพากันยินดีแล้วได้มาประชุมพร้อมกันทั้งหมดต่อหน้าพระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้ง 500 รูปเหล่านั้น ครั้นแล้วพระพุทธองค์จึงทรงตรวจดูถึงจริตของเทวดาเหล่านั้นว่า เทวดาพวกไหนมีจริตแบบไหน เหมาะแก่การฟังธรรมเรื่องใดบ้าง

   ทรงใคร่ครวญธรรมเทศนาอันเป็นที่สบายแก่พวกจริตเหล่านั้น ทรงกำหนดเทศนาว่าพวกเทวดาราคจริต เราจักแสดงสัมมาปริพพาชนียสูตร (สูตรว่าด้วยเรื่องที่พึงเว้นโดยชอบ) จักแสดงกลหวิวาทสูตร (สูตรเกี่ยวกับเรื่องทะเลาะวิวาท) แก่พวกโทสจริต จักแสดงมหาพยูหสูตร (สูตรว่าด้วยพวกใหญ่) แก่พวกโมหจริต จักแสดงจูฬพยูหสูตร (สูตรว่าด้วยพวกน้อย) แก่พวกวิตกจริต จักแสดงตุวัฏฏกปฏิปทา (ข้อปฏิบัติของนกคุ่ม)แก่พวกสัทธาจริต จักแสดงปุราเภทสูตร (สูตรว่าด้วยเรื่องแตกในอนาคต) แก่พวกพุทธิจริต....

    จากเรื่องนี้เราจะเห็นว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงจำแนกจริตของแต่ละบุคคลไว้เป็น 6 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ ราคจริต (รักสวยรักงาม) โทสจริต (หงุดหงิดรีบร้อน) โมหจริต (เขลาซึม) วิตกจริต (กังวลมาก)สัทธาจริต (บูชาความเชื่อ) และพุทธิจริต (ฉลาด)

       และจากนี้ไป เราจะมาศึกษาถึงรายละเอียดของแต่ละจริตทั้ง 6 แบบกัน

ขยายความรายละเอียดเรื่องจริตทั้ง 6 ประเภท

1. ราคจริต
     ลักษณะ บุคลิกดี มีมาด น้ำเสียงนุ่มนวลไพเราะ ติดในความสวย ความงาม ความหอม ความไพเราะ ความอร่อย ไม่ชอบคิด แต่ช่างจินตนาการเพ้อฝัน

     จุดแข็ง มีความประณีต อ่อนไหว และละเอียดอ่อน ช่างสังเกต เก็บข้อมูลเก่ง มีบุคลิกหน้าตาเป็นที่ชอบและชื่นชมของทุกคนที่เห็น วาจาไพเราะ เข้าได้กับทุกคน เก่งในการประสานงาน การประชาสัมพันธ์ และงานที่ต้องใช้บุคลิกภาพ

      จุดอ่อน ไม่มีสมาธิ ทำงานใหญ่ได้ยาก ไม่มีเป้าหมายในชีวิต ไม่มีความเป็นผู้นำขี้เกรงใจคน ขาดหลักการ มุ่งแต่บำรุงบำเรอผัสสะทั้ง 5 ของตัวเอง คือ รูป ร กลิ่น เสียงสัมผัสชอบพูดคำหวานหูแต่อาจไม่จริง อารมณ์รุนแรง ช่างอิจฉา ริษยา ชอบปรุงแต่ง

   วิธีแก้ไข พิจารณาโทษของจิตที่ขาดสมาธิ ฝึกพลังจิตให้มีสมาธิเข้มแข็ง หาเป้าหมายที่แน่ชัดในชีวิต พิจารณาสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์เพื่อลดการติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส


2. โทสจริต
     ลักษณะ จิตขุ่นเคือง โกรธง่าย คาดหวังว่าโลกต้องเป็นอย่างที่ตัวเองคิด พูดตรงไปตรงมาชอบชี้ถูกชี้ผิด เจ้าระเบียบ เคร่งกฎเกณฑ์ แต่งตัวประณีตสะอาดสะอ้าน เดินเร็วตรงแน่ว

     จุดแข็ง อุทิศตัวทุ่มเทให้กับการงาน มีระเบียบวินัยสูง ตรงเวลา วิเคราะห์เก่งมองอะไรตรงไปตรงมา มีความจริงใจต่อผู้อื่นสามารถพึ่งพาได้ พูดคำไหนคำนั้น ไม่ค่อยโลภ

      จุดอ่อน จิตขุ่นมัว ร้อนรุ่ม ไม่มีความเมตตา ไม่เป็นที่น่าคบค้า มาคมของคนอื่น และไม่มีบารมี ไม่มีความคิดสร้าง รรค์สร้างวจีกรรมเป็นประจำ มีโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย

       วิธีแก้ไข สังเกตดูอารมณ์ตัวเองเป็นประจำ เจริญเมตตาให้มาก ๆ คิดก่อนพูดนาน ๆ และพูดทีละคำ ฟังทีละเสียง อย่าไปจริงจังกับโลกมากนัก เปิดใจกว้างรับความคิดใหม่ ๆ พิจารณาโทษของความโกรธต่อความเสื่อมโทรมของร่างกาย


3. โมหจริต
      ลักษณะ ง่วง ๆ ซึม ๆ เบื่อ ๆ เซ็ง ๆ ดวงตาดูเศร้า ๆ ซึ้ง ๆ พูดจาเบา ๆ นุ่มนวลอ่อนโยนยิ้มง่าย อารมณ์ไม่ค่อยเสีย ไม่ค่อยโกรธใคร ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่ชอบทำตัวเป็นจุดเด่นเดินแบบขาดจุดหมาย ไร้ความมุ่งมั่น

     จุดแข็ง ไม่ฟุ้งซ่าน เข้าใจอะไรได้ง่ายและชัดเจน มีความรู้สึก มักตัดสินใจอะไรได้ถูกต้องทำงานเก่ง โดยเฉพาะงานประจำ ไม่ค่อยทุกข์หรือเครียดมากนัก เป็นคนดี เป็นเพื่อนที่น่าคบไม่ทำร้ายใคร

     จุดอ่อน ไม่มีความมั่นใจ มองตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริง โทษตัวเองเสมอ หมกมุ่นแต่เรื่องตัวเองไม่สนใจคนอื่น ไม่จัดระบบความคิดทำให้เสมือนไม่มีความรู้ ไม่มีความเป็นผู้นำไม่ชอบเป็นจุดเด่นสมาธิอ่อนและสั้น เบื่อง่าย อารมณ์อ่อนไหวง่าย ใจน้อย

   วิธีแก้ไข ตั้งเป้าหมายชีวิตให้ชัดเจน ฝึกสมาธิสร้างพลังจิตให้เข้มแข็ง ให้จิตออกจากอารมณ์โดยจับการเคลื่อนไหวของร่างกายหรือเล่นกีฬา แสวงหาความรู้ และต้องจัดระบบความรู้ความคิดสร้างความแปลกใหม่ให้กับชีวิต อย่าทำอะไรซ้ำซาก


4. วิตกจริต
       ลักษณะ พูดเป็นน้ำไหลไฟดับ ความคิดพวยพุ่งฟุ้งซ่าน อยู่ในโลกความคิดไม่ใช่โลกความจริง มองโลกในแง่ร้ายว่าคนอื่นจะเอาเปรียบกลั่นแกล้งเรา หน้าจะบึ้ง ไม่ค่อยยิ้ม เจ้ากี้เจ้าการอัตตาสูง คิดว่าตัวเองเก่ง อยากรู้อยากเห็นไปทุกเรื่อง ผัดวันประกันพรุ่ง

     จุดแข็ง เป็นนักคิดระดับเยี่ยมยอด มองอะไรทะลุปรุโปร่งหลายชั้น เป็นนักพูดที่เก่ง จูงใจคน เป็นผู้นำหลายวงการ ละเอียดรอบคอบ เจาะลึกในรายละเอียด เห็นความผิดเล็กความผิดที่คนอื่นไม่เห็น

       จุดอ่อน มองจุดเล็กลืมภาพใหญ่ เปลี่ยนแปลงความคิดตลอดเวลา จุดยืนกลับไปกลับมา ไม่รักษาสัญญา มีแต่ความคิด ไม่มีความรู้สึก ไม่มีวิจารณญาณ ลังเล มักตัดสินใจผิดพลาดมักทะเลาวิวาท ทำร้ายจิตใจ เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น มีความทุกข์เพราะเห็นแต่ปัญหาแต่หาทางแก้ไม่ได้

     วิธีแก้ไข เลือกความคิด อย่าให้ความคิดลากไป ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ เพื่อสงบสติ อารมณ์ เลิกอกุศลจิต คลายจากความฟุ้งซ่านสร้างวินัย ต้องสร้างกรอบเวลา ฝึกมองภาพรวม คิดให้ครบวงจร หัดมองโลกในแง่ดี พัฒนา มองด้านขวา


5.สัทธาจริต
     ลักษณะ ยึดมั่นอย่างแรงกล้าในบุคคล หลักการหรือความเชื่อ ย้ำคิดย้ำพูดในสิ่งที่ตนเองเชื่อถือและศรัทธา คิดว่าตัวเองเป็นคนดี น่าศรัทธา ประเสริฐกว่าคนอื่น เป็นคนจริงจังพูดมีหลักการ

      จุดแข็ง มีพลังจิตสูงและเข้มแข็ง พร้อมที่จะเสีย ละเพื่อผู้อื่น ต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองและสังคมไปสู่ ภาพที่ดีกว่าเดิม มีพลังขับเคลื่อนมหาศาล มีลักษณะความเป็นผู้นำ

     จุดอ่อน หูเบา ความเชื่ออยู่เหนือเหตุผล ถูกหลอกได้ง่าย ยิ่งศรัทธามาก ปัญญายิ่งลดน้อยลง จิตใจคับแคบ ไม่ยอมรับความคิดที่แตกต่าง ไม่ประนีประนอม มองโลกเป็นขาวและดำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตนคิดว่าถูกต้องสามารถทำได้ทุกอย่างแม้แต่ใช้ความรุนแรง

     วิธีแก้ไข นึกถึงกาลามสูตร ใช้หลักเหตุผลพิจารณาเหนือความเชื่อ ใช้ปัญญานำทาง และใช้ศรัทธาเป็นพลังขับเคลื่อน เปิดใจกว้างรับความคิดใหม่ ๆ ลดความยึดมั่นถือมั่นในตัวบุคคลหรืออุดมการณ์ ลดความยึดมั่นในความเป็นตัวตน


6. พุทธิจริต
      ลักษณะ คิดอะไรเป็นเหตุเป็นผล มองเรื่องต่าง ๆ ตาม ภาพความเป็นจริง ไม่ปรุงแต่งพร้อมรับความคิดที่แตกต่างไปจากของตนเอง ใฝ่เรียนรู้ ช่างสังเกต มีความเมตตาไม่เอาเปรียบคน หน้าตาผ่องใสตาเป็นประกาย ไม่ทุกข์

      จุดแข็ง สามารถเห็นเหตุเห็นผลได้ชัดเจน และรู้วิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง อัตตาต่ำ เปิดใจรับข้อเท็จจริง จิตอยู่ในปัจจุบัน ไม่จมปลักในอดีต และไม่กังวลในสิ่งที่จะเกิดในอนาคต พัฒนาปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ เป็นกัลยาณมิตร

      จุดอ่อน มีความเฉื่อย ไม่ต้องการพัฒนาจิตวิญญาณ ชีวิตราบรื่นมาตลอด หากต้องเผชิญพลังด้านลบ อาจเอาตัวไม่รอด ไม่มีความเป็นผู้นำ จิตไม่มีพลังพอที่จะดึงดูดคนให้คล้อยตาม

     วิธีแก้ไข ถามตัวเองว่าพอใจแล้วหรือกับ ภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน เพิ่มพลังสติสมาธิพัฒนาจิตใจให้มีพลังขับเคลื่อนที่แรงขึ้น เพิ่มความเมตา พยายามทำให้ประโยชน์ให้กับสังคมมากขึ้น

      จากข้อมูลรายละเอียดของจริตทั้ง 6 แบบที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จะช่วยให้เราเข้าใจนิสัยของตนเองและผู้คนรอบข้างมากยิ่งขึ้น พร้อมกับได้รู้ว่า เราจะต้องปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้างและจะต้องพันาอะไรบ้างในตัวของเรา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นไป

     และข้อที่ควรทราบคือ ในแต่ละคนจะมีจริตผสมอยู่ทุกแบบแต่สัดส่วนแตกต่างกันไป และมักจะมีจริตเด่นในสัดส่วนที่สูงอยู่ 1-2 แบบในคน ๆ เดียวกัน


จัดจริตเข้าพวกกัน

     ในจริต 6 ประเภทนั้น เมื่อมีจริตอย่างหนึ่งแล้ว อีกอย่างหนึ่งที่เป็นพวกกันก็พลอยมีขึ้นด้วย ถึงไม่ใช่หัวหน้า ก็เป็นชั้นรอง เมื่อจัดเป็นพวกแล้วได้ดังนี้

ราคจริต เป็นพวกกับ สัทธาจริต
โทสจริต
เป็นพวกกับ พุทธิจริต
โมหจริต
เป็นพวกกับ วิตกจริต

     จากนี้ไป จะได้นำตัวอย่างของจริตต่าง ๆ ที่มีมาในพระไตรปิฎกให้มาศึกษากันตัวอย่างของจริตต่าง ๆ ที่มีมาในพระไตรปิฎก

1. ตัวอย่างเรื่องราคจริต
ประวัติพระนันทเถระ

     พระเถระรูปนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิในครอบครัว กรุงหงสวดี เจริญวัยแล้ว กำลังฟังธรรมในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดา ถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จึงกระทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น ท่านทำกุศลจน ตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ แล้วมาถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมหาปชาบดีโคตมี กรุงกบิลพัสดุ์ ครั้งนั้น ในวันรับพระนามท่านทำหมู่พระประยูรญาติให้ร่าเริงยินดี เพราะเหตุนั้น เหล่าพระประยูรญาติ จึงขนานพระนามของท่านว่า นันทกุมาร

    แม้พระโพธิสัตว์ ทรงบรรลุพระสัพพัญุตญาณแล้วประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐทรงอนุเคราะห์โลก เสด็จจากกรุงราชคฤห์ไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์ ทรงทำพระพุทธบิดาให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล โดยทรงเฝ้าครั้งแรกเท่านั้น วันรุ่งขึ้น เสด็จไปพระราชนิเวศน์ของพระพุทธบิดาประทานโอวาทแก่พระมารดาของพระราหุล ตรัสธรรมแก่ชนนอกนั้น

      วันรุ่งขึ้นเมื่องานอาวาหมงคลอัญเชิญนันทกุมารเข้าเรือนอภิเษกกำลังดำเนินไปพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปนิเวศน์ของนันทกุมารนั้น ทรงให้นันทกุมารถือบาตรเสด็จบ่ายพระพักตร์ไปพระวิหาร เพื่อให้เขาบรรพชา งานมงคลอภิเษก ก็กีดกันนันทกุมารอย่างนั้นไม่ได้เวลานันทกุมารถือบาตรตามเสด็จ ชนบทกัลยาณีเจ้าสาวก็ขึ้นปราสาทชั้นบน เผยสีหบัญชร ร้องสั่งว่า พระลูกเจ้าโปรดกลับมาเร็ว ๆ นันทกุมารนั้น ได้ยินเสียงนาง ก็ได้แต่แลดูด้วยใจรัญจวนไม่อาจทำนิมิตหมายตอบได้ตามชอบใจ เพราะเคารพในพระศาสดา ด้วยเหตุนั้นนันทกุมารนั้นจึงร้อนใจ ขณะนั้น นันทกุมารก็คิดอย่างเดียวว่าพระศาสดาจักให้กลับตรงนี้ พระศาสดาจักให้กลับตรงนี้ พระศาสดาก็ทรงนำไปพระวิหารให้บรรพชา นันทกุมารแม้บรรพชาแล้ว ก็ขัดไม่ได้ได้แต่นิ่งเสีย นับแต่วันบรรพชาแล้ว ก็ยังคงระลึกถึงคำพูดของนางชนบทกัลยาณีอยู่นั่นเอง ขณะนั้น เหมือนกับนางชนบทกัลยาณีนั้นมายืนอยู่ไม่ไกล นันทกุมารนั้น ถูกความกระสัน อยากลาสิกขา บีบคั้นหนัก ๆ เข้า ก็เดินไปหน่อยหนึ่ง เมื่อเดินผ่านพุ่มไม้หรือกอไม้ ก็เหมือนกับพระทศพลมาประทับยืนอยู่เบื้องหน้า ท่านเป็นเหมือนขนไก่ที่เอาใส่กองไฟ จึงกลับเข้าไปที่อยู่ของตน

     พระศาสดาทรงพระดำริว่า นันทะอยู่อย่างประมาทเหลือเกินไม่อาจระงับความกระสันสึกได้ จึงควรทำการดับความร้อนจิตของเธอเสีย แต่นั้นก็ตรัสกะท่านนันทะว่า มานี่นันทะ เราจักไปจาริกเทวโลกด้วยกัน พระนันทะทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์จักไปสถานที่ที่เหล่าท่านผู้มีฤทธิ์ไปกันได้อย่างไร ตรัสตอบว่า เธอจงทำจิตคิดจะไปอย่างเดียว ไปแล้วก็จักเห็น ท่านพระนันทะนั้น ตามเสด็จจาริกไปเทวโลกกับพระตถาคต โดยอานุภาพของพระทศพล แลดูเทวนิเวศน์ของท้าวสักกเทวราช ก็เห็นเทพอัปสร 500 นาง พระศาสดาทรงเห็นท่านพระนันทเถระแลดูโดยสุภนิมิต จึงตรัสถามว่า นันทะ เทพอัปสรเหล่านี้หรือนางชนบทกัลยาณีเป็นที่น่าพอใจ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางชนบทกัลยาณี เทียบเทพอัปสรเหล่านี้แล้วจะปรากฏเหมือนกับนางวานรที่หูจมูกแหว่ง พระเจ้าข้า ตรัสว่า นันทะ เทพอัปสรอย่างนี้ ได้ไม่ยากเลยสำหรับผู้ทำสมณธรรม ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับประกันแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็จักทำสมณธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นันทะเธอจงวางใจได้ เธอจงทำ มณธรรมไปเถิด ถ้าเธอจักทำกาละ (ตาย) อย่างสัตว์มีปฏิสนธิ เราก็รับประกันว่าจะได้นางเทพอัปสรเหล่านั้น

     ดังนั้น พระศาสดาเสด็จจาริกไปเทวโลก ตามพุทธอัธยาศัยแล้วจึงเสด็จกลับมาพระเชตวันอย่างเดิม ตั้งแต่นั้นมา ท่านพระนันทเถระก็กระทำ มณธรรมทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน เพราะเหตุอยากได้นางเทพอัปสร พระศาสดาทรงสั่งภิกษุทั้งหลายว่า ในสถานที่อยู่ของนันทะพวกเธอจงเที่ยวพูดในที่นั้น ๆ ว่า เขาว่าภิกษุรูปหนึ่ง ให้พระทศพลรับประกันแล้วจึงทำสมณธรรมเพราะเหตุอยากได้นางเทพอัปสรทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับพระพุทธดำรัสแล้ว ก็เที่ยวพูดว่าเขาว่า ท่านนันทะเป็นลูกจ้าง เขาว่า ท่านนันทะถูกซื้อมา ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะเหตุอยากได้นางเทพอัปสรทั้งหลาย เขาว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับประกันท่านนันทะนั้น ที่จะได้นางเทพอัปสร 500 นาง ซึ่งมีเท้าเหมือนไก่ ภิกษุเหล่านั้น ยืนในที่ใกล้ ๆ นันทะ พอจะเห็นพอจะได้ยิน เที่ยวพูดไป ท่านพระนันทเถระได้ยินเรื่องนั้น คิดว่า ภิกษุพวกนี้ ไม่พูดถึงผู้อื่นพูดปรารภถึงเรา การกระทำของเราไม่ถูกแน่แล้ว ก็คิดทบทวนแล้วเจริญวิปัสสนา ก็บรรลุพระอรหัตขณะที่ท่านบรรลุพระอรหัตนั่นแล เทวดาองค์หนึ่งก็ทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงทราบด้วยพระองค์เอง

     วันรุ่งขึ้น ท่านพระนันทเถระเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับประกันข้าพระองค์ เพื่อจะได้นางเทพอัปสร 500 นาง ซึ่งมีเท้าเหมือนไก่อันใด ข้าพระองค์ขอเปลื้องพระผู้มีพระภาคเจ้าจากปฏิสวะการรับคำนั้นพระเจ้าข้า เรื่องเกิดขึ้นอย่างว่ามานี้ ต่อมาภายหลังพระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหารทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายแล

     จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบจริตอัธยาศัยของพระนันทะดี และทราบว่าพระนันทะกำลังถูกกามราคะเบียดเบียนจิตใจ จึงทรงใช้กุศโลบายพาท่านไปสวรรค์ ให้ได้พบกับนางฟ้าที่งดงามมากมาย แล้วให้สัญญาว่า ถ้าตั้งใจทำสมณธรรมแล้ว ก็รับประกันว่าจะได้นางเทพอัปสรเหล่านั้น พระนันทะท่านจึงตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรมจนสุดท้ายก็ได้บรรลุพระอรหัตผล เป็นพระอรหันต์ผู้ปราศจากกิเลส จากนั้นพระนันทะได้เข้าไปกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วทูลขอยกเลิกเรื่องการรับประกันที่จะได้นางฟ้าเสีย เพราะท่านไม่มีความต้องการอีกต่อไปแล้ว ต่อมาท่านได้รับตำแหน่งเอตทัคคะผู้เป็นยอดกว่าเหล่าพระภิกษุทั้งหมด ด้านผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย


ประวัติพระเขมาเถรี
     ดังได้สดับมา ในอดีตกาลครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ นางเขมานี้ก็บังเกิดนับเนื่องกับคนอื่น ในกรุงหังสวดี ต่อมา วันหนึ่งนางพบพระสุชาตเถรี อัครสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น กำลังเที่ยวบิณฑบาต จึงถวายขนมต้ม 3 ก้อน ในวันนั้นนั่นแล ก็จัดในเรือนของตนแล้วถวายทานแด่พระเถรี ทำความปรารถนาว่า ดิฉันพึงมีปัญญามากเหมือนท่าน ในพุทธุปบาทกาลในอนาคต เป็นผู้ไม่ประมาทในกุศลกรรมทั้งหลายจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์แสนกัปครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ก็ถือปฏิสนธิในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้ากิงกิ เป็นพระธิดาอยู่ระหว่างพระพี่น้องนาง 7 พระองค์ ทรงประพฤติกุมารีพรหมจรรย์ ในพระราชนิเวศน์ถึง 20,000 ปี ร่วมกับพระพี่น้องนางเหล่านั้นสร้างบริเวณที่ประทับอยู่ของพระทศพล เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์พุทธันดรหนึ่ง

    ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ถือปฏิสนธิในราชสกุล กรุงสาคละ แคว้นมัททะ พระประยูรญาติเฉลิมพระนามของพระนางว่า เขมา พระนางมีพระฉวีวรรณแห่งพระวรกายเลื่อมเรื่ยดังน้ำทอง พอเจริญพระชันษา ก็เสด็จไปอยู่ในพระราชนิเวศน์ (เป็นพระเทวี) ของพระเจ้าพิมพิสารเมื่อพระตถาคตทรงอาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนางทรงสดับว่า เขาว่า พระศาสดาทรงแสดงโทษในรูป เป็นผู้มัวเมาในรูปโฉม ไม่กล้าไปเฝ้าพระทศพล ด้วยทรงกลัวว่าพระศาสดาจะทรงแสดงโทษในรูปของเรา พระราชาทรงพระดำริว่า เราเป็นอัครอุปฐากของพระศาสดา แต่อัครมเหสีของอริยสาวกเช่นเรา ก็ยังไม่ไปเฝ้าพระทศพล ข้อนี้เราไม่ชอบใจเลย จึงทรงให้เหล่ากวีประพันธ์คุณสมบัติของพระเวฬุวันราชอุทยาน รับสั่งว่า พวกท่านจงขับร้องใกล้ ๆ ที่พระนางเขมาเทวีทรงได้ยิน พระนางทรง ดับคำพรรณนาคุณของพระราชอุทยาน ก็มีพระประสงค์จะเสด็จไป จึงกราบทูลสอบถามพระราชา ท้าวเธอตรัสว่า ไปอุทยานก็ได้ แต่ไม่เฝ้าพระศาสดา อย่าได้กลับมานะ พระนางไม่ถวายคำตอบแด่พระราชา ก็เสด็จไปตามทางพระราชาตรัสั่งเหล่าบุรุษที่ไปกับพระนางว่า ถ้าพระเทวีเมื่อจะกลับจาก วน เฝ้าพระทศพลได้อย่างนี้นั่นก็เป็นบุญ ถ้าไม่เฝ้า พวกท่านก็จงใช้ราชอำนาจแสดงกะพระนาง ครั้งนั้น พระนางเสด็จชมพระราชอุทยานเสียจนสิ้นวัน เมื่อเสด็จกลับก็ไม่เฝ้าพระทศพล เริ่มจะเสด็จกลับ แต่เหล่าราชบุรุษนำพระนางไปยังสำนักพระศาสดา ทั้งที่พระนางไม่ชอบพระทัย

     พระศาสดาทรงเห็นพระนางกำลังเสด็จมาจึงทรงใช้พุทธฤทธิ์เนรมิตเทพอัปสรนางหนึ่งซึ่งกำลังถือก้านใบตาลถวายงานพัดอยู่ พระนางเขมาเทวีเห็นเทพอัปสรนั้นแล้วทรงพระดำริว่า เสียหายแล้วสิเรา เหล่า ตรีที่เทียบกับเทพอัปสรเห็นปานนี้ ยังยืนอยู่ไม่ไกลพระทศพลเราแม้จะเป็นปริจาริกาของ ตรีเหล่านั้น ก็ยังไม่คู่ควรเลย ก็เพราะเหตุไรเล่าเราจึงเป็นผู้เสียหายด้วยอำนาจจิตที่คิดชั่ว เพราะอาศัยความมัวเมา แล้วก็ถือนิมิตนั้น ยืนทอดพระเนตร ตรีนั้นอยู่เมื่อพระนางพิจารณาสตรีนั้นอยู่นั่นแล แต่ด้วยกำลังพระอธิษฐานของพระตถาคต ตรีนั้นล่วงปฐมวัยไป เหมือนตั้งอยู่ในมัชฌิมวัยฉะนั้น ล่วงมัชฌิมวัยไป เหมือนตั้งอยู่ในปัจฉิมวัยฉะนั้น ได้เป็นผู้มีหนังเหี่ยวย่น ผมหงอก ฟันหักแล้ว แต่นั้นเมื่อพระนางกำลังแลดูอยู่นั่นแหละสตรีนั้นก็ล้มลงกลิ้งพร้อมกับพัดใบตาล ลำดับนั้น พระนางเขมาเมื่อน้อมอารมณ์นั้นมาสู่วิถี เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยบุพเหตุ จึงทรงพระดำริอย่างนี้ว่า รีระมีอย่างนี้ ยังถึงความวิบัติอย่างนี้ได้ แม้สรีระของเรา ก็จักมีคติอย่างนี้เหมือนกัน ขณะที่พระนางมีพระดำริอย่างนี้พระศาสดาจึงตรัสพระคาถาในธรรมบทนี้ว่า

เย ราครตฺตานุปตนฺติ โสตํ
สยํ กตํ มกฺกฏโกว ชาลํ
เอตมฺปิ เฉตฺวาน ปริพฺพชนฺติ
อนเปกฺขิโน กามสุขํ ปหาย
ชนเหล่าใด ถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมตกไป
ตามกระแสเหมือนแมลงมุมตกไปตามใยข่ายที่ตนเอง
ทำไว้ ชนเหล่านั้น ตัดกระแสนั้นได้แล้ว ไม่เยื่อใย
ละกามสุขเสีย ย่อมบวช ดังนี้

     จบพระคาถา พระนางประทับยืนในอิริยาบถที่ยืนอยู่นั่นแล ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ธรรมดาว่า ผู้อยู่ครองเรือนบรรลุพระอรหัตจำต้องปรินิพพานหรือบวชเสียในวันนั้นนั่นแหละ ก็พระนางรู้ว่าอายุสังขารของพระองค์ยังเป็นไปได้ ทรงพระดำริว่า เราจักให้พระราชาทรงอนุญาตการบวชของพระองค์ จึงเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ ไม่ถวายบังคมพระราชาประทับยืนอยู่ พระราชาก็ทรงทราบโดยสัญญาณคือพระอาการว่าพระนางคงจักบรรลุอริยธรรมแล้ว พระราชาจึงตรัสกะพระนางว่าพระเทวีเสด็จไปเฝ้าพระศาสดาหรือ ทูลว่า พระมหาราชเจ้า หม่อมฉันประพฤติทัศนะอย่างที่พระองค์ทรงเห็นแล้ว หม่อมฉันได้ทำพระทศพลให้เป็นผู้อันหม่อมฉันเห็นด้วยดีแล้ว ขอได้โปรดทรง อนุญาตการบรรพชาแก่หม่อมฉันเถิด พระราชาตรัสรับว่า ดีละพระเทวี ทรงนำไปยังสำนักภิกษุณีด้วยวอทอง ให้ทรงผนวช ครั้งนั้น ความที่พระนางมีพระปัญญามาก ปรากฏไปว่า ชื่อพระเขมาเถรี บรรลุพระอรหัตทั้งที่อยู่ในเพศคฤหัสถ์

      ต่อมาภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ จึงทรงสถาปนาพระเขมาเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้มีปัญญามาก แล

     จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบถึงจริตอัธยาศัยของพระนางเขมาเป็นอย่างดี ว่ามีราคจริต พระองค์จึงทรงใช้พุทธานุภาพเนรมิตนางเทพอัปสรตนหนึ่งขึ้นมาถวายงานพัดอยู่ เพื่อให้พระนางเขมาเห็นแล้วจะได้ลดทิฏฐิมานะ

      เรื่องความสวยงามของตน ซึ่งเทียบกันไม่ได้เลยกับนางเทพอัปสรตนนั้น และพระพุทธองค์ยังทรงใช้พุทธานุภาพให้ รีระของนางเทพอัปสรตนนั้นให้มีความแปรปรวนแก่ชราและล้มลงตายในที่สุด เพื่อให้พระนางเขมาได้พิจารณาเห็นตามความเป็นจริงว่า ร่างกายแม้จะสวยสดงดงามเพียงใดสุดท้ายก็ต้องเจ็บ ต้องตายในที่สุด หาแก่นสารสาระอะไรไม่ได้ แม้ตัวของพระนางเขมาก็จะต้องเป็นเช่นนี้เหมือนกัน ทำให้พระนางได้คิด ปล่อยใจไปตามกระแสเสียงของพระพุทธองค์ที่แสดงธรรม แล้วพระนางก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุดก็ได้ออกบวชและได้รับตำแหน่งเป็นเอตทัคคะผู้เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีทั้งหมดด้านผู้มีปัญญามาก


2. ตัวอย่างเรื่องโทสจริต
     เรื่องพระติสะเถระผู้เข้าถึง กุลนายช่างแก้วพระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระชื่อติสะผู้เข้าถึงสกุลนายช่างแก้ว ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลส่งแก้วให้นายช่างเจียระไน ได้ยิน
ว่า พระเถระนั้นฉัน (ภัต) อยู่ในสกุลของนายมณีการผู้หนึ่งสิ้น 12 ปี ภรรยาและสามีในสกุลนั้นตั้งอยู่ในฐานะเพียงมารดาและบิดาปฏิบัติพระเถระแล้ว

     อยู่มาวันหนึ่ง นายมณีการกำลังนั่งหั่นเนื้อข้างหน้าพระเถระ ในขณะนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงส่งแก้วมณีดวงหนึ่งไป ด้วยรับสั่งว่า "นายช่างจงขัดและเจียระไนแก้วมณีนี้แล้วส่งมา" นายมณีการรับแก้วนั้นด้วยมือทั้งเปอนโลหิต วางไว้บนเขียงแล้ว ก็เข้าไปข้างในเพื่อล้างมือ

    ก็ในเรือนนั้น นกกะเรียนที่เขาเลี้ยงไว้มีอยู่ นกนั้นกลืนกินแก้วมณีนั้น ด้วยสำคัญว่าเนื้อ เพราะกลิ่นโลหิต เมื่อพระเถระกำลังเห็นอยู่เทียว นายมณีการมาแล้ว เมื่อไม่เห็นแก้วมณีจึงถามภริยา ธิดาและบุตรโดยลำดับว่า "พวกเจ้าเอาแก้วมณีไปหรือ " เมื่อชนเหล่านั้นกล่าวว่า "มิได้เอาไป" จึงคิดว่า (ชะรอย) พระเถระจักเอาไป จึงปรึกษากับภริยาว่า "แก้วมณี (ชะรอย) พระเถระจักเอาไป" ภริยาบอกว่า "แน่ะนาย นายอย่ากล่าวอย่างนั้น, ดิฉันไม่เคยเห็นโทษอะไร ๆ ของพระเถระเลยตลอดกาลประมาณเท่านี้ ท่านย่อมไม่ถือเอาแก้วมณี (แน่นอน)"

      นายมณีการถามพระเถระว่า "ท่านขอรับ ท่านเอาแก้วมณีในที่นี้ไปหรือ ?"

      พระเถระ. เราไม่ได้ถือเอาดอก อุบาสก

      นายมณีการ. ท่านขอรับ ในที่นี้ไม่มีคนอื่น ท่านต้องเอาไปเป็นแน่ ขอท่านจงให้แก้วมณีแก่ผมเถิด

     เมื่อพระเถระนั้นไม่รับ เขาจึงพูดกะภริยาว่า "พระเถระเอาแก้วมณีไปแน่ เราจักบีบคั้นถามท่าน "ภริยาตอบว่า "แน่ะนาย นายอย่าให้พวกเราฉิบหายเลย พวกเราเข้าถึงความเป็นทาส เสียยังประเสริฐกว่า ก็การกล่าวหาพระเถระผู้เห็นปานนี้ไม่ประเสริฐเลย นายช่างแก้วนั้นกล่าวว่า "พวกเราทั้งหมดด้วยกัน เข้าถึงความเป็นทา ยังไม่เท่าค่าแก้วมณี" ดังนี้แล้ว จึงถือเอาเชือกพันศีรษะพระเถระขันด้วยท่อนไม้ โลหิตไหลออกจากศีรษะ หูและจมูกของพระเถระหน่วยตาทั้ง องได้ถึงอาการทะเล้นออก ท่านเจ็บปวดมาก ก็ล้มลง ณ ภาคพื้น นกกะเรียนมาด้วยกลิ่นโลหิต ดื่มกินโลหิต

     ขณะนั้น นายมณีการจึงเตะมันด้วยเท้าแล้วเขี่ยไปพลางกล่าวว่า "มึงจะทำอะไรหรือ" ด้วยกำลังความโกรธที่เกิดขึ้นในพระเถระ นกกะเรียนนั้นล้มกลิ้งตายด้วยการเตะทีเดียวเท่านั้นพระเถระเห็นนกนั้น จึงกล่าวว่า "อุบาสก ท่านจงผ่อนเชือกพันศีรษะของเราให้หย่อนก่อนแล้วจงพิจารณาดูนกกะเรียนนี้ (ว่า) มันตายแล้วหรือยัง " ลำดับนั้น นายช่างแก้วจึงกล่าวกะท่านว่า "แม้ท่านก็จักตายเช่นนกนั่น" พระเถระตอบว่า "อุบาสก แก้วมณีนั้น อันนกนี้กลืนกินแล้วหากนกนี้จักไม่ตายไซร้ ข้าพเจ้าแม้จะตาย ก็จักไม่บอกแก้วมณีแก่ท่าน "เขาแหวะท้องนกนั้นพบแก้วมณีแล้ว งกงันอยู่ มีใจสลด หมอบลงใกล้เท้าของพระเถระ กล่าวว่า "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอดโทษแก่ผม ผมไม่รู้อยู่ ทำไปแล้ว"

      พระเถระ. อุบาสก โทษของท่านไม่มี ของเราก็ไม่มี มีแต่โทษของวัฏฏะเท่านั้น เราอดโทษแก่ท่าน

      นายมณีการ. ท่านขอรับ หากท่านอดโทษแก่ผมไซร้ ท่านจงนั่งรับภิกษาในเรือนของผมตามทำนองเถิด

      พระเถระกล่าวว่า "อุบาสก ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจักไม่เข้าไปภายในชายคาเรือนของผู้อื่น เพราะว่านี้เป็นโทษแห่งการเข้าไปภายในเรือนโดยตรง ตั้งแต่นี้ไป เมื่อเท้าทั้งสองยังเดินไปได้ เราจักยืนที่ประตูเรือนเท่านั้น รับภิกษา" พระเถระครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว ต่อกาลไม่นานนักก็ปรินิพพานด้วยพยาธินั้นนั่นเอง

     นกกะเรียนได้ถือปฏิสนธิในท้องแห่งภริยาของนายช่างแก้ว นายช่างแก้วทำกาละแล้วก็บังเกิดในนรก ภริยาของนายช่างแก้วทำกาละแล้ว เกิดในเทวโลก เพราะความเป็นผู้มีจิตอ่อนโยนในพระเถระ

    ภิกษุทั้งหลายทูลถามอภิสัมปรายภพของชนเหล่านั้นกะพระศาสดา พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายสัตว์บางจำพวกในโลกนี้ ย่อมเกิดในครรภ์ บางจำพวกทำกรรมลามก ย่อมเกิดในนรก บางจำพวกทำกรรมดีแล้ว ย่อมเกิดในเทวโลกส่วนผู้ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน" ในการจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล

     จากเรื่องนี้เราจะพบว่า นายช่างแก้ว เป็นผู้ที่มีโทสจริต ทำอะไรเกินกว่าเหตุ ไม่พิจารณาโดยแยบคายให้ดีก่อน จึงพลาดไปกระทำกรรมอันชั่วช้าต่อพระอรหันต์ผู้บริสุทธิ์สุดท้ายตนก็ต้องไปชดใช้กรรมในนรก เพราะความใจร้อนด่วนสรุปแบบผิด ๆ นั่นเอง


3. ตัวอย่างเรื่องโมหจริต
เรื่องป่าทัณฑกี

    เมื่อบริษัทของพระสรภังคดาบสโพธิสัตว์แผ่ขยายไพบูลย์แล้ว ดาบส ชื่อ กีสวัจฉะ ศิษย์ของพระโพธิสัตว์ ประสงค์จะอยู่อย่างสงัด จึงละหมู่ไป อาศัยนครชื่อ กุมภปุระ ของพระเจ้าทัณฑกีแคว้นกาลิงคะ ต่อจากฝังแม่น้ำโคธาวารี เจริญความสงัดอยู่ในพระราชอุทยาน เสนาบดีของพระเจ้าทัณฑกีนั้นเป็นอุปัฏฐาก

   ครั้งนั้น นางคณิกาคนหนึ่ง ขึ้นรถมีหญิง 500 เป็นบริวาร ทำนครให้งดงามเที่ยวไปมหาชนมองเห็น ก็ห้อมล้อมนางเที่ยวตามไป จนถนนในพระนครไม่พอ พระราชาเผยพระแกลประทับยืนเห็นนาง จึงตรัสถามพวกราชบุรุษว่า หญิงผู้นั้นเป็นใคร พวกราชบุรุษทูลว่า ขอเดชะหญิงนครโสภิณีของพระองค์ พระพุทธเจ้าข้า ท้าวเธอเกิดริษยา ทรงพระดำริว่า นครที่หญิงผู้นี้ทำให้งาม จักงามได้อย่างไร แล้วตรัสั่งให้ตัดฐานันดรนั้นเสีย ตั้งแต่นั้นมา นางคณิกานั้นก็ทำการชมเชยกับคนนั้น ๆ เสาะหาฐานันดรเรื่อยไป วันหนึ่ง เข้าไปยังพระราชอุทยานพบดาบส นั่งบนแผ่นหิน พิงแผ่นหินที่ย้อยลงมา ใกล้ปลายที่จงกรม จึงคิดว่า ดาบส ผู้นี้ กปรกจริงหนอ นั่งไม่ไหวติง เขี้ยวงอกออกมาปิดปาก หนวดเคราปิดอก รักแร้สองข้างขนรุงรัง ครั้งนั้น นางเกิดความเสียใจว่า เราเที่ยวไปด้วยกิจอย่างหนึ่ง ก็มาพบกับคนกาลกัณณี (กาลกิณี) นี้เข้า ท่านทั้งหลายนำน้ำมา เราจักล้างลูกตา ให้เขาเอาน้ำและไม้ สีฟันมาแล้ว ก็เคี้ยวไม้สีฟัน ถ่มน้ำลายเป็นก้อน ๆ ลงไปบนเนื้อตัวของดาบสนั้น แล้วโยนไม้สีฟันลงบนกลางเซิงผม บ้วนปากตัวเองแล้วเอาน้ำราดบนศีรษะของดาบ คิดว่า เราล้างลูกตาที่เห็นคนกาลกัณณีแล้ว กลีโทษเราก็ลอยเสียแล้ว ก็ออกไปจากพระราชอุทยาน ในวันนั้นเอง พระราชาทรงนึกขึ้นได้ก็ตรัสถามว่า พ่อมหาจำเริญ หญิงนครโสภิณีอยู่ไหน พวกราชบุรุษตอบว่า อยู่ในพระนครนี้เอง พระเจ้าข้า ตรัสสั่งว่า พวกเจ้าจงให้ฐานันดรเป็นปกติแก่นางอย่างเดิม แล้วทรงสั่งให้คืนฐานันดร นางอาศัยกรรมที่ทำดีมาก่อน จึงได้ฐานันดร แต่นางเข้าใจไปเสียว่า ได้เพราะถ่มน้ำลายลงที่เนื้อตัวของดาบส

      ต่อจากวันนั้นไปเล็กน้อย พระราชาทรงถอดฐานันดรของพราหมณ์ปุโรหิต เขาจึงไปยังสำนักหญิงนครโสภินี อบถามว่า น้องหญิง เธอทำอะไรจึงกลับได้ฐานันดร นางก็กล่าวว่า ท่านพราหมณ์ จะอะไรเสียอีกเล่า ชฎิลขี้โกงคนหนึ่ง เป็นตัวกาลกัณณีที่ไม่ไหวติงอยู่ในพระราชอุทยานท่านจงถ่มน้ำลายลงที่ตัวของดาบสนั้น ก็จักได้ฐานันดรอย่างนี้ ปุโรหิตนั้น ก็กล่าวว่า ข้าจักทำอย่างนั้นนะน้องหญิง แล้วก็ไปที่พระราชอุทยานนั้น กระทำอย่างที่นางบอกทุกประการแล้วก็ออกจากพระราชอุทยานไป ในวันนั้นนั่นเอง พระราชาทรงนึกขึ้นได้ก็ตรัสถามว่า พ่อมหาจำเริญพราหมณ์อยู่ไหน ได้รับคำทูลตอบว่า อยู่ในพระนครนี้เอง พระเจ้าข้า พระราชาทรงมีพระดำรัสว่า เราไม่ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทำ พวกเจ้าจงคืนฐานันดรให้เขา แล้วตรัสั่งให้คืนฐานันดรแก่พราหมณ์นั้น ถึงพราหมณ์นั้นได้ฐานันดร เพราะกำลังบุญแต่ก่อน ก็เข้าใจไปเสียว่าได้ฐานันดรเพราะถ่มน้ำลายลงที่ตัวของดาบส

   ต่อจากวันนั้นไปเล็กน้อย ชนบทชายแดนของพระราชาเกิดกบฏ พระราชาตรัสว่า เราจักไปปราบกบฏชายแดน จึงเสด็จไปพร้อมด้วยกองทัพ 4 เหล่า พราหมณ์ปุโรหิตจึงไปยืนอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระราชา ถวายพระพรว่า ชยตุ มหาราชา จงได้ชัยชนะเถิด พระมหาราชเจ้าแล้วทูลถามว่า พระองค์จะเสด็จไปเพื่อชัยชนะ หรือพระมหาราชเจ้า ตรัสตอบว่า อย่างนั้นซิพราหมณ์ทูลว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ชฎิลขี้โกงผู้หนึ่งเป็นคนกาลกัณณี ผู้ไม่ไหวติง พำนักอยู่ในพระราชอุทยาน โปรดทรงถ่มเขฬะลงที่ตัวของชฎิลผู้นั้นเถิด พระเจ้าข้า พระราชาทรงรับคำของพราหมณ์ปุโรหิตนั้นสั่งให้กระทำเหมือนอย่างที่หญิงคณิกาและพราหมณ์ปุโรหิตนั้นทำทุกอย่างแล้วตรัสสั่งให้เจ้านายฝ่ายในถ่มเขฬะลงที่ตัวของชฎิลขี้โกงนั้น ต่อจากนั้น ทั้งฝ่ายใน ทั้งเจ้าหน้าที่ผู้คุ้มครองฝ่ายในก็กระทำตามอย่างนั้นเหมือนกัน

     ครั้งนั้น พระราชาทรงสั่งให้ตั้งกองรักษาการณ์ไว้ใกล้ประตูพระราชอุทยานแล้วสั่งว่าผู้ตามเสด็จไม่ถ่มน้ำลายลงที่ตัวดาบ ให้ทั่วแล้วออกไปไม่ได้ คราวนั้น นายพันนายกองทั้งหมดก็นำน้ำลาย ไม้สีฟัน และน้ำบ้วนปากเอาไปไว้บนตัวดาบส โดยทำนองนั้นนั่นแล น้ำลายและไม้สีฟันก็ท่วมทั่วตัว

      เสนาบดี (ผู้อุปัฏฐาก) รู้เรื่องภายหลังเขาหมด ก็ครุ่นคิดว่า เขาว่าคนทั้งหลาย ทำร้ายพระผู้มีพระภาคเจ้าศาสดาของเรา ซึ่งเป็นเนื้อนาบุญ เป็นบันได วรรค์อย่างนี้ หัวใจก็ร้อนระอุต้องหายใจทางปาก จึงรุดไปยังพระราชอุทยาน เห็นฤษีประสบความย่อยยับอย่างนั้น ก็นุ่งหยักรั้ง เอามือทั้งสองกวาดไม้สีฟัน ยกขึ้นให้นั่ง ให้นำน้ำมาอาบ ชะโลมด้วยยาทุกชนิด และของหอม 4 ชนิด เช็ดด้วยผ้าละเอียด ยืนประนมมืออยู่ข้างหน้า พูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญพวกมนุษย์ทำไม่ มควร อะไรจักมีแก่พวกเขา

     ดาบสกล่าวว่า ท่านเสนาบดี เทวดาแบ่งกันเป็น 3 พวก พวกหนึ่งกล่าวว่า จักทำพระราชาพระองค์เดียวให้พินาศ พวกหนึ่งกล่าวว่า จักทำพระราชาพร้อมด้วยบริษัทให้พินาศ พวกหนึ่งกล่าวว่า จักทำแว่นแคว้นทั้งหมดของพระราชาให้พินาศ ก็แลครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ดาบสมิได้แสดงอาการโกรธแม้แต่น้อย เมื่อจะบอกอุบายสันติแห่งโลกกล่าวว่า ความผิดมีอยู่ แต่เมื่อรู้แสดงความผ่อนโทษเสีย เหตุการณ์ก็จะเป็นปกติอย่างเดิม เสนาบดีได้นัยแล้ว ก็เข้าไปเฝ้าพระราชา ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์ทรงประพฤติผิดในท่านดาบสผู้ไม่ผิด ผู้มีฤทธิ์มาก ทรงกระทำกรรมอย่างหนัก ท่านว่า เทวดาแบ่งเป็น 3 พวก กล่าวกันอย่างนี้ ทูลเรื่องทั้งหมดแล้วกราบทูลว่า ท่านว่าเมื่อพระองค์ทรงขอขมาเสียแล้ว แว่นแคว้นก็จะเป็นปกติ ขอพระองค์อย่าทรงทำให้แว่นแคว้นพินาศเสียเลย ขอพระมหาราชเจ้า โปรดขอขมาท่านดาบ เสียเถิด พระเจ้าข้า เสนาบดีกราบทูลถึง 3 ครั้ง พระราชาก็ไม่ทรงปรารถนาจะขอขมา จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้าพเจ้าทราบกำลังของดาบ ดาบสนั้นมิใช่พูดไม่จริง ทั้งก็ไม่โกรธด้วย แต่ท่านพูดอย่างนี้ ก็ด้วยความเอ็นดู อนุเคราะห์สัตว์ ขอได้โปรดขอขมาท่านดาบ นั้นเสียเถิด พระเจ้าข้า พระราชาก็ทรงยืนกรานว่า เราไม่ขอขมา เสนาบดีจึงกราบทูลว่า ถ้าอย่างนั้น ขอได้โปรดพระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่คนอื่นเถิด ข้าพเจ้าจักไม่อยู่ในพระราชอาณาเขตของพระองค์ต่อไปละ พระราชาตรัสว่า ท่านจะไปก็ตามที เราจักได้เสนาบดีของเราใหม่

    แต่นั้น เสนาบดีก็ไปสำนักดาบสไหว้แล้วก็กล่าวว่า ข้าพเจ้าปฏิบัติตามคำของท่านแล้วท่านเจ้าข้า ดาบสกล่าวว่า ท่านเสนาบดี คนที่เชื่อฟังจงพาทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งเครื่องใช้ ทั้งทรัพย์ทั้งสัตว์ 2 เท้า 4 เท้า ออกไปเสียนอกพระราชอาณาเขตภายใน 7 วัน เทวดาพิโรธหนัก จักเบียดเบียนแว่นแคว้นแน่นอน เสนาบดีก็กระทำตาม พระราชาก็ทรงมัวเมาอย่างเดียว ทรงปราบข้าศึก ทำชนบทชายแดนให้สงบแล้ว ก็เสด็จมาพัก ณ ค่ายฉลองชัย ทรงจัดการพระนครนั้น ๆ แล้ว เสด็จเข้าสู่พระราชนิเวศน์ ครั้งแรกทีเดียว เหล่าเทวดาบันดาลฝนน้ำให้ตกลงมามหาชนก็ดีใจว่า ตั้งแต่ทำผิดในชฎิลขี้โกงมา พระราชาของเราก็เจริญอย่างเดียว ทรงปราบข้าศึกได้ในวันเสด็จกลับฝนก็ตกลงมา ต่อมา เหล่าเทวดาก็บันดาลฝนดอกมะลิตกลงมา มหาชนก็ดีใจยิ่งขึ้นไปอีก ต่อมาเหล่าเทวดาก็บันดาลฝนมาสก ฝนกหาปณะให้ตกลงมา เข้าใจว่าคนทั้งหลายจะออกมาเก็บ จึงบันดาลฝนเครื่องประดับมือประดับเท้า ประดับเอว เป็นต้น ให้ตกลงมา มหาชนก็ลงมายังปราสาท 7 ชั้นทางข้างหลัง ต่างประดับอาภรณ์ ดีใจว่า การถ่มน้ำลายรดชฎิลขี้โกงสมควรแท้หนอ ตั้งแต่ถ่มน้ำลายลงบนชฎิลขี้โกงนั้น พระราชาของเราก็เจริญ ทรงปราบข้าศึกสำเร็จ วันเสด็จกลับฝนยังตกลงมา ต่อนั้น ฝน 4 อย่าง คือ ฝนดอกมะลิ ฝนมาสก ฝนกหาปณะ ฝนเครื่องประดับเอว ก็เกิด เปล่งวาจาดีใจอย่างนี้แล้ว ก็อิ่มเอิบในกรรมที่พระราชาทรงทำผิดสมัยนั้น เหล่าเทวดาก็บันดาลอาวุธต่าง ๆ ที่มีคมข้างเดียว องข้าง เป็นต้น ให้ตกลงมาปานเชือดเนื้อมหาชนบนแผ่นเขียง ต่อจากนั้น ก็บันดาลถ่านเพลิงมีสีดังดอกทองกวาวปราศจากเถ้าและควัน บันดาลก้อนหินขนาดเรือนยอด บันดาลทรายละเอียดที่กอบกำไม่อยู่ให้ตกลงมา ถมพื้นที่สูงขึ้นถึง 80 ศอก ในแว่นแคว้นของพระราชา มนุษย์ 3 คน คือ ท่านกี วัจฉดาบส ท่านเสนาบดี และคนที่ยินดีเลี้ยงดูมารดา เป็นผู้ไม่มีโรค ในแหล่งน้ำดื่ม ก็ไม่มีน้ำดื่ม ในแหล่งหญ้าก็ไม่มีหญ้าสำหรับสัตว์ดิรัจฉานที่เหลือ ผู้ไม่ได้ร่วมในกรรมนั้นสัตว์ดิรัจฉานเหล่านั้นก็ไปยังแหล่งที่มีน้ำดื่ม มีหญ้า ไม่ทันถึง 7 วัน ก็พากันไปนอกราชอาณาจักร 

     จากเรื่องนี้เราจะเห็นว่า นางคณิกา พราหมณ์ปุโรหิต พระราชา เป็นพวกโมหจริตแล้วยังไปทำให้พวกข้าราชบริพารที่ติดตามมาทั้งหมดกับมหาชนชาวนครทั้งหมด พลอยหลงผิดตามไปด้วย ได้สร้างกรรมทำไม่ดีต่อพระดาบสผู้บริสุทธิ์ไม่ประทุษร้ายตอบส่งผลให้เทวดาเกิดพิโรธ จึงได้ทำลายชีวิตและเมืองทั้งเมืองของพระราชาให้พินาศแล้ว ทั้งนี้เป็นโทษของความเป็นโมหจริตนั่นเอง คือ เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา ไม่รู้จักว่า นักบวชคือผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ เป็นเนื้อนาบุญ เป็นผู้ควรเคารพกราบไหว้ให้การปกป้องคุ้มครอง เป็นผู้ควรถวายปัจจัยสี่ ฯลฯ แต่กลับมีความเชื่อแบบผิด ๆ คิดว่าท่านเป็นตัวกาลกิณี แล้วยังไปเบียดเบียนทำร้ายท่านอีก จึงต้องประสบกับผลกรรมอันน่าสยดสยอง


4. ตัวอย่างเรื่องวิตกจริต
นักขัตตชาดก

      พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภอาชีวกคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้

     ได้ยินว่า กุลบุตรชาวบ้านนอกผู้หนึ่ง ไปขอกุลธิดานางหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี ให้แก่ลูกชายของตน นัดหมายวันกันว่าในวันโน้น จักมารับเอาตัวไป ครั้นถึงวันนัดจึงถามอาชีวก ผู้เข้าไปสู่ตระกูลของตนว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ วันนี้พวกผมจักทำมงคลอย่างหนึ่ง ฤกษ์ดีไหมครับอาชีวกนั้นโกรธอยู่แล้วว่าคนผู้นี้ครั้งแรกไม่ถามเราเลย บัดนี้เลยวันไปแล้วกลับมาถามเรา เอาเถิดจักต้องสั่งสอนเขาเสียบ้าง จึงพูดว่า วันนี้ฤกษ์ไม่ดี พวกท่านอย่ากระทำการมงคลในวันนี้เลย ถ้าขืนทำ จักพินาศใหญ่ พวกมนุษย์ในตระกูลพากันเชื่ออาชีวกนั้น ไม่ไปรับตัวในวันนั้น ฝ่ายพวกชาวเมืองจัดการมงคลไว้พร้อมแล้ว ไม่เห็นพวกนั้นมา ก็กล่าวว่า พวกนั้นกำหนดไว้วันนี้ แล้วก็ไม่มา แม้การงานของพวกเราก็ใกล้จะสำเร็จแล้ว เรื่องอะไรจักต้องไปคอยพวกนั้น จักยกธิดาของเราให้คนอื่นไป แล้วก็ยกธิดาให้แก่ตระกูลอื่นไป ด้วยการมงคลที่เตรียมไว้นั้นแหละ ครั้นวันรุ่งขึ้นพวกที่ขอไว้ก็พากันมาถึง แล้วกล่าวว่า พวกท่านจงส่งตัวเจ้าสาวให้พวกเราเถิด ทันใดนั้นชาวเมืองสาวัตถี ก็พากันบริภาษพวกนั้นว่า พวกท่านสมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นคนบ้านนอก ขาดความเป็นผู้ดี เป็นคนลามก กำหนดวันไว้แล้ว ดูหมิ่นเสียไม่มาตามกำหนด เชิญกลับไปตามทางที่มากันนั่นแหละ พวกเรายกเจ้าสาวให้คนอื่นแล้ว พวกชาวบ้านนอก ก็พากันทะเลาะกับชาวเมือง ครั้นไม่ได้เจ้าสาว ก็ต้องพากันไปตามทางที่มานั่นเอง

    เรื่องที่อาชีวกกระทำอันตรายงานมงคล ของมนุษย์เหล่านั้น ปรากฏว่ารู้กันทั่วไปในระหว่างภิกษุทั้งหลาย และภิกษุเหล่านั้นประชุมกันในธรรมสภา นั่งพูดกันว่า อาวุโสทั้งหลายอาชีวกกระทำอันตรายงานมงคลของตระกูลเสียแล้ว พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอกำลังสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ครั้นภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่าภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่อาชีวกกระทำอันตราย งานมงคลของตระกูลนั้นเสีย แม้ในกาลก่อนก็โกรธคนเหล่านั้น กระทำอันตรายงานมงคลเสียแล้วเหมือนกันแล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้

    ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี ชาวพระนครพากันไปสู่ขอธิดาของชาวชนบท กำหนดวันแล้ว ถามอาชีวกผู้คุ้นเคยกันว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ วันนี้ผมจะกระทำงานมงคลสักอย่างหนึ่ง ฤกษ์ดีไหมขอรับ อาชีวกนั้นโกรธอยู่แล้วว่า คนพวกนี้กำหนดวันเอาตามพอใจตน บัดนี้ กลับถามเรา คิดต่อไปว่า ในวันนี้เราจักทำการขัดขวางงานของคนเหล่านั้นเสีย แล้วกล่าวว่า วันนี้ฤกษ์ไม่ดี ถ้ากระทำการมงคลจักพากันถึงความพินาศใหญ่คนเหล่านั้นพากันเชื่ออาชีวกจึงไม่ไปรับเจ้าสาว ชาวชนบททราบว่า พวกนั้นไม่มา ก็พูดกันว่าพวกนั้นกำหนดวันไว้วันนี้ แล้วก็ไม่มา ธุระอะไรจักต้องคอยคนเหล่านั้น แล้วก็ยกธิดาให้แก่คนอื่น รุ่งขึ้น ชาวเมืองพากันมาขอรับเจ้าสาว ชาวชนบทก็พากันกล่าวว่า พวกท่านขึ้นชื่อว่าเป็นชาวเมือง แต่ขาดความเป็นผู้ดี กำหนดวันไว้แล้ว แต่ไม่มารับเจ้าสาว เพราะพวกท่านไม่มา เราจึงยกให้คนอื่นไป ชาวเมืองกล่าวว่า พวกเราถามอาชีวกดู ได้ความว่า ฤกษ์ไม่ดี จึงไม่มา จงให้เจ้าสาวแก่พวกเราเถิด ชาวชนบทแย้งว่า เพราะพวกท่านไม่มากัน พวกเราจึงยกเจ้าสาวให้คนอื่นไปแล้ว คราวนี้จักนำตัวเจ้าสาวที่ให้เขาไปแล้วมาอีกได้อย่างไรเล่า เมื่อคนเหล่านั้นโต้เถียงกันไป โต้เถียงกันมา อยู่อย่างนี้ ก็พอดีมีบุรุษผู้เป็นบัณฑิตชาวเมืองคนหนึ่ง ไปชนบทด้วยกิจการบางอย่าง ได้ยินชาวเมืองเหล่านั้นกล่าวว่า พวกเราถามอาชีวกแล้ว จึงไม่มาเพราะฤกษ์ไม่ดี ก็พูดว่าฤกษ์จะมีประโยชน์อะไร เพราะการได้เจ้าสาวก็เป็นฤกษ์อยู่แล้ว มิใช่หรือ  ดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้

"ประโยชน์ผ่านพ้นคนโง่ ผู้มัวคอยฤกษ์ยามอยู่
ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์
ดวงดาวทั้งหลาย จักทำอะไรได้" ดังนี้

      พวกชาวเมือง ทะเลาะกับพวกนั้นแล้ว ก็ไม่ได้เจ้าสาวอยู่นั่นเอง เลยพากันไป

   แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่อาชีวกนั้นทำการขัดขวางงานมงคลของตระกูลนั้น ถึงในครั้งก่อน ก็ได้กระทำแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาตรัสแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่าอาชีวกในครั้งนั้น ได้มาเป็นอาชีวกในครั้งนี้ แม้ตระกูลทั้งนั้นในครั้งนั้น ก็ได้มาเป็นตระกูลในครั้งนี้ส่วนบุรุษผู้เป็นบัณฑิตผู้ยืนกล่าวคาถา ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล

     จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า กุลบุตรชาวบ้านนอกที่ไปขอกุลธิดานางหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี ให้แก่ลูกชายของตนผู้นี้ เป็นผู้มีวิตกจริต ไม่กล้าตัดสินใจเดินทางไปรับตัวเจ้าสาวในวันที่ได้นัดหมายไว้แล้ว เพราะมัวแต่คอยฤกษ์คอยยามสุดท้ายทางฝ่ายผู้ปกครองของเจ้าสาวจึงตัดสินใจยกบุตรสาวไปให้กับคนอื่นแทน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเสวยพระชาติ (เกิด) เป็นบุรุษผู้บัณฑิตในกาลนั้น ได้กล่าวคาถาไว้ว่า "ประโยชน์ผ่านพ้นคนโง่ ผู้มัวคอยฤกษ์ยามอยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวทั้งหลาย จักทำอะไรได้"

     นี่ก็คือโทษของการเป็นผู้มีวิตกจริต คือไม่มีวิจารณญาณ มีแต่ความกังวลหวาดวิตกมากจนเกินไป ลังเลไม่กล้าตัดสินใจ จนทำให้พลาดโอกาสที่ดีไปได้ในที่สุด


5. ตัวอย่างเรื่องสัทธาจริต
ประวัติพระวักกลิเถระ

    ในอดีตกาล ครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า พระเถระนี้ไปวิหารยืนฟังธรรมท้ายบริษัทโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธา จึงคิดว่า แม้เราก็ควรเป็นเช่นนี้ในอนาคตกาล จึงนิมนต์พระศาสดาโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ถวายมหาทาน 7 วัน ถวายบังคมพระทศพลแล้วกระทำความปรารถนาว่า พระเจ้าข้า ด้วยกุศลกรรมอันนี้ ขอข้าพระองค์พึงเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธา ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตเหมือนภิกษุที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะของเหล่าภิกษุผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธา พระศาสดาทรงเห็นว่าท่านไม่มีอันตรายจึงทรงพยากรณ์ แล้วเสด็จกลับไป

    ฝ่ายท่านกระทำกุศลตลอดชีพแล้วเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ถือเอาปฏิสนธิในตระกูลพราหมณ์กรุงสาวัตถี ครั้งพระศาสดาของเรา ญาติทั้งหลายได้ขนานนามของท่านว่า วักกลิ ท่านเจริญวัยแล้ว เรียนไตรเพท เห็นพระทศพลมีภิกษุสงฆ์แวดล้อมเสด็จจาริกในกรุงสาวัตถีตรวจดูสรีรสมบัติของพระศาสดา ไม่อิ่มด้วยการเห็นสรีรสมบัติ จึงเที่ยวไปพร้อมกับพระทศพลนั้นด้วย เสด็จไปวิหารก็ไปกับพระทศพล ยืนมองความสำเร็จแห่งพระสรีรสมบัติอยู่เทียว ยืนฟังธรรมในที่เฉพาะพระพักตร์แห่งพระศาสดาผู้ประทับนั่งตรัสธรรมในธรรมสภา ท่านได้ศรัทธาแล้วคิดว่า เราอยู่ครองเรือนไม่ได้ เห็นพระทศพลเป็นนิตย์ จึงทูลขอบรรพชา บวชแล้วในสำนักของพระศาสดา ตั้งแต่นั้น เว้นเวลากระทำอาหาร ในเวลาที่เหลือยืนอยู่ในที่ที่ยืนเห็นพระทศพลจึงละโยนิโสมนสิการเสีย อยู่ดูพระทศพลอย่างเดียว พระศาสดาทรงรอให้ญาณของท่านสุกเสียก่อน เมื่อท่านเที่ยวไปดูรูปในที่นั้น ๆ เป็นเวลายาวนานก็ไม่ตรัสอะไร ทรงทราบว่า บัดนี้ญาณของท่านแก่กล้าแล้ว ท่านอาจตรัสรู้ได้ จึงตรัสอย่างนี้ว่า วักกลิ ท่านจะประโยชน์อะไรด้วยมองรูปกายอันเปอยเน่านี้ที่ท่านเห็น วักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม วักกลิ เห็นธรรมจึงจะชื่อว่าเห็นเรา เมื่อพระศาสดาแม้ทรงโอวาทอยู่อย่างนี้พระเถระก็ไม่อาจละการดูพระทศพลแล้วไปในที่อื่น

     แต่นั้นพระศาสดาทรงดำริว่า ภิกษุนี้ไม่ได้ความสังเวชจักไม่ตรัสรู้ เมื่อใกล้เข้าพรรษาทรงประกาศขับไล่พระเถระนั้นว่า วักกลิ จงหลีกไป ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงมีพระดำรัสที่พึงยึดถือ เพราะฉะนั้นพระเถระจึงยืนโต้ตอบพระศาสดาไม่ได้ ไม่บังอาจมาเฉพาะพระพักตร์พระทศพล คิดว่า บัดนี้เราจะทำอย่างไรได้ เราถูกพระตถาคตประณามเสียแล้ว เราก็ไม่ได้อยู่ต่อหน้าพระองค์ ประโยชน์อะไรด้วยชีวิตของเรา จึงขึ้นสู่ที่เขาขาดที่เขาคิชฌกูฏ พระศาสดาทรงทราบว่า พระเถระนั้นมีความลำบาก ทรงดำริว่า ภิกษุนี้เมื่อไม่ได้ความปลอบใจจากเรา ก็จะพึงทำลายอุปนิสัยแห่งมรรคผลเสีย จึงทรงเปล่งรัศมีไปแสดงพระองค์ ครั้งนั้น ตั้งแต่พระวักกลินั้นเห็นพระศาสดาก็ละความโศกศัลย์อย่างใหญ่ ด้วยประการฉะนี้

     พระศาสดาเพื่อจะให้พระวักกลิเถระเกิดปีติโสมนัสแรงขึ้น เหมือนหลั่งกระแสน้ำลงในสระที่แห้ง จึงตรัสพระคาถาในพระธรรมบทว่า

ปาโมชฺชพหุโล ภิกฺขุ ปสนฺโน พุทฺธสาสเน
อธิคจฺเฉ ปทํ สนฺตํ สงฺขารุปสมํ สุขนฺติ
ภิกษุผู้มากด้วยความปราโมทย์ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
จะพึงบรรลุบทอันสงบที่ระงับสังขาร เป็นความสุขดังนี้

    อนึ่ง พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ประทานแก่พระวักกลิเถระว่า มาเถิดวักกลิ พระเถระบังเกิดปีติอย่างแรงว่า เราเห็นพระทศพลแล้ว ได้รับพระดำรัสตรัสเรียกว่า มาเถิดวักกลิ ทั้งที่ไม่รู้ว่าการไปของตนจะไปทางไหน แต่ได้ลอยไปในอากาศมาปรากฏต่อพระพักตร์พระทศพลพอเท้าแรกเหยียบบนภูเขา นึกถึงพระดำรั ที่พระศาสดาตรัสแล้ว ข่มปีติในอากาศนั่นเอง บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ลงมาถวายบังคมพระตถาคต ภายหลังพระศาสดาประทับนั่งท่ามกลางหมู่พระอริยะ ทรง ถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธา

     จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า พระวักกลิ เป็นผู้มีสัทธาจริต โดยเฉพาะท่านมีความศรัทธาต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแรงกล้า พระพุทธองค์ทรงรอให้อินทรีย์บารมีของพระวักกลิแก่กล้าเสียก่อน จึงทรงใช้พุทธานุภาพไปแสดงตนต่อหน้าพระวักกลิแล้วตรัสพระคาถาให้ฟัง จนท่านเกิดปีติอย่างแรงกล้า และเมื่อข่มปีติได้ แล้วตรองตามพระคาถาของพระพุทธองค์ ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ในที่สุด ต่อมาท่านได้รับแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้เป็นยอดกว่าเหล่าพระภิกษุทั้งหมด ด้านผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธา


6. ตัวอย่างเรื่องพุทธิจริต
เรื่องบัณฑิตสามเณร

      สามเณรเมื่อไปกับพระอุปัชฌาย์ เห็นเหมืองในระหว่างทางจึงเรียนถามว่า" นี้ชื่ออะไรขอรับ

      พระเถระ. ชื่อว่าเหมืองสามเณร

      สามเณร. เขาทำอะไร ด้วยเหมืองนี้

      พระเถระ. เขาไขน้ำจากที่นี้ ๆ แล้ว ทำการงานเกี่ยวด้วยข้าวกล้าของตน

      สามเณร. ก็น้ำมีจิตไหม ขอรับ

      พระเถระ. ไม่มี เธอ

      สามเณร. ชนทั้งหลายย่อมไขน้ำที่ไม่มีจิตเห็นปานนี้สู่ที่ ๆ ตนปรารถนาแล้ว ๆ ได้หรือขอรับ

      พระเถระ. ได้ เธอ

     สามเณรนั้น คิดว่า "ถ้าคนทั้งหลายไขน้ำซึ่งไม่มีจิตแม้เห็นปานนี้สู่ที่ ๆ ตนปรารถนาแล้ว ๆ ทำการงานได้ เหตุไฉน คนมีจิตแท้ ๆ จักไม่อาจเพื่อทำจิตของตนให้เป็นไปในอำนาจแล้ว บำเพ็ญสมณธรรม"

     เธอเดินต่อไปเห็นพวกช่างศรกำลังเอาลูกศรลนไฟแล้ว เล็งด้วยหางตา ดัดให้ตรง จึงเรียนถามว่า "พวกนี้ ชื่อพวกอะไรกัน ขอรับ"

       พระเถระ. ชื่อช่างศร เธอ

       สามเณร. ก็พวกเขา ทำอะไรกัน

       พระเถระ. เขาลนที่ไฟ แล้วดัดลูกศรให้ตรง

       สามเณร. ลูกศรนั่น มีจิตไหม ขอรับ

       พระเถระ. ไม่มีจิต เธอ

      เธอคิดว่า "ถ้าคนทั้งหลายถือเอาลูกศรอันไม่มีจิตลนไฟแล้วดัดให้ตรงได้ เพราะเหตุไรแม้คนมีจิต จึงจักไม่อาจเพื่อทำจิตของตนให้เป็นไปในอำนาจ แล้วบำเพ็ญสมณธรรมเล่า"

    ครั้นสามเณรเดินต่อไป เห็นชนถากไม้ทำเครื่องทัพสัมภาระมีกำกงและดุมเป็นต้น จึงเรียนถามว่า "พวกนี้ ชื่อพวกอะไร ขอรับ"

      พระเถระ. ชื่อช่างถาก เธอ

      สามเณร. ก็พวกเขา ทำอะไรกัน

      พระเถระ. เขาถือเอาไม้แล้วทำล้อแห่งยานน้อยเป็นต้น เธอ

      สามเณร. ก็ไม้เหล่านั่น มีจิตไหม ขอรับ

      พระเถระ. ไม่มีจิต เธอ

     ที่นั้น เธอได้มีความตริตรองอย่างนี้ว่า "ถ้าคนทั้งหลายถือเอาท่อนไม้ที่ไม่มีจิต ทำเป็นล้อเป็นต้นได้ เพราะเหตุไร คนผู้มีจิตจึงจักไม่อาจทำจิตของตนให้เป็นไปในอำนาจแล้วบำเพ็ญสมณธรรมเล่า

    เธอเห็นเหตุเหล่านี้แล้ว จึงเรียนว่า "ใต้เท้าขอรับ ถ้าใต้เท้าควรถือบาตรและจีวรของใต้เท้าได้ กระผมพึงกลับ" พระเถระมิได้เกิดความคิดเลยว่า "เจ้าสามเณรเล็กนี้บวชได้หยก ๆ ตามเรามา กล่าวอย่างนี้ได้" กลับกล่าวว่า "จงเอามาสามเณร" แล้วได้รับบาตรและจีวรของตนไว้

     ฝ่ายสามเณรไหว้พระอุปัชฌาย์แล้ว เมื่อจะกลับ จึงเรียนว่า "ใต้เท้า เมื่อจะนำอาหารมาเพื่อกระผม พึงนำมาด้วยรสปลาตะเพียนเถอะขอรับ"

     พระเถระ. เราจักได้ ในที่ไหนเล่า เธอ

      สามเณรเรียนว่า "ถ้าไม่ได้ด้วยบุญของใต้เท้า ก็จักได้ด้วยบุญของกระผม ขอรับ"

    พระเถระวิตกว่า แม้อันตรายจะพึงมีแก่สามเณรเล็กผู้นั่งข้างนอก จึงได้ให้ลูกดาลไปแล้วบอกว่า "ควรเปิดประตูห้องอยู่ของฉันแล้ว เข้าไปนั่งเสียภายใน" เธอได้กระทำอย่างนั้นแล้วนั่งหยั่งความรู้ลงในกรัชกายของตน พิจารณาอัตภาพอยู่

     ครั้งนั้น ที่ประทับนั่งของท้าวสักกะ แสดงอาการร้อนด้วยเดชแห่งคุณ ของสามเณรนั้นท้าวเธอใคร่ครวญว่า "จักมีเหตุอะไรกันหนอ" ทรงดำริได้ว่า "บัณฑิตสามเณรถวายบาตรและจีวรแก่พระอุปัชฌาย์แล้วกลับ ด้วยตั้งใจว่า 'จักทำ มณธรรม' แม้เราก็ควรไปในที่นั้น" ดังนี้แล้ว ตรัสเรียกท้าวมหาราชทั้ง 4 มา ตรัสว่า "พวกท่านจงไปไล่นกที่บินจอแจอยู่ในป่าใกล้วิหารให้หนีไป แล้วยึดอารักขาไว้โดยรอบ" ตรัสกะจันทเทพบุตรว่า "ท่านจงฉุดรั้งมณฑลพระจันทร์ไว้" ตรัสกะสุริยเทพบุตรว่า "ท่านจงฉุดรั้งมณฑลพระอาทิตย์ไว้" ดังนี้แล้ว พระองค์เองได้เสด็จไปประทับยืนยึดอารักขาอยู่ที่สายยู ในวิหารแม้เสียงแห่งใบไม้แก่ก็มิได้มี จิตของสามเณรได้มีอารมณ์เป็นหนึ่งแล้ว เธอพิจารณาอัตภาพแล้ว บรรลุผล 3 อย่างในระหว่างภัตนั้นเอง

     ฝ่ายพระเถระ คิดว่า "สามเณรนั่งแล้วในวิหาร เราอาจจะได้โภชนะที่สมประสงค์แก่เธอในสกุลชื่อโน้น" ดังนี้แล้ว จึงได้ไปสู่ตระกูลอุปัฏฐาก ซึ่งประกอบด้วยความรักและเคารพตระกูลหนึ่ง ก็ในวันนั้น มนุษย์ทั้งหลายในตระกูลนั้น ได้ปลาตะเพียนหลายตัวนั่งดูการมาแห่งพระเถระอยู่เทียว พวกเขาเห็นพระเถระกำลังมาจึงกล่าวว่า "ท่านขอรับ ท่านมาที่นี้ ทำกรรมเจริญแล้ว" แล้วนิมนต์ให้เข้าไปข้างใน ถวายข้าวยาคูและของควรเคี้ยวเป็นต้นแล้ว ได้ถวายบิณฑบาตด้วยร ปลาตะเพียน พระเถระแสดงอาการจะนำไป พวกมนุษย์เรียนว่า "นิมนต์ฉันเถิดขอรับ ใต้เท้าจักได้แม้ภัตสำหรับจะนำไป" ในเวลาเสร็จภัตตกิจของพระเถระ ได้เอาโภชนะประกอบด้วยรสปลาตะเพียน ใส่เต็มบาตรถวายแล้ว พระเถระคิดว่า "สามเณรของเราหิวแล้ว"จึงได้รีบไป

    แม้พระศาสดา ในวันนั้น เสวยแต่เช้าทีเดียว เสด็จไปวิหาร ทรงใคร่ครวญว่า "บัณฑิตสามเณรให้บาตรและจีวรแก่พระอุปัชฌาย์แล้วกลับไป ด้วยตั้งใจว่า 'จักทำสมณธรรม' กิจแห่งบรรพชิตของเธอจักสำเร็จหรือไม่" ทรงทราบว่าสามเณรบรรลุผล 3 อย่างแล้วจึงทรงพิจารณาว่า "อุปนิสัยแห่งพระอรหัตจะมีหรือไม่มี" ทรงเห็นว่า "มี" แล้วทรงใคร่ครวญว่า "เธอจักอาจเพื่อบรรลุพระอรหัตก่อนภัตทีเดียว หรือจักไม่อาจ" ได้ทรงทราบว่า "จักอาจ" ลำดับนั้นพระองค์ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า "สารีบุตร ถือภัตเพื่อสามเณรรีบมา เธอจะพึงทำอันตรายแก่สามเณรนั้นก็ได้ เราจักนั่งถือเอาอารักขาที่ซุ้มประตู ทีนั้นจักถามปัญหา 4 ข้อกะเธอ เมื่อเธอแก้อยู่สามเณรจักบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา" ดังนี้แล้ว จึงเสด็จไปจากวิหารนั้นประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตู ตรัสถามปัญหา 4 ข้อกะพระเถระผู้มาถึงแล้ว

    เมื่อพระเถระแก้ปัญหาทั้ง 4 ข้อเหล่านี้ อย่างนั้นแล้วสามเณรก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ฝ่ายพระศาสดา ตรัสกะพระเถระว่า "ไปเถิดสารีบุตร จงให้ภัตแก่สามเณรของเธอ" พระเถระไปเคาะประตูแล้วสามเณรออกมารับบาตรจากมือพระเถระ วางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว จึงเอาพัดก้านตาลพัดพระเถระ ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะเธอว่า "สามเณรจงทำภัตตกิจเสียเถิด"

     สามเณร. ก็ใต้เท้าเล่า ขอรับ

     พระเถระ. เราทำภัตตกิจเสร็จแล้ว เธอจงทำเถิด

   เด็กอายุ 7 ขวบ บวชแล้ว ในวันที่ 8 บรรลุพระอรหัต เป็นเหมือนดอกปทุมที่แย้มแล้วในขณะนั้น ได้นั่งพิจารณาที่เป็นที่ใส่ภัตทำภัตตกิจแล้ว ในขณะที่เธอล้างบาตรเก็บไว้ จันทเทพบุตรปล่อยมณฑลพระจันทร์สุริยเทพบุตรปล่อยมณฑลพระอาทิตย์ ท้าวมหาราชทั้ง 4 เลิกอารักขาทั้ง 4 ทิศ ท้าวสักกเทวราชเลิกอารักขาที่สายยู พระอาทิตย์เคลื่อนคล้อยไปแล้วจากที่ท่ามกลาง

   ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า "เงา บ่ายเกินประมาณแล้ว พระอาทิตย์เคลื่อนคล้อยไปจากที่ท่ามกลาง ก็สามเณรฉันเสร็จเดี๋ยวนี้เอง นี่เรื่องอะไรกันหนอ พระศาสดาทรงทราบความเป็นไปนั้นแล้วเสด็จมาตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไรกัน"

      พวกภิกษุ. เรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า

    พระศาสดาตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาผู้มีบุญทำสมณธรรม จันทเทพบุตรฉุดมณฑลพระจันทร์รั้งไว้สุริยเทพบุตรฉุดมณฑลพระอาทิตย์รั้งไว้ ท้าวมหาราชทั้ง 4 ถืออารักขาทั้ง 4 ทิศในป่าใกล้วิหาร ท้าวสักกเทวราชเสด็จมายึดอารักขาที่สายยู ถึงเราผู้มีความขวนขวายน้อยด้วยนึกเสียว่า 'เป็นพระพุทธเจ้า' ก็ไม่ได้เพื่อจะนั่งอยู่ได้ ยังได้ไปยึดอารักขาเพื่อบุตรของเรา ที่ซุ้มประตู พวกบัณฑิตเห็นคนไขน้ำกำลังไขน้ำไปจากเหมือง ช่างศรกำลังดัดลูกศรให้ตรง และช่างถากกำลังถากไม้แล้ว ถือเอาเหตุเท่านั้น ให้เป็นอารมณ์ ทรมานตนแล้ว ย่อมยึดเอาพระอรหัตไว้ได้ทีเดียว" ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล

    จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า บัณฑิตสามเณร เป็นผู้มีพุทธิจริต จึงสามารถคิดพิจารณาไตร่ตรองเหตุการณ์ที่ตนพบเจอระหว่างทางไปบิณฑบาต จนเกิดความอุตสาหะที่จะบำเพ็ญสมณธรรมจนกระทั่งได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด ความเป็นผู้ฉลาดคิดของผู้มีพุทธิจริตนั้น ย่อมนำมาซึ่งความสำเร็จและความสุขได้โดยไม่ยากเลย

 

2.3 ข้อควรรู้
     ต่อจากนี้ไปเราจะได้มาศึกษาถึงเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเรื่องจริตเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

ดัดจริตวิกลจริต
     ตามปกติ ถ้าจิตของเราเดินอยู่ในวิถี คือหมายความว่า เป็นจิตปกติสามัญอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ นี้ ที่จิตจะคิดทำอะไรก็ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของจริตที่มีอยู่ มีเหมือนกันที่บางคนริทำอะไรฝนจริตในบางครั้ง เช่น ตัวเป็นคนโทสจริต ไม่ค่อยชอบแต่งเนื้อแต่งตัว แต่ไปได้คู่รักเป็นคนราคจริต ชอบสวย ๆ งาม ๆ ตัวก็พยายามแต่งตัวทำทีว่าเป็นคนราคจริตเพื่อจะได้สบใจคนรัก การทำอย่างนี้เรียกว่า "ดัดจริต" คือ จริตของตัวเป็นอย่างหนึ่งแต่ดัดไปใช้จริตอีกอย่างหนึ่งแต่ก็รอดตานักสังเกตไปไม่ได้ เพราะเขาจะต้องพลั้งหาจริตเดิมจนได้ และแม้แต่ในขณะที่ "ดัดจริต" อยู่นั่นเอง ก็มีรายละเอียดบางอย่างที่ปิดไม่มิด อย่างเช่น การหวีผม ผูกเนกไท ใส่เสื้อเรียบหมดทุกอย่างแต่เชือกผูกรองเท้าสองข้างทำเงื่อนไม่เหมือนกัน หรือปล่อยเงื่อนเปะปะเท่านี้ก็รู้แล้วว่าเขาเป็นคนโทสจริต

     จิตของคนละทิ้งจริต ต่อเมื่อจิตออกนอกวิถี คือตามธรรมดา จิตของเราที่คิดอะไรอยู่ทุกวันนี้ ย่อมรับอารมณ์น่ารักบ้าง น่าชังบ้าง ทำให้เกิดความดีใจบ้าง เสียใจบ้าง แต่จะดีใจหรือเสียใจเท่าไร ๆ ก็ต้องไม่เกินอัตราวิถีกำหนดไว้ ถ้าดีใจหรือเสียใจเกินกำหนด จิตจะออกนอกวิถีไม่สามารถกลับเข้าสู่วิถีเดิมได้ ทีนี้ถ้าจิตดีใจหรือเสียใจเกินกำหนดออกไป จิตจะทิ้งจริต คือ ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของจริตแล้ว คนอย่างนี้เรียกว่า คน "วิกลจริต" หรือ "เสียจริต" ลงได้เป็นอย่างนี้แล้ว ก็กลายเป็นคนไม่มีจริต ภาษาชาวบ้านเรียกว่า "คนบ้า"

     ดังที่ได้กล่าวมาแต่ต้นแล้วว่า ในทางพุทธศาสนากล่าวถึงเหตุที่คนเรามีจริตแตกต่างกันนั้นเกิดจาก "กรรมในอดีต" และสัดส่วนองค์ประกอบของ "ธาตุทั้ง 4" ภายในร่างกายของแต่ละคน ดังนั้น จะได้ขยายความเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

สาเหตุของจริต ที่มาจาก กรรมที่ทำในอดีต

--ผู้สะสมกุศลกรรมไว้ในอดีตชาติ โดยอุบายวิธีที่น่ารักน่าชอบใจ กับ

--ผู้จุติจากสวรรค์ มาปฏิสนธิในโลก ...ส่วนใหญ่เป็นคนราคจริต

--ผู้ในอดีตชาติสั่งสมกรรมอันก่อเวร คือ การฆ่า ทรมาน จับกุมคุมขัง กับ

--ผู้จุติจากนรก หรือ กำเนิดงู มาปฏิสนธิโนโลก ...ส่วนใหญ่เป็นคนโทสจริต

--ผู้ในอดีตชาติ ดื่มน้ำเมามาก และเว้นจากการศึกษา ดับฟังสนทนาธรรม กับ

--ผู้จุติจากกำเนิดดิรัจฉาน มาปฏิสนธิในโลก ...ส่วนใหญ่เป็นคนโมหจริต


สาเหตุของจริต ที่มาจากสัดส่วนองค์ประกอบของ ธาตุทั้ง 4

    หลักเกณฑ์เกี่ยวกับทางธาตุร่างกาย ซึ่งเป็นความวิปริตทางร่างกาย เกี่ยวกับจริตท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ดังต่อไปนี้ว่า

คนราคจริต ธาตุทั้ง 4 ในตัวคือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ มีส่วนผสมเท่ากัน
คนโทสจริต ธาตุไฟกับธาตุลมแรงไป
คนโมหจริต แรงทางธาตุดินกับธาตุน้ำ

     นอกจากนี้ยังได้พูดถึงว่า

คนราคจริต ยิ่งด้วยเสมหะ
คนโทสจริต ยิ่งด้วยน้ำดี
คนโมหจริต ยิ่งด้วยลม

    หมายเหตุสาเหตุของจริต ทั้งที่มาจากกรรมในอดีตและธาตุทั้ง 4 นั้น ยังกำหนดเอาแน่นอนไม่ได้ จึงให้ศึกษาไว้เป็นเพียงเกร็ดความรู้ ยังใช้เป็นกฎเกณฑ์ตายตัวไม่ได้ในทุก ๆ จริต


น้ำเลี้ยงหัวใจมีสีตามจริต
     ข้อควรทราบเบ็ดเตล็ดอีกอย่างหนึ่งคือ ในตำราทางพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงว่า จิตของคนเราอาศัยอยู่ในหทัยรูป ซึ่งหมายถึงก้อนเนื้อสัณฐานกลม ๆ ก้อนหนึ่งในทรวงอก ก้อนเนื้อที่เรียกว่าหทัยรูปนี้เรียกว่าหัวใจ ถ้าผ่าเข้าไปดูในใจกลางของเนื้อนั้น ท่านว่ามีแอ่งเล็ก ๆ อยู่แอ่งหนึ่ง ขนาดเมล็ดบุนนาควางลงได้ ในแอ่งนี้มีน้ำขังอยู่ประมาณกึ่งพายมือ เรียกว่าน้ำเลี้ยงหัวใจ
หรือพูดย่อๆว่า "น้ำใจ" จิตของคนเราอาศัยน้ำนี้อยู่


น้ำเลี้ยงหัวใจของคน มีสีต่าง ๆ กัน ตามอำนาจจริตของผู้นั้น ดังต่อไปนี้

1. คนราคจริต น้ำเลี้ยงหัวใจสีแดง
2. คนโทสจริต น้ำเลี้ยงหัวใจสีดำ
3. คนโมหจริต น้ำเลี้ยงหัวใจสีน้ำล้างเนื้อ
4. คนวิตกจริต น้ำเลี้ยงหัวใจสีเหมือนน้ำเยื่อถั่วพู
5. คนสัทธาจริต น้ำเลี้ยงหัวใจสีเหมือนดอกกรรณิการ์
6. คนพุทธิจริต น้ำเลี้ยงหัวใจใสแจ๋วมีแววเหมือนแก้วเจียระไน

     ข้อความเหล่านี้ เป็นเกร็ดความรู้ ประกอบการศึกษาค้นคว้าต่อไปสีของน้ำเลี้ยงหัวใจที่ระบุไว้นี้ หมายถึงสีน้ำใจของผู้มีจริตอย่างนั้น ๆ แต่โดยหลักเกณฑ์ที่เป็นจริง คนคนหนึ่งมีจริตหลายอย่าง เพราะฉะนั้นสีของน้ำจะต้องเป็นสีผสม เช่น คนมีราคจริตด้วย มีโทสจริตด้วยมีโมหจริตด้วย น้ำใจก็กลายเป็นว่าสีแดงสีดำสีน้ำล้างเนื้อ ท่านผู้อ่านคิดผสมเอาเองก็แล้วกันว่าจะเป็นสีอะไร


วิธีสังเกตจริต
    เราสามารถสังเกตได้จาก ลักษณะความประพฤติต่าง ๆ ได้แก่ ลักษณะการเดิน ลักษณะการยืนและนั่งลักษณะการนอน ลักษณะการทำงาน ลักษณะการนุ่งห่ม ลักษณะการบริโภคลักษณะการมองดูรูป และลักษณะของกิเลสที่แสดงออกมาให้เห็น เป็นต้น


อธิบายจาก ลักษณะการเดิน

--เมื่อจะเดินไปโดยการเดินไปตามปกติ จะเดินไปอย่างน่ารัก ค่อยๆวางเท้า วางเท้าลงด้วย ความเรียบร้อย ยกเท้าขึ้นด้วยความเรียบร้อย และรอยเท้าของเขาเป็นรอยเว้ากลาง ....นี้คือบุคคล ราคจริต (สัทธาจริต ก็คล้ายกัน)

--ย่อมเดินดุจใช้ปลายเท้าทั้งสองขุดพื้นดินไป ย่อมวางเท้าลงโดยเร็ว ยกเท้าขึ้นโดยเร็วและรอยเท้าของเขาเป็นรอยเท้าขยุ้มจิกลง ....นี้คือบุคคล โท จริต (พุทธิจริต ก็คล้ายกัน)

--เวลาเดินท่าทางงก ๆ เงิ่น ๆ จะวางเท้าลงก็เหมือนคนหวาดสะดุ้ง จะยกเท้าขึ้นก็เหมือนคนหวาดสะดุ้ง และรอยเท้าของเขาเป็นรอยเลอะเลือน ....นี้คือบุคคล โมหจริต (วิตกจริตก็คล้ายกัน)


อธิบายจาก ลักษณะการยืนและนั่ง

--มีลักษณะน่าเลื่อมใสมีอาการนุ่มนวล ....นี้คือบุคคล ราคจริต (สัทธาจริต ก็คล้ายกัน)

--มีลักษณะแข็งกระด้าง ....นี้คือบุคคล โทสจริต (พุทธิจริต ก็คล้ายกัน)

--มีอาการส่ายไปมา ....นี้คือบุคคล โมหจริต (วิตกจริต ก็คล้ายกัน)


อธิบายจาก ลักษณะการนอน

--ไม่รีบร้อน ปูที่นอนได้เรียบ แล้วค่อยๆล้มตัวลงนอน รวบอวัยวะใหญ่น้อยทั้งหลายดีแล้วจึงนอนหลับไป โดยอาการที่น่าเลื่อมใสและเมื่อถูกปลุกให้ลุกขึ้น จะไม่ลุกขึ้นโดยเร็ว จะค่อย ๆ ให้คำตอบขานรับ ราวกับว่ารังเกียจอยู่ ฉันนั้น ....นี้คือบุคคล ราคจริต (สัทธาจริต ก็คล้ายกัน)

--รีบร้อนปูที่นอน โดยอาการที่พอจะใช้ได้ ทิ้งกายลงนอนทำหน้านิ่ว และเมื่อถูกปลุกให้ลุกขึ้น จะลุกขึ้นโดยเร็ว ให้คำตอบราวกับว่าโกรธ ....นี้คือบุคคล โทสจริต (พุทธิจริต ก็คล้ายกัน)

--ปูที่นอนเป็นรูปน่าเกลียด มีกายเกะกะ มีอวัยวะขัดไปข้างนั้นข้างนี้ นอนคว่ำหน้าเป็นส่วนมาก และเมื่อถูกปลุกให้ลุกขึ้นจะทำเสียงครางอือ ๆ ลุกขึ้นเฉื่อยชา ....นี้คือบุคคล โมหจริต (วิตกจริต ก็คล้ายกัน)


อธิบายจาก ลักษณะการทำงาน

--การปัดกวาด จะจับไม้กวาดได้เหมาะเจาะดี ไม่รีบเร่ง ไม่ปัดกวาดสิ่งของให้กลาดเกลื่อน กวาดได้หมดจด เรียบร้อย ....นี้คือบุคคล ราคจริต (สัทธาจริต ก็คล้ายกัน)

--การปัดกวาด จะจับไม้กวาดแน่น มีท่าทางเร่งรีบ ทำสิ่งของให้กระจัดกระจาย หรือพูนกันไปข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง มีเสียงกวาดอันดุดัน กวาดได้หมดจดแต่ไม่เรียบ ....นี้คือบุคคลโทสจริต (พุทธิจริต ก็คล้ายกัน)

--การปัดกวาด จะจับไม้กวาดหลวมๆ กวาดไปมาทำให้เปรอะ ไม่หมดจด ไม่เรียบร้อย....นี้คือบุคคล โมหจริต (วิตกจริต ก็คล้ายกัน)

หมายเหตุ การปัดกวาดเป็นเช่นนี้ฉันใด แม้ในบรรดากิจการงานอื่น ๆ ทั้งปวงมีการซักการย้อมจีวร เป็นต้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน รุปคือ บุคคลราคจริตเป็นผู้มีปกติกระทำให้ละเอียดนุ่มนวลเรียบร้อยและโดยเคารพ (สัทธาจริต ก็คล้ายกัน) บุคคลโท จริตเป็นผู้มีปกติกระทำได้มั่นคงเข้มแข็ง แต่ไม่เรียบร้อย (พุทธิจริต ก็คล้ายกัน) บุคคลโมหจริตเป็นผู้มีปกติกระทำได้ไม่ละเอียด ยุ่งเหยิง ไม่เรียบร้อย และให้สำเร็จรอบคอบไม่ได้ (วิตกจริต ก็คล้ายกัน)


อธิบายจาก ลักษณะการนุ่งห่ม
--การทรงจีวร ไม่รัดแน่นนัก ไม่หย่อนนัก เป็นปริมณฑลน่าเลื่อมใส....นี้คือบุคคลราคจริต (สัทธาจริต ก็คล้ายกัน)

--การทรงจีวร จะรัดแน่นเกินไป ไม่เป็นปริมณฑล ....นี้คือบุคคล โท จริต (พุทธิจริตก็คล้ายกัน)

--การทรงจีวร จะหย่อนรุงรัง ....นี้คือบุคคล โมหจริต (วิตกจริต ก็คล้ายกัน)


อธิบายจาก ลักษณะการบริโภค

--เป็นผู้ชอบใจในโภชนะที่ประณีต มีรสหวาน และเมื่อบริโภคจะทำให้เป็นคำไม่ใหญ่นักคือเป็นปริมณฑลพอเหมาะ เป็นผู้รู้จักร ไม่รีบร้อนบริโภค ได้โภชนะดีนิดหน่อยเท่านั้นก็จะถึงซึ่งความดีใจ ....นี้คือบุคคล ราคจริต (สัทธาจริต ก็คล้ายกัน)

--เป็นผู้ชอบใจในโภชนะอันหยาบๆ มีรสเปรี้ยว และเมื่อบริโภคจะทำให้เป็นคำใหญ่เต็มปาก เป็นผู้ไม่รู้จักร รีบร้อนบริโภค ได้โภชนะไม่ดีนิดหน่อยเท่านั้นก็จะถึงซึ่งความเสียใจ ....นี้คือบุคคล โทสจริต (พุทธิจริต ก็คล้ายกัน)

--เป็นผู้ชอบใจอะไรไม่แน่นอน และเมื่อบริโภคจะทำให้เป็นคำเล็กๆ ไม่เป็นปริมณฑลเหลือเมล็ดข้าวไว้ในภาชนะ ทำปากให้เปอน มีจิตฟุ้งซ่านนึกถึงเรื่องนั้นๆบริโภคไป ....นี้คือบุคคลโมหจริต (วิตกจริต ก็คล้ายกัน)


อธิบายจาก การมองดูรูป

--เห็นรูปที่รื่นรมย์ใจแม้สักนิดหน่อยก็จะแลดูอยู่นาน ราวกับว่าไม่เคยได้เห็น จะติดข้องอยู่แม้ในคุณสมบัติที่เล็กน้อยของรูปที่เห็น ไม่ถือเอาโทษสมบัติแม้ที่เห็นได้ชัดของรูปนั้น แม้เมื่อจะจากรูปนั้นไปแล้วก็ยังรู้สึกอาลัยคิดถึง ....นี้คือบุคคล ราคจริต (สัทธาจริต ก็คล้ายกัน)

--เห็นรูปที่ไม่น่ารื่นรมย์ใจแม้นิดหน่อยก็แลดูอยู่ได้ไม่นาน เหมือนมีท่าทางเหน็ดเหนื่อยจะรู้สึกเดือดร้อนใจอยู่ในโทษแม้เล็กน้อยของรูปที่ได้เห็นนั้น ไม่ถือเอาคุณของรูปแม้ที่เห็นได้ชัดแม้เมื่อจะจากรูปนั้นไป ก็เป็นเหมือนอยากจะไปให้พ้น ๆ ไม่รู้สึกอาลัยคิดถึง ....นี้คือบุคคล โทสจริต (พุทธิจริต ก็คล้ายกัน)

--เห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จะวางเฉยอย่างเดียวเพราะความไม่รู้ แต่เมื่อมีผู้อื่นติเตียนนินทาก็จะติเตียนนินทาตาม ถ้ามีผู้อื่นสรรเสริญก็จะ รรเสริญตาม แม้ในอาการอื่น ๆ มีการฟังเสียงเป็นต้น ก็มีนัยเดียวกันนี้ ก็ทำนองนี้ ....นี้คือบุคคล โมหจริต (วิตกจริต ก็คล้ายกัน)

หมายเหตุ การมองดูรูปเป็นเช่นนี้ฉันใด แม้ในการฟังเสียง การดมกลิ่น การลิ้มร การถูกต้องสัมผัสก็ฉันนั้นเหมือนกัน


อธิบายจาก ลักษณะของกิเลสที่แสดงออกมาให้เห็น

--มายา (ความประพฤติหลอกลวง)สาไถย (ความโอ้อวด) มานะ (ความถือตัว) ปาปิจฉตา (ความปรารถนาลามก หรือความปรารถนาในทางชั่ว) มหิจฉตา (ความมักมาก) อสันตุฏฐิตา (ความไม่สันโดษ)สิงคะ (ความรักใคร่) จาปัลยะ (ความฟุ้งเฟ้อ) ย่อมเป็นไปมากในบุคคลผู้มี ราคจริต

--โกธะ (ความโกรธ) อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) มักขะ (ความลบหลู่) ปลาสะ (ความแข่งดี) อิสา (ความริษยา) มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ย่อมเป็นไปมากในบุคคลผู้มี โท จริต

--ถีนะ (ความท้อถอยจากการงาน) มิทธะ (ความโงกง่วง) อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) กุกกุจจะ (ความหงุดหงิดรำคาญ) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) อาทานคาหิตา (ความยึดถือ)ทุปปฏินิสัคคิตา (ความเป็นคนที่มีความยึดถืออันผู้อื่นเปลื้องได้ยาก) ย่อมเป็นไปมากในบุคคลผู้มี โมหจริต

--ภัสสพหุลตา (ความเป็นผู้พูดมากกว่าทำ) คณารามตา (ความเป็นผู้ยินดีด้วยหมู่คณะ) กุสลานุโยเค อรติ (ความไม่ยินดีในการประกอบเนือง ๆ ซึ่งกุศล) อนวัฏฐิตกิจจตา (ความเป็นผู้มีกิจจับจด) รัตติธุมายนา (กลางคืนสุมควัน) ทิวาปัชชลนา (กลางวันไฟลุกเป็นเปลว) หุราหุรัง ธาวนา (ความพล่านไปข้างนั้นข้างนี้) ย่อมเป็นไปมากในบุคคลผู้มี วิตกจริต

--มุตตจาคตา (ความเป็นผู้มีความเสียสละหลุดพ้นจากไปได้) อริยานัง ทัสสนกามตา (ความเป็นผู้ใคร่จะพบเห็นพระอริยะเจ้าทั้งหลาย)สัทธัมมัง โสตุกามตา (ความเป็นผู้ใคร่จะฟังพระสัทธรรม) ปาโมชชพหุลตา (ความเป็นผู้มากไปด้วยความปราโมทย์) อสถตา (ความไม่โอ้อวด) อมายาวิตา (ความเป็นผู้ไม่มีมายา) ปสาทนีเยสุ ฐาเนสุ ปสาโท (ความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใสทั้งหลาย) ย่อมเป็นไปมากในบุคคลผู้มีสัทธาจริต

--โสวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่าง่าย) กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร) โภชเนมัตตัญุตา (ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ) สติสัมปชัญญะ (ความระลึกได้และความรู้ตัว)ชาคริยานุโยค (ความประกอบเนือง ๆ ซึ่งชาคริยธรรม คือ ไม่มักมากในการหลับ)สังเวชนีเยสุฐาเนสุสังเวคะ (ความสังเวชในฐานะที่ควรสังเวช)สังวิคคัสะ โยนิโสปธานะ (ความเพียรโดยแยบคายแห่งบุคคลผู้มีจิตสังเวช) ย่อมเป็นไปมากในบุคคลผู้มี พุทธิจริต


กัมมัฏฐานที่เหมาะกับจริต

--อสุภะ 10 กายคตาสติ 1 เหมาะกับบุคคลราคจริต

--พรหมวิหาร 4 วัณณกสิณ 4 เหมาะกับบุคคลโทสจริต

--อานาปานสติ เหมาะกับบุคคลโมหจริต และ วิตกจริต

--อนุสติ 6 เหมาะกับบุคคลสัทธาจริต

--มรณัสสติ อุปสมานุสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัฏฐาน เหมาะกับบุคคลพุทธิจริต

หมายเหตุ อรูป 4 ภูตกสิณ 4 อาโลกกสิณ อากา กสิณ เหมาะกับบุคคลทุกจริตจริตคนเปลี่ยนกันได้

    จริตของคนเราส่วนหนึ่งถ่ายทอดมาตั้งแต่ถือกำเนิด อีกส่วนหนึ่งเกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ครอบครัวสังคม การศึกษาฝึกฝนต่าง ๆ แม้ว่าจริตมนุษย์ยากต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่ก็จริง แต่ก็สามารถเปลี่ยนได้ เช่น เมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ต่างๆที่ถาโถมเข้ามาในชีวิตหรือได้รับการฝึกฝนอบรมโดยอาศัยหลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบกับการทำสมาธิเพื่อสร้างเสริมจิตใจให้เข้มแข็งเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองไม่ให้มีพฤติกรรมที่จะนำพาไปตามกิเลสตัณหา อุปาทานของแต่ละจริต แล้วให้พันาจุดแข็งที่ดีของแต่ละจริตที่ตนมีให้โดดเด่นขึ้นสามารถนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นได้

 

2.4 อานิสงส์
รู้จริตแล้วได้ประโยชน์อะไร
     ความสำเร็จในชีวิตไม่ว่าจะด้านการศึกษา การงาน ครอบครัว หรือด้านอื่น ๆ มีปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญที่สุด คือ ความสามารถในการทำหน้าที่และมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น จะต้องเข้าใจธรรมชาติของตนเองและผู้อื่นเป็นอย่างดี ว่ามีลักษณะนิสัยพื้นฐานเป็นอย่างไร รู้ข้อดีและข้อจำกัดของกันและกัน เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ในบทบาทของแต่ละคน ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในองค์กรและสังคมประเทศชาติ ซึ่งองค์ความรู้ด้านจริตนั้น จะช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของตนเองและผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้ง เพราะเป็นบุคลิกภาพพื้นฐานตามที่เป็นจริงในปัจจุบัน

     ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของการรู้จริตนั้น คือ ประโยชน์ด้านการพัฒนาตนเอง ทั้งในด้านการพัฒนาศักยภาพเพื่อการประกอบอาชีพ และการพัฒนาด้านจิต (อารมณ์) และจิตวิญญาณ (ปัญญา) ซึ่งต้องอาศัยการฝึกปฏิบัติธรรมที่เหมาะสมกับจริต ถึงจะได้ผลดี การรู้จริตของตน ทำให้เกิดการรับรู้ว่าจะต้องพันฒาตนเองอย่างไร มีสิ่งใดที่เหมาะสมอยู่แล้วมีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของตนเอง และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข


ประโยชน์ของการศึกษาเรื่องจริตต่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตร
   การศึกษาเรียนรู้เรื่องจริต ช่วยทำให้เราเข้าใจว่า มนุษย์มีอุปนิสัยต่างกัน ทั้งนี้อาจจะมาจากสิ่งแวดล้อม ครอบครัว หรือผ่านการฝึกฝนอบรมมาต่างกัน ดังนั้นจึงทำให้มี "จริต" ต่างกัน ซึ่งการจะทำหน้าที่กัลยาณมิตร ทั้งการให้สิ่งของ การให้ความช่วยเหลือ ตลอดจนการให้กำลังใจนั้น จำเป็นจะต้องเข้าใจในจริตหรืออุปนิสัยของแต่ละบุคคลด้วย จึงจะทำให้การทำหน้าที่กัลยาณมิตรนั้นเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างเต็มที่ เช่น รู้ว่าควรจะเลือกหัวข้อธรรมะไปแนะนำถ่ายทอดอย่างไรให้เหมาะสมกับจริตหรืออุปนิสัยของคนคนนั้น


ตัวอย่างหัวข้อธรรมะที่เหมาะกับจริตต่าง ๆ

--ราคจริต ได้แก่ อานิสงส์ผลบุญ การเสวยผลบุญของสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ธรรมะอันทำให้งาม อานิสงส์การประพฤติพรหมจรรย์ เป็นต้น

--โทสจริต ได้แก่ ผลกรรมในนรก อบายภูมิ การรักษาศีล อานิสงส์การแผ่เมตตา เป็นต้น

--โมหจริต ได้แก่ อานิสงส์การให้ทานรักษาศีล กุศลกรรมบถ 10สัมมาทิฏฐิ 10 เป็นต้น

--วิตกจริต ได้แก่ อานิสงส์การให้ทานรักษาศีล วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น เป็นต้น

--สัทธาจริต ได้แก่ อานุภาพผลแห่งบุญ อานุภาพของพระรัตนตรัย อานิสงส์การให้ธรรมทาน เป็นต้น

--พุทธิจริต ได้แก่ ธรรมะหมวดต่าง ๆ เช่น อิทธิบาท 4สังคหวัตถุ 4 ฆราวาสธรรม 4 จริต 6 มรรค 8 มงคลชีวิต 38 ประการ พระวินัยพระสูตรต่าง ๆ วิธีรักษาศีล วิธีฝึกสติ วิธีฝึกสมาธิ เป็นต้น

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 008 พุทธธรรม 2
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

**บทความ แนะนำ/เกี่ยวข้อง

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.025203247865041 Mins