มัตตัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักประมาณ)

วันที่ 29 กค. พ.ศ.2560

มัตตัญญุตา
(ความเป็นผู้รู้จักประมาณ)

พุทธธรรม 2 , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , มัตตัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักประมาณ) , มัตตัญญุตา

      จากการศึกษาขั้นตอนที่ผ่านมา ตั้งแต่ความเป็น ธัมมัญญู อัตถัญญู และอัตตัญญู ทำให้เราพอจะมองเห็นภาพวิธีการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนาอย่างเป็นขั้นตอนได้อย่างชัดเจนว่าพระภิกษุจะต้องเริ่มต้นจากการศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน ว่าพระองค์ทรงสอนอะไร หลังจากนั้นจึงทำความเข้าใจนัยของธรรมะนั้น ๆ แล้วจึงน้อมนำมาฝึกหัดปฏิบัติให้เกิดผลเป็นคุณธรรมภายใน ต่อมาจึงประเมินคุณธรรมนั้นว่ามีมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะได้ปรับปรุงและพันาวิธีการฝึกของตนเองให้ดียิ่งๆขึ้นไปอีก ดังนั้นพระภิกษุเมื่อผ่านการฝึกใน 3 ขั้นตอนแรกได้แล้ว จึงต้องฝึกในขั้นตอนที่ 4 คือ มัตตัญญู ต่อไป

       พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงวิธีการฝึกตนเองให้เป็นมัตตัญญูบุคคล ไว้ดังนี้

    "ก็ภิกษุเป็นมัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้จักประมาณในการรับ จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หากภิกษุไม่พึงรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นมัตตัญู แต่เพราะภิกษุรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญู ด้วยประการฉะนี้."


คำแปลและความหมาย
     คำว่า มัตตัญญู แปลว่า รู้ประมาณ ซึ่งในอรรถกถาขยายความเพิ่มเติมไว้ว่า คือ การรู้จักความพอดี พอควร และพอประมาณ

     คำว่า จีวร หมายถึง ผ้า ซึ่งพระภิกษุนำมาใช้สอยด้วยวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป เช่น ใช้เป็นผ้านุ่งห่ม ที่เรียกว่าไตรจีวร หรือผ้าสำหรับใช้นุ่งอาบน้ำ หรือผ้าที่ใช้รองนั่ง เป็นต้น แต่สำหรับคนทั่ว ๆ ไป จีวรมีความหมายเช่นเดียวกับเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม

     คำว่า บิณฑบาต หมายถึง อาหาร

     คำว่า เสนาสนะ มาจากคำ 2 คำ คือ เสนะ แปลว่า ที่นอน และอา นะ แปลว่า ที่นั่งรวมความแล้วคือที่นอนที่นั่ง ซึ่งในที่นี้หมายถึง กุฏิ วิหาร และเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับสถานที่อยู่อาศัย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น

    คำว่า คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หมายถึง ปัจจัยสำหรับคนไข้ ซึ่งก็คือยารักษาโรค และอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรค

      ทั้ง 4 อย่างนี้ คือปัจจัย 4 ที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค

     ดังนั้น มัตตัญญู จึงหมายถึง ความเป็นผู้รู้จักพอดี พอควร และพอประมาณ ในการรับปัจจัย 4 และสิ่งที่เนื่องด้วยปัจจัย 4

     เพราะฉะนั้นสิ่งที่พระภิกษุควรศึกษาและฝึกปฏิบัติต่อไปให้ได้ คือ การเป็นผู้รู้จักประมาณในการรับปัจจัย 4 นั่นเอง


ทัศนคติเกี่ยวกับปัจจัย 4
      เราพอจะสรุปแนวความเห็นสำคัญในทางพระพุทธศาสนา ที่มีต่อปัจจัย 4 ได้อย่างน้อย 3 ประเด็น คือ

    1. ปัจจัย 4 เป็นความจำเป็นพื้นฐานของชีวิต (Basic Need) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นความสำคัญว่าปัจจัย 4 ทำให้ชีวิตดำรงต่อไปได้ และยังช่วยให้สามารถทำกิจวัตร

     กิจกรรมที่สำคัญของนักบวชได้เป็นปกติ แต่แม้ปัจจัย 4 จะมีความสำคัญเช่นนั้น ก็ใช่ว่าพระพุทธองค์จะทรงอนุญาตให้ใช้กันตามอำเภอใจ แต่กลับทรงสอนให้พระภิกษุรู้จักการใช้ปัจจัย 4 ให้ได้ตามวัตถุประสงค์ กล่าวคือ

จีวร หรือเครื่องนุ่งห่ม มีวัตถุประสงค์ในการใช้ดังนี้

1.สำหรับบรรเทาความหนาวและร้อน
2.สำหรับบรรเทาจากการถูกกัดหรือทำร้ายจากสัตว์และแมลง และบรรเทาการถูกลมหรือแดด
3. ใช้ปกปิดร่างกายไม่ให้อุจาดตา

อาหาร มีวัตถุประสงค์ในการบริโภคดังนี้

1. เพื่อให้ร่างกายยังคงอยู่ หรือมีชีวิตอยู่ได้
2. เพื่อให้ร่างกายเป็นไป คือสามารถทำกิจกรรมตามปกติได้
3. เพื่อให้ความลำบากทางกายที่เกิดจากความหิวหายไป
4. เพื่อให้สามารถประพฤติพรหมจรรย์ได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการฉันแต่พอดีแก่ความต้องการของร่างกาย คือ ฉันพอแค่อิ่มท้อง ไม่ฉันมากไปจนอึดอัด
5. เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้ และมีความสบายแก่ตัว

เสนาสนะ หรือที่พักอาศัย มีวัตถุประสงค์ในการใช้ดังนี้

1.สำหรับบรรเทาความหนาวและร้อน
2.สำหรับบรรเทาจากการถูกกัดหรือทำร้ายจากสัตว์และแมลง
3.สำหรับบรรเทาอันตรายที่เกิดในฤดูต่าง ๆ เช่น ความร้อน ความหนาว หรือฝน เป็นต้น
4.สำหรับการหลีกออกเร้นเพื่อเจริญสมาธิภาวนา

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือยารักษาโรค มีวัตถุประสงค์ในการใช้ดังนี้

       เพื่อกำจัดความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นจากความเจ็บไข้ได้ป่วย


     2. ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากจะเน้นเรื่องการใช้ปัจจัย 4 ตามวัตถุประสงค์แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงกำหนดประเภทและปริมาณในการใช้ด้วย ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกนำมาใช้เท่าที่จำเป็น จึงเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่เห็นได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ

     ทรงกำหนดให้พระภิกษุมีจีวรใช้ 3 ผืน ซึ่งแต่ละผืนมีอายุใช้งานนานเป็นปี จึงทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองวัสดุที่จะนำมาทำเป็นจีวรมากเกินจำเป็น แตกต่างจากฆราวาสทั่วไป ที่มักจะมีเสื้อผ้าไว้ใส่กันหลาย ๆ ชุด แต่ละชุดยังหลากสีสัน และบางครั้งทั้งที่ยังใช้กันไม่คุ้มค่า ก็ไปหาซื้อกันมาใหม่ วั ดุจากธรรมชาติที่ต้องนำมาใช้จึงต้องมากตามไปด้วย

   อาหารสำหรับพระภิกษุ ก็ฉันเท่าที่บิณฑบาตมาได้ และหากเกินเวลาเที่ยงวันไปก็ไม่สามารถฉันได้อีก อาหารที่พระภิกษุฉันในแต่ละวันจึงไม่ได้มากมายอะไร เมื่อเทียบกับฆราวาสที่รับประทานได้ตามใจ และสามารถรับประทานกันได้ทั้งวัน

   กุฏิที่พักสำหรับพระภิกษุก็มีขนาดไม่ใหญ่ พออยู่กันด้วยความเรียบง่าย อุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้หรือเฟอร์นิเจอร์ก็ไม่จำเป็นต้องมี จึงเป็นการช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่ให้สิ้นเปลือง

        ยารักษาโรคก็ใช้ตามความจำเป็นที่ต้องใช้ ไม่ใช่ใช้บำรุงบำเรอจนเกินเหตุ


     3. ด้านการสร้างนิสัย เพราะนิสัยทั้งที่ดีและไม่ดี เกิดจากการย้ำคิด ย้ำพูด และย้ำทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่งบ่อย ๆ นาน ๆ ปัจจัย 4 เป็นสิ่งที่พระภิกษุต้องบริหารใช้ อยกันอยู่ทุกวัน จึงทำให้มีโอกาสย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำในเรื่องปัจจัย 4 ตลอดเวลา ปัจจัย 4 จึงเป็นทางมาของนิสัยซึ่งจะมีผลต่อการฝึกฝนอบรมตนเองให้เกิดคุณธรรมภายในแก่พระภิกษุโดยตรง กล่าวคือ

    ปัจจัย 4 เป็นเหตุให้กิเลสตัณหา คือความอยากได้ อยากมี ในตัวของพระภิกษุกำเริบขึ้นมาได้ ดังนั้นหากพระภิกษุไม่ระมัดระวัง มัวไปเพลิดเพลิน ติดใจ พอใจ หรือหลงยินดี โลภอยากได้ในปัจจัย 4 บ่อย ๆ มากเกินไป ในที่สุดก็จะพัฒนากลายมาเป็นนิสัยที่ไม่ดี แนวโน้มที่จะคิดไม่ดี พูดไม่ดี และทำไม่ดี จะมีมากขึ้น คุณธรรมที่เคยมีมากมายเท่าไร ก็จะลดน้อยถอยลงไปเรื่อย ๆ ได้

     ส่วนนิสัยดี ๆ ที่เกิดจากการบริหารปัจจัย 4 ได้ดี จะเป็นพื้นฐานให้ความคิด คำพูด การกระทำในเรื่องอื่นๆดีตามมา ยิ่งถ้าพระภิกษุอาศัยปัจจัย 4 มาใช้ฝึกฝนตนเองจนเกิดเป็นนิสัยดี ๆ ได้มากเท่าไร คุณธรรมความดีงามที่จะเกิดในใจจะยิ่งมากตามขึ้นไปด้วยเท่านั้น เช่น การบริโภคอาหาร ท่านพระสารีบุตรเถระ พระอัครสาวกเบื้องขวา ผู้มีปัญญาเป็นเลิศกว่าภิกษุสาวกองค์ใด ให้แนวทางในการบริโภคอาหารไว้ว่า

     "ภิกษุเมื่อบริโภคอาหาร จะเป็นของ ดหรือของแห้งก็ตาม ไม่ควรติดใจจนเกินไป ควรเป็นผู้มีท้องพร่อง มีอาหารพอประมาณ มีสติอยู่ การบริโภคอาหารยังอีก 4-5 คำจะอิ่ม ควรงดเสียแล้วดื่มน้ำเป็นการสมควร เพื่อความอยู่ บายของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว"

   จะเห็นว่า แม้ในเรื่องอาหาร ก็ยังสามารถประมาณปริมาณที่ควรบริโภคได้เช่นเดียวกันโดยอาศัยความอิ่มอาหารในมื้อนั้น ๆ ของแต่ละคนมาเป็นเกณฑ์ในการประมาณ โดยไม่ว่าจะฉันอาหารไปมากน้อยเพียงใดก็ตาม หากรู้สึกว่า ถ้าได้ฉันอีกประมาณ 4-5 คำ เราก็จะอิ่มพอดีถ้าเป็นอย่างนี้ ท่านให้หยุดฉัน แล้วดื่มน้ำตาม ปริมาณที่ฉันไปก็จะพอดีกับร่างกาย คือ ทำให้อิ่มสบาย ไม่อึดอัด เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม


วงจรปัจจัย 4
    หากจะมองวงจรของปัจจัย 4 ที่เข้ามามีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของพระภิกษุให้ครอบคลุมแล้ว เราอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. การแสวงหาปัจจัย 4
2. การรับปัจจัย 4
3. การบริโภคใช้สอยปัจจัย 4
4. การดูแลรักษาปัจจัย 4
5. การสละ และการกำจัดปัจจัย 4

1. การแสวงหาปัจจัย 4
     เนื่องจากมีพระบรมพุทธานุญาตว่า พระภิกษุต้องบิณฑบาตเลี้ยงชีพเท่านั้น จึงไม่อาจจะซื้อหาปัจจัย 4 มา ใช้ได้ตามใจตนเอง ดังนั้นเมื่อมีความจำเป็นต้องได้ปัจจัย 4 มา พระภิกษุ จึงต้องแสวงหาด้วยการขอจากสาธุชน ซึ่งในการหานั้น ต้องทำโดยสัมมาอาชีวะ คือ แสวงหามาโดยชอบธรรม ไม่แสวงหามาด้วยการเลี้ยงชีพอันไม่สมควรแก่ สมณะ ที่เรียกว่า อเนสนา เช่น การหลอกลวงเขา การลงทุนหาผลประโยชน์ การให้ข้าวของเพื่อหวังผลตอบแทน การประจบรับใช้คฤหัสถ์ หรือการเป็นหมอเวทมนตร์ เสกเป่า เป็นต้น

2. การรับปัจจัย 4
    หลังจากที่พระภิกษุแสวงหาปัจจัย 4 มาได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การรับปัจจัย 4 ที่สาธุชนถวายมา ซึ่งจะเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาขั้นตอนอื่น ๆ เนื่องจากหากมองดูวงจรปัจจัย 4 ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของพระภิกษุจะพบว่า กว่าพระภิกษุจะได้พิจารณาบริโภคใช้ อยปัจจัย 4 ให้ได้ตามวัตถุประ งค์ หรือกว่าปัจจัย 4 จะมีผลต่อการสร้างนิสัย หรือกว่าจะมาเป็นอุปกรณ์ให้พระภิกษุได้ใช้ฝึกฝนตนเอง ก็ต้องผ่านขั้นตอน "การรับ" มาก่อน หากพระภิกษุไม่ได้รับปัจจัย 4 นั้นไว้ ขั้นตอนต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดจะไม่มีวันเกิดขึ้นได้เลย ดังนั้นการรับจึงเป็นเสมือนประตูหรือจุดตั้งต้น ที่ปัจจัย 4 จะเข้ามามีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและคุณธรรมของพระภิกษุในระยะยาว เพราะฉะนั้นการรับหรือไม่รับ ไม่ว่าจะด้วยเงื่อนไขหรือวิธีการอย่างไร ย่อมกระทบต่อการพัฒนานิสัยและคุณธรรมภายในของพระภิกษุอย่างแน่นอน

3. การบริโภคใช้สอยปัจจัย 4
     ขั้นตอนนี้หมายถึง ภายหลังจากที่รับปัจจัย 4 มาแล้ว พระภิกษุก็สามารถนำมาบริโภคใช้สอยต่อไป ซึ่งหลักการสำคัญก็คือ ต้องพิจารณาใช้ให้ถูกต้องตามวัตถุประ งค์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ทั้งนี้เพราะนอกจากปัจจัย 4 จะเป็นทางมาของนิสัยทั้งที่ดีและไม่ดีแล้วยังเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ฝึกฝนอบรมเพื่อความสำรวม กาย วาจา ใจ และเพื่อขจัดกิเลสอาสวะของพระภิกษุได้ด้วย

4. การดูแลรักษาปัจจัย 4
    หมายถึงการใช้ปัจจัย 4 ที่สาธุชนถวายมาให้คุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งในที่นี้พระภิกษุจะต้องคอยหมั่นดูแลรักษา หรือบำรุงให้อยู่ในสภาพที่ดีตลอดเวลา เพื่อให้อายุการใช้งานยาวนานยิ่งขึ้นหรือถ้าหากชำรุดเสียหาย ก็ต้องหมั่นซ่อมแซมให้อยู่ใน ภาพที่ดีพร้อมใช้งาน เช่น จีวรที่ใช้ก็ต้องดูแลรักษาความสะอาดให้ดี เวลาซักก็ไม่ขยี้ผ้าแรงเกินไป ไม่บิดผ้าจนทำให้เสียรูปทรง เวลาผึ่งหรือตากให้แห้ง ต้องระวังไม่ให้ถูกแดดจัดไป เพราะจะทำให้สีซีดได้ง่าย เวลาเก็บรักษาก็พับให้เรียบร้อย และเก็บรักษาไว้ในที่แห้งเพื่อไม่ให้ราขึ้น เป็นต้น

    ในปัจจัย 4 อื่น ๆ ที่แม้จะมีลักษณะของการใช้แตกต่างกันไป ก็ยังคงใช้หลักการเดียวกันซึ่งการรู้จักดูแลปัจจัย 4 อย่างนี้ ย่อมทำให้พระภิกษุเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธา ปัจจัย 4 ที่ได้มาก็จะเป็นประโยชน์อย่างเต็มที่บริบูรณ์ แต่หากพระภิกษุขาดความระมัดระวังไม่ดูแลรักษาปัจจัย 4 ที่ได้มาให้ดีพอ ย่อมเกิดผลในทางตรงกันข้าม คือสาธุชนก็จะมีความเลื่อมใสศรัทธาลดน้อยลง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา เพราะพระภิกษุต้องอาศัยปัจจัย 4 ที่ได้มาจากสาธุชน ดังที่พระพุทธองค์ตรัสถึงความเสื่อมจากการไม่ดูแลข้าวของ ไว้ว่า

   "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดตระกูลหนึ่งถึงความเป็นใหญ่ในโภคทรัพย์แล้ว ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้นานเพราะสถาน 4 หรือ สถานใดสถานหนึ่ง...คือ

1. ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว
2. ไม่ซ่อมแซมพัสดุที่คร่ำคร่า
3. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
4. ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีลให้เป็นพ่อบ้านแม่เรือน"

5. การสละ และการกำจัดปัจจัย 4
       ในขั้นตอนที่ 5 นี้แบ่งออกเป็น 2 วิธี

     1) การสละ หมายถึง เมื่อได้รับปัจจัย 4 มาแล้ว หากเห็นว่าสามารถแบ่งปันปัจจัย 4 ให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนสหธรรมิกผู้ประพฤติธรรมได้ก็ควรทำ หรือบางครั้งได้ปัจจัย 4 ที่มีความประณีตมาก เหมาะสมแก่ผู้มีคุณธรรมมากกว่าตน เช่น พระเถระผู้มีคุณธรรม หรือพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ก็อาจน้อมนำปัจจัย 4 นั้นถวายให้ท่านได้ใช้สอย

     2) การกำจัดปัจจัย 4 หมายความว่า หากพระภิกษุใช้ อยปัจจัย 4 จนหมดอายุการใช้งานแล้ว หรือจำเป็นต้องทำลายไป จะต้องกำจัดสิ่งนั้นไปให้เหมาะสมตามวิธีการ เช่น ผ้าจีวรเก่าๆที่ไม่ได้ใช้แล้ว อาจนำไปตัดแบ่งเป็นผ้าผืนเล็ก ๆสำหรับใช้ทำความสะอาด หรืออาหารบิณฑบาตที่เหลือ ไม่สามารถเก็บไว้ได้ ก็ให้นำไปเททิ้งในที่อันสมควร เป็นต้น


วิธีการรับปัจจัย 4
ผู้รู้จักการรับ

     พระภิกษุที่รู้จักประมาณในการรับ ควรจะต้องรู้จักวงจรของปัจจัย 4 ได้ดีพอ กล่าวให้ง่ายคือ ต้องเห็นจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายของปัจจัย 4 ได้อย่างชัดเจน คือ รู้ว่าตนเองขาดแคลนสิ่งไหน รู้ว่าจะไปแสวงหามาได้อย่างไรจึงจะถูกต้องตามพระธรรมวินัย รู้ว่าจะรับหรือไม่รับแค่ไหนรู้ว่าจะต้องบริโภคใช้ อยอย่างไร จึงจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ รู้ว่าจะทำอย่างไรจึงจะใช้ได้คุ้มค่ายาวนาน และรู้ว่าจะ ละหรือกำจัดปัจจัย 4 ที่หมดสภาพแล้วอย่างไร เมื่อรู้อย่างนี้แล้วจึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้มีความแยบคาย พระภิกษุก็จะได้ประโยชน์จากปัจจัย 4 นั้นได้เต็มที่บริบูรณ์

     ทั้งนี้เนื่องจากว่า การรับปัจจัย 4 เข้ามา ไม่ว่าจะมากหรือน้อยอย่างไร ล้วนแต่มีผลต่อชีวิตของพระภิกษุได้ ด้วยเหตุที่ว่า

     1. กรณี "ไม่รับ" หากว่าไม่มีความจำเป็นหรือขาดแคลน คงไม่ส่งผลอะไร แต่หากมีความจำเป็นก็จะทำให้ลำบาก การบำเพ็ญสมณธรรมก็ทำได้ยากขึ้นด้วย เช่น อยู่ในถิ่นที่อากาศหนาว แต่ไม่รับผ้ามาให้เพียงพอแก่ความต้องการ หรือต้องฉันภัตตาหาร แต่ไม่รับบิณฑบาตมาฉัน หรือในฤดูฝน แต่ไม่แสวงหาที่อยู่ที่มุงบัง หรือยามเจ็บไข้ แต่ไม่รับยามาใช้รักษาเป็นต้น

     2. กรณี "รับน้อย" กว่าความจำเป็น ก็จะทำให้ลำบาก เช่น ฉันอาหารน้อยจนเกินไปจะทำให้หิวเร็ว ร่างกายอ่อนเพลีย เกิดความกังวลเพราะความหิว เป็นต้น

       3. กรณี "รับมาก" กว่าความจำเป็น ก็จะทำให้เป็นภาระที่ต้องตามดูแลรักษา เกิดความหวงแหนในปัจจัย 4 มีความไม่คล่องตัวหากต้องเดินทาง เพราะเกิดความห่วงใย หรือทำให้ต้องเสียเวลาดูแลปัจจัย 4 มากเกินไป จนมีเวลาไปบำเพ็ญสมณธรรมลดลง เป็นต้น

        4. กรณี "รับพอดี" ก็จะได้ประโยชน์จากการรับปัจจัย 4 อย่างเต็มที่ดังที่กล่าวมา

     ดังนั้น ไม่ว่าพระภิกษุจะรับปัจจัย 4 มาอย่างไร ย่อมส่งผลกระทบทั้งต่อนิสัยการฝึกฝนอบรมตนเอง และคุณธรรมภายในของพระภิกษุโดยตรง


หลักการรับปัจจัย 4
    หลักในการรับปัจจัย 4 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หลักว่า พระภิกษุควรจะยินดีปัจจัยตามมีตามได้ หรือเป็นผู้มีความสันโดษในปัจจัย 4 ได้แก่

    1. ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามที่ได้ หมายถึง เมื่อได้ปัจจัย 4 ใดมาด้วยความเพียรของตนเอง ก็พอใจบริโภคเท่าที่มีในสิ่งนั้น

      2. ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกำลัง หมายถึง พอใจเพียงแค่พอแก่กำลังร่างกายสุขภาพและขอบเขตการใช้ อยของตน ของที่เกินกำลังก็ไม่หวงแหนเสียดาย พร้อมที่จะสละแก่ผู้ที่ต้องการมากกว่าตนได้

      3. ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร หมายถึง พอใจในปัจจัย 4 ที่สมควรแก่ภาวะฐานะ และสมณสารูปของตนเอง ของใดไม่เหมาะสมกับตน เช่น มีความประณีตมากเกินไป เหมาะกับพระเถระผู้มีคุณธรรมสูง ก็นำไปถวายให้ท่านได้ใช้สอย


วิธีฝึกรับปัจจัย 4
       ในการรับปัจจัย 4 มีข้อพึงพิจารณาก่อนรับดังนี้

      1. การรับปัจจัย 4 นั้น เป็นเพราะความ "จำเป็น" หรือความ "ต้องการ" หรือเพราะความ "อยากได้"

        1.1 ความจำเป็น (Need) ในที่นี้หมายถึง ปัจจัย 4 นั้นเป็นสิ่งที่ต้องได้มา หากไม่ได้จะกระทบต่อการดำรงชีวิต หรือกระทบต่อการทำกิจวัตรกิจกรรมที่สำคัญของตน

          1.2 ความต้องการ (Want) หมายถึงไม่ได้อยู่ในภาวะที่ขาดแคลนมากเกินไป หากไม่ได้ปัจจัย 4 นั้นมาก็ไม่ถึงกับเดือดร้อนมากเกินไป แต่ถ้าได้ ก็จะเกื้อกูลให้ใช้ชีวิตได้ดียิ่งขึ้น

         1.3 ความอยากได้ (Greedy) หมายถึงไม่เดือดร้อนอะไร หากไม่ได้ปัจจัย 4 นั้นมา แต่เป็นเพราะว่าโลภอยากได้ ด้วยอำนาจกิเลสภายในของตน

       หากพิจารณาแล้วพบว่าเป็น "ความจำเป็น" หรือเป็น "ความต้องการ" ก็ให้พิจารณารับตามสมควร แต่หากเป็นเพราะ "ความอยากได้" พระภิกษุต้องรีบหักห้ามใจ และไม่ควรรับปัจจัย 4 นั้นเลย

    2. พิจารณาโดยอาศัยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ (1) ไทยธรรม หรือปัจจัย 4 ของผู้ให้ (2) จิต เจตนา หรือความต้องการของผู้ให้ (3) กำลังตามความจำเป็น หรือความ
ต้องการของพระภิกษุ โดยอาศัยหลักว่า1

       2.1 หากผู้ให้มีปัจจัย 4 มาก แต่ต้องการถวายเพียงเล็กน้อย ก็ให้พระภิกษุรับไว้แต่น้อยตามความต้องการของผู้ให้

       2.2 หากผู้ให้มีปัจจัย 4 น้อย แต่ต้องการถวายมาก ก็ให้พระภิกษุรับไว้แต่น้อย ตามปริมาณของปัจจัย 4 ที่มี

       2.3 หากผู้ให้มีปัจจัย 4 มากและต้องการถวายมากด้วย พระภิกษุก็ควรรับแต่พอประมาณตามความจำเป็นของตนเอง

      ด้วยหลักการที่กล่าวมา ย่อมจะทำให้การรับปัจจัย 4 ของพระภิกษุมีความพอเหมาะพอดีซึ่งนอกจากจะทำให้ท่านเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธาของสาธุชนแล้ว ปัจจัย 4 ที่รับมานี้ยังจะเกื้อกูลต่อการใช้ชีวิต และการบำเพ็ญ มณกิจ เพื่อขัดเกลากาย วาจา ใจ และเพิ่มพูนคุณธรรมของท่านให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกด้วย

         สรุปว่า การจะเป็นมัตตัญญูบุคคล (ความเป็นผู้รู้จักประมาณ)ได้นั้น ต้องประกอบด้วย

        1.สามารถบริหารควบคุมปัจจัย 4 โดยต้องรู้จักวิธี "การรับ" ที่ถูกต้อง

        2.สามารถนำปัจจัย 4 มาใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับฝึกฝนอบรมตนเองให้มีคุณธรรมก้าวหน้าได้

     เมื่อพระภิกษุฝึกฝนอบรมตนเองจนเป็นผู้รู้จักประมาณได้ดีเช่นนี้แล้ว จึงจะเรียกได้ว่าท่านเป็นทั้ง ธัมมัญญู ผู้รู้จักธรรม อัตถัญญู ผู้รู้จักนัยและนำมาปฏิบัตได้ อัตตัญญู ผู้รู้จักประเมินคุณธรรมภายในตน และเป็นมัตตัญู ผู้รู้จักประมาณในการรับปัจจัย 4 ได้อย่างสมบูรณ์ ดังเช่นพุทธพจน์ที่พระองค์ตรัสรับรองไว้ว่า

"ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้"


การฝึกให้เป็นมัตตัญญูสำหรับฆราวาส
      จากการศึกษาเรื่องมัตตัญูที่ผ่านมา แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงบัญญัติเรื่องปัจจัย 4 ให้แก่พระภิกษุไว้อย่างรัดกุม จนดูเหมือนว่ายากเกินกว่าที่ฆราวาสจะนำมาฝึกปฏิบัติตามได้แต่ในความเป็นจริงแล้ว ฆราวาสอาจนำหลักการและวิธีการที่ได้ศึกษามาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองได้ในหลายด้าน คือ

1. ทัศนคติเรื่องปัจจัย 4 กับการใช้ชีวิต
    ประโยชน์ประการแรกที่ฆราวาสสามารถนำมาปรับใช้ เพื่อประโยชน์แก่ตนเองได้ คือการนำความรู้เรื่องทัศนคติเกี่ยวกับปัจจัย 4 มาใช้ในชีวิตของตนเอง ดังนี้

       1. ทัศนคติที่ว่า "ปัจจัย 4 เป็นความจำเป็นพื้นฐานของชีวิต" ด้วยแนวคิดนี้ จะช่วยให้ฆราวาสได้ปรับวิธีใช้ปัจจัย 4 ของตนเองใหม่ มาเป็นการใช้ด้วยความแยบคาย โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการใช้ให้มากที่สุด

      2. ทัศนคติในด้าน "การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ" จะช่วยให้ฆราวา คำนึงถึงความคุ้มค่าในการใช้ปัจจัย 4 มากยิ่งขึ้น เมื่อคำนึงถึงความคุ้มค่า ก็จะต้องมาคำนึงถึงปริมาณในการใช้ เพื่อให้สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าให้น้อยที่สุด

     3. ทัศนคติที่ว่า "ปัจจัย 4 เป็นเครื่องสร้างนิสัย" ด้วยแนวความคิดนี้ จะช่วยให้ฆราวาสใช้ปัจจัย 4 ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง เพราะทราบว่าการตอกย้ำในการคิด พูด และทำในปัจจัย 4 จะมีผลต่อนิสัยทั้งที่ดีและไม่ดีของตนเอง

2. ปัจจัย 4 กับวิถีชีวิตของฆราวาส
      จากทัศนคติที่กล่าวมา ฆราวาสอาจนำปัจจัย 4 มาปรับพิจารณาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของตนเองได้ ดังนี้

     1. เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ควรมุ่งใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ โดยรักษาเสื้อผ้าของตนให้สะอาดนุ่งห่มแล้วสุภาพเรียบร้อย คล่องตัว ดูแลรักษาได้ง่าย เลือกซื้อชนิดที่มีคุณภาพดีสามารถใช้งานได้ยาวนาน ราคาไม่แพงมากเกินไปสีสันไม่ฉูดฉาด และควรเลือกซื้อเสื้อผ้าที่สามารถใช้ได้ในหลายโอกาสหรือหลายสถานการณ์ เพื่อจะได้ไม่จำเป็นต้องมีเสื้อผ้ามากเกินความจำเป็น เป็นต้น

     2. อาหาร ควรเน้นที่ความครบถ้วนทางโภชนาการ มากกว่ารับประทานอาหารที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ตามใจชอบ ซึ่งส่วนใหญ่จะแพงเกินจริง ทำให้ติดนิสัยสุรุ่ยสุร่าย ไม่คุ้มกับเงินที่ต้องเสียไป อาหารที่รับประทานต้องสะอาด และฝึกให้รับประทานแต่พอดี คือไม่ให้อิ่มมากเกินไป โดยอาศัยหลักที่ว่า อีก 45 คำจะอิ่มก็ให้ดื่มน้ำตามไป ไม่ซื้ออาหารมากเกินความจำเป็นจนเหลือ และหมั่นฝึกรับประทานอาหารให้เป็นเวลา เป็นต้น

    3. ที่อยู่อาศัย ควรอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม เป็นสัปปายะ เช่น อยู่ใกล้วัด ใกล้แหล่งอาหารและผู้คนในบริเวณที่อาศัยเป็นคนดี มีศีลธรรม ขนาดของที่อยู่อาศัยก็ไม่ควรใหญ่เกินไป จนกระทั่งดูแลได้ลำบาก ต้องเสียเวลากับการทำความสะอาด หรือบำรุงซ่อมแซมมากเกินไป เป็นต้น

    4. ยารักษาโรค ในที่นี้หมายถึง ต้องหมั่นดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เช่น ต้องหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ หรือตรวจสุขภาพประจำปี และหากเจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องไม่ปล่อยปละละเลย ต้องรีบรักษาให้หาย เป็นต้น

  การนำความรู้เรื่องมัตตัญญูมาปรับใช้ก็เพื่อเกื้อกูลต่อการใช้ชีวิตในทางโลกและเกื้อกูลต่อการฝึกฝนอบรมตนเองให้เพียบพร้อมด้วยคุณงามความดีในทางธรรม ทั้งยังจะทำให้ได้นิสัยดี ๆ ที่จะช่วยสนับสนุนให้การสร้างบารมีด้วย ทาน ศีล ภาวนา ของฆราวาสก้าวหน้าดียิ่งขึ้นไป ทั้งนี้เพราะใจจะไม่เกาะติดกับปัจจัย 4 ที่เป็นสิ่งนอกตัวมากนัก เช่นเรื่องเสื้อผ้าก็จะหันมาคำนึงถึงวัตถุประสงค์การใช้มากกว่าจะให้ความสำคัญกับสีสันความสวยงาม หรือปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ชีวิตก็จะมีความเรียบง่าย ความรู้สึกอยากได้ก็ลดน้อยลงไป ผู้ที่มีนิสัยเช่นนี้ เวลาทำทานมักสามารถตัดใจได้โดยง่าย ไม่มีความตระหนี่หวงแหน เมื่อรักษาศีลก็ทำได้ง่าย เพราะได้นิสัยมีความละเอียดรอบคอบและระมัดระวัง มี ติสัมปชัญญะที่ดี การระมัดระวังกายและวาจาไม่ให้ไปทำความชั่วก็จะทำได้ดีขึ้น เมื่อเป็นอย่างนี้ การเจริญสมาธิภาวนาจะก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป คุณธรรมภายในก็จะเพิ่มพูนเรื่อยไปทุก ๆ วัน


ตัวอย่างการนำความรู้เรื่องมัตตัญญูไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันสำหรับบุคคลทั่วไป
     ฝึกให้เป็นคนรู้จักประมาณการใช้สอย ให้พอเหมาะพอสมกับรายได้รายจ่ายที่ตนทำมาหาได้โดยทางที่ชอบ ไม่ถึงกับฟุ้งเฟ้ออวดมั่งอวดมี หรือตระหนี่เกินเหตุ เป็นนักเรียนก็รู้จักประมาณกำลังของตนเองในการทำกิจกรรมและการศึกษาเล่าเรียน รัฐบาลก็รู้จักประมาณการเก็บภาษีและการใช้งบประมาณในการบริหารประเทศ เป็นต้น

    ฝึกความเป็นผู้รู้จักประมาณ รู้จักพอดี หมายความว่า จะทำอะไร จะพูดอะไร จะคิดอะไรก็ให้รู้จักประมาณ พอดี พองาม, ไม่มาก ไม่น้อย, ไม่ขาด ไม่เกิน, ไม่ตึง ไม่หย่อน, ไม่อ่อนปวกเปียกไม่แข็งกร้าว ไม่เกิดโทษแก่ใคร ๆ มีแต่เกิดประโยชน์แก่บุคคลทั่วไปในกาลทุกเมื่อ ไม่ใฝ่สูงทะเยอทะยานจนเกินประมาณ อันจะก่อให้เกิดการแสวงหาในทางทุจริตต่อมา

  ฝึกรู้จักประมาณในการรับ คือรับแต่สิ่งที่ดีไม่มีโทษตามกฎหมาย เช่น ไม่ใช่ของโจร ไม่ใช่ของหนีภาษี เป็นต้น ถ้าเป็นพระ เณร ก็ไม่รับของผิดพระพุทธบัญญัติ เช่น เงินทอง เป็นต้น รับแต่ปัจจัยที่สมควรแก่สมณะบริโภค

    ฝึกรู้จักประมาณในการบริโภค คือพิจารณาเสียก่อน เว้นสิ่งที่มีโทษ บริโภคกินใช้สอยแต่สิ่งที่มีประโยชน์ แม้สิ่งที่มีประโยชน์นั้น ก็บริโภคแต่พอควรแก่ความต้องการของร่างกาย ให้พอดีกับฐานะและภาวะ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่น

    ฝึกประมาณความรู้ความสามารถของตนเองให้ได้ว่าเรามีกำลังแค่ไหนในการจะทำอะไรสักอย่าง เช่น การทำธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงผลตอบแทนก็มาก ถ้าทำไม่ถูกจังหวะโอกาสที่จะล้มเหลวก็มีมาก เพราะฉะนั้นต้องหยั่งสถานการณ์ให้ดี ก้าวแต่ละก้าวอย่างสุขุม ไม่น้อยไปและไม่มากไป เมื่อโอกาสมาถึง ถ้าไม่ทำก็จะผ่านเลยไป จะต้องใช้โอกาสนั้นให้ดีที่สุดเต็มกำลังความสามารถของตน

     ฝึกความเป็นผู้รู้จักประมาณ หมายถึง ความรู้จักพอดีในสิ่งต่าง ๆ เช่น รู้จักประมาณในการบริโภคและการใช้จ่ายทรัพย์ รู้จักความพอเหมาะในการพูด การปฏิบัติกิจและทำการต่าง ๆ ตลอดจนการพักผ่อนนอนหลับและการสนุกสนานรื่นเริงทั้งหลาย ทำการงานทุกอย่างด้วยความเข้าใจวัตถุประสงค์เพื่อผลดีแท้จริงที่พึงต้องการ โดยมิใช่เพียงเพื่อเห็นแก่ความพอใจชอบใจ หรือเอาแต่ใจของตน แต่ทำตามความพอดีแห่งเหตุปัจจัย หรือองค์ประกอบทั้งหลายที่จะลงตัวให้เกิดผลดีงามตามที่มองเห็นแล้วด้วยปัญญา

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 008 พุทธธรรม 2
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

**บทความ แนะนำ/เกี่ยวข้อง

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0012508193651835 Mins