ปริสัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักบริษัท หรือชุมชน)

วันที่ 29 กค. พ.ศ.2560

ปริสัญญุตา
(ความเป็นผู้รู้จักบริษัท หรือชุมชน)

พุทธธรรม 2 , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ปริสัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักบริษัท หรือชุมชน) , ปริสัญญุตา

      เมื่อพระภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญูแล้ว จึงต้องฝึกในขั้นตอนที่ 6 คือ "ปริสัญญู" ต่อไป ตามวิธีการที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ดังนี้

          พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงวิธีการฝึกตนเองให้เป็นปริสัญญูบุคคล ไว้ดังนี้

      "ก็ภิกษุเป็นปริสัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์นี้บริษัทพราหมณ์ นี้บริษัทคฤหบดี นี้บริษัทสมณะในบริษัทนั้น เราพึงเข้าไปหาอย่างนี้ พึงยืนอย่างนี้ พึงทำอย่างนี้ พึงนิ่งอย่างนี้ หากภิกษุไม่รู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์... พึงนิ่งอย่างนี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นปริสัญู แต่เพราะภิกษุรู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์... พึงนิ่งอย่างนี้ ฉะนั้นเราเรียกว่าเป็นปริสัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ปริสัญญู ด้วยประการฉะนี้."


คำแปลและความหมาย
       ปริสัญญู แปลว่า ผู้รู้จักบริษัท รู้จักสังคมของคนเพื่อจะได้ประพฤติปฏิบัติกาย วาจา หรือปรับตัวให้เหมาะสมกับบริษัทนั้น หรือสังคมนั้น โดยไม่เสียธรรมะ

       โดยความหมาย ปริสัญญู หมายถึง การเข้าหาคนเป็น คือ ความเป็นผู้รู้จักกลุ่มบุคคลทั้ง 4 ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี และสมณะ กระทั่งสามารถเข้าหาและวางตัวในอิริยาบถต่าง ๆ กับกลุ่มบุคคลนั้น ๆ ได้อย่างเหมาะสม

      คำว่า "รู้จักกลุ่มบุคคล" ในที่นี้ หมายถึงรู้จักจริต อัธยาศัย ระเบียบ ขนบธรรมเนียมประเพณี หรือวันธรรมของกลุ่มบุคคลนั้น ๆ


ความสำคัญของการเป็นปริสัญญู
      การเป็นปริสัญู คือ การเป็นผู้รู้จักเข้าหาและวางตัวกับบุคคลทั้ง 4 กลุ่มได้อย่างถูกต้องเหมาะสม แต่ละกลุ่มควรเข้าไปหาอย่างไร ยืนอย่างไร ทำอย่างไร นั่งอย่างไร นิ่งอย่างไร ตามจริต อัธยาศัย ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละกลุ่ม ซึ่งการรู้จักเข้าหาและการวางตัวที่เหมาะสมจะทำให้เกิดการยอมรับเลื่อมใสศรัทธาต่อกลุ่มบุคคลนั้น ๆ อันจะมีผลต่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตรหรือการเทศน์สอนและเผยแผ่พระพุทธศาสนา

     หากพระภิกษุเพียงแต่รู้ธรรมะมามากสามารถเทศน์สอนและถ่ายทอดธรรมะได้เป็นอย่างดี แต่ไม่รู้จักการวางตัว ไม่รู้จักมารยาทในการเข้าหา ก็อาจทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับ ไม่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา หรืออาจถูกระแวงสงสัย เพราะการจะเป็นกัลยาณมิตรให้ผู้อื่นได้ พระภิกษุต้องอาศัยการเทศน์ให้บุคคลต่าง ๆ ฟัง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่พระภิกษุต้องรู้จักกลุ่มบุคคลเพื่อจะได้เข้าหาและวางตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นที่ยอมรับของทุกกลุ่มบุคคล ซึ่งจะเป็นต้นทางทำให้พระภิกษุมีโอกาสได้แสดงธรรมต่อไป


บริษัท 4
        บริษัท 4 คือใคร
        บริษัท ก็คือกลุ่มคน ในอดีตพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแบ่งกลุ่มคนออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

1) กลุ่มกษัตริย์ หมายถึง กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองต่าง ๆ

2) กลุ่มพราหมณ์ หมายถึง พวกพราหมณ์มหาศาล มีทรัพย์มาก มีลูกศิษย์มาก

3) กลุ่มคฤหบดี หมายถึง มหาเศรษฐีหรือพ่อค้า หรือผู้มีอาชีพอื่น ๆ

4) กลุ่มสมณะ หมายถึง นักบวชในลัทธิต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสัมมาทิฏฐิและมิจฉาทิฏฐิ เช่น ชฎิล ปริพาชก เดียรถีย์ อเจลกะ เป็นต้น

        หากเทียบกับในปัจจุบัน บุคคลใน 4 กลุ่มนั้น ได้แก่

     1) กลุ่มกษัตริย์ ก็คือ กลุ่มของนักปกครอง หรือผู้บริหารบ้านเมือง ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มนักการเมือง ได้แก่ สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นักการเมืองทุกระดับ นายก รัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี เป็นต้น กับกลุ่มที่เป็นข้าราชการประจำ ได้แก่ ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด ตำรวจ ทหาร เป็นต้น

     2) กลุ่มพราหมณ์ ก็คือ กลุ่มของผู้มีความรู้ เป็นผู้นำทางความคิด ได้แก่ นักวิชาการ ครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษา รวมทั้งสื่อมวลชน เป็นต้น

        3) กลุ่มคฤหบดี ก็คือ กลุ่มของผู้มีฐานะ หรือผู้มีอันจะกิน ได้แก่ มหาเศรษฐี นักธุรกิจ พ่อค้า เกษตรกรที่มีฐานะความเป็นอยู่ดีพอ คือ เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ไม่เป็นภาระให้แก่สังคม เป็นต้น

        4) กลุ่มสมณะ ก็คือ กลุ่มของนักบวชในศาสนาต่าง ๆ เช่น พุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู เป็นต้น


ความสำคัญของบริษัท 4
      เหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับบุคคลทั้ง 4 กลุ่มนี้ เพราะว่าแต่ละกลุ่มล้วนมีผลต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก หากพิจารณาให้ดี จะพบว่าในประวัติศาสตร์ของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะมีบุคคลทั้ง 4 กลุ่ม เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเสมอ บางครั้งก็เกี่ยวข้องในด้านที่คอยสนับสนุนค้ำจุนพระศาสนา แต่บางครั้งก็มาในรูปแบบของการจ้องทำลาย นี้จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมพระภิกษุจึงต้องเอาใจใส่ต่อบุคคลทั้ง 4 กลุ่มนี้ให้มากเป็นพิเศษ

      บุคคล 4 กลุ่มดังกล่าว เปรียบแล้วก็เหมือนกับดาบ 2 คม ถ้าเห็นดีด้วย ก็จะเป็นผลดีกับพระศาสนา แต่ถ้าไม่เห็นดีด้วย ก็อาจขัดขวางให้การเผยแผ่ทำได้ช้าลง ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าทั้ง 4 กลุ่มต่างมีขุมกำลังที่แตกต่างกันไป

      กลุ่มกษัตริย์ หรือนักปกครอง จะมีขุมกำลังคืออำนาจการปกครองบริหาร ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลมาก โดยเฉพาะในสมัยพุทธกาล เพราะกษัตริย์จะเป็นใหญ่ มีอำนาจ และเป็นที่เคารพนับถือของประชาชน ดังนั้นหากทำให้กลุ่มนี้เห็นดีด้วยได้ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็จะทำได้ง่ายเช่นกัน

    กลุ่มพราหมณ์ หรือนักวิชาการ จะมีขุมกำลังคือความรู้ ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีผลต่อการเผยแผ่มาก เพราะเป็นผู้มีความรู้ และมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ความสำคัญก็จะคล้ายกับกษัตริย์เช่นกัน คือหากทำให้ยอมรับได้แล้ว คนอื่น ๆ ก็จะยอมรับตามกันไปด้วย

      กลุ่มคฤหบดี หรือผู้มีอาชีพมั่นคง จะมีขุมกำลังคืออำนาจการเงิน เป็นกลุ่มที่เมื่อให้การยอมรับนับถือ หรือเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็จะเป็นกำลังสำคัญในการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งใน มัยพุทธกาลก็มีคฤหบดีที่ได้รับการแต่งตั้งว่าเป็นเลิศในการถวายทาน ทั้งฝ่ายอุบาสกและอุบาสิกาเป็นจำนวนมาก

       กลุ่มสมณะ หรือนักบวช จะมีขุมกำลังคือความเห็นที่มีอำนาจยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนเป็นกลุ่มสำคัญยิ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพราะเป็นกลุ่มผู้นำทางด้านจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือทั้งของกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี และมหาชน

       และเพราะบุคคลเหล่านี้มีจริตอัธยาศัย ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละกลุ่มแตกต่างกันไป พระภิกษุที่จะเข้าไปเป็นกัลยาณมิตรให้ จึงต้องวางตัวให้เหมาะสมกับทุกกลุ่มคน


ขนบธรรมเนียมประเพณีของบุคคลทั้ง 4 กลุ่ม
        ขนบธรรมเนียมประเพณีและความถือดี
       เนื่องจากกลุ่มคนทั้ง 4 มีความคิดเห็นในด้านต่าง ๆ แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นความปรารถนา รสนิยม ความมั่นใจ ความต้องการ รวมทั้งเป้าหมายก็ต่างกัน ดังที่พระสัมมาสัม
พุทธเจ้าตรัสถึงความแตกต่างกันของกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ไว้ใน ขัตติยาธิปปายสูตร ดังนี้

      "กษัตริย์ทั้งหลาย ย่อมประสงค์โภคทรัพย์ นิยมปัญญา มั่นใจในกำลังทหาร ต้องการในการได้แผ่นดิน มีความเป็นใหญ่เป็นที่สุด

      พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมประสงค์โภคทรัพย์ นิยมปัญญา มั่นใจในมนต์ ต้องการการบูชายัญ มีพรหมโลกเป็นที่สุด

      คฤหบดีทั้งหลาย ย่อมประสงค์โภคทรัพย์ นิยมปัญญา มั่นใจในศิลปะ ต้องการการงานมีการงานที่สำเร็จแล้วเป็นที่สุด...

      สมณะทั้งหลาย ย่อมประสงค์ขันติโสรัจจะ นิยมปัญญา มั่นใจในศีล ต้องการความไม่มีห่วงใย มีพระนิพพานเป็นที่สุด"

      ซึ่งความต่างกันเหล่านี้มีผลให้ขนบธรรมเนียมประเพณี จริต อัธยาศัย และความถือดีของแต่ละกลุ่มแตกต่างกันตามไปด้วย

1) ความถือดีของกลุ่มกษัตริย์
      ว่าด้วยความถือดี มีทิฏฐิมานะ ที่มีในกษัตริย์ นอกจากเรื่องทรัพย์ ปัญญา กำลังทหารการครอบครองแผ่นดินเพื่อความเป็นใหญ่แล้ว ยังมีเรื่องความมีอิทธิพล อำนาจและชาติตระกูลอีกด้วย กษัตริย์แม้ยังทรงพระเยาว์ก็มิอาจดูหมิ่นได้ เพราะให้คุณให้โทษได้ง่าย หากไม่พอพระทัย ทรงพิโรธขึ้นมา ย่อมทรงลงพระราชอาชญาอย่างหนักถึงชีวิตได้

2) ความถือดีของกลุ่มพราหมณ์
     พราหมณ์ถือเป็นผู้มีความรู้ จึงอาศัยความรู้นั้นมาเป็นผู้นำทางความคิด ซึ่งจะมีอิทธิพลชี้นำต่อความรู้ความเข้าใจของผู้อื่นตามไปด้วย อย่างเช่นในปัจจุบัน ครูบาอาจารย์ในสถาบันการศึกษา หรือแม้กระทั่งสื่อมวลชน ก็มีผลต่อความคิดของประชาชนเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในสมัยพุทธกาล นอกจากพราหมณ์จะเป็นผู้นำทางความคิดแล้ว บางครั้งยังมีบทบาทในฐานะของนักปกครองด้วย เรื่องความมีหน้ามีตาเป็นเรื่องสำคัญของคนกลุ่มนี้ และคนกลุ่มนี้อาศัยความรู้เป็นอำนาจในการชี้นำและปกครองผู้อื่น

3) ความถือดีของกลุ่มคฤหบดี
    คฤหบดีเป็นผู้มีทรัพย์เป็นอาวุธ จึงถือดีในเรื่องทรัพย์สินที่มีนั้น เพราะทรัพย์คืออำนาจอย่างหนึ่ง ซึ่งการใช้ทรัพย์มีด้วยกัน 2 ทาง คือ หากใช้ถูกทางด้วยการให้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ต่อตนเองและพระพุทธศาสนา แต่หากหวงแหนไว้ ทรัพย์นั้นก็ไม่เป็นประโยชน์แก่ใคร ๆ เลย

4) ความถือดีของกลุ่มสมณะ
     สมณะชื่อว่ามีทิฏฐิ คือถือดีในความเชื่อของตน ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจและมีอิทธิพลไปทำให้บุคคลอื่นเชื่อตามไปได้ด้วย เมื่อนักบวชมีความเชื่อหรือความเห็นเป็นอย่างไรก็มักมีวัตรปฏิบัติไปในทางเคร่งครัดต่อความเห็นนั้น เช่น บางพวกเห็นว่าการทรมานตนดีก็จะทรมานตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ อย่างเข้มงวดจริงจัง หรือบางพวกเห็นว่าการบูชาไฟสามารถทำให้หมดกิเลสได้ ก็จะบูชาไฟกันอย่างจริงจัง เป็นต้น ดังนั้นไม่ว่านักบวชจะเป็นสัมมาทิฏฐิหรือมิจฉาทิฏฐิก็ตาม ก็อาจน้อมนำใจของคนผู้ที่มีจริตอัธยาศัย หรือมีความเห็นไปในทางเดียวกันให้คล้อยตามกันไปได้ง่าย นักบวชจึงเป็นเหมือนผู้นำทางจิตวิญญาณของผู้คนเป็นอันมาก ซึ่งจะมีผลต่อการเผยแผ่พระศาสนาได้


วิธีการวางตัวกับบุคคลทั้ง 4 กลุ่ม
วางตัวอย่างไรให้เหมาะสม
      พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงการวางตัวกับบุคคลทั้ง 4 กลุ่ม ไว้ 5 ลักษณะคือ การเข้าไปหา การยืน การกระทำ การนั่ง และการนิ่ง ในอาการทั้ง 5 นั้น มีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้างสำหรับแต่ละกลุ่มคน และสถานการณ์ ทั้งนี้เพราะความแตกต่างทางความคิด ความเห็น วันธรรมประเพณี รวมทั้งจริตอัธยาศัยในแต่ละกลุ่มอาจแตกต่างกันไป และแม้กระทั่งในกลุ่มเดียวกันก็อาจจะยังมีความแตกต่างกันอีก แต่โดยรวมแล้ว พระภิกษุจะต้องมีกิริยาอาการอันน่าเลื่อมใสตามกรอบของพระธรรมวินัย เมื่อเข้าไปสู่ชุมชนใดแล้วต้องไม่เก้อเขินสง่างาม มกับเป็น มณะผู้บริบูรณ์ด้วยศีลสมาธิ ปัญญา และต้องไม่เป็นที่น่ารังเกียจของทุกชุมชน เช่นเดียวกับพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงตรัสว่าพระองค์เข้าไปสู่บริษัทใด ย่อมกลมกลืนกับบริษัทนั้นได้ทันที หมายความว่าพระองค์ทรงทราบถึงความพอดี และทรงปฏิบัติพระองค์เมื่ออยู่ท่ามกลาง มาคมนั้น ๆ ได้อย่างดีไม่มีที่ติสักนิดเดียว

      ในอาการที่ควรกระทำ 5 ประการ มีตัวอย่างดังต่อไปนี้

     1. เข้าไปหา กรณีนี้สามารถดูตัวอย่างจากการบิณฑบาตของพระภิกษุ ก็จะเห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้เนื่องจากว่า เป็นกิจวัตรประจำวันที่พระภิกษุจะต้องเข้าไปหาสาธุชนในทุกระดับ ทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี ก็พึงต้องเข้าไปหาด้วยอาการอย่างนี้คล้าย ๆกัน และหากจะต่างกันไปบ้างก็คงอยู่ที่วัตถุประสงค์ของการเข้าไปหา ในส่วนของพระวินัยพระพุทธองค์ทรงสอนให้พระภิกษุเข้าไปบิณฑบาต ดังนี้

      "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คิดว่าจักเข้าบ้านในบัดนี้ เมื่อปกปิดมณฑลสาม พึงนุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ห่มผ้าซ้อน 2 ชั้น กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้ว ถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย ไม่ต้องเร่งรีบ

     พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน อย่าเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน อย่าหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน อย่าโยกกายไปในละแวกบ้าน อย่าไกวแขนไปในละแวกบ้าน อย่าโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน อย่าค้ำกายไปในละแวกบ้าน อย่าคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน อย่าเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้านเมื่อเข้านิเวศน์พึงกำหนดว่า จักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ อย่ารีบร้อนเข้าไป อย่ารีบร้อนออกเร็วนัก อย่ายืนไกลนัก อย่ายืนใกล้นัก อย่ายืนนานนัก อย่ากลับเร็วนัก พึงยืนกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายภิกษาหรือไม่ประสงค์จะถวาย ถ้าเขาพักการงาน ลุกจากที่นั่งจับทัพพี หรือจับภาชนะ หรือตั้งไว้ พึงยืนด้วยคิดว่าเขาประสงค์จะถวาย เมื่อเขาถวายภิกษา พึงแหวกผ้าซ้อนด้วยมือซ้าย พึงน้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา แล้วพึงใช้มือทั้ง องประคองบาตรรับภิกษา และไม่พึงมองดูหน้าผู้ถวาย พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ประ งค์จะถวาย ถ้าเขาจับทัพพีจับภาชนะ หรือตั้งไว้ พึงยืนอยู่ด้วยคิดว่า เขาประ สงค์จะถวาย เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยผ้าซ้อน แล้วกลับโดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน ฯลฯ

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นวัตรของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตรซึ่งภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร พึงประพฤติเรียบร้อย"

       จะเห็นว่า เพียงการเข้าไปบิณฑบาต พระองค์ยังทรงกำหนดอาการไว้อย่างละเอียดลออไม่มีข้อที่จะถูกผู้อื่นตำหนิได้ตรงไหน พระภิกษุที่ฝึกตัวและปฏิบัติตามได้ ย่อมเป็นผู้ยังความ
เลื่อมใสมาสู่มหาชน

      ส่วนในกรณีอื่น ๆ อีกนั้น เช่น หากพระภิกษุจะต้องเข้าไปสู่บ้านของสาธุชน พระพุทธองค์ทรงให้หลักในการตัดสินไว้ว่า หากบ้านใดมีลักษณะ 9 ประการต่อไปนี้ พระภิกษุไม่ควรเข้าไป คือ

1. เขาไม่ต้อนรับด้วยความพอใจ
2. ไม่กราบไหว้ด้วยความพอใจ
3. ไม่ให้ที่นั่งด้วยความพอใจ
4.ซ่อนของที่มีอยู่ของเขาไว้
5. เมื่อของมีอยู่มาก ก็ให้แต่น้อย
6. เมื่อมีของประณีต ก็ให้ของเศร้าหมอง
7. ให้โดยไม่เคารพ ไม่ให้โดยความเคารพ
8. ไม่นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม
9. เมื่อกล่าวธรรมอยู่เขาก็ไม่ยินดี

     แต่หากมีลักษณะตรงกันข้าม ก็ทรงแนะนำให้เข้าไป เมื่อเข้าไปแล้ว ยังให้รักษากิริยาอาการที่ดี อีก 5 ประการ คือ

1. อย่าถือวิสาสะกับสาธุชนที่เราไม่คุ้นเคย
2. อย่าบงการ หรือเจ้ากี้เจ้าการให้เขาทำนั่นทำนี่ให้
3. อย่าคบหากับคนที่ไม่ถูกกับเขา หรือไม่หวังดีกับเขา
4. อย่าพูดกระซิบกระซาบกัน
5. อย่าขอมากเกินไป


     2. การยืน ประการถัดมา พระองค์ตรัสว่า "พึงยืนอย่างนี้" ซึ่งอาการยืนที่ถูกต้องนั้นควรมีลักษณะ 6 อย่าง2 ดังนี้ คือ

1. ไม่ยืนไกลเกินไป เพราะหากต้องพูดก็ทำให้ต้องพูดเสียงดัง
2. ไม่ยืนใกล้เกินไป เพราะจะทำให้อึดอัด เบียดเสียดกันเกินควร
3. ไม่ยืนเหนือลม เพราะอาจเดือดร้อนด้วยกลิ่นตัว
4. ไม่ยืนสูงกว่า เพราะแสดงถึงความไม่เคารพ
5. ไม่ยืนตรงหน้าเกินไป เพราะเวลามอง จะต้องจ้องตาต่อตาดูกันเกินไป
6. ไม่ยืนข้างหลังเกินไป เพราะทำให้ต้องชะเง้อคอดู

      แท้ที่จริง การยืนในตำแหน่งที่เหมาะ ม ก็คือ ยืนเยื้อง ๆ ด้านซ้ายหรือขวา ในระยะที่พอเหมาะนั่นเอง


      3. การกระทำ ประการถัดมา พระองค์ตรัสว่า "พึงทำอย่างนี้" ซึ่งการกระทำนั้น จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ซึ่งอาจแตกต่างกันไป แต่ถึงอย่างไร การจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไรก็เป็นสิ่งสำคัญ ดังตัวอย่างเรื่องของสามเณรนิโครธ ที่ทำให้พระเจ้าอโศกทรงเกิดความเลื่อมใสจนเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้นอย่างมากมาย

     เรื่องของสามเณรนิโครธ เกิดขึ้นเพราะ วันหนึ่งพระเจ้าอโศกทรงทอดพระเนตรเห็นสามเณรเดินไปด้วยอาการงดงามน่าเลื่อมใสจึงทรงโปรดให้นิมนต์สามเณรมาในพระราชวัง เมื่อสามเณรเข้ามาด้วยอาการอันสงบแล้ว พระองค์ตรัสบอกสามเณรว่า ให้หาที่นั่งอันควรแล้วนิมนต์นั่งเถิดสามเณรนั้นเหลียวดูข้างโน้นข้างนี้แล้วคิดว่า บัดนี้ ไม่มีภิกษุเหล่าอื่น จึงเดินเข้าไปใกล้บัลลังก์ ซึ่งยกเศวตฉัตรกั้นไว้ แล้วแสดงอาการแด่พระราชา เพื่อต้องการให้ทรงรับบาตรพระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นสามเณรนั้นกำลังเดินเข้าไปใกล้บัลลังก์นั้น จึงทรงดำริว่า วันนี้เองสามเณรรูปนี้จักเป็นเจ้าของราชมณเฑียรนี้ในบัดนี้สามเณรถวายบาตรที่พระหัตถ์พระราชาแล้วขึ้นนั่งบนบัลลังก์ พระราชาทรงน้อมถวายอาหารทุกชนิด คือ ข้าวต้ม ของควรเคี้ยว และข้าวสวย ที่เตรียมไว้เพื่อประโยชน์แก่สามเณร

      จากเรื่องตัวอย่างของสามเณรนิโครธ จะเห็นว่า เมื่อได้รับการเชื้อเชิญให้นั่งสามเณรยังต้องดูว่า ณ ที่นั้นมีพระภิกษุที่เราต้องให้ความเคารพอยู่ด้วยไหม เมื่อไม่มี จึงคิดว่าเรานี้เป็นผู้มีศีลสูงสุด ควรแก่อาสนะที่ดีที่สุด คือบนบัลลังก์ใต้เศวตฉัตร การกระทำของสามเณรนี้ เป็นที่ถูกพระราชหฤทัย แต่มิได้หมายความว่าจะสามารถทำอย่างสามเณรนิโครธได้ทุกครั้ง เพราะนี่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และวิจารณญาณของผู้ที่ฝึกฝนอบรมตนเองมาอย่างดี เรื่องนี้จึงเป็นตัวอย่างที่ดีที่ชี้ให้เห็นว่า การกระทำที่เหมาะสม มีผลต่อความเจริญของพระพุทธศาสนา


     4. การนั่ง ประการถัดมา พระพุทธองค์ตรัสว่า "พึงนั่งอย่างนี้" ซึ่งอาการนั่งที่ถูกต้องนั้น ควรมีลักษณะ 6 อย่าง2 ดังนี้

1. ไม่นั่งไกลเกินไป
2. ไม่นั่งใกล้เกินไป
3. ไม่นั่งเหนือลม
4. ไม่นั่งสูงไป
5. ไม่นั่งตรงหน้าเกินไป
6. ไม่นั่งหลังเกินไป

    สำหรับเหตุผลที่ไม่ให้นั่งอย่างนี้ ก็เช่นเดียวกันกับการยืนส่วนการนั่งที่ดี จึงควรนั่งข้างหน้าเยื้องซ้ายหรือขวาเล็กน้อย และมีระยะที่เหมาะสม


     5. การนิ่ง ประการสุดท้าย พระพุทธองค์ตรัสว่า "พึงนิ่งอย่างนี้" การนิ่งมีทั้งนิ่งเพราะรู้ และนิ่งเพราะไม่รู้ การนิ่งเพราะรู้อาจเป็นเพราะบางครั้งไม่อยู่ใน ถานการณ์หรือกาลเทศะที่ควรพูด ก็ควรนิ่งไว้ โดยเฉพาะหากทราบว่าพูดไปก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมา ซึ่งการนิ่งในลักษณะนี้จะเป็นการนิ่งที่ ง่าและงดงาม แตกต่างจากการนิ่งเพราะไม่รู้ เช่น ถูกถามคำถามแต่ไม่ทราบว่าคำตอบคืออะไร ก็เลยต้องนิ่งด้วยอาการของคนไม่รู้

    การนิ่งที่สง่างาม จะเป็นอาการที่น่าเลื่อมใสเหมือนกับพระภิกษุทั้งหลายที่พระพุทธองค์ตรัสแนะนำไว้ว่า หากมาประชุมพร้อมกัน ก็ควรทำกิจเพียง 2 ประการ คือ

       1. กล่าวธรรมีกถา หรือ 2.เป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ
      ซึ่งหมายความว่า หากต้องพูด ให้พูดแต่เรื่องธรรมะ ถ้าไม่อย่างนั้น ก็ให้นิ่งเหมือนกับอาการของพระอริยเจ้าไปเสียเลย

     กิริยาอาการตั้งแต่การเข้าไปหา การยืน การกระทำ การนั่ง และการนิ่ง ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่พระภิกษุจะต้องศึกษาให้เข้าใจ เพราะมีความจำเป็นที่พระภิกษุจะต้องนำไปใช้ เพื่อเผยแผ่พระศาสนาให้กว้างไกลเป็นที่พึ่งแก่มหาชน

      สรุปว่า การจะเป็นปริสัญญูบุคคล (ความเป็นผู้รู้จักบริษัทหรือชุมชน) ได้นั้น ต้องประกอบด้วย

      1. รู้และเข้าใจธรรมเนียมปฏิบัติของกลุ่มบุคคลสำคัญในสังคม 4 กลุ่ม คือ กษัตริย์ (นักปกครอง) พราหมณ์ (นักวิชาการ) คฤหบดี (นักธุรกิจ และผู้ประกอบอาชีพอื่นที่เลี้ยงดูตนเองได้) และสมณะ (นักบวช)

      2. สามารถวางตัวได้ถูกต้องเหมาะสม ทั้งการเข้าหา การยืน การกระทำ การนั่งและการนิ่ง

เมื่อพระภิกษุฝึกได้อย่างนี้แล้ว พระพุทธองค์จึงจะทรงรับรองว่า

"ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ปริสัญญู ด้วยประการฉะนี้"


การฝึกให้เป็นปริสัญญูสำหรับฆราวาส
     สำหรับฆราวาสก็สามารถนำเรื่องราวในสมัยพุทธกาล และพระวินัยของพระภิกษุมาประยุกต์ใช้ในการวางตัวเข้าหาชุมชนหรือกลุ่มคนได้ แม้ฆราวาสจะมีความแตกต่างกับพระภิกษุมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศีล หรือวินัย รวมทั้งเรื่องการแต่งกายที่ต่างกัน เช่น พระภิกษุมีผ้าเพียง 3 ผืนเท่านั้น ไปไหนจึงต้องใช้ผ้าชุดเดียว แต่ฆราวาสมีเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มมากมาย ซึ่งก็ต้องสวมใส่ให้เหมาะสมกับโอกาสถานที่ ตามวัย และตามยุคสมัย เป็นต้น

     แต่อย่างไรก็ตาม การวางตัวที่เหมาะสมย่อมแสดงถึงการเป็นผู้มีมารยาทอันงาม โดยเฉพาะในสังคมไทย ซึ่งฆราวา ควรจะศึกษาเอาไว้ เพื่อให้ตนเองไม่ว่าจะอยู่ในสังคมไหน ก็ปฏิบัติตนได้อย่างงดงามน่าชื่นชม ยกตัวอย่างคำแนะนำเรื่องกิริยามารยาทจากหนังสือ "สมบัติของผู้ดี" ที่เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) ประพันธ์ไว้ มีสิ่งที่น่าสนใจพอสังเขป ดังนี้

     "ผู้ดี ย่อมรักษาความเรียบร้อย ทั้งกาย วาจา ใจ เช่น แต่งตัวสะอาด เรียบร้อยเสมอ ไม่แสดงกิริยาตึงตัง ไม่พูดจาเสียงดังในบ้านแขก ไม่แย่งชิงพูด ไม่จามเสียงดังโดยไม่ป้องกำบัง...

     ผู้ดี ย่อมมีสัมมาคารวะ ทั้งกาย วาจา ใจ เช่น นั่งด้วยกิริยาอันสุภาพหน้าผู้ใหญ่ เปิดหมวกเมื่อเข้าชายคาบ้านผู้อื่น ผู้น้อยย่อมเคารพผู้ใหญ่ก่อน ผู้ชายย่อมเคารพผู้หญิงก่อน ผู้ลาย่อมเป็นผู้เคารพก่อน ไม่พูดจากล่าวร้ายถึงญาติมิตรที่รักใคร่นับถือของผู้ฟังแก่ผู้ฟัง เมื่อตนทำพลาดพลั้งสิ่งใด แก่บุคคลใด ควรออกวาจาขอโทษเสมอ นับถือนอบน้อมต่อผู้ใหญ่และมีความอ่อนหวานแก่ผู้น้อย เป็นต้น"

   จากข้อความข้างต้น เป็นกิริยาอาการที่งดงามเหมาะสมแก่ฆราวาสในการนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น หากเราจะไปบ้านใครเพื่อทำหน้าที่กัลยาณมิตร ก็ควรนัดหมายให้เรียบร้อย ก่อนออกจากบ้านก็สำรวจการแต่งกาย อุปกรณ์ในการทำหน้าที่ ไปถึงก่อนเวลานัดเล็กน้อยสัก 5 นาที ไม่ควรไปรอนานเกินไปเพราะเจ้าของบ้านอาจยังไม่พร้อม หรือไปช้าผิดเวลานัดหมาย จะนั่งก็ดูให้เหมาะสมตามที่เจ้าของบ้านจัดไว้ให้ไม่นั่งนานเกินควร ไม่ละลาบละล้วงเข้าห้องเรือนก่อนเจ้าของบ้านเชิญ ไม่ซอกแซกไต่ถามธุระส่วนตัวหรือเรื่องภายในบ้านของเขาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตน เป็นต้น

     นี้เป็นมารยาทในสังคมไทยที่ฆราวาสบควรประพฤติปฏิบัติ และนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับคนทั้ง 4 กลุ่ม ปัจจุบันแม้จะมีการนำเอาวันธรรมของชาวต่างชาติ เช่น ของชาวตะวันตกเข้ามาใช้บ้าง แต่มารยาทโดยหลักก็ยังคงอยู่ส่วนการเข้าหาแต่ละบริษัทหรือแต่ละกลุ่มในชาวต่างชาตินั้น ก็คงต้องศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีเพิ่มเติม


ตัวอย่างการนำความรู้เรื่องปริสัญญูไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันสำหรับบุคคลทั่วไป
     คนส่วนใหญ่รู้จักแต่เรื่องเหตุผล แต่เข้า มาคมไม่เป็นจึงไม่อยากเข้า ไม่คุ้น ทำให้เพื่อนน้อย โดดเดี่ยว ขาดคนสนับสนุน พวกเราต้องฝึกเข้าสมาคมให้เป็น ฝึกได้โดยการปฏิสันถารซึ่งคนแต่ละกลุ่มก็มีนิสัยต่างกัน การเข้าหาแต่ละกลุ่มก็แตกต่างกัน แต่ถ้าเข้าได้ทั้งสี่กลุ่มนี้ เราจะเป็นบุคลากร เป็นกัลยาณมิตรชั้นเยี่ยม ให้ฝึกนิสัยเหล่านี้ด้วยความช่างสังเกต อย่าใจร้อนให้สังเกตใจและอัธยาศัยของเขา เอาเขาเป็นที่ตั้งอย่าเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ค่อย ๆ เปิดใจเขาค่อย ๆ แนะนำให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้ยกใจเขาให้สูงขึ้น ถ้าทำได้เราจะทำหน้าที่กัลยาณมิตรได้ดีและสำเร็จ ให้โอนอ่อนผ่อนตามภายนอกแต่หลักการต้องมั่นคงแล้วโน้มเข้าสู่ภายใน

     เช่น ฝึกให้รู้จักหมู่คณะหรือกลุ่มชนว่าดีหรือไม่ดี ควรคบหาสมาคม ควรเข้าไปอยู่เป็นพวกหรือไม่ เมื่ออยู่ในชุมชนหรือที่ประชุมนั้น ๆ ควรวางตัวอย่างไร ควรทำอะไร ควรพูดอย่างไรเช่น เมื่อเข้าหาผู้ใหญ่ควรแสดงอาการนอบน้อมมีสัมมาคารวะ เมื่อเข้าวัดควรสำรวม กาย วาจาใจ ไม่แสดงอาการตลกคึกคะนอง เมื่อไปร่วมพิธีงานศพจะต้องแต่งกาย จะพูดและจะทำอย่างไรเมื่อเข้าวัดไปในพิธีทำบุญต่าง ๆ จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร จึงจะเหมาะสม จะวางตัวอย่างไรเมื่อพูดคุยกับพระสงฆ์ เป็นต้น จะได้ไม่เคอะเขินเวลาสู่ที่ประชุมชน คือ ต้องทำตัวเข้ากับสังคมได้โดยถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

    เช่น รู้ชุมชน คือรู้สังคม ตั้งแต่ในขอบเขตที่กว้างขวาง คือ รู้สังคมโลก รู้สังคมของประเทศชาติ ว่าอยู่ในสถานการณ์อย่างไร มีปัญหาอะไร มีความต้องการอย่างไร โดยเฉพาะถ้าจะช่วยเหลือเขา ก็ต้องรู้ปัญหารู้ความต้องการของเขา แม้แต่ชุมชนย่อย ๆ ถ้าเราจะช่วยเหลือเขาเราต้องรู้ความต้องการของเขา เพื่อสนองความต้องการได้ถูกต้อง หรือแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด

    เช่น รู้จักชนชั้นต่าง ๆ เช่น ชั้นผู้ใหญ่โดยชาติ โดยวัย โดยคุณ พวกหนึ่ง ชั้นผู้น้อยโดยชาติ โดยวัย โดยคุณ พวกหนึ่ง กิริยาวาจาที่จะใช้ต่อชนชั้นผู้ใหญ่อย่างหนึ่ง ที่ใช้ต่อชนชั้นผู้น้อยอย่างหนึ่ง ฉะนั้น ความรู้จักชุมชนนั้น ๆ ด้วยแล้ว เมื่อเข้าไปหาเขา เราต้องปฏิบัติ คือใช้กิริยาวาจาให้เหมาะสมแก่ชนนั้น ๆ

    เช่น รู้จักถิ่น รู้จักชุมชน รู้ในสิ่งที่ควรประพฤติปฏิบัติต่อท้องถิ่นของตน มีความรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่นหรือชุมชนของตน เข้าใจและปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี และวันธรรมในแต่ละท้องถิ่นหรือชุมชน ไม่รังเกียจหรือดูหมิ่นเหยียดหยามท้องถิ่นหรือชุมชนของตน ควรให้การสงเคราะห์ ช่วยเหลือหรือบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นหรือชุมชนของตน เป็นต้น

    เช่น เข้าใจคนที่มีความเกี่ยวข้องกับเราทั้งหมด อยู่ที่ไหนก็รู้จักว่าคนรอบข้างเรา ว่าเขาชอบหรือไม่ชอบอะไร จะได้กลมกลืนกับเขาได้ ถ้าทำธุรกิจก็ต้องเข้าใจลูกค้า เข้าใจคู่แข่ง ถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะประสบความสำเร็จในการทำงานทุกอย่าง

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 008 พุทธธรรม 2
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.047376398245494 Mins